ทำไมความโน้มถ่วงถึงไม่ใช่แรง และไม่ใช่สนามโน้มถ่วง แต่เป็นภาพลวงตาอย่างหนึ่ง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 ก.ย. 2021
  • ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปกล่าวว่า ความโน้มถ่วง (gravity) ไม่ใช่แรง และไม่ใช่สนามโน้มถ่วง (gravitational field) แต่เป็นภาพลวงตาอย่างหนึ่ง
    ไอสไตน์เคยพูดไว้ว่าความคิดที่ทำให้เขารู้สึกมีความสุขที่สุดก็คือ การจินตนาการให้มีชายคนหนึ่งร่วงลงจากหลังคาบ้าน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความสุขที่ได้รับจากความโชคร้ายของคนอื่นเสียจริง แต่มโนทัศน์เช่นนี้ทำให้เขาตระหนักได้ว่า ขณะที่ชายคนดังกล่าวกำลังร่วงลงมาอยู่ เขาจะไม่รู้สึกถึงน้ำหนักของตัวเอง หรือจะกล่าวได้ว่าเขาอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก รวมถึงทุกๆ สิ่งที่กำลังร่วงหล่นตามเขาไปด้วย ความรู้สึกดังกล่าวสามารถเทียบเท่าได้กับการที่คุณลอยตัวอยู่ในอวกาศที่ไม่ได้อยู่ใกล้กับมวลสารขนาดใหญ่ใดๆ รวมถึงภายในจรวดอวกาศที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ด้วยเช่นกัน ภายในจรวดแห่งนี้คุณสามารถรับรู้ได้ถึงภาวะไร้น้ำหนัก แม้ว่าจรวดกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ค่าหนึ่งอยู่ก็ตาม เราสามารถนิยามถึงการเคลื่อนที่เล็กๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ภายในในจรวดนี้ได้เหมือนกับ “ผู้สังเกตการณ์เฉื่อย” (Inertial observer) ในทุกๆ ที่ โดยที่ผู้สังเกตการณ์เฉื่อยทุกคนจะไม่มีความเร่ง และไม่ได้อยู่ภายใต้สนามโน้มถ่วงใดๆ ในสภาพเช่นนี้กฎฟิสิกส์ต่างๆ จะเหมือนกัน นั่นหมายความว่าภายในจรวดแห่งนี้ คุณจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่ามันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกับสภาพที่ชายคนแรกกำลังร่วงหล่นลงมา
    “สสารเป็นตัวบอกให้กาลอวกาศโค้งได้อย่างไร และขณะเดียวกันกาลอวกาศก็เป็นตัวบอกว่าวัตถุจะเคลื่อนที่อย่างไร” - จอห์น วีลเลอร์
    “Matter tells spacetime how to curve; spacetime tells matter how to move.” - John wheeler
    อ่านต่อได้ที่บทความ ทำไมความโน้มถ่วงถึงไม่ใช่แรง แต่เป็นภาพลวงตาอย่างหนึ่ง: www.sciways.co/why-is-gravity...
    หากชอบแนวทางดำเนินงานของช่อง สามารถสนับสนุน หรือโดเนทได้ที่
    1) สมัครเป็นสมาชิกช่อง
    / @sciways
    2) True Wallet (ทรูวอเลท), PromptPay (พร้อมเพย์) หรือ LINE PAY (ไลน์เพย์)
    tipme.in.th/sciwayslife
    3) รับโดเนทผ่าน PayPal (เพย์แพล)
    streamlabs.com/sciways1/tip
    ___________________________________
    [ติดตามข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้จาก]
    เพจเฟสบุ๊ค: / science21s
    เว็บไซต์: www.sciways.co/
    Blogger: sciways.blogspot.com/
    Blockdit: www.blockdit.com/sciways
    Medium: / sciways
    ยูทูป: / sciways
    ___________________________________
    [สารบัญวิดีโอ]
    ___________________________________
    [ดนตรีประกอบ]
    Interstellar Mood โดย Nico Staf
    [แหล่งอ้างอิง]
    Why Gravity is NOT a Force - • Why Gravity is NOT a F...
    #ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป #แรงโน้มถ่วง #กาลอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 321

  • @YahReAWanarom
    @YahReAWanarom 2 ปีที่แล้ว +2

    เฉียบมาก อธิบายเข้าใจง่ายมากครับ

  • @user-mr5kw5qw4r
    @user-mr5kw5qw4r 2 ปีที่แล้ว +3

    Thanks you Sciways admin 😊

  • @curiosity-channel
    @curiosity-channel 2 ปีที่แล้ว +34

    อธิบายได้ดีมากเลยครับ

    • @kae_karasu
      @kae_karasu 2 ปีที่แล้ว +1

      รอให้พี่ทำคลิปเกี่ยวกับ การบีมแบบในหนังสตาร์เทรค ในมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์อยู่นะครับ

    • @ggkt8546
      @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว

      ว้าว

    • @thanadonauppanong327
      @thanadonauppanong327 2 ปีที่แล้ว

      ของ่ายกว่านี้ครับ 5555

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว +2

      แรงโน้มถ่วง คือการบิดเบี้ยวของมิติ
      ไม่ใช่แรง
      ตัวเรานั่งบนเก้าอี้ก็คือตัวเรากำลังเร่งอยู่
      ส่วนตัวเราตก คือ ตัวเราอยู่เฉยๆ พื้นต่างหากที่กำลังวิ่งเร่งมาชนเรา
      เอาง่ายๆถ้าไม่อยากกระแทกพื้นก็ต้องเร่งไปกับมัน จะได้ไม่ชน
      พูดแบบภาษาชาวบ้านจะได้เข้าใจง่ายๆครับ

    • @pakkapaoo7072
      @pakkapaoo7072 2 ปีที่แล้ว

      พี่ทำเรื่องแรงดึงดูดของหลุมดำด้วยครับว่ามันถูกจัดอยู่ในแรงดึงดูดรูปแบบไหนครับ

  • @dr.dookkeneji6201
    @dr.dookkeneji6201 2 ปีที่แล้ว +2

    การบรรยายในคลิปเรื่องนี้ดีมากครับ ซึ่งเป็นแบบชี้แจงเปรียบเทียบอย่างเข้าใจได้ง่ายโดยใช้เหตุผลที่สัมผัสได้

  • @suthat6538
    @suthat6538 2 ปีที่แล้ว +1

    ชอบความรู้แบบนี้มากครับ

  • @paponpapolo9464
    @paponpapolo9464 2 ปีที่แล้ว

    มาฟังเป็นครั้งแรกครับ ชอบมากครับ

  • @infinite2073
    @infinite2073 2 ปีที่แล้ว +1

    น่าสนใจ ต้องหาอ่านเพิ่มเติม...😁

  • @nightking1607
    @nightking1607 2 ปีที่แล้ว +24

    ผมคิดเอาเองว่าทุกอย่างที่ผ่านเรตินาผมว่าเพี้ยนหมด ยกตัวอย่างสีของดวงดาวที่แสงจริงๆไม่ใช่ที่ตาเห็น

    • @nirvanaoffantasy2845
      @nirvanaoffantasy2845 2 ปีที่แล้ว

      คิดเหมือนผมเลย ผมเห็นด้วย

    • @doorzaa
      @doorzaa 2 ปีที่แล้ว +2

      สีที่คนมองเห็นต่างกันกับสีที่สัตว์มองเห็น

    • @Carbondioxzide
      @Carbondioxzide 2 ปีที่แล้ว +3

      สเปคตรัมแสงที่เรามองเห็นมันก็มีแค่นี้ละครับผ่านเรติน่าคือจริงแท้ที่สุดแล้ว จะมากกว่าเหนือกว่านี้ไม่ได้

  • @dr.dookkeneji6201
    @dr.dookkeneji6201 2 ปีที่แล้ว +19

    เหตุที่คนทั่วไปฟังแล้วยังนึกไม่ออก ก็เนื่องจาก เราจะต้องรู้จักคำว่า สนามแรงโน้มถ่วง พลังงาน มวลสสาร แรงเฉื่อย ความสัมพันธภาพ อย่างนี้เป็นต้นมาเป็นพื้นฐานก่อน ถ้าผู้ที่เรียนฟิสิคมา จะรู้ที่มา จะเข้าใจได้ไม่ยากครับ

    • @hackshacks4474
      @hackshacks4474 2 ปีที่แล้ว +1

      - *การผ่านสู่จักรวาลตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน* หากโยนวัตถุสูงขึ้นบนฟ้าจำเป็นต้องใช้แรงส่ง ทว่าน้ำหนักของวัตถุกลับฉุดให้มันลอยตัวขึ้นช้าลง กระทั่งถึงจุดที่แรงส่งสู้แรงดึงดูดจากแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ไหวสุดท้ายวัตถุจึงตกกลับลงสู่พื้น หากต้องการให้วัตถุลอยสูงขึ้นกระทั่งหลุดออกจากแรงดึงดูดของโลกซึ่งหมายถึงต้องส่งวัตถุสูงขึ้นไปถึง 100 กิโลเมตร จึงจำเป็นที่แรงส่งต้องมากมหาศาลและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์พบว่าพลังส่วนแรกที่จำเป็นต้องใช้คือพลังต้านแรงโน้มถ่วง น้ำหนักวัตถุมากจึงต้องใช้พลังมาก อีกพลังหนึ่งคือพลังสร้างความเร็ว สองพลังรวมกันแล้วหากทำให้วัตถุเคลื่อนออกไปด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเนื่องกระทั่งพ้น 100 กิโลเมตรจากพื้นโลก วัตถุจะทะยานออกไปจนหลุดพ้นแรงโน้มถ่วงของโลก นี่คือหลักการยิงจรวดออกสู่วงโคจรที่ทำกันอยู่ *“โอ้ชุมนุมแห่งญินและมนุษย์ทั้งหลายเอ๋ย หากพวกเจ้ามีความสามารถที่จะผ่านไปให้พ้นขอบฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ได้ ก็จงผ่านไปให้พ้นเถิด แต่ว่าพวกเจ้าไม่สามารถที่จะผ่านไปให้พ้นได้เว้นแต่ด้วยพลัง”* อัรรอหฺมาน 55:33 นักวิชาการศาสนาอิสลามยุคใหม่เข้าใจวิทยาการด้านฟิสิกส์มากขึ้นมีความซาบซึ้งกับคำที่ว่าด้วย *“พลัง”* นี้มาก ในอัลกุรอานวรรคที่กล่าวถึงพลังที่ว่านี้ใช้คำว่า *“ซุลฏอน” (سُلۡطَـٰنٍ۬)* หมายถึง​ *พลัง แรง อำนาจ สิทธิ์* อัลกุรอานกล่าวว่าหากมนุษย์และญินมีพลังเช่นว่านี้ย่อมมีสิทธิ์ที่จะก้าวผ่านพ้นเส้นกั้นระหว่างฟ้าและแผ่นดินโดยอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมอบสิทธิ์นั้นไว้แล้ว ถึงวันนี้จึงได้เห็นมนุษย์ใช้พลังปัญญาและกายภาพส่งจรวดและยานอวกาศออกสำรวจจักรวาล เป็นอนุมัติที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงมอบให้ตามที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน *สิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ตรัสไว้ย่อมเป็นสัจจะเสมอ*

