ผลิตไฟฟ้า จากน้ำประปา ทำได้จริง - LAVO Hydrogen battery system
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 18 พ.ย. 2024
- LAVO HYDROGEN BATTERY SYSTEM ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาโดย บริษัทด้านเทคโนโลยีพลังานในประเทสออสเตรเลีย โดยเจ้าเครื่องดังกล่าวนั้นจะประกอบไปด้วยภาค Electrolyser ซึ่งเป็นกระบวนการแยกออกซิเจนออกจากไฮโดรเจน ด้วยการใช้ไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซล จากนั้นออกซิเจนจะถูกปล่อยสู่ภายนอก ส่วนไฮโดรเจนนั้นจะถูกเก็บไว้ เพื่อนำกลับมาผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแผงเซลเชื้อเพลิง หรือ Fuel cell นั่นเอง จากนั้นไฟฟ้าจะถูกดึงเพื่อไฟใช้งานต่อ ผ่านระบบ Hybrid inverter ซึ่งทางผู้ผลิตนั้นเครมว่าเครื่องดังกล่าวนั้น สามารถสำรองไฟได้นานถึง 2 วัน ตามค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าในประเทศออสเตรเลีย
► ติดตามข่าวสารและพูดคุยกับเราได้ที่
เฟสบุ็ค : / carraver
เว็บไซต์ : www.carraver.com
► เราจะพยายามทำคอนเทนต์ใหม่ๆออกมาให้เพื่อนๆชมทุกวัน หากเพื่อนๆคนไหนอยากให้เราทำวิดีโอเกี่ยวกับอะไร สามารถคอมเม้นบอกเราได้ที่ใต้วิดีโอเลยครับ
► สุดท้ายต้องขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนจากทุกคน ข้อมูลบางอย่างอาจมีผิดพลาด เราต้องขออภัยด้วยครับ และหากอยากให้เราปรับปรุงในเรื่องไหนบอกเราได้เลยครับ เราคาดหวังว่าช่องจะเติบโต และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ชมทุกท่านครับ.
#Lavo
#fuelcell
#พลังงานไฟฟ้า
Source :
เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกล ไม่มีสายส่งไฟฟ้าปรกติ ดีกว่าแบตเตอรี่ปัจจุบันตรงอายุยาวกว่า สะอาดกว่า เอาไปใช้ดาวอังคารน่าจะเหมาะ
ชอบที่เป็นพลังงานสะอาด ใช้งานควบคู่กับแผงโซล่าเซลล์ ผลิตออกซิเจน ดูเข้าท่า มีอนาคต สิ่งที่เป็นห่วงคือเสถียรภาพการใช้งานระยะยาว น้ำกับไฟฟ้าอยู่ใกล้กัน ดูอันตราย แล้วก็เรื่องความเป็นไปได้ ในการระเบิดอีก เคยได้ยินเรื่องทำนองเดียวกันนี้กับรถยนต์พลังงานน้ำ ต่อไปถ้าใช้กันอย่างแพร่หลาย คงมีราคาถูกลง บวกกับความมั่นใจของผู้บริโภคมากขึ้น
เยี่ยมๆครับ วางขายมาเยอะๆเลย จะได้สร้างระเบิดไฮโดรเจนได้ง่ายๆโดยที่ไม่ต้องสร้างถังเก็บและตัวแยกแก็สเอง เป็นความคิดที่ดีมากที่จะผลิตออกมาและมันจะง่ายขึ้นถ้าทุกบ้านมีมัน เหมือนระเบิดเวลาที่ไม่ต้องผลิตเอง
ประชด
ค้นข้อมูลก่อน ความเห็นแนวประชด ที่ไม่ฉลาดเลย แยกคำว่าระเบิดให้ออกระหว่าง "กริยา" กับ "คำนาม"
** ระเบิดไฮโดรเจน (H-Bomb) มันคือระเบิดที่เกิดการฟิวชั่น โดยยิงอิเลคตรอนให้ชนอะตอมไฮโดนเจน **
แต่เครื่องนี้มันก็เหมือนเก็บก๊าซ เหมือนเก็บถังก๊าซหุงต้มอีกถังนึง .. จะเป็นการสร้างระเบิดได้ยังไง
ถ้าทำง่ายๆแค่นี้มันกลายเป็นระเบิด H-Bomb ป่านนี้ระเบิดทั่วโลกแล้ว ไม่ต้องมีนักฟิสิกส์ มาคิดสร้างอะไรยากๆให้ปวดหัว
ปัจจุบัน โซล่าแซล ออนกริดเริ่มพัฒนา แบต พัฒนา ใหม่ ก็จะช่วยลด การสร้างเขื่อน โรงไฟฟ้าในอนาคตแล้ว
ผมคํานวนแบบง่ายๆ ที่บ้านผม จ่ายค่าไฟเดือนละ 30 ดอลลาร์ ปีหนื่งผมจ่ายค่าไฟ 30 * 12 = 360 ดอลลาร์ พายในเวลา 30 ปี ผมจ่ายค่าไฟ 360 * 30 = 10800 ดอลลาร์ เจ้าเครื่องนี้มันแพงเกีนไปสําหรับผม แต่ผมชอบที่เป็นพลังงานสอาด ทําไม ไม่ทําให้มันถูกลงกว่านี้บ้าง ประมาณ 10000 - 15000 ดอลลาร์ ผมว่า อีกไม่นาน จีนต้องทําออกมาได้ในราคา 5000 - 10000 ดอลลาร์ หรื ถูกกว่านั้น
แพงครับน่าจะไม่มีโอกาศคืนทุนได้เมื่อเทียบซื้อไฟ กฟภ ครับ ต้องรอของคู่แข่ง
