ทฤษฎี​สัมพันธภาพ​ทาง​ภาษา l ภาษามีผลต่อความคิดของเราอย่างไร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2024
  • Linguistic relativity theory หรือ ทฤษฎี​สัมพันธภาพ​ทาง​ภาษา นั้น ได้บอกกับเราว่า ภาษาที่เราใช้นั้น ส่งผลต่อวิธีการคิดของเราๆ เนื่องจากภาษาต่างๆนั้นมีโครงสร้างเเละคำศัพท์ที่แตกต่างในการอธิบายสิ่งต่างๆในโลก คนทุกคนต่างจดจ่ออยู่กับสิ่งต่างๆที่ไม่เหมือนกันเวลาที่พูด
    สิ่งนี้ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า ภาษานั้นคือตัวกำหนดความคิดของเราทุกๆคน
    สนับสนุนเราเพื่อที่จะได้ทำวีดีโอใหม่ๆได้ที่นี่!!
    / sprouts 🐦:
    ดาวน์โหลดวีดีโอแบบไม่มีโฆษณาและดนตรีประกอบ 🤫:
    sproutsschools.com/video-less...
    ลงทะเบียนเพื่อรับสาระเเละข่าวสารจากเรา 🔔:
    eepurl.com/dNU4BQ
    แหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษา🎓:
    sproutsschools.com/linguistic...
    เยี่ยมชมเวปไซต์ 🌐 :
    www.sproutsschools.com
    มีส่วนร่วมในการโหวตเรื่องที่คุณสนใจหรือเเนะนำเรื่องใหม่ ☑️ :
    sprouts.featureupvote.com/
    มาจอยกับเราใน discord 🤖:
    / discord
    ขอบคุณผู้สนับสนุน (16/NOV/2023)
    This video was made with the support of our Patrons: Adam Berry, Alex Rodriguez, Andrea Basillio Rava, Anil Raut, ArkiTechy, Artur, azad bel, Badrah, Cedric.Wang, Christoph Becker, Cory McAbee, David Markham, Delandric Webb, Digital INnov8ors, Dr. Matthias Müller-Mellin, Duane Bemister, Elias Reuss, Enigma, Eva Marie Koblin, F J V Souza Fh, Fatenah G Issa, Frari63, Gemma Seed, Gerardo Enrique Nieto, Gerry Labelle, ICH KANN DEUTSCH UND ES WAR EINFACH!, Izzy, jakob steensig, Jannes Kroon, Jeffrey Cassianna, Jim Pilgrim, Joanne Doyle, John Burghardt, Jon Rune Nygård, Jorge Luis Mejia Velazquez, jun omar ebdane, Leonel, Liam Dalling, Linda Kinkead, Linus Linderoth, Lucia Simone Winston, Mambo no 9, Marcel, María, martin, Martin Streule, Martina Hrebenarova, Mathis Nu, Mezes.Macko, Michael Paradis, Natalie O’Brien, Okan Elibol, Oweeda Newton, Patricia Labovszky, Peihui, Povilas Ambrasas, Raymond Fujioka, Roel Vermeulen, Scott Gregory, scripz, Sebastian Huaytan Meder, Si, Solongo Ganbat, Stefan Gros, Stephen Clark, Stuart Bishop, Taka Kondo, Takashi HIROSE, Thomas Aschan, Thomas Dahlke, Victor Paweletz, Yassine Hamza, Yvonne Clapham and all the others.Thank you! To join them visit www.patreon.com/sprouts
    COLLABORATORS
    Script: Ludovico Saint Amour di Chanaz and Jonas Koblin
    Artist: Pascal Gaggelli
    Voice: Mag Jittaksa
    Coloring: Nalin
    Editing: Peera Lertsukittipongsa
    Production: Selina Bador
    Sound Design: Miguel Ojeda
    SOUNDTRACKS
    On Eggshells - Richard Canavan
    Animated World - Crescent Music
    ค้นคว้าให้ลึกยิ่งขึ้นไปกับวิดีโอ, เกม, เเละเเหล่งข้อมูลยนอดนิยม:
    Watch this conference of Lera Boroditsky, an expert in language and cognition
    Learn more about the effect of language on blame
    Read about cultural identity and language
    Read about how language affects behavior
    แหล่งที่มา
    Linguistic relativity - Wikipedia.org
    Benjamin Lee Whorf - Wikipedia.org
    Cascio, C. N., O’Donnell, M. B., Tinney, F. J., Lieberman, M. D., Taylor, S. E., Stretcher, V. J., & Falk, E. B. (2016) Self-affirmation activates brain systems associated with self-related processing and reward and is reinforced by future orientation. Social cognitive and affective neuroscience, 11(4), 621-629.
    Gross, M. C., González, A. C. L., Girardin, M. G., Almeida, A. M. (2022) Code-Switching by Spanish-English bilingual children in a code-switching conversation sample: roles of language proficiency, interlocutor behavior, and parent-reported code-switching experience. Languages 7, no. 4: 246
    Bonilla, N. (2019) Perception of the world through language: Do Spanish and English speakers perceive the world differently? A review of the literature on the Sapir-Whorf hypothesis. Universidad ICESI
    กิจกรรมในห้องเรียน
    แบบฝึกหัดนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่อง Linguistic relativity theory หรือ ทฤษฎี​สัมพันธภาพ​ทาง​ภาษา
    ถามเด็กว่ามีใครที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาไหม เเล้วถ้ามี ลองถามว่าพวกเขารู้สึกแตกต่างจากเดิมไหมเวลาที่เขาพูดด้วยภาษาที่สอง
    ลองให้นักเรียนยกตัวอย่างสักสามข้อ ว่าภาษานั้นส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมหรือการมองโลกของคนเรา
    เปิดวีดีโอนี้ให้นักเรียนดู
    ให้เด็กๆยกตัวอย่างมาสักสิบตัวอย่าง ว่าภาษาที่พวกเขาใช้ส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกเขายังไง เเละทำไม
    ถามนักเรียนว่า การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของภาษาในยุคดิจิตอลนั้น อาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมเเละอานาคตของสังคมเราหรือไม่ อย่างไร
    TAGS: #language #psychology #sproutsschools #sociology

