ไม่สามารถเล่นวิดีโอนี้
ขออภัยในความไม่สะดวก

9 ตุลาคม ค.ศ. 2023

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 8 ต.ค. 2023
  • ##สำหรับประเพณีแต่งงานของชุมชนชาวกูยโบราณ หรือ ซัตเต พิธี “ซัดเต” เป็นการสู่ขวัญคู่บ่าวสาวแบบชาวกวย และจะมีพิธีแห่ขันหมากบนหลังช้าง การเลี้ยงอาหารช้างเพื่อความเป็นสิริมงคล และร่วมนั่งช้างจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง ที่ถือว่าเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสัตว์แห่งความเป็นมงคล โดยจังหวัดสุรินทร์จัดขึ้น
    การเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยความรักของหนุ่ม-สาว ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด ก็มักจะมีการจัดพิธีกรรมขึ้น เพื่อเป็นการประกาศให้ญาติทั้งสองฝ่ายรับรู้ เป็นสักขีพยานในการครองรักครองเรือน ซึ่งพิธีการแต่งงานก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ในชาติพันธุ์ ชาว
    กูย หรือ กวย หรือ ส่วย หรือ เยอ ก็มีพิธีกรรมนี้เช่นกัน เรียกว่า "ซัตเต"
    "พิธีซัตเต" เป็นพิธีการแต่งงานแบบพื้นบ้านของชาวกวย กูย ส่วย หรือ เยอ คำว่า "ซัตเต" เป็นภาษาส่วย แปลว่า "ผูกแขน" หรืออาจจะเรียกตามภาษาเขมรถิ่นไทยในแถบสุรินทร์ว่า "ฮาวปลึงจองได" ก็ได้ ซึ่งคำว่า "ฮาวปลึง" หมายถึง "การเรียกขวัญ" ส่วนคำว่า "จองได" มีความหมายว่า "ผูกข้อผูกแขน หรือ ผูกข้อมือ" ซึ่งตามประเพณีอีสานทั้งอีสานเหนือ อีสานใต้ การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นการแสดงความชื่นชมยินดีให้กับเจ้าของขวัญ ให้มีความสุข อายุยืนยาว มีพิธีการสู่ขวัญ หรือสูตรขวัญ โดยพ่อหมอหรือพราหมณ์เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งการสวดนี้ก็จะใช้ภาษาท้องถิ่นแตกต่างไป ในจังหวัดทางอีสานใต้ก็จะใช้ภาษาเขมร เมื่อเสร็จสิ้นการสวดแล้วก็จะมีการผูกข้อมือโดยพราหมณ์ และญาติผู้ใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของการรับขวัญและเป็นสิริมงคลสืบไป ##

ความคิดเห็น • 1

  • @bothailand
    @bothailand 10 หลายเดือนก่อน

    นางรำสวย