Dopamine vs Serotonin - การเสพติด vs ความสุข

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 ธ.ค. 2024

ความคิดเห็น • 345

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai ปีที่แล้ว +67

    Dopamine vs Serotonin - การเสพติด vs ความสุข
    สวัสดีครับ
    ผมคิดว่าเราก็คงจะเคยได้ยินเรื่องของความสุข ความพึงพอใจและความเครียดในแง่มุมของปรัชญาแล้วก็ศาสนามามากพอสมควรแล้วนะครับ วันนี้ผมจะเอาเรื่องนี้มาพูดให้ฟังในมุมมองของวิทยาศาสตร์บ้างนะครับว่ามันมีสารสื่อประสาทอะไรในสมองของเรา แล้วมันทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยวันนี้เนี่ยผมจะพูดถึง 3 สารหลักๆนะครับ
    🔆อย่างแรกก็คือ Dopamine
    🔆อย่างที่ 2 คือ Serotonin
    🔆แล้วอย่างที่ 3 ก็คือ Cortisol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดนะครับ
    อย่างไรก็ตามมันมีสารตัวอื่นอีกมากมายนะครับที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ เพียงแต่วันนี้ผมจะเน้นที่ 3 ตัวนี้แล้วกันนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันนะครับ เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
    เริ่มที่สารตัวแรกก่อนนะครับ มันเกี่ยวข้องอะไรกับความสุข ความพึงพอใจ ความเครียดหรืออะไรก็แล้วแต่นะครับ
    🌀ตัวแรกเนี่ยคือ Dopamine นะครับ Dopamine เนี่ยมันเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งนะครับที่อยู่ในสมองของเราแล้วก็บริเวณอื่นๆของร่างกายด้วยนะครับ แต่ว่าในสมองของเราเนี่ยมันจะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทนะครับแล้วพอมันออกมาเนี่ยมันจะทำให้เราเกิดความพึงพอใจนะครับเป็นความสุขแค่ชั่วครั้งชั่วคราว เหมือนกับว่าเราได้กินของอร่อยนะครับ เราเล่นการพนันชนะนะครับ หรือเราได้รางวัลอะไรสักอย่างนะครับ นั่นคือฤทธิ์ของ Dopamine มันจะทำให้เรามีความพึงพอใจมากๆนะครับในช่วงเวลาสั้นๆนะครับหรือที่เราเรียกภาษาอังกฤษว่า Pleasure นั่นเองนะครับ
    🌀สารตัวที่ 2 นะครับที่ความมีความเกี่ยวข้องก็คือสารชื่อว่า Serotonin นะครับ สาร Serotonin ตัวนี้เนี่ยมันจะเป็นสารที่ให้ความสุขแก่เราระยะยาวมากกว่านะครับ หรือถ้าเป็นภาษาทางอังกฤษเนี่ยเราจะเรียกว่า Happiness นะครับ หรือ Contentment นะครับ ความพึงพอใจที่มันไม่ใช่มีเพียงแค่ระยะสั้นๆนะครับ Serotonin ตัวนี้เนี่ยมันจะไม่ได้ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทนะครับ มันจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของประสาทนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai ปีที่แล้ว +7

      1️⃣
      ทีนี้พอเล่ามาถึงตรงนี้การกระตุ้นกับยับยั้งเนี่ยมันมีปัญหาอะไรไหมนะครับ?
      ➡️ต้องบอกอย่างนี้ก่อนนะครับ ประสาทของเรานะครับโดยเฉพาะสมองเนี่ยมันเป็นเซลล์ซึ่งมีกิจกรรมที่เยอะมากอยู่แล้วนะครับการที่เราไปกระตุ้นมันเนี่ยถ้ากระตุ้นมากๆนะครับเซลล์มันก็จะตายนะครับ เหมือน Dopamine เนี่ยถ้ามีมากๆนะครับเซลล์เรามันก็จะเริ่มไม่ไหวแล้วนะครับ เริ่มไม่ไหวมันก็จะต้องป้องกันตัวเองจากการโดนกระตุ้นมากจนเกินไปนะครับ คือมันทำงานโดยลดตัวรับ Dopamine ลงนะครับ พอลดตัวรับ Dopamine ลงแล้วมันแปลว่าอะไรนะครับ?
      ➡️มันแปลว่าสิ่งต่างๆซึ่งจะทำให้เรามีความพึงพอใจ มีความสุขชั่วครั้งชั่วคราวเนี่ยปริมาณเท่าๆเดิมเนี่ยมันจะไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้วนะครับเพราะว่ามันหลั่งปริมาณ Dopamine ออกมาเท่าเดิมแต่ตัวรับ Dopamine ในเส้นประสาทมันลดลงนะครับ เพราะว่าในเส้นประสาทเรารู้ว่าถ้าเรารับมากไปกว่านี้เนี่ยเซลล์ตายแน่ๆนะครับ นั่นมันหมายความว่าเราก็ต้องยิ่งวิ่งเข้าหาสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆนะครับ สุดท้ายแล้วเนี่ยมันถึงจุดหนึ่งกลไกของสมองก็เอาไม่อยู่เหมือนกันนะครับ เซลล์เราเนี่ยถึงแม้ว่ามันจะลดตัวรับลงไปมากเท่าไหร่มันก็ยังไม่เพียงพออยู่ดีนะครับเพราะว่ามันโดนปริมาณของ Dopamine ซึ่งมันเยอะจนเกินไปมากระตุ้น สุดท้ายเกิดอะไรขึ้นครับ?
      ➡️เซลล์ตายครับ พอเซลล์ตายแล้วยังไงครับ?
      ➡️เซลล์ตายแล้วมันก็จะเกิดวงจรที่ไม่ดีขึ้นมาจากร่างกาย วงจรอันนึงก็คือวงจรในการเสพติดนะครับ คนเราเนี่ยมีความสุขชั่วครั้งชั่วคราวด้วยสาร Dopamine นะครับ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ เช่นการติดยาเสพติดนะครับ การเล่นการพนัน การไปช้อปปิ้งนะครับ การกินของอร่อย การเสพติดน้ำตาลอย่างนี้นะครับ คือเสพติดนี้ไม่ใช่เฉพาะยาเสพติดนะครับ ไม่ใช่เฉพาะสิ่งไม่ดี เช่นกันพนันต่างๆนะครับ แต่ว่าบางครั้งมันเสพติดในสิ่งอื่นๆด้วยนะครับ เช่นการช้อปปิ้ง การกินของอร่อยนะครับแบบนี้ก็เกี่ยวข้องนะครับ เสพติดการไปเที่ยวนะครับ เสพติดเรื่องอบายมุขต่างๆนะครับ พวกนี้พอระยะยาวเนี่ยมันทำให้เซลล์สมองของเรามันเสียไปนะครับ พอเสียไปปุ๊บเราขาด Dopamine มากๆแล้วเกิดภาวะติดหรือ Addiction ในภาษาอังกฤษนะครับ แล้วถ้ามันเป็นมากๆแล้วมันเกิดอะไรขึ้น ตรงนี้สำคัญแล้วนะครับ?
      ➡️เวลาในสมองของเราเนี่ย Dopamine มันมีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งนะครับถ้าเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับ Dopamine ของเรามันเสียไปแล้วล่ะก็หรือเซลล์ที่ผลิต Dopamine มันไม่สามารถผลิตได้เลยนะครับ สิ่งที่เกิดตามมาก็คือว่าเราเนี่ยจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) นะครับ อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสันได้นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai ปีที่แล้ว +7