ความคิดเห็น • 72

  • @atchauasri6879
    @atchauasri6879 10 วันที่ผ่านมา +101

    ตอนเราพูดภาษาญี่ปุ่น เราจะรู้สึกสุภาพ พูดขอบคุณได้ง่ายมาก ไม่ตะขิดตะขวงใจ ตอนพูดภาษาอังกฤษเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีความมั่นใจ ตอนพูดไทย บางครั้งเราไม่อยากพูดขอบคุณ แต่ถ้าพูดเป็นภาษาอื่น เช่น ญี่ปุ่น เราจะพูดได้ง่ายกว่า บรรเทาอารมณ์อีโก้ได้มากกว่า บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร แต่ที่รู้แต่ๆคือ บุคลิกเปลี่ยน เวลาเราพูดอีสาน เราจะรู้สึก คึกคัก ห้าว แก่นแก้ว

    • @0011295
      @0011295 9 วันที่ผ่านมา +10

      ใช่เลย เราก็เป็นรู้สึกว่าไม่อยากพูดขอบคุณเป็นภาษาไทยไม่รู้เพราะอะไร แต่จะชอบพูดเป็นแต้งกิ้วอะไรงี้ มันรู้สึกพูดง่ายกว่าจริง ๆ

    • @jpn5462
      @jpn5462 9 วันที่ผ่านมา +8

      จริงมาก เวลาเราพูด ค่ะ รู้สึกฝืนๆตัวเองยังไงไม่รู้ แบบขอบคุณค่ะ แต่พอเป็นภาษาอื่นไม่มีคำสุภาพลงท้าย คะ ค่ะ พูดได้ลื่นปากกว่า ไม่รู้เป็นคนเดียวรึป่าว

    • @lnTheRoom
      @lnTheRoom 6 วันที่ผ่านมา +4

      ​@@jpn5462ผมเป็นด้วยครับพูดอังกฤษมันรู้สึกลื่นดว่ากับไทยที่มีหางเสียงรู้สึกติดๆขัดๆ

    • @mojichan3712
      @mojichan3712 2 วันที่ผ่านมา

      ใช่เลยครับ พูดภาษาญี่ปุ่นจะรู้สึกตัวเองถ่อมตัวแล้วถ่อมอีก จะรู้สึกเหมือนเป็นคนมีมารยาททันทีเลยครับ ถ้าพูดภาษาอีสานก็ม่วนกรุ๊ปเลยครับ หย่าวๆๆ