    • @elonbruce5564
      @elonbruce5564 2 ปีที่แล้ว +1

      ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมครับว่าโลกของเรามันมีความเร่งเหมือนจรวดที่ยกตัวอย่างยังไง โลกของเรามันเคลื่อนที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเอง ส่วนจรวดมันเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง แล้วเอามาเปรียบเทียบบอกว่ามันเหมือนกัน มันเหมือนกันได้ไงครับในเมื่อมันเคลื่อนที่ไม่เหมือนกัน

    • @user-tn3ir2ze1s
      @user-tn3ir2ze1s 2 ปีที่แล้ว +4

      @@elonbruce5564 มันคลั่งครับอะไรๆก็บอกอัลกุรอาน

    • @eminem9466
      @eminem9466 ปีที่แล้ว +5

      @@elonbruce5564 โลกไม่ได้หมุนแค่รอบดวงอาทิตย์ มันเดินทางไปกับระบบสุริยะ

  • @tincubus
    @tincubus 2 ปีที่แล้ว

    channel คุณภาพมากครับ

  • @sarratwng9655
    @sarratwng9655 2 ปีที่แล้ว +8

    เป็นเรื่องที่เข้าใจยากเเต่ว่าน่าสนใจสุดๆ
    ดีมากที่ธรรมชาติของจักรวานสร้างให้เราเกิดมาเเละได้รับรู้ ชีวิตเรามีค่า ควรใช้มันให้เกิดประโยชมากที่สุด

  • @inoobr.4016
    @inoobr.4016 2 ปีที่แล้ว +1

    ไอสไตร์เขาคือสุดยอด แต่เขาเกิดมาผิดเวลาและสถานที่
    ถ้าเกิดมายุคนี้ มนุษย์คงเดินทางไปกลับดาวอังคาร...
    เหมือนการเดินทางไปทำงานตอนเช้าและกลับบ้านตอนเย็น

  • @petermcmail2691
    @petermcmail2691 2 ปีที่แล้ว

    รอนักวิทย์คิดเครื่องantigravity ให้ได้ คงเที่ยวกันเพลิน

  • @johnharvey8223
    @johnharvey8223 2 ปีที่แล้ว +1

    อีกช่องชื่อช่องอะไรครับ? เมื่อก่อนเคยดูอยู่ จะเข้าไปติดตามครับ👍

  • @ER-sv1np
    @ER-sv1np 2 ปีที่แล้ว +8

    1.ขนนกและลูกเหล็ก ตกลงมาพร้อมกัน นั่นคือ การตก ไม่ขึ้นกับ มวล
    2. แต่ ทำไม space X ต้องใช้พลังงานมากขึ้น เมื่อ บรรทุก น้ำหนักมากขึ้น ในการ ขึ้นไปอวกาศ ?

    • @MikeSuperLui
      @MikeSuperLui 2 ปีที่แล้ว +9

      จริงๆแล้วมันละประเด็นกันครับ
      1. ขนนกและลูกเหล็กตกพร้อมกัน เป็นการตกอย่างเสรีใน "สุญญากาศ" คือไม่มีแรงต้านจากอากาศครับ คำว่า " การตกพร้อมกัน " หมายความว่า ทั้งขนนกและลูกเหล็กมี " ความเร่ง " เท่ากัน ซึ่งไม่ขึ้นกับมวล หรือ น้ำหนัก แต่ไม่ได้บอกว่าทั้งลูกเหล็กและขนนกไม่มีน้ำหนัก (ถ้าลองเอามือไปยกดูจะพบว่าลูกเหล็กยังหนักกว่าขนนกปกติ) เพียงแต่ตอนมันตกลงมา น้ำหนัก กับ มวล มันหักล้างกันไปพอดี (ซึ่งตามเซ้นแล้วเหมือนมันไม่มีน้ำหนัก แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ จริงๆแล้ว น้ำหนักกับมวลมันเป็นสัดส่วนต่อกัน (มวลมาก น้ำหนักมาก) (มวลน้อย น้ำำหนักน้อย) แล้วหักล้างกันไปหมดครับ ตามกฏนิวตัน F=ma)
      2. ส่วนการปล่อยจรวดของ space X เป็นการเอาชนะแรงโน้มถ่วง โดยใช้หลัก แรงกิริยา=แรงปฏิกิริยา ซึ่งแน่นอนว่า แรงต้องขึ้นกับน้ำหนักของจรวดอยู่แล้ว ยิ่งน้ำหนักมาก แรงก็มากขึ้นเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วง (การปล่อยจรวดยังอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงครับ ถึงแม้จะอยู่ในสุญญากาศ จรวดก็ต้องใช้เชื้อเพลิงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงอยู่ดี)
      ข้อสังเกตุคือ : เราอาจจะสับสนระหว่าง " สุญญากาศ(ไม่มีอากาศ แต่มีน้ำหนัก(ยังอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วง))" กับสภาพไร้น้ำหนัก (ไม่มีแรงโน้มถ่วง ไม่มีน้ำหนัก วัตถุลอยได้)

    • @ER-sv1np
      @ER-sv1np 2 ปีที่แล้ว

      @@MikeSuperLui โอ้ ขอบคุณ ที่มาอธิบายให้ครับ แต่ก็ยัง งง อยู่ดี เรียนมาตั้งแต่ มปลาย 555
      Eistein เข้าใจได้ยังไงเนี่ย คิดได้ยังไง ขนาดฟังซ้ำหลายรอบ ยัง งง
      ขออ่านซ้ำๆ ใหม่อีก ครับ พยายาม เข้าใจอยู่

    • @ER-sv1np
      @ER-sv1np 2 ปีที่แล้ว +1

      @@MikeSuperLui แสดงว่าแรงโน้มถ่วง มันมีจริงใช่ไหมครับ เพราะเป็น admin บอกว่า แรงโน้มถ่วงไม่มีจริง เป็นแค่ อวกาศบิด

    • @MikeSuperLui
      @MikeSuperLui 2 ปีที่แล้ว +3

      @@ER-sv1np อ่อ good question ผมอธิบายในมุมมองของนิวตันครับ ซึ่งมันตรงกับคอมมอนเซ้นและง่ายกว่ามาก แต่ถ้าจะเอาคำอธิบายในมุมมองของสัมพัทธภาพ อันนี้ยุ่งครับ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันเอาตรงๆเลย TT เพราะ หลักการทำงานของจรวดมันใช้กฎของนิวตันทั้งดุ้นเลย ถ้าถามความคิดผมนะครับ สัมพัทธภาพบอกว่า เรากำลังตกอย่างเสรี ตามเส้นทางจีโอเดสิก ที่เกิดจากกาลอวกาศโค้ง อันเนื่องจากมวลของโลก ซึ่งคอนเซปเรื่องแรงเป็นอันตกไป เหมือนเราตกไปในหลุมของอวกาศที่โลกทำขึ้นมาทำนองนั้น หน้าที่ของจรวดคือ ทำให้เราออกมาจากหลุมนั้น เหมือนเราพยายามที่จะย้อนศรเส้นจีโอเดสิก ตรงนี้เราอาจจะต้องใช้พลังงานในการออกมาจากหลุม แต่ปัญหามันอยู่ที่เรื่องมวลของจรวด ยิ่งมวลมาก พลังงานที่ใช้ก็มาก อันนี้คือข้อเท็จจริง ทำไมต้องใช้พลังงานมากขึ้น ? ถ้าใช้คอนเสร็ปเรื่องน้ำหนักอธิบายไม่ได้ อันนี้ไม่มีไอเดียเลยครับ ไปหาหนังสืออ่านแปบครับ แต่สุดท้ายแล้วมันก็ขึ้นกับว่า เราใช้งานในระดับไหน นิวตันอธิบายได้ดีในระดับชีวิตประจำวัน แต่เฟลในระดับจักรวาล ตรงนี้ที่สัมพัทธภาพเข้ามามีบทบาท หรือทำไมเราไม่ใช้ควอนตัมในการอธิบายฟิสิกส์ของสิ่งรอบตัวเรา เพราะผลจากควอนตัมในชีวิตประจำวัน เพราะมันน้อยมาก และปรากฏการ์ณของควอนตัมมันไม่เมกเซ้นเลย เช่น อนุภาคอยู่สองที่ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เราจึงไม่ต้องการคำอธิบายเรื่องพวกนี้ในชีวิประจำวันครับ ฮ่าๆ พยายามแถอยู่ครับ

    • @ER-sv1np
      @ER-sv1np 2 ปีที่แล้ว +2

      @@MikeSuperLui ใช่ครับ นั่นแหละที่สงสัย
      ถ้าแรงโน้มถ่วงมีจริง มวลน่าจะมีผล เพราะตอนขึ้นยังมีผล แต่ทำไม ตอนลง ไม่มีผล
      และตอนยาน อยูบนอวกาศ ที่บินเข้าใกล้โลก วัตถุที่ลอยในยาน ควรถูกดูด ติดพนังยานอวกาศไหม เพราะมันมีแรงที่ดึงอยู่จริง ไม่น่าจะลอยอยู่กับที่