      2️⃣
      ถ้า Dopamine ของเรามันเยอะจนเกินไปเกิดอะไรขึ้นครับ?
      ➡️หลอนประสาทนะครับ นั่นก็เป็นที่มาของคนที่เขาติดยาเสพติดมากๆนะครับ เขากินพวกยาเสพติดเข้าไป ฉีดเข้าไปเยอะๆนะครับ เยอะๆมากๆนะครับ Dopamine หลั่งออกมา โดนบังคับให้หลั่งออกมามันก็จะหลอนประสาทแล้วพอทำต่อเนื่องกันไปมากๆๆๆปุ๊บเซลล์เราก็ตายนะครับ มันพูดง่ายๆเหมือนในทางปรัชญา ยิ่งเราวิ่งเข้าหาความสุขมากเท่าไหร่นะครับ ยิ่งวิ่งเข้าหาความพึงพอใจมากเท่าไหร่นะครับความพึงพอใจนั้น ความสุขนั้นก็ยิ่งหนีห่างจากเราไปเรื่อยๆนะครับด้วยเหตุผลของ Dopamine ที่ผมกล่าวไปนั่นแหละครับ
      ทีนี้มันเกี่ยวข้องอะไรกับความเครียด Cortisol ตรงนี้สำคัญ?
      ➡️เวลาที่เราเครียดนะครับ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางด้านจิตใจนะครับ เช่นว่าเราไปเจอเหตุการณ์อะไรที่เรารู้สึกไม่สบายใจมาเรื่อยๆนะครับ เราอ่านหนังสือสอบนะครับ เรามีภาวะเครียดอะไรที่เป็นเรื้อรังนะครับ หรือเราเป็นการเครียดทางจิตใจ เช่นการเจ็บป่วยนานๆนะครับอย่างเงี้ยมันก็จะทำให้ร่างกายของเราหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมานะครับ Cortisol ของเราเนี่ยนะครับมันจะไปทำการลดปริมาณ Dopamine ในสมอง เมื่อกี้ผมบอกว่า Dopamine เป็นตัวกระตุ้นสมองถ้าเราไปลดแล้วมันไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนี่ถูกไหมครับเพราะถ้าลดปุ๊บเนี่ยมันก็ทำให้สมองเราไม่โดนกระตุ้น เซลล์มันก็ไม่ตาย ไม่ตายมันก็น่าจะดีถูกไหมครับ?
      ➡️ไม่ใช่ครับ Dopamine เนี่ยทุกๆอย่างนะครับไม่ใช่แค่ Dopamine มันมีความสำคัญในตัวของมันเองนะครับ คือจำเป็นจะต้องมีไว้นะครับมีเยอะไปก็ไม่ดีมีน้อยไปก็ไม่ดีเช่นกันนะครับ การที่มีฮอร์โมนคอร์ติซอลเยอะๆเนี่ยไปลด Dopamine ในร่างกายสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเราจะเริ่มไม่มีความสุขแล้วครับ เราจะเริ่มไม่มีความพึงพอใจ เราเริ่มรู้สึกว่าหมดอะไรตายอยาก ไม่อยากจะทำอะไรเลยนะครับ แต่สมองของเราเนี่ยมันก็ขวนขวายอยากจะได้ Dopamine เพื่อที่จะเพิ่มความพึงพอใจให้กับร่างกาย แล้วเกิดอะไรขึ้นมาครับ?
      ➡️เกิดวงจรอันนึงขึ้นมา เช่นเราจะลองสังเกตตัวเองไหมครับ เวลาที่เราเครียดมากๆ ทำงานเยอะๆ ปิดโปรเจคหรือว่าทำ Thesis หรืออะไรก็แล้วแต่มากๆทำไปสักพักนึง หรือสอบเสร็จเนี่ย เราทำอะไรครับเพื่อที่จะให้เรารู้สึกดีขึ้น?
      ➡️กินของอร่อย กลับบ้านมาต้องไปช้อปปิ้งนะครับ หรือเดี๋ยวนี้ Shopping online รู้สึกว่ากดเสียตังค์แล้วรู้สึกมีอารมณ์ดีขึ้นมาทันทีเลยจากความเครียดนะครับ ความเครียดนั่นแหละครับมันทำให้เราขวนขวายหาสิ่งที่เป็นกระตุ้น Dopamine ในร่างกายนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai ปีที่แล้ว +7

      3️⃣
      แล้วทำไปนานๆแล้วมันได้อะไรขึ้นมาครับ?
      ➡️มันจะเริ่มไม่ค่อยรู้สึกว่าพอใจอีกต่อไปแล้วครับ ซื้อของก็ต้องซื้อของที่มันแพงขึ้นนะครับ ของธรรมดาไม่ได้แล้วต้องเป็นของแบรนด์เนม แบรนด์เนมธรรมดาไม่ได้เราต้องแบรนด์ที่แพงขึ้นที่หายากขึ้นนะครับ หรือกินของอร่อยกินสักนิดนึงมันไม่พอ มันต้องกินให้มันเยอะขึ้นให้มันอันใหญ่ๆเลย ช็อกโกแลตก็เบ้อเริ่มเทิ่ม เค้กก็ใหญ่ๆนะครับ สุดท้ายแล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับของพวกนี้ ของที่ทำให้เราพึงพอใจชั่วคราวหรือทำให้ Dopamine มันหลั่งชั่วคราวเนี่ยมันมักจะเป็นของที่ทำให้เรามีความสุขแค่ชั่วคราวแล้วสุดท้ายมันก็จะเกิดวงจร Addiction หรือการติดนะครับยิ่งทำให้เราต้องเสพมันมากเข้าไปเรื่อยๆๆๆๆนะครับ แล้วก็วนอยู่แค่เนี้ยนะครับ ทำให้เรายิ่งมีปัญหา
      แต่ทีนี้อย่างที่ผมเล่าไป มันมีสารสื่อประสาทอีกตัวหนึ่งชื่อว่า Serotonin ตัวนี้แหละครับที่เป็นตัวที่เราควรจะไปกระตุ้นมันมากกว่านะครับ Serotonin ตัวนี้เนี่ยนะครับมันเป็นสารที่ให้เรารู้สึกว่ามีความพึงพอใจระยะยาวหรือมีความสุข ความอิ่มเอิบใจนะครับ พวกนี้เนี่ยเวลาที่เราเครียด เครียดมากๆ เครียดเรื้อรังนะครับมันจะทำให้สาร Serotonin ตัวนี้ตกลงเช่นกันนะครับ มันต่ำลง ความรู้สึกพึงพอใจอะไรพวกนี้มันก็จะไม่ค่อยมีแล้วนะครับ พอไม่ค่อยมีเราจะรู้สึกหมดอะไรตายอยากกับชีวิต ไม่อยากจะทำอะไรเลย มันเครียดเหลือเกิน การเงินมันก็ลำบากนะครับเราต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ส่งเสียลูกนะครับ ลูกก็ไปติดยา ติดเกม ติดผู้หญิงอะไรอย่างเงี้ยนะครับ มันก็ทำให้เรารู้สึกว่าเราเครียดเรื้อรังเสร็จปุ๊บค่า Serotonin ในสมองของเรามันก็ตกลง ตกลงก็เริ่มรู้สึกว่าระยะยาวเนี่ยอยู่ไปทำไมไม่มีความสุขนะครับ ชีวิตนี้ก็มีแต่ความเศร้า การที่ Dopamine กับ Serotonin มันหายไปเพราะว่า Cortisol เนี่ยนะครับ นอกเหนือจากมันทำให้เราขวนขวายหาความสุขชั่วครั้งชั่วคราวแล้วการที่ Serotonin ตัวเดี่ยวๆเนี่ยมันหายไปมันยังทำให้เราเกิดภาวะซึมเศร้าด้วยครับ เกิดภาวะซึมเศร้าหรือ Depression นั่นเอง แล้วยาที่หมอเขาให้ไปแก้ไขโรคซึมเศร้าเนี่ยมันเป็นยาที่ไปเพิ่มระดับ Serotonin ในสมองของเรานะครับให้มันกลับมาปกติ อย่างไรก็ตามการแก้ไขภาวะนี้ด้วยยาอย่างเดียวมันไม่ได้แก้ไขต้นเหตุถูกไหมครับ มันไม่ได้ทำให้เราหายเครียดนะครับ เพราะว่าความเครียดของเราเนี่ยมันเกิดขึ้นจากหลายๆสาเหตุ อย่างแรกก็คือประสบการณ์ในชีวิตของเรา คือการที่เรามีประสบการณ์อะไรสักอย่างเนี่ยมันเป็นการบ่งบอกว่าวิธีคิดของเราควรจะเป็นอย่างไรเมื่อเราเจอสิ่งที่ท้าทายต่างๆนะครับ การที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของเราได้เนี่ยครับ มองโลกในแง่ดี มองหาทางที่สว่าง มองหาแต่สิ่งที่เป็นบวกนะครับไม่ได้มองในแง่ลบนะครับ การที่เราสามารถเปลี่ยนความคิดของเราแบบนี้ได้เนี่ยมันทำให้เราเนี่ยลดความเครียดลงได้