  • @popsuchada8611
    @popsuchada8611 9 วันที่ผ่านมา +11

    ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับความรู้สึกและการใช้ภาษานั้น
    ภาษาอังกฤษ🇬🇧 : รู้สึกตรงไปตรงมาแบบเป็นกันเอง กล้าเสี่ยง กล้าลอง มีความมั่นใจ (กล้าเป็นตัวเอง)
    ภาษาไทย 🇹🇭: มีมารยาท ให้เกียรติกันเหมือนเครือญาติ พี่-น้อง มีหลายระดับและคำที่ใช้ต่างกันตามระดับ พูดอ้อม ๆ
    ลาว-อีสาน 🇱🇦 : เฮฮา ไม่เครียด ง่าย ๆ สบาย ๆ ห้าว ๆ เป็นหนูน้อยจอมแก่น รู้สึกสนิทกันสูง พูดตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม (รู้สึกชิว ๆ)
    ภาษาจีน 🇨🇳 : ให้ความรู้สึกคล้ายภาษาไทย (บางประโยคเรียงคล้ายภาษาไทย จำง่ายดี) ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง แต่บางคำดุดันไม่เกรงใจใคร 😅 ตัวอักษรซับซ้อน เลยจำแต่พินอินแทน
    ภาษาเกาหลี 🇰🇷 : เวลาออกเสียงน่ารัก ตัวอักษรอ่านง่าย (สะกดง่าย) มีความคล้ายจีน แต่รู้สึกเข้าถึงง่ายกว่าจีน
    ภาษาญี่ปุ่น🇯🇵 : โค-ตะ-ระ น่ารักเลย ทั้งตัวอักษร ทั้งการออกเสียง ใช้ภาษานี้แล้วรู้สึกน่ารักตะมุตะมิอย่างบอกไม่ถูก ละมุนใจ~ แต่รู้สึกใส่ใจความรู้สึกคนอื่นมาก ๆ ยิ่งเราอ่อนน้อมอยู่แล้วยิ่งอ่อนน้อมกว่าเดิม อย่างการให้ของ-รับของ ต้องใช้ทั้งสองมือ จะทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับคนอื่นต้องขออนุญาตก่อน 😅 รู้สึกเป็นภาษาที่ทำให้เราเกรงใจคนอื่นมาก ๆ และใส่ใจคนอื่นสุด ๆ เวลาพูดต้องพูดเสียงเบา ๆ ด้วย 555 .... ขอจบการรีวิวแต่เพียงเท่านี้ 😊❤
    อยู่ดี ๆ ก็นึกถึงภาษาของแต่ละภาคในไทยที่ให้อารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกันเลยค่ะ 💖ภาษา-ดนตรี-อาหาร💛

  • @tubtimthachang9845
    @tubtimthachang9845 12 วันที่ผ่านมา +80

    ภาษามันสามารถเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกได้จริงๆ ผมพูดได้สองภาษาซึ่งก็รู้เรื่องนี้ดีดลยละ

    • @infinitylogic1164
      @infinitylogic1164 12 วันที่ผ่านมา +2

      ความละเอียดที่แตกต่างทำให้คงามต่ำตมความความคิดผิดแปลกและแตกแยก
      หรือกล่าวง่ายๆ ภาษาที่ละเอียดย่อมทำให้อารมณ์ละเอียดไปด้วย ส่วนภาษาที่ง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อน ก็จะแสดงให้เห็นถึงข้อผิดพลาดทางมุมมอยความคิด ที่บางครั้งอาจจะดีช่วยยกโทษให้กันได้ง่ายๆ หรือบางที่อาจจะหนักถึงขั้นฆ่ากันตายเพราะไม่เข้าใจกัน

  • @FrancaisKrabpom
    @FrancaisKrabpom 11 วันที่ผ่านมา +38

    จริงครับที่ว่าภาษามีผลต่อน้ำเสียงโทนในการพูด, ผมพูดได้ 7 ภาษา, ผมเพิ่งนึกคิดได้มาว่าเวลาผมพูดภาษาไทย น้ำเสียงของผมจะเข้าฟังไปทางดุ ฟังดูหยาบ และพูดเสียงดัง และเพื่อนๆผมก็ว่าอย่างนั้น ทั้งๆที่ตัวเองก็รู้สึกปกติดี, อาจเป็นเพราะผมอยู่กับแต่ภาษาอาหรับ และ ฝรั่งเศสด้วย ไม่ค่อยได้ใช้ภาษาไทย.
    สำหรับผมเเล้ว มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และข้อเสียที่ว่า เช่น สับสนระหว่างหลายๆภาษาไปมาในขณะกำลังสนทนา ยิ่งไปกว่านั้นสนทนาใช้มากกว่า 1 ภาษาในเวลาเดียวกัน บางทีลืมศัพท์ในทุกภาษากระทั่งภาษาไทยเอง ก็ต้องติดชะงักครู่นึงไป555

    • @despicablemiki
      @despicablemiki 10 วันที่ผ่านมา

      ภาษาไทย… เหมือนมีเมโลดี้อยู่ในตัว ดูยังเวลาขับเสภาสิ(ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า)เพราะจะตาย😅 หรือลองเอาคำพูดว่า ‘ฉันรักคุณที่สุดในโลก‘ มาเป็นตัวโน้ตสิ ได้ทุกตัวโน๊ตเลย! มันอยู่ที่น้ำเสียงในการพูดมากกว่า! ภาษาที่ใครบอกว่าเพราะที่สุดในโลก ลองพูดด้วยน้ำเสียงที่ดุดัน โมโห! มันจะยังไพเราะอยู่อีกไหม!!?? คุณสมองดีมาก พูดได้ 7 ภาษา ไม่น่าสับสน เพราะคงไม่ได้ใช้7 ภาษาไปในวันเวลาเดียวกัน!!

