คนญี่ปุ่นต้องเก็บศพไว้ที่บ้านก่อนจัดงาน !? งานศพไทยกับญี่ปุ่นต่างกันกว่าที่คิด ! お葬式にジーンズでもいい!?

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ค. 2022
  • มีรีเควสเรื่องนี้เขามา ลังเลอยู่นานสองนาน ในที่สุดก็ตัดสินใจถ่าย !
    งัดประสบการณ์ที่เคยไปงานศพ + หาข้อมูลเยอะมาก
    หวังว่าแหล่งความรู้เล็ก ๆ นี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ
    ใครมีอะไรจะเสริม หรืออยากให้คุยเรื่องอะไรต่อ บอกได้เลยนะ
    今回はタイと日本のお葬式について比べてみました。
    2人とも経験があまりないので、みなさんの経験もコメントしてくださればと思います!
    違いがたくさんあって興味深かったです。
    また比べてほしいことがあったら、ぜひコメントしてください!
    ----------------------------------
    มาเป็นเมมเบอร์ช่อง BeamSensei กันนะคะ !!!❤
    チャンネルのメンバーシップを始めました!!!
    กดสมัครได้ที่ลิ้งค์นี้
    th-cam.com/users/beamsenseijoin
    ช่วยซัพพอร์ตช่อง BeamSensei กันด้วยน้าาาา
    これからもBeamSenseiチャンネルをよろしくお願いいたします!
    ----------------------------------------
    เรียนภาษาญี่ปุ่นกับ BeamSensei
    คอร์สตัวอักษร
    👉สมัครและดูรายละเอียดได้ที่นี่
    forms.gle/5BhkxPTrYZ77k2aw9
    ภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น 1
    👉สมัครและดูรายละเอียดได้ที่นี่
    forms.gle/aYe6f8CJwDPZKySX7
    👉สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง IB
    www.facebook.con/BeamSensei
    -------------------------------------------------
    ติดตาม 【BeamSensei】ได้ที่
    びーむのSNS
    Facebook
    / beamsensei​
    Twitter
    / beamsensei​
    Instagram
    / beamsensei​
    TikTok
    / beamsensei​
    ติดต่องาน
    Contact for work
    beamsensei@hotmail.com
    หรือ
    bumbimz@gmail.com
    ---------------------------------------
    BGM:Vace Music Library
    vmp-vml.com/
    www.bensound.com/

ความคิดเห็น • 417

  • @BeamSensei
    @BeamSensei  ปีที่แล้ว +82

    ขอบคุณพี่น้องจากทุกภาคของประเทศที่มาร่วมแชร์ข้อมูลงานศพตามภูมิภาคต่าง ๆ กันนะคะ
    動画はバンコクとバンコク周辺のお葬式が中心です。タイは地方によってかなり違うらしいです。
    ได้ความรู้ใหม่เยอะมากกกกกกกกกกกกก เพราะว่าบีมเป็นคนกรุงเทพ ก็ได้ไปได้เห็นแค่งานศพที่กรุงเทพอย่างเดียว
    หวังว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากคลิปของบีมและการอ่านคอมเมนต์ของเพื่อน ๆ ด้วยน้า
    地方の方々がたくさんコメントしてくださってます!
    地方は家でお葬式をやるところが多いみたいです。
    私はバンコクのしか行ったことないので、初めて知りました!

    • @mc9544
      @mc9544 ปีที่แล้ว

      sawad dee Beam sensei.日本では最近家族葬専用の葬式場も増えてきました。

    • @user-xt6qf4mr2x
      @user-xt6qf4mr2x ปีที่แล้ว +2

      ต่อไปเอางานเทศกาลต่างๆระหว่างไทยญี่ปุ่นได้มั้ยคะว่ามีอะไรแตกต่างมั้ย

    • @jackdheb7071
      @jackdheb7071 ปีที่แล้ว +3

      เพิ่มเติมเพื่อความครบถ้วน
      อย่างแรก สมัยก่อนเค้าก็ตั้งศพที่บ้านนะ และ ต่างจังหวัดเค้าก็ยังตั้งที่บ้านกันเยอะ
      กลางคืนจะมีคนเฝ้า ที่เค้าจะกินเหล้ากัน และสามารถขออนุญาตทางการเพื่อเล่นการพนันเล็กๆได้ด้วย
      บางที่ที่เราจะได้เห็นในข่าว เราจะเห็นว่า จัดมโหรสพยังมีเลย
      และคนที่อยู่จะต้องคอยเปลี่ยนธูปประธาน ที่เป็นธูปอันใหญ่ (อันที่เชิญศพกลับมาบ้านนั่นแหละ ไม่ให้ดับจนกว่าจะถึงวันเผา)
      อย่างที่สอง ไม่ได้มีแค่ 3-5-7-9 วันนะครับ งานคนใหญ่ๆ ตั้งสวดกันเป็นร้อยวันก็มี
      ส่วนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับเงิน และ จำนวนคนที่ขอเป็นเจ้าภาพด้วย
      คนที่จะมางานศพวันไหน ก็ขึ้นกับวันไหนใครเป็นเจ้าภาพด้วยเช่นกัน
      เช่นคนที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ถ้ามีวันที่ทางที่ทำงานเป็นเจ้าภาพ ก็จะมาในวันนั้น
      และอีกประการคือ คนที่ไม่ได้ตายปรกติ แต่ตายเพราะอุบัติเหตุ หรือ ฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่เค้าจะสวดแค่ 3 วัน และจะไม่เก็บ(บรรจุ)
      ยกเว้นถูกอายัติไว้ด้วยมีความเกี่ยวข้องกับคดี
      ยิ่งไปกว่านั้น หลังสวดครบวันแล้ว บางทีก็ไม่ได้เผาเลย (ที่คนเค้าจะถามกันว่า เก็บหรือเผา) คือบางทีสวดครบแล้วก็เก็บ
      (แต่ต้องเป็นวัดที่มีที่ให้เก็บนะ แต่ถ้าตั้งที่บ้าน บางทีก็เก็บที่บ้านนั่นแหละ) ... ซึ่งภาษาที่ใช้กันคือ นำศพไป 'บรรจุ'
      จะเก็บร้อยวัน หรือเก็บสองร้อยวันอะไรก็แล้วแต่ญาติตกลงกัน เก็บกันเป็นปีๆยังมีเลยครับ
      ในวันเผา จะมีการทำบุญของญาติในช่วงเช้านะครับ สวด เลี้ยงเพลแล้วถึงย้ายศพขึ้นเมรุ
      แล้วก็สวดสุดท้ายก่อนเผาอีกรอบนึง ... วันรุ่งขึ้นไปเก็บกระดูกแล้ว บางทีก็แบ่งกันไป ลูกๆ
      และบางบ้านก็ใส่โถเก็บไว้ที่หิ้งบูชา ไม่ได้ลอยอังคาร หรือ ไม่ได้ลอยทันที หรือ แบ่งเก็บไว้ก็มี
      ใส่เจดีย์ไว้ก็มี และบางทีเจดีย์ก็เก็บญาติหลายๆคนไว้ด้วยกัน
      อ้อ เรื่องสวดนั้น มันมีบทยาว บทสั้น สวดกี่จบ สวดอะไรเสริม มันถึงได้ยาวสั้นไม่เท่ากัน แต่จริงๆ เหมือนกันนะครับ

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      @@jackdheb7071 สุดยอด ขอบคุณค่ะ

    • @gtlgt7051
      @gtlgt7051 9 หลายเดือนก่อน

      ​@@jackdheb7071 17:48

  • @rujiratlaosat2840
    @rujiratlaosat2840 ปีที่แล้ว +187

    งานศพไทย สมัยก่อนเค้าตั้งศพไว้ที่บ้านค่ะ แล้วถึงวันเผาค่อยเคลื่อนย้ายศพไปวัด แต่ปัจจุบัน บ้านไม่มีบริเวณที่จะจัดตั้งศพและรองรับแขกได้ รวมถึงที่วัดมีความสะดวกมากกว่า จึงไปไว้ที่วัดค่ะ
    (ตามต่างจังหวัด ยังมีบางบ้านไว้ที่บ้านค่ะ)

    • @wit2554
      @wit2554 ปีที่แล้ว +17

      ศพไว้บ้าน ตั้งวงพนันได้

    • @rujiratlaosat2840
      @rujiratlaosat2840 ปีที่แล้ว +1

      @@wit2554 เจ้ามือมาเอง 😂😂😂

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +10

      ขอบพระคุณมากสำหรับข้อมูลค่า

    • @knotroom
      @knotroom ปีที่แล้ว +10

      ใช่ครับ ตจว ยังเห็นอยู่ แล้วค่อยแห่ไปวัดเพื่อดำเนินการต่อครับ
      พึ่งไปมา ถ้าทางเหนือจะไม่เผาที่วัดจะไปเผารวมที่สุสาน

    • @kritm7838
      @kritm7838 ปีที่แล้ว +1

      One stop service

  • @maneecatfamily
    @maneecatfamily ปีที่แล้ว +8

    ขอแจ้งเรื่องวันแบบนี้
    งานอัปมงคลจะใช้เลขคู่ เช่น นิมนต์พระมาสวด 4,6,8,10 รูป เป็นต้น ส่วนการสวดศพจะนับเป็นคืน เช่นสวด 3 คืน อีกวันเผาศพ คือ 4 วัน ทั้งนี้จำนวนวันสวดบำเพ็ญกุศลขึ้นอยู่กับทางญาติและเจ้าภาพ บางงานอาจจะสวดนาน 1 เดือน เพราะเจ้าภาพเยอะ หรือ สวด 10 วัน เก็บไว้ 100 วัน เผาแบบนี้ก็ได้ แล้วแต่เจ้าภาพ
    งานมงคลจะใช้เลขคี่ เช่น การนิมนต์พระมาทำบุญบ้าน การขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญประจำปี จะนิมนต์พระ 3,5,7,9 รูป ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของเจ้าภาพ เป็นต้น
    การรดน้ำศพ กระทำเพื่อแสดงความอาลัย แสดงความเคารพและ ขออโหสิกรรมกับผู้เสียชีวิต
    (การอาบน้ำศพ เป็นอีกพิธีแยกกับพิธีรดน้ำศพ)
    การสวดในงานศพจะต้องเริ่มด้วย การสวดบูชาพระรัตนตรัยก่อน จึงจะสวดพระอภิธรรมต่อ ขึ้นต้นด้วย กุสลา ธัมมาฯ (ภาษาบาลี) หรือจะเรียกว่าเป็นการเทศนาสอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่ บางวัด พระท่านจะเทศน์เป็นภาษาไทยแทนการสวดบทบาลี ดังนั้น การสวดจึงแตกต่างกัน
    ในบางวัดจะไม่อนุญาตให้มีการเสิร์ฟอาหารในระหว่างการสวด
    การเคาะโลงเรียกคนตายมากินอาหาร เป็นกุศโลบายหนึ่งที่มีไว้สอนคนเป็น (คล้ายกับพิธีกรรมต่างจังหวัดที่มีการนำข้าวใส่น้ำไปหยอดที่ปากคนตาย)
    การจุดธูป 1 ดอก เป็นความเชื่อว่าสามารถเป็นสื่อบอกให้คนตายรับรู้
    ดอกไม้จันทน์ ในสมัยก่อนจะใช้ท่อนไม้จันทน์ซึ่งมีกลิ่นหอมและสามารถหาได้ทั่วไป จึงเป็นที่นิยมใช้ในพิธีฌาปนกิจ
    การเล่าประวัติผู้วายชนม์ก็เพื่อเล่าคุณงามความดีเมื่อสมัยมีชีวิตอยู่ได้ทำอะไรไว้บ้าง การเล่าว่าลูกทำงานอะไรก็อาจจะหมายถึงว่า เลี้ยงลูกได้ดี อบรมสั่งสอนมาอย่างดี ทำหน้ามี่พ่อแม่ ปู่ ย่า ตายาย ที่ดี ลักษณะนี้เป็นต้น
    ต้องเรียกว่า “เก็บอัฐิใส่โกศ”
    ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพขึ้นอยู่กับวัด อย่างวัดชลประทาน ค่าจัดงานศพถูกมาก

