สัมพัทธภาพ EP03 : สัมพัทธภาพพิเศษ การหดตัวของความยาว Length Contraction

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 ส.ค. 2021
  • ติดตามเราที่ facebook : / becuriousth
    สำรองไว้ เผื่อช่องบิน จะได้หากันเจอ
    -------------------------------------------------------------------
    กลับมาอีกครั้งกลับซีรีย์ สัมพัทธภาพ โดยคลิปนี้ เป็นตอนที่ 3 แล้ว ใครยังไม่ได้ดูคลิปก่อนหน้า อย่าลืมกลับไปดูก่อน เพราะผมจะอ้างอิงข้อมูลจากคลิปก่อนๆ โดยไม่อธิบายซ้ำนะครับ
    ในตอนที่แล้ว เราได้คุยกันไปแล้วว่า จักรวาลของเราเป็น 4 มิติ ที่มีแกนทิศทางในอวกาศ 3 มิติ ได้แก่ x y z และ แกนเวลาที่เป็นมิติที่ 4 ทั้งหมดคือสิ่งเดียวกันที่เรียกว่า กาลอวกาศ
    และเราได้คุยกันไปแล้วว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ได้บอกเราว่า ความเร็ว มีผลต่อการยืดของเวลา ยิ่งเราเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ เวลาก็ยิ่งเดินช้าลง ตามปรากฏการที่เราเรียกว่า time dilation
    แต่อย่างที่เราเพิ่งคุยกันไป เวลากับอวกาศกับเวลาเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าความเร็วทำให้ เวลาถูกยืดออกได้ ระยะทางในอวกาศก็ถูกทำให้หดได้เช่นกัน
    ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) ของไอซ์ไตล์บอกว่า ยิ่งเราเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ ระยะทางในจักรวาลของเรา ก็จะหดสั้นลงเท่านั้น และเราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า length contraction หรือ Lorentz contraction หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า การหดตัวของความยาว
    -------------------------------------------------------------------
    Reference
    สัมพัทธภาพพิเศษ : หนังสือ 'สัมพัทธภาพ' โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ
    การหดตัวของความยาว : hmong.in.th/wiki/Length_contr...
    การหดตัวของความยาว : www.repaythailand.com/univers...
    Vertical muon intensity versus depth : www.researchgate.net/figure/e...
    Length contraction: the real explanation : • Length contraction: th...
    Length Contraction is NOT an Illusion : • Length Contraction is ...
    Special Relativity Part 3: Length Contraction By Dave Farina : • Special Relativity Par...
    Your Daily Equation : Lorentz Contraction : • Your Daily Equation #3...
    Length contraction and Time dilation : • Length contraction and...
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 186

  • @curiosity-channel
    @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว +33

    รอบนี้ ไมค์ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ขออภัยด้วยครับ
    บางจุด ผมเขียน Km ผิด เป็น Kg นะครับ

    • @Deep_Dark_Dimension
      @Deep_Dark_Dimension 2 ปีที่แล้ว

      เอาเงินจากยูทูปไปซื้อใหม่เลยครับ

    • @rrung5115
      @rrung5115 2 ปีที่แล้ว

      ทำไมผมรสมันก้ปกติดีนะะะ555

    • @neko2913
      @neko2913 2 ปีที่แล้ว +1

      พี่ครับทำเรื่องการฟื้นฟูร่างกายได้ไหมครับ เเบบการสมานเเผลให้หายเร็วๆ วิทยาศาสตร์ในอนาคตสามารถทำได้ไหมครับ

    • @vandaapitta6277
      @vandaapitta6277 2 ปีที่แล้ว

      พี่คับอยากให้ทำเกี่ยวกับพวกทฤษฎีรูหนอน butter effects ด้วยคับ

    • @vandaapitta6277
      @vandaapitta6277 2 ปีที่แล้ว

      พี่คับอยากให้ทำเกี่ยวกับพวกทฤษฎีรูหนอน butter effects ด้วยคับ

  • @SCIWAYS
    @SCIWAYS 2 ปีที่แล้ว +13

    ชอบมากครับ เหมาะสำหรับเริ่มต้นศึกษา มีสมการอ้างอิงครบถ้วน

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณมากๆ ครับ
      ช่องโปรดมาคอมเม้นแบบนี้ ดีใจเลยครับ

  • @Nutbordee
    @Nutbordee 2 ปีที่แล้ว

    แต่ละคลิป อธิบายได้ดีมากเลยครับ ขอชื่นชมเลยครับโดยส่วนตัวชอบมาก ศึกษาอยู่บ้างแต่ไม่ค่อยมีเวลาอ่านและทำความเข้าใจครับ
    ขอเป็น FC เลยครับ

  • @user-ko8sk2rt3r
    @user-ko8sk2rt3r 2 ปีที่แล้ว +2

    26.08.2564 ดีใจครับ กำลังรอที่จะฟังอยู่ ครับ. กด Like และ Share เรียบร้อยแล้ว ครับ.