  • @user-up3st8yb4j
    @user-up3st8yb4j 2 ปีที่แล้ว +1

    มาแล้วววว

  • @steamtechnicolor461
    @steamtechnicolor461 ปีที่แล้ว +1

    เป็นความโชคดีที่โลกเราไม่ได้หมุนรอบตัวเองด้วยอัตราไม่คงที่ เดี๋ยวเร่งเดี๋ยวผ่อน เดี๋ยวหยุด ไม่อย่างนั้นคงจะเกิดอภิมหาแผ่นดินไหวขึ้นพร้อมกันทั่วโลกแน่ๆ โดยเฉพาะถ้าโลกเกิดหยุดหมุนอย่างฉับพลันทันที สิ่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกที่ไม่ได้ถูกยึดไว้อย่างแน่นหนาพอจะถูกแรงเหวี่ยงมหาศาลกระเด็นลอยข้ามไปตกอีกซีกโลกหนึ่ง เพราะเรากำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1,674.4 กม.ต่อ ชม. อยู่ตลอดเวลาและตลอดชีพ ตั้งแต่เราเป็นวุ้นในครรภ์เราก็เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่านั้นมาตลอด ดังนั้นเราเลยเคยชินจนไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนที่ของโลกขณะหมุนรอบตัวเองเลย

  • @MrBarbarborbor
    @MrBarbarborbor 2 ปีที่แล้ว +4

    มนุษย์​คิดว่าโลกกลม ดาวต่างๆกลม และเอกภพก็กลม
    ทั้งที่จริงทุกสิ่งอาจไม่กลม เพียงแค่เรารับรู้ได้แต่ตามกาลอวกาศ

  • @hlexjava
    @hlexjava 2 ปีที่แล้ว

    ตัวนี้แจ่มเลย สูดกาวลึกๆ ปิดไฟ แล้วดูยาวๆไป

  • @KingrpgNet
    @KingrpgNet 2 ปีที่แล้ว +3

    เพราะทุกบริเวณ​ของอวกาศไม่ได้ว่างเปล่า

    • @WattEnerrgy
      @WattEnerrgy 2 ปีที่แล้ว +3

      ในบริเวณใดๆในจักวาลจะมีค่าพลังงานอยู่ค่าหนึ่งเสมอเรียกว่าค่าพลังงานต่ำสุด ทำให้ไม่มีที่ว่างเปล่าแท้จริง ส่วนความโน้มถ่วงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มวลของวัตถุไปรบกวนสมดุลของพลังานนั้น

  • @fritolayii
    @fritolayii 5 หลายเดือนก่อน

    พอจะเข้าใจและจินตนาการตามได้ แต่ยากเกินกว่าจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ สิ่งที่สงสัยตอนนี้คือ มวล ส่งผลทำให้ กาลอวกาศ บิดเบี้ยวได้อย่างไร ส่งต่อแรงกันด้วยอะไร และกาลอวกาศคืออะไรหน้าตาเป็นยังไงมีมวลหรืออนุภาคหรือไม่

  • @aungkananienmongkol303
    @aungkananienmongkol303 2 ปีที่แล้ว +2

    ตกลงเราเครือนเข้าสู้เป้าหมาย
    หรือเป้าหมายเครือนเข้าสู้ตัวเรา
    การที่เราตกจากที่สู้หมายความว่า
    โลกพุ่งมาชนเรา ไม่ไช้เราชนโลก
    เมือเรากระโดก็เหมือนลอย
    อยู่กลางอวกาศ โดนโลกพุ่งชน
    ตากหาก

  • @user-kx5vp4bg7o
    @user-kx5vp4bg7o 8 หลายเดือนก่อน

    เพราะมีสิ่งหนึ่งไปเทียบกับสิ่งหนึ่ง เพราะมีสิ่งหนึ่งไปกระทบกับสิ่งหนึ่ง ดั่งอารมณ์ กับ ความรู้สึก

  • @thanaphotchannoom6667
    @thanaphotchannoom6667 2 ปีที่แล้ว

    ก่อนจบ น่ามีบทสรุป ที่พูดมาตั้งแต่ต้น

  • @skrufrnnigthdegrm2573
    @skrufrnnigthdegrm2573 2 ปีที่แล้ว +2

    ผมเล่นเกมนึง มองภายนอกตอนโครจอรรอบโลกหรือดาวเคราห์อื่น เส้นโครจรมันตรง เเต่พอซูมเส้นวงโครจร มันขยับอยู่ตลอดเลยไม่ตรง

  • @rattanapan4867
    @rattanapan4867 2 ปีที่แล้ว +1

    คิดว่าวิทยาศาสตร์น่าจะก้าวไปไกลกว่านี้มากแล้วแต่บางประเทศเก็บไว้เป็นความลับเพราะเหตุผลหลายๆอย่าง

  • @infarredpyro
    @infarredpyro 2 ปีที่แล้ว

    ว่างจะมาดู....

  • @user-hv1bt4yf3s
    @user-hv1bt4yf3s ปีที่แล้ว +1

    ผมเคยรู้สึกว่า(มือ)ข้างที่ถือโทรศัพท์ไม่มีน้ำหนักตอนที่คุยโทรศัพท์ในอารมณ์ที่โกรธมาก แต่อวัยวะส่วนอื่นรู้สึกปกติ อยากเข้าใจความหมายเชิงลึกมากคับ

  • @jojokujojo
    @jojokujojo 2 ปีที่แล้ว +2

    เราทุกคนต่างล่องลอยอยู่ในอวกาศ เพียงแค่ เราเดินทางพร้อมกับโลกก็เท่านั้น เมื่อไหร่ก็ตาม ที่มีวัตถุ หลุดจาก พื้นโลก มันก็ลอยอิสระในอวกาศ ยกตัวอย่างเช่น ผลแอปเปิ้ล ตอนมันหลุดจากขั้ว ผลแอปเปิ้ลไม่ได้ร่วงหล่นสู่พื้นโลก แต่เป็นพื้นโลกต่างหาก ที่เคลื่อนที่เข้าหาผลแอปเปิ้ล และในเวลาไม่ถึงวินาที โลกก็พาแอปเปิ้ลเคลื่อนที่ต่อไปในอวกาศ พร้อม ๆ กัน

    • @Anoi071
      @Anoi071 2 ปีที่แล้ว +1

      สอบถามนิดนึงครับ ถ้าเป็นพื้นโลกที่เคลื่อนที่เข้าหาผลแอปเปิ้ล ถ้าลูกแอปเปิ้ลที่อยู่ด้านตรงข้ามกันคนละฝั่งของโลกตกจากต้นพร้อมกันทำไมลูกแอปเปิ้ลถึงตกเข้าพื้นโลกทั้งคู่ครับ โลกเคลื่อนที่ไปสองทางพร้อมกันได้เหรอครับ?? @_@

    • @Anoi071
      @Anoi071 2 ปีที่แล้ว +1

      เจอคำตอบใน clip ต้นฉบับละครับ th-cam.com/video/XRr1kaXKBsU/w-d-xo.html

    • @utthorntothasik
      @utthorntothasik 2 ปีที่แล้ว

      โลกเคลื่อนที่360องศาครับคือทุกทาง ไม่ใช่สองทาง จึงสร้างภาพสเมือนว่าแอปเปิ้ลตกเข้าสู่พื้นโลก และเกิดขึ้นได้ทุกตำแหน่งบนพื้นโลก อันนี้ผมก็มั่วเอาครับอย่าเชื่อ

  • @369653555
    @369653555 5 หลายเดือนก่อน

    พูดง่ายๆ คือ การหมุน รอบตัวเองของโลก เป็นเห็ตุให้โลกดันเราไปข้างบน

  • @toniairsoftthai5153
    @toniairsoftthai5153 2 ปีที่แล้ว

    ตกบันไดแล้วเจ็บจริง คงไม่ลวงตาแล้วละครับ😂

  • @TheTigacat
    @TheTigacat 2 หลายเดือนก่อน

    เมื่อเขากระแทกลงกับพื้นเป็นแรงโน้มห่วงไหมล่ะครับ.... เรื่องเก่าๆ เล่าวนไปเรื่อยๆจากรุ่นสู่รุ่น

  • @realityprogressive4400
    @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว +5

    แรงโน้มถ่วงไม่ใช่แรงและเป็นแค่ภาพลวงตาเท่านั้นครับ
    เพราะว่าแรงปกติในขนาดที่เท่ากัน
    กระทำต่อมวล ที่มากจะได้ความเร่งน้อยกว่าแรงที่กระทำ
    ในขณะที่แรงกระทำ ต่อมวลน้อยที่น้อยกว่า จะได้ความเร่งที่มากกว่า
    แต่แรงโน้มถ่วงไม่ว่ากระทำต่อวัตถุ ที่มีมวลมากหรือน้อยจะได้ความเร่งเท่ากันเสมอ

    • @veranonchannel6761
      @veranonchannel6761 ปีที่แล้ว

      ไม่ใช่ครับ ที่มวลไม่มีผล มันมีคำอธิบายในสมการ ค่า m มันตัดกันได้ เพราะเราก็ดูดโลกเหมือนกัน ไม่ใช่แค่โลกดูดเรา

    • @MongkonchaiS-el4nr
      @MongkonchaiS-el4nr 10 หลายเดือนก่อน

      มันมีอะไรที่จะพิสูจน์ได้ว่ามีความเร่งเท่ากันหรอคับ

  • @sukhumkitdon3633
    @sukhumkitdon3633 ปีที่แล้ว

    เป็นการหดตัวของมีติ..หรือหลุมดำขนาดจิ๋วๆทีเกิดๆ ดับๆ ..ต่อเนื่อง.เป็น คลื่นแรง ความถี่.แบบ แม่เหล็กไฟฟ้า.