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +2

      ขอบพระคุณมากค่า

  • @yaoiGirlsPT
    @yaoiGirlsPT ปีที่แล้ว +126

    5 ปีก่อน คุณตาเราเสีย ก็จัดงานศพที่บ้านเหมือนกัน(สกลนคร) แล้วพอถึงวันเผาค่อยย้ายไปวัดค่ะ เขาก็จะมีติดต่อ organizer ให้นำโลงเย็น ดอกไม้ โต๊ะ อุปกรณ์ต่างๆมาวาง เหมือนไปจัดที่วัดตามปกติเลย แล้วก็ต้องซื้ออาหารเลี้ยงคนในหมู่บ้านด้วย เพราะคนในหมู่บ้านมาช่วยจัดงาน หมดไปเป็นแสนเลยค่ะ ลูกๆหลานๆก็ช่วยกันออกเงิน (น่าจะเพราะตาเราคนรู้จักเยอะด้วย ก็เลยต้องเลี้ยงคนเยอะค่ะ)

    • @GON_P19
      @GON_P19 ปีที่แล้ว +5

      ยายเราก็จัดงานศพที่บ้าน มีคนมาเล่นการพนันเยอะเลย แล้วก็เก็บค่าเช่า ส่วนแบ่ง ห้าคืน ได้เจ็ดหมื่น ค่าเช่าเต้นท์ เครื่องครัว ค่าจัดดอกไม้ รวมๆหกหมื่นได้ ที่เหลือก็ช่วยๆออกกัน รวมๆเกือบแสนห้า ถ้าเป็นผม ผมไม่อยากทำแบบนี้ มันเหมือนหากินกับคนตาย

    • @unamiku6532
      @unamiku6532 ปีที่แล้ว +5

      แถวบ้านเราก็แบบนี้ค่ะ ร้อยเอ็ด แต่จะเอาไว้บ้านแล้วเอาไปจัดที่เผาอีกที่

    • @user-ue2gf1sz8w
      @user-ue2gf1sz8w ปีที่แล้ว +1

      แถวบ้านเราไว้บ้านกันหมดเลยจะไปวัดแค่ตอนเผา

    • @user-qo9ks9qv8o
      @user-qo9ks9qv8o ปีที่แล้ว +2

      @@GON_P19 เห็นด้วยค่ะหลายอย่างเหมือนหากินกับคนตาย อย่างค่าเช่าเต้น ก็บอกเต้นหมู่บ้านใช้ได้ทุกคนแต่ต้องเสียค่าเช่าที่แพงมากงานตาเราเมื่อ4ปีที่แล้วเสียค่าเช่าเต้นไป15,000บาท เต้นแค่2อัน ยังมีค่าเช่าหม้อจาน ทั้งที่มันของส่วนรวมหมู่บ้าน ไหนจะค่าโต๊ะ ค่านั้นค่านี้ทั้งที่มันของส่วนรวม บางคนไม่ได้มีเงินแย่เลยค่ะต้องไปหยิบยืมคนอื่นมาอีก แค่ค่าเลี้ยงคนที่มางานศพก็หมดไปเป็นแสนอยู่แล้ว

  • @rujiratlaosat2840
    @rujiratlaosat2840 ปีที่แล้ว +56

    ดอกไม้จันทน์ เมื่อก่อนทำจากไม้จันทน์(ฝานบาง ๆ ) จริง ๆ ค่ะ ใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงและมีกลิ่นหอม เพื่อกลบกลิ่น
    แต่ภายหลังหายาก และเพื่อความประหยัดจึงเป็นกระดาษ

    • @pum_212yt6
      @pum_212yt6 ปีที่แล้ว +3

      ถึงจะเป็นดอกไม้กระดาษ แต่ก็ยังมีไม่จันทร์จริงๆ ติดไว้ด้วยนะ ชิ้นอาจจะเล็กสักหน่อย 😅

    • @rujiratlaosat2840
      @rujiratlaosat2840 ปีที่แล้ว +2

      @@pum_212yt6 เล็กมากจริง ๆ ค่ะ 😅

  • @prakai-na
    @prakai-na ปีที่แล้ว +38

    จะตั้งศพที่บ้านที่หรือที่วัด อยู่ที่ความสะดวกของญาติและสถานที่ ในเมืองหรือเขตเมืองมักตั้งที่วัดเลย เพราะพื้นที่บ้านไม่กว้างพอจะรับแขก โดยเฉพาะเวลาทำบุญหรือสวดพระอภิธรรม แต่บ้านที่ห่างจากตัวมืองออกไปมักตั้งที่บ้าน มีพื้นที่มากพอ ญาติแวะไปช่วยงานหรือแสดงความเสียใจได้ทุกช่วงเวลา และสะดวกในการจัดงานหรือทำบุญ
    น้ำที่ใช้สำหรับรดน้ำศพ บางพื้นที่เป็นส่วนผสมของน้ำมนต์ พระทำน้ำมนต์ให้

  • @WIMONRAT692
    @WIMONRAT692 ปีที่แล้ว +36

    งานศพในเมืองกับ ต่างจังหวัดไทย ต่างกัน และต่างจังหวัด แต่ละภาคก็จะต่างกันด้วย
    ..ภาคใต้ที่เห็นในเมืองส่วนใหญ่จะจัดที่วัด ส่วน นอกเมืองส่วนใหญ่จะจัดที่บ้านเพราะมีพื้นที่จัด แต่บางบ้านก็จัดที่วัดเอาสะดวก
    ..จัดที่ภาคใต้มีการเช่าเต้น โต๊ะจัดเลี้ยง เครื่องใช้ถ้วยจาน เครื่องครัว มีค่าใช้จ่ายยิบย่อยเรื่องอาหารจัดเลี้ยงอย่างจริงจังมากกกกกก
    ..อาหารครบทุกมื้อ เช้า เที่ยง เย็น ค่ำ ดึก(สำหรับนักพนัน 555)
    ..มีขายของด้วย เหล้าเบียร์ ขนม
    โคตรใช้ตังค์เยอะงานศพ

  • @user-lh8tk1nb7q
    @user-lh8tk1nb7q ปีที่แล้ว +24

    ขอแสดงความเสียใจ ท่านอาเบะซังด้วยครับ น่าเศร้ามาก ท่านเป็นคนดี ได้ยินชื่อท่านมานาน เสียใจจริงๆครับ

  • @kungrat6211
    @kungrat6211 ปีที่แล้ว +10

    จริงๆแล้วพิธีกรรมต่างๆ ในการจัดบำเพ็ญกุศลศพของผู้วายชนม์ ได้ถูกวางแบบแผน ซ่อนกุศโลบาย มาแต่โบราณ หลายอย่าง เช่น ทำไมจัดงานศพ ถึกเรียก ( งานบำเพ็ญกุศล ) และ เมื่อเผาเสร็จทำไมเรียก(ทำบุญกระดูก) คำตอบ บำเพ็ญ แปลว่า การจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดสมาธิ ส่วน กุศล แปลว่า ปัญญา รวมความคือ การทำให้เกิดปัญญา เช่น 1.การจุดธูป 1 ดอก 2.การรดน้ำศพ 3.กำรแต่งกายไว้อาลัย 4.การหาอาหารไปให้คนตาย เป็นต้น. (เฉพาะที่คุณบีมอธิบาย)
    กุศโลบาย 1. สื่อความหมายว่า ทุกคนมี1ชีวิต จึงจุดธูป1ดอก เมื่อปักลงบนภาชนะแล้ว บางคนธูปไหม้เพียงนิดเดียวก็ดับ เสมือนตายตั้งแต่ยังเด็ก บางคนไหม้ถึงครึ่งก้านก็ดับ ตายเมื่อวันกลางคน บ้างไหม้สุดก้าน นั้นคือหมดอายุขัย สรุปคือ ชีวิตของเราได้มาเหมือนกันแต่อายุนั้นไม่เท่ากัน.
    2. การรดน้ำศพ อธิบายถึง มือของผู้ตาย เมื่อเกิดมามือเปล่า ตายไปก็ไปมือเปล่า ทรัพย์สมบัติถือติดไปไม่ได้ ที่ติดไปได้คือบุญกับบาปที่เราได้ทำไว้เมื่อยามมีชีวิตเท่านั้น.
    3.การแต่งกายแต่เดิมแยกไว้ชัดเจน ใส่สีขาวไปงาน คือคนตายนั้นมีอายุน้อยกว่าเราหรือมีศักดิ์น้อยกว่าเรา ใส่สีดำไปงาน คือคนตายนั้นมีอายุมากกว่าเรา หรือมีศักดิ์สูงกว่าเรา แต่สมัยนี้ตามสะดวก
    4.การหาอาหารไปให้ทุก3มื้อ คือ ให้เราย้อนคิดว่า เมื่อตอนคนตายมีชีวิตอยู่ เราเคยหาอาหารมาให้ครบตามเวลาแบบนี้ไหม ยิ่งคนตาย เป็น พ่อ-แม่ เราๆเคยดูแลท่านแบบนี้ไหม ตอนพระสวดไปเคาะโลงบอกให้ฟังพระ เมื่อตอนท่านมีชีวิต เคยพาท่านไปทำบุญวันพระใส่บาตรฟังธรรมไหม. เป็นต้น.และมีกุศโลบายอื่นๆอีกมากมาย
    สิ่งนี้คือจุดประสงค์เพียงส่วนหนึ่งของการจัดงานบำเพ็ญกุศลศพผู้วายชนม์
    ส่วนการทำบุญกระดูก หรือ ทำบุญอัฐิ คือการอุทิศบุญที่เราได้ทำแล้วไปให้กับผู้ที่วายชนม์
    ข้อนี้อาจจะมีคำถามว่า แล้วเมื่อตอนศพยังไม่เผาที่เราตรวจน้ำกันไม่ถึงหรือ ตอบว่าถึงครับ แต่สภาวะจิตขณะนั้น อาจมีความทุกข์และความอาลัยมาก ทำให้บุญนั้นบกพร่อง ต่างจากเมื่อร่างกายสลายแล้วเหลือเป็นเพียงกระดูก สภาวะจิตจะเกิดการยอมรับต่อการพลัดพรากมากกว่า บุญจึงบกพร่องน้อยกว่า เมื่อร่างยังอยู่.

    • @goldenflowers1537
      @goldenflowers1537 ปีที่แล้ว

      พิธีไทย การสวดอภิธรรม ไม่ได้สวดใครคนตายฟัง แต่สวดให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ฟัง และเป็นแก่นแท้ของชีวิตด้วย

  • @phanuwatmanakit7380
    @phanuwatmanakit7380 ปีที่แล้ว +1

    ชอบคอนเทนต์แนวแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อยากรู้เกี่ยวกับงานต่างๆ เช่น งานมงคล , งานบุญ , งานในวันสำคัญต่างๆ , เทศกาล ประมาณนี้คับ

  • @nattkullav8657
    @nattkullav8657 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณสำหรับคลิปนี้ครับ 👍👍👍

  • @HikaLuces
    @HikaLuces ปีที่แล้ว +9

    เห็นหลายคนพูดไปเยอะแล้ว ผมก็ขอเล่าจากงานศพอาม่าที่เป็นคนจีนครับ
    ก่อนไปวัด ลูกหลานจะมาทำพิธีจีนที่โรงพยาบาลก่อน คล้ายกับกงเต็กขนาดย่อม (เพราะกงเต็กจริงๆ แพงมาก) ทำเสร็จใส่ของใช้ในโลง ไม่มีรดน้ำศพแบบคนไทย แล้วปิดโลงเลย
    จากนั้นก็ขนไปวัด, สวด, เผา, ลอยอังคาร พิธีตรงนี้ก็จะเหมือนกับที่พี่บีมบอกแล้วครับ

  • @LordTribunalBeyonder
    @LordTribunalBeyonder ปีที่แล้ว +19

    ขอเสริมเรื่องการสวดอภิธรรมศพในไทย คนไทยส่วนมากไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับภาษาบาลี
    ที่พระสวด ๆ กันไม่ได้แปลว่าให้วิญญาณผู้ตายไปดีนะครับ แต่คำแปลคือ ให้ผู้มาร่วมงานพึงระลึกไว้ว่า สุดท้ายแล้วคนเราก็ตาย สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หัดทำกรรมดีไว้ เพราะสุดท้ายแล้วเราก็ไม่เหลืออะไรทิ้งไว้บนโลก เหลือแค่เถ้าธุลี กับกรรมดี และชั่วที่ตัวเองทำไว้ “จบ”

