โยนกนคร เกิดอาเพศ กินปลาไหลเผือก เวียงหนองหล่ม เมืองทั้งเมืองจึงล่มสลาย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 ก.ย. 2023
  • #โยนกนคร #ตำนานเวียงหนองหล่ม ชาวเมืองกิน #ปลาไหลเผือก จึงทำให้เกิดอาเพศเมืองทั้งเมืองจึงล่มสลาย
    โยนกนคร ตำนานเวียงหนองหล่ม
    โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น หรือ แคว้นโยนก (พ.ศ. 1200-1650) เป็นรัฐของชาวไทยวน
    ชาวไทยวน
    เป็นประชากรที่พูดภาษาตระกูลภาษาขร้า-ไทกลุ่มหนึ่ง ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา
    เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักร ปัจจุบันชาวไทยวนเป็นพลเมืองหลักในภาคเหนือของประเทศไทย มักเรียกตนเองว่า " #คนเมือง "
    ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่าง ๆ
    เข้ามายังเมืองของตน
    โยนกนครที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
    อันเป็นที่ราบลุ่มของน้ำแม่กก เป็นที่ตั้งแหล่งชุมชนที่มีมาอย่างช้านานซึ่งเป็นอาณาจักรแรกของชนชาติไทย ตั้งแต่ประมาณปี 1200-1650
    อาณาจักรโยนก ก็ล่มสลายลงเมื่อเกิดการแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จากการล่มสลายของเวียงโยนกไชยบุรีศรีช้างแส่น และสิ้นราชวงศ์สิงหนติแล้ว ขุนพันนา
    และนายบ้านกลุ่มชนที่เหลือรอดได้อพยพมาสร้างเมืองใหม่
    นำโดยขุนลัง ริมฝั่งแม่น้ำโขงฝั่งตะตก และอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโยนกนครฯ เรียกว่าเวียงเปิกสา #เวียงปรึกษา ) หรือเวียงเชียงแสนน้อย
    โดยผู้ที่ครองเวียงเปิกสานั้น จะต้องได้รับการเปิกสา(ปรึกษา) คัดเลือกจากประชาชนในเมืองทั้งหมด คล้ายกับแนวทางของระบอบประชาธิปไตย เรียกว่า
    ไพร่แต่งเมือง รวมเป็นขุนผู้ครองเวียงเปิกสา 16 คน แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีในเวียงเปิกสา(ปรึกษา) มีความเก่าถึงแค่ยุคล้านนาเท่านั้น ไม่ได้มีอายุเท่าตามที่ตำนานอ้าง
    เวียงปรึกษาอยู่ห่างจากเมืองเชียงแสนไปทางทิศใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร
    มีคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบเช่นเดียวกับการสร้างเมืองในสมัยนั้น
    จากแผ่นป้ายที่กรมศิลปากร หน่วยที่ 4 ติดตั้งไว้ที่บริเวณวัดธาตุเขียว เขียนไว้ว่า
    "ในตำนานโยนก บันทึกไว้ว่า พญาแสนภู ตั้งค่ายพักเป็นการชั่วคราว ณ.บริเวณเวียงปรึกษา เพื่อสำรวจสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นราว พ.ศ. 1831
    เมืองเชียงแสนน้อยสร้างขึ้นก่อนสถาปนาเมืองเชียงแสน"
    ข้อความนี้อาจจะหมายถึงการสร้างเมืองใหม่บนพื้นที่เมืองเก่า นั่นคือ #เมืองเชียงแสน หรือเป็นการสร้างเมืองใหม่ครอบเมืองเก่า
    จะเห็นได้จากกำแพงเมืองเก่าที่ยังหลงเหลืออยู่มีสองชั้น (หลังจากสำรวจพื้นที่แล้ว #พญาแสนภู คงเห็นว่า
    เมืองเชียงแสนเป็นทำเลที่เหมาะสม หรือไม่ก็ เห็นควรบูรณะเวียงเชียงแสน )
    การที่พญาแสนภูพักที่ เวียงปรึกษา ก็คงจะไม่ใช่สร้างเวียงปรึกษาเพื่อเป็นที่พัก แต่ใช้เวียงปรึกษาที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นที่พักพิง
    พญาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นใหม่ (หรือบูรณะเมืองขึ้นใหม่) เพราะเชียงแสน หรือหิรัญนครเงินยางได้ถูกทิ้งร้างหลังจากพม่ากวาดต้อนผู้คนไป
    (หรือว่า ชาวขอมโบราณซึ่งเรืองอำนาจในขณะนั้น) ปล่อยให้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองร้าง
    พญาเม็งราย (ม้งราย) ประฐมกษัตริย์เมืองเชียงราย ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 1781
    เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง (ลาวม้ง) กษัตริย์ปกครอง หิรัญนครเงินยาง
    พญาเม็งรายเป็นผู้สร้าง เมืองเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 1804 ขึ้นครองราข เมื่อปี พ.ศ. 1805 และได้ย้ายเมืองเอกมาที่ #เชียงราย ย