  • @randyrhoadstribute1999
    @randyrhoadstribute1999 2 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณที่ให้ความรู้ มิติที่4คือความเป็นไปของมิติที่3นอกจากนั้นขอความรู้จากช่องนี้

  • @user-nh5ne7gs3s
    @user-nh5ne7gs3s 2 ปีที่แล้ว

    เล่าสนุก น้ำเสียงฟังเเล้วจับใจความได้ง่าย

  • @user-cv2iz4iy4e
    @user-cv2iz4iy4e 2 ปีที่แล้ว

    เพิ่งมาเจอช่องนี้ น่าสนใจมากๆเลยค่ะ จะไล่ดูย้อนเรื่อยๆนะ 😂

  • @wanthaneeladsantain4791
    @wanthaneeladsantain4791 2 ปีที่แล้ว +3

    อยากให้ทำคลิปเกี่ยวกับสมอง จิตใจ ความคิดของมนุษย์หรือร่างกายมนุษย์มากๆค่ะ ชอบเรื่องเวลาและจักรวาลเหมือนกัน เป็นกำลังใจให้นะคะ ขอให้สุขภาพแข็งแรง☺️☺️

  • @supakitwongjampa2259
    @supakitwongjampa2259 2 ปีที่แล้ว +2

    รบกวนช่วยทำ Podcast ได้ไหมครับ ชอบฟังมากๆ

  • @midnicestory2923
    @midnicestory2923 2 ปีที่แล้ว +1

    คุ้มค่ากับการรอคอย

  • @banyawatrojsuwan2822
    @banyawatrojsuwan2822 2 ปีที่แล้ว +1

    ชอบช่องนี้มากครับ

  • @vicheanrabbit8915
    @vicheanrabbit8915 2 ปีที่แล้ว +32

    อยากรบกวนให้ทำคลิปเกี่ยวทฤษฎีฮิกซ์โบซอนะครับ ที่CERN พยายามพิสูจน์

    • @jedai007xsexyboy3
      @jedai007xsexyboy3 2 ปีที่แล้ว

      ดันครับ

    • @samsungsamsung8442
      @samsungsamsung8442 2 ปีที่แล้ว

      +1

    • @dr.demamoya1631
      @dr.demamoya1631 2 ปีที่แล้ว

      ผมเชื่อว่ามันคือจุดกำเนิดจักรวาลเพราะความว่างเปล่าจำเป็นต้องมีสิ่งดำรงอยู่

    • @dr.demamoya1631
      @dr.demamoya1631 2 ปีที่แล้ว

      @@user-mr8wi9yn5c คือผมไม่เเนะนำไปก็อปมาจากวิกิพีเดียนะ มันเป็นเเค่นิยามครับ

    • @jakkrapob1
      @jakkrapob1 2 ปีที่แล้ว +1

      +2

  • @mashowkai8022
    @mashowkai8022 2 ปีที่แล้ว

    ฟังพี่แล้วสนุกดีนะ

  • @user-ue7hd7oc3h
    @user-ue7hd7oc3h 2 ปีที่แล้ว +1

    คลิปต่อไป ขอ เวลาของพลั้งค์น่ะครับ อธิบายได้เข้าใจง่ายดี

  • @user-en4ti1db8t
    @user-en4ti1db8t 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากๆนะครับที่มามอบความรู้ให้บ่อยๆ ขอบคุณมากครับ👍🏻

  • @user-ov9tq5zq1y
    @user-ov9tq5zq1y 2 ปีที่แล้ว

    ชอบครับ...ตามดูมาหลายคลิป
    แต่ไม่ค่อยเข้าใจ

  • @vicheanrabbit8915
    @vicheanrabbit8915 2 ปีที่แล้ว

    ดีใจที่ยังทำคลิปออกมาอีกครับ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว

      ยังไม่เลิกครับ แค่หยุดพัก 5555

  • @Mountaincat316
    @Mountaincat316 2 ปีที่แล้ว

    ฟังเพลินเลยครับพี่

  • @doublefirst3934
    @doublefirst3934 2 ปีที่แล้ว

    พี่อย่าหยุดทำคลิปนะครับ ผมชอบพี่มากๆๆๆ

  • @kwanborntobe7883
    @kwanborntobe7883 2 ปีที่แล้ว +2

    ผมมองว่า quantum กับ relativity น่าจะคล้ายๆ การเปิด plate แปรอักษร ptate แต่ละอันคือ quantum ส่วนการพลิก plate แปรอักษรเป็นภาพรวมแต่ละภาพๆ คือ relativity ครับ
    น่าจะมีความถี่สูงสุดที่ plate จะพลิกได้เมื่อ take limit v --> c ครับ

  • @whitequeen2280
    @whitequeen2280 2 ปีที่แล้ว +1

    ชอบมาก !!!

  • @bear24908
    @bear24908 2 ปีที่แล้ว +7

    สุดยอดเลยครับขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ :)
    ขนาดความเร็วไม่ใกล้เคียงแสง มุมมองเรายังต่างกันเลยเนาะครับ
    คนดู กีฬาแบดมินตัน หรือ เทนนิส กล้องมุมสูง ในทีวี มองว่า
    ลูก เสริฟ rocdick 190km/hr หรือลูกตบ Tan boon heong 490km/hr
    ช้าจังง โถ่เอ้ย ทำไมรับไม่ได้
    แต่ !! ถ้าพวกเราไปอยู่ในคอรท จะพบว่า เอ๊ ลูกมันหายไปไหนน้าาา 555

  • @user-jr6rt2mm2b
    @user-jr6rt2mm2b 2 ปีที่แล้ว +4

    ละเอียดยิบ แบบไม่กระพริบตา😁😁😁😁😁เจ๋งจริงๆ พี่แกเล่นไม่กระพริบตาเลย

  • @user-ix9kk5on8v
    @user-ix9kk5on8v 2 ปีที่แล้ว

    ผมคงต้องไปทำความเข้าใจอีกซักพัก,ต้อนนี้

  • @lopo7774
    @lopo7774 2 ปีที่แล้ว +3

    ชอบช่องนี้มากครับ ดูจาก ส ป ป ลาวเดี

  • @itums1
    @itums1 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากครับ

