ฟ้อนสาวไหม รูปแบบของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • ฟ้อนสาวไหม
    เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว
    ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน
    ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ได้ขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่
    ต่อมาใน คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นโดยได้รับการถ่ายทอดท่ารำจาก ครูพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าจากคุ้มเจ้าหลวง และได้ปรับปรุงพัฒนาชุดการแสดง มาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ในปัจจุบัน

ความคิดเห็น • 15

  • @tusneetit8380
    @tusneetit8380 6 หลายเดือนก่อน +2

    รำสวยดนตรีไพเราะมากค่ะ

  • @สุนทรีแสงทองคํา
    @สุนทรีแสงทองคํา 10 หลายเดือนก่อน +1

    สวยงาม

  • @MyPanipani
    @MyPanipani 4 ปีที่แล้ว +4

    ต้นฉบับเลย สวยงามมากค่ะ

  • @sommartsriwai8760
    @sommartsriwai8760 4 หลายเดือนก่อน

    สวยงามมากครับ

  • @leuyen7870
    @leuyen7870 ปีที่แล้ว +1

    ชุดนี้สวยงามมาก ท่าร่ายรำ สวยปานพื้นผิวผ้าใหมไทย.

  • @konmeuuang
    @konmeuuang 5 ปีที่แล้ว +5

    บ่ว่าสาวไหมไหนกะดายฟ้อนกำนึงป๊าดขาสั่น ย่ง ๆๆ

  • @somchithamathappa9906
    @somchithamathappa9906 3 ปีที่แล้ว +3

    รำสวย เพลงเพราะมากๆๆๆฟังตอนนอนทุกคืน...

  • @kittibanchongrattanangam808
    @kittibanchongrattanangam808 6 ปีที่แล้ว +5

    งาม แต้

  • @duangchitphanchamfar1695
    @duangchitphanchamfar1695 4 ปีที่แล้ว +4

    สวยงามมากเลยค่ะ

  • @teetee9704
    @teetee9704 5 ปีที่แล้ว +4

    สวยงามมาก

  • @นายสุรสิษฐ์นพรัตน์

    อ่อนช้อย งดงามมาก

  • @aitsaratthamoontree787
    @aitsaratthamoontree787 4 ปีที่แล้ว +1

    คนแก่ล้วนๆ5555

  • @กิกติพงษ์ราชภันฑ์

    ไม่ทราบว่ามีชื่อท่าไหมครับ

    • @thxnthk9681
      @thxnthk9681 3 ปีที่แล้ว +5

      ท่าฟ้อน มีทั้งหมด ๑๘ ท่า เมื่อลําดับทั้งชุดการแสดงแล้วมีดังนี้
      ๑. ท่าสาวไหมสูง (ท่าออก)
      ๒. ท่าม้วนไหมใต้ศอก(ท่าเข้าเปี๋ย)
      ๓. ท่าไหว้
      ๔. ท่าบิดบัวบาน
      ๕. ท่าดึงไหม (เรียงไหม)
      ๖. ท่านําไหมเข้ากลุ่มขวา ,ซ้าย
      ๗. ท่าม้วนไหมใต้ศอก(ท่าเข้าเปี๋ย)
      ๘. ท่าสาวไหมต่ำ (ท่าเก็บตะกอ)
      ๙. ท่าสาวไหมพันหลัก (วนไหม)
      ๑๐. ท่าสาวไหมข้างตัว
      ๑๑. ท่าพุ่งกระสวย
      ๑๒. ท่าม้วนไหมใต้ศอก
      ๑๓. ท่าล้างไหม
      ๑๔. ท่านําไหมไปผึ่งแดดแก้ปมไหม
      ๑๕. ท่าลองนุ่งผ้าถุง(ลองสวมผ้าถุงเมื่อทอเสร็จ)
      ๑๖. ท่าเลือกผ้า
      ๑๗. ท่าม้วนไหมใต้ศอก
      ๑๘. ท่าสาวไหมสูง (ท่าเข้า)
      อ้างอิง : ดิษฐ์ โพธิยารมย์ (ไม่ทราบปี พ.ศ.). การดำเนินงานด้านผลงานการแสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่