ฎีกา InTrend Ep.124 สินเชื่อส่วนบุคคลต้องฟ้องภายในกี่ปี

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 มิ.ย. 2023
  • ฎีกา InTrend Ep.124 สินเชื่อส่วนบุคคลต้องฟ้องภายในกี่ปี
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : วิญญู พิชัย, สรวิศ ลิมปรังษี, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
    Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    ทุกวันนี้เรื่องของสินเชื่อและเงินกู้ยืมประเภทต่าง ๆ ยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่เสมอ เพราะสำหรับคนที่มีปัญหาความขัดสนทางการเงินแล้วการมีเงินมาใช้หมุนเวียนย่อมเป็นเรื่องจำเป็น แต่เมื่อหยิบยืมมาแล้วก็ต้องใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้ หากไม่ใช้คืนย่อมทำให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องได้ แต่การใช้สิทธิฟ้องร้องของเจ้าหนี้ก็ต้องทำภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย แต่เนื่องจากสินเชื่อที่มีอยู่ในท้องตลาดมีหลายแบบหลายประเภท กำหนดอายุความสำหรับสินเชื่อแต่ละแบบย่อมมีความแตกต่างกัน ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องภายในอายุความเท่าใด
    นายเสือร้อนเงินต้องการเงินมาใช้จ่ายหมุนเวียนภายในครอบครัวจึงได้ไปสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารแห่งหนึ่ง ตามข้อตกลงในสัญญากำหนดว่านายเสือจะต้องชำระคืนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยในแต่ละเดือนตามจำนวนที่ระบุในใบแจ้งยอดบัญชี โดยนายเสือตกลงเลือกจะชำระคืนต้นเงินกู้ขั้นต่ำในแต่ละเดือนเท่ากับร้อยละ 5 ของยอดหนี้แต่ละเดือนหรือ 500 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ในการนี้นายเสือตกลงจะชำระค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเป็นรายเดือนในอัตราขั้นต่ำร้อยละ 5 ของยอดหนี้แต่ละเดือนด้วย
    นายเสือได้เบิกถอนเงินไปตามสัญญาสินเชื่อส่วนบุคคลนี้ร่วม 30,000 บาท เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ธนาคารจึงได้ให้นายเสือทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ระบุยอมรับยอดหนี้ดังกล่าวไว้รวมต้นเงินและดอกเบี้ย 35,000 บาท แต่ต่อมานายเสือก็ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้อีก
    เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ธนาคารจึงได้ฟ้องนายเสือ นายเสือจึงได้ให้การต่อสู้ว่าธนาคารนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี คดีจึงขาดอายุความแล้ว
    สำหรับในกรณีนี้ข้อที่นายเสือต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ 5 ปีนั้นมาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) ที่กำหนดให้หนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี นายเสือจึงต่อสู้ว่าเมื่อนับแต่วันที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้จนถึงวันฟ้องแล้วเกินกำหนด 5 ปีดังกล่าว
    แต่ในกรณีนี้เมื่อย้อนกลับไปดูข้อตกลงของการให้สินเชื่อรายนี้จะเห็นว่านายเสือตกลงที่จะชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยตามใบแจ้งยอดบัญชีที่ธนาคารแจ้งในแต่ละเดือน เพียงแต่นายเสือตกลงที่จะชำระหนี้เป็นขั้นต่ำอย่างน้อยร้อยละ 5 ของยอดหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละเดือนนั้น จากข้อตกลงนี้จึงเท่ากับว่าแม้นายเสือมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ขั้นต่ำร้อยละ 5 แต่นายเสือย่อมจะสามารถชำระหนี้เต็มจำนวนของยอดหนี้แต่ละเดือนได้เช่นกันโดยไม่มีข้อจำกัด จะชำระมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนายเสือว่าจะเลือกชำระแบบใด ผลจึงเท่ากับว่ายอดหนี้ที่แจ้งในแต่ละเดือนนั้นไม่ได้มีการกำหนดว่าต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นงวด ๆ แต่อย่างใด จึงไม่สามารถใช้อายุความตามมาตรา 193/33 (2) ได้
    เมื่อไม่ถือว่าเป็นหนี้ที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ดังนั้นเมื่อธนาคารนำคดีนี้มาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
    อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ยังมีข้อน่าสนใจอีกประการคือ แม้หนี้เงินต้นของสินเชื่อส่วนบุคคลรายนี้จะไม่ขาดอายุความดังกล่าว แต่การที่นายเสือยกข้อต่อสู้ว่าหนี้ขาดอายุความ 5 ปีนั้น ตามมาตรา 193/33 (1) ได้กำหนดให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระมีกำหนดอายุความ 5 ปีด้วย การที่นายเสือยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความนี้จึงทำให้นายเสือไม่ต้องรับผิดในหนี้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนฟ้องคดีที่ค้างชำระมาเกินกว่า 5 ปี
    กรณีนี้จึงสรุปได้ว่าหนี้เงินเชื่อส่วนบุคคลไม่ใช่หนี้ที่กำหนดให้ต้องผ่อนคืนทุนเป็นงวด ๆ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี แต่หากลูกหนี้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปีได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2565)

ความคิดเห็น • 10

  • @user-ue6mt7fh7l
    @user-ue6mt7fh7l ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณมากๆ คะ
    อธิบายกฎหมายยาก
    ให้เข้าใจง่าย...❤👍❤

  • @user-xx8ne2pu8z
    @user-xx8ne2pu8z ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ.เกษียณมาทบทวนความรู้ครับ.

  • @user-ue6mt7fh7l
    @user-ue6mt7fh7l 11 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณมากๆๆๆ
    อธิบายเข้าใจง่ายและ
    ได้ความรู้ดี ❤👍❤️

  • @chatchailamart7392
    @chatchailamart7392 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณมากครับ อธิบายเข้าใจง่ายครับ ติดตามนะครับ

  • @user-jp8tm9id2k
    @user-jp8tm9id2k 24 วันที่ผ่านมา

    เคยกู้เงิน สินเชื่อส่วนบุคคลจากไทยพาณิชย์ แต่มีบริษัทรับซื้อหนี้ไปแล้ว เขาโทรมาตามถ้าเราไม่รับโทรศัพท์เขาจะมาตามที่บ้านไหมคะ

  • @jennysup1
    @jennysup1 ปีที่แล้ว +1

    กรณีบริษัทซื้อหนี้เสียมาฟ้องใหม่ทั้งที่ขาดอายุความแล้ว ต้องทำอย่างรัยคะ

    • @penkhae
      @penkhae หลายเดือนก่อน

      กฎหมายแพ่ง ควรแก้ไข ได้แล้ว ว่า ศาลควรพิจารณา ก่อนออกหมาย ถ้าหมดอายุความ ต้องไม่รับฟ้อง

  • @penkhae
    @penkhae หลายเดือนก่อน

    กฎหมายแพ่ง ควรแก้ไข ได้แล้ว ว่า ศาลควรพิจารณา ก่อนออกหมาย ถ้าหมดอายุความ ต้องไม่รับฟ้อง

  • @user-fu5fh5vk4o
    @user-fu5fh5vk4o 10 หลายเดือนก่อน

    ผมผ่อนบัตรเคดิสมา๙ปีต้นก้อไม่รถผมส่งตรงมาตลอด

  • @rknshop1324
    @rknshop1324 9 หลายเดือนก่อน

    ขอบพระคุณ มาก ครับอาจารย์