  • @hideki1310
    @hideki1310 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @pakoranitipu8308
    @pakoranitipu8308 2 ปีที่แล้ว

    ชอบครับ

  • @user-zo5mg5gq7j
    @user-zo5mg5gq7j ปีที่แล้ว

    ดีครับ มึนดี

  • @a-ginmangsakul5842
    @a-ginmangsakul5842 ปีที่แล้ว

    ดีมากกกก

  • @ggkt8546
    @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว

    พี่ครับถ้าถึง40000ซับขอเรื่องEFEนะครั​บ

  • @ahaaha8664
    @ahaaha8664 2 ปีที่แล้ว

    จินตนาการยากจริงๆ

  • @ekkchaithongu-rai2063
    @ekkchaithongu-rai2063 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากฟังเรื่อง คลื่นเลนส์ความโน้มถ่วง แบบเข้าใจๆครับ

  • @ggkt8546
    @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว

    ผมอย่างโดนปักหมุนครับเม้นเเรก

  • @user-ke7lp1zi5m
    @user-ke7lp1zi5m 2 ปีที่แล้ว

    ขอเรื่อง string theory หน่อยครับ

  • @domeneosecret
    @domeneosecret 2 ปีที่แล้ว +1

    อย่างนี้ถ้าเราเดินทางเร็วมากๆ เราก็จะเดินไปดาวฤกษ์ใกล้สุดไม่ถึง4ปีแสงใช่มั้ยครับ
    สมมติย่นระยะทางเหลือ3ปี แล้วจะมีtime dilationอีก ทำให้คนบนยานเดินทางไม่ถึง3ปีแสงอีกใช่มั้ยครับ หรือว่ามันคิดรวมกันไปแล้ว

  • @alexanderkent7539
    @alexanderkent7539 2 ปีที่แล้ว

    อยากให้ทำทฤษฎีสตริงอ่ะครับพอ

  • @chairattotanarungroj9797
    @chairattotanarungroj9797 2 ปีที่แล้ว

    เคยคิดอยู่เหมือนกัน

  • @excita1
    @excita1 2 ปีที่แล้ว

    รอนานเหลือเกิน ep นี้

  • @lovezerotwo3406
    @lovezerotwo3406 2 ปีที่แล้ว

    พี่สนในเรื่องชีวิตเราถูกจำลองขึ้น มั้ยครับ อยากรู้ความคิดเห็นของพี่จัง

  • @user-fv5eh8hg4j
    @user-fv5eh8hg4j 2 ปีที่แล้ว +1

    ส่วนตัวผมมองว่าการทดลองเรื่องเวลาบนเครื่องบิน ที่บินตามการหมุนโลกกับบินทวน เวลามันไม่เท่ากันแน่นอนเมื่อมาถึงจุดเริ่มต้น เพราะเรายังไม่ได้บวกลบเวลาการหมุนของโลกด้วย เหมือนความเร็วโลกหนุนให้ถึงที่หมายเร็วขึ้นหรือช้าลงเพราะบินไล่ตามการกมุนของโลก ถ้าผมจินตนาการคงเหมือนกับเวลาเราเดินลงตามบันไดเลื่อนกับเดินทวนบันไดขึ้นไป เวลาย่อมต่างดันเมื่อถึงที่หมายซึ่งมีระยะทางที่เท่ากัน เพราะงั้น เวลาในจิตสำนึกของนิวตันผมมองว่ามันคือเรื่องจริงเกิดขึ้นจริง เวลาสากลเวลาที่แม้แต่ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่ มันก็เดินไปเรื่อยๆ ผมมองว่าเวลามีมาก่อนบิ้กแบงเสียอีก เหมือนเราอยู่ในห้องทึบไม่มีเสียง ผู้คน ไม่มีการเคลื่อนไหว เวลาก็ย่อมเดินไปในจิตสำนึก เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่ทำให้เวลาไม่เท่ากัน ระยะทางไม่เท่ากันแบบความคิดของไอน์สไตน์ ต้องมีปัจจัยมีรบกวนซึ่งมันไม่ได้แปลกประหลาดอะไรเลย มันก็ธรรมชาติ แบบการเดินขึ้นลงบันไดเลื่อนนั่นแหละครับ ผมมองอย่างงี้ ไม่รู้ว่าเพื่อนๆเข้าใจในสิ่งที่ผมสื่อมั้ย หรือถ้าผมเข้าใจผิดแนะนำให้เข้าใจแบบง่ายไปด้วยครับ คาใจมาก ขอบคุณครับ

    • @GaryMoore1212
      @GaryMoore1212 2 หลายเดือนก่อน

      เวลาสมบูรณ์มีจริงครับ แต่ต้องเป็นกรอบอ้างอิงของเอกภพนะ ที่ผมจะสื่อคือ ถ้าสามารถหาขอบเขตของเอกภพได้ แล้ว แล้วตัวเราก็ต้องมีขนาดร่างกายที่สัมพัทธ กับขอบเขตของเอกภพ เราก็จะอยู่ในกรอบอ้างอืงของเอกภพทั้งหมดทันทีเวลาของเราตอนนั้นก็จะเป็นเวลาเดียวคือเวลาเอกภพ สรุปคร่าวๆก็ประมาณว่าถ้าเราหาขอบเขตที่เป็น อนันต์ของเอกภพ ให้มีขอบเขตชัดเจน ตอนนั้นเราก็จะเข้าใจทุกอย่างในเอกภพแล้วแหละ แต่คงไม่ใช่ด้วยขีดจำกัดการรับรู้ในแบบมนุษย์แน่นอน