    • @ShamiShamiShami
      @ShamiShamiShami 9 วันที่ผ่านมา

      @@despicablemikigirl what💀

    • @despicablemiki
      @despicablemiki 9 วันที่ผ่านมา

      @@ShamiShamiShami ขอโทษที่คะ! เราพูดภาษาไทยได้ภาษาเดียว!

    • @ShamiShamiShami
      @ShamiShamiShami 8 วันที่ผ่านมา

      @@despicablemikiฉันรู้💀

    • @despicablemiki
      @despicablemiki 8 วันที่ผ่านมา

      @@ShamiShamiShami รู้แล้วส่งภาษาอังกฤษมาทำห่าอะไรมิทราบ!! สมองดีนี!! น่าจะคิดได้!!!

  • @1stHANDSOME
    @1stHANDSOME 10 วันที่ผ่านมา +3

    ตัวผมเองไม่เคยรู้สึกว่าการพูดในแต่ละภาษาที่แตกต่างมันจะทำให้บุคลิกเปลี่ยนไป จนกระทั้งเมื่อสองวันที่แล้วตอนผมไลฟ์สดอยู่ และ ได้พูดสื่อสารออกไปทั้งสองภาษา (ไทย,อังกฤษ(อเม)) และก็มีคนพูดถึงว่า บุคคิลเมื่อผมพูดทั้งสองภาษามันต่างกัน ไทยผมจะดูดุกว่า ในขณะที่เวลาพูดอังกฤษจะดูเฟรนลี่กว่า ตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งได้มาฟังคลิปนี้ เลยพอเข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน ขอบคุณครับ ❤❤❤

  • @xanakonesyphanthong_01
    @xanakonesyphanthong_01 9 วันที่ผ่านมา +3

    ส่วนตัวพูดได้ 4 ภาษา และกำลังเรียนภาษาที่5 แต่รู้สึกว่าบุคลิกไม่ได้เปลี่ยนมากเวลาเปลี่ยนภาษาที่พูด แต่ในบางภาษามันจะมีบางอย่างที่พูดแล้วไม่เขินอาย อย่างเช่นเวลาบอกรัก อวยพร หรือ ขอบคุณ หรือ ขอโทษ เวลาพูดเป็นภาษา เวียดนาม อังกฤษ หรือ สเปน รู้สึกว่าพูดง่ายกว่า แต่พอพูดเป็นภาษาแม่แล้วมันกระดากปากยังไงไม่รู้น่าจะเพราะวัฒนธรรมที่ ทำผิดไม่ค่อยขอโทษ ทำดีไม่ค่อยพูดขอบคุณ ที่แม้แต่การบอกรักเองก็ด้วย น่าจะซึมซับมาแต่พอแบบนั้น แต่พอพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่จะรู้สึกว่า ไม่มีกรอบในเรื่องพวกนี้

  • @lynxnubnib6440
    @lynxnubnib6440 9 วันที่ผ่านมา +1

    ฮือออ ขอบคุณนะคะ มีกลจในการฝึกภาษาเลยค่ะ❤❤

  • @TLEPiano
    @TLEPiano 11 วันที่ผ่านมา +1

    ❤สุดยอด ขอบคุณสำหรับความรู้แบบนี้ครับ ชอบมากๆเลย ☺️🙏🏻

  • @pearis_749
    @pearis_749 10 วันที่ผ่านมา

    ชอบคลิปแบบนี้มากๆเลยค่ะ ได้ความรู้ภาพประกอบก็น่ารักและอธิบายถึงเนื้อหาได้ดีมาก ทำคลิปแบบนี้ออกมาอีกนะคะ 😊🩷