เชิงวิชาการได้ แต่ถ้าเอาชีวิตจริงดูจุดคุ้มทุน
มันก็คือแบตเตอรี่รูปแบบที่สาม Fuel cell หรือ เซลเชื้อเพลิง ไทยเราก็มีแบตที่ชื่อว่า แวนเนเดี้ยม ของบริษัตเซลเลเนี่ยมไทยแลนเคยเป็นข่าวเมื่อแปดปีก่อน แต่สุดท้ายโดน ปตท ซื้อไปแล้วปิดเงียบไม่มีการพัฒนาเอาออกมาใช้เลย มีแต่เล็กๆน้อยๆพอเป็นข่าว แล้วก็เงียบไป รถยนย์โตโยต้าบางรุ่นก็เคยทำมาแล้วเซลเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ที่เมื่อหมดก็เติมไฮโดรเจนใหม่ได้เหมือนน้ำมันไม่ต้องชาจ แต่ด้วยความที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามันคือแบตเตอรี่ และไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐก็เลยไม่ค่อยเกิด
หลักการทำงานง่ายมากๆ เดี๋ยวผมจะอธิบายด้วยสมการไฟฟ้าเคมีให้ดูครับ ทำการทดลองเองที่บ้านได้ด้วย (ผมพิมพ์เองทั้งหมด)
จริงๆมันไม่เชิงว่าผลิตไฟฟ้าจากน้ำ มันก็คือแบตเตอรี่ชนิดหนึ่งนั่นเอง ที่แค่เปลี่ยนสารเคมีที่ใช้เก็บไฟฟ้าเป็นน้ำ แทนที่จะเป็นลิเทียม
ขอเกริ่นก่อนว่าโดยปกติแบตเตอรี่ลิเทียมทั่วไปจะใช้วิธีการเก็บพลังงานไฟฟ้า(ชาร์จแบต)โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าที่เราชาร์จมัน เป็นรูปพลังงานศักย์เคมีของโลหะเชิงซ้อนลิเทียม (เราจึงมักคุ้นหูกับชื่อสารในแบตเตอรี่ว่า ลิเทียมนิเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์) หรือแบต NMC นั่นแหละ มันก็คือโลหะเชิงซ้อนของลิเทียมนี่เองครับ พอจะเอาไฟฟ้าจากแบตมาใช้เจ้าโลหะเชิงซ้อนลิเทียมจะจ่ายอิเล็กตรอนซึ่งอิเล็กตรอนก็คือไฟฟ้าที่เอามาใช้จ่ายให้ตัวรถมอเตอร์ขับเคลื่อนฯลฯ พอโลหะเชิงซ้อนลิเทียมจ่ายอิเล็กตรอน ลิเทียมจะหลุดออกจากโลหะเชิงซ้อนเป็นไอออนของลิเทียม และปฏิกิริยาเคมีก่อให้เกิดไฟฟ้าจะเป็นเช่นนี้จนกระทั่งเหลือแค่ไอออนของลิเทียมและโลหะเชิงซ้อน นั่นก็คือแบตหมดนั่นเอง การชาร์จแบตก็คือการทำให้ ไอออนของลิเทียมและโลหะเชิงซ้อนมารวมตัวกันเป็นโลหะเชิงซ้อนของลิเทียมเช่นเดิม นั่นก็คือแบตเต็มนั่นเอง
นี่คือหลักการทำงานคร่าวๆของเคมีในแบตเตอรี่ลิเทียมไม่อยากลงลึกเดี๋ยวงงกันไปใหญ่ สิ่งนี้เขาเรียกว่าปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี หรือ ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดไฟฟ้า สารทุกชนิดบนโลกเวลาทำปฏิกิริยาเคมีจะมีการรับจ่ายอิเล็กตรอน ไม่เฉพาะเจ้าโลหะเชิงซ้อนลิเทียม คุณรู้หรือไม่ว่าแค่คุณเอาน้ำมันเบนซินมาจุดไฟเผา นั่นก็เกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีแล้ว. มีการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนระหว่างน้ำมันเบนซินและออกซิเจนในอากาศ
ไม่ว่าจะแบตเตอรี่ใดๆในโลก สารเคมีใดๆ หรือแม้กระทั่งน้ำมันเชื้อเพลิง ทำงานอยู่ภายใต้กฏเดียวกันหมดนั่นคือปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี เอาน้ำมันเบนซินมาทำแบตเตอรี่ยังได้เลยครับ แต่จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลของปฏิกิริยา เขาเลยไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม เพราะเขาต้องการให้เป็นพลังงานสะอาด
เข้าเนื้อเรื่องคือ หลักการเจ้าเครื่องนี้ก็ทำแบบนี้เช่นกันแต่แค่แทนที่จะเก็บในรูปพลังงานศักย์เคมีของโลหะเชิงซ้อนลิเทียม ก็เปลี่ยนเป็นเก็บในรูปพลังงานศักย์เคมีของแก๊สไฮโดรเจนและออกซิเจนแล้วไปเก็บไว้ในถัง
โดยเอาไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์ไปแยกน้ำด้วยวิธีการ Electrolysis โดยวิธีนี้มีมาตั้งแต่โบราณการแล้ว ทำเล่นเองที่บ้านได้ด้วย แยกน้ำแล้วจะได้เป็นแก๊สไฮโดรเจน (H2) กับออกซิเจน (O2)
ทำไมถึงได้แก๊ส 2 ตัวนี้ ?
