ไคโตซาน (Chitosan) ลดไขมันได้จริงหรือ ? | เภสัชกรออนไลน์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 ต.ค. 2024
  • ไคโตซาน ลดไขมันได้จริงหรือ
    หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าไคโตซาน สามารถช่วยลดไขมันและลดความอ้วนได้ และหลายคนก็สงสัยใช่ไหมครับว่ามันช่วยลดไขมันได้จริงหรือ แล้วมันช่วยลดได้อย่างไร วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยนี้ และหาคำตอบไปพร้อมกันนะครับ
    ในปัจจุบันได้มีการนำไคโตซานไปประยุกต์ใช้มากมาย เนื่องจาก คุณสมบัติของไคโตซาน ที่ไม่เป็นพิษ เข้ากันได้ทางชีวภาพกับสารหลายชนิด และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
    การประยุกต์ใช้ไคโตซาน ในวงการเกษตร
    นำไคโตซานมาใช้ในการเคลือบเมล็ดพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดพันธ์ติดโรคหรือเน่าเสีย
    ในวงการเครื่องสำอาง
    นิยมนำไคโตซาน มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ เช่น แป้ง ครีมกันแดด ครีมบำรุง ยาย้อมผม ยาเคลือบสีผม หรือแม้กระทั่งในยาสีฟัน
    ในวงการสิ่งแวดล้อม
    นำมาใช้ดักจับไขมัน สี และโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย หรือดูดซับสารพิษได้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
    และในวงการแพทย์
    ได้นำไคโตซาน มาเป็นส่วนประกอบในการขึ้นรูปเป็นเม็ดเจลยา , ทำแคปซูลยา หรือเป็นส่วนประกอบของยาบางชนิด
    มาถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงจะสงสัยใช่ไหมครับว่าไคโตซานคืออะไรแล้วมันมาจากไหน ไคโตซานนั้นเป็นสารพอลิเมอร์ธรรมชาติที่สกัดได้จากไคตินที่พบได้ในเปลือกของสัตว์ทะเล เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนปลาหมึก
    โดยในไคโตซานจะมีหมู่อะมิโนที่มีสมบัติในการละลายได้ในกรดอินทรีย์ เป็นสารที่ชอบไขมัน และเนื่องจากไคโตซานเป็นโพลีเมอร์ที่มีประจุบวก จึงสามารถจับกับไอออนหรือสารที่มีประจุลบได้เป็นอย่างดี เช่น โลหะและไขมัน
    สำหรับการนำไคโตซานมาดักจับไขมันในทางเดินอาหาร อาศัยหลักการที่ไคโตซานมีโมเลกุลขนาดใหญ่มากทำให้ไม่ถูกดูดซึม แต่จะถูกขับถ่ายออกมา และไคโตซานมีประจุบวกจึงสามารถจับกับไขมันซึ่งเป็นสารที่มีประจุลบได้เป็นอย่างดี ในวงการเภสัชกรรมจึงได้ใช้คุณสมบัติในการดักจับไขมันในทางเดินอาหารของไคโตซาน มาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ในการรับประทานเพื่อลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรอล และ ไตรกรีเซอร์ไรด์ โดยที่เมื่อเรารับประทานไคโตซานร่วมกับมื้ออาหาร ไขมันที่มาจากอาหารจะจับตัวกับไคโตซาน แล้วจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต แต่จะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ ซึ่งหมายความว่า ไขมันในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป จะถูกดักจับก่อนที่จะมีการดูดซึมเข้าร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับไขมันจากอาหารน้อยลงนั่นเองครับ
    แต่อย่างไรก็ตามการใช้ไคโตซานข้อระวังในการใช้เช่นกันนะครับ โดยที่ไม่ควรใช้ไคโตซานในผู้ที่แพ้อาหารทะเล เนื่องจากไคโตซานเป็นสารที่สกัดได้จากสัตว์ทะเล เพราะถ้าหากว่ารับประทานเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน, รวมทั้งเด็ก หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรก็ไม่ควรรับประทานไคโตซาน, ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ เนื่องจากไคโตซานจะดูดซับวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ, วิตามินดี, วิตามินอี และวิตามินเค ไปด้วย ทำให้ร่างกายขาดวิตามินได้นะครับ
    เพราะฉะนั้นจึงควรรับประทานไคโตซานเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นเท่านั้น และหากคุณจำเป็นต้องรับประทานไคโตซาน ก็ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินที่ละลายในไขมันและกรดไขมัน หรือรับประทานวิตามินที่จำเป็นเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ
    ** กดติดตามจะได้ไม่พลาดคลิปใหม่ของเรา **
    qrgo.page.link...
    ** เป็นเพื่อนกันและติดตามข่าวสารช่องทางอื่นๆ **
    Facebook ► / propharmacist.drugstore
    IG ► / propharmacist.online
    TikTok ► / propharmacist.online
    Line ► lin.ee/iUlx1Vm

ความคิดเห็น • 11

  • @วรรณวนัชธูปทอง
    @วรรณวนัชธูปทอง 10 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณสำหรับควาามรู้ดีๆค่ะ

  • @kanpreyaisoonyodphasuthee3607
    @kanpreyaisoonyodphasuthee3607 2 ปีที่แล้ว +3

    เสียงก้อง ฟังยากไปหน่อย แต่ข้อมูลเข้าใจง่าย ให้ความรู้ดีค่ะ

    • @PropharmacistOnline
      @PropharmacistOnline  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณค่ะ เราจะพัฒนาให้ดีมากขึ้นค่ะ 🙏🙏

  • @SorTel-vs9tm
    @SorTel-vs9tm 2 ปีที่แล้ว +1

    ค้นหาครั้งแรกไปเจอสำหรับบำรุงต้นไม้ตกใจหมด ว่ากินได้รึเปล่า ขอบคุณข้อมูนดีๆค่ะ

  • @traffickpt.th.4055
    @traffickpt.th.4055 2 ปีที่แล้ว

    ผมแกะซองมาแล้วเห็นซ้ายล่างซองเขียน3
    เลยกิน3เข้าไปแล้ว แต่ตะหงิดใจเลยเิาไปสแกนแปลภาษา แต่บังเอิญเครื่องแบตหมดดับไปคามือ เปิดมาอีกทีก็ขี้เกียดแล้ว วันค่อมามื้อแรกก็3 แต่พอมื้อเที่ยงเลยมาสแกนอีก ดีนะไม่ตาย

  • @รุ่งทิวาพลอยประดับ

    ้เคยทานลดลง12โลแต่ตอนนี้หาซื้อไม่ใด้..

  • @seasonchange9119
    @seasonchange9119 ปีที่แล้ว

    ควรแยกเวลากินกับวิตตามินตัวอื่นยังไงครับ ไหนกินก่อนไหนกินหลัง

  • @Larima_Rhea
    @Larima_Rhea 3 ปีที่แล้ว

    ถ้าเราทานอาหารเสริมพวกน้ำมันปลา เลซิติน แล้วทานไคโตซานมันจะทำให้น้ำมันปลาที่เราทานไปสูญเปล่าไหมคะ

  • @iammatthew7542
    @iammatthew7542 2 ปีที่แล้ว

    Nice 👍👍👍👍

  • @inarmaemittipol8660
    @inarmaemittipol8660 2 ปีที่แล้ว

    เสียงดนตรีดังเกินไปค่ะ