วิเคราะห์จากข่าว โรคโปรตีนพอกปอด คืออะไร ทำไมเป็นได้

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 8 พ.ย. 2023
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

ความคิดเห็น • 135

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai 6 หลายเดือนก่อน +23

    วิเคราะห์จากข่าว โรคโปรตีนพอกปอด คืออะไร ทำไมเป็นได้ # PAP Pulmonary Alveolar Proteinosis
    สวัสดีครับ
    วันนี้ผมเห็นมีการนำเสนอข่าวคราวนึงนะครับที่มีผู้ป่วยคนนึงอายุประมาณ 50 กว่าปีไม่ได้สูบบุหรี่ เป็นช่างทาสีมีอาการหอบเหนื่อยเรื้อรังแล้วก็สุดท้ายไปตรวจเจอว่าปอดทั้งสองข้างเป็นฝ้าขาวและวินิจฉัยว่าเป็นโรคโปรตีนพอกปอดนะครับ ผมก็เลยจะเอาโรคนี้มาเล่าให้เราฟังกันเลยนะครับว่าโปรตีนพอกปอดนี้มันเป็นโรคอะไรกันแน่ เป็นได้อย่างไร มีวิธีในการตรวจวินิจฉัยแล้วก็รักษาอย่างไรได้บ้างนะครับ วันนี้จะเล่าให้ฟังกันเลยนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันนะครับ เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 6 หลายเดือนก่อน +3

      1️⃣
      สำหรับโรคโปรตีนพอกปอดนั้นภาษาทางการแพทย์เราจะเรียกมันว่าโรค PAP นะครับหรือย่อมาจากคำว่า Pulmonary Alveolar Proteinosis นะครับ เป็นโรคที่มีการสะสมของโปรตีนตัวหนึ่งนะครับโปรตีนตัวนี้ก็คือสารชื่อว่า Surfactant นะครับ สาร Surfactant นั้นมันเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งของเราในการทำงานของปอดนะครับ Surfactant นั้นมันจะป้องกันไม่ให้ปอดของเรามันแฟบแต่ถ้ามันมีเยอะจนเกินไปหรือทำหน้าที่ผิดปกติมันก็จะไปอุดตันตามหลอดลม อุดตันตามถุงลมของปอดทำให้เราไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้แล้วก็จะมีอาการหอบเหนื่อยเรื้อรังได้นะครับนี่คือเหตุผล
      ที่นี่ตัวโรคนี้มันเจอได้ในคนไหนบ้าง?
      ➡️ส่วนใหญ่ตามสถิติแล้วมักจะเป็นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในอัตราส่วนประมาณ 2:1 นะครับ เจอได้ในช่วงประมาณอายุประมาณ 40-50 ปีนะครับส่วนใหญ่แล้วสักประมาณ 80% จะเคยสูบบุหรี่หรือกำลังสูบอยู่บุหรี่อยู่ในปัจจุบันนะครับ อย่างไรก็ตามไม่ได้แปลว่าคนไม่สูบบุหรี่จะไม่สามารถเป็นได้นะครับอย่างกรณีนี้ในข่าวบอกว่าเขาไม่ได้สูบบุหรี่ก็ยังมีโอกาสเป็นได้เลยนะครับ แล้วในข่าวไม่ได้บอกว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงแต่ผมเดาเองนะครับถ้าช่างทาสีหน้าจะเป็นผู้ชายซะมากกว่าก็น่าจะเข้าได้กับกรณีแบบนี้นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 6 หลายเดือนก่อน +4