เพราะน้ำคือ H2O ไงหละครับ
เวลาเราปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่น้ำๆจะแตกตัวดังนี้ 2H2O -> 2H2 + O2
(สามารถทำเล่นที่บ้านได้ โดยเอากระป๋องใส่น้ำเปล่าเอาโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ละลาย แล้วหาแท่งโลหะเช่นทองแดง(หรือแท่งแกรไฟต์) จุ่มลงน้ำ 2 แท่ง เอาไฟฟ้า + - 12 โวลท์คีบ มันจะเกิดฟองแก๊สผุดที่ขั้วบวกกับขั้วลบ ขั้วบวกจะเป็นฟองแก๊สออกซิเจน ส่วนขั้วลบจะเป็นฟองแก๊สไฮโดรเจน ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ตามสมการไฟฟ้าเคมีครึ่งเซลล์
ที่ขั้วลบ(Cathode)น้ำจะเกิดปฏิกิริยารับอิเล็กตรอน(Reduction)
4H2O + 4e -> 2H2 + 4[OH-]
ที่ขั้วบวก(Anode)จะเกิดปฏิกิริยาจ่ายอิเล็กตรอน(Oxidation)
2H2O -> 4e + 4[H+] + O2
**สังเกตว่าปฏิกิริยามีการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน 4e ในการชาร์จไฟ
นี้คือกระบวนการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นในรูปพลังงานศักย์เคมีคือแก๊สไฮโดรเจน H2 และออกซิเจน O2 นั่นเอง
รวมปฏิกิริยาทั้งสองขั้วจึงได้เป็น
2H2O -> 2H2 + O2
จากนั้นเอา H2 มาเก็บในถัง และ O2 ทิ้งไป
เวลาจะใช้ไฟฟ้าเขาจะเอาแก๊ส H2 ที่เก็บไว้ในถังมารวมตัวกับออกซิเจน O2 ในอากาศ ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา นั่นก็คือ Fuel cell นั่นเอง การรวมตัวจะเป็น
2H2 + O2 -> 2H2O
*ปฏิกิริยาเคมีย้อนกลับ*
แปลว่ามันจะสร้างไฟฟ้าขึ้นมาโดยแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน 4e ถ้าจำได้กลับไปดูข้างบนตอนชาร์จใส่ไฟฟ้าเข้าไปจะแยกน้ำจะเป็น 2H2O -> 2H2 + O2
แต่พอรวมตัวใน Fuel cell จะเป็น
2H2 + O2 -> 2H2O กับกลายเป็นว่ามันจะสร้างไฟฟ้าออกมาเนื่องจากการย้อนกลับปฏิกิริยาเคมี และได้ผลผลิตเป็นน้ำเช่นเดิม มันถึงเป็นพลังงานสะอาดไงครับ
พูดง่ายๆคือใช้น้ำเก็บพลังงานไฟฟ้าในรูปพาหะพลังงานนั่นแหละ
เเน่นมากครับ
@Victor Kruchenko Could not agree more ผมไม่เชียร์ไฮโดรเจน ยังไงการมี process เยอะ ก็ยิ่งมี loss ในระบบเยอะตามมา efficiency ก็ตก ดีสุดคือแบตเตอรี่เก็บและจ่ายไฟฟ้าได้โดยตรง ไม่มีกระบวนการมากมาย หาทางพัฒนาลิเทียมให้ energy density สูงๆ มันคือทางออกดีที่สุด
สุดยอดครับอาจารย์
ตอบโจทย์เลยครับ ตอนนี้ ผม กำลัง หาข้อมูลเกี่ยวกับ พลังงานทดแทนอยู่ น่าสนใจมากๆครับ แต่ที่ สงสัยคือ พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายเข้าไปเพื่อ แยกก๊าซ นั้น มันใช้มากกว่า หรือว่า น้อย กว่า หลังจากที่เรานำ ก๊าซไปปั่นไฟอีกทีนะครับ ถ้า ใช้พลังงานเข้าน้อยกว่า แต่ออกได้มากกว่า แบบนี้ ดีแน่นอน
ในคลิปไม่ได้บอกอัตราการจ่ายพลังงาน เพื่อประเมินความคุ้มค่า
คุ้มครับท่าใช้ได้30ปีโดยไม่มีปัญหา
เอาว่าผลิตมาได้ตามสเป็คฯ ก่อนค่อยว่ากันครับ เพราะระบบนี้มันต้องใช้ โซล่าเซลที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีอุดมคติก็ว่าได้ นำไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลไปใช้ภายในบ้านไม่พอยังต้องแบ่งอีก 2 ส่วน ไปชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มและยังต้องเอาไปแยกไฮโดรเจนจากน้ำอีก ส่วนการระเบิดของถังเก็บไฮโดรเจนก็คงไม่ต้องห่วงครับถ้าไฮโดรเจนรั่วมันระเหยไปเร็วมากเพราะมันเบากว่าอากาศมาก ๆ ดังนั้นมันเป็นสาเหตุที่ให้ติดไฟมีโอกาศน้อยมาก ๆ ยกเว้นเกิดไฟไหม้แล้วจากสาเหตุอื่น ๆ ถังเก็บทนความร้อนเต็มที่แล้วมันถึงจะระเบิด
ชอบครับดีดี
หวังว่าในอนาคต 10-20 ปี ราคาน่าจะจับต้องได้
สร้างกระแสไฟจากแรงดึงดูดของโลกก็น่าสนนะ แต่เราต้องคิดค้นเครื่องต่อต้านแรงดึงดูดของโลกก่อน เพื่อจะทำให้เกิดการหมุนได้
มันมีวิธีทำง่ายๆครับผมเคยคิดไว้อยู่
@@superbigboss6149 ทำงัยครับ จดลิขสิทธิ์หรือยัง เอามาช่วยเหลือประเทศชาติตอนนี้เลย ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติสร้างโรงงานหานายทุนช่วยลงทุน
งานวิจัยมานานแล้ว แต่ถูกบริษัทน้ำมัน ซื้อทำลายหลาย งานวิจัยพันๆๆ ทุกๆๆ อย่าง เพื่อผลประโยชน์ ของบริษัทน้ำมัน
บริษัทน้ำมันอะไรที่ซื้อไปทำลาย ช่วยบอกหน่อยครับ
ถ้าค่าไฟปีละ3หมื่น ต้องใช้30ปีถึงจะคุ้มถึงตอนนั้นเครื่องก็เจ๊งไปละ นี่ยังไม่รวมค่าน้ำที่เอามาผลิตไฟด้วย ไอเดียนี้เหมาะกับทำเป็นโรงไฟฟ้าใกล้แหล่งน้ำมากกว่า
ประเด็นคือ ไฮโดรเจนแรงดันสูงมาก เบาและไวไฟสูง toyota ทำรถไฮโดรเจนแต่ไม่เป็นที่นิยม ที่สำคัญลงทุนทำปั๊มไฮโดรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยล้าน เพราะเก็บรักษายากมาก ถ้ารั่วขึ้นมาก็ระเบิดลูกย่อมๆ
ใช้ไฮโดรเจนส่วนเกิน แทนก๊าซหุงต้มได้ไหมล่ะ?