  • @nampriksomprasong9132
    @nampriksomprasong9132 10 วันที่ผ่านมา

    ขอบคุณสำหรับความตั้งใจทำคลิปให้พวกเราชมกันนะคะ มีประโยชน์และสร้างสรรค์มากๆค่ะ

  • @grokvew6108
    @grokvew6108 10 วันที่ผ่านมา

    ขอบคุณค่ะ ไม่เคยนึกเรื่องนี้เลย

  • @kannichaonchu
    @kannichaonchu 12 วันที่ผ่านมา +72

    ตัวผมคิดว่าภาษามันส่งผลต่อพฤติกรรมจริงๆนะครับทุกครั้งเวลาผมเรียนภาษาอังกฤษคำที่กล่าวถึงสรรพนามเรียกบุคคลส่วนใหญ่มันจะเป็นการต่อยอดมาจากคำว่าheหมดเลยไม่ว่าจะเป็นคำว่า s he T he y T he m ก็มีคำว่าhe เป็นส่วนประกอบมันทำให้ผมรู้สึกอึดอัดมากเพราะว่าทุกอย่างนั้นถูกเกี่ยวข้องกับheหมดเลยซึ่งเป็นผู้ชายทำให้เหมือนกับว่าผู้ชายคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งมันทำให้ผมรู้สึกไม่ค่อยคุ้นเคยนักเพราะว่าภาษาไทยมีคำสรรพนามที่ไม่เจาะจงระหว่างเพศแถม แล้วอีกอย่างคำว่าผู้ชายในภาษาอังกฤษคือmen ส่วนผู้หญิงก็คือ wo men มันทำให้ผมค่อนข้างอึดอัดเพราะว่ารู้สึกเหมือนว่าผู้ชายคือจุดเริ่มต้นของทุกคำเลยเพราะว่าในภาษาไทยเราคำแยกเพศที่ชัดเจนแล้วก็ไม่ได้ถูกต่อยอดมาจากเพศใดเพศหนึ่งขนาดคำว่าผู้หญิงตัวอักษร ญ ยังมีชื่อว่าญหญิงเลยแต่ว่าในภาษาอังกฤษคำว่าผู้หญิงกับถูกต่อมาจากผู้ชายในการใส่คำว่าwoซะอย่างนั้น ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปเองหรือเปล่าแต่ผมว่ามันน่าจะเกี่ยวกับศาสนาด้วยเพราะว่าศาสนาคริสต์เชื่อว่าผู้หญิงเกิดมาจากกระดูกซี่โครงของผู้ชายและอย่าลืมว่าในยุโรปเนี่ยหลายประเทศนับถือศาสนาคริสต์กันซะเยอะอาจจะส่งผลต่อภาษาด้วยคำว่าผู้หญิงแล้วก็คำอื่นๆก็เลยถูกต่อยอดมาจากคำเรียกผู้ชายแต่ว่านั่นแหละครับผมก็รู้สึกไม่ค่อยชินอยู่ดีเพราะว่าตามหลักศาสนาพุทธมันไม่มีความเชื่อแบบนี้ ใครมีความคิดเห็นอื่นมาช่วยแชร์กันหน่อยนะครับผมก็อยากรู้เหมือนกันผมว่าคลิปนี้มีประโยชน์มากเลยมันทำให้ผมกลับมาฉุกคิดเสมอตอนที่ผมเรียนภาษาผมรู้สึกว่าตอนนี้ผมใช้ภาษาอังกฤษผมจะใช้ภาษาที่สุภาพน้อยลงเพราะว่าเวลาที่ผมใช้ภาษาไทยผมมักจะเติมครับอยู่เสมอและใช้สรรพนามเรียกผู้คนตามระดับแต่พอใช้ภาษาอังกฤษแล้วมันไม่มีระดับมันทำให้ผมรู้สึกเหมือนว่าเรียกทุกคนอย่างใกล้ชิดจนบางครั้งก็ทำให้รู้สึกไม่ชินเหมือนกันครับ

    • @Diaratia
      @Diaratia 12 วันที่ผ่านมา +8

      ข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทล่ะ ให้ความรู้สึกอย่างไร ?

    • @kannichaonchu
      @kannichaonchu 12 วันที่ผ่านมา +8

      @@Diaratia ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้ใช้คำนั้นก็เลยรู้สึกอึดอัดแปลกๆ

    • @alex_rabbitigot7ahgasearmy609
      @alex_rabbitigot7ahgasearmy609 12 วันที่ผ่านมา +26

      จริง++ เวลาใช้ภาษาอังกฤษจะคุยกับคนโตกว่า เด็กกว่า มันดูไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ไม่ต้องเลี่ยงใข้คำบางคำ แค่เป็นการสื่อสารเฉยๆ ลองสลับมาภาษาไทย ต้องเรียกพี่ เรียกน้อง ต้องครับค่ะ เราเลยคิดว่าสิ่งนี้ทำให้คนไทยถูกมองว่าเป็นคนใจดี นุ่มนวล มีสัมมาคารวะในสายตาต่างชาติเพราะมันเริ่มปลูกฝังมาตั้งแต่มุมมองภาษาแล้ว