  • @budlamdo6845
    @budlamdo6845 ปีที่แล้ว

    ดนตรีในคลิปเหมือน รักไม่ยอมเปลียนแปลงเลยนะห่ะ

  • @Witaya0072
    @Witaya0072 9 หลายเดือนก่อน

    อะไรคือภาพลวงตา

  • @wiriyakwangkeaw4402
    @wiriyakwangkeaw4402 2 ปีที่แล้ว

    ช่องอื่นเขาทำแนวนี้และมาทีหลัง แต่คนติดตามเขาแสนแปด

  • @user-ni4nj3qb2k
    @user-ni4nj3qb2k 2 ปีที่แล้ว

    ขอให้ช่องโตไวๆยอดซับเยอะๆน่ะพี่ชาย ผมติดตามพี่มาจากช่องเก่าแล้วก็มาเห็นช่องใหม่พี่ตอนยอดซับ1000ต้นๆครับ

  • @user-sd8lh1cr3y
    @user-sd8lh1cr3y 2 ปีที่แล้ว +2

    เราอยู่ติดพื้น ไม่ใช่เพราะแรงโน้มถ่วง เป็นเราเคลื่อนที่ไปตามเส้นกาลเวลา โดยมีพื้นกั้นไม่ให้ลงไปต่อ งั้นทำไมกาลอวกาศจึงทำให้เราเคลื่อนที่ได้ล่ะ
    ไม่ใช่ไม่เข้าใจเรื่องที่กล่าวในคลิป แต่นึกสงสัยว่า ทำไมวัตถุ จึงเคลื่อนที่

    • @mourikogoro9709
      @mourikogoro9709 ปีที่แล้ว

      ต้องปูพื้นก่อนกว่า "กาลอวกาศ" ก็คือ "เวลา" กับ "อวกาศ" ที่รวมกันเป็นอันเดียว แยกกันไม่ได้ โดยที่ "เวลา" จะมีคุณสมบัติเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา ขณะที่ "อวกาศ" ก็คือที่ว่างซึ่งบิดโค้งและเคลื่อนไปพร้อมกับเวลา
      คุณถามว่า "ทำไมวัตถุจึงเคลื่อนที่" ผมขอให้คุณลองจินตนาการกลับกัน "วัตถุหยุดนิ่ง คืออะไร" ?
      สมมุติให้วัตถุ A หยุดนิ่งอยู่ในกาลอวกาศที่พิกัด (000, 000) ทว่ากาลอวกาศนั้นเคลื่อนที่ (โค้ง) ไปข้างหน้าตลอดเวลา ดังนั้นหากนิยามให้วัตถุหยุดนิ่งจะต้องอยู่ที่พิกัดเดิมตลอดเวลา วัตถุ A จะต้องไหล (เคลื่อนที่) ไปพร้อมกับกาลอวกาศ หากมันไม่ไหลตามอย่างพอดิบพอดี พิกัด (000, 000) จะออกห่างจากมันไปเรื่อยๆ
      ถึงตรงนี้คงพอมองออกว่า วัตถุเคลื่อนที่ ก็คือวัตถุที่ไม่ได้ไหลตามกาลอวกาศอย่างพอดิบพอดี กลับไปที่คำถามแรก "งั้นทำไมกาลอวกาศจึงทำให้เราเคลื่อนที่ได้ล่ะ" คำตอบคือ กาลอวกาศไม่ได้ทำอะไรนอกจากเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆของมัน ส่วนเราก็แค่ไหลไปพร้อมกับมัน คนที่กำลังร่วงจากตึก เขาไม่ได้กำลังโดนแรงโน้มถ่วงดึงลงมา แต่เขาไม่ได้ไหลไปในกาลอวกาศได้เท่าเทียมกับพื้นโลก เขาจึงไม่สามารถรักษาพิกัดความสูงเดิม (อิงจากพื้นโลก) ได้

    • @user-sd8lh1cr3y
      @user-sd8lh1cr3y ปีที่แล้ว

      @@mourikogoro9709 ในนิยามของคุณเปรียบเวลาเป็นสายพานที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถ้าเราจะอยู่กับที่ เราต้องออกแรงเดินไปข้างหลังสินะ
      ถ้าอธิบายแบบนั้นมันก็ดูสมเหตุผล เพราะตอนผมคอมเม้นผมมองว่ามันเป็นเส้นโค้ง โดยที่ดึงนิยามที่ว่า "เวลาเดินหน้าเสมอ" ออกไป

    • @mourikogoro9709
      @mourikogoro9709 ปีที่แล้ว

      @@user-sd8lh1cr3y เปรียบว่าเวลาเป็นสายพานก็ได้ แต่ให้มองว่ามันมีตัวเลข (พิกัด) กำกับอยู่บนสายพานด้วย หากเราต้องการอยู่กับที่ (อยู่พิกัดเดิม) เราต้องไหลเลื่อนไปกับสายพานนั้นครับ

  • @zakatagintokiaginjan5787
    @zakatagintokiaginjan5787 2 ปีที่แล้ว

    ใช่เราไม่ได้อยู่ในกรอบอ้างอิง​ แล้วอะไรอยู่ในกรอบอ้างอิง​ แล้วอะไรคือเวลาหรือระยะทางมาตรฐาน

    • @steamtechnicolor461
      @steamtechnicolor461 ปีที่แล้ว

      คำตอบคือไม่มี เวลาเป็นเพียงความรู้สึก และความรู้สึกก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นสากล เช่น บางคนรู้สึกว่านาน แต่บางคนกลับรู้สึกว่าไว ทั้งๆ ที่เวลาผ่านไป 1 ปี เหมือนกัน

  • @thewn9813
    @thewn9813 ปีที่แล้ว

    แล้วทำไมอีกฝั่งของโลกถึงสัมผัสกับพื้นด้วย

  • @user-xf9sj1nr7l
    @user-xf9sj1nr7l 2 ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับพี่ชาย

  • @gritsanasittiwong1887
    @gritsanasittiwong1887 ปีที่แล้ว

    พวกเราที่เหียบบนผิวโลกที่มีมวลใหญ่มาก และกำลังหมุนรอบตัวเอง1500กิโลเมตรต่ิอวินาที ไปในทิศทางที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ทำมุมเอียง23.5องศา ที่ความเร็ว107กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันก็เหมือนเราถูกมันพาไปตามความเร็วนั้นตลอดเวลานั้นเอง ไม่ได้มีแรงดึงดูดใดๆ

  • @nattapolpunpaen2539
    @nattapolpunpaen2539 ปีที่แล้ว

    ผมเข้าใจว่ามันเป็นความเร็วหมู่..ครับ

  • @yanapolthandee9867
    @yanapolthandee9867 ปีที่แล้ว

    ความโน้มถ่วงที่บอกว่าเป็นมายา กรณีคนตกต้นไม้เราจะอธิบายเหตุการณ์นี้อย่างไร?

  • @thailandkawan9198
    @thailandkawan9198 ปีที่แล้ว

    แล้วแต่คำนิยามของสำนักไหน คิแบบไหน แต่ที่แน่ๆ มันไม่ลอยขึ้นข้างบนหรอกน่ะ

  • @alexlo7708
    @alexlo7708 2 ปีที่แล้ว +2

    แล้วแต่กรอบอ้างอิง ที่คนจะมอง ถ้ามองทางรูปแบบเรขาคณิตแต่ประการเดียว ก็จะออกมาในรูปของไอสไตน์ คือ มวลทำให้เกิดการบิดโค้งของมิติ(เปลี่ยนรูปร่าง ตามการมีอยู่ของสิ่งใด)
    ถ้ามองในแง่ฟิสิกส์นิวตัน มันต้องมีสนามโน้มถ่วง ที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อวัตถุใดๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพความเฉื่อยของวัตถุนั้น
    มองในศาสตร์ควอนตัม ยังหาตัวกำเนิดสนามโน้มถ่วง หรือสื่อนำแรง เช่น กราวิตรอน ไม่เจอ
    สรุปคือ "ยังไม่รู้" อะไรก็ตามที่คนเรายังไม่รู้จริงในเรื่องนั้น ก็จะบรรยายมัน ตามจินตนาการของตน เหมือนกับสุภาษิตไทยเปี๊ยบ "ตาบอดคลำช้าง" แต่ละคน บอกได้จริงถึงสภาวะมือที่ตนไปคลำแล้วเจออะไร รู้สึกว่าเป็นยังงั้นยังงี้ แต่ก็ยังไม่ใช่อยู่ดี

  • @happyaeizzaaa1543
    @happyaeizzaaa1543 2 ปีที่แล้ว +2

    เบื่อเวลาพูดเรื่องแบบนี้กะคนที่ทำงานเพื่ออธิบายเหตุการณ์บางอย่าง แล้วคนอื่นหาว่าเราบ้า🙄

  • @user-ku3ts5io9w
    @user-ku3ts5io9w 2 ปีที่แล้ว +4

    ถ้าคุณอยากหลุดจากแรงโน้มถ่วงคุณต้องมีความเร็วมากกว่าแสง...
    สมมุติ ว่า คุณตกจากหลังคาบ้านแล้วในขณะที่เรากำลังตกเราจะไม่รับรู้ถึงแรงหรือน้ำหนักที่คุณกำลังจะตกถึงพื้น แต่ถ้าคุณอยากจะกลับขึ้นไปบนหลังคาบ้านคุณก็ต้องมีความเร็วมากกว่าแสงถึงจะกลับขึ้นไปบนหลังคาบ้านได้โดยที่คุณไม่ตกลงมาเจ็บ

    • @MikeSuperLui
      @MikeSuperLui 2 ปีที่แล้ว +1

      ผิดครับ ไม่มีอะไรจะเร็วไปกว่าแสง และ ความโน้มถ่วงของโลกไม่ได้มีแรงดึงดูดมากขนาดนั้น ยกเว้น หลุมดำ แค่ความเร็วประมาณ 11.2 km/hr(ความเร็วนี้มีชื่อว่า ความเร็วหลุดพ้น) ก็สามารถหลุดออกจากอิทธิพลของความโน้มถ่วงได้แล้ว ออกไปท่องจักรวาลได้แล้วครับ

    • @ggkt8546
      @ggkt8546 2 ปีที่แล้ว +1

      @@MikeSuperLui เขาหมายถึงถ้าไม่อย่างเจ็บเคลื่อนที่เร็วกว่าเเสงครับไม่ได้หมายถึงอย่างนั้นเเต่ไม่ถูดเสมอไปนะ

    • @MikeSuperLui
      @MikeSuperLui 2 ปีที่แล้ว +1

      @@ggkt8546 งง ครับ อธิบาย ให้หน่อยครับว่า หมายถึงอะไร

    • @MikeSuperLui
      @MikeSuperLui 2 ปีที่แล้ว +2

      @@ggkt8546 เท่าที่ผมเข้าใจคือ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง ผู้สังเกตุยืนอยู่บนโลกที่มีค่า g=9.8 m/s^2 กับยืนอยู่ในจรวดที่เคลื่อนที่ขึ้นด้วยแรง 9.8 m/s^2 เราเราเอาจรวดออก เราไม่รู้สึกถึงแรงเลย ซึ่งจะเหมือนกับการตกอย่างอิสระจากหลังคาภายใต้ความโน้มถ่วง ดังนั้นถ้าอยากเอาชนะความโน้มถ่วงก็แค่ หาไอพ่นติดหลัง ที่กำลังส่งมากกว่า 9.8 m/s^2 ก็สามารถบินกลับไปบนหลังคาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วที่มากกว่าแสงเลยครับ ( ยกเว้นเราตกเข้าไปในหลุมดำ ซึ่งความเร็วแสงก็ยังเอาไม่อยู่ครับ ) หากมีอะไรเสริม พูดคุยกันได้ครับ