ดีทุกอย่าง ติดอย่างเดียวแพงมาก
ต่อยอดซิ.. งานอนาคต!
การเปลี่ยนแปลงอะไรที่ซับซ้อน ยุ่งยากแพงด้วย.คงรอกันไปอีกนานกว่าจะเย้าที่
ให้ง่ายอีกหน่อย ไฟโซลาเซล
แยกน้ำไม่ต้องเก็บในถัง นำมาเป็นก้าสหุงต้มเลยดีไหม
มันคือการเอาเทคโนโลยีที่มียุแล้ว เอามาทำงานร่วมกัน โซล่าเซลระบบไฮบริจ+ฟิวเซล พลังงานหลักที่จะรันระบบก็คือ ไฟจากโซล่าเซลยุดี แต่มีข้อดีตรงที่การเก็บพลังงานสำรอง จากเดิมต้องเก็บในแบตอย่างเดียว ก็สามารถเอาไฟจากโซล่าเซลที่เหลือ แยกออกซิเจน+ไฮโดรเจนจากน้ำ เอาไฮโดรเจนมาเก็บในถังแทน จากนั้นเมื่อเอาไฮโดรเจนผ่านฟิวเซล ก็จะได้พลังไฟฟ้า สรุปคือแทนที่จะเก็บพลังงานจากโซล่าเซลสำรองไว้ในแบตอย่างเดียว ซึ่งตนทุนสูง ก็เพิ่มเติมระบบการเก็บสำรองพลังงานมาไว้ในถังในรูปแบบก๊าซ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีพลังงานหลักหรือโซล่าเซลมากพอ จนเหลือแล้วเอาพลังงานไปเก็บในตอนกลางวัน จากนั้นเอาพลังงานนั้นมาใช้ให้หมดในเวลากลางคืน แบบนั้นถึงจะคุ้มค่าสุด แต่ราคาตัวเครื่องนี่ดิ ทำเอาจุกไปเลยเหมือนกัน555
สักแสนหนึง คงคุ่้มมากเลย
มีแม่แบบที่เป็นจุดคิดที่เป็นต้นทุนความคิดทึ่งมากๆ เกิดการกักเก็บอนุภาคเชลล์ใว้แปลงเป็นปฏิกริยานิวส์คลิอิกแอกซ์โพสชัน สุดๆ
แจ๋วเลยยย...แต่แพงไปอ่ะ...เทียบระยะยาว ก้อคุ้มยุ
มนุษย์ยังไขความลับของน้ำh20 ยังไม่ได้ เป็นสสารที่มีทั่วจักรวาล มีอนุภาคที่เป็นพลังงานทั้ง2ตัว ถ้าไขปริศนาได้ ก็สามารถสร้างเครื่องจักรที่เติมใส่น้ำได้เลย โดยไม่ต้องผ่านขบวนการอื่นทางอ้อม
สนใจสั่งซื้อไดาทางไหนบ้าง หรือต้องนำเข้าอย่างเดียวครับ
รออนาคตให้ราคาดีกว่านี้ดีกว่าถ้าราคานี้ ใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้ยาวๆไปก่อน
ถ้าน้ำประปาถูกๆมากๆ หรือประปาฟรี ก็น่าจะคุ้มค่า
อนาคตถ้าใช้กันเยอะมากๆ คงปล่อยออกซิเจนออกไปไม่ได้เพราะถ้าในบรรยากาสมีออกซิเจนสะสมเยอะไปจะเป็นปัญหา
ถ้าบ้านไฟไหม้ มันจะเหมือนถังระเบิดมั้ย ทนความร้อนได้แค่ไหน
แนวคิดดี
ลงทุนให้กับการติดตั้งแผงโซล่าเซลจะดีกว่า ถูกกว่า ได้กระแสไฟฟ้าได้มากกว่า แล้วนำมาลงในแบตฯเพื่อนำมาผลิตกระเเสไฟฟ้าแอมสูงๆต่อไปเป็น LOOP
น่าสนใจซื้อครับผมว่าคุ้ม
ถ้าใช้ได้จริงก็คุ้ม แต่ต้องดูว่าไฟที่ได้พอใช้ในแต่ละวันมั้ย
น่าจะทำได้ตั้งนานแล้ว
ถ้าคิดว่าจ่ายค่าไฟเดือนละ 5000, 900,000 บาทก็เป็นค่าไฟสำหรับ 15 ปี อีก 15 ปี (อายุการใช้งาน 30ปี) ถือเป็นการถอนทุนคืนมั๊ยครับ
ถ้าถามว่าแพงมั้ย ผมว่ามันอยู่ที่การใช้งานและการให้ความสำคัญกับมันมากกว่า มันเป็นตัวซับพอร์ตให้กับแบตเตอรี่ได้อย่างดี หมายถึงว่ามันช่วยลดบทบาทการใช้งานแบตเตอรี่ลงไปเยอะเลย
เคยเห็นมีมหาวิทยาลัยในไทยแห่งหนึ่งได้นำเอาไฮโดรเจนมาใช้กับรถวิทยุบังคับที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ ทำให้รถบังคับวิ่งได้นานขึ้นในปริมาณแบตเตอรี่เท่าเดิม
แต่เอาจริงๆมันเหมาะเป็นตัวซับพอร์ตระบบโซลาร์เซลล์มากกว่า เพราาะหนึ่งในปัญหาของระบบโซลาร์เซลล์คือ บางทีช่วงกลางวันที่มันผลิตไฟฟ้าได้ก็มากเกินใช้งานจริงและพอกลางคืนก็ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ พลังงานที่เก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ก็ไม่เพียงพอต่อการใช้งานหนักๆ แต่ถ้าใช้ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนมาช่วยเสริม จะช่วยอุดจุดอ่อนของระบบโซลาร์เซลล์ไปได้เยอะเลย เพราะแค่มีไฟฟ้าเลี้ยงระบบแค่พอประมาณก็ผลิตไฟฟ้าใช้งานหนักๆได้ทั้งคืน
.
แต่จุดคุ้มทุนมันคงนานแหละกว่าจะคุ้มทุน เพราะต้องใช้งานมันจริงๆจังทั้งวันทั้งคืน(เช่นโรงงาน) ถ้าตามบ้านเรือนกว่าจะถึงจุดคุ้มทุนอาจนานถึง15-20ปี
.