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai ปีที่แล้ว +6

      4️⃣
      พอลดความเครียดเกิดอะไรขึ้นครับ?
      ➡️สารที่มันมีประโยชน์กับสมองมันก็ออกมาเองนั่นแหละครับ เราไม่ต้องไปทำอะไร ไม่จำเป็นต้องไปกินยานะครับ แต่คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเนี่ยคือเขามีความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทต่างๆในสมองจนถึงระดับที่อันตราย ดังนั้นในช่วงแรกเนี่ยถ้าเราไปบอกให้เขาทำสมาธินะครับ ทำใจให้สบาย ไม่เครียดนะครับมันทำไม่ได้นะครับ เรามีความจำเป็นจะต้องช่วยเหลือเขาโดยการเพิ่มสารพวกนี้เข้ามาในสมองซะก่อน พอเพิ่มจนถึงจุดนึงเนี่ยเขาเริ่มที่จะรู้สึกว่าอารมณ์นิ่ง อารมณ์เริ่มมีความสุข เริ่มมีความอิ่มเอิบใจแล้ว ระหว่างนั้นเราค่อยๆมีการปรับความคิดของเขาไปด้วยนะครับ เพื่อที่จะให้มองโลกในแง่ใหม่นะครับ มองโลกในแง่ดีนะครับ แล้วก็แก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะว่าแน่นอนคนที่เขามีปัญหาเรื่องความเครียด เรื่องความซึมเศร้าบางครั้งสิ่งต่างๆในชีวิตของเขามันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่างติดหนี้มันก็ไม่สามารถที่จะใช้ยาไปลดหนี้ได้ถูกไหมครับ ไม่สามารถให้วิธีคิดในการบอกว่าหนึ้มันหายไป มันก็ไม่ได้อยู่แล้วนะครับ บางคนมีโรคประจำตัวเรื้อรังมันทำให้โรคมันหายไป มันก็ไม่ได้อยู่ดีนะครับ ดังนั้นเราเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มันเป็นอยู่ไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงมุมมองของเราต่อโลกได้ครับ ตรงเนี้ยสำคัญ พอมุมมองของโลกเรามันดีขึ้นมันก็จะไปลดความเครียด ลดภาวะที่มี Cortisol ในร่างกายเยอะจนเกินไปนะครับ แล้วมันก็ทำให้สารสื่อประสาทเหล่านี้เข้าสู่จุดสมดุลนะครับ
      ทีนี้ผมอยากจะบอกข้อแตกต่างของ Dopamine กับ Serotonin อีกสักเล็กน้อยนะครับ ในแง่ของปรัชญากับในแง่ของวิทยาศาสตร์มันมีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมากเลยนะครับ คือ Dopamine เนี่ยมันเป็นสารซึ่งกระตุ้นนะครับแต่ว่า Serotonin เป็นสารซึ่งยับยั้งการทำงานของประสาท การที่จะยับยั้งการทำงานของประสาทเนี่ยเซลล์มันจะไม่ตายนะครับ แต่การไปกระตุ้นมาเยอะเซลล์มันตายนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai ปีที่แล้ว +6

      5️⃣
      🔶Dopamine คือ ความสุขชั่วครั้งชั่วคราว ความพึงพอใจซึ่งมันมีการกระตุ้นจากภายนอกได้ เช่นกันกินของอร่อย การไปช็อปปิ้งนะครับ การเล่นการพนันแล้วชนะนะครับ การที่เราได้รางวัลอะไรสักอย่างนะครับ ส่วนใหญ่แล้วมันเป็นความสุขทางกาย เป็นความสุขทางกายซึ่งอยู่ชั่วครั้งชั่วคราวแล้วเราก็ต้องขวนขวายหามันมาเรื่อยๆ แต่ Serotonin นั้นไม่ใช่นะครับ
      🔶Serotonin นี้เป็นความสุขทางใจนะครับ ไม่สามารถที่เราจะไปกระตุ้นได้ด้วยการกินของหวานมันจะทำให้เราสุขนาน มันเป็นไปไม่ได้ครับเดี๋ยวพอเรากินของหวานปุ๊บน้ำตาลตก คราวนี้เริ่มโมโหเริ่มอยากจะกินอีกแล้วนะครับ การช้อปปิ้งมันก็มีความสุขแค่ตอนช็อปปิ้งนั่นแหละครับ มันไม่สามารถกระตุ้นความสุขระยะยาวได้นะครับ มันเกี่ยวข้องกับตรงนี้ แต่ความสุขระยะยาวของเรานั้นต้องหมั่นกระตุ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงความคิด การมองโลกต่างๆนะครับ การทำสมาธิ การที่ทำให้ร่างกายของเราเนี่ยมีความรู้สึกผ่อนคลายต่างๆพวกเนี้ยมันจะทำให้เราสามารถกระตุ้น Serotonin แล้วก็มีความสุขระยะยาวได้นะครับ
      Dopamine มันเป็นตัวสำคัญตัวหนึ่งเลยนะครับที่เราทำแล้วให้ความสุขแก่ตัวเอง เราลองคิดดู Dopamine มันเป็นความสุขแก่ตัวเองเลยนะครับเรากินของอร่อยเรามีความสุขถูกไหมครับ คนอื่นไม่มีด้วยนะครับ เราช้อปปิ้งเรามีความสุขถูกไหมครับ แต่ถ้าเป็น Serotonin เราลองคิดดูซิครับ มันเป็นความสุขอะไรที่มันระยะยาว
      ทำยังไงให้ได้ความสุขความสุขแบบนั้น?
      ➡️ความสุขแบบนั้นเกิดจากการให้ครับ เกิดจากการทำเพื่อคนอื่น การทำให้คนอื่น การทำให้สังคมนะครับ
      ดังนั้นเนี่ยในทางปรัชญาแล้วเนี่ยนะครับอะไรที่หาความสุขเข้าสู่ตนเองมันจึงทำให้เรามีความสุขแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นเองนะครับ แล้วทำมากๆมันก็ติด และยิ่งติดมันก็แปลว่าปริมาณที่เราทำเท่าเดิมเนี่ยมันก็ไม่ได้ผลแล้ว มันก็ทำให้เรายิ่งวิ่งเข้าหาความพึงพอใจ ยิ่งขวนขวายแล้วมันก็ยิ่งไม่ได้นะครับ แต่ถ้าเราทำแบบ Serotonin เนี่ยเราจะมีความสุขระยะยาว เรามีการให้คนอื่น เรามีความพึงพอใจระยะยาว เรามีความอิ่มเอิบใจ แล้วการทำแบบเนี้ยสมองของเราเนี่ยมันไม่ตาย เซลล์มันไม่ตาย มันก็จะเป็นความสุขระยะยาวได้นะครับ ตรงเนี้ยมันเป็นความแตกต่างอย่างหนึ่ง

  • @_N3G5
    @_N3G5 ปีที่แล้ว +71

    ในที่สุดหมอก็ออกมาพูดเรื่องนี้ เพราะมันสำคัญมากในยุคนี้

  • @SoYouSow.SoYouReap
    @SoYouSow.SoYouReap ปีที่แล้ว +6

    ติดมือถือครับ ไถโทรศัพท์ตั้งแต่เข้า จนมาเจอคลิปนี้ ช่วงบ่าย 3 เข้าไปแล้ว ตอนนี้ผมน่าจะขาดเซโรโทนินครับ ขอบคุณคุณหมอครับ

  • @pechr-qk6go
    @pechr-qk6go 9 หลายเดือนก่อน +5

    การได้คือความสุขแป็ปเดียว แต่การให้คือความสุขระยะยาว👍

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +68

    8 ฮอร์โมนสำคัญของร่างกาย
    ◾กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข
    1. เอ็นโดรฟิน (Endorphin)
    2. โดพามีน (Dopamine)
    3. เซโรโทนิน (Serotonin)
    ◾กลุ่มฮอร์โมนความเครียด
    4. คอร์ติซอล (Cortisol)
    5. อะดรีนาลีน (Adrenaline)
    ◾กลุ่มฮอร์โมนเพศ
    6. เทสโทสเตอโรน (Testosterone)
    7. เอสโตรเจน (Estrogen)
    8. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