    • @MikeSuperLui
      @MikeSuperLui 2 ปีที่แล้ว

      @@gta9758 ผมไม่มีเพจครับ โทษทีครับ

  • @dr.dookkeneji6201
    @dr.dookkeneji6201 2 ปีที่แล้ว +1

    ท่านที่ไม่รู้เรื่องศาสตร์ทางฟิซิค อาจจะต้องฟังแล้วพยายามเข้าใจคำบรรยายหลายๆรอบจะเรียนรู้เข้าใจได้ครับ กฏฟิสิคต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีอยู่มากมายมาก

  • @user-mv7ho5nk7i
    @user-mv7ho5nk7i 2 หลายเดือนก่อน

    พระพุทธเจ้าเคยเปรียบโลกเหมือนราชรถอันวิจิตร

  • @chaiyawutj9411
    @chaiyawutj9411 11 หลายเดือนก่อน

    ทำไมเราใช้สูตร
    ของนิวตันไปดวงจันทร์
    และดาวอื่นๆได้

  • @castle_crystal
    @castle_crystal 2 ปีที่แล้ว +1

    กาลอวกาศช่างลึกล้ำยิ่งนัก

    • @castle_crystal
      @castle_crystal 2 ปีที่แล้ว +1

      ถึงจะไม่ค่อยเข้าใจก็เถอะ

  • @jak1961
    @jak1961 ปีที่แล้ว +1

    คือผมมีเรื่องอยากเล่าครับ คือตอนผมอยู่อนุบาล2 มันจำไม่ได้หมดหรอกครับแต่มันจำได้ลางๆ คือมีวันนึงครับวันนั้นมีผมกับพ่อแม่สามคนขับรถจะไปนา ่ที่นี้มันเหมือนมีรถคันใหญ่ ใหญ่แบบใหญ่เลยคับและเร็วมากเร็วเหมือนเราเปิดไฟแล้วแสงถึงอะคับ ประมาณนั้นแล้วมันก็ผ่านผมกับพ่อแม่ไปแล้วผมก็ร้องไห้ พ่อกับแม่ถามเป็นอะไร ่ผมก็บอกตามที่เห็นเขาว่าผมตาฝาด ่ลืมบอกคับมันจะออกสีฟ้าๆ ่แล้วอีกเรื่องถัดมาไม่กี่วันคืนนั้นฝนตก ่พอฝนหยุดมันก็กลายเป็นคืนที่สว่างแบบงงๆ ่คืนนั้นพ่อผมชวนไปนอนที่นาแต่พอถึงเถียงนา ่พ่อผมบอกว่านอนรอพ่อที่เถี่ยงนานะ ่พ่อจะไปยิงกบ ่ผมก็พูดว่าพ่อผมกลัว ่พ่อบอกว่าไม่ต้องกลัวพ่อไม่ได้ไปไกลไปไม่ถึง5นาที่ ่ผมก็จำใจรออะเนอะ ่แล้วพ่อก็ไป ่แล้วเรื่องก็มีอยู่ว่า ่ ผมเห็นว่าวขนาดใหญ่อะใหญ่มากแต่ผมไม่รู้นะว่ามันใช่ว่าวจริงมั้ยแต่มันเหมือนว่าวแต่ผมมองหาคนปล่อยว่าวยังไงก็ไม่เจอและว่าวตัวนั้นมันไม่ลอยอยู่กับที่นะคับมันลอยไปเรื่อยๆเหมือนคนปล่อยว่าวเขาวิ่งไม่หยุดอะมันก็ลอยไปจนสุดสายตาแล้วก็หาย ่อ่อลืมบอกคับมันลอยไม่สูงไม่ใช่เครื่องบินแน่ๆ พอพ่อกลับมาผมจะบอกพ่อก็ว่าดึกแล้วนอนก่อนพรุ่งนี้ค่อยพูด พอตื่นเช้าผมบอก เขาก็ว่าผมชอบตาฝาดใครจะปล่อยว่าวตอนดึกกลางสายฝน ผมเลยเก็บเรื่องแบบนี้ไว้คนเดียวตลอด ่แต่ผมยังเชื่อว่าผมตาไม่ฝาดจนทุกวันนี้ แล้วก็ได้มาดูคลิปพี่นี้แหละคับ ขอบคุณคับ

  • @petermcmail2691
    @petermcmail2691 ปีที่แล้ว

    คนที่คิดได้นี่สมองเกินมนุษย์ปกติแน่นอน

  • @mycustomchannel6988
    @mycustomchannel6988 2 ปีที่แล้ว +1

    ถ้ามวลไม่มีผลต่อการตก เเสดงวว่าโลกไม่ได้ดูดเราใช้ไหม

  • @user-mu8hu7xm8q
    @user-mu8hu7xm8q 2 ปีที่แล้ว +1

    แทรกผ่านที่ว่างหรือที่ว่างมันไม่ว่าง

  • @TS-le3kb
    @TS-le3kb 2 ปีที่แล้ว +2

    ถ้าโลกหยุดนิ่งไม่หมุนรอบตัวเอง และรอบจักรวาล ความโน้มถ่วงน่าจะไม่มีใช่หรือไม่ เมื่อไม่มีความโน้มถ่วง ทุกอย่างก็จะไม่มีน้ำหนักทุกสรรพสิ่งบนโลกก็จะไม่มรแรงเกาะเกี่ยวกันและลอยแยกออกจากกันเป็นขินเล็กชิ้นน้อยใช่หรือไม่

    • @jirasinchatviset3287
      @jirasinchatviset3287 ปีที่แล้ว

      ไม่ใช่ครับ น้ำหนักของสิ่งของบนโลกไม่ได้อยู่ที่โลกหมุนหรือไม่หมุนครับ แต่อยู่ที่โลกเรามีมวลมากๆๆๆจนทำให้ space-time บิดโค้งและเกิดเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไปเอง และคิดว่านี่คือแรงโน้มถ่วงตามในคลิปบอกครับ

    • @allclipt6865
      @allclipt6865 10 หลายเดือนก่อน

      โลกมีมวลขนาดให้ เหมือนเอาโลกจุ่มลงในน้ำแล้วน้ำขนาดขนาดเท่าโลกจะถูกมวลโลกดันออกมารอบ กลายวงคลื่นความโน้มถ่วง

  • @olegreenday2477
    @olegreenday2477 ปีที่แล้ว

    ดวงดาวดวงตา....ดวงๆๆๆ

  • @user-mg5ze7to2l
    @user-mg5ze7to2l 2 ปีที่แล้ว

    แรงโน้มถ่วงจะเกิดขึ้นเมื่อมีแรงดึงดูดหรือแรงผลักโดยอัตโนมัติ

  • @opeationflozamathrastlythe9005
    @opeationflozamathrastlythe9005 2 ปีที่แล้ว

    งี้ ก้มหน้าบ่อยๆ อาจช่วย ให้หน้าแก่ช้า ลง เนื่องจากไม่ได้ชนกับ ปริภูมิเวลา แบบตรงๆ ผ่าม!!!

  • @chadchawanlekrujee5387
    @chadchawanlekrujee5387 ปีที่แล้ว

    😯

  • @SiWarote
    @SiWarote 2 ปีที่แล้ว

    งงมากครับ บวกกับไม่เข้าใจศัพท์เทคนิคด้วย

  • @naisony
    @naisony 2 ปีที่แล้ว +2

    vdo ต้นฉบับของช่องนี้มั้ยครับ th-cam.com/video/XRr1kaXKBsU/w-d-xo.html

    • @SCIWAYS
      @SCIWAYS  2 ปีที่แล้ว

      ใช่แล้วครับ​ เนื้อหาอิงมาจากนี่เลย​ ส่วนภาพประกอบยืมมาใช้บางส่วน​

    • @naisony
      @naisony 2 ปีที่แล้ว

      @@SCIWAYS ขออภัยด้วยนะครับที่ตอบช้า คือผมสงสัยเรื่องนี้มากแต่ก็ไม่ว่างอ่านแบบละเอียด gravity ไม่ใช่ force แต่เป็น Emergent force ตอนหลังมาอ่านเจอว่า The way gravity effects quantum particles proves that it cannot be an emergent phenomenon อีก ก็เลยอยากให้ช่วยอธิบายหน่อยครับ ผมสงสัยว่าการใช้งานในชีวิตจริงสูตรคำนวณต่างๆเช่นในสายอาชีพ วิศวกรเหมืองแร่ หรือนักธรณีวิทยา นักอุตุนิยมวิทยา ยังใช้กฏของนิวตันทั้งนั้น ถ้าความโน้มถ่วงไม่ใช่แรง ควรใช้อะไรมาอธิบายแทนได้บ้างครับ

    • @SCIWAYS
      @SCIWAYS  2 ปีที่แล้ว +2

      @@naisony หากอยู่ในกรอบที่ไม่ได้เร็วใกล้แสง หรือใกล้กับวัตถุมวลมากอย่างเช่นดวงอาทิตย์ขึ้นไป สัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ให้คำตอบแทบจะเหมือนกับสมการของนิวตันเลยครับ ไอน์สไตน์เลยบอกว่าสำหรับกรอบอ้างอิงบนโลก หรือแม้แต่การสำรวจอวกาศ เรายังสามารถใช้หลักการของนิวตันได้เลย เพราะคำนวณง่ายกว่ามาก

    • @naisony
      @naisony 2 ปีที่แล้ว +1

      @@SCIWAYS ขอบคุณมากครับ เข้าใจแล้ว จะติดตามเรื่อยๆเลยครับ

  • @user-xf4zd2ki5s
    @user-xf4zd2ki5s ปีที่แล้ว

    ปรากฏการณ์...มันเป็นมายา
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา
    เพราะให้ค่า(โมหะคืออวิชชา)
    ....โลภะ โทสะ...จึงมีมา...ไม่จบ..