แต่ถ้าอนาคตทุกบ้านมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น เช่น มีรถEVกันทุกบ้าน อุปกรณ์สมาร์ทโฮม หุ่นยนต์ เครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ฯลฯ ก็อาจจะเริ่มเห็นความคุ้มค่าของ LAVO HYDROGEN BATTERY SYSTEM มากขึ้นก็เป็นได้
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้เพื่อแยก Hydrogen กับพลังงานไฟฟ้าที่ได้ออกมาจากเครื่อง อันไหนเยอะกว่ากันนะ ข้อมูลจาก wiki บอกไว้ว่าต้องใช้ไฟฟ้า 36 หน่วย (kW) เพื่อให้ได้ hydrogen 1 กก. ซึ่งถ้า 36 kW นี้ผลิตจาก Solarcell แล้ว ก็เพิ่มแบตเตอรี่เข้าไป ก็เพียงพอต่อการใช้งานงานโดยไม่ต้องพึ่งพาเจ้าเครื่องนี้
เครื่องนี้มีไว้อุดจุดอ่อนของโซล่าเซลล์ ที่น่ากังขาคือเสถียรภาพและความปลอดภัย
@@jakemuller1677 hydrogen ดูจะปลอดภัยน้อยกว่านะครับ
เป็นการนำเรื่องเป็นไปได้มารวมกันเพื่ออุดช่องว่างของการจ่ายพลังงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงทุน น่าจะจบแค่งานวิจัยมากกว่า
ดีทุกอย่าง แต่ยังแพงไปไหม ตั้ง9แสนกว่าๆๆเลยนะ
ต้องรอการพัฒนาเรื่องวิธีและต้นทุนการผลิต รวมถึงแหล่งเก็บที่มีความจุและเสถียร
ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรในวงการ ไอเดียมันก้คือการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า หรือก็คือการกักเก็บพลังงานไว้ในรูปของการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ถ้ามีคาร์บอนไดออกไซด์เยอะก้ทำมีเทนได้ ด้วยไอเดียเหมือนๆกัน แต่อุปสรรค์ของมันคือการกักเก็บ การกักเก็บ LPG ไว้ในถังหลังรถคือการกอดระเบิด การเก็บ NGV ก็คือระเบิดขั้นกว่า ไฮโดรเจนยิ่งเป็นระเบิดขั้นสุด ด้วยน้ำหนักเท่ากันแรงดันของ H2 มากกว่า LPG เยอะ มันน่าจะเหมาะกับโรงงานที่มีการใช้คนและเงินตรวจเช็คความปลอดภัยตลอด (ด้วยน้ำหนักไฮโดรเจนตามในคลิปก็มากลอง ซึ่งที่จริงอยากใช้นานก็ทำถังเยอะๆได้ความใช้ได้นานไม่ได้เป้นจุดขาย เทียบง่ายๆถังแก๊สตามบ้าน 15 โล ต้มหม้อซุปได้ตั้งนาน) อีกเรื่องคือการอัดไฮโดรเจนจากที่ความดันต่ำเข้าถังตอนที่ความดันสูงแล้วก็ใช้พลังงานมาก ยิ่งมีความสูญเปล่าทางพลังงานมาก ถ้าบ้านรวยจะซื้อมาใช้ก้ไม่มีใครว่าโดยไอเดียมันเป็นจริง ไม่ได้ซับซ้อน แต่จะคุ้มไหม และความปลอดภัยเมื่อเอาไปวางตามบ้านที่ไม่มีคนดูแล บางบ้านมีเด็ก มีสวนเผาใบไม้ใบหญ้า ก็อีกเรื่อง
ไฮโดรเจนเก็บปลอดภัยแค่ไหน เสี่ยงระเบิดได้
คงไม่มีใครเอาค้อนปอนด์ไปทุบถังเล่น
ขอถามหน่อยครับไฮโดรเจนที่เข้าไปเก็บในกระบอก 30 บาร์ แต่ล่ะกระบอกเป็นก๊าชหรือของเหลวครับ
แพงมาก เรามีทางเลือกอื่นที่ถูกกว่าที่คิดเอาไว้แล้ว ควรจะถูกกว่านี้ครับ.
ใช่ๆราคาแพงเกินไปถ้าเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ยังดีกว่านะใช้ต้นทุนเท่ากันใช้ได้ทั้งหมู่บ้านเลยนะ
900,000 บาท
ตั้งชุดโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าโดยตรง สามารถใช้ไฟฟ้ากับบ้าน 1 หลังแบบเหลือๆ
อีกทั้งสามารถเชื่อมกับสายส่งของ กฟภ.ขายคืนพลังงานส่วนเกินได่อีกด้วย
แถมยังไม่ต้องเสียเงิน่าน้ำประปาเพิ่มมาอีกด้วย
900k , ที่รับประกัน 30 ปี คืออายุของตัวถังเก็บก๊าซ.. อยู่ได้ 2 หมื่นรอบ หรือคิดเป็น 30 ปี
การทำงานภายในแบ่งเป็น 5 โมดูล, และโมดูลที่แพงที่สุดคือ ตัวที่เปลี่ยน ไฮโดรเจนไปเป็นไฟฟ้า เจ้าตัวนี้ อายุการใช้งานกี่ปี? , มอเตอร์ตัวนี้ ?
โมดูลแบตเตอรี่ลิเทียม อายุมันกี่ปี? อยากทราบรายละเอียดครับ
โมดูลการแยก น้ำให้เป็นไฮโดรเจน , อายุการใช้งานกี่ปี ราคาเท่าไหร่ครับ?
ค่าบำรุงรักษารายเดือน เท่าไหร่ครับ?
ต้องคำนวณแยก โมดูล... , ผมว่าน่าจะใกล้เคียง กับราคาที่เราต้องจ่ายจริง ทั้งตอนซื้อ และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่ฟังมาทุกอย่างดีหมด แต่เจอราคา 9 แสนบาท นี้ ขอผ่านไปได้เลย...