      2️⃣
      แล้วโรคนี้ทำไมถึงเป็นได้ และในข่าวเห็นบอกว่ามันอาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทาสี?
      ➡️อย่างไรก็ตามครับในรายงานทางการแพทย์เราพบว่ามันอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับโลหะหนักซึ่งในสีที่เอาไว้ทานี่แหละครับมันก็มีโลหะหนักอยู่หลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น มี Silica Aluminium Titanium Chromium ดีบุก ตะกั่วหรืออะไรก็แล้วแต่ขึ้นอยู่กับว่าสีที่ใช้นั้นมันเป็นสีอะไรนะครับ เราพบว่าในทางการแพทย์นะครับมันมีความเกี่ยวข้องกันของฝุ่นเหล่านี้ฝุ่นที่เป็นโลหะหนักที่เราสูดดมเข้าไปกับการเกิดโรค PAP หรือโปรตีนพอกปอด ดังนั้นในกรณีของเคสนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับตัวสีนี้ก็ได้นะครับ ส่วนว่าทำไมคนที่ทาสีหลายๆคนไม่เห็นจะเป็นโรคๆนี้เลยก็ต้องบอกว่ามันอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางพันธุกรรมนะครับ ระบบทางพันธุกรรมบางคนถ้าเกิดเกิดมาแล้วมันมีความไวต่อการเกิดโรคนี้แล้วพอไปเจอตัวกระตุ้นที่เป็นโลหะหนักก็อาจจะทำให้เกิดโรคๆนี้ขึ้นมาเลยก็ได้นะครับนั่นคือเหตุผล
      ทีนี้เรามาลงลึกจนถึงรายละเอียดกันดีกว่าว่าจริงๆแล้วกลไกการเกิดโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรนะครับ?
      ➡️ในผู้ใหญ่กับในเด็กสาเหตุจะไม่เหมือนกันเลยนะครับ
      ♦️ในผู้ใหญ่ส่วนมากเป็นเพราะว่าเรามีภูมิต้านทานบกพร่องแล้วสร้างภูมิคุ้มกันผิดปกติไปทำลายสารตัวหนึ่ง สารตัวนั้นมีหน้าที่ในการจัดการกับตัว Surfactant ที่มันมีมากจนเกินไป สารนั้นชื่อว่า GM-CSF หรือ Granulocyte Macrophage colony-stimulating factor นะครับ สารตัวนี้มันมีหน้าที่ในการกระตุ้นเม็ดเลือดชนิดต่างๆแล้วหนึ่งในหน้าที่ของมันก็คือการกระตุ้น Macrophage ซึ่งเป็นเม็ดเลือดตัวหนึ่งของเราที่ในกรณีนี้นะครับมีหน้าที่ในการทำลายตัวสาร Surfactant ที่มีเยอะจนเกินไป ถ้าเรามี GM-CSF ต่ำเพราะว่าเราโดนภูมิต้านทานทำลายไปหมดแล้วเราก็ไม่สามารถกำจัด Surfactant หรือโปรตีนที่มันเกินในปอดของเราได้มันก็จะทำให้สะสมไปอุดตันตามที่ต่างๆในปอดแล้วก็หายใจไม่ได้ในที่สุดนะครับนี่คือเหตุผลข้อที่ 1 นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 6 หลายเดือนก่อน +4

