ฟ้อนก่ำเบ้อ | คณะศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ 2564

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 ก.พ. 2021
  • ศิลปนิพนธ์สร้างสรรค์ ฟ้อนก่ำเบ้อ การแสดงฟ้อนก่ำเบ้อ ได้สูญหายเนื่องจากการถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทั้ง เครื่องแต่งกาย กระบวนท่ารำ ดนตรี และชื่อการแสดงก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็นฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนก่ำเบ้อเหลือเพียง รูปภาพประกอบท่ารำ ๔ ภาพ วงดนตรี ๑ ภาพ ในสำนักงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และตามคำบอกเล่าของคนในวังที่เบ่าสืบต่อกันมามากกว่า ๑๐๐ ปี โดยไม่มีใครทราบถึงกระบวนท่ารำ เนื้อร้อง และทำนองเพลง คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของห้อนก่ำเบ้อที่ได้สูญหายตามหลักฐานรูปภาพและหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรจึงศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์การแสดงฟ้อนกับเบอร์นี้ขึ้นมาเพื่อมีให้การแสดงสูญหายไปโดยคงรูปแบบเครื่องแต่งกายไว้ตามหลักฐานที่พบและสร้างสรรค์ทำนองเพลง กระบวนท่ารำขึ้นมาใหม่ แต่ละช่วงของการแสดงเปรียบเหมือนพระราชณยาเจ้าดารารัศมีเป็นผีเสื้อที่งดงามสามารถบินไปได้ในที่ต่างๆอย่างอิสระ
    การแสดงฟ้อรก่ำเบ้อ แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ได้แก่
    ช่วงที่ ๑ ถือกำเนิด พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงถือกำเนิดในอาณาจักรล้านนาที่มีภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยป่าเขาลำเนาไพร และบุปผานานาชนิด เสมือนผีเสื้อที่เกิดมาท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามที่รายล้อมไปด้วยความอุดมสมบูรณ์
    ช่วงที่ ๒ เกิดประสบการณ์ เมื่อเจริญวัยพระองค์ทรงจำเป็นต้องจากถิ่นฐานที่อยู่พระองค์ทรงต้องพบเจอคนต่างถิ่นมีความหลากหลายวัฒนธรรมแต่ก็ส่งผสมผสานวัฒนธรรมสองแผ่นดินให้สอดคล้องลงตัวแต่ก็ไม่ละทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
    ช่วงที่ ๓ สืบสานสร้างสรรค์ การเสด็จนิวัตเชียงใหม่เป็นการถาวรพระองค์ทรงสร้างสรรค์อัตลักษณ์ขึ้นมาใหม่ด้วยหลอมรวมวัฒนธรรมล้านนาและสยามเข้าด้วยกันเปรียบเสมือนผีเสื้อที่เริ่มเรียนรู้ตนเองสร้างเส้นทางและนำพาผู้อื่นเข้ามาในเส้นทางนั้นอย่างสง่างามและน่าหลงใหล
    คณะผู้วิจัย
    นางสาวโชษิตา สุโพธิ์
    นางสาวช่อเอื้อง รัตนชัย
    นางสาวณัฐนันทร์ พิทาคำ
    นางสาววรินทร พากเพียร
    นายเฉลิมชัย อินต๊ะเปียง
    นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 4 คณะศิลปศึกษา สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
    **ลิขสิทธิ์วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ความคิดเห็น •