    • @kng.whatsnext
      @kng.whatsnext ปีที่แล้ว

      คำแปลลึกซึ้งมากเลยค่ะ เตือนสติเราขนะที่ยังมีลมหายใจ

    • @MazzaCheewanich
      @MazzaCheewanich ปีที่แล้ว

      วัดสมัยนี้แปลให้แล้ว ถ้าตั้งใจฟังก็ตามนี้แหละค่ะ

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมาก ๆ เลยค่ะ

  • @tamago455
    @tamago455 ปีที่แล้ว +9

    お葬式の服装についてですが、女性は短くても肘下まで袖がある服を着ている印象があります。ジャケットを羽織ってる方も多いです。
    今回も勉強になりました☺️ありがとうございました❤

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +2

      袖も長い方がいいんですね!こちらこそ、みなさんのコメントを読んで勉強になりました~こういうコメントがたくさんあって、とっても嬉しいです(*'ω'*)

  • @ch-fv9fy
    @ch-fv9fy ปีที่แล้ว +19

    喧嘩してもすぐ仲直りできていいですね。いつまでも仲良くね。

  • @HunseI714
    @HunseI714 11 หลายเดือนก่อน

    ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องงานศพของญี่ปุ่นเหมือนกัน ดูในซีรี่ย์ก็แปปๆ เดียวเอง ได้ประโยชน์มากจริงๆค่ะ และก็สนุกมากด้วย

  • @samomanawat
    @samomanawat ปีที่แล้ว +2

    ที่ภาคเหนือตามชนบทจะตั้งศพไว้ที่บ้านครับ แล้ววันเผาจะนำโลงศพใส่ปราสาทตั้งขบวนแห่ไปเผาที่สุสาน มีคนถือตุงสามหางนำขบวนแห่ และคนที่มาร่วมงานก็จะเดินขบวนจูงปราสาทศพไปสุสานด้วยกันเลย
    ที่หมู่บ้านผมถ้าผู้ตายเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่อายุ 85 ปีขึ้นไปเค้าจะนำปราสาทศพใส่แคร่ทั้งหลังเลยแล้วช่วยกันหามไปสุสานเป็นการให้เกียรติครับ เท่าที่ผมจำความได้งานศพทวดผม 3-4 คนก็ใช้วิธีการหามปราสาทศพหมดเลยเพราะอายุเยอะกันมาก
    แต่ถ้าผู้ตายอายุไม่มากก็ใช้รถลากปราสาทศพเอาครับ
    ส่วนสุสานนั้นบางหมู่บ้านก็อยู่ในวัด บางหมู่บ้านก็จะอยู่แยกจากวัดเลย เป็นที่ที่อยู่ไกลจากตัวหมู่บ้าน
    เวลาเผาจะเผาบนเชิงตะกอนไปพร้อมกับปราสาทศพ หรือบางที่ที่มีเมรุก็จะเอาโลงศพเผาในเมรุ แล้วเผาปราสาทบนเชิงตะกอนแทนครับ

  • @pum_212yt6
    @pum_212yt6 ปีที่แล้ว +19

    ถ้าต่างจังหวัด บางคนอาจจะจัดที่บ้าน อย่างตา กับยายเราก็จัดที่บ้าน แล้วก็ไปเผาที่วัด
    แล้วสมัยนี้ก็ยังมีบางที่ ที่ยังเผาแบบเชิงตะกอนอยู่
    บางพื้นที่ก็ถ้าตายโหง ตายไม่ปกติก็จะสวดวันเดียว
    เคยมีคนรู้จักตายก่อนปีใหม่ เขาก็เผาก็ที่จะข้ามปีสวดไม่ถึงสามวันเลย
    ส่วนเรื่องส.ส.ถ้าเป็นแถวบ้านเขาจะเชิญผู้ใหญ่บ้าน รึนายกอ.บ.ต.มาเป็นประธาน เพราะก็พอรู้จักกันบาง รึบางคนก็ไม่ได้เชิญ
    แต่บ้านญาติที่อยู่ปทุมทางทีมนายกพื้นที่เขาจะจัดเตรียมเหมือนที่คุณบีมบอกเลยค่ะ
    งานศพที่คนไทยถือก็มีอาหาร จะไม่ทำเป็นเส้นยาวๆ ไม่จุดธูปต่อกัน
    แล้วก็ธูปที่จุดเรียกคนตายก็ห้ามปล่อยให้ดับด้วย เลยต้องมีทีมเฝ้า ที่นิยมก็ทีมไผ่ ทีมไฮโลนี้แหละ😅
    ที่ไทยนอกจากแต่ละศาสนาจะทำให้พิธีไม่เหมือนกันแล้ว แต่ละพื้นที่ แต่ละความเชื่อ ก็ทำให้รูปแบบงานต่างกันไปอีก

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      ที่ไทยบีมก็เพิ่งรุ้ว่าแต่ละภูมิภาคต่างกันแบบมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

  • @mickeyboygamerx2250
    @mickeyboygamerx2250 ปีที่แล้ว

    ชอบมากครับช่องนี้ ทำคลิบเลื้อยๆนะครับสู้ 😊

  • @elleyhappy8190
    @elleyhappy8190 ปีที่แล้ว +4

    ญี่ปุ่นกีบเกาหลี เลข 49 วันเหมือนกันเลยค่ะ
    เคยดูซีรี่ย์เกาหลี ยมฑูตจะมารับวิญญาณผู้เสียในวันที่เสียชีวิตวันที่ 49 เพื่อนำไปตัดสินค่ะ

  • @TakashimaYoshi
    @TakashimaYoshi ปีที่แล้ว +1

    ตอนคุณพ่อเสีย ท่านเสียที่โรงพยาบาลทางโรงพยาบาลจะประสานงานเก็บศพไว้ให้ที่ห้องดับจิต ระหว่างนั้นเราก็ติดต่อกับทางกองทัพ (พอดีพ่อเราเป็นคนของกองทัพ)​ ซึ่งถ้าประสานงานแล้ว ที่เหลือทางกองทัพจะช่วยเรื่องการจองคิวสำหรับจัดงานศพให้ค่ะ ซึ่งวัดที่ดีลกับทางกองทัพจะรันคิวให้ จากนั้นก็ปกติ แม่กับญาตก็จะประสานงานติดต่อนั่นนี่เอง (กองทัพมีเงินค่าฌาปนกิจ​ให้) กรณีนี้จะไม่มีการสวดศพที่บ้านค่ะ (ทุกอย่างทำที่วัดหมด)​
    ส่วนถ้าต่างจังหวัด อาศัยน้ำใจจากญาติ เพื่อนๆ ในหมู่บ้าน คนรู้จัก ก็สวดศพที่บ้านกัน เพราะมีพื้นที่สำหรับแขกอยู่แล้ว แล้วพอวันเผาจึงจะเคลื่อนย้ายศพไปสวด และเผาที่วัดค่ะ ก่อนฌาปนกิจ​มีสวด ให้แขกมาวัดเคารพศพ วางดอกไม้จันท์ ก่อนเผาเปิดโลงให้เห็นครั้งสุดท้าย (เฉพาะลูก เมียเห็น)​ ห้ามร้องไห้ใส่ศพ เพราะเชื่อว่าถ้าน้ำตาหยดใส่ จะทำให้เขาจากไปอย่างไม่สงบค่ะ
    ส่วนธรรมเนียมก็มีการแต่งหน้าแต่งตัวศพเหมือนกันทั้งสองที่ ก่อนจะรดน้ำศพก่อนที่จะเข้าโลง
    แล้วก็เคาะโลง กรณีของคุณพ่อไม่ได้ทำค่ะ แต่คิดว่าแม่ทำ แต่ของญาติเห็นเขาทำกันอยู่ แบบเคาะเรียกกินข้าว
    ของที่ระลึกงานศพ เดี๋ยวนี้เน้นของใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ค่ะ
    ที่เคยเข้าร่วมงานศพพิธีของคริสต์ เนื่องจากนานมาแล้ว จำได้ลางๆ ว่าสวดที่บ้าน ก็สวดตามพิธีคริสต์ปกติ นักบวชก็มีเทศน์นิดหน่อย แล้วก็มีพิธีเคลื่อนย้ายศพไปที่โบสถ์เพื่อทำพิธีฝังที่สุสานค่ะ
    เรื่องสส. นี่จริงค่ะ ของงานศพพ่อเราคือผู้ว่าสมัยนั้น แล้วก็มีเรื่องเพลิงฌาปนกิจ​(ของพ่อเราเป็นเพลิงพระราชทานค่ะ คือส่งมาไม่ได้มี noble family มานะคะ)​

  • @user-vm5cp6ji7s
    @user-vm5cp6ji7s ปีที่แล้ว

    ได้แลกเปลี่ยนความรู้ดีค่ะ

  • @chibin.3784
    @chibin.3784 ปีที่แล้ว

    Content น่าสนใจตลอดเลยค่ะ 🙌🏻 ชอบๆ

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณนะคะะะ

  • @HarryPotter_958
    @HarryPotter_958 ปีที่แล้ว

    ได้ความรู้เยอะมากครับ 🙏🏻🙏🏻🙏🏻
    รวมๆก็คล้ายๆกันเนอะ มีแตกต่างในรายละเอียดบ้าง

  • @bobohu2132
    @bobohu2132 ปีที่แล้ว +1

    ตอนปู่เราเสียก็จัดงานศพที่บ้านค่ะเพราะว่าที่ดินบริเวณข้างบ้านเป็นที่ว่างกว้างๆ ก็มีเอาเตนท์มาวาง จัดอาหารให้แขก พอเผาก็เอาไปที่วัดค่ะ ส่วนงานของพี่สาวเราจัดที่เชียงใหม่ อันนี้เอาศพไว้ที่บ้านคืนนึงเพราะพี่เราเสียตอนกลางคืน แต่ก็เรียกให้ทางวัดเอาโลงศพมาที่บ้าน ใส่ไว้ในโลงก่อนพอตอนเช้าก็ย้ายมาที่วัด จัดงานที่วัด พอวันเผาก็เอาไปที่เมรุ ซึ่งเหมือนว่าทางภาคเหนือเขาจะตั้งเมรุแยกกับวัดด้วยค่ะ โดยเมรุจะตั้งอยู่ในป่าช้า สำหรับเราได้ไปงานศพแค่ 2 ครั้งก็คือของปู่กับของพี่สาว รู้สึกว่าทางภาคเหนือจะมีวัฒนธรรมที่ไม่ค่อยเหมือนภาคอื่นเท่าไหร่ ก่อนวันเผา 1 วันเขาจะเอาโลงศพไว้ในปราสาทสำหรับตั้งศพแล้วก็ประดับด้วยดอกไม้กับไฟกระพริบ วันเผาก็จะมีจุดพลุ/จุดปะทัดก่อนเผาด้วยค่ะ

  • @LordTribunalBeyonder
    @LordTribunalBeyonder ปีที่แล้ว +4

    ขอคอมเมนท์ก่อนจะดูคลิปเลยนะครับ ยุคก่อน ร.5 คนไทยเราจะไม่มีพิธีรีตองอะไรเกี่ยวกับการจัดงานศพ ก่อกองฟอนแล้วเผาเลย (ก็จะมีให้เห็นอยู่ที่อินเดีย ณ ปัจจุบัน)
    แต่งานศพของไทยเริ่มมามีพิธีรีตองก็ตอนหลังสมัย ร.๕ ที่จะมีศาลาเผาศพ และขั้นตอนต่าง ๆ ประชาชนก็รับเอามาจากพิธีในวังนั้นแหละครับ แล้วก็กระจายไปตามต่างจังหวัด แล้วแต่คนในพื้นที่จะจัดเป็นขนบไป