  • @donaldwu1462
    @donaldwu1462 10 หลายเดือนก่อน

    แรงโน้มถ่วงอยู่มิติอื่นครับ ใครเรียนแคลคูลัส การดิฟ คือการข้ามไป 1มิติ การที่นิวตันหาค่าแรงโน้มถ่วงได้เพราะนิวตันใช้แคบคูลัส
    ดังนั้นเราจะไม่เห็นมัน (เพราะอยู่คนละมิติ) แต่เราจะสัมผัสได้
    ผมไม่เชื่อเรื่องกาวิตรอน เพราะมันเหมือนเอาแรงโน้มถ่วงมาอยู่มิติเดียวกับคน (แล้วจะใช้แคลคูลัสเพื่อหาแรงโน้มถ่วงเพื่อ??)
    ส่วนเรื่อง กาลอวกาส ผมว่าเป็นไปได้มากสุเ เพราะ ยิ่งใกล้มวลมาก ก็จะมีแรงโน้มถ่วงสูง
    ส่วนไอที่อยู่เฉยๆโลกมาดัน มันเป็นการมองสัมผัส
    คล้ายๆ เรานั่งเครื่องบิน เครื่องบินเราลอยเฉยๆ โลกแค่หมุนเท่าความเร็วของเครื่องบินเรา😅

  • @suksarit
    @suksarit ปีที่แล้ว

    สรุปว่า มวลถูกตรึงไว้ด้วยเวลาเหรอครับ แสดงว่าแต่ละจุดในจักรวาล เวลาอาจไม่เท่ากัน และสิ่งทีเคลื่อนที่เร็วกว่าเวลาจะช้ากว่า เท่ากับว่าเป็นไปได้ที่ของสองสิ่งที่อยู่คนละยุคย่อมมีสิทธิ์มาเจอกันสิครับ

    • @Specters1
      @Specters1 หลายเดือนก่อน

      ใช่ครับ เวลาแต่ละที่ไม่เท่ากัน

  • @mourikogoro9709
    @mourikogoro9709 ปีที่แล้ว +1

    ผมพอจะสรุปได้ว่า แรงโน้มถ่วงไม่มีจริง (และไม่จำเป็นต้องมี) คนที่กำลังร่วงจากตึก เขาไม่ได้ถูกแรงโน้มถ่วงดึงลงมา แต่เพราะเขาไม่ได้ไหลไปในกาลอวกาศในอัตราเท่าเทียมกับพื้นโลก เขาจึงไม่สามารถรักษาพิกัดความสูงเดิม (อิงจากพื้นโลก) ได้
    กาลอวกาศ ก็คือ "เวลา" กับ "อวกาศ" ที่รวมกันเป็นอันเดียว แยกกันไม่ได้ โดยที่ "เวลา" จะมีคุณสมบัติเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา ขณะที่ "อวกาศ" ก็คือที่ว่างซึ่งบิดโค้งและเคลื่อนไปพร้อมกับเวลา
    ลองจินตนาการเล่นๆว่า "วัตถุหยุดนิ่ง คืออะไร" ?
    สมมุติให้วัตถุ A หยุดนิ่งอยู่ในกาลอวกาศที่พิกัด (000, 000) ทว่ากาลอวกาศนั้นเคลื่อนที่ (โค้ง) ไปข้างหน้าตลอดเวลา ดังนั้นหากนิยามให้วัตถุหยุดนิ่งจะต้องอยู่ที่พิกัดเดิมตลอดเวลา วัตถุ A จะต้องไหล (เคลื่อนที่) ไปพร้อมกับกาลอวกาศ หากมันไม่ไหลตามอย่างพอดิบพอดี พิกัด (000, 000) จะออกห่างจากมันไปเรื่อยๆ
    ถึงตรงนี้คงพอมองออกว่า "วัตถุเคลื่อนที่" ก็คือวัตถุที่ไม่ได้ไหลตามกาลอวกาศอย่างพอดิบพอดีนั่นเอง

    • @user-uq5nh7tp7r
      @user-uq5nh7tp7r 10 หลายเดือนก่อน

      แสดงว่า แรงดึงดูดระหว่างมวล ก็ไม่มีจริง ใช่ไหมครับ
      ถ้าเอากาลอวกาศ เป็นกรอบอ้างอิง ก็เลยมองว่า แรงโน้มถ่วงไม่มีอยู่จริง? ผมยังงงอยู่

    • @mourikogoro9709
      @mourikogoro9709 10 หลายเดือนก่อน +1

      @@user-uq5nh7tp7r ผมมองแบบนี้ครับ วัตถุขนาดใหญ่ ย่อมมีอิทธิพลต่อการบิดโค้งของกาลอวกาศ และนั่นทำให้วัตถุอื่นที่อยู่ใกล้กัน "ไหล" ไปตามการบิดโค้งนั้น

    • @user-uq5nh7tp7r
      @user-uq5nh7tp7r 10 หลายเดือนก่อน

      ​@@mourikogoro9709
      ถามแบบเด็กๆ มวลที่เกิดการหมุน ทำให้เกิดแรงดึงดูดได้ไหมครับ? หรือเป็นสิ่งเดียวกัน กับสิ่งที่คุณอธิบาย(วัตถุไหลไปตามการบิดโค้ง)
      ผมนึกถึงพัดลมที่มันหมุน แล้วฝุ่นมันไปติดอยู่ที่ใบพัด😅

    • @mourikogoro9709
      @mourikogoro9709 10 หลายเดือนก่อน

      @@user-uq5nh7tp7r การที่ฝุ่นไปติดใบพัดลมเป็นผลจากไฟฟ้าสถิตมากกว่าครับ
      ส่วนประเด็นเรื่องการหมุนมีผลต่อการบิดโค้งมั้ย ผมก็ไม่แน่ใจเหือนกัน หรือบางทีการหมุนของดวงดาวก็อาจไม่ได้เป็น "เหตุ" แต่เป็น "ผล" จากการเคลื่อนที่ (ไหล) ไปตามกาลอวกาศที่บิดโค้งนั้นก็ได้

  • @palmgadidyep4310
    @palmgadidyep4310 2 ปีที่แล้ว

    สรุปคือโลกไม่มีแรงโน้มถ่วงหรอคับ
    ที่ผ่านมาคือหลักสูตรที่เคยเรียนเคยเข้าใจมันผิดมาตลอดหรอคับ ขอโทษทีครับพอดีผมความรุ้น้อย

  • @NCG3869
    @NCG3869 2 ปีที่แล้ว +2

    ตรงนี้ผมมองต่าง ถ้าเราพิจรณาโครงสร้างของ ดวงดาว ระบบสุริยะ กาแลคซี่ ยังไงแรงโน้มถ่วงก็ต้องเป็นแรง และเป็นแรงพื้นฐานของเอกภพ แต่เรายังไม่เข้าใจมันอย่างถ่องแท้

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว

      ถ้าคุณเข้าใจมัน คุณก็อภิบายสิครับ

  • @worawutworachisanuphong4439
    @worawutworachisanuphong4439 4 หลายเดือนก่อน

    สรุปเรากำลังลอยหรือกำลังตกครับ😅😅

  • @jirapat100
    @jirapat100 2 ปีที่แล้ว

    อะไรที่ทำให้โลกหมุน ถ้าโลกหยุดหมุน โลกหยุดหมุนรอบดวงอาทิตย์ จะมีแรงดึงดูดอยู่หรือไม่ หรือเราจะลอยออกนอกโลก

  • @lanlanha
    @lanlanha 11 หลายเดือนก่อน

    ทำไมไม่เคยเห็นนักบินอวกาศคนไหนทำหน้าเหมือนคนตกตึกเลย ในคลิปยังบอกรื่นรมณ์ด้วยซ้ำ แต่เวลาตกจากที่สูงมันโครตเสียวอ่ะ แล้วมันเหมือนกันยังไง งงมาก

  • @boatkung20
    @boatkung20 2 ปีที่แล้ว +2

    สรุปคือเราลอยอยู่นิ่งตลอด แต่พื้นวิ่งตามเท้าเราต่างหาก 😂

    • @steamtechnicolor461
      @steamtechnicolor461 ปีที่แล้ว +1

      ถ้าเราอยู่นิ่ง เราจะเคลื่อนที่ไปตามการหมุนของโลกด้วยความเร็ว 1,674.4 กม. ต่อ ชม. ต่างหาก

  • @user-pk9bv2iz3u
    @user-pk9bv2iz3u 2 ปีที่แล้ว +1

    คนเราจะหายใจเอาออกซิเจนทุกๆ1นาทีถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ แล้วเวลาเราลงไปในน้ำเราจะรู้สึกไร้น้ำหนัก ถ้าเราใช้เเขนขาดันน้ำ เราจะรู้สึกมีน้ำหนัก แต่ทำไมปลามันอยู่ในน้ำได้นานจัง แล้วมันก็ไม่หนาวด้วย ถ้าคนอยู่ในน้ำนานๆจะรู้สึกว่าหนาว หรือมันจะมีอยู่จริง ดาวดวงอื่นมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน และอยู่ในที่หนาว ที่คนเราสามารถอยู่ไม่ได้ โลกเรามีดิน ดาวดวงอื่นก็มีดิน ดินมันก็สามารถอยู่ดาวดวงอื่นได้ โดยไม่มีออกซิเจน

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว

      สิ่งมีชีวิตไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกับเราก็ได้ครับอาจเป็นคลื่นก็ได้
      ถ้ามี1.จำลองตัวเองได้
      2.เคลื่อนที่ได้

  • @somkiatwongsirisup2274
    @somkiatwongsirisup2274 2 ปีที่แล้ว +1

    ผมก็คิดว่ามันคือสภาพที่เป็นผลมากกว่า มันไม่ใช่แรงโดยตัวมันเอง

  • @user-uq7xg8pi8b
    @user-uq7xg8pi8b ปีที่แล้ว

    จักวาลมันก็หมุน

  • @view6view6
    @view6view6 2 ปีที่แล้ว

    งันจะต้องเรียกแรงกระทำ ที่มีต่ออิทธิพลรอบข้าง

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว

      อัตกิริยามากกว่าครับ

  • @somsakpanjing3228
    @somsakpanjing3228 2 ปีที่แล้ว +1

    แรงโน้มถ่วง หมายถึงแรงเหวี่ยงขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สามารถทดลองได้ ในห้องแลป และ อวกาศ แต่ปัญหา แรงโน้มถ่วงของดวงดาวและ ดวงจันทร์มีมากไม่เท่ากัน เรียกว่า สนามแม่เหล็ก อยากจุด ศูนย์กลางของดวงดาว

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว

      สนามแม่เหล็กมาเกี่ยวไรกับความโน้มถ่วง

    • @user-gq2hq1zs1d
      @user-gq2hq1zs1d 2 ปีที่แล้ว +1

      เขาคอมเม้นเองสับสนเอง😁

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว

      @@user-uq5nh7tp7r ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว +1

      @@user-uq5nh7tp7r สนามแม่เหล็กไม่ใช่อนุภาคนะ สนามแม่เหล็กเกิดจาก การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือในกลศาสตร์ควอนตัม คือการสspin หรือการโคจรรอบตัวมันเอง อย่าที่ผมเมนต์ไป แรงโน้มถ่วงไม่มีจริง มีแต่ความโน้มถ่วง ที่เกิดจากวัตถุใด ๆ ที่มีมวลมากกว่า 0 มันจะทำให้ ปริภูมิ-เวลา บิดไปด้วย