    • @zetathix
      @zetathix 11 วันที่ผ่านมา +3

      เราเน้นวรรณะชนชั้นความแตกต่างทางความสัมพันธ์และวัย ตามรากภาษาที่ผ่านมาทางพุทธอีกที eg คติเรื่องทิศหก และส่วนผสมภาษาอื่นๆ

    • @mickymikemike
      @mickymikemike 10 วันที่ผ่านมา +7

      มีเรื่อง tense ของคนยุโรปด้วยค่ะ ที่ทำให้คนยุโรปค่อนข้างใส่ใจกับเวลามากๆ ส่วนหนึ่งมาจากที่เขาจะต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อทำเกษตร/เก็บอาหารไว้ในฤดูหนาว แต่อีกส่วนก็มาจากเรื่องของภาษา ที่มีการใช้ tense ในการบอกเวลา ทำให้เวลาจะพูดหรือคิดอะไร เขาต้องคำนึงถึงเวลา/ลำดับเหตุการณ์ด้วย
      การใช้ภาษาก็มีผลต่อกระบวนการเข้าใจของมนุษย์ เช่น คนจีน/คนญี่ปุ่น ถ้าอ่านตารางเวลาจากบนลงล่าง จะทำความเข้าใจง่ายกว่าการอ่านจากซ้ายไปจวาในแนวนอน กลับกัน ยาวยุโรปจะทำความเข้าใจตารางเวลาจากซ้ายไปขวาได้ง่ายกว่า ที่เป็นแบบนี้เพราะเมื่อนกาอนในภาษาจีน การบอกเวลาก่อนหรือหลัง จะบอกแบบทิศบนหรือล่างค่ะ ทิศบนคือลำดับเวลาที่เกิดก่อน แต่คนยุโรปจะบอกลำดับเวลาแบบหน้าหรือหลัง ข้างหน้าคือนาคต ข้างหลังคืออดีต (อันนี้อ่ายมาจากบทความนึง นานมากแล้วนะคะ ผิดตรงไหนชี้แจงได้ค่ะ)
      เรื่องคำศัพท์ก็มีส่วน ถ้าอยากรู้ว่าสังคมไหนให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร ให้ดูว่าในสังคมนั้นๆมีคำศัพท์ประเภทไหนเยอะ เช่นคนที่อยู่ขั้วโลกเหนือ เขามีคำศัพท์สำหรับคำว่าหิมะเกือบร้อยๆคำ และมีคำที่ใช้เรียนสีขาวหลายเฉดมาก หรือของไทยเอง สังเกตได้ว่าเมื่อก่อนมีคำศัพท์เกี่ยวกับราชวงศ์เยอะมาก หรือแม้กระทั่งกรีกโบราณ ที่มีกสรนิยามความรู้สึก/หรือจารีตที่ละเอียดกว่าภาษาอังกฤษมากๆ ก็เป็นเพราะข่วงที่อารยธรรมกรีกรุ่งเรือง เป็นช่วงที่มนุษย์หันมาให้ความสนใจกับความสามารถของมนุษย์ ศึกษาทั้งความรู้สึก/ปรัชญา/ความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งต่างๆ จนพัฒนาไปเป็นความรู้ที่ยางนานมาถึงปัจจุบัน

  • @despicablemiki
    @despicablemiki 10 วันที่ผ่านมา +4

    ภาษาไทย..เหมือนมีเมโลดี้อยู่ในตัว ดูอย่างเวลาขับเสภา(ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า) เหมือนมีดนตรี เพราะจะตาย!😅 ลองเอาคำพูด ’ฉันรักคุณที่สุดในโลก‘ มาเป็นตัวโน้ตสิ ได้ทุกตัวโน้ตเลย! มันอยู่ที่น้ำเสียงของคำพูดต่างหาก! ภาษาที่ใครว่าเพราะที่สุดในโลก ลองพูดด้วยน้ำเสียงดุดัน โมโห! มันจะยังเพราะอยู่อีกไหม!!??