  • @unamiku6532
    @unamiku6532 ปีที่แล้ว +1

    ฉากหลังซื้อได้จากที่ไหนคะชอบมากๆ

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      โฮมโปรจ้า

  • @prapaisrithchan4904
    @prapaisrithchan4904 ปีที่แล้ว +4

    ที่ไทยมีทั้งไว้ที่วัดและที่บ้าน เสร็จพิธีทางศาสนาแล้วจึงเคลื่อนศพไปฌาปณกิจที่ป้าช้า วัดไม่จำเป็นต้องมีเมรุ เพราะมีเมรุประจำทุกหมู่บ้านนะคะน้องบีม

  • @wit2554
    @wit2554 ปีที่แล้ว +3

    4:10 โรงศพหรูกว่าจีนอีก
    8:20 ตายแล้วไปไหน แต่ก่อนก็ไม่รู้เหมือนกัน อยู่ที่สภาวะจิตสุดท้าย เป็นอย่างไร ถ้าจิตสงบ ก็ไปสุคติ

  • @umicos-swimS14
    @umicos-swimS14 ปีที่แล้ว +1

    เมื่อ 2 ปีที่แล้ว พี่ของคุณยายเสีย ทางบ้านก็ ไปรดน้ำศพที่บ้านก่อน แล้วก็เข้าไปอยู่ในโลงเย็น สวดที่บ้าน 7 วัน พอวันที่ 7 ก็ย้ายศพไปที่โลงไม้ เคลื่อนไปที่วัด (มีการโปรยเหรียญ เหมือนว่านำทางวิญญานไปที่วัด) แล้วสวดช่วงบ่าย บอกประวัติผู้เสียชีวิต และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กๆ (คุณพี่ของยายท่านเป็นคนน่ารักจิตใจดีมากกกกก) พอเล่าประวัติมอบทุนเสร็จปุ๊บก็คนร่วมพิธีก็วางดอกไม้จันทร์ แล้วเคลื่อนศพไปที่เตาเผา เดินรอบเตาเผาทั้งหมด 3 รอบ และมีการโยนเหรียญโปรยทานระหว่างเดินด้วย เสร็จแล้วก็ เป็นการวางดอกไม้จันทร์ของคนใกล้ชิด(คนในครอบครัว) ก่อนเผา ซึ่งเตาเผาล่าสุดใช้เวลาเผาไม่นาน (เผา บ่าย 3 บ่าย 4 เก็บเถ้ากระดูก ช่วงค่ำๆ ประมาณ 6:30 หรือ ทุ่มหนึ่ง) เผาเสร็จก็เก็บแล้วพากลับบ้าน แล้วระหว่างพากลับบ้านก็บอกว่า "แม่จ๋ายายจ๋ากลับบ้านกันเถอะ" แล้ววันถัดมาก็สวดหลังเผาเสร็จเป็นอันเสร็จสิ้น ของบ้านหนู

  • @tarahuku101
    @tarahuku101 ปีที่แล้ว +4

    祖母のお葬式はお坊さんと一緒にみんなで読経するスタイルでした。初めての読経というのもありましたが、途中、思わぬところでメロディ?が上がったり下がったりするので音程が外れてしまい、みんな笑いをこらえながら必死の読経。祖母のようにあったかくてほのぼのしたお葬式でした~😊

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +2

      ほっこりする、あまり悲しくならないお葬式、素敵ですね☺️
      笑顔がたえないおばあさまだったんでしょうね🤗

  • @patnham
    @patnham ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะที่เอามาเล่าให้ฟัง สงสัยอยู่เหมือนกัน อยู่เมืองไทยมีคุณย่าเสียชีวิตที่บ้าน ตอนนั้นให้หมอมาฉีดยาศพเอาไว้ร้อยวัน รอพ่อกลับจากต่าง ปท แล้วเอาไปวัดเผา ตอนพ่อ ล้มที่บ้านไป รพ แล้วเสียย้ายจาก รพ ไปวัด สวด7วันเผาแล้วไปลอยอังคาร ส่วนป้า2คนบริจาคร่างเป็นครูใหญ่ ทาง รพ รับร่างไป คนแรกนิมนต์พระมาสวดที่บ้าน หลังจาก2ปี นศแพทย์ร่วมกันจัดงาน เชิญญาติไปร่วมพิธี เผาแล้วมอบกระดูก เราก็เอาไปลอยอังคาร ป้าอีกคน รพ มารับร่างไป ญาติร่วมกันไปวัดสวดทำบุญ เราก็ออนไลน์ ตอนนี้ยังใช้ร่างในการศึกษา ฉันอยู่อเมริกา ที่อเมริกาน่าจะเหมือนที่เล่าของทางญี่ปุ่นค่ะ ทางนี้ แจ้ง สถานที่จัดงานศพ เขาเอาร่างจากบ้านหรือจาก รพ ไปสถานที่ จัดงาน เขาจะมีเปิดโลงให้เห็นเพื่ออำลา มีคนไทยถือคริสต์ส่วนภรรยาถือพุทธ ก็มีทั้งบาทหลวง มีพระมาสวด งานคนญี่ปุ่นก็มีพระญี่ปุ่นมาสวด คนอเมริกันปกติก็มีผลัดกันญาติพี่น้องเพื่อนขึ้นมาพูดไว้อาลัย แล้วก็เผาที่นั่นเลย ถ้าจะฝังก็มีรถเอาโลงไป ญาติพี่น้องก็ตามขบวนเปิดไฟกระพริบๆตามกันไปทำพิธีฝังค่ะ เห็นบางงานของคนอเมริกาใต้ให้คนทำศพจัดการร่างใส่โลงแล้วเอาไปที่โบสถ์ที่เป็นสมาชิก ให้บาทหลวงทำพิธี รวบรวมเงินบริจาคกัน แล้วทำเรื่องส่งร่างไปฝังที่ ปท ที่จากมา ส่วนตัวถ้าตายที่อเมริกา บริจาคอวัยวะค่ะ เตรียมค่าทำศพไว้ ไม่ต้องเชิญใคร เผาแล้วจะไปโปรยที่ไหนทิ้งไหนก็แล้วแต่ ถ้าได้กลับไทยจะไปบริจาคร่างค่ะ

  • @manjung2987
    @manjung2987 5 หลายเดือนก่อน

    ได้ความรู้ดี

  • @knittha_7564
    @knittha_7564 ปีที่แล้ว

    งานศพไทยสมัยก่อน(ย้ำว่าสมัยก่อนนะคะ) เวลาตายก็จัดงานศพที่บ้านสวดตามกำหนดพอวันเผาค่อยย้ายไปเมรุ
    แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป บ้านคนมีพื้นที่น้อยลงตามจำนวนประชากรที่มากขึ้น สภาพแวดล้อมผู้คนเริ่มหลากหลายขึ้น
    การจัดงานศพที่บ้านเริ่มไม่โอเคทั้งเรื่องเสียงเรื่องกลิ่น วัดก็พัฒนามีศาลาจัดงานสวดศพ คนก็เริ่มจัดงานศพที่วัด
    ธุรกิจรับจัดงานศพถึงค่อยเกิดขึ้นในยุคใหม่ตั้งแต่จัดหาโลงบรรจุศพจองศาลาจองเมรุยันจัดดอกไม้ประดับงานค่ะ
    ธุรกิจพวกนี้จริงๆ ก็ไม่มีความจำเป็นในทางพิธีกรรมศาสนา แต่สำหรับญาติคนตายก็มีคุณค่าทางใจมาก
    ลูกหลานอยากจัดงานส่งวิญญาณให้คนตายได้บุญมากที่สุดแลกกับค่าใช้จ่ายที่แพงเอาเรื่อง

  • @salonmoune9283
    @salonmoune9283 ปีที่แล้ว +1

    งานศพทางเหนือ ส่วนใหญ่จะไว้ที่บ้านก่อน โดยจะสวดที่บ้านทุกคืน พอวันที่จะเผา ค่อยเคลื่อนย้ายไปที่วัดแต่เช้าตรู่.. ทำพิธีการช่วงกลางวัน จนถึงเวลาที่จะเผาค่อยลากจูงไปป่าช้าซื่งจะคนละที่กะวัด. ทำพิธีเผาจริงอีกที

  • @mwnaris181
    @mwnaris181 ปีที่แล้ว

    หัวข้อวันนี้ น่าสนใจมากๆครับ

  • @jatuphongwingwan8724
    @jatuphongwingwan8724 ปีที่แล้ว

    ครอบครัวผมเคยปล่อยบ้าน ให้เช่า เป็น ครอบครัว คนญี่ปุ่น ผู้สูงอายุ 2 คนอยู่ด้วยกัน วันหนึง สามี เสียชีวิตร ในบ้านพักที่ครอบครัวผมปล่อยให้เช่าครับ ทางครอบครัวผมเป็นคนจัดการให้หมดเลย ตั้งแต่ ติดต่อวัด จัดการเรื่องดอกไม้ จัดหาพระสวด ต่างๆ แต่ทางภรรยา ก็ไม่ได้มี request อะไรเป็นพิเศษ ออกแนว เรียบง่ายมากๆเลย แต่ทางครอบครัวผมก็จัดงานศพให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางครอบครัวเค้าก็ไม่ได้เรียกร้องอะไรเป็นพิเศษ แต่เท่าที่ดูตอนสวด หรืออะไรต่างๆ เค้าก็จะมีพิธี ของเค้า บทสวดของเค้า และมีการสวดโดยใช้ลูกประคำ เป็น พิธีของเค้าไป พอเสร็จงานศพ ทางครอบครัวเค้าก็มาขอบคุณทางเราใหญ่เลยที่เป็นแม่งานจัดให้ ผมว่าไม่น่ามีอะไรต่างมาก เท่าที่ผมดู อาจจะเป็นเพราะว่าเค้าอยู่ต่างแดนด้วยหรือเปล่า เลยเข้าใจว่าเรียกร้องอะไรไม่ได้เยอะ

  • @czzxzx_MadeinHeaven48
    @czzxzx_MadeinHeaven48 ปีที่แล้ว +2

    ปกติโลงศพข้างในมันเป็นตู้เย็นครับ คือต้องเสียบปลั๊กด้วยไว้แช่เย็นศพ ฟอร์มาลีนอย่างเดียวเอาไม่อยู่

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      ของคุณตาบีมมะได้เป็นตู้เยงง่ะ

  • @555555knight
    @555555knight ปีที่แล้ว +1

    ตอนงานศพของคุณยาย ตอนสมัยเด็กจัดที่บ้านแล้วไปเผาที่วัดครับ แต่สมัยนี้น่าจะจัดที่วัดหมดแล้ว ส่วนงานญ๊่ปุ่น ดูหนังเรื่อง Departures น่าจะเข้าใจมากขึ้นครับ

  • @nalunalu2456
    @nalunalu2456 ปีที่แล้ว +1

    พ่อของเพื่อนญี่ปุ่นที่โตเกียวพึ่งเสียชีวิต เมื่อสองสัปดาห์ก่อน
    ก็เลยพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นไปว่า ขอแสดงความเสียใจด้วย เค้าตอบ ขอบคุณมากๆ กลับมา
    แล้วหลังจากนั้นก็ไม่รู้จะพิมพ์อะไรเลย เพราะคิดว่า ธรรมเนียมญี่ปุ่นคงมีลักษณะการพูดที่ละเอียดอ่อน
    จนถึงตอนนี้ก็ไม่ได้พิมพ์อะไรต่อจากตอนนั้นเลยครับ

  • @TI-bq1cg
    @TI-bq1cg ปีที่แล้ว +1

    จังหวัดเราจะจัดที่บ้านซะส่วนใหญ่ค่ะ วันเผาค่อยย้ายไปที่วัด แต่ถ้าบ้านเล็กก็จะไปจัดที่วัดทีเดียวเลย ส่วนใหญ่จะจัด 3 วัน ถ้ารวยก็ 7 ถ้าไม่มีเงิน 1 วันก็มีค่ะ เวลาใส่ซองมาตรฐานจะ 300 แต่คนตำบลเราไม่ค่อยมีเงิน เขาก็จะใส่ 100 ค่ะ แล้วต้องจดไว้นะคะ เพราะเวลาเราไปงานศพที่คนที่เคยใส่ซองให้เราเป็นเจ้าภาพก็ต้องใส่คืนเป็นจำนวนที่เขาใส่ให้เราด้วย จริงๆงานศพตามต่างจังหวัดหลากหลายมาก พื้นที่ห่างกันแค่ 20 โลก็พิธีไม่เหมือนกันแล้วค่ะ ต้องปรับตัวตามทุกครั้งที่ไปต่างตำบล 😅