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว

      @@user-uq5nh7tp7r คุณต้องไปศึกษาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป แล้ว สัมพันธภาพพิเศษ และสสารมืด มันเชื่อมโยงดัน

  • @realityprogressive4400
    @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว +5

    แรงโน้มถ่วง คือการบิดเบี้ยวของมิติ
    ไม่ใช่แรง
    ตัวเรานั่งบนเก้าอี้ก็คือตัวเรากำลังเร่งอยู่
    ส่วนตัวเราตก คือ ตัวเราอยู่เฉยๆ พื้นต่างหากที่กำลังวิ่งเร่งมาชนเรา
    เอาง่ายๆถ้าไม่อยากกระแทกพื้นก็ต้องเร่งไปกับมัน จะได้ไม่ชน
    พูดแบบภาษาชาวบ้านจะได้เข้าใจง่ายๆครับ

    • @user-gv6zg8tz4b
      @user-gv6zg8tz4b 2 ปีที่แล้ว

      เฮ้ยยย!! อ่านเม้นนี้ เข้าใจเลย

    • @e1q1rtl1kk
      @e1q1rtl1kk 2 ปีที่แล้ว

      ดีจริง

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว +2

      @@pririsoma ร่มชูชีพคือเร่งครับ
      ส่วนตกอิสระคืออยู่เฉยๆ
      มันลวงตา เพราะ
      กาลอวกาศบริเวณโลกมันบิดเบี้ยว

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว

      @@pririsoma ถ้าใช้พื้นโลกเป็นกรอบอ้างอิงก็จะมองว่าคนที่กำลังตกอย่างอิสระกำลังเคลื่อนที่
      แต่ถ้าใช้กาลอวกาศเป็นกรอบอ้างอิง
      คนที่ตกอิสระคือคนที่อยู่เฉยๆ
      ส่วนคนที่ ยืนอยู่บนพื้นโลกคือกำลังเร่ง9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ออกจากจุดศูนย์กลางของโลก
      (แต่ไม่มีวันได้ออก)

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว

      @@pririsoma
      ถ้าคุณดูคลิปนี้แล้วเข้าใจจริง
      คนที่กำลังตกอย่างอิสระ
      จริงๆแล้วไม่ได้เคลื่อนที่มันเป็นภาพลวงตาครับ

  • @luckygamer8181
    @luckygamer8181 2 ปีที่แล้ว

    เข้าใจผิดมาตลอด55555

  • @realityprogressive4400
    @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว

    แรงโน้มถ่วงเกิดจากการบิดเบี้ยวของมิติ ไม่ใช่แรง

  • @Opus38No2
    @Opus38No2 2 ปีที่แล้ว

    ผมไม่แน่ใจว่า free fall มนุษย์จะไม่สามารถสัมผัสความเร่ง9.8m/วิกำลังสองครับ😅 ใครช่วยอธิบายทีได้ไหม😓 ผมว่าคนเราสัมผัสความเร่งได้นะครับ เช่นเวลาอยู่ในรถ ความเร่งมันน้อยนิดถ้าเทียบกับค่าgด้วยซ้ำ เวลากระโดดลงจากเก้าอี้ก็รับรู้อยูนะครับ แต่การตกทางยาวที่ไม่รู้สึกน่าจะเป็นเรื่อง perception มากกว่า พูดง่ายๆคือ”ชิน” มากกว่าครับ มันลงเอยที่ความรู้สึกเหมือนกันแต่แหล่งที่มาต่างกัน
    เอ๊ะ หรือจะบอกว่า ความ”ชิน” เป็นตัวปลดขีดจำกัดการรับรู้ 555🤣 งงกว่าเดิมละผม
    การทดลองผืนผ้าแค่ขาดสิ่งที่เปรียบเทียบกับพลังงานมืดที่คอยดึงทุกอย่างออกจากจุดศูนย์กลางครับ
    ส่วนเริ่องแสงโค้งกับเรื่องรู้สึกว่าแสงโค้ง ผมก็เข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องกัน (perception กับ gravitational distortion) perception ของมนุษย์มีข้อจำกัดน่ะครับ

  • @thailandkawan9198
    @thailandkawan9198 2 ปีที่แล้ว

    มันไม่เหมือนดำน้ำอยู่เหรอ

  • @user-ns3wd1kg7m
    @user-ns3wd1kg7m 6 หลายเดือนก่อน

    ผมว่าแรงดึงดูดยังมีอยู่นะก็ตัวย่นอวกาศไง
    อย่ายอกนะวัดถุไม่มีแรงดึงดูด

  • @nopadolboy1
    @nopadolboy1 9 หลายเดือนก่อน

    แล้วหลุมดำใช้อะไรดูดเข้าไปได้อย่างไร เมื่อแรงดึงดูดไม่มีอยู่จริง การตกมีความเร่ง ถ้าโลกโคจรด้วยความเร่ง แสดงว่าความเร็วขึ้นเรื่อยๆ แล้วทำไมปีนึง 365 วัน

  • @santypromma5380
    @santypromma5380 ปีที่แล้ว

    I belive i can fly

  • @user-ly7tj7cw3v
    @user-ly7tj7cw3v ปีที่แล้ว

    เหมือนเป็นแรงกดอากาศมากกว่า แรงโน้มถ่วง

  • @spacestory7196
    @spacestory7196 2 ปีที่แล้ว +3

    ถ้าเริ่มต้นอธิบายด้วยนิยามของ "แรง" เหตุผลทั้งหมดที่ยกมาจะตกไปทั้งหมดครับ เพราะพื้นฐานของการเคลื่อนที่กล่าวไว้ว่า...
    "วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ ก็ต่อเมื่อมีแรงภายนอกเข้ามากระทำ"
    ดังนั้น "การร่วงหล่น" ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่า "เกิดการเคลื่อนที่" (อย่างน้อยก็เห็นได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับวัตถุรอบด้าน) จึงชัดเจนว่าเกิดจากแรงภายนอกเข้ามากระทำ
    ซึ่งแรงภายนอกทีว่านั่นก็คือ "แรงโน้มถ่วง" นั่นเอง
    .
    ดังนั้นหากจะอ้างว่า "ความโน้มถ่วง" ไม่ใช่ "แรง" ก็ต้องอธิบายให้ได้ก่อนว่า วัตถุเคลื่อนที่โดยไม่มีแรงภายนอกมากระทำได้อย่างไร
    หรือไม่ก็ต้อง อธิบายให้ได้ว่า การร่วงหล่นนั้น ไม่ใช่การเคลื่อนที่ (ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะวิทยาศาสตร์ ต้องอ้างอิงตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเสมอ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าคนที่ร่วงหล่นนั้น เคลื่อนที่เข้าใกล้พื้น ซึ่งหมายความว่ามันเกิดการเคลื่อนที่ขึ้นแน่นอน ดังนั้นไม่ว่าจะยกเหตุผลใดมาอธิบาย ก็ไม่สามารถขัดความจริงข้อนี้ได้)

    • @ummummm3554
      @ummummm3554 2 ปีที่แล้ว

      คิดซะว่า ความโน้มถ่วง เป็นตัวดูดพื้นที่พื้นที่หนึ่ง(space) เข้าจุดศูนกลาง(massive mass) ถ้าคนที่โดดตกลงมาเขาก็จะรู้สึกว่ากำลังอยู่ตำแหน่งเดิมแค่พื้นที่รอบตัว และตัวเขาถูกความโน้มถ่วงดูด(space)เข้าไป จะใช้คำว่าดูดก็ไม่ได้ มันคือสนามแรงโน้มถ่วงหรืออะไรช่างเถอะ แต่เท่าที่รู้คิดว่างั้นนะ

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 2 ปีที่แล้ว

      @@ummummm3554 ถึงจะเปลี่ยนคำพูดเป็น "ดูด" มันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมครับ เพราะยังไง มันก็คือ "การทำให้วัตถุเคลื่อนที่"
      ซึ่งอย่างที่ผมบอกว่า "วัตถุจะเคลื่อนที่ได้ ต้องมีแรงจากภายนอกมากระทำ" (เน้นตรงคำว่า แรง อีกครั้งนะครับ)
      ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้คำว่า "ดูด" หรือ "ความโน้มถ่วง" หรืออะไรก็ตามแต่ ถ้ามันทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ มันย่อมเป็น "แรง" ประเภทหนึ่งแน่นอน
      ดังนั้น คำว่าที่ว่า "ความโน้มถ่วง" ไม่ใช่ "แรง" จึงผิดเสมอ ไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดๆ ก็ตาม
      ยกเว้นว่า เขาจะอธิบายได้ ว่าวัตถุเคลื่อนที่โดยไม่มีแรงจากภายนอกมากระทำได้อย่างไร

    • @kowitchansungnern6283
      @kowitchansungnern6283 2 ปีที่แล้ว

      @@spacestory7196 วัตถุเคลื่อนที่ได้โดยไม่มีแรงมากระทำ🤔🤔🤔

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 2 ปีที่แล้ว

      @@kowitchansungnern6283 วัตถุ "เคลื่อนที่ไม่ได้" ถ้าไม่มีแรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุ อันนี้คือ "กฎ" พื้นฐานของการเคลื่อนที่ครับ
      คำว่า "กฎ" คือแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับแล้วว่า "เป็นจริงเสมอ" และยังไม่มีใครหาข้อโต้แย้งได้จนถึงปัจจุบันนี้