  • @user-me3fg8ib2p
    @user-me3fg8ib2p 2 ปีที่แล้ว

    ชอบครับ กดไลค์

  • @sirtsel
    @sirtsel ปีที่แล้ว

    ศึกษาทฤษฏีได้ที่ไหนครับ มีแค่หนังสือหรอ หรือมีหนังสืออนวนี้แนะนำมั้ยครับ

  • @kyoza1911
    @kyoza1911 2 ปีที่แล้ว

    มีทำคลิป ความเร็ว มีผลต่อ มวล มั้ยครับ

  • @amy-elly5814
    @amy-elly5814 2 ปีที่แล้ว +2

    ยังงัยประโยชน์ของคลิปก็ยังไม่ลดน้อยลงครับผม

  • @user-uh3mw7kn6v
    @user-uh3mw7kn6v 2 ปีที่แล้ว

    อาจารย์ชื่ออะไรคะ อาจารย์เป็นคนที่ทำให้ดิฉันเป็นคนที่อยากเรียนรู้

  • @Channel-gz5vj
    @Channel-gz5vj 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากให้เล่าเรื่องราวคนที่คิดจะสร้างหลุมดำหน่อยครับ?

  • @mfusttstjwidirn5187
    @mfusttstjwidirn5187 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าเราเคลื่อนที่เร็วมากๆเเล้วระยะทางของเราจะหดจนเป็น2มิติไหม?
    อยากรู้

  • @Asapo-qj4wc
    @Asapo-qj4wc 2 ปีที่แล้ว

    พี่ครับผมมีข้อสงสัย คือถ้าโลกเราหมุนรอบตัวเองตลอดเวลาแต่เราอยู่บนพื้นโลกกลับไม่รู้สึกว่ามันเคลื่อนเลย(มองดวงอาทิตย์เคลื่อนแทนซะงั้น)คืออยากทราบว่าเราต้องมีความสูงเท่าไร่จึงจะรู้สึกได้ด้วยประสาทสัมผัสตัวเองว่าโลกมันกำลังหมุน..เหมือนเรารู้สึกแบบง่ายๆสมมุติเรายืนบนลูกบอลใหญ่ๆอะไรประมาณนี้..และในทางกลับกันสมมุติเราตัวเท่าเดิม(เอาเราเป็นจุดอ้างอิง)ต้องย่อโลกให้มีขนาดเล็กลงเท่าไรเราจึงจะรับรู้ได้ว่าโลกมันกำลังหมุนอยู่ครับ..

  • @MrPooree
    @MrPooree 2 ปีที่แล้ว

    เริ่มเข้าใจ การเดินทางในรูหนอนแล้ว

  • @user-fg7fw1rw2i
    @user-fg7fw1rw2i 2 ปีที่แล้ว

    งั้น ถ้าเราเดินทางไป. พร็อกชิมา ระยะทาง 4.3 ปีแสง ด้วยความเร็วแสง ///ระยะทาง ก็จะหด.เหลือ ไม่ถึง 4.3 ปีแสง ใช่ไหมครับ

  • @punchofficial1989
    @punchofficial1989 2 ปีที่แล้ว

    ช่องนี้เกี่ยวกับฟิสิกส์แล้วมีช่องไหนที่ทำเกี่ยวกับชีวะและเคมีที่เข้าใจง่ายๆแบบนี้มั้งไหมครับ

  • @user-ru6nc5rz6o
    @user-ru6nc5rz6o 2 หลายเดือนก่อน

    ถ้าจะเรียกว่า ทุกอย่างเหมือนจะเป็นเรื่องพลังจิต จะพอได้ไหมครับ

  • @user-tj8qm9vt4n
    @user-tj8qm9vt4n 2 ปีที่แล้ว

    อธิบายเข้าใจง่ายตอนเรียนนึกภาพไม่ออกขอบคุณครับ

  • @dr.demamoya1631
    @dr.demamoya1631 2 ปีที่แล้ว +1

    มนุษย์สู้รบกันมามากมายตั้งเเต่ยุคเเรกเริ่ม มนุษย์ต่างดาวอาจจะเคยมีเเต่ก็อาจจะล่มสลายไปเเล้วโดยน้ำมือตนเอง สตีเฟ่น กล่าว
    มนุษย์หารู้ไม่ว่าสิ่งที่ต้องเอาชนะคือเวลา
    ขอบคุณไอสไตล์มนุษย์ผู้รู้ว่าต้องสู้กับอะไร

  • @peeapollo5964
    @peeapollo5964 2 ปีที่แล้ว

    ระยะทาง×เวลา=ความรักที่ไม่แน่นอน
    #อยากหาสูตรแก้ทฤษฏีความรักหน่อยคับ แค่อยากจะรู้รักนั้นคืออะไร..ยิ่งฉันเรียนรู้มันมากแค่ไหน😅

