การค้นหาและพัฒนาเครื่องหมายสนิปส์ใหม่เพื่อร่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 ส.ค. 2024
  • การค้นหาและพัฒนาเครื่องหมายสนิปส์ใหม่เพื่อร่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังให้มีไซยาไนด์ต่ำต้านทานโรครากปมและโรคใบด่างมันสำปะหลัง
    .
    มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึงประมาณ 80,000 ล้านบาทต่อปี การแพร่ระบาดของโรคใบด่างของมันสำปะหลัง ซึ่งทำให้มันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง ลำต้นแคระแกร็น และทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตได้ถึง 80% นอกจากนี้โรครากปมก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตเช่นเดียวกัน สำหรับสารไซยาไนด์เป็นสารที่ทำให้เกิดรสขมในมันสำปะหลัง และเป็นพิษต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้
    .
    สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี ชีวภาพพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะความต้านทานโรคใบด่าง โรครากปม และปริมาณไซยาไนด์ต่ำ เพื่อคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้มีลักษณะตามต้องการ ซึ่งได้ใช้เทคโนโลยี Genotyping by sequencing ใน
    การวิเคราะห์สารพันธุกรรม และใช้วิธี Genome wide association studies ในการค้นหาเครื่องหมายโมเลกุลชนิดสนิปส์ที่สัมพันธ์กับคุณสมบัติที่ต้องการ
    .
    ประโยชน์สำหรับเครื่องหมายสนิปส์นี้ ก็คือในการทดลองครั้งนี้ เราจะมี 3 เครื่องหมายด้วยกัน เครื่องหมายก็จะใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จะมีลักษณะใบด่าง รากปม และไซยาไนด์ต่ำ เพราะฉะนั้นเราจะได้พันธุ์ในลักษณะที่เราต้องการ นอกจากนี้มันจะช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์จากดั้งเดิม และที่สำคัญก็คือเราสามารถตรวจสอบลักษณะทั้ง 3 ลักษณะที่ต้องการไปพร้อม ๆ กันทำให้ประหยัดเวลา แทนที่จะเช็คทีละลักษณะ เราก็สามารถตรวจสอบทั้ง 3 ลักษณะไปพร้อม ๆ กันได้
    .
    สำหรับความสำเร็จในงานวิจัยในครั้งนี้ เราได้ยื่นขออนุสิทธิบัตร เครื่องหมายโมเลกุลชนิดสนิปส์ที่สัมพันธ์กับลักษณะปริมาณไซยาไนด์ต่ำในมันสำปะหลัง ในนามของกรมวิชาการเกษตร ถึงแม้ว่าเราจะมีการจดอนุสิทธิบัตร แต่ว่าเรานักวิจัย หรือนักปรับปรุงพันธุ์ หรือเกษตรกรผู้สนใจสามารถที่จะนำเครื่องหมายโมเลกุลชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
    .
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ โทร. 0 2904 6885
    . . . . . . . . . . . . . . . .
    กด Subscribe DOA Channel เพื่อติดตามความรู้ดี ๆ ด้านวิชาการเกษตร ได้ที่ : www.youtube.co...
    และ ติดตามข่าวสารจากกรมวิชาการเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่
    Website : www.doa.go.th
    Facebook : www. tha...
    Instagram : / thaidoanews
    TH-cam : / @doa-channel

ความคิดเห็น •