    • @christ7893
      @christ7893 2 ปีที่แล้ว +4

      - [ ] ในคลิปเค้าพูดเรื่องการเคลื่อนที่จากบนลงล่างโดยเอาทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์มาอธิบายปรากฏการณ์นี้ไงซึ่งมันขัดกับเซ้นต์สามัญสำนึกของมนุษย์บนโลกที่จะเข้าใจกฏของนิวตันได้ง่ายกว่าซึ่งพูดถึงเรื่อง "แรงกับการเคลื่อนที่" ในชีวิตประจำวัน แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวของนิวตัน โดยที่ไอน์สไตน์ไม่พูดเรื่อง "แรง" ที่มากระทำต่อวัตถุเลย โดยมีแนวคิดหลักคือ มวลสารในอวกาศทำให้ปริภูมิเวลา (spacetime) บิดโค้งได้ จึงทำให้วัตถุมวลน้อยเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุมวลมากได้เนื่องจากการบิดงอของ spacetime ไม่ใช่เพราะแรงโน้มถ่วงใดๆ ส่วนในคลิปนี้ที่พูดถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุ 2 สิ่งคือคนกับพื้นโลก เป็นเรื่อง "สัมพัทธ์" ขึ้นอยู่กับผู้สังเกต กล่าวคือในมุมของนิวตันจะมองเหมือนว่าโลกหยุดนิ่งแต่คนร่วงหล่นลงพื้นด้วยแรงโน้มถ่วง(เหมือนคนเคลื่อนที่แต่โลกหยุดนิ่ง)แต่สำหรับสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์มองว่าการที่คนกระแทกกับพื้นด้านล่างไม่ว่าจะด้วยวิธีเคลื่อนที่ใด มันจะขึ้นอยู่กับผู้สังเกตเหตุการณ์ เช่น คนที่ยืนอยู่บนถนนจะเห็นว่าคนบนตึกกำลังร่วงหล่น(ด้วยแรงโน้มถ่วง)เพราะคนบนถนนกับสิ่งรอบตัวมีความเร่งเท่ากับโลกจึงรู้สึกว่าโลกอยู่เฉยๆแต่คนเคลื่อนที่ แต่หากในมุมของคนที่สังเกต(นิ่งๆ)อยู่นอกโลกจะเห็นว่าทั้งคนและโลกต่างเคลื่อนที่ชนกัน ส่วนคนที่ตกตึก(ต้องสูงเสียดฟ้าถึงจะมีเวลาพอที่จะรู้สึกถึงสภาวะไร้นำ้หนัก) อยู่ห่างจากพื้นโลกมากยิ่งรู้สึกถึงการร่วงหล่นน้อยมาก เขาจะรู้สึกลอยตัวอิสระในอากาศ (ไม่รู้สึกถึงแรงดึงดูด) และในทางกลับกันเขาจะรู้สึกว่าพื้นโลกต่างหากที่มีความเร่ง 9.8 m/s2 เข้าชนตัวเขาที่ลอยตัวอยู่

  • @mr.sukhopolpul2114
    @mr.sukhopolpul2114 2 ปีที่แล้ว

    ฟังแล้วงงแต่ตกจากที่สูงเจ็บชิบหาย

  • @natwasinsingpom1434
    @natwasinsingpom1434 2 ปีที่แล้ว

    งั้นถ้าเราไร้มวล เราไม่อยู่ในกฎฟิสิกส์ใดๆเลย ความเร่ง ความเร็ว และกฎแห่งกรอบ

  • @user-hu3zy1hb2h
    @user-hu3zy1hb2h 2 ปีที่แล้ว +1

    ขณะที่เราลอยไปพร้อมกับโลก ที่พื้นพิวโลก กาลอวกาศบิดตัวด้วยอัตรา 9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสองในทิศเข้าหาโลก ทำให้เราที่ลอยมากับโลก แปะติดอยู่กับพิวโลก และโลกก็ดันเราด้วยแรงนึงทำให้เราอยู่นิ่งบนผิวโลก อธิบาบความเข้าใจแบบนี้พอได้มั้ยครับ

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว +2

      แรงโน้มถ่วง คือการบิดเบี้ยวของมิติ
      ไม่ใช่แรง
      ตัวเรานั่งบนเก้าอี้ก็คือตัวเรากำลังเร่งอยู่
      ส่วนตัวเราตก คือ ตัวเราอยู่เฉยๆ พื้นต่างหากที่กำลังวิ่งเร่งมาชนเรา
      เอาง่ายๆถ้าไม่อยากกระแทกพื้นก็ต้องเร่งไปกับมัน จะได้ไม่ชน
      พูดแบบภาษาชาวบ้านจะได้เข้าใจง่ายๆครับ

    • @elonbruce5564
      @elonbruce5564 2 ปีที่แล้ว

      @@realityprogressive4400 ความเร็วที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มันมีความเชื่อมโยงยังไงกับความเร่ง 9.8เมตรต่อวินาทีครับ

    • @elonbruce5564
      @elonbruce5564 2 ปีที่แล้ว

      กาลอวกาศบิดตัวยังไงครับ บิดตัวแล้วมันมากดหัวเอายังไงครับนึกภาพไม่ออก

    • @realityprogressive4400
      @realityprogressive4400 2 ปีที่แล้ว

      @@elonbruce5564 ผมว่าคุณดูคลิปนี้ไม่เข้าใจนะครับ
      แนนำ ลองกลับไปดูใหม่ครับ

    • @elonbruce5564
      @elonbruce5564 2 ปีที่แล้ว +1

      @@realityprogressive4400 4รอบแล้วครับ ดูแล้วมันไม่เข้าใจทุกคนหลอกครับ ครูสอนที่ดีจะมองออกนะครับจากคำถามที่เด็กถามว่าเด็กติดตรงไหน เหมือนเด็กแต่ละคนที่ขาดจิ๊กซอว์บางชิ้นไม่ตรงกัน ผมสงสัยว่ามันบิดโค้งห่อหุ้มโลกกดหัวเรายังไง ขับมอเตอร์ไซค์ยังมีลมต้านสัมผัสถึงแรงที่ไม่อยากให้เราไปข้างหน้าได้ แรงที่กดทุกสรรพสิ่ง โอเครผมลองกระโดดแล้ว ผมถูกดูดให้ตกลงพื้นโลกคุณเอาชนะแรงgไม่ได้ไง ผมก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีละครับ มันบิดตัวท่าไหนครับทำไม เราถึงไม่รู้สึก ว่ามันเคลื่อนที่ผ่านหัวลงเท้าเราอยู่ทุกวัน ผมรู้สึกได้ว่าแรงโน้มถ่วงมันเป็นสูญญากาศด้วยซ้ำ ทั้งๆที่มันเคลื่อนที่ผ่านหัวเราลงเท้าด้วยค่าgอยู่ตลอดเวลา มันบิดตัวอีท่าไหนครับพอจะมีสักสองสามประโยคที่จะอธิบาย เชื่อมโยงกับอะไรบางอย่างที่ผมเข้าใจในชีวิตประจำวันมาอธิบายตรงนี้ก็ได้นะครับ เรื่องบางเรื่องปัญญาบางคนมันก็มองไม่ถึงครับ

  • @phirompholpatthanaphibool9210
    @phirompholpatthanaphibool9210 2 ปีที่แล้ว

    สมมุติ ถ้าโรเบิร์ต ไอสไตน์ ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่และได้มีโอกาสเดินทางไปอวกาศด้วยตัวเอง อ่าจจะคิดทฤษฎีต่างๆที่เป็นไปไม่ได้ขึ้นมา ถ้าเค๊ายังอยู่อาจจะเดินทางไปดาวอังคารใช้เวลาไม่กี่วัน

    • @user-mu1wo6kg1r
      @user-mu1wo6kg1r 2 ปีที่แล้ว

      ว้าว​ สุดยอด​
      ความคิดสุดยอดมาก​เหมิอนนายกเลย

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 2 ปีที่แล้ว +2

      ไอสไตน์คงไม่คิดแบบคุณหรอกครับ ต้องใช้พลังงานมหาศาล ร่างกายมนุษย์ทนความเร็วขนาดนั้นไม่ได้หรอก

    • @Ratcha_pat
      @Ratcha_pat ปีที่แล้ว

      ถึงตอนนั้น เฮีย ไอ คงคิดเครื่องบิน อวกาศสูญญากาศ แล้วมั้ง

    • @user-kz1qz1xc8x
      @user-kz1qz1xc8x 9 หลายเดือนก่อน

      ​@@user-mu1wo6kg1rโรเบิร์ตไม่ใช่ละ

  • @user-uq7xg8pi8b
    @user-uq7xg8pi8b ปีที่แล้ว

    การอวกาศมันแบนหรอ

  • @user-uq7xg8pi8b
    @user-uq7xg8pi8b ปีที่แล้ว

    เดียวโลกคงไปรวมกับดวงอาทิตย์

  • @paradon5230
    @paradon5230 2 ปีที่แล้ว

    โลกหมุนรอบตัวเองใจกลางของโลกก็หมุนเหมือนกันแต่จะหมุนเร็วมากและหมุนย้อนกับแนวเปลือกโลก นี้ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กดึงดูดเราเอาไว้ ถ้าเราทำสนามแม่เหล็กได้สำเร็จแล้วเอาไปติดตั้งที่ยานอวกาศมันจำทำเราเดินในยานอวกาศได้อย่างปกติเหมือนเดินอยู่บนโลก

    • @walkafterworkwaw7641
      @walkafterworkwaw7641 2 ปีที่แล้ว

      สนามแม่เหล็กไม่ได้ดูดเรานะครับ คนละเรื่องกันเลย ยังมีคนเชื่อว่าแม่เหล็กดูดเราไว้อยู่อีกเหรอเนี้ยะ

    • @paradon5230
      @paradon5230 2 ปีที่แล้ว

      @@walkafterworkwaw7641 ถ้าไม่ใช้สนามแม่เหล็กแล้วอะไรอธิบายมาให้ฟังหน่อย

    • @walkafterworkwaw7641
      @walkafterworkwaw7641 2 ปีที่แล้ว

      @@paradon5230 มันคือสนามโน้มถ่วงครับ มันถ่วงอาวกาศให้ยุบเข้าหาตัวมัน สิ่งนั้นไม่ได้ถูกดูด เพียงแต่เคลื่อนที่ตามแนวกาลอวกาศที่ยืดออก แนวคิดถูกต้องในตอนนี้ และทฤษฏีนี้ก็ถูกใช้คำนวณอะไรหลายๆอย่างในปัจจุบัน

  • @plawan00021
    @plawan00021 2 ปีที่แล้ว

    ช่องเก่าหายไปไหนอเ

  • @kowa4980
    @kowa4980 2 ปีที่แล้ว

    Too complicated to understand

  • @ram9090min1
    @ram9090min1 2 ปีที่แล้ว

    สัมพันธ์ กับ สัมพัทธ์ มันไม่เหมือนกัน แทนกันไม่ได้ .

  • @sillypenquin9189
    @sillypenquin9189 ปีที่แล้ว

    ใครว่าแรงโน้มถ่วงไม่มีจริง รบกวนลองกระโดดลงจากตึก 50 ชั้นให้ดูหน่อย