แก้ไขโรคเหี่ยวสับปะรด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ต.ค. 2024
  • โรคเหี่ยวสับปะรดระบาดในพื้นที่ตำบลอ่าวน้อยและตำบลใกล้เคียงพื้นที่ในตำบลอ่าวน้อยที่ปลูกสับปะรด ในขณะนี้เกิดโรคเหี่ยวของสับปะรดมีแนวโน้มการระบาดสู่แหล่งปลูกสับปะรด ตำบลใกล้เคียงด้วย ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดเดือดร้อนในเรื่องผลผลิต ที่ประชุมได้มีมติ ให้ ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรประจวบคีรีขันธ์ให้หาแนวทางการแก้ไขโรคเหี่ยวสับปะรด สภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรดอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดประชุม คณะทำงานด้านพืช ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ โดยเชิญผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประธานกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดและผู้แทนของแต่ละอำเภอ จำนวน ๘ อำเภอ ร่วมประชุม ร่วมกันแก้ไขและป้องกันกำจัดปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรดเพื่อนำเข้าที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๒และในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ ได้จัดประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๒ ได้นำผลการร่วมกันแก้ไขป้องกันโรคเหี่ยวสับปะรดจากประชุมคณะทำงานด้านพืช นำมาแจ้งในที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดทราบ โดยที่ประชุมสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้
    1. แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาสายพันธุ์เพื่อประสานการทำงานเกี่ยวกับพันธุ์เพชรบุรี 2 ให้เข้าถึงเกษตรกรอย่างรวดเร็วเพื่อแก้ปัญหาโรคเหี่ยวที่สะสมอยู่นาน
    2. จัดทำยุทธศาสตร์สับปะรดโดยมีภาครัฐภาคเอกชนเกษตรกรทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดทำทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สับปะรดด้วยกันเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนกับเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด
    นอกจากนี้ยังจัดทำข้อเสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรด ให้มีมาตรการในการแก้ไขทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้
    1 มาตรการระยะสั้น/เร่งด่วน
    สร้างการรับรู้ การป้องกันโรคเหี่ยวสับปะรด จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงในพื้นที่กำหนดแผนการดำเนินงานและแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรดในพื้นที่ ศึกษา วิเคราะห์ และทดสอบเคมีภัณฑ์ที่ใช้
    2. มาตรการระยะกลาง
    การพัฒนาต้นพันธุ์ หน่อพันธุ์สับปะรดที่ต้านทานโรค แมลงให้เพียงพอกับความต้องการจัดทำแปลงสาธิต การพัฒนาพันธุ์สับปะรดที่มีคุณภาพ ให้มีความต้านทาน ทนทานต่อโรค/แมลง และตรงกับความต้องการของตลาดนอกจากนี้ จัดทำแผนปฏิบัติการกำจัดเพลี้ยแป้งอย่างเป็นระบบและครบวงจร
    3 มาตรการระยะยาว
    1)จัดทำพระราชบัญญัติสับปะรด เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาสับปะรด
    2) จัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการผลิตสับปะรด
    โดยสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะนำข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรด เสนอต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้พิจารณาต่อไป

ความคิดเห็น •