ไม่สามารถเล่นวิดีโอนี้
ขออภัยในความไม่สะดวก

แซนโฏนตาบูชาบรรพบุรุษจังหวัดสุรินทร์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 11 ต.ค. 2023
  • #แซนโฎนตา# ประเพณีบุญเดือนสิบของชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งบางคนเรียกว่า "สารทเขมร" โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 9-11ตุลาคม 2566 โดยมีจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 11 ตุลาคม 66 นี้
    "แซนโฎนตา" คือ
    แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา ปู่และย่าหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
    คำว่า "โฎน" เป็นภาษาเขมรใช้เรียกยายหรือย่า ส่วนตาใช้เรียนแทนตาและปู่
    ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีดั้งเดิมที่ประชาชนชาวไทยเชื้อสายเขมรได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ให้ได้รับกุศลผลบุญ ที่ลูกหลานได้อุทิศให้ซึ่งตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี หยุดภารกิจหน้าที่การงานทั้งหมด และนัดหมายไปรวมกัน ณ บ้านที่เป็นศูนย์กลางของครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของผู้ที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว พร้อมกับเตรียมเครื่องไหว้มาทำพิธีเซ่นหรือแซน เช่นหัวหมู ไก่ เนื้อ ปลา ข้าวสาร ข้าวสวย ผลไม้ ขนมหวาน ขนมกระยาสารท ข้าวต้ม หมูและข้าวต้มหางยาว เพื่อไหว้บรรพบุรุษของตนเองที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีแซนโฎนตา นอกจากเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษ ที่มีจุดหมายให้ลูกหลาน ได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ และมีโอกาสได้พบปะเครือญาติ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้พึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งยังมีความเชื่อว่า วันแซนโฏนตานี้ ถ้าลูกหลานคนใดไม่ได้ไม่ไปร่วมแซนโฎนตา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วอาจไม่พอใจ ส่งผลให้การทำมาหากินประกอบอาชีพไม่ราบรื่น ไม่ก้าวหน้า จิตใจเป็นกังวลไม่เป็นสุข
    แซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์จัดเป็นประเพณีวัฒนธรรมประจำปีของคนไทยเชื้อสายเขมร ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเป็น ความเชื่อ ตามประเพณีในท้องถิ่นจึงมีความเชื่อและปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน การประกอบพิธีกรรมประเพณี ในชุมชนนั้นจึงมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่ของคนในชุมชนจึงมีความเชื่อ มุขปาฐะ สอดแทรกไปในการประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ ประเพณี พิธีกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่พ้นความเชื่อในเรื่องของการบูชา นับถือผีทั้งนี้ในประเพณีพิธีกรรมของคนในชุมชนจึงข้องเกี่ยวกับพุทธศาสนา และการนับถือผี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมความเชื่อแบบเขมรที่คนในชุมชนยังยึดถือและปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบัน
    งาน ประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ พระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก เป็นประเพณีที่ชาวจังหวัดสุรินทร์ และชาวไทย ที่มีเชื้อสายเขมรได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน งานจัดขึ้นในช่วงแรม 15 ค่ำเดือน 10 เป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่เดิมนั้นจะประกอบพิธีเฉพาะในครอบครัวและชุมชน ต่อมา อ.ขุขันธ์ได้จัดงานนี้ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และทำให้ผู้คนได้รู้จัก อย่างกว้างขวาง
    โดยมีนายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เจ้าเมืองคนปัจจุบัน เป็นประธานประกอบพิธี โดยมีหัวหน้าส่วนข้าราชการ ประชาชน เข้าร่วมในพิธี
    ภายในงานได้จัดพิธีกรรมต่างๆ และมีของเซ่นไหว้ให้ผู้คนได้รำลึกถึงบรรพบุรุษ ซึ่งการจัดงานนี้ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามความเชื่อที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของชาวจังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนการใช้ประเพณีให้เป็นสายใยผูกพันในครอบครัว
    การประกอบพิธีแซนโฎนตา โดยจะนำเอาอาหารคาวหวาน น้ำส้ม น้ำผลไม้ข้าวต้ม ขนมชนิดต่างๆ และยังใช้เป็นผลไม้ประกอบพิธีเซ่นไหว้
    อีกทั้งยังจะได้เห็นการแต่งกายของชาวเมืองที่ใส่เสื้อ “ผ้าไหม” หรือ ผ้าโสร่งทอลาย อย่างสวยงาม หรือการเย็บถักตะเข็บลายตีนตะขาบอย่างประณีตสวยงามทั้งหญิงและชายอีกด้วย ##

ความคิดเห็น • 1

  • @bothailand
    @bothailand 10 หลายเดือนก่อน

    มาร่วมพิธีแซนโฎนตา