      3️⃣
      ก็จะมีเหตุผลอีกอย่างนึงก็คือต่อให้เรามี GM-CSF เพียงพอแล้วถ้าเกิดมันไม่สามารถกระตุ้นเซลล์ได้การกระตุ้นของสารตัวนึงเพื่อให้เซลล์ตัวนึงตอบสนองมันจำเป็นจะต้องมีตัวรับอยู่บนเซลล์นะครับ ถ้าตัวรับตัวนี้มันทำหน้าที่ผิดปกติไปหรือมันผิดรูปไปก็จะไม่สามารถตอบสนองต่อสารตัว GM-CSF ได้ ดังนั้นก็จะทำให้เขามีอาการโปรตีนสะสมได้นะครับนี่คือเหตุผล
      นอกเหนือจากนี้ถ้าโปรตีนมันมีความผิดปกติของตัวมันเอง เช่น Surfactant มันมีความผิดปกติอันนี้ก็จะเจอได้ตั้งแต่เด็กเลยนะครับ อาจจะมีการกลายพันธุ์บางอย่างที่เจอในระบบของเซลล์ของเราที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่เด็กนะครับ แต่ส่วนใหญ่ในผู้ใหญ่ก็มักจะเป็นจากโรคภูมิต้านทานต่อต้านกับสารชื่อว่า GM-CSF นะครับ
      ทีนี้ยังมีปัจจัยภายนอกอีกนะครับที่มันสามารถกระตุ้นให้เป็นโรคๆนี้ได้นะครับ หนึ่งในปัจจัยภายนอกก็คือโลหะหนักอย่างที่เมื่อกี้ผมบอกไป เช่น อลูมินัม ซิลิก้า หรือดีบุก อิริเดียม (Iridium) พวกนี้จะสามารถทำให้มีการกระตุ้นทำให้เป็นได้
      อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมนะครับว่าไม่ใช่ทุกคนที่สูดดมพวกนี้เข้าไปแล้วจะเป็นเนื่องจากว่าคนเราถูกสร้างมาต่างกัน ระบบพันธุกรรมทุกอย่างมันก็ไม่เหมือนกัน ความไวต่อการกระตุ้นด้วยสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงมีคนบางคนที่เป็นแล้วก็บางคนที่ไม่เป็นนะครับ เราอาจจะไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนที่มีความเสี่ยงคนไหนจะไม่มีความเสี่ยง

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 6 หลายเดือนก่อน +3

      4️⃣
      ส่วน PM 2.5 อันนี้เราบอกลำบากนะครับเพราะว่ามันอาจจะมีโลหะหนักที่กำลังพูดถึงนี้ลอยไปลอยมาอยู่ในนั้นก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด PM 2.5 ในบริเวณที่ท่านอยู่นั้นมันเกิดเพราะว่าโลหะหนักหรือเปล่าตรงนี้ผมก็ไม่สามารถตอบได้นะครับเพราะว่ามันแล้วแต่ที่เลยจริงๆนะครับ
      นอกเหนือจากนี้โปรตีนสะสมในปอดโรคนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบโลหิตวิทยา เช่น ถ้าเราเป็นมะเร็งโลหิตวิทยา มะเร็งเลือดบางอย่างก็จะสามารถเป็นโรคนี้ได้นะครับ หรือมีโรคโรคหนึ่งชื่อว่าโรค MDS (Myelodysplastic Syndrome) ซึ่งเป็นโรคของไขกระดูกนะครับ ก็สามารถทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้ คนที่เคยปลูกถ่ายไขกระดูก ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์มาก่อนก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้นะครับ
      ยังมีการติดเชื้ออีกตัวหนึ่งมันเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งนะครับชื่อว่า PJP นะครับ หรือเราเรียกว่า Pneumocystis Jirovecii นะครับ ตัวนี้คือเป็นราตัวนึงนะครับทำให้เรามีอาการคล้ายกับ PAP ได้ การไปรักษาเชื้อราตัวนี้ก็จะสามารถทำให้อาการโปรตีนในปอดหายไปได้
      อย่างไรก็ตามคนที่มีโรคโปรตีนในปอดเองนี้ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อตัวนี้อยู่แล้วนะครับ ดังนั้นพวกนี้คือสาเหตุทั้งแบบที่เป็นในตัวของท่านเองหรือเป็นปัจจัยภายนอกที่เราสามารถเจอได้

