ประมวลยมกปกรณ์ (หลักสูตรมหา-ตรี) ครั้งที่ ๑ - วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๗
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 23 ธ.ค. 2024
- คำว่า "ยมกะ" แปลว่า คู่, แฝด, สิ่งที่เป็นคู่ ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ คือ :-
ยมกปาฏิหาริย์ = ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ
ยมกสาลา = ไม้สาละคู่
ในภาษาไทยเรียกสัญลักษณ์อย่างหนึ่งว่า “ไม้ยมก” ใช้เครื่องหมาย (ๆ) เพื่อเป็นการอ่านซ้ำข้อความ หรือ อ่านคำข้างท้าย ๒ หน
เช่น “ต่าง ๆ” (ต่าง-ต่าง)
วจนัตถะของยมกะ
ยมสฺส ราชสฺส วิสยํ กมติ อติกฺกมติ เอเตนาติ = ยมกํ (ปกรณํ)
ปกรณ์ชื่อว่า ยมกะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องก้าวล่วงวิสัยของพระยายมเสียได้ (กรณสาธน กิตปทวิคคห ยมสทฺทูปปท กมุธาตุ กฺวิปจฺจย)
หรือ
๑. นิพฺพานํ ยนฺติ คจฺฉนฺติ เอเตนาติ = ยํ (ปกรณํ)
ปกรณ์ชื่อว่า ยํ เพราะเป็นเครื่องบรรลุพระนิพพาน (กรณสาธน กิตปทวิคคห ยาธาตุ ณ ปจฺจย)
๒. มนนฺติ ชานนฺติ ปรมตฺถธมฺมํ เอเตนาติ = มํ
ปกรณ์ชื่อว่า มํ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องรู้ปรมัตธรรมของเวไนยสัตว์ (กรณสาธน กิตปทวิคฺคห มนธาตุ กฺวิปจฺจย)
๓. กมติ อติกฺกมติ วิจิกิจฺฉํ เอเตนาติ = กํ
ปกรณ์ชื่อว่า ก็ เพราะอรรถว่าเป็นครื่องก้าวล่วงวิจิกิจฉาของเวไนยสัตว์ (กรณสาธน กิตปทวิคฺคห กมุธาตุ กฺวิปจฺจย)
๔. ยญฺจ ตํ มญฺจ กญฺจาติ = ยมกํ
ปกรณ์ชื่อว่า ยมกะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องบรรลุพระนิพพาน เป็นเครื่องรู้ปรมัตถธรรม และเป็นเครื่องก้าวล่วงวิจิกิจฉาของเวไนยสัตว์ (ติปท กมฺมธารยสมาสวิคฺคห)
กมนฺติ ยมวิสยํ ยนฺตี จ อมตํ ปทํ
มนนฺติ ปรมตฺถญฺจ กมนฺติ อฏฺฐสํสยํ
เตนาติ โลกนาเถน ยมกนฺติ ปวุจฺจติ.
เวไนยบุคคลทั้งหลาย ก้าวล่วงวิสัยของพระยายมได้ บรรลุอมตบทคือพระนิพพานได้
รู้สภาพธรรมอันลึกซึ้งคือปรมัตถธรรมได้ และก้าวล่วงความสงสัย ๘ ประการได้
ด้วยปกรณ์นั้น เหตุนั้น ปกรณ์นั้น ท่านจึงเรียกว่า “ยมก”.