    ในขณะที่ตั้งเวียงปรึกษานั้น เวลาเดียวกัน ได้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่บริเวณที่ราบดอยตุง โดยลาวจังกราช ปฐมกษัตริย์หิรัญนครเงินยาง #เชียงลาว
    ได้รวบรวมผู้คนตั้งเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงลาวและสถาปนาราชวงศ์ลาวขึ้น ซึ่งจะเป็นสายสกุลของพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
    ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนติกุมาร (มีหลายชื่อเรียก เช่น ตำนานโยนกนครเชียงแสน ตำนานโยนกนคร
    #ตำนานโยนก ไชยบุรีศรีช้างแส่น แล้วแต่ผู้จารจะเขียนกำกับ แต่เนื้อหาคล้ายกันหมด) และตำนานพระธาตุดอยตุง ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเปลวปล่องฟ้า
    แต่ยังไม่มีการค้นพบหลักฐานที่เก่าถึงยุคสมัยจริง
    ตำนานเล่าขานเวียงหนองหล่ม (ล่ม)
    ส่วนเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นนั้น มีกษัตริย์ครองเมืองต่อมา จนถึงสมัยพระองค์มหาไชยชนะ
    จากตำนานเล่าขานที่มีมาแต่โบราณเล่ากันมาว่า
    วันหนึ่งชาวเมืองเล่นน้ำกันอยู่ที่แม่น้ำ พบปลาไหลเผือกตัวโตเท่าลำตาล จึงช่วยกันจับนำมา
    ถวายเจ้าเมือง เจ้าเมืองให้ตัดเป็นชิ้นแบ่งกันกิน ชาวบ้านได้นำไปแบ่งกันกินทั้งเมือง
    มีเพียงแม่ม่ายคนเดียวที่ไม่ได้กิน
    ตกค่ำคืนนั้นก็เกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมน เกิดเสียงดังสนั่นสั่นสะเทือนปานปฐพีจะล่มสลาย
    สามครั้ง ถึงยามฟ้าสางเมืองนาคพันธึ์สิงหนวัติก็ล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำใหญ่
    เหลือเพียงบ้านแม่ม่ายคนเดียว ปัจจุบันเรียกว่า "เกาะแม่ม่าย"
    ตำนานเล่าขานเชื่อกันว่า เหตุเพราะชาวเมืองกินปลาไหลเผือกจึงทำให้เกิดอาเพศ
    เมืองทั้งเมืองจึงล่มสลาย เหลือแต่แม่ม่ายคนเดียวที่ไม่กิน
    เหตุที่แม่ม่ายไม่ได้รับส่วนแบ่งก็เพราะว่า ในสมัยนั้นถือว่าแม่ม่ายเป็นคนในระดับต่ำ คล้ายๆ กาลกิณี
    บางตำนานเล่าขานบอกว่า สาเหตุที่แม่ม่ายไม่ได้กิน ก็เพราะว่า แม่ม่ายไม่มีลูกหลานไปรับส่วนแบ่ง
    อย่างไรก็ตาม ตำนานเล่าขานนี้มีมาแต่โบราณนับร้อยหรือหลายร้อยปีตามความเชื่อ
    หรือเข้าใจ เรื่องราวจึงอาจแตกต่างกันไป เช่น
    เรื่องพญานาคจำแลงเป็นปลาไหลเผือก ชาวเมืองกินเป็นอาหารจึงทำให้เกิดอาเพศ และ
    ที่แม่ม่ายรอดก็เพราะไม่ได้กิน เรื่องเล่านี้ก็ไปสอดคล้องกับเรื่องการสร้างเมือง ที่ว่า
    ระหว่างที่เจ้าชายสิงหนวัติหาที่สร้างเมืองอยู่ ได้พบกับพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า "พันธุพราหมณ์ "
    ซึ่งเป็นพญานาคจำแลงมา ได้บอกเจ้าชายสิงหนวัติว่า ที่นี้เป็นที่ควรแก่การสร้างเมือง
    เจ้าชายสิงหนวัติจึงสร้างเมืองตรงนั้นและให้ชื่อเมืองว่า "นาคพันธุ์สิงหนวัติ"
    และก็ไปสอดคล้องกับเรื่องเล่าที่ว่า พญานาคจำแลงมาเป็นปลาไหลเผือก
    อีกเรื่องที่มีการเล่ากันต่อมาว่า ที่ชาวเมืองนาคพันธึ์สิงหนวัติจับได้นั้น เป็น "ปลา"
    เรื่องเล่านี้ก็ไปสอดคล้องกับ "ปลาบึก" ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง
    เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

ความคิดเห็น • 4

  • @user-rg8zd3ls2p
    @user-rg8zd3ls2p 4 หลายเดือนก่อน +2

    เมื่อคืนฝันถึงเมืองที่มีชื่อว่าโยนกนคร ฝันเห็นชายโบราณผิวดำแดง

  • @user-br5lv1xi8w
    @user-br5lv1xi8w 4 หลายเดือนก่อน

    3:25 อ่านยังไง
    มังราย เป็น ม้งราย

  • @user-zo9sw7rm1g
    @user-zo9sw7rm1g 4 หลายเดือนก่อน +1

    ขอประวัติพระเจ้าติโลกราช หมื่นด้งนครแม่ทัพใหญ่ล้านนา

  • @user-ls3on6er7k
    @user-ls3on6er7k 6 หลายเดือนก่อน

    ช้างแส่นชื่อเมืองเชีองแสนช้างแส่นตัวเป็นงูหัวเป็นช้างใหลมากับน้าโขง