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 6 หลายเดือนก่อน +3

      5️⃣
      เมื่อไหร่ต้องไปตรวจ แล้วหมอจะตรวจอะไรบ้างนะครับ?
      ➡️ถ้าเรามีโรคหอบเหนื่อยเรื้อรังนะครับสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องตรวจคือแน่นอนว่าหมอเขาจะซักประวัติ ตรวจร่างกายต่างๆก่อนนะครับแล้วก็อาจจะมีการเอกซเรย์ปอด โรคนี้มักจะเห็นได้ด้วยเอกซเรย์ปอดนะครับมันจะเป็นฝ้าขาวทั้งสองข้างของปอดเลยนะครับ ทีนี้เวลาเราเจอฝ้าขาวของปอดแล้วเนี่ยเราต้องไปหาสาเหตุว่าอะไรทำให้เราเป็นฝ้าขาวซึ่งมันไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องเป็นโรคโปรตีนพอกปอดโรคเดียวที่ทำให้มันเป็นฝ้าขาวมันมีอีกตั้งหลายโรคที่จะทำให้เป็นฝ้าขาวได้นะครับ ดังนั้นตรงนี้เราจะต้องไปคุยกับคุณหมอที่ตรวจเรานะครับ แต่ถ้าคุณหมอเขาเห็นว่ามันเป็นฝ้าขาวผิดปกติแล้วนะครับ เขาอาจจะส่งทำ CT Scan ของปอดนะครับ มันจะมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้เราสงสัยว่าเป็นโรค PAP นะครับ คือในภาษาทางการแพทย์เราจะเรียกภาวะนี้หรือลักษณะความผิดปกตินี้ว่า Crazy-paving นะครับ คือลักษณะมันเหมือนกันปูพื้นกระเบื้องที่ปูแล้วมันไม่ค่อยสมดุล ปูไม่เรียงรายเป็นระเบียบ จะมีลักษณะแบบนั้นที่ทำให้เราเห็นในปอดนะครับ คือถ้ามีแพทย์เข้ามาฟังแพทย์โรคปอด เราก็จะดูกันที่ว่าลักษณะของ Septum ของเขาจะหนาขึ้นนะครับมี Ground-glass appearance ของบริเวณปอดที่อยู่ข้างเคียง นั้นคือลักษณะของ PAP แต่ว่าลักษณะแบบ Crazy-paving เราสามารถเจอได้ในโรคอื่นๆอีกตั้งเยอะตั้งแยะนะครับมันไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นโรคนี้นะครับ