  • @shoccococo7856
    @shoccococo7856 ปีที่แล้ว

    ได้ความรู้เยอะมากเลยค่ะ จากประสบการณ์คนต่างจังหวัดภาคอีสานจะเก็บศพมาสวดอภิธรรมที่บ้านนะคะ ถึงวันเผาค่อยเคลื่อนศพไปวัด คิดว่าที่เป็นแบบนี้อาจเป็นเพราะต่างจังหวัดวัดใกล้บ้าน เดินทางสะดวกกว่า (โดยเฉพาะในชุมชนเล็กๆ ที่มีวัดบ้านโรงเรียนครบในตัว)

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      นี่ก็ไม่รู้เลยว่าที่อื่นเขาเอาไว้ที่บ้านกัน 😂

  • @user-ff7lx3cv3f
    @user-ff7lx3cv3f ปีที่แล้ว

    ภาคกลางแล้วแต่สดวกถ้าบ้านมีที่กว้างขวางอาจตั้งท่ีสวดที่บ้านได้ หรือตั้งศาลาประชาคมประจำหมู่บ้าน แต่สะดวก
    ที่สุด ตั้งสวดและเผาที่วัดเลย ทางภาคเหนือสุดจะตั้งสวดที่บ้าน ครบกำหนดแล้วนำศพไปเผาที่ สุสานหลวงประจำหมู่
    ลบ้าน

  • @arhusdk2916
    @arhusdk2916 ปีที่แล้ว +3

    ตามต่างจังหวัดก็มีไว้ที่บ้านเหมือนกันครับ อย่างน้องชายผมที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ตอนเสียชีวิต ก็ตั้งโลงจัดงานที่บ้าน คิดว่าในกรุงเทพ หรือเมืองใหญ่ ๆ การไปจัดงานทั้งหมดที่วัดจะสะดวกกว่า

  • @jeffryjoy3739
    @jeffryjoy3739 ปีที่แล้ว

    เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีเพื่อนที่รร.จากห้องเดียวกันเสียชีวิต เขาเสียไปในช่วงวัยเรียน(เท่าผมเลย) ผมก็ได้ไปร่วมงานศพเพื่อน แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ดูคลิปนี้ เลยไม่ทราบว่าในงานเขาทำอะไรบ้าง เพราะจำไม่ได้ว่าเคยไปรึเปล่า วันนี้ได้ดูคลิปนี้แล้วก็เริ่มเข้าใจขึ้นเยอะเลยครับ
    เสียดายที่ผมยังรู้จักกับเขาได้ไม่นานก็จากไปแล้ว

  • @kiyo2316
    @kiyo2316 ปีที่แล้ว +2

    ビーム先生、いさか君初めまして!前に、タリンチャンの水上マーケットの時にランぺぺノ(アロイ)この言葉はチェンマイの言い方です!ビーム先生が知らなかったのは以外でした!本題に戻りますね!私も、10年前にタイの葬式に出た事があります!タイの葬式は、とても長くお坊さん(おっさん)がとても沢山居ました!ビックリしました!参拝者が、250人位居て日本人は私1人で凄く緊張した覚えがあります!私の服装は、礼服は持って行って無いので黒のTシャツとデニムの短パンで出ました!日本との違いが良く分かりました!これからも楽しみにしてます!

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      経験のシェアありがとうございます(*'▽')
      お坊さんが何人も来るのも日本との違いですね!

  • @chalinankantiwa7171
    @chalinankantiwa7171 ปีที่แล้ว +3

    ที่ญี่ปุ่นสมัยก่อนก็มีที่จัดที่บ้านค่ะ
    แต่ปัจจุบันก็แทบไม่มีแล้วเพราะมันยุ่งยาก เลยนิยมจองฮอลล์จัด และ สามารถจองห้องไว้ศพได้ค่ะ ก่อนจัดงาน อยู่ในแพ็คเกจ
    อันนี้จากประสบการณ์ที่ทำงานเป็นตากล้องงานศพที่ญป นะคะ
    ที่อื่นไม่แน่ใจว่าระบบเดียวกันไหม เพราะแต่ละที่แต่ละบริษัทรับจัดงานแต่ละแพ็คเกจก็จะแตกต่างกัน
    ส่วนงานที่เรียกว่าโอะทสึยะ ก็แล้วแต่ค่ะ บางคนก็ให้คนในบริษัทมางานโอทสึยะ แต่อีกวันให้เฉพาะคนในครอบครัว เพราะจะต้องปิดโลง ใส่ของในโลง
    ส่วนสวดอภิธรรม ยาวสั้นแล้วแต่ค่ะ เคยเจอนานสุด45นาที
    Juzu หาซื้อได้ทั่วไป ในฮอลล์ก็มีให้ยืมค่ะ
    การโรยกำยานก็ไม่เหมือนกันค่ะ แล้วแต่ลัทธินิกานที่นับถือ แตกต่างกันตั้งแต่จำนวนครั้ง และ ตำแหน่งมือ
    เรื่องเทศนาก็แล้วแต่ค่ะ บางทีก็ไม่มี
    การทักทายของญาติก็แล้วแต่เช่นกันค่ะ
    การใส่ของในโลงก็ต้องเลือกเพราะบางชิ้นใส่ไม่ได้ เพราะจะทำให้มีสีตกเวลาเก็บกระดูก บลาๆ กฎเล็กๆ น้อยๆ
    เรื่องชุด ถ้าเป็นนักเรียนก็ใส่ชุดนักเรียนได้
    ส่วนชุดที่คุณบีมใส่ อย่างที่คุณอิซากะบอก ต้องมีเสื้อคลุมค่ะ
    พวงหรีดที่ญี่ปุ่นจะเป็นดอกไม้สด ไม่มีดอกไม้แห้งนะคะ (เคยเห็นที่เป็นของกินก็มี เป็นพวก ขนม อาหารกระป๋อง ผลไม้)
    พอจะต้องใส่ของในโลงก็จะตัดดอกไม้จากพวงหรีดใส่ค่ะ
    ราคาแพงมากกกกกกกกกกก
    แต่ยิ่งแพงก็จะยิ่งใหญ่มาก ก็หมายถึงสนิทมาก บลาๆ
    แต่ถ้าของที่ผู้เสียชีวิตชอบ ญาติจะเตรียมมาเองค่ะ
    เขาจะมีตำแหน่งให้ใส่ ห้ามปิดหน้าผู้เสียชีวิต ขนมให้ใส่ตรงท้อง ดอกอื่นก็ใส่รอบได้ แต่รอบหน้าผู้เสียชีวิตจะใส่ดอกกล้วยไม้ขาว ตอนท้าย และ ห้ามปิดหน้าผู้เสียชีวิตเช่นเดิมค่ะ
    อันนี้แชร์จากประสบการณ์ที่ญี่ปุ่นนะคะ
    ส่วนที่ไทยเราเป็นเด็กต่างจังหวัดก็ตามที่ทุกๆ คนคอมเม้นเลยค่ะ

    • @chalinankantiwa7171
      @chalinankantiwa7171 ปีที่แล้ว

      タイ語でコメントしましたが、
      日本でお葬式のカメラマンとしての経験をシェアさせていただきました
      一応それも一部のお式なので
      やり方とかも宗派によりますね
      お二人とも、素敵な動画ありがとうございました😊

    • @adisakyurayard5761
      @adisakyurayard5761 ปีที่แล้ว

      ดีจัง ได้รู้เรื่องงานสังคมของบ้านเมืองอื่นมากขึ้น🤔🤔

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณมาก ๆ ที่มาช่วยแชร์ประสบการณ์และความคิดเห็นค่ะ ได้ความรู้ใหม่เยอะมากเลย

  • @czzxzx_MadeinHeaven48
    @czzxzx_MadeinHeaven48 ปีที่แล้ว

    อ้อมีอันที่สงสัย คือ มะเขือม่วงที่ทำเป็นม้าอะครับ ใช้ไหว้ตอนไหน หรือเฉพาะในบ้าน

  • @MindGuitarist
    @MindGuitarist ปีที่แล้ว

    บางพื้นที่ ศพจะไว้ที่บ้าน งานก็จัดที่บ้าน (สำหรับบ้านที่มีพื้นที่เยอะ ไว้สำหรับจัดงาน) หลังจากนั้นไปเผาที่วัด ครับ แถวบ้านผมเป็นแบบนี้ มีทั้งจัดที่วัดและจัดที่บ้าน

  • @gaggedfridge7723
    @gaggedfridge7723 ปีที่แล้ว +1

    บ้านนอกส่วนมากจัดงานศพที่บ้าน3 สวดอภิธรรมก็ที่บ้าน2วัน วันที่3ตอนเย็นก็เข้าวัดไปเผา สรุปไปวัดเเค่ตอนเผา

  • @user-bn5go8wn4w
    @user-bn5go8wn4w ปีที่แล้ว

    ขอบคุณที่ตอบ

  • @user-dr8tn3wv4x
    @user-dr8tn3wv4x ปีที่แล้ว +1

    งานศพไทย ก็ไว้ที่บ้านเหมือนกัน ตอนเด็กเคยเห็น พระมาสวด ทุกวันนี้ก็มี

  • @esa8301
    @esa8301 ปีที่แล้ว

    ☕ ขอบคุณญี่ปุ่นมากไปครับ

  • @guych.4326
    @guych.4326 ปีที่แล้ว

    ของผม ตจว. เชียงราย ไว้ที่บ้านไม่ได้ไปที่วัดนะ
    ตั้งโลงในบ้าน นิมนต์พระมาสวด แล้วแต่จัด 3,5,7 วัน แล้ววันเผาก็มีพิธีลากจูงโลง(ตั้งไว้บนรถแห่) ไปยังสถานที่เผา

  • @sueysamer
    @sueysamer ปีที่แล้ว +2

    ขอเสริมงานของฝั่งญี่ปุ่นค่ะ คนที่จะกล่าวขอบคุณแขกที่มาในงานส่วนมากจะเป็นลูกชายคนโตค่ะ และเวลาใส่เงินในซองถ้างานศพต้องกลับด้าน คือเอาด้านที่ไม่มีรูปบุคคลสำคัญขึ้น (ถ้าเป็นงานมงคลจะเอาด้านที่มีรูปบุคคลสำคัญขึ้น) อ้างอิงจากประสบการณ์ค่ะ อยู่ฟุกะยะ ไซตะมะ

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณมากค่าาาา ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลย

  • @pza9837
    @pza9837 ปีที่แล้ว +3

    อยากให้ไป thai fest อีก

  • @ILOVEYOU-bv5xj
    @ILOVEYOU-bv5xj ปีที่แล้ว +1

    แถวบ้านผม จ.พะเยา เอาไว้บ้านครับพอถึงวันเผ่าก็แห่ไปป่าช้าเลยครับ หรือจะเอาไว้วัดก็ได้ครับแล้วแต่สะดวก

  • @user-yd9bi3oj8h
    @user-yd9bi3oj8h ปีที่แล้ว +2

    ที่ไทย ภาคอีสานไว้ที่บ้านส่วนใหญ่ ที่ใต้ไว้ที่วัดหรือที่บ้านก็ได้แล้วแต่สะดวก

  • @Kendokung
    @Kendokung ปีที่แล้ว

    ทางใต้ถ้าไว้ศพที่บ้าน จะมีการเลี้ยงอาหารกันได้ทั้งวัน เพราะบางทีญาติมิตรอาจจะไม่สะดวกมางานกลางคืน ก็จะมากันกลางวัน มาได้ตลอดทั้งวัน เจ้าภาพก็จะต้องมีอาหารเผื่อเลี้ยงได้ตลอด แต่อาจจะไม่จัดเต็มครบเซ็ตแบบตอนกลางคืนครับ
    ยิ่งบางพื้นที่ อาหารจะเลี้ยฃเต็มที่มาก เค้าถือว่าทำบุญให้ผู้ตายครั้งสุดท้าย ถ้ามางานแล้วไม่กินนี่อาจจะเคืองกันไปเลยก็มีครับ