    • @chisukosi5231
      @chisukosi5231 11 หลายเดือนก่อน

      Oxytocinอยุ่ในกลุ่มแรกด้วยครับ

  • @chisukosi5231
    @chisukosi5231 11 หลายเดือนก่อน +4

    เพิ่มนิดนึงครับ
    1.ร่างกายผลิต​ serotonin​ จาก​ tryptophan​ ซึ่งเป็นกรด​ amino acid​ มีมากในอาหารเช่น​ เนื้อสัตว์​ เม็ดมะม่วงหิมพานต์​ กล้วย
    2.เมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายจะดูดซึม​ tryptophan​ จากอาหารได้มากขึ้นถ้าออกกำลังกายเบาๆเช่น​ เดิน
    3.ดวงตาของเราเมื่อได้กระทบกับแสงอาทิตย์​ที่สว่างมากๆจะเป็​นก​ารส่งสัญญาณ​ไปให้สมองผลิต​ serotonin

  • @Jaoboys177
    @Jaoboys177 ปีที่แล้ว +4

    ผมที่เป็นแพนิค ตอนโควิต หาหมอกินยาปรับเวลานอน จนตอนนี้ ดีขึ้นจนเล่นออกกําลังกายเล่นแบบให้หัวใจเต้นเร็วโดยไม่มีอาการแพนิคมาเลยครับ ล่าสุดผมสมัคเข้างานโรงงานแล้ว อาจกังวลเรื่อง งานกะดึกเรื่องพักผ่อน แต่ยังมีหมอนัดกินยาอยู่ เดี๋ยวไปบอกหมอเรื่องผมจะทํางานด้วย

  • @veryrichman
    @veryrichman ปีที่แล้ว +10

    โดพามีน - ความสุขจากความต้องการเข้าตัว เป็นความสุขชั่วคราว ยิ่งได้ยิ่งต้องการมากขึ้น
    เซโรโทนิน- ความสุขจากความรู้สึกเพียงพอ ความสุขจากการให้ เป็นความสุขที่ยั่งยืนกว่า

  • @TeTong89
    @TeTong89 ปีที่แล้ว +10

    ยิ่งโตขึ้นยิ่งเข้าใจว่า "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบนั้นไม่มี"

  • @werat2997
    @werat2997 ปีที่แล้ว +12

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ คลิปนี้ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า การออกกำลังกาย การทำสมาธิ การให้ อย่างสม่ำเสมอ น่าจะช่วยให้เรามี serotonin ที่สมดุล ช่วยให้รู้สึกดีกับชีวิต มีความสุขสงบที่ยั่งยืน และน่าจะช่วยให้เรามีแรงกายแรงใจในการสร้างสิ่งที่ดีต่อทั้งตัวเองและผู้อื่นต่อไปครับ 😊

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +36

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    หัวข้อวันนี้ เรื่อง... Dopamine vs Serotonin - การเสพติด vs ความสุข
    วันนี้จะพูดถึงสาร 3 ตัวค่ะ คือ
    1. Dopamine โดพามีน
    ◾เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และยินดี เป็นสารที่หลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาทสมอง การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้ ถ้าโดพามีนในร่างกายของเราต่ำเกินไปจะทำให้มีความรู้สึกหดหู่และซึมเศร้าได้
    ◾นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโดพามีนต่ำเกินไปทำให้เป็น "โรคพาร์กินสัน" ได้ เพราะฮอร์โมนที่ลดลงทำให้ระบบการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ทำให้มีการสั่น และก้าวขาไม่ออก
    ◾คนที่ใช้สารเสพติด สารเสพติดจะไปกระตุ้นโดพามีน จะได้ความสุขแต่เป็นแบบชั่วคราว เมื่อโดพามีนถูกกระตุ้นไปนานๆ ก็จะทำงานลดลง ผลิตโดพามีนได้น้อยลง ทำให้เราต้องหาสิ่งต่างๆมากระตุ้นมากขึ้นๆ สุดท้ายสมองจะขาดโดพามีน ทำให้ไม่มีความสุข และทำให้เกิดอาการพาร์คินสันได้
    2. Serotonin เซโรโทนิน
    ◾เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหารที่มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ และพฤติกรรม และการนอนหลับ
    ◾ถ้าระดับฮอร์โมนเซโรโทนินต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ "ภาวะซึมเศร้า" ได้ค่ะ ดังนั้น คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจึงจำเป็นต้องใช้ยารักษาเพื่อเพิ่มระดับเซโรโทนินในสมอง
    ◾ส่วนคนทั่วไปหากมีบางภาวะที่เซโรโทนินต่ำลงจนเกิดความเครียด ถ้าจะให้หายเครียดไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง มองเรื่องราวต่างๆในแง่ดี พยายามคิดบวก พยายามผ่อนคลาย ทำสมาธิ ออกกำลังกาย ก็จะทำให้สารเซโรโทนินค่อยๆเพิ่มขึ้นมาเป็นปกติ
    ◾หากร่างกายมีระดับของเซโรโทนินมากเกินไป จะทำให้ภาวะร่างกายเป็น "ออทิซึม" มีภาวะโลกส่วนตัวสูง ชอบการแยกตัวออกมามีความสุขส่วนตัว คล้ายกับเด็กออทิสติกที่ไม่สบตาใคร และสนใจอยู่กับเรื่องที่ตัวเองชอบเท่านั้น
    3. Cortisol คอร์ติซอล
    ◾เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อมีภาวะเครียด มีเหตุการณ์คับขัน มีเรื่องวิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อการฟื้นฟูร่างกาย คอร์ติซอลจะกระตุ้นการตอบสนองของเซลล์ในร่างกายต่อภาวะการอักเสบ ความเจ็บปวด ภาวะติดเชื้อ และกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาลมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานมากกว่าปกติในภาวะเครียด ทำให้กินเยอะขึ้น หิวบ่อยขึ้น และน้ำหนักขึ้นได้เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพื่อรักษาระดับความดันให้ทำงานได้อย่างปกติด้วย
    ◾สำหรับฮอร์โมนคอร์ติซอล หากมีมากก็สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในร่างกาย เป็นเบาหวานได้

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 ปีที่แล้ว +5

    เคยมีช่วงที่เครียดมาก ๆ ก็จะใช้วิธีไปดูคอนฯ ช้อปปิ้ง ทำซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ เพื่อให้ลืมเรื่องเครียดไปชั่วคราว โดยคิดว่าอย่างน้อยเราก็ดึงตัวเองออกมาจากความเครียดได้ค่ะ ก็คงเป็นการวิ่งไปหา Dopamine นะคะ ซึ่งเป็นความสุขชั่วคราว และทำแบบนี้มา 4-5 ปี โดยไม่รู้ว่าไม่เป็นผลดี ความสุขระยะยาวคงแทบไม่มี ถ้ามีก็คงน้อยค่ะ #การรู้ตัว ทันอารมณ์ตัวเอง ทำทุกอย่างบนความพอดี อาจจะยาก แต่ก็ต้องฝึกนะคะ #คลิปอาจารย์หมอวันนี้เป็นการเชื่อมโยงความสุขในแง่ปรัญชญา กับวิทยาศาสตร์ เป็นอาหารทางสมองที่ดีมากเลยค่ะ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @mountainview9195
    @mountainview9195 ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์สำหรับคลิปนี้🙏🌸
    ทำให้เข้าใจคนได้มากขึ้น คนเราบางทีซึมเศร้า ท้อแท้ ขยัน หรือคึก อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ไม่ใช่โทษว่านิสัยไม่ดี แต่อาจเป็นเพราะเคมีในสมองเค้าไม่สมดุล

    • @pronprom-qc5vz
      @pronprom-qc5vz 10 หลายเดือนก่อน +1

      อันนี้ผมเห็นด้วยครับ ตอนแรกก็นึกว่าเป็นนิสัยเรา แต่พาเรารู้จักกลไกของสารในสมอง มองได้อีกหลายมุมเลยครับ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 ปีที่แล้ว +4

    ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน
    ยอดผู้ติดตาม 4.77 แสนคนค่ะ
    สถานีต่อไป 4.78 แสนคนค่ะ
    ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ
    ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ
    เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย
    ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ 🌻🧡🌻

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณนะคะ คุณหมอพูดอิงหลักธรรมะด้วยเลย การมีทั้งโดพามีนและเซโรโทนินมากไปน้อยไปก้ไม่ดีมีผลต่อร่างกายทั้งนั้น เช่นโดพามีนมากก้ทำให้หลอน เพี้ยนได้ น้อยไปก้เป็นพาร์กินสัน เซโนโทนินมากไปก้ทำให้เป็นออทิสติก เช่นเด็กออทิสติก 🙏

  • @piny_designer
    @piny_designer ปีที่แล้ว +1

    😊🙏👍 Serotonin ผลิตได้ด้วยการให้ แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ดี ..สรุปแล้วทางสายกลางดีที่สุด 😆ขอบคุณคุณหมอค่ะ

  • @seefahs2212
    @seefahs2212 2 หลายเดือนก่อน +1

    เหมือนคุณหมอสอนเรื่องความรัก ❤

  • @daoroongweerakul2493
    @daoroongweerakul2493 ปีที่แล้ว +1

    ทำให้คิดถึง ทางสายกลาง ของพระพุทธเจ้า!•-สุดยอด !!