  • @Achawan_edu
    @Achawan_edu 6 หลายเดือนก่อน +5

    🌈โปรตีนพอกปอด ครั้งแรกในชีวิตที่ได้ยิน
    วันนี้ได้ศัพท์โปรตีนพอกปอด : PAP (Pulmonary Alveolar Proteinosis)
    คืออะไร เป็นได้อย่างไร มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร รักษาอย่างไร
    อะไรที่เกี่ยวกับปอด รู้จักคุณหมอแทนคนเดียว รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับปอด 👍👍
    น่าสนใจมากค่ะ ขออนุญาตบันทึกย่อค่ะ
    🚩เป็นโรคที่สะสมโปรตีนตัวหนึ่ง เรียกว่า สาร Surfactant ซึ่งสารตัวนี้ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวของการทำงานของปอด ไม่ให้ปอดเราแฟ๊บ
    แต่หากมีมากเกินไป สารตัวนี้จะไปอุดตันตามหลอดลม ถุงลม ของปอด ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ ทำให้เกิดหอบหืดเรื้อรังได้
    🚩โรคนี้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในอัตราส่วน 2:1 พบได้ในผู้ที่อายุ 40-50 ปี
    ส่วนใหญ่ที่พบใน 80 % ของผู้เคยสูบบุหรี่ หรือกำลังสูบบุหรี่ แต่คนที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้
    🚩เกิดขึ้นได้อย่างไร ในทางการแพทย์ โรค PAP มีความเกี่ยวข้องกับโลหะหนัก
    คนไข้รายนี้เป็นช่างทาสี พบว่าสีที่ใช้ทานั้น มีโลหะหนักหลายชนิด ซึ่งสูดดมเข้าไปทำให้เกิดโรค PAP
    ได้ในบางราย
    📌กลไกการเกิดโรค หากเกิดขึ้นในเด็ก หรือผู้ใหญ่ จะมีสาเหตุไม่เหมือนกัน
    🌰ปัจจัยภายในร่างกายที่ทำให้เกิดโรค PAP
    1. ในผู้ใหญ่เกิดจากภูมิต้านทานบกพร่อง และร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปรกติซึ่งไปทำลายสาร GM-CSF ซึ่งมีหน้าทีจัดการกับสาร Surfactant
    2. แม้ว่าร่างกายเรามี GM-CSF เพียงพอแล้ว ถ้าเกิด GM-CSF ไม่สามารถกระตุ้นเซลล์ได้
    ซึ่งในการกระตุ้นของสารตัวนึงเพื่อให้เซลล์ตัวนึงตอบสนอง จำเป็นจะต้องมี "ตัวรับ" อยู่บนเซลล์
    ถ้าตัวรับตัวนี้ทำหน้าที่ผิดปกติหรือผิดรูปไปจะไม่สามารถตอบสนองต่อสาร GM-CSF (ซึ่งทำหน้าที่จัดการกับสาร Surfactant) ได้
    นี้จึงเป็นสาเหตุที่คนไข้มีอาการโปรตีนสะสมได้
    3. ในกรณีโปรตีนผิดปรกติ เช่น Surfactant ผิดปรกติ ซึ่งกรณีแบบนี้พบได้ในเด็ก
    สำหรับผู้ใหญ่มักเกิดขึ้นในกรณีที่ 1 และ 2
    🌰ปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค PAP
    1. จากโลหะหนัก เช่นอะลูมินั่ม ซิลิก้า ดีบุก อิริเดียม สูดดมเข้าไปเกิดการกระตุ้นทำให้เป็นได้
    อย่างไรก็ตามการสูดดมสารเหล่านี่้ไม่ใช่ทุกคนที่สูดดมแล้วจะเป็น ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม ความไวของร่างกายต่อการกระตุ้น ซึ่งแต่ละจะแตกต่างกัน
    2. ในกรณี PM 2.5 สูดดมจะเป็นไหม ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่า มีโลหะหนักใน บริเวณที่เราอยู่อาศัยหรือไม่
    🌰 ปัจจัยภายนอกอื่นๆ
    3. โรค PAP ยังเกี่ยวข้องกับโรคทางโลหิตวิทยาด้วย เช่นโรคมะเร็งเลือดบางอย่าง ก็มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรค PAP ได้
    4. โรค MDS หรือ myelodysplastic syndrome
    (MDS) เป็นโรคของไขกระดูก มีความเสี่ยงของโรค PAP ได้
    5. ผู้ที่เคยปลูกถ่ายไขกระดูก ปลูกถ่าย stem cell มาก่อน ก็มีความเสี่ยงของโรค PAP ได้
    6. การติดเชื้อรา PJP ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำให้คนไข้มีอาการ คล้ายอาการ PAP ได้
    การรักษาเชื้อราตัวนี้แล้ว ทำให้โปรตีนในปอดหายได้
    7. สำหรับคนที่เป็นโรคโปรตีนในปอดอยู่แล้ว ก็จะเสี่ยงที่จะเป็นโรค PAP ได้

  • @srisudad7207
    @srisudad7207 6 หลายเดือนก่อน +8

    ขอบพระคุณอาจารย์หมอแทนค่ะ ที่สละเวลา มาให้ความรู้คนไทยอย่างรวดเร็วค่ะ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 6 หลายเดือนก่อน +5

    ขอแสดงความยินดีค่ะคุณหมอแทน
    ยอดผู้ติดตาม 5.19 แสนคนค่ะ
    สถานีต่อไป 5.2 แสนคนค่ะ
    ช่อง Doctor Tany ช่องคุณภาพ
    ดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ
    เนื้อหาหลากหลาย ประโยชน์มากมาย
    ชัดเจน ตรงจริง ครอบคลุม ทุกประเด็น
    ขอให้ได้ 1 ล้านซับไวๆนะคะ
    🏡🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🏕