  • @user-fd5sm8iz2c
    @user-fd5sm8iz2c ปีที่แล้ว

    หมู่บ้านหนูก็จัดดงานอยู่บ้านก่อน สวดมนต์อะไรต่างๆ2 /3วัน แล้งค่อยค่นย้ายศพที่วัดค่ะ

  • @user-wu6lp2tx9l
    @user-wu6lp2tx9l ปีที่แล้ว

    บ้านผมอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ จัดงานศพที่บ้าน เเละเผาที่สุสานเลย ไม่เข้าวัด สุสานอยู่นอกวัด

  • @dodomapa4398
    @dodomapa4398 ปีที่แล้ว +1

    ภาคอีสานตามบ้านนอกบางหมู่บ้านจะมีวัฒนธรรมการทำปราสาทผึ้งไว้ที่บ้านของผู้ตายหลังจากมีการเผาศพแล้ว อารมณ์แบบกงเต็กของคนจีนอะครับ ในตัวปราสาทผึ้งแบบโบราณก็ทำมาจากกล้วยตานีมาสร้างให้รูปร่างเหมือนบ้านหรือปราสาท ในตัวปราสาทก็มีหมอนมุ้ง ที่นอน เครื่องครัวหม้อไหจานชามและนิมนต์พระมาสวดที่บ้าน ตัวปราสาทประดับไว้ที่บ้าน 1 คืนหรือมากกว่าแล้วแต่ญาติผู้ตาย หลังจากทำพิธีเสร็จก็จะเอาของต่างๆในปราสาทผึ้งไปถวายวัดก็เป็นอันจบพิธี สำหรับผมพิธีนี้คิดว่าอีกไม่นานก็อาจจะหายสาบสูญไปตามกาลเวลาเพราะเป็นพีธีโบราณที่แทบไม่มีการสานต่อ เพราะนี้ก็พึ่งจัดให้ญาติที่เสียไป

  • @tommyamm
    @tommyamm ปีที่แล้ว

    จัดงานศพที่บ้านก็มีครับ ในกรุงเทพนี่ละครับ อยู่ที่ความเห็นครอบครัวและญาติๆ ครับว่าจะจัดที่งานศพที่วัด หรือที่บ้าน ถ้าจัดงานศพที่บ้าน วันเผาศพต้องไปวัด ครับ

  • @thongsaipourudomcharoen3066
    @thongsaipourudomcharoen3066 10 หลายเดือนก่อน

    ผมกําลังจะบินไปงานศพน้องชาย ผมต้องแต่งตัวยังไงคับ

  • @user-bx1fc4kd6b
    @user-bx1fc4kd6b ปีที่แล้ว

    ใช่ครับ นักการเมืองจะเเวะไปตามงานศพทำไม งงเหมือนกัน ตอนผมบวชเเทบทุกงานศพเลยครับ

  • @sleepykatdj5263
    @sleepykatdj5263 ปีที่แล้ว

    เชียงใหม่ตั้งที่บ้านนะคะ คนมารว่วมงานที่บ้าน พอวันเผาชาวบ้านจะมาช่วยกันจูงรถที่บรรทุกศพ ซึ่งเราก็จะทำเป็นปราสาทอะไรงี้ไปที่สถานฌาปนกิจ ซึ่งก็ไม่ได้อยู่บริเวณวัด แต่จะแยกไปอีกส่วนๆ มากก็ใกล้ๆวัดค่ะ

  • @nattaphoomchanakoch936
    @nattaphoomchanakoch936 ปีที่แล้ว +2

    มีงานแต่ง งานศพแล้วของงานบวชด้วยครับพี่บีม

  • @takagifamlifeinjapan8180
    @takagifamlifeinjapan8180 ปีที่แล้ว

    พ่อสามีพึ่งเสียปีที่เเล้ว จัดงานศพที่บ้านก่อน3วันเเล้วค่อยย้ายไปจัดที่จัดเฉพาะ 1คืน กับอีก1วันค่ะ การจัดงานศพที่บ้านจะไม่นำใส่โลงใดๆจะให้นอนที่ฟุตอนที่นอนญี่ปุ่นสีขาวในห้องญี่ปุ่น เปิดแอร์เบอร์เเรงสุดเเละให้นอนหมอนน้ำเเข็งค่ะ เราเจอครั้งเเรกอึ้งเลยค่ะวางกลางบ้านให้ญาติมาลูบมาคลำมาพูดคุยกันกับศพเลยค่ะ นอนอย่างนั้นเลยทั้งวันทั้งคืนเราก็ใช้ชีวิตปกติเลยค่ะกินข้าวอาบน้ำ กินเสร็จก็เข้าไปคุยกับศพต่อก่อนจะนอนก็ไปบอกฝันดี ส่วนเเม่สามีคือแกเศร้ามากวนเข้าเเต่ห้องตั้งศพ กลางคืนก็ขอไปนอนกับศพนอนกอดศพทั้งหนาวๆเลยค่ะ สงสารมากๆเลย การเเต่งกายคือต้องใส่ชุดสูทขาวดำสำหรับผู้ชาย ผู้หญิงจะใส่ชุดเดรสกะโปรงคลุมเข่าหรือวันพีช จะต้องใส่สร้อยไข่มุกสีขาวเท่านั้นห้ามใส่อยาางอื่นเเหวนเเต่งงานก็ต้องถอดเเละจะต้องมีกระเป๋าถือสีดำเเละผ้าเช็ดหน้าสีขาวเเละจะต้องใส่ถุงน่องสีดำห้ามโชว์ขา(เป็นธรรมเนียมปฎิบัติที่ค่อนข้างเคร่งครัด) การเผาศพที่ญี่ปุ่นไวมากค่ะ1ชั่วโมงก็นั่งรอเก็บกระดูกได้เลย เมื่อเสร็จงานเเม่สามีก็จองร้านอาหารเเบบโอมากาเซะเลี้ยงเเขกมี่มาทุกคนค่าใช้จ่ายสูงมากๆค่ะหลักล้านบาทเลย ก่อนที่จะส่งศพไปเผาเเม่ย่าเราร้องไห้ใจจะขาดเลยค่ะปกติเเกจะไม่เรียกชื่อกันไม่บอกรักกันตามสไตล์คนญี่ปุ่นเเต่วันนั้นทั้งเรียกชื่อทั้งบอกรักทั้งกอดทั้งหอมศพ ลูกหลานก็ร้องไห้ตามเลยค่ะ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะบอกรักกอดกันเเสดงความรักต่อกันให้มากๆจะดีกว่านะคะ อย่ารอให้ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตเลย 🥲

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณค่ะ เห็นภาพเลยอะ แงๆๆเศร้าจัง แ ต่ว่าการเอาศพวางนอนเปล่า ๆ สำหรับบีมก็ยังเป็นวัฒธรรมที่แปลกใหม่จริงๆ

  • @WisteriaSR
    @WisteriaSR ปีที่แล้ว

    อยู่ทางเหนือค่ะ งานศพจัดบ้านตลอดเลย พอรู้จักเพื่อนภาคกลางเขาจัดที่วัดแล้วรู้สกึกแปลกเลย

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      พี่ก็เลยรู้สึกว่าตัวเองแปลกไปเลยตอนนี้ เพราะในคอมเมนต์ทุกคนเอาไว้ที่บ้าน 555

  • @user-rp4vx5fn3v
    @user-rp4vx5fn3v ปีที่แล้ว

    เผาที่เมน จัดงานศพที่บ้านค่ะ บางคนก็น่าจะจัดที่บ้านล่ะมั้งคะ (สกลนคร)

  • @Mrspooh
    @Mrspooh ปีที่แล้ว +3

    私が行ったお葬式では皆さん喪服を着てますね。
    喪服が用意出来なかった方は片腕に黒い腕章をしていました。
    女性は膝下丈のスカートで黒のストッキングでした。靴も光沢の無いものと聞いてます。アクセサリーはパールのみ付けていいらしいです。
    最近は葬儀、初七日法要はその日にやってしまうらしいです

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +2

      服装マナーについては日本の方が厳格かもしれませんね。
      詳しく情報を追加していただきありがとうございました(*'▽')

  • @10VELY01
    @10VELY01 ปีที่แล้ว +1

    ตจวแถวอีสานจัดที่บ้านใส่ไว้ในโลง แล้วค่อยเอาไปเผาที่วัด ระหว่างเดินไปเผาจะมีโปรยทานทุกทางแยกด้วยค่ะ แห่รอบเมรุเวียนขวา 3 รอบ ก่อนจะเผาก็มีโปรยทานด้วย (โปรยบ่อยมาก5555)
    ปล.เห็นของญี่ปุ่นวางไว้เฉยๆไม่ใส่โลงแล้วแอบน่ากลัวอยู่นะ ;-; เปิดโลกมากเลย ขอบคุณสำหรับคลิปดี ๆ นะคะ ได้ความรู้เยอะแยะเลย💕

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากค่ะ ดีใจที่ชอบค่ะ นี่ก็เป็นคนกรุงเทพ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าท้องถิ่นเขาจัดไม่เหมือนเราเลย อ่านแต่ละคอมเม้นต์แล้วเปิดโลกมาก

  • @user-mb9kf6mb7y
    @user-mb9kf6mb7y ปีที่แล้ว

    ที่บ้านอยู่ต่างจังหวัด ไม่แน่ใจว่าเป็นผู้บุกเบิกรึเปล่า จะให้ขนม+น้ำ+ของที่ระลึกในวันที่สวดเลย(ไม่ทำอาหารเลี้ยงเพราะคนในเมืองจะไม่ค่อยกินกัน ไม่เหมือนรอบนอกที่ต้องเลี้ยงกันทั้งวันทั้งคืน) เพราะวันเผาซึ่งเป็นกลางวัน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสะดวกไปร่วมงานกันค่ะ

  • @grisada
    @grisada ปีที่แล้ว

    ดูเพลินดีครับ ...

  • @poomercaster7250
    @poomercaster7250 ปีที่แล้ว +1

    ตจว.ยังมีจัดงานศพที่บ้านอยู่ค่ะ แล้วแต่เจ้าภาพ

  • @icepoonyawee7957
    @icepoonyawee7957 ปีที่แล้ว +6

    แถวๆภาคเหนือส่วนมากจะจัดงานศพที่บ้านครับถ้าไม่ใช่ในตัวเมืองที่แออัดอะไรจะจัดที่บ้านครับ ปู่ผมก็พึ่งเสียเดือนที่แล้วจัดที่บ้านเลยครับ พวกเต็นท์พวกของกินคนในหมู่บ้านก็ช่วยๆกันครับ แต่เดี๋ยวนี้สั่งมาเป็นชุดก็มีครับมันง่ายดี ส่วนพิธีก็ทั่วๆไปครับ ส่วนตอนจะเผาก็จะมีจูงรถใส่โลงแล้วเดินไปเมรุครับแล้วเผา

  • @user-qy4fv6rg7w
    @user-qy4fv6rg7w ปีที่แล้ว +2

    ดูไปดูมาไทยกับญี่ปุ่น คล้ายๆ กันนะ แต่พึ่งรู้ว่าที่เผาคนละที่ ใส่ของไปในโลงศพญี่ปุ่น แต่ของไทยต้องไปบังสกุล น้ำอบไทย ก็ใช้ในวันสงกรานต์ด้วยนะ

  • @theend0066
    @theend0066 ปีที่แล้ว +1

    แถวบ้านผมเอาไว้ที่บ้าน2-3วัน ตอนเผาก็ค่อยเอาไปวัด แต่ก่อนไว้นานกว่านี้เดี๋ยวนี้ไว้ไม่กี่วันก็เผาละ