  • @dr.arunchot8857
    @dr.arunchot8857 2 ปีที่แล้ว

    อยากรู้เกี่ยวกับ cern เหมือนกัน

  • @oat__nattawat
    @oat__nattawat 2 ปีที่แล้ว

    อันนี้ทำคามเข้าใจค่อนข้างยากเลยครับ

  • @masterhifi3939
    @masterhifi3939 2 ปีที่แล้ว +1

    จำได้ว่าตอนเรียนมอปลายเคยอ่านทฤษฏีนี้อยู่ใช้ พีชคณิต พิสูจน์ เรขาคณิต เรื่องของ ระยะทาง และ เวลาของนาฬิกาของแต่ละระบบ มันอ่านเข้าใจง่ายมาก บางทีเรื่องพวกนี้ ตำราเก่าๆของมอปลายจะช่วยอธิบายได้เข้าใจ ลึกซึ้ง และไม่มีวันลืม

  • @user-kc9yh5if2y
    @user-kc9yh5if2y 2 ปีที่แล้ว +2

    Length contraction กับการ warp ต่างกันตรงไหนหรือครับ เพราะทั้ง 2 กรณีนี้ ก็ระยะทางหดสั้นลงเหมือนกัน?

    • @user-mr4gi8vs5p
      @user-mr4gi8vs5p 2 ปีที่แล้ว +1

      นึกดูมันก็คล้ายกันเหมือนกันนะ

    • @nonthaphatchumpolpan1414
      @nonthaphatchumpolpan1414 2 ปีที่แล้ว +4

      ต่างตรงLength contraction ก็คือการเดินทางตามปกตินี่แหละครับแต่ใช้ความเร็วมากจนระยะทางลดลง แม้เวลาคนเดินทางอาจลดลง แต่คนที่มองจากภายนอก ก็ใช้เวลาตามปกติ แต่การwarp ตามทฤษฎี คือการพับกระดาษแล้วเจาะรู(น่าจะเคยได้ยินการอธิบายแบบนี้)คือระยะทางที่ลดลงแบบไปโผล่ที่หมายเลย เลยเรียกว่า warp ไง

    • @user-kc9yh5if2y
      @user-kc9yh5if2y 2 ปีที่แล้ว

      สงสัยต่อไปในอนาคต จะมีคำว่า “ Speed of light tunneling “ ก็เป็นได้ครับ เพราะขนาด แรง Gravity ยังทำให้เกิด Tunnel คือ หลุมดำ

    • @dr.demamoya1631
      @dr.demamoya1631 2 ปีที่แล้ว +1

      การwarpมันคือการเดินทางเร็วกว่าเเสงในขณะที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาความสัมพัทธ์ของการยืดออกของเวลาได้ คือเขาจะทำฟองสังเคราะห์กาลอวกาศปกติ คือมันเป็นเเค่ทษฎีนะครับ ในหนังstar trek ก็นำไปใช้ประกอบ

  • @user-ps9of3jz3t
    @user-ps9of3jz3t 2 ปีที่แล้ว

    Wheel of fortune
    ทุกๆอย่างล้วนเกี่ยวโยงกันทั้งสิ้น 🙏

  • @rachbat1639
    @rachbat1639 ปีที่แล้ว

    มนุษย์ต่างดาวมาโลกได้ก็เพราะความเร็ว ทำให้ระยะทางสั้นลง มั้งครับ

  • @chayangkulmisuna8935
    @chayangkulmisuna8935 2 ปีที่แล้ว

    คือฟังแล้วไม่น่าเบื่อเหมือนในห้องเรียนเลย

  • @fthvf7862
    @fthvf7862 ปีที่แล้ว

    เวลาน่าจะเป็นการเคลื่อนที่อายุขัย

  • @user-ct4fh6fn7u
    @user-ct4fh6fn7u 2 ปีที่แล้ว

    ตอนรถไฟผมงงสมาการเลย ท่านลืมใส่วงเล็บ​ที่0.8c

  • @1873oat
    @1873oat 2 ปีที่แล้ว +1

    มีผู้ค้นพบทฤษฎีนี้มาก่อนแล้ว ก่อนไอน์สไตน์ถึง2500ปี เรื่องที่ว่าเวลาของแต่ละคนไม่เท่ากันแต่ไม่ได้อธิบายเป็นสมการแค่นั้นเอง

  • @akenarinsaiyoi3364
    @akenarinsaiyoi3364 2 ปีที่แล้ว

    1.อธิบายให้เห็นภาพได้ชัดเจนดีครับแต่สมองผมตามไม่ค่อยทัน
    2.ภาพความเร็วแบล๊คเบิร์ด ใช้หน่วยkg/h น่าจะเป็นkm/h
    3.เสื้อstorm breakerนี้คุณได้แต่ใดมา

  • @user-tq5vb1ei6s
    @user-tq5vb1ei6s 2 ปีที่แล้ว

    ขอฟัง quantum computer คร้าบ อาจารย์

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว

      ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้เลยครับ รออ่านไปถึงก่อนนะครับ