  • @thanitasuksungnoen6500
    @thanitasuksungnoen6500 3 หลายเดือนก่อน

    เคยเป็นตอนเด็กค่ะ เมื่อ16ปีที่แล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นโรคเดียวกันไหม ตอนนั้นคุณหมอไม่ทราบสาเหตุของอาการ บอกว่า มีโปรตีนในปอดเยอะ พบอาการนี้ได้ 1ในล้าน อาการตอนแรกๆเข้าขั้นวิฤต คุณหมอให้เผื่อใจไว้ จนรักษามาแบบในคลิปที่คุณหมอบอก รักษาได้ประมาณ5ปี หายสนิทเลยค่ะ คุณหมอที่รักษามายังไม่เชื่อว่าจะหายได้ แต่คุณหมอก็ยังไม่สามารถบอกสาเหตุที่เป็นได้ สงสัยมา16ปี จนตอนนี้ที่ได้ฟังคลิปของคุณหมอ เข้าใจเลยค่ะ คลิปของคุณหมอมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

  • @bemiracle
    @bemiracle 6 หลายเดือนก่อน +6

    ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีโรคนี้ อันตรายมาก
    ดีที่อ.หมอ สละเวลามาให้ข้อมูล เป็นประโยชน์กับเราๆมากค่ะ
    ขอบคุณมากนะคะอ.หมอ🙏🙂

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn 6 หลายเดือนก่อน +13

    กราบขอบพระคุณค่ะคุณหมอแทน อธิบายทันท่วงทีทำให้หายสงสัยไปได้หลังจากที่ฟังข่าว การรักษาอะไรในปอดช่างยุ่งยากและไม่ธรรมดาจริงๆ อย่างวิธีรักษาโดยการล้างปอดที่คุณหมอเล่านั้นยากมากต้องอาศัยความชำนาญและอดทน ทั้งผู้ทำหัตถการและทั้งคนไข้ แต่ก่อนทำแพทย์เจ้าของไข้ก็ต้องประเมินหลายอย่าง เช่นสมรรถนะหัวใจและปอด, ภาพทางรังสีของทรวงอก, การทำงานปอด, การบีบตัวกล้ามเนื้อหัวใจ, ประวัติการล้างปอดครั้งก่อนถ้ามี และถ้าต้องล้างหลายครั้ง ก็เป็นที่กังวลเข้าไปอีก ไม่เป็นโรคนี้เลยจะดียิ่ง จึงพึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อปอดตามที่คุณหมอแทนให้รายละเอียดไว้จึงป้องกันได้ดีที่สุด

    • @user-zc2je6eq6l
      @user-zc2je6eq6l 6 หลายเดือนก่อน +1

      ขอบคุณมากค่ะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 6 หลายเดือนก่อน +4

    💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะอาจารย์💐
    🎉ตอนนี้ผู้ติดตาม 5.19 แสนคนแล้วค่ะ🎉

  • @ALL86898
    @ALL86898 6 หลายเดือนก่อน +3

    ยินดีกับผู้ติดตามFC5.1.9แสน คนค่ะ💙💙💙💙💙.💜.❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️🚀🚀🚀🚀👏👏👏👍👍👍

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 6 หลายเดือนก่อน +3

    ผู้ติดตาม🐦🐦🐡
    5.18แสน🐿️🐿️
    ยินดีด้วยค่ะ🐼🐨🐻
    ขอบคุณมากค่ะ🐇🐇
    โรสิตาก็มายินดีด้วยค่ะ🐕🐕

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰

  • @bankkung2539
    @bankkung2539 6 หลายเดือนก่อน +2

    น่าสนใจมาก

  • @radda2243
    @radda2243 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ

  • @audaudanut3068
    @audaudanut3068 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดืครับติดตามรับชมอยู่ครับ

  • @duangchino9078
    @duangchino9078 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณมากค่ะ คุณหมอ

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ🙏

  • @jackarpong_karbinsing
    @jackarpong_karbinsing 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณครับอาจารย์แพทย์

  • @pechr-qk6go
    @pechr-qk6go 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏

  • @chatnareemeesukko8829
    @chatnareemeesukko8829 6 หลายเดือนก่อน +1

    🙏ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน 👍😊

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ❤

  • @abzogentbyjenny5445
    @abzogentbyjenny5445 6 หลายเดือนก่อน +1

    คลิปนี้มีประโยชน์มากๆ ค่ะ

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ

  • @ALL86898
    @ALL86898 6 หลายเดือนก่อน +4

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน😍เสื้อสีสวย สีฟ้า ตัวนี้เหมือนเคยใส่เล่นเปียโน 😊คุณหมอมาให้ความรู้เรื่อง โรคชนิดหนึ่ง คือโปรตีนพอกปอด จากข่าวคนอายุ 50ปี ไม่สูบบุหรี่ เป็นช่างทาสี ป่วยเป็นโรคโปรตีนพอกปอด PAP มีการสะสมของโปรตีนตัวหนึ่ง โปรตีนตัวนี้ป้องกันไม่ให้ปอดแฟบ ตรวจพบปอดเป็นฝ้าทั้งสองข้าง มักเจอในคนที่อายุ40-50ปีส่วนใหญ่เจอในคนที่สูบบุหรี่ เคสนี้คงเป็นผู้ชาย เพราะส่วนใหญ่ผู้ชาย เป็นช่างทาสีเกี่ยวกับโลหะหนัก ในสี เช่น ตะกั่วดีบุก อะลูมินั่ม ซิลิก้า บางคนเป็นหรือไม่เป็น ทางการแพทย์เกี่ยวข้องกับโรคนี้ และเกี่ยวกับพันธุกรรม ที่เป็นฝุ่น เคสนี้ อาจเกี่ยวกับ สี รายละเอียด ในผู้ใหญ่และเด็กไม่เหมือนกัน ผู้ใหญ่ที่มีภูมิต้านทานสาร บกพร่อง ต่างๆ สารตัวนี้ ไปทำลาย ตัวกระตุ้น ถูกกระตุ้น ทำให้ไม่สามารถทำลายจึงเกิดโปรตีนมากในปอด การกระตุ้น ต้องมีตัวรับ ผิดปกติ
    เหตุผลที่สองการกระตุ้น มีตัวรับผิดปกติเกิด โปรตีนสะสมได้
    เจอตั้งแต่เด็ก
    อะลูมินั่ม ซิลิก้า ระบบของร่างกายไม่เหมือนกัน ความเสี่ยงต่างกัน และPm 2.5 ที่ลอยอยู่ในอากาศอาจมีโลหะหนักลอยอยู่ เกี่ยวโรคกับโลหิตวิทยา
    มะเร็งเลือด โรคไขกระดูก การติดเชื้อรา บางชนิด มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ มีปัจจัยทั้งภายในภายนอก ถ้ามีคน🌳ที่มีโรคหอบหืดเรื้อรัง ซักประวัติ ก่อน เอ็กเรย์ ตรวจปอดเห็นฝ้า ขาว ในปอด ถ้าผิดปกติ ส่งทำCT SAGAN และที่ct sagan รักษาโดยส่องกล้อง ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในปอด ใช้น้ำล้างปอดไปตรวจ ได้คำตอบ50%ต้องและ ตัดชิ้นเนื้อปอดไปตรวจด้วย ทำสองอย่าง และการตรวจภูมิต้านทาน ที่อเมริกา ทราบได้ดีร้อยเปอรเซ็นต์
    🌳รักษาโดย การล้างปอด ใส่ท่อ ทีมีสองช่อง และล้าง ทีละข้าง วางยาสงบ คนไข้ ทำในห้อง ไอซียู ใช้น้ำเกลือเทลงไปในท่อช่วยหายใจ 500cc และมีการเคาะปอด ทำทุกห้านาที ให้คนไข้ก้มศรีษะเอาน้ำออก ทำถึง15ครั้ง คนไข้อาจทนไม่ได้นานเพราะต้องหายใจด้วยปอดข้างเดียว ใส่ น้ำข้างละ ไม่ให้น้ำเกิน 200cc ในปอด แต่ละข้าง บางคนรักษาเป็นปี เป็นการรักษาที่ได้ผล ทำไมไม่ให้ยาออโตอีมูน เช่นการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า ไม่ได้ผล
    คนไข้ทีไม่สามารถทนการล้างปอด ได้จึง ต้องใช้วิธีอื่นๆ ตามทีคุณหมอบอก ขอบคุณค่ะ 🙏👍❤️