  • @praneegundersen613
    @praneegundersen613 ปีที่แล้ว

    หลังจาก 3 วันย้ายศพไปที่วัดค่ะ

  • @gipaul2294
    @gipaul2294 ปีที่แล้ว +2

    จากประสบการณ์ งานศพย่า(เสียชีวิตที่บ้าน-งานไว้ที่บ้าน)
    ข้อ 1 เมื่อมีคนตาย
    ตอบ : แบ่งหน้าที่กัน พ่อไปที่ว่าการอำเภอไปขอใบมรณบัตร ยายโทรหาญาติ แม่ไปเรียกเพื่อนบ้านมาช่วยกันเตรียมของประชุมว่าแต่ละวันจะทำอะไรบ้างเช่นพระที่มาเทศน์+กับข้าว ส่วนลุงจัดการศพ(เปลี่ยนเสื้อผ้าหวีผมเตรียมรดน้ำศพ)
    ข้อ 2 เวลาจัดงาน
    ตอบ : ตั้งแต่ตาย-เผาจัด 4 วัน เผาเสร็จนับไปอีก2-5วันเป็นทำบุญกระดูก แล้วนับไปอีก94-97วันเป็นการทำบุญ100วัน
    ข้อ 3 พิธีการ
    ตอบ : กลางวันไม่มีอะไรพี่ๆน้องๆหรือคนข้างบ้านมานั่งพูดคุยกันแบบสัพเพเหระส่วนตอนกลางคืนทุกคืน+ตอนเที่ยงวันที่เผาก็มีสวดอภิธรรม ในเรื่่องการไหว่ไหว้ตามปกติยกเว้นตอนพระเทศน์ที่มันนานๆจะไหว้หรือไม่ไหว้ก็ได้และช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนในงานเอาเมล็ดทานตะวันกับส้มตำมากิน55
    3.1 การเคารพศพ: จุดธูป1ดอก/วางดอกไม้จันทน์
    3.2 เรื่องที่ใช้เทศน์/สวดอภิธรรม : สวดอภิธรรมใช้เหมือนกันทั้งประเทศคือพระอภิธรรม7คัมภีร์(บทอกุสลาธรรมมา อกุสลาธรรมมา)เป็นบทสวดสำหรับคนยังมีชีวิต ส่วนบทเทศน์จะใช้คือ 1.มหาวิบากกรรม=ว่าด้วยเรื่องผลกรรมต่างๆ 2.มาลัยโผด=ว่าด้วยเรื่องของพระมาลัยโปรดสัตว์ในนรกยกเว้นพวกทำกรรมหนัก5ข้อ 3.อนิสงค์การไปงานศพ(นิยมเทศน์ก่อนไปเผา) 4.การเทศน์แบบประยุกต์มีตลกขบขันบ้างแต่สอดแทรกข้อคิด
    3.3 ของที่ใส่ในโลง : ไม่มีส่วนมากจะนำเสื้อผ้าสิ่งของเครื่องใช้ใส่ถุงดำหรือกล่องตั้งไว้ข้างโลงพอถึงวันเผาก็เอาเผาไปด้วยยกเว้นผ้าที่ยังดีก็เอาไปบริจาคหรือมาใส่ต่อส่วนข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวก็เอาเอากลับคืนมา
    3.4 ตอนเผาใครไปก็ได้ไม่จำเป็นต้องครอบครัว แต่ส่วนมากคนที่เป็นสามีภรรยากันจะไม่ไปหรือถ้าไปจะไปถึงแค่ตอนทำพิธีผ่าจ้าน(ตัดสายสัมพันธ์ผัวเมียทำเสร็จจะเดินขึ้นรถกลับบ้านและระหว่างเดินออกมาห้ามหันไปมองเมรุหรือโลงศพ) เผาเสร็จก็มีแจกของชำร่วยเช่น หมวก ยาดม ยาหอม ซองจดหมาย ร่ม หนังสือธรรมมะ ในเรื่องกระดูกก่อนจะนำไปใส่โกศหรือทำอย่างอื่นเช่นเผา ยิงขึ้นฟ้า ลอยอังคารจะนำมาเรียงให้เป็นรูปคนบนผ้าสีขาวก่อน
    ข้อ 4 เรื่องงบ
    ค่าข้าวคิดหัว100บาท ทำ 200หัว ก็20,000 ไว้4วัน=12มื้อ ก็เฉลี่ย200,000-250,000บาท
    ค่าของที่ระลึกไม่เกิน50,000
    ค่าดอกไม้จัดในงาน ไม่เกิน 10,000-100,000
    ค่าดอกไม้จันทน์
    ค่าพระสวด
    ค่าอื่นๆ
    รวมๆก็300,000-500,000
    ข้อ 5 การใส่ซอง 20-2,000 แล้วแต่ส่วนมากใส่20

    • @rujiratlaosat2840
      @rujiratlaosat2840 ปีที่แล้ว

      ใส่ 20 น้อยไปไหมอ่า 😢

    • @gipaul2294
      @gipaul2294 ปีที่แล้ว

      @@rujiratlaosat2840 ใส่20แลกกับ กับข้าว2ถุง55+ (ถุง6*9ใส่แกงเอาไปฝากลูหฝากผัวที่บ้าน5555+)
      อย่างงานศฑย่านั่งเปิดซองส่วนมากแบงค์20ทั้งนั้น

  • @jullyjeon3207
    @jullyjeon3207 ปีที่แล้ว

    พี่บีมมีเเพลนจะไปญี่ปุ่นมั้ยคะ อยากดู vlog ญป จังค่าาา🥺✨✨✨✨✨✨✨✨

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      พี่ก็อยากไปจะแย่ แง้ งื้อออ ง้าาาาาาาาาาาา

  • @user-cb7jp5tc9u
    @user-cb7jp5tc9u ปีที่แล้ว

    อันเกร็ดเล็กน้อยครับ
    บทสวดอภิธรรมไม่ได้สวดในคนตายเเต่สวดให้คนอยู่ฟังครับ

  • @taromine
    @taromine ปีที่แล้ว +8

    とても興味深くて貴重な内容でした。タイ人と友達になってもお葬式の話しはできないですよねぇ。
    日本のお葬式では、最初に病院から葬儀の会社の車(寝台車)で自宅や葬儀場へ運んでもらいます。
    井坂くんが言っていたように、白い布団に頭を北向きに寝かせせて、手を胸の位置に組ませます。そのときに刃物を持たせます。守り刀といって、死んだ人は49日かけて極楽浄土へ旅立つので、それまで魔物から守るための刀になります。
    49日の間は死んだ人の魂がこの世をさまよって、7日ごとに仏様の導きを受けます。死んだ人の家族は49日間は喪(も)に服しますので、お祝いごとには参加しません。喪に服する期間は1年間と言う人もいます。

    • @taromine
      @taromine ปีที่แล้ว

      死んだ人をお参りするときに渡すお金はお香典といって、お金の袋には、49日より前ならご霊前。49日を過ぎていたらご仏前と書きます。死んだ人は49日で極楽浄土へ行って仏になるからです。
      日本人は先祖を大切にするので、お正月、春のお彼岸、夏のお盆、秋のお彼岸、そして死んだ人の祥月命日(月と日が同じ日)にお墓参りをします。お盆の時は、死んだ人がいる「あの世」と生きている人がいる「この世」が一番近くなる時なので、ご先祖様が家に帰ってくると言われています。

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +3

      さすが、TaroMineさん!とても勉強になりました!守り刀は井坂も知らなかったそうです(/ω\)
      お盆やお墓参りの話もタイと考え方が違っていて興味深いですね。
      ありがとうございました~

    • @taromine
      @taromine ปีที่แล้ว +1

      @@BeamSensei 守り刀は必要ないとする仏教の宗派もあるようです。タイの結婚式やお葬式について解説してくれるのはBeam Senseiチャンネルだけです。とてもありがたいです!!!

  • @kizzugman
    @kizzugman ปีที่แล้ว

    ถ้าอาบน้ำศพ คือ หลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว เอามานอน รดน้ำศพที่มือ
    หลังจากนั้น จะนำศพ เข้าโลงและดูหน้าคนตายเป็นครั้งสุดจากนั้นปิดฝาโลง แล้วเอาขึ้นสวด
    แต่ถ้าเป็นแบบดั้งเดิมจะมีพิธีเพิ่มคือ หลังจากนำเข้าโล่งและเชิญแขกในงานมองหน้ากันเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว สัปเหร่อจะให้ญาติผู้อาวุโส หรือ บุพการี ราดน้ำมะพร้าวตั้งแต่ หัวจรดเท้า เป็นการชำระล้างร่างกายและจิตใจ ครั้งสุดท้ายเพื่อให้ สะอาดทั้งกายและวิญญาณ** หลังจากนั้นจึงจะปิดฝาโลงแล้วนำขึ้นสวดอภิธรรม
    **เพราะมีความเชื่อว่า น้ำมะพร้าว คือน้ำที่สะอาดที่สุด(เป็นน้ำจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน) จะทำให้คนตายได้ไป สวรรค์
    * เลยมีคำโบราณบอกไว้ว่า “น้ำมะพร้าวเค้าเอาไว้ล้างหน้าคนตาย” หรือ “คนตายเท่านั้นที่เอาน้ำมะพร้าวล้างหน้า” แต่ปัจจุบัน น้ำมะพร้าวถูกนำมาใช้ทำเครื่องสำอาง เยอะมาก

  • @NutNarin-hz1jz
    @NutNarin-hz1jz ปีที่แล้ว

    ต่างจังหวัดเอาศพไว้ที่บ้านค่ะ เอาไว้ที่บ้านทำพิธีสวดอภิธรรมต่างๆนาๆแล้วเชิญพระมา มีไหว้เอาข้าวให้(จุดธูป1ดอก)เอาของที่เราจะให้เขาติดตัวไปใส่ในโลงหรือวางใต้โลง อะไรประมาณนี้ พอวันเผาก็เอาไปที่วัด แล้วพอเสร็จทุกอย่างแล้วต้องเอาน้ำลอยดอกหรือใบทับทิมล้างหน้าล้างสิ่งไม่ดีที่ติดมาจากงานจำพวกความเศร้าอะไรพวกนั้นออกจากตัว อัฐิก็ของเราเอาไว้ที่บ้าน ส่วนเรื่องนักการเมืองถ้าเป็นนายกอบต.จะค่อนข้างสนิทกับคนในนั้นอยู่แล้วเพราะพท.มันไม่ใหญ่ ไม่รู้นะว่าเหมือนกันทุกที่รึเปล่า แต่สส.ที่บ้านไม่ค่อยเฟรนลี่เท่าไหร่ไม่เคยเห็นเลย😅

  • @user-ek7gs2wg9e
    @user-ek7gs2wg9e ปีที่แล้ว +1

    งานศพไทยและญี่ปุ่นอาจจะต่างกันนิดหน่อย เมื่อหลายปีก่อนปู่ชั้นเสียชีวิตก่อน แต่ล่าสุดปีนี้ใกล้วันวาเลนไทน์ยายชั้นเองก็เสียชีวิตเช่นกัน ถ้าผู้เสียชีวิตตายที่บ้านก็ต้องแจ้งตายที่ส.น.(โรงพัก)ก่อน จากนั้นก็ต้องแจ้งมูลนิธิฯ(อาสาฯ)เพื่อนำศพไปที่วัดและนิมนต์พระสงฆ์ซักรูปเพื่ออัญเชฺิญดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตไปที่วัด แต่ก็ต้องจุดธูปสวดมนต์ตามเจ้าหน้าที่มูลนิธิคนนึงเค้าบอก เพราะว่าเค้ามีของมีวิชา ไปที่วัดมีพวงหรีดโดยวันแรกของวันสวดศพจะมีลูกหลานบุตร-ธิดาเป็นเจ้าภาพ ทำพิธีศพซัก3-5วันอันนั้นก็แล้วแต่ทางญาติของผู้เสียชีวิต และที่สำคัญที่สุดคืองานศพไทยเราเค้าจะมีการบวชนาคไฟบวชให้ผู้เสียชีวิตเพื่อที่จะให้วิญญาณผู้เสียชีวิตไปภพภูมิที่ดีหรืออาจให้ไปสวรรค์ก็เป็นได้ ซึ่งคนที่บวชจะต้องเป็นลูกหลานของผู้เสียชีวิต เช่น ลูกชายบวชนาคไฟให้พ่อแม่ซึ่งท่านเสียชีวิตไปแล้ว หรือหลานชายบวชนาคไฟให้ปู่ย่าตายายซึ่งท่านได้เสียไปแล้วเช่นกัน เมื่อหลายปีก่อนชั้นบวชนาคไฟให้ปู่ แต่พอมาปีนี้ชั้นบวชนาคไฟให้ยาย บวชนาคไฟเช้า-สึกเย็นในวันเผา และวันถัดไปหลังจากวันเผาและก็จะเก็บอัฐถิเพื่อที่จะไปทำพิธีลอยอังคารเพื่อที่จะให้ดวงวิญญาณของผู้ชีวิตไปสู่สุขติภูมิหรือไปสวรรค์ชั้นต่างๆนั่นเอง