  • @bluez____
    @bluez____ 11 วันที่ผ่านมา +7

    เรียนภาษาช่วยเรื่องการเรียบเรียงความคิดจริงๆ

  • @lumneulofficial2
    @lumneulofficial2 6 วันที่ผ่านมา

    คลิปนี้อธิบายได้ดีมากๆค่ะ ภาษาทำให้เราได้เจออะไรใหม่ไปทั้งแวดล้อม ความคิด ผู้คน ความประพฤติค่ะ เราได้ 2 ภาษา และกำลังเรียน รัสเซียเป็นที่ 3 การคุยกับลูกค้าในแต่ละชาติภาษา ก็ต่างกันมากเลยจริงๆค่ะ ทั้งนี่การเรียนภาษาก็จะต้องซึมซับวัฒนธรรมภาษานั่นๆมาด้วย

  • @pskjh8511
    @pskjh8511 10 วันที่ผ่านมา +9

    มันเหมือนกับว่าแค่บางประโยคถ้าลองเรียงคำใหม่เปลี่ยนคำบางคำความรู้สึกเปลี่ยนเลยทั้งๆความหมายก็คล้ายๆกัน ซึ่งเจอบ่อยในการพูดแบบจิตวิทยา🧐 เช่น "ทำไมคุณทำแบบนี้ตลอดเลย"ความรู้สึกมันเหมือนกับว่ามันเป็นแบบนั้นมาตลอดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นทุกครั้งหรือแค่นานๆครั้งถ้าใช้กับเรื่องที่คนๆนั้นทำผิดพลาดก็อาจจะมีปากเสียงกันหรือน้อยใจง่ายๆเลย แต่ถ้าลองเปลี่ยนลองมาแยกเวลาดูแล้วพูดว่า"ทำไมวันนี้คุณทำแบบนี้" หืมมมมม ต่างกันชัดเจนไหมครับ รู้สึกยังไงกัน😂 อันนี้พอใช้ได้รึเปล่า

    • @Maxwell4private
      @Maxwell4private 7 วันที่ผ่านมา +1

      ต่างกันสุด ๆ เลยครับ

  • @Mr.HeavyMetal1993
    @Mr.HeavyMetal1993 12 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณครับ

  • @naddanai7736
    @naddanai7736 6 วันที่ผ่านมา +1

    จริงครับ
    ตอนใช้ภาษาอังกฤษรู้สึกกลายเป็นคนตรงๆ แรงๆ
    แต่พอใช้ภาษาไทยมันแสดงออกถึงความรู้สึกได้ละเอียดอ่อนกว่ามาก

  • @roommini
    @roommini 11 วันที่ผ่านมา +3

    คำว่า "ใจ" เจ๋งดีแหะ

  • @watchy4888
    @watchy4888 8 วันที่ผ่านมา +2

    ช่วงนี้คุยกับคนเยอะมีความสงสัยเรื่องนี้ขึ้นมานาน เสิร์ชก็ยังไม่เจอที่ตรงกับในหัวคลิปนี้คือใช่เลยค่ะ

  • @OuriYghang
    @OuriYghang 10 วันที่ผ่านมา +1

    ใดใดคือคลิปดีมากเลยนะครับ 😊 ทั้งเนื้อหา กราฟฟิก สคริปต์ เสียงบรรยาย ดูดี ฟังลื่น มีประโยชน์มากๆ เลย เป็นกำลังใจให้นะครับ ❤❤❤

    • @joinsprouts
      @joinsprouts  9 วันที่ผ่านมา +1

      ขอบคุณมากนะครับ ได้ๆกำลังใจมากๆเลย เเล้วจะทำให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆนะครับ

  • @nongjeab5260
    @nongjeab5260 11 วันที่ผ่านมา +2

    สังคมวัฒนธรรมที่มีระดับวรรณะ การใช้ภาษาก็จะสะท้อนถึงชนชั้น

  • @ChuChu-zr6cl
    @ChuChu-zr6cl 10 วันที่ผ่านมา +8

    ในภาษาไทย เวลามีข่าวเจอเด็กถูกทิ้ง นักข่าว ชอบเขียน "แม่ใจร้าย" และ คนเป็นผช.ก็ลอยตัว ไม่เคยเห็นเขียนว่า "พ่อใจร้าย ทิ้งแม่เด็กให้คลอดลูกเอง"

  • @SuJin_Jan
    @SuJin_Jan 12 วันที่ผ่านมา +6

    ขอขอบคุณ

    • @joinsprouts
      @joinsprouts  11 วันที่ผ่านมา

      ขอบคุณมากนะครับ เป็นกำลังใจมากๆเลยครับ

  • @nonlacub
    @nonlacub 10 วันที่ผ่านมา +6

    อังกฤษ ไทย รัสเชีย เยอรมัน ญี่ปุ่น ตอนนี้ผมจะเป็นบ้าแล้วครับ

  • @Chistchagarn
    @Chistchagarn 6 วันที่ผ่านมา

    รู้สึกสบายใจเวลาพูดรัก ขอบคุณ ขอโทษ หรือเป็นข้อความสู้ชีวิต เป็นภาษาอังกฤษมากกว่า เพราะเหมือนเป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมเค้า แต่ทางฝั่งเรา เวลาบอกรักใครสักคนแบบซึ้งๆหรือคำคมก็จะรู้สึกแปกๆๆ