  • @chaemozione1807
    @chaemozione1807 ปีที่แล้ว +2

    ชอบมากๆเลยค่ะ ทำให้เข้าใจอะไรเพิ่มมากขึ้นเยอะมากๆ โดยเฉพาะที่ตอนนี้หนูอยู่ในวัยเรียนพอดี มีความเครียดพอสมควร ก็จะมีเหมือนที่หมอบอกในคลิปเลยค่ะ สอบเสร็จแล้วไปหาของอร่อยกิน5555 ช่วงนี้ที่โรงเรียนกำลังเรียนเรื่องฮอร์โมนพอดีด้วย

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน
    เป็นคำอธิบายที่ดีมากค่ะ
    ทั้งปรัชญา"สติ"และวิทยาศาสตร์"🧠"

  • @Chefaey
    @Chefaey ปีที่แล้ว +4

    การมองโลกในแง่บวกการคิดบวกทำให้เรามีความสุขจริงๆค่ะถึงแม้ว่าบางช่วง
    เวลาเราจะมีความเครียดความไม่สบายใจก็ตามเวลาเราเครียดไม่สบายใจหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร
    เราก็แก้ไขสิ่งนั้นก็จะทำให้เรามีความสุขความสบายใจได้มีความคิดว่าอยากจะทำคล้ายๆคุณเขื่อนเคโอติก
    เหมือนกันค่ะที่เป็นนักร้องเก่าอารเอสที่เขาจะมีป้ายและบอกว่าเขาอยู่ตรงไหนใครไม่สบายใจหรือมีปัญหาอะไรพร้อมที่จะรับฟังเขาจะมีสถานที่ๆบอกว่าไปที่จุดไหนน่ะคะรู้สึกว่าเป็นโครงการที่ดีมากๆเลยแต่สิ่งที่ทำบ่อยๆคือการเอาอาหารกล่องให้กับผู้ยากไร้คือทำที่ทำได้มันก็คือความสุขทางใจอย่างหนึ่งค่ะแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคลิปนี้ฟังแล้วได้ข้อคิดและปรัชญาดีๆเลยค่ะ

  • @ballchot-anan-is3xf
    @ballchot-anan-is3xf ปีที่แล้ว +2

    สุดยอด...เหมือนหลักการของพุทธศาส...ขอบคุณครับที่ให้ความรุ้

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    Dopamine เป็นความสุขทางกายของตัวเราเอง เป็นความสุขชั่วครั้งชั่วคราว
    Serotonin เป็นความสุขทางใจ เป็นความสุขระยะยาว เกิดจากการให้ การทำเพื่อสังคม
    วันนี้ฟังแล้ว ยิ่งเข้าใจคุณหมอมากขึ้นว่า ทำไมคุณหมอดูมีความสุขมากมาย คุณหมอเป็นผู้ให้อยู่ตลอดเวลา
    การเป็นผู้ให้ต่อสังคม จะพัฒนาตัวเราให้มีความคิดในด้านบวก และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมได้
    เพราะการให้ทำให้เราไม่นิ่งดูดายกับความเดือดร้อน
    ความงดงามที่ออกมาจากภายใน เป็นความสุขที่แท้จริง
    การมี Serotonin ที่สมดุล จะช่วยปรับความรู้สึก และมีผลต่ออารมณ์ในทางบวก เช่นความสงบ ความใจเย็น มีสมาธิ
    Serotonin จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต่อเมื่ออยู่ในระดับที่สมดุลเท่านั้น
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน 🌻🧡🌻

  • @darrikaa
    @darrikaa ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากๆเลยค่ะ😭😭 กำลังจะเอาไปสอบ psych พอดีเลย เจอช่องคุณหมอคือรอดตายแล้ว

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +3

    💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะอาจารย์💐
    🎉ตอนนี้ผู้ติดตาม 4.77 แสนคนแล้วค่ะ🎉

  • @EarngAlis
    @EarngAlis ปีที่แล้ว +1

    2 วันก่อน เพิ่งหาอ่านเรื่องฮอร์โมนต่างๆ พอดีเลยค่ะ สนุกๆ🤩
    ได้ข้อมูลมาว่า ‘ถ้าเราได้สารโดปามีนมากๆจนถึงจุดๆนึง ร่างกายเราจะเกิดการดื้อฮอร์โมน เพราะเคยชินแล้ว’
    ก็สอดคล้องกับที่คุณหมอบอกว่า เราเลยจะหาความสุขใหม่ ที่มันใหญ่กว่าเดิมขึ้นไปเรื่อยๆ
    ถึงว่า บางทีช็อปกระจายเลย😆
    ขอบคุณ คุณหมอสำหรับข้อมูลค่ะ 😊

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +2

    🌟😊ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ💛🧡💙
    เย้ๆๆ4.77K🎉🎉🚀💕☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟☄️🌟
    ☺️ ขอบคุณอจ.หมอมากค่ะขอให้มีผู้ติด
    ตามฟังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆๆนะคะประชาชนได้รับความรู้มากมายค่ะ😊🍍🍉🥑🥝🍎

  • @jeerayui8981
    @jeerayui8981 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏💐ขอบพระคุณค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ ค่ะ🙏 2 3วันมานี้ สังเกตตัวเองว่า พอได้ทานของอร่อย หรือได้ฟังดนตรีที่ชอบ,ดูคลิปคุณหมอ (เพราะว่าปกติไม่เคยเห็นใครพูดไปยิ้มไปดูเป็นมิตรแบบนี้อ่ะค่ะ😂)ทำให้ความเครียดลดลง และพออารมณ์เริ่มเป็นบวกขึ้นมา ก็ลองไปนั่งสมาธิต่อเลย แล้วรู้สึกสงบความคิดลบๆไม่กวนมาในหัวค่ะ พอออกจากสมาธิ รู้สึกอารมณ์เปลี่ยนโหมดเป็นบวก เบาสบายขึ้นมากๆ และรู้สึกว่าสารเคมีในสมอง,ร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้หงุดหงิดยากขึ้น ความเครียดลดลงค่ะ แต่แนวคิดที่ทำอะไรเพื่อคนอื่นหรือเพื่อสังคมก็ดีนะค่ะ น่าจะช่วยลดความเครียดได้เยอะค่ะ🙏🙏💐🥰

  • @soontareesopito4711
    @soontareesopito4711 ปีที่แล้ว +4

    คุณหมอค๊ะ สวัสดีค่ะ ข้อมูลในวันนี้ พิเศษจัง เกี่ยวกับอารมย์ ความรู้สึกของมนุษย์เราทุกขณะจิต ฮอร์โมนทุกตัวมีอิทธิพลแตกต่างกันไป ทำให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นถ้าเราแบ่งปันสิ่งเล็กๆน้อยเช่นแค่ที่จอดรถ หรือช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จัก เราจะรู้สึกอิ่มใจคิดถึงครั้งใดก็มีความสุข เสมอ ค่ะ