ทำได้หมด ขึ้นยุว่าจะทำไหม
แรงดัน 35 bar มีท่อเก็บแรงดัน 4 ท่อ เท่ากับมีระเบิดอยู่ 4 ลูกเลยนะครับ
มันก็ไม่ต่างอะไรกะแอร์บ้านเหรอก
ลิเทียไททาเนตใช้ใด้100ปี3-6หมืนไชเคิล
Yes a system like tis is working but what nobody is telling is that the efficiency is poor. A good electrolyser has an efficiency of around 50% and the fuel cell has again an efficiency of around 50% ! If you have 1Kw Solar power and you store it with a system like this you get 250 watt back every battery can do this better.
เอาเงิน9แสนไปซื้อแบตริเที่ยมเก็บไฟใว้ใช้ตอนไม่มีแดดดีกว่าเยอะ
เงิน9แสนสามารถซื้แบตเตอรี่ลิเธียม nmcได้ 216Kw อย่าว่าแต่บ้านหนึ่งหลังเลย ทั้งหมู่บ้านยังไหวเลย
@@lelouchlamperouge3735 แล้ว nmc ใช้ได้กี่ปีครับ
@@Misslittlehigh 10-15ปี ทำมัยหรอ
@@lelouchlamperouge3735 แถมไอ้เครื่องนี้ก็ใช้แบตริเธียมเก็บไฟเหมือนกันอีก สู้เอาแบตมาเก็บไปจากโซล่าตรงๆเลยดีกว่า
@@lelouchlamperouge3735 อยากรู้เฉยๆ ครับ
เอาไฟโซลาเซลเข้าแบตไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ ผันไปผันมา สิ้นเปลืองกว่าอีก
มันเป็นตัวสำรองในวันที่โซลาเซลล์ไม่สามารถทำงานได้คือในวันที่แดดน้อยหรือไม่มีแดดเลย ถ้าใช้จริงไม่แน่อาจจะเป็นตัวผลิตไฟฟ้าหลักแทนก็ได้
จะมาไทย ไหมครับ
900,000 บาท ผลิดได้กี่วัตต์ครับ
จริงๆเรา ยังไม่สามรถดึง พลังงานจาก แสงแดด จากดวงอาาทิตย์ มาใช้งานยังไม่ถึง 100% ได้เลย
งั้นทำไมโตโยต้าถึงไม่เอามาผลิตรถไฟฟ้าล่ะครับ? ต่อไปรถจะได้เติมน้ำได้ไงครับ
ได้ครับแต่กำลังมันไม่ได้เท่าน้ำมัน อาจเพราะเทคโนโลยียังไม่ถึง เอาที่ให้เราเห็นก็คือรถไอน้ำ ที่ยุคนึงเราใช้น้ำกับความร้อนเป็นเชื้อเพลิง
การแปรรูปกว่าจะมาเป็นไฟต้องผ่านเครื่องอะไรมาบ้างละครับ รถยตน์ยัดมันได้ทั้งหมดใหม แล้วที่เหลือใช้ประโยชน์ละ ถ้าเทียบกับรถน้ำมัน ต้นทุนด้วย ทำมาแล้วขายได้ไหมถ้าราคาสูง
เห็นเค้าว่าโตโยต้าเคยทำแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดี คนอาจกลัวเรื่องการระเบิด
ยิ่งมีมาก ผลกระทบก็จะเกิด เพราะโลกจะขาดแคลนน้ำ
ถูกใจสายบ่นแก๊สเรือนกระจกเยอะล่ะ คิดแต่คาร์บอนเยอะแต่ไม่คิดพวกมีเทนโอโซน ถ้าไม่ห่วงเรื่องไฮโดรเจนระเบิดกับน้ำหมดเอาน้ำไปทำเรื่องฟิวชันสบาย แถมแบบนี้ยังใช้หมุนเวียนได้สบายในการเปลี่ยนมาระหว่างน้ำกับไฟฟ้า
เครื่องหนึ่งควาขายสัก20000 แล้วให้ใช้กับแผ่นโซล่าเซลล์ได้
ไฮโดนเจนเป็นแหล่งพลังงานที่ก๊าซไวไฟ เบา และเคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดในหมู่มวลแก็ส อยู่ที่4m/s ถ้าไว้ในบ้าน ปิดบ้าน แล้วเกิดก๊าซรั่ว บันเทิงแน่นอน มันเหมือนgen ที่ใช้น้ำแทน น้ำมัน
ใช่ครับ แม้แต่ผู้ผลิตเองก็ไม่กล้าการันตีเต็มปากเต็มคำว่ามันปลอดภัย แต่ใช้การเปรียบเทียบแทนว่ามันก็มีโอกาสรั่วได้เหมือนกับเชื่อเพลิงอื่นๆแทน
ถ้ารั่วมันจะลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่มีอะไรมากีดขวาง
ไอเดียมันซับซ้อนมาก จนคิดว่าราคาคงแพงน่าดู ลองทำแบบนี้ดีไหม รับไฟฟ้าจากแผงไปสูบน้ำขึ้นถังที่อยู่สูงๆ เวลาจะใช้ไฟฟ้าก็เปิดน้ำลงมาปั่นไฟฟ้า ทำเสมือนว่าถังน้ำวางบนที่สูงคือแบต จะเอาไฟเยอะและนานแค่ไหนก็เพิ่มถังเอาเอง น้ำไม่จำเป็นต้องกรอง ประโยชน์ใช้สอยจากน้ำไปใช้อย่างอื่นได้มาก ถ้ามีมอเตอร์ที่เป็นไดนาโมในตัวยิ่งดี ไม่ต้องใช้แยก
หลังจาก ใช้ไฮโดรเจน เสร็ต ทำไม ไม่เอา ไฮโดรเจน กับออกซิเจนมาแปะกันหว่า มันจะได้น้ำมาอะ