    • @ggkt8546
      @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว

      ผมเเนะนำไปช่อง​ one​ two​ many​ ครับ

  • @phonlawutchansri7083
    @phonlawutchansri7083 2 ปีที่แล้ว

    มันคือสูตรที่ทำให้ความเร็วของรถกระทิงแดงลดลงนี่เอง

  • @ggkt8546
    @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว +1

    มาเเว้วครับ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว

      เพิ่งกดอัพเมื่อกี้ เม้นไวมากครับ

    • @ggkt8546
      @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว

      @@curiosity-channel ผมไวเท่าเเสงครับอัพเมื่อกี้ก็มาได้ครับอิอิ

  • @thawatchaikhoonkhuntod519
    @thawatchaikhoonkhuntod519 2 ปีที่แล้ว

    อธิบายดี

  • @apinanaubolsak
    @apinanaubolsak ปีที่แล้ว

    ความสอดคล้องฟิสิกกับคณิตศาสตร์ คือฟิสิกคือแนวคิดที่อธิบายเหตุและผลสร้างทฤษฎีต่างๆแต่คณิตินั้นจะทำใหทฤษฎีนั้นใช้งานได้หรือเป็นจริงได้

  • @Tixca-hp9lr
    @Tixca-hp9lr 2 ปีที่แล้ว +1

    ผมมีคำถามหนึ่งครับ เวลาเราเห็นอะไรเร็วมากๆ ทำไมเราเห็นมันเหมือนวิ่งถ่อยหลังครับ ;-;

  • @user-uk7gm4sv9b
    @user-uk7gm4sv9b 2 ปีที่แล้ว

    ช่องคุณภาพมากความรู้เเบบนี้ไม่ติดตามกัน ):

  • @dangstyle4187
    @dangstyle4187 11 หลายเดือนก่อน

    ต้องอ้างอิงกฎความไม่แน่นอนของไฮเซ็นเบิร์ก ทฤษฎีทางควอนตัม

  • @contempcontemp9508
    @contempcontemp9508 2 ปีที่แล้ว

    ภาพที่อธิบายมุมมองของ muon กับมุมมองของโลก ทำให้มองเห็นเวลาที่ต่างกัน : และถ้าเราจะแทนค่า muon ด้วย
    จักรวาลละครับ มุมมองของมนุษย์ที่เห็นจักรวาล ซึ่งดาวต่างๆหรือดวงอาทิตย์มีอายุเป็น5พันล้านปี ถ้าเทียบกับมุมมองจักรวาลเอง เวลาก็จะสั้นกว่า 5พันล้านปี ..หรือเปล่าครับ

    • @annona9304
      @annona9304 2 ปีที่แล้ว

      Muon frame เป็นโจทย์ที่เด็กฟิทุกคนต้องเจอจริงๆ มันคลาสสิค 55555 จะว่าไงดีครับ คือต้องรู้ก่อนว่า frame ของจักรวาลคืออะไรก่อนอะครับ ถึงจะทำการนิยามได้

  • @jirasakboonkao8293
    @jirasakboonkao8293 2 ปีที่แล้ว

    ผมว่าที่ไม่เท่ากันคือมุมมองของคน มากกว่าครับ

  • @pantipd8416
    @pantipd8416 ปีที่แล้ว

    พอ background เป็นสีดำเหมือนหัวล้านเบย
    หนวดมีข้างเดียวล่วยฮับ

  • @sandsd01
    @sandsd01 2 ปีที่แล้ว

    เหมือนเวลาเรามองใบพัดลมหมุนแต่เราเห็ฯเหมือนมัน หมุนย้อนกลับแล้วก็ตัวใบพัดจะดูแบนๆสั้นๆลงจากปกติ อย่างนั้นหรือเปล่าครับ

    • @vector_hustler
      @vector_hustler 2 ปีที่แล้ว

      จริง ๆ มันคือคนละเรื่องกันครับ คือตากับสมองเราประมวลผลภาพของการหมุนไม่ทันครับ มันเร็วเกินไป เราเลยเห็นเหมือนมันย้อนกลับครับ ยิ่งถ่ายจากกล้องยิ่งหนักเลย 😅 อีกตัวอย่างนึงคือหลอดไฟ ที่มันกระพริบเร็วมาก ๆ จนเราคิดว่ามันไม่กระพริบนั่นล่ะครับ 😉

  • @Deep_Dark_Dimension
    @Deep_Dark_Dimension 2 ปีที่แล้ว

    ขออนุภาคพระเจ้า ฮิกซ์โบซอน ด้วยนะครับ

    • @ggkt8546
      @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว +1

      ถ้าอย่างดูเรื่องนี้ให้ไปดูช่องone two​ many a​ brife scienceได้ครับเเต่ผมจะรอพี่ทำเหมือนกัน

    • @ggkt8546
      @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว +1

      โควิดช่สยๆๆกันครับ

    • @Deep_Dark_Dimension
      @Deep_Dark_Dimension 2 ปีที่แล้ว +1

      @@ggkt8546 ขอบคุณครับ

  • @vicheanrabbit8915
    @vicheanrabbit8915 2 ปีที่แล้ว

    เข้าใจว่างานวิจัยที่CERN เป้าหมายเพื่อค้นหา ฮิกซ์โบซอน เพื่อทำความเข้าใจแรงโน้มถ่วง อยากให้ช่วยอธิบายว่าวิจัยไปถึงไหนแล้วครับ

    • @annona9304
      @annona9304 2 ปีที่แล้ว

      หาเจอนานละครับ จริงไม่ใช่เเรงโน้มถ่วง แต่เป็นการบ่งบอกมวลมากกว่าครับ

  • @alexakillme1936
    @alexakillme1936 2 ปีที่แล้ว

    อยากสนับสนุนช่องดีๆอย่างนี้ทำไงดีครับ มีปุ่มสมัครสมาชิก​รึเปล่า

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว

      ยังไม่ทำสมัครสมาชิกครับ ตอนนี้ผมยังทำเป็นงานอดิเรกยามว่าง เลยยังไม่อยากรับโดเนท เดี๋ยวถ้าจริงจังกว่านี้อีกหน่อย และ มีเวลาให้กับการผลิตคอนเท้นให้ปรานีตอีกหน่อย ถึงค่อยเปิดครับ

  • @plan6828
    @plan6828 ปีที่แล้ว

    งั้นถ้าสมองเราประมวลผลได้เท่ากับหรือมากกว่าความเร็วแสงเราจะเป็นยังใง ???