  • @NSn458
    @NSn458 11 หลายเดือนก่อน +2

    อธิบายดีมากๆเลยค่ะคุณหมอ​ ขอบคุณและจะนำไปปรับใช้ค่ะ🙏❤️

  • @WANWAnnzz
    @WANWAnnzz ปีที่แล้ว +1

    เชื่อเลยค่ะ พระพุทธเจ้าถึงสอนให้ทุกคนเดินทางสายกลาง พระพุทธเจ้าสอนควบคุมกับร่างกายระบบต่างๆในร่างกายเเปลว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรจนเข้าใจระบบร่างกาย เดินทางสายกลาง พระพุทธเจ้าก็เป็น หมอ ได้เลยนะค่ะ🙏🙏🙏🙏🌈😇😇😇

  • @TomT1K
    @TomT1K ปีที่แล้ว +4

    สุดยอดครับ ยั่งยืนจริง

  • @syrine2491
    @syrine2491 ปีที่แล้ว +1

    ดีจังค่ะที่ไม่ค่อยมีค..ามสุขก็ไม่เป็นแน่นอน ขอบคุณนะคะที่หมอให้ค..ามรู้

  • @ธนาดุลขุนเจริญ-ร7น

    คุณหมอเก่งมากเลยฟังจากแนวคิดและวิชาการ หลักปัชญาคือสุดยอดใช้ควบคู่กับความรู้ด้านการแพทย์ เก่งจริง ท่านผ่านโลกมาเยอะมากๆเลยแบบนี้❤

  • @EmmTari
    @EmmTari ปีที่แล้ว +1

    ดีใจจริงๆ ที่ได้มาดูคลิปนี้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่คุณหมอพูดตามเหตุและผล ในสิ่งที่ตนเองเคยได้คิดหรือกระทำอยู่ ทุกอย่างมันก็เป็นจริงตามนั้น😊
    ขอขอบคุณคุณหมอ🙏สำหรับความรู้ คำอธิบายดีๆ ที่มีส่วนเสริมกำลังใจและเป็นสิ่งยืนยันในเชิงวิชาการได้ว่า ได้ทำในสิ่งที่พึงปฎิบัติซึ่งส่งผลให้ได้รับผลลัพธ์ดีๆ ที่พึงประสงค์ตรงตามนั้น

  • @apakornwongsathapornpat8877
    @apakornwongsathapornpat8877 ปีที่แล้ว +1

    ลดความคาดหวัง คิดบวก มองโลกตามจริง และทำให้ดีทุกวันไว้

  • @aia88
    @aia88 ปีที่แล้ว +1

    ไปPensacola florida24th/8/2566ค่ะคุณหมอ 👉หล่อเท่หน้าเด็กมากค่ะ

  • @Oil970
    @Oil970 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอมากนะครับ การที่ดูคลิปหมอ และนำไปปรับใช้มันก็เหมือนมีสารเพิ่มขึ้นนะครับ 🙏🙏🙏

  • @jeab-arpathongprasit160
    @jeab-arpathongprasit160 ปีที่แล้ว +1

    🙏ขอบคุณคุณหมอมากๆคะ กำลังเป็นอยู่เลยคะ เวลาเครียด จะบ้าช๊อปปิ้ง จนเป็นโรคเสพติดช๊อปปิ้งทุกวันนี้ พบหมอจิตเวชคะ ปล จะนำคำแนะนำของคุณหมอ มาปฎิบัตินะคะ❤️

  • @colistic
    @colistic ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์ ชอบเรื่องแบบนี้มาก เรื่องกลไกของร่างกายที่มีความซับซ้อน เห็นชัดว่าตัวเองมีโดปามีนเยอะ และเมาของหวานบ่อยมาก

  • @นายพศินเส็งบางยาง

    แล้วเราจะรู้ได้ยังไงครับว่าความสุขนั้นเป็นแบบDopamine or Serotonin ยกตัวอย่างเช่น เด็กคนนึงชอบวิชาฟิสิกส์มาก การทำโจทย์จะทำให้เขามีความสุข

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      เราเอาที่ความสุขว่ามันหวือหวาชั่วครู่ หรือเป็นความสุขที่แบบอิ่มเอมอยู่นาน โดยปราศจากสิ่งกระตุ้นเป็นหลักครับ

  • @ดาหวันวิกเก็ตท์
    @ดาหวันวิกเก็ตท์ ปีที่แล้ว +1

    เวลาเครียดก็ดื่มใวน หรือเบียร์ช่วยใด้ดีค่ะ❤

  • @monthonsriyoscharti2714
    @monthonsriyoscharti2714 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ
    ผมถึงกับดีขึ้นทันทีเลยที่ได้ฟังคลิปนี้ ทำให้ชื่นใจ ปล่อยวาง สบายใจ ให้อภัย ทำตอนที่ฟังอยู่นี่เลย ขนลุกเบาๆ น่าจะ serotonin ออกมาแล้วหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้
    แต่ยังไงก็ขอบคุณ อ. tany มากๆครับ อยากกราบขอบคุณ อ. tany ตอนนี้เลยครับ ขอบคุณครับ

  • @chaloeypornchansin9892
    @chaloeypornchansin9892 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดี​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​ วันนี้ว่าง เข้ามาฟังย้อนหลังค่ะ ที่อาจารย์​พูดมาจริงค่ะ ความสุข​ในการใ้ห้มันอยู่กับ​เรานานค่ะ ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​

  • @pamanasakorn3990
    @pamanasakorn3990 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะคุณหมอ
    ดีใจมากๆๆๆๆค่ะที่ตื่นเช้ามาแล้วได้ฟังเรื่องนี้ชอบมากๆๆๆๆค่ะ
    พอฟังจบแล้วมีความสุขมากๆๆๆๆจนหัวเราะออกมาเสียงดังและนานมากๆๆๆๆแบบกลั้นหัวเราะไม่หยุดเลย
    ปล.คุณหมอได้ทำบุญให้ความรู้และความสุขแก่ผู้ฟังแล้วค่ะสาธุค่ะ

  • @Pop-j5m
    @Pop-j5m ปีที่แล้ว +2

    อาจารย์หมอครับ #นิสัยผม ตรงกับคนที่เป็นอินโทรเวิร์ต ประมาณ90กว่า%ครับ # ผมแค่บอกอาจารย์หมอครับ❤

  • @phetchkamlangdech673
    @phetchkamlangdech673 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีครับอาจารย์หมอ ฟังหัวข้อผมคิดเลยเถิดว่าไม่ลึก เข้าใจมากกว่าที่คาดคิดครับ ผมฟังจนจบครับ

  • @nantgg9860
    @nantgg9860 7 หลายเดือนก่อน +1

    คลิปนี้ดีและมีประโยชน์มากๆเลย🙏👍

  • @darinnfai9415
    @darinnfai9415 7 หลายเดือนก่อน +1

    ชอบหัวข้อนี้มากค่ะ 🤍

  • @nan-naphasi.955
    @nan-naphasi.955 8 หลายเดือนก่อน +1

    ขอขอบคุณมากๆนะคะคุณหมอ ที่ย่อยเรื่องที่ฟังดูยากให้เข้าใจง่าย

  • @ภาวิณีพลายละมูล
    @ภาวิณีพลายละมูล ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีดีค่ะอาจารย์๋หมอ
    ขอบพระคุณ ฟังแล้วดีมาก ๆ
    ค่ะ 🙏👍

  • @MADAOKUNG
    @MADAOKUNG 11 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่ทำคลิปนี้ เข้าใจอะไรๆขึ้นเยอะมาก

  • @sangduanbarnes6102
    @sangduanbarnes6102 ปีที่แล้ว +1

    Thank you. My morning routine while driving to work. Listening to your video. I can't watch because I am driving. 😂😂😂😂

  • @kwanrawee616
    @kwanrawee616 ปีที่แล้ว +1

    แปลกนะคะสารแห่งความสุข ร่างกายกลับ
    ปฏิเสธเพราะกลัวเซลล์ตาย
    แต่พอความเศร้าความทุกข์กลับอยู่ยาวเรื่อรังสะสมได้นานเซลล์ไม่รีบตายเหมือนตอนมีความสุข
    อย่างคำที่ว่า ความสุขอยู่ไม่นาน แต่ความทุกข์กลับยาวนาน

  • @DutsadeeDannarin
    @DutsadeeDannarin ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอที่พูดเรื่องนี้นะคะ เป็นการกระตุ้นสติเรื่องการให้ได้ดีมากๆค่ะ