มันต้องมีเหตุผลที่ทำไม่ได้ครับ หรือกั๊กไว้ขาย ver ใหม่
@@lioncryp60 หรืออาจะลืมคิด หรือ เก็บ o2 ไม่ได้ หรือ บลา ๆ
หลังจากใช้ H2 ก็มักจะได้น้ำหรือไอน้ำมาแหละครับ น้ำที่ได้นี้อาจจะปล่อยทิ้งหรือเอามาวนในระบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าออกแบบไว้แบบไหน คาดว่าการเอาน้ำใหม่เข้าไปเติมอาจจะต้นทุนถูกกว่า หรือเพราะต้องเติมจากในส่วนสูญเสียก็ได้
คำตอบของคอมเม้นต์ข้างบน บอกแล้วว่าจะได้น้ำกลับมาในกระบวนการผลิตไฟฟ้า จากการทำปฏิกิริยาของให้ไฮโดรเจนกับอากาศ
อะไรก็แล้วแต่ที่พยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของอากาศหรือธาตุบนโลก มันจะเป็นประตูนำทางไปสู่หายนะของสิ่งมีชีวิตในอนาคต หาแนวทางอื่นในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าครับ
เพิ่มออกซิเจนในเขตเมือง น่าจะเป็นการช่วยปรับสมดุลย์ทดแทนความร่อยหรอของต้นไม้ ถ้าช่วยลดความเสี่ยงของน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อน น่าจะยิ่งดี ทั้งนี้ทั้งนั้น เราเองก็อยากรู้ ผลที่ได้ต่อระบบนิเวศ
มันยังแพงท่าคนใช้เยอะก้อถูก
มอบไม่เห็นโอการคืนทุนเลย 30ปี 9แสนบาท และน่าจะมีค่าบำรุงค่าช้อมระหว่างการใช้งานด้วยแร่ๆ
ไอเดียดี แต่แพงไปหน่อยสำหรับเมืองไทย ราคานี้ยอมติดตั้งชุดโซล่าเซลล์แบบจ่ายไฟได้ทั้งปีสบายๆ
ตอนพูด ฝนตก เหมือนจะหลุดอีสานนะ อิอิ+
ต้องถามว่าปลิตไฟสูงสุดได้กี่วัต
ส่วนตัวผม ผมว่าดูซับซ้อนและยุ่งยากเกินไป. เอาไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ไปแยก องค์ประกอบน้ำจะได้ไฮโดรเจน. เอาให้ไฮโดเจนกลับไปรวมออกซิเจน จะได้ไฟฟ้าคืนมา ดูแล้วมันยุ่งยากจัง ส่วนตัวนะ โอเคข้อดีคือ อายุการใช้งานดีอยู่. แต่ผมว่า ถ้าชาร์ทไฟจากโซล่าเซลล์เอาเข้าแบตเลยไม่ง่ายกว่าเหรอ แล้วแบตก็พัฒนามาไกลมากด้วยยิ่งแบตตัวใหม่เทสล่าที่จด สิทธิบัตรไว้ อายุใช้งานก็นานมากนะ และผมว่าดูเหมือนจะปลอดภัยกว่าการกักเก็บ ไฮโดรเจนนะ ย้ำว่าความเห็นส่วนตัว
เราว่าคุณเข้าใจผิดเรื่องกลไกการทำงานผลิตไฟฟ้าของเครื่องตัวนี้
@@jakemuller1677 ผมอธิบายตามคลิปนั่นแหละครับ แต่แค่ไม่ลงรายละเอียดตามคลิป คิดว่าคนมีความรู้พื้นฐานเรื่อง Electrolysis จะเข้าใจง่ายๆ
เปลี่ยนพลังงานจากแดดเป็น H2 แล้วเอาพลังงานจาก H2 กลับมาเป็นไฟฟ้า
แดดให้พลังงาน 100% -> H2 (เหลือพลังงาน70%) -> แปลง H2 เป็นไฟฟ้า -> เหลือ 40% เทียบจากแดดลงแบต
สำหรับระบบนี้ จะใช้กระบอกเก็บไฮโดรเจนแทนแบตเตอรี่ สำหรับใช้ในยามที่ไม่มีแสงแดดครับ ช่วงที่มีแดดระบบสามารถดังพลังจากระบบโซล่าเซลล์ไปใช้ได้โดยตรงเลย ส่วนกลางคืนก็จะเปลี่ยนระบบใช้ไฮโดรเจนผลิตกระแสไฟฟ้าแทน
@@CarRaver เข้าใจครับ Hydrogen battery system เหมาะกับพวกที่ solar กำลังไฟเยอะๆ ประหยัดค่าแบต
จะนำมาใช้ในกทม.เวลาไม่มีแดด
ยอดขายขึ้นอยู่กับตัวแทนจำหน่าย จะสร้างความมั่นใจในบริการหลังการขายดีแค่ไหน
พอเลยเก้าแสนจบข่าว
ปตท.ทำแบบหลอกๆ คือสนับสนุนรถไฟฟ้าแต่ก็เอา LPG มาปั่นไฟตลกมาก
ดัดแปรงเป็นแบตเตอรี่สำรองรถไฟฟ้า
หนักเกือบ 200 โล อือฮือ
ทำไม ผมดูคลิปจบแล้ว คิดว่ามันคือเครื่องสร้างco2 คล้ายๆกับพวกเครื่องผลิตอากาศที่ใช้กับยานอวากาศ เรือดำน้ำพวกนั้น
ว่าแล้วต้องมีคนทำเข้าซักวัน
แล้วทำไมต้องเอาไฟฟ้ามาผลิตไฮโดรเจน เพื่อกลับมาเป็นไฟฟ้าอีก แล้วต้องคอยเปลี่ยนไส้กรองน้ำอีก เก็บไฟไว้ในแบตไปเลยง่ายกว่า บ้านเราแดดเหลือเฟือ ปล. เอาน้ำประปามาหมุนไดนาโมผลิตไฟยังดูมีประโยชน์กว่า
น่าจะเพราะไม่ต้องการใช้แบตเตอรี่ครับ แต่ต้องการสำรองในรูปแบบไฮโดรเจนแทน
