ข้อเสนอการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดย ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ และ มุนินทร์ พงศาปาน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 มิ.ย. 2021
  • ข้อเสนอการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดย ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ และ มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและชุดเสวนาสาธารณะ “Constitution Dialogue : รัฐธรรมนูญสนทนา” - ร่วมคิด ร่วมถก ร่วมสร้างสรรค์ รัฐธรรมนูญเพื่ออนาคต
    .
    ชมรายการเต็มได้ที่ • :: LIVE :: Constitutio...
    .
    “ตอนนี้โจทย์เรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเป็นปัญหา รัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในอนาคตจึงน่าจะบัญญัติให้ชัดเจนว่า การแก้ไขกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม การระดมสมองจากทุกฝ่าย และการหาทางออก เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องทำโดยสภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญ ตัวรัฐธรรมนูญจึงน่าจะเขียนให้ชัดเจนว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องไปตราหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ภายในระยะเวลาที่มีสภาพบังคับเท่าไหร่”
    .
    “ถ้ามองปัญหาระบบกระบวนการยุติธรรมไทย จริงๆ ในภาพรวม ต้องบอกว่าตัวหลักการกฎหมายที่เกี่ยวข้องค่อนข้างดี แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับเป็นการบังคับใช้ภายใต้วัฒนธรรมอำนาจนิยม และถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน…วัฒนธรรมอำนาจนิยมกับการอุปถัมภ์หรือการคอร์รัปชันปรบมือข้างเดียวไม่ดัง คือไม่ได้เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเดียว แต่เกิดจากการที่ประชาชนทั่วไปมองเห็นว่า ถ้าเรามีปัญหาทางคดีความ วิธีการที่ดีที่สุดคือใช้วิธีการนอกกฎหมาย ติดสินบน ใช้เส้นสาย เพื่อให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์ ซึ่งก็ต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาตรงนี้ควบคู่กันไปด้วย”
    .
    “ในทฤษฎี เรามีระบบควบคุมการใช้อำนาจของตำรวจ อัยการ ศาล อยู่แล้ว คือระบบร้องทุกข์ในทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560) เป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน บทบาทสำคัญในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรทั้งหลายเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ…แต่ระบบนี้จะมีประสิทธิผลได้เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลักประกันที่แท้จริงในการยืนยันการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน
    .
    เรามีระบบนี้อยู่ แต่ถ้าจะแก้ไขโจทย์เรื่องกระบวนการยุติธรรม เราจะต้องพัฒนากลไกเรื่องการร้องทุกข์ในทางรัฐธรรมนูญ ทำให้ง่ายขึ้นกว่านี้ มีกลไกที่ชัดเจนกว่านี้ หรือให้ศาลนำตัวเองออกจากข้อกล่าวหาเรื่องความไม่เป็นกลางทางการเมือง หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ นี่เป็นเรื่องที่เราอาจจะฝากความหวังไว้ได้ในอนาคต”
    .
    #รัฐธรรมนูญสนทนา #แก้รัฐธรรมนูญ #การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

ความคิดเห็น •