  • @chaibaba9152
    @chaibaba9152 7 วันที่ผ่านมา +1

    สาระดี

  • @jichutarot
    @jichutarot 11 วันที่ผ่านมา +1

    ช่องดีมาก ทำไมเพิ่งมาเจอ

    • @popsuchada8611
      @popsuchada8611 9 วันที่ผ่านมา

      พึ่งมาเจอเหมือนกันค่ะ ดีใจที่ได้เจอช่องนี้ 😊❤

  • @ano9515
    @ano9515 6 วันที่ผ่านมา

    ตอนพูดภาษาอังกฤษรู้สึกมั่นใจดูแบบมั่นๆตรงๆแต่ยังพูดแบบสุภาพได้
    ภาษาจีนรู้สึกห้วนๆตรงๆไม่มีคะค่ะเหมือนไทย พูดแล้วต้องออกเสียงชัดหน่อยเลยดูห้วนตะโกนไปอีกกันเองมากก

  • @phiraphats
    @phiraphats 10 วันที่ผ่านมา +1

    ตอนไปอบรมนานาชาติที่จีน
    คนจีน อินโด มาเล บอกว่าคนไทยพูดช้านุ่มนิ่ม เวลาคนไทยคุยกันเหมือนกระซิบตลอดเวลา ในขณะที่ภาษาจีนจะรู้สึกโอ่อ่า ฮึกเหิม

  • @balancepen6642
    @balancepen6642 11 วันที่ผ่านมา

  • @Mnnm830
    @Mnnm830 10 วันที่ผ่านมา +1

    ฝึกพูดอังกฤษแล้วเครียดค่ะ😂

  • @user-nh5ow9kl4h
    @user-nh5ow9kl4h 9 วันที่ผ่านมา

    ภาษาไทยที่ไหลไปได้ตลอด คำใหม่ๆมาตลอด😅

  • @chaibaba9152
    @chaibaba9152 7 วันที่ผ่านมา

    อนาคตมาพูดภาษา kongkadoo กันนะ

  • @ponponza7735
    @ponponza7735 12 วันที่ผ่านมา +4

    แล้วถ้าทั้งโลกมีภาษาเดียว ความหลากหลายก็จะหายไป มันดีไม่ดีนิ

    • @fourthzekami
      @fourthzekami 12 วันที่ผ่านมา +15

      ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย ผมเชียร์ให้ความหลากหลายยังคงอยู่ครับ ไม่งั้นน่าเบื่อแย่

  • @moncindanai8419
    @moncindanai8419 9 วันที่ผ่านมา

    fact:ภาษา scots มีคำอธิบายของหิมะหรือเกี่ยวข้องกับหิมะถึง 421 คำ

  • @user-zv3ec5yc8c
    @user-zv3ec5yc8c 10 วันที่ผ่านมา

    คิดว่าพูดอิสานแล้วจะคุยง่ายกันเองถ่อมตน แต่พอพูดภาษากลางจะเมินๆเชิดๆ

    • @jared_btw69
      @jared_btw69 10 วันที่ผ่านมา

      เว้าอิสานคือสิม่วนเด้

  • @srisattanakhanahut
    @srisattanakhanahut 11 วันที่ผ่านมา

    ผมพูดได้2ภาษาคือ ไทย กับ ลาว(อีสาน) รู้สึกว่ามันแทบไม่แตกต่างกันเลย แต่ในภาษาอีสานจะมีการอธิบายเฉดสีได้ละเอียดกว่าภาษากลาง เช่น ดำขื่อหลื่อ แดงจ่ายหว่าย 😂😂😂

    • @sirtsel
      @sirtsel 11 วันที่ผ่านมา

      ส่วนตัวผมรู้สึกว่าภาษาลาวดูใกล้ชิดกว่าภาษาไทย อาจเป็นเพราะstereotypeของคนใช้ภาษาด้วย

  • @Radenshov
    @Radenshov 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา +1

    พอผมพูดรัสเซีย มันทำให้ผมกล้าทำหลายๆ อย่างมากๆ 😁

  • @Volinus
    @Volinus 8 วันที่ผ่านมา +2

    ความเจริญ ความเป็นอยู่ที่ดีมันสะท้อนความเจริญทางวัฒนธรรมและได้รับผลมาจากภาษา แล้วก็ถามคำถามเดิมๆกัน"เมื่อไรประเทศไทยจะเจริญ"🤣🤣🤣