@@CarRaver ผมเคยเห็นข่าวแบตเตอรี่เทสล่าใช้ได้นานตั้ง 50 ปี เทโนโลยีแบตก้าวไปเร็วมาก ยังไงแบตก็คุ้มกว่า
ใช่ครับ ผมก็เคยทำคลิปไปแล้วเรื่องแบตของ tesla แต่สำหรับเทคโนโลยีนี้ เขาชูว่ามันเป็นพลังงานสะอาดจริงๆ ที่แม้หมดอายุแล้วก็ไม่เหลือสารพิษใดๆเหมือนแบตเตอรี่ ที่ต้องขุดเหมืองลิเธียมเพื่อผลิตแบตเตอรี่ และเมื่อหมดอายุก็มีสารเคมีตกค้าง และตัวเครืองมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ อันนี้คือข้อดีที่เขายกมาครับ แน่นอนความคุ้มค่ายังไงแบตเตอรี่ก็เหนือกว่าแน่นอน แต่มันก็ยังมีการปล่อยมลพิษอยู่อะนนี้ต้องยอมรับ
@@CarRaver แล้วแบต 5kva ที่อยู่ในเครื่องหล่ะ ให้แบตอะไร มันจะสะอาดได้ไง
ก็แค่แบตเตอรี่fuelcell ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าแถมมี lose จาก การ electrolysis และ fuel cell อีกeff ไม่ถึง 50%แน่ๆ คล้ายๆระบบ AIP ของเรือดำน้ำ ทำมาเพื่ออะไร?? แทนที่จะเก็บไฟจาก solar cell เข้าแบตโดยตรง eff90%up
จดประสงค์คือต้องการหลีกเลี่ยงการใช้งานแบตเตอรี่ครับ
@@CarRaver ซึ่งไม่จำเป็นเลย เพราะ ข้อเสียของแบตเตอรี่ ปัจจุบัน คือความจุพลังงานต่อปริมาตรน้อยและน้ำหนักมาก ถ้าเป็นรถยนต์ หรือที่ผมยกตัวอย่างกรณีเรือดำน้ำ ยังmake sense อยู่บ้าง แต่บ้านเรือนที่สามรถติดแผง solar cell ได้นี่คงไม่มีข้อจำกัดเรื่องพวกนั้นมั้งครับ
ตามข้อมูลของบริษัท เขาไม่ได้มองว่าแบตจะมีความจุมากหรือความจุน้อยครับ แต่เขามองว่าแบตเตอรี่นั้นยังต้องมีการขุดเหมืองลิเธียม และยังไม่สามารรีไซเคิลได้แบบ 100% ซึ่งมันยังมีขั้นตอนที่สร้างมลภาวะครับ ลองไปอ่านพันธกิจของบริษัทเพิ่มเต็มก็ได้ครับ แน่นอนว่าหากตัดปัญหาด้านมลภาวะออกไป การชาร์จไฟจากโซล่าเซลล์เข้าแบตโดยตรงยังไงก็คุ้มกว่า และซับซ้อนน้อยกว่า
รอดูยี่ห้อจีน น่าจะถูกกว่าอย่างแรง
เห็นคนไทยทำได้ตั้งนานและ ไม่เห็นมีหน่วยงานไหนให้งบพัฒนา
ฟลูเซลมีมานานแล้ว แต่รายย่อยทำเองไม่คุ้มเนื่องจากต้นทุนการผลิตไฮโดเจนใช้พลังงานขาเข้ามากกว่าผลที่ได้ ถ้าจะให้ใช้ดีก็คงต้องค่อยๆผลิตและเก็บไว้แบบในคลิป แต่ก็ไปบานปลายที่ส่วนกักเก็บไฮโดรเจนอีก พลังงานสะอาดจริง แต่ตอนนี้ต้นทุนสูงมากกกกก 🤣
เทคโนโลยีน่าสนใจมาก แต่ราคาไม่น่าลงทุน
เอามาเลยมั๊ย...ทุกวันนี้การไฟฟ้าแม่งเอาเปรียบมากๆ
ข้ามศพการไฟฟ้าก่อนนะครับ ดีเกินไปบ้านเรายังไม่พร้อม. ถุย
@@อนาคตไกลตั้งรอเฉยๆ จริงครับพี่
เฮยแม่นอีหลีติหมู
น้ำปะปาบ้านเรามีตะกรัน ใช้ไม่ถึงครึงปีพัง
ต้องรอสักพักก่อน
9แสนแพงไปครับนะตอนนี้9หมื่นมีลุ้น
9 หมื่นติดระบบโซล่าเซลยังไม่พอเลย 1 kw ก็แสนกว่าแล้ว
เครื่องล่ะ 9 แสน บาท ใช้ได้30 ปี
จ่ายเงินเฉลี่ย ปี ล่ะ 3 หมื่น บาท
ถ้า ใครใช้ไฟ ปี ไม่ถึง 3 หมื่น ก็ ไม่คุ้ม
เหมาะเอามาชาร์จไฟให้กับรถไฟฟ้า
เป็นเครื่องที่ดีอ่ะ แต่ราคาเครื่องนี้ หรือแค่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่กี่แสน ราคามันยังต่างกันเยอะอ่ะ !
แต่โซลาเซลไม่สามารถใช้ตอนกลางคืนได้ นอกจากมีแบตฯ เข้าใจว่าไอ้เจ้านี่ทำมาเพื่อลบจุดอ่อนตรงนี้ครับ
ใช้โซล่าเซลล์แพงรุ่นใหม่ใช้ได้ทั้งกลางวันกลางคืนแต่มีแสง
ทำไมไม่เอามาใส่รถยนต์ ?
ดูเหมือนคนจะกลัวเรื่องการระเบิด
มันคือเซลเชื้อเพลิงธรรมดา ที่องการนาซ่าใช้มา50กว่าปีแล้ว เรื่องน้ำ มันไม่ใช่ปัญหา เอาที่ใหนก็ใด้ที่มีสารละลายเจือปนน้อย
ตอนนี้จีนทำเขื่อน เก็บน้ำ น้ำโขงแห้ง
ถ้า9หมื่นบาทก็ไม่แน่
ทางเลือกมากมายแต่ค่าไฟแสนแพง
คนที่บ่นแพงเพราะ ค่าเงินรายวันเขาสูงกว่าเรามาก ถือว่าไม่แพง
เพิ่มทางเลือกครับ