  • @praneegundersen613
    @praneegundersen613 ปีที่แล้ว

    มีค่ะเอาไว้ที่บ้าน 3 วัน แต่มีพระมาสวดที่บ้านทุกวันค่ะ แล้วก้อย้ายศพไปไว้ทำพิธีสวด 3 วัน 7 วัน แล้วแต่ ค่ะ แล้วทำพิธีเผาศพค่ะ ที่ อิสานค่ะ สอนเหมือนกันค่ะ

  • @rrmrr48
    @rrmrr48 ปีที่แล้ว +1

    ที่บ้าน ชนบท คือส่วนใหญ่จัดพิธีที่บ้าน แล้วไม่มีรดน้ำศพ แต่จะเป็นอาบน้ำเลย ให้ญาติพี่น้อง มาอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่งตัวให้ ทำพิธีแล้วค่อยเอาลงหีบศพ เรื่องเก็บศพ แต่ก่อนฉีดฟอร์มาลีน แต่ทุกวันนี้ใช้เป็นตู้แช่เย็นแล้ว ซึ่งดีคือเมื่อก่อนฉีดฟอร์มาลีน ก็จะมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ แต่แช่ตู้คือไม่มีกลิ่นเลย
    แถวบ้านส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายที่หมดเยอะคือ ทำกับข้าวเลี้ยงแขก กินกันเช้า เที่ยงเย็น ห่อกลับบ้านอีก

  • @nana-ms1fc
    @nana-ms1fc ปีที่แล้ว +1

    ไทก้ต่างเพราะมีหลายศาสนา​นับถือ​แต่ละครอบครัว​ไม่เหมือนกัน​พิธีศพงานแต่งก้ไม่เหมือนกัน​ค่ะ​

  • @dayrminefavsongs
    @dayrminefavsongs ปีที่แล้ว

    ของตายายเรา ช่วงระหว่างวันที่สวด จะยังไม่ได้เอาศพไว้ในโรงค่ะ จะเก็บในตู้แช่เย็นซึ่งก็จะอยู่หลังแบล็คดรอปหลังโรงนั่นแหละ โรงเป็นโรงเปล่า วันเผาถึงจะยกลงโรงค่ะ

  • @napoleonjunior04
    @napoleonjunior04 ปีที่แล้ว

    งานศพญี่ปุ่น ดูจากกินทามะครับ เห็นภาพชัดเลย

  • @user-xi3pk2ux7l
    @user-xi3pk2ux7l ปีที่แล้ว

    งานศพแถวบ้านเราค่อนข้างเปลืองเรื่องอาหาร เหมือนตั้งโรงทาน เพราะทำอาหารทั้งวัน คนมาช่วยจะเอาข้าวสารกับเงินมาช่วย แล้วเจ้าภาพจะจัดอาหารให้ทาน และห่ออาหารให้กลับบ้านด้วย ถ้าในกรุงเทพฯเตรียมอาหารแค่ช่วงเย็นขณะสวดอภิธรรมจะไม่เปลืองเรื่องอาหาร แต่อาจจะเปลืองเรื่องอื่นๆ

  • @real_ism4636
    @real_ism4636 ปีที่แล้ว

    เถ้ากระดูกศพลอยกลางทะเล(มหาสมุทร)ดีนะ แต่ของผมนี่ตอนปู่เสียสวดเสร็จเผาชาปณกิจเสร็จลอยในคลองเลย(ในขณะที่ 4-5ปีก่อนยายเสียอันนั้นยังดีไปลอยแม่น้ำยังกว้างขวางน่อย) ก็เคยแอบคิดแบบ อิซากะ เหมือนกันว่า และงี้ชาวประมง นักท่องเที่ยวที่โดยสารทางเรือมาจะไม่เห็นเหรอ ต่างๆนาๆไรงี้(ด้วยความที่ตอนนั้นยังเด็กๆ และคลองที่ไปลอยอังคารคือมันแคบมาก เหมือนประมาณเศษ 1/8 ของแม่น้ำเจ้าพระยา)

  • @kong1039
    @kong1039 ปีที่แล้ว +1

    ตาม ต่างจังหวัดก้ไว้ที่บ้านครับ ถึงวันเผาแล้วจะเอาขึ้นรถไปสวดที่วัดต่อครับ ให้พระ ฃถือสายสิญจูงรถพร้้อมกับศพไปวัด

  • @punyaaie
    @punyaaie ปีที่แล้ว

    ว่างๆ ต้องพาอิซากะคุง ไปทัวร์ วัดต่างจังหวัดฯ แล้วละ ดูวิถีชีวิตพื้นบ้าน

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว

      สนใจจจจจจจ

  • @pokker842
    @pokker842 ปีที่แล้ว

    ลูกครึ่งจีนขออนุญาตเล่าประสบการณ์เพิ่มเติมให้ในทั้งแบบไทย-จีน(ในไทย)นะครับ
    แบบไทย ส่วนใหญ่ก็ตามที่คุณบีมเล่า แต่ขอขยายความหน่อย งานต่างจังหวัดมักจะสวดนานกว่ากรุงเทพฯ แต่หลักๆคือมีพักระหว่างบทนานกว่า แล้วมีเลี้ยงอาหารจริงจัง เช่นพวกกระเพาะปลา, ก๋วยเตี๋ยว ส่วนกรุงเทพฯจะเร่งๆไม่มีพักระหว่างบท แล้วให้พวกเซ็ตขนมปังใส่กล่องไปเลยมากกว่า
    ของชำร่วยสมัยก่อนจะเป็นหนังสือที่เรียกว่าหนังสืองานศพ จะมีข้อมูลผู้ตายส่วนหนึ่ง อีกส่วนจะเป็นข้อมูลความรู้ เช่นสูตรอาหารประจำครอบครัว, บทสวด, พงศาวดาร เลยจะมีคนเก็บสะสมหนังสืองานศพอยู่พอสมควรเพราะเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีแล้ว
    แบบจีน(แต้จิ๋วปนๆไทย) หลังจากนำศพมาที่วัดจะมีการนำเสื้อผ้า, รองเท้าชุดโปรดของผู้ตายมาแต่งตัวให้ (ถ้ามีอุปสรรคก็จะวางไว้ข้างๆ) จากนั้นแทนการรดน้ำสังข์ จะเป็นการป้อนข้าว(เอาตะเกียบคีบข้าวมาแตะริมฝีปาก) ป้อนน้ำ(ใช้กิ่งทับทิมจุ่มน้ำมนต์มาแตะริมฝีปาก) ให้ ซึ่งทั้งหมดต้องเรียงลำดับอาวุโสที่ถูกต้องด้วย (ไม่ไล่ให้ละกันครับกลัวผิด แต่หลักๆคือเพศชายคนโตที่จะเป็นผู้สืบสกุลจะก่อนเพศหญิง หลานชายเลยจะก่อนแม่ (ที่ฐานะคือสะใภ้) ซะอีก)
    จากนั้นก็นำเข้าโลง เอาเสื้อผ้าเครื่องใช้ กระดาษเงินกระดาษทองเข้าไปด้วย ตรงนี้จะมีซินแสเข้ามากำกับด้วย
    จบตรงนี้จะปนแบบไทยเข้ามาคือสวด, เลี้ยงอาหาร แต่แบบจีนจะมีด้ายแดงและลูกอมให้แขกด้วย (เป็นเรื่องความเชื่อ ลูกอมทานได้เลย ด้ายแดงต้องเอาไปผูกประตูหรือรั้วก่อนเข้าบ้าน) ด้ายอาจจะมี 1 หรือ 2 เส้นแล้วแต่ว่าคู่ชีวิตผู้ตายยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ถ้าโสดหรือเสียไปแล้วก็ 2 เส้น
    วันสุดท้ายถ้าปนไทยก็เผาก่อน ถ้าไม่ก็ไปฮวงซุ้ยทั้งโลง ไปทำพิธีที่ฮวงซุ้ยต่ออีกรอบ (ขั้นนี้จะเหลือแค่ญาติๆ) ขั้นตอนผมก็ลืมๆละ ซินแสบอกให้ทำอะไรก็ตามนั้น

    • @BeamSensei
      @BeamSensei  ปีที่แล้ว +1

      กรุงเทพกับต่างจังหวัดนี่งานต่างกันมากเลยเนอะ บีมก็เพิ่งรุ้หลังได้อ่านคอมเมนต์ทุกคนนี่แหละ ส่วนตัวยังไม่มีประสบการณ์ไปงานศพที่ไกล ๆ ของจีนนี่ยิ่งไม่มีประสบการณ์เพราะว่าครอบครัวไม่มีใครมีเชื้อจีนเลย ขอบคุณมากเลยค่า

  • @angwaraworaphong3449
    @angwaraworaphong3449 ปีที่แล้ว

    มีแบบที่เก็บศพไว้ก่อนเผาด้วยนะคะ แบบสวดอภิธรรมเสร็จแล้ว ยังไม่เผาแต่เก็บไว้ในโลงเย็นก่อน (ที่วัด) เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมค่อยเผาค่ะ อย่างของบ้านเรา คุณตาคุณยายจะเผาวันถัดไปเลย แต่ของคุณย่า ช่วงที่คุณย่าเสียพ่อยังคุมงานสร้างโรงเรียนที่กัมพูชา ก็ฝากศพไว้ที่ ร.พ. จนพ่อกลับมาค่อยทำพิธี และฝากศพไว้ที่วัด เพราะพ่ออยากติดยศนายพลก่อน แล้วค่อยเผา (คงอยากให้แม่ภูมิใจแหละว่ามีลูกชายเป็นนายพลแล้ว) น่าจะเก็บไว้หลายปีอยู่ค่ะ ระหว่างนั้น เวลาครบรอบวันตายก็ทำบุญเลี้ยงพระไป
    .
    ในวันฌาปณกิจศพ ก็แยกอีกว่าเป็นประชุมเพลิง หรือพระราชทานเพลิงศพค่ะ งานคุณยาย แม่เลือกประชุมเพลิง เพราะไม่อยากยุ่งยาก แต่งานคุณตากับคุณย่า พ่อส่งเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพ ก็จะมีพิธีรีตองรุงรังหน่อยค่ะทั้งเรื่องการแต่งตัว (ข้าราชการสวมชุดขาวใหญ่ คนอื่น ๆ สวมชุดสุภาพมาก ๆ) งานพิธีการต่าง ๆ โดยปกติทางวัดจะมีเจ้าหน้าที่ที่ค่อยประสานงานระหว่างวัด ญาติ และแขกที่มางาน คอยประกาศลำดับพิธีต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นของทหาร จะมี "อนุศาสน์" มาทำหน้าที่นี้แทนค่ะ (ไม่แน่ใจว่ามีชื่อเรียกทหารที่ทำหน้าที่เต็ม ๆ มั้ยนะคะ เราเรียกตามพ่อค่ะ)

  • @user-lb8ms6qq4u
    @user-lb8ms6qq4u 11 หลายเดือนก่อน

    7:39 เคยดูในกินทามะ ที่ชินปาจิสอนไหว้ศพอยู่ แต่มันปั่นมาก555

  • @paulboon1443
    @paulboon1443 ปีที่แล้ว +1

    ของไทยก็ไว้ที่บ้านด้วยครับ ตอนรดน้ำศพ ก็เอาผ้าคลุม บางบ้านสวดที่บ้าน ใส่โลงไว้ แล้วก็ตั้งวงพนัน

  • @WatWang
    @WatWang ปีที่แล้ว

    เท่าที่ดู ส่วนมากคล้ายกันครับ