  • @การพยาบาลชุมชนธัญญารักษ์แม่ฮ่อ

    ขออนุญาตนำความรู้ไปใช้ประโยชน์กับการดูแลผู้ป่วยนะครับ ขอบคุณครับ

  • @tanapol3s
    @tanapol3s ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้ก็ได้ เซโรโทรนิน

  • @Chid624
    @Chid624 ปีที่แล้ว +1

    คุณหมออธิบายได้เข้าใจอย่างชัดเจนค่ะ ขอบคุณมากค่ะ จะนำไปปรับใช้ค่ะ

  • @rewat9496
    @rewat9496 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณมากครับ สำหรับสาระดีๆครับ

  • @chantranoncharoenkidkachon9406
    @chantranoncharoenkidkachon9406 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ พยายามเรียนรู้กับตัวเอง ยืนยันอีกเสียงว่า เราต้องทำประโยชน์ให้ทั้งตัวเราเองและคนรอบข้าง เห็นภาพชัดเจนเลยค่ะพี่คุณหมอเล่าให้ฟัง

  • @mintkanyarat6388
    @mintkanyarat6388 ปีที่แล้ว +1

    รักนะคะ❤

  • @Maria-nf3tw
    @Maria-nf3tw ปีที่แล้ว +3

    อยากทราบเรื่องเทรนด์ Dopamine detox ที่ฝรั่งฮิตกันค่ะว่าช่วยได้รึเปล่า ว่าจะลองทำดูค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      ก็ลองดูครับ ถ้าไม่ลำบากไม่สุดโต่ง ไม่อันตรายสามารถลองได้ครับ แต่ถ้านอกเหนือไปจากนี้ไม่ควรครับ

  • @liverinter84
    @liverinter84 ปีที่แล้ว +1

    คุณหมอพูดได้ดีมากเลยครับชอบtopicนี้มากๆ ขอบคุณนะครับ

  • @PJK19
    @PJK19 ปีที่แล้ว

    ชอบครับ เรื่องนี้ พอดีเคยอ่านหนังสือ พีระมิดสามสุข แล้วชอบ พอมาฟังคุณหมออธิบายอีกที เข้าใจมากขึ้นครับ ❤

  • @Fong14
    @Fong14 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอมากคะ กำลังมีปัญหาเรื่องนี้เลยคะ 🙏🙏😊😊

  • @ThePlaceboPharmacist
    @ThePlaceboPharmacist ปีที่แล้ว +8

    ขอบคุณสำหรับคลิปนี้ มาทันเวลา Flow Cortisol หลั่งไหลออกมาทัวรางกายพอดีค่ะ
    ช่วงหยุดยาวนอนหลับทั้งวันไม่ได้ทำงานดังที่ต้องการไว้ได้เลย
    มันเครียดโดยไม่รู้ตัว ...คราวนี้เลยต้องมาเอ็นดูตัวเองก่อน ฟังเสัยงร่างกายตัวเองก่อนค่ะ
    เหนื่อยมากสิเนอะ เหนื่อยก็พักจ้าาา....พอบอกตัวเองอย่างนี้ได้ มันก็ Relax มากขึ้น แล้วสมองถึงเริ่มเปิด ...หายปวดหัว
    แล้วมานั่งทบทวนว่าอะไรทำให้นำเท้าเข้าสู่วังวนของ cortisol นี้
    ...หมอแทนพูดถึงน้ำตาลพอดี เลยถึงบางอ้อค่ะ หยุดกินหวาน กินอาหารสุขภาพมาได้สักพัก เกิดตะบะแตกอยากกิน ลาเต้ ชาเขียว ประมาณว่าให้ความสุขตัวเองหลังจากทำงานหนักมาแล้ว คงไม่เป็นไรหรอกแค่ 2-3 วัน...แต่มารู้ตัวอีกทีว่าไหลเข้าสู่วงจร Cortisol มาหลายวันต่อเนื่องเลย และมันไม่อยากทำอะไรจริง ๆ ค่ะ motivation/creative อะไรๆ หายหมดสิ้น
    ขอขอบคุณ อ.หมอแทน อีกครั้งค่ะ ที่มาเตือนสติเรื่อง Dopamine addict อีกครั้ง
    ปล.อาหารที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดี มีผลต่อสภาวะจิตใจจริง ๆ ค่ะ ใครไม่รู้จะเริ่มปรับความคิดบวกจากตรงไหน แนะนำให้ปรับอาหารเป็น Plant base Whole Food นะคะ...มันดีต่อใจจริงๆ ค่ะ

  • @jakmaajomkon.5211
    @jakmaajomkon.5211 ปีที่แล้ว +2

    Cool!. Beautiful work

  • @oilovetaam
    @oilovetaam ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ป่วยเป็นแพนิคค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      ลองดูคลิปสองอันนี้ครับ
      1) th-cam.com/video/WltUg0FfcfY/w-d-xo.html
      2) th-cam.com/video/a-ZMA3hDsbk/w-d-xo.html

  • @ekkarinkunopasvorakul4058
    @ekkarinkunopasvorakul4058 12 วันที่ผ่านมา

    อยากให้อาจารย์ ช่วยทำ คลิปของ oxytocin ด้วยครับ

  • @emchuen1216
    @emchuen1216 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีครับ ผมติดตามอ. มาหลายคลิปมาก น่าสนใจทั้งนั้น พอฟังคลิปนี้ตอนท้าย ที่ อ. บอกว่าบางคนมี่เซราโทนินมากจนเป็นออทิสติก และมีวิธีแก้ ขอถามครับเพราะลูกชายผมเป็นออทิสติก เป็นแต่เด็ก ตอนนี้อายุจะสามสิบแล้ว พอมีวิธีแก้ไขไม๊ครับ😂

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      ไปหาหมอจิตเวชครับ มันแก้ได้แต่ไม่หายสนิทเหมือนที่ใครๆอยากให้เป็นครับ

    • @emchuen1216
      @emchuen1216 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณครับ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 ปีที่แล้ว

    สวัสดีค่ะอจ.หมอคะอยากขอให้อจ.หมอพูดถึงเวลาที่สมองมีความรักกับอกหักมีอะไรเกิดขึ้นกับสมองบ้างครั้งเกี่ยวกับสารสื่อประสาทต่างๆค่ะ😅🙏ขอบคุณมากค่ะ

  • @ธัญวัลย์ไกรรวีคณภัทร์

    แล้วอ็นโดรฟิน ล่ะคะคุณหมอคือ อะไรคะ ขอบคุณความรู้ดีๆมากๆนะคะ เป็นประโยชน์มากกกกค่ะ🙏🙏👍

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      คือฮอร์โมนที่มีฤทธิ์คล้ายฝิ่น ลดความเจ็บปวด และทำให้มีความสุขครับ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali ปีที่แล้ว +2

    😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

  • @chaweewanbierly5044
    @chaweewanbierly5044 ปีที่แล้ว +1

    Good morning Ka Doctor

  • @Pianpat
    @Pianpat ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากขึ้นเยอะเลยครับ

  • @rdiddec3632
    @rdiddec3632 ปีที่แล้ว

    คุ้นๆ ฆารวาสธรรม ท่านว่าไว้
    " ไม่พึงบริโภคของอหร่อย แต่ผู้เดียว"
    คือการลดโดปามีน โดนการเสพน้อยๆ (กินไม่เต็ม100) แล้วไปเพิ่ม เซโลโทนิน โดยการแบ่งบัน😋

  • @Bhudtarn
    @Bhudtarn ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ ที่ช่วยให้นึกถึงความสุขที่เคยมี

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 ปีที่แล้ว

    สวัสดีค่ะอจ.หมอคะงานจิตอาสาทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็เป็นการสร้างความสุขระยะยาวด้วยใช่ไหมคะ😊

  • @puiryba333
    @puiryba333 ปีที่แล้ว +1

    🙏🙏🙏ขอบคุณมากๆนะคะ❤😊🌈

  • @MAYFULNESS
    @MAYFULNESS 9 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณครับ 🙏

  • @บัณฑูรเล็กประเสริฐ

    ขอบคุณคุณหมอ สำหรับความรู้ครับ

  • @YTi-lm4eh
    @YTi-lm4eh หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณคุณหมอมากครับ

  • @somsakchimrak9143
    @somsakchimrak9143 ปีที่แล้ว +1

    ผมฟังแล้วต้องจดตามเลยครับ ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      หรืออ่านจากคอมเม้นท์ที่ปักหมุดก็ได้นะคะ ถอดเนื้อหาคำบรรยายของอาจารย์ไว้เลยค่ะ

  • @Kiomug
    @Kiomug ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีครับ รบกวนคุณหมอช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับ Beta Glucan หน่อยได้ไหมครับ ผมหาอ่านหลายที่เเล้วเห็นเเต่ว่ามีประโยชน์ถ้าใช้คู่กับการทำคีโมน่ะครับ

  • @zos_nap7056
    @zos_nap7056 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าเป็นไปได้อยากให้ช่วยวิเคราะห์โรคซึมเศร้าโดยละเอียดครับ มีความเกี่ยวข้องกับโดปามีนบ้างไหม
    รวมถึงความต่างระหว่างโรคซึมเศร้าและภาวะสิ้นยินดี
    ยังมีสาเหตุของโรคอื่นนอกจากการลดของเซโรโทนินเพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      มีครับและมีความสำคัญที่การมองโลกด้วย ถ้ามองโลกไม่ดี คิดลบ โทษนั่นโทษนี่ ต่อให้กินยาก็จะไม่หายขาดครับ

  • @pattyRS
    @pattyRS ปีที่แล้ว +1

    มันจะเหมือนเรามีความสุขจากการดูหนัง อ่านนิยายไหมคะ คุณหมอ ช่วยกระตุ้นให้เรามีความสุข

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      ประมาณนั้นครับ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny ปีที่แล้ว +2

    คุณหมอคะ การที่มีน้ำหอม 1 ขวด ไม่พอ ต้องซื้อเพิ่มเรื่อยๆ เป็นเรื่องโดพามีนไหมคะ
    พอมีน้ำหอมขวดใหม่ แรกๆจะเห่อมาก หอมมาก แต่พอใช้ไปนานๆ เริ่มชิน และชอบน้อยลงเรื่อยๆ
    ก็อยากหากลิ่นใหม่มาเพิ่มอีกเรื่อยๆ
    แปลว่าโดพามีนจากน้ำหอมขวดแรกหายไปแล้วหรือเปล่าคะ
    แต่เราก็สร้างใหม่ได้จากการที่นานๆ กลับมาใช้มันอีกที ก็ได้ความสุขกลับมาค่ะ
    ถ้าเราไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เรื่อยๆ แต่เราหาความสุขระยะยาวจากน้ำหอมที่มีอยู่ แบบนี้โอเคไหมคะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +4

      อาจจะมั้งครับ แต่จริงๆการคิดมากคิดเยอะเกินไปมันไม่ได้อะไรหรอกครับ

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan ปีที่แล้ว

      น้องฟังคุณหมอแล้ว ไม่ต้องทำตามให้ถูกต้อง 100% ก็ได้ครับ (เฉพาะในคลิปนี้เท่านั้น). จากคำถาม ทำให้รู้ว่าน้องคิดวนไปวนมาจนสับสน กังวลไปว่าตัวเองได้ทำถูกต้องตามที่คุณหมอพูดหรือเปล่า. ถ้ามีขวดแรก หอม ใช้ไปแล้วเคยชิน ทำให้รู้สึกไม่ค่อยหอมเลย ไปซื้อขวดใหม่ หอม ใช้ไปแล้วเคยชิน ทำให้รู้สึกไม่ค่อยหอมเลย ไปซื้อใหม่ วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ = กระตุ้นโดพามีน. ถ้ามีขวดเดียวหรือสองขวดสลับกันใช้ หรือขวดเดียวนานๆใช้ที = ไม่กระตุ้นโดพามีน.
      สรุป ควรหาความสุขให้ตัวเองบ้าง แต่อย่าเสพติดความสุขนั้นจนเกินไปครับ. ประมาณนี้ครับ คิดว่าน่าจะถูก พอดีไม่ได้เรียนสูง แต่รู้ได้ด้วยตัวเอง.

  • @vee1749
    @vee1749 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณคุณหมอมากๆค่ะ

  • @sriratdecha8809
    @sriratdecha8809 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ!

  • @nuengt4707
    @nuengt4707 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 ปีที่แล้ว

    😊ขอบคุณอจ.หมอมากค่ะ อจ.หมออธิบายเปรียบเทียบทำให้เข้าใจสารสื่อประสาท
    3อย่างนี้มากขึ้นค่ะ😊
    👍👍

  • @MrSssseo
    @MrSssseo ปีที่แล้ว +1

    สุดยอดเลยครับคลิปนี้

  • @shunacho4064
    @shunacho4064 ปีที่แล้ว +1

    ชอบคลิปนี้มาก ขอบคุณมากค่ะ

  • @การการ-ป7ฮ
    @การการ-ป7ฮ ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับคุณหมอ.ฟังเรื่องนี้แล้วรู้สึกเหมือนถูกสารเคมีในสมองหลอกลวงไปวันๆเลยครับ

  • @cbuapetch7322
    @cbuapetch7322 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ดิฉันอยากรบกวนถามคุณหมอ ดิฉันมีอาการเหงื่อออกหัวเปียกเหมือนเราสระผมเลยค่ะ ฉันกลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจไปหาหมอตรวจแล้วก็ไม่ใช่ หมอก็ไม่ได้บอกว่าสาเหตุมาจากอะไรอยากฟังจากคุณหมอบ้างคะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว

      ถ้ามันออกแต่ที่หัวอย่างเดียวที่อื่นไม่ออกก็ไม่ได้อันตรายแล้วก็ไม่ได้เป็นอะไรด้วยครับ ถ้าต้องการแก้ไขควรต้องพบหมอผิวหนังครับ มันจะมียาฉีดที่ระงับการสร้างเหงื่อได้ครับ

  • @Dutchy_Inspire_Idea
    @Dutchy_Inspire_Idea 24 วันที่ผ่านมา

    ชอบคลิปนี้ ขอบคุณมากครับ

  • @liverpoolfowler7587
    @liverpoolfowler7587 ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณมากครับ

  • @sisspla_maneethathong
    @sisspla_maneethathong ปีที่แล้ว

    คุณหมอคะ รบกวนขอคำแนะนำในการเลิกเสพติดน้ำตาลกับกาแฟหน่อยค่ะ เพราะว่าหาวิธีมานานแล้วยังเลิกไม่ได้ทีนะค่ะ ตอนนี้เป็นSLE ด้วยอยากเลิก ดันมีแต่อยากจะทานเพิ่มขึ้น ๆอย่างที่คุณหมอบอกจริงๆ ขอขอบคุณคุณหมอล่วงหน้าค่ะ🙏

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan ปีที่แล้ว +1

      คุณหมอเคยบอกไว้ว่า ให้ค่อยๆลดปริมาณกาแฟครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      ค่อยๆลดทั้งคู่ครับ กาแฟอย่าดื่มรวดเดียวหมด ให้ค่อยๆจิบครับ และทุกอย่างอยู่ที่วินัยด้วยครับ

    • @sisspla_maneethathong
      @sisspla_maneethathong ปีที่แล้ว

      @@DrTany วิธีนี้ยังไม่เคยทดลองนะคะ ถ้าทำได้ระดับฮอร์โมนต่างๆน่าจะมีความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจน่าจะดีขึ้น แต่ละคลิปของคุณหมอดีนะคะมีประโยชน์ทำให้คนที่พยายามดูแลตัวเองได้ถูกต้องไม่ให้หลงเชื่ออะไรง่ายๆช่วยลดงานของคุณหมอที่ดูแลปจ.ลงได้เยอะเพราะมีความรู้มีความเข้าใจมากขึ้น คุณหมอปจ.ที่ดูแลอยู่ก็ดีใจที่ผลในการรักษาดีขึ้นค่ะเอาจริงๆเรื่องนี้ไม่เคยบอกคุณหมอปจ.ตัวนะคะ กลัวโดนห้ามทานค่ะ😅ขอขอบคุณคุณหมออีกครั้งนะคะที่แนะนำน่าจะออกจากการติดได้นะคะรอบนี้ค่ะ🙏

  • @WANWAnnzz
    @WANWAnnzz ปีที่แล้ว +1

    ฟังๆๆค่ะ