    • @Prasa_Yiaedin
      @Prasa_Yiaedin 29 วันที่ผ่านมา +1

      สิ่งที่สอดคล้องกันระหว่างสมองความคิดในขอบข่ายแบบสรีระปกติของคุณก็จะต้องเปลี่ยนพัฒนาไปตามอำนาจของความเร็วด้านสมองที่เพิ่มขึ้นไงหละ ในสภาวะแบบนั้นนานๆคุณก็จะต้องมีสรีระที่เปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับค่าความไวของสมองในแบบผู้คนที่มีสมองและสรีระที่เป็นแบบปกติปานกลาง จุดสังเกตุง่ายๆของความเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือคุณจะแอคทีฟและเกิดกิจกรรมกับสิ่งต่างๆอย่างรวดเร็วไม่ต่างไปจากคนที่เป็นออทิสติก

  • @somdetpromma3089
    @somdetpromma3089 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าให้เดานะ ในหัวของไอน์สไตน์คงจะมีตัวเลขวิ่งกันยุบยับ

  • @user-os8pv2nm5r
    @user-os8pv2nm5r 2 ปีที่แล้ว

    11:00 ทิ้งไว้ให้สงสัยสะงั้น555มีต่อมั้ยคับ

  • @suthonlimchawalit9257
    @suthonlimchawalit9257 2 ปีที่แล้ว

    ผมตีความแบบคนไม่รู้ฟิสิคส์คือ ความเร็วของแสง ทำให้คนเห็นความยาวไม่เท่ากัน

  • @natpapapipobphukanatjirata8169
    @natpapapipobphukanatjirata8169 2 ปีที่แล้ว

    หลักศาสนา สามารถคล่องจองกับหลักวิทยาศาสตร์ได้ไหมครับ
    ตัวอย่างงานของท่านพุธทาส
    ทำคลิปที่สอดคล่องกกันพอได้ไหมครับ

  • @ER-sv1np
    @ER-sv1np 2 ปีที่แล้ว +2

    สมัยนั้น Einstein คิดได้ไง พิสูจน์ ยังไง แค่คำนวณระยะทางก็มึนแล้ว ปกติเราสร้างทฤษฎีจากการทดลอง
    แต่นี้ คิดจากสิ่งที่ทดลองไม่ได้

    • @user-ld9tl7bz4v
      @user-ld9tl7bz4v 2 ปีที่แล้ว +1

      สมมุติฐานแค่สมมุติแล้วคำนวณถึงเราจำลองสิ่งใหญ่ไม่ได้แต่เราสามารถจำลองมันได้

  • @wanchananetsamrit5745
    @wanchananetsamrit5745 2 ปีที่แล้ว

    นาทีที่ 6.19 ตรง 0.8ต้องยกกำลัง 2 ด้วยนะครับ

  • @Asapo-qj4wc
    @Asapo-qj4wc 2 ปีที่แล้ว

    พึ่งมาเจออะไรแบบนี้..มึนตึ๊บเลยแต่ก็ชอบจะติดตามไปเรื่อยๆครับ

  • @elcronics2038
    @elcronics2038 2 ปีที่แล้ว

    ถ้ารถไฟหดสั้นลง คนภายในเห็นล้อกับรางปกติ แล้วคนภายนอกจะเห็นล้อกับรางสัมพันธ์กันแบบไหน

    • @Mugiile
      @Mugiile 2 ปีที่แล้ว

      รางปกติเพราะไม่เคลื่อนที่แต่ล้อสั้นลง

  • @maikoreiuji4505
    @maikoreiuji4505 2 ปีที่แล้ว

    แล้วทำไม ถ้าความเร็วมากกว่าแสง เวลาถึงไหลย้อนกลับครับ?

    • @anuchadon1125
      @anuchadon1125 2 ปีที่แล้ว

      ตอนนี้ เชื่อกันว่า ความเร็วแสง คือความ ความเร็วสูงสุด ตามคำพูดของ ไอสตาย

  • @fthvf7862
    @fthvf7862 ปีที่แล้ว

    สงสัยจนเวียนหัวแล้ว

  • @sper8556
    @sper8556 2 ปีที่แล้ว +1

    ใกล้-ไกล ของคนเราไม่เท่ากัน ความคิดถึงของคนเราก็ไม่เท่ากัน อืมมมม

  • @nobhawasbhinthusuttinant6152
    @nobhawasbhinthusuttinant6152 2 ปีที่แล้ว

    ระยะทางที่พวกสื่อตีพิมพ์ เป็นระยะที่แสงเดินจริงหรือระยะทางที่มนุษย์บนโลกเห็นครับ

  • @prathombavornsuwan9542
    @prathombavornsuwan9542 2 ปีที่แล้ว

    ท่านผู้บรรยาย... "เรียกชื่อ ทฤษฎีของไอสไตน์ไม่ถูกนะครับ"... แสดงถึงความไม่รู้จริงของคุณ... ขอบคุณครับ...

