ฟ้อนกลองมองเซิง | คณะศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ 2564

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 19 ม.ค. 2025
  • ศิลปนิพนธ์สร้างสรรค์ ฟ้อนกลองมองเซิง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนท่าฟ้อนประกอบกลองมองเซิงและเพื่อรวบรวมและสร้างสรรค์ท่าฟ้อนประกอบกลองมองเซิง ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์กระบวนท่ารำอันเป็นเอกลักษณ์ของฟ้อนเมือง ฟ้อนเยิงตบละปายฟ้อนแว้นและฟ้อนแห่ครัวทานของชาวบ้าน ในงานประเพณีล้านนาต่างๆ เช่น งานกินข้าวสลาก งานกฐินหรืองานปอยหลวง นำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความงดงาม สง่างาม มีความเชื่อมโยงของท่าฟ้อน และแสดงถึงเอกลักษณ์ของท่าฟ้อนล้านนา ทำนองเพลงสื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเชื่อ ประเพณี ความศรัทธาของคนล้านนา ที่แสดงความรู้สึกออกมาผ่านบทเพลงให้เป็นพุทธบูชา
    การแสดงฟ้อรกลองมองเซิง แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่
    ช่วงที่ ๑ สง่างามเย้ายวน สื่อให้เห็นว่าเมื่อได้ยินเสียงร้องนั้นหมายถึงได้เวลาไปแหกครัวทานสาวน้อยสาวจี๋มารวมตัวกันเพื่อจะไปร่วมฟ้อนแหกครัวทานเข้าวัด
    ช่วงที่ ๒ ขบวนศรัทธา เริ่มตั้งขบวนฟ้อนแห่ครัวทานเข้าวัดอย่างสง่างาม
    ช่วงที่ ๓ เริงร่าปิติ เมื่อถึงครัววัดสาวๆ ก็จะออกลวดลายท่าฟ้อนกลองมองเซิงกันอย่างสนุกสนานหรรษาดังอิ่มบุญ
    คณะผู้วิจัย
    นายกิตติชัย วิไลวรรณ์
    นางสาวธมลวรรณ แดงไฟ
    นางสาวเปรมมิกา อวดร่าง
    นายพงษ์พัชร ทะนันชัย
    นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 4 คณะศิลปศึกษา สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
    **ลิขสิทธิ์วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ความคิดเห็น •