  • @iz-dle4856
    @iz-dle4856 2 ปีที่แล้ว

    3:29 อาจจะเหมือนที่เวลาในปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าแต่ละวันมันผ่านไปเร็วกว่าสมัยก่อนมาก แต่วัดยังไงก็เท่าเดิม

  • @SkizzikArm
    @SkizzikArm 2 ปีที่แล้ว

    ศาสตราจารย์ผู้ชื่นชอบชีส . . . . นี่ถึงกับต้องลงในโปรไฟล์เลยเหรอ 5555

  • @pangkate
    @pangkate 2 ปีที่แล้ว +1

    #ทีมอ่านคอมเมนต์ !!
    ขออภัยที่มาช้าค่ะ ดราม่าการเมือง และการละครของโจ๊วววถุงดำ .. ในคลับเฮาส์ มันร้อนเเรงจริงๆๆ
    #เหน่ย_ก็วงการบันเทิงอ้ะเน๊อะ~~☆

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  2 ปีที่แล้ว

      มาเสียเช้าเลย

    • @pangkate
      @pangkate 2 ปีที่แล้ว

      @@curiosity-channel แหมมมม.. เดี่ยวนี้ กลับมา นอนแค่ วันละ ชม. 2 ชม. เหมือนเดิมล้ะค่ะ #วัยรุ่นอ่ะเน้อะ ..

  • @lordseyren5454
    @lordseyren5454 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าท้าวความไปถึงเรื่องกาล เวลา แต่ละวัตถุนั้นไม่เท่ากัน ส่วนของดาราจักรเองก็ไม่เท่ากัน และเราย้อนเวลาไม่ได้ เนื่องจากเราถูกบังคับให้วิ่งไปข้างหน้าเพียงทางเดียว (เวลา) ............................ อนาคตการที่ดาราจักรทางช้างเผือก กับ ดาราจักรแอนโดรเมด้า เข้าผนวกรวมกัน กาลของทั้งสอง ที่บิดคนละทิศทางกัน และก็ยังเป็นคนละกาล กันด้วย (เพียงแต่ของ แอนโดรเมด้า มีการบิดสูงกว่า) อวกาศของทางช้างเผือกที่ไปซ้อนกับของแอนโดรเมด้า ที่วิ่งสวนทิศทางกัน จะเป็น event break limit ของการย้อนเวลาก็มีความเป็นไปได้สินะครับ เพราะ อวกาศมันคนละ กาลเวลา กัน และมวลแต่ละอย่างที่หายไปของแต่ละช่วงเวลา ก็ยังอยู่ใน ทางช้างเผือกเช่นเดิม

    • @Prasa_Yiaedin
      @Prasa_Yiaedin 2 ปีที่แล้ว

      หินทุกก้อน ทรายทุกเม็ด ฝุ่นทุกละออง อนุภาคทุกหน่วย ในเอกภพ เวลาของพวกมันกำลังวิ่งย้อนกลับไปสู่อดีตของมันอยู่ ตัวอย่างเช่นอดีตของนาย ข คือมาจากความที่ไม่มีนาย ข อยู่เลย แต่เมื่อเกิดนาย ข ขึ้นมาแล้ว ทุกวันนี้นาย ข กำลังเดินทางไปยังอดีตที่ไม่มีนาย ข อยู่เลยเหมือนเดิมและสุดท้ายนาย ข ก็ไปไม่กลับหลับไม่ตื่นไปสู่ความไม่มีเหมือนในอดีตของนาย ข ที่ไม่มีนาย ข อยู่

    • @Prasa_Yiaedin
      @Prasa_Yiaedin 2 ปีที่แล้ว

      ดังนั้นทุกอย่างในเอกภพที่คุณเห็น มันเป็นอดีตที่กำลังวิ่งกลับไปสู่อดีตอยู่แล้ว แต่คุณไม่รู้สึกถึงพฤติกรรมแบบนั้นของมัน เพราะความรู้สึกในสมองของคุณ ( และทุกคน ) ถูกสร้างให้มีความรู้สึกและความเข้าใจแบบการมองภาพในกระจกเงา คือเห็นซ้ายเป็นขวา ดังนั้นการชนกันของดาราจักร มันจะไม่ได้ให้ผลอะไรในเรื่องของกาลย้อนเวลาที่จะมีเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ( เพราะมันมีอยู่เดิมแล้ว )

    • @Prasa_Yiaedin
      @Prasa_Yiaedin 2 ปีที่แล้ว

      การชนกันของดาราจักรที่มีกาลเวลาและทิศทางที่ต่างกัน ก็เหมือนธรรมชาติของคนสองคนที่ต่างกันแต่มีเหตุให้เกิดการรวมตัวกันจนกลายเป็นครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น ครอบครัวนั้นจะยั่งยืนอยู่รอดหรือล่มสลาย ก็ขึ้นอยู่ที่การปรับตัวเข้าหากัน เช่นเดียวกันอนาคตของดาราจักรที่เกิดการผสมผสานเข้าหากันนั้น ไม่ใช่แค่มาชนกันแล้วจะรวมตัวกันสำเร็จได้เสมอไป บางครั้งแรงต้านของภายในดาราจักรทั้งสองเองนั่นแหละอาจเป็นตัวกำหนดว่าจะเกิดการรวมตัวกันได้หรือไม่