  • @user-qs9tq7rh3z
    @user-qs9tq7rh3z 6 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 6 หลายเดือนก่อน +2

    😊อจ.หมอมาแล้วขอบคุณมากค่ะ 🙏

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีคะคุณหมอ

  • @user-ye9lv2zk3n
    @user-ye9lv2zk3n 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณค่ะ

  • @huanghuang5334
    @huanghuang5334 6 หลายเดือนก่อน +2

    เพิ่งเคยได้ยินค่ะ มีอะไรที่ยังไม่รู้อีกเยอะเลยค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 6 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ😊😍😍

  • @skvivo1453
    @skvivo1453 6 หลายเดือนก่อน +2

    สาธุค่ะ

  • @user-zl2em4wc9h
    @user-zl2em4wc9h 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณค่ะ🙏

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 6 หลายเดือนก่อน +4

    🙏ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ เพิ่งเคยได้ยินค่ะ

  • @user-rw3th5vx7p
    @user-rw3th5vx7p 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณคุณหมอ ที่มาให้ความรู้เรื่องนี้นะคะ🙏

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 6 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะ ไม่เคยได้ยินชื่อโรคนี้มาก่อนเลยค่ะ โชคดีที่ได้ติดตามคุณหมอมาตลอดเพราะได้รู้จักโรคแปลกๆ การที่คนเราเป็นโรคภัยก็ถือว่าโชคร้ายการใช้ชีวิตลำบากแล้วนะคะ แต่ก็มีบางคนเป็นโรคที่แปลกๆการตรวจพบก็ยาก การรักษาก็ยากถือว่าโชคร้ายมากๆเลยนะคะ รู้อย่างนี้แล้วรู้สึกรักและขอบคุณร่างกายตัวเองมากเลยค่ะที่ยังแข็งแรงและไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรง ต่อไปนี้จะใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจให้ดีที่สุดค่ะ❤❤

  • @user-nl3do1vr2n
    @user-nl3do1vr2n 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะอาจายร์หมอ
    🙏

  • @RISA_1234.
    @RISA_1234. 6 หลายเดือนก่อน +3

    เพิ่งได้ยินชื่อโรคนี้เป็นครั้ง คุณหมอวิเคราะห์ได้ดีมาก เห็นภาพเลยตรงกระเบื้องปูพื้นค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ น่ะค่ะ😊🎉

  • @thanajeawmalee8634
    @thanajeawmalee8634 6 หลายเดือนก่อน +2

    ทันต่อเหตุการณ์ อธิบายชัดเจน ฟังง่าย ได้ประโยชน์มากๆ ขอบคุณครับ

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน
    คุณหมอมาให้ความรู้ ~10-15นาทีก็เยี่ยม👍แล้วค่ะ🤩

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 6 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากคะวันนี้มาให้ความรู้ วิเคราะห์จากข่าว โรคโปรตีนพอกปอด คืออะไร ทำไมเป็นได้#PAP Pulmonary Alveolar ได้ประโยชน์มากคะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏❤️🌹

  • @AMMY.SKM1985
    @AMMY.SKM1985 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดี​ค่ะ อาจารย์​🙏🏻​🧸​✨​😊
    ขอบคุณสำหรับความรู้​เรื่องโรคโปรตีนพอกปอดนะคะ
    โรคนี้ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนเลยค่ะ แถมการรักษา​ก็ยากและลำบากมากด้วย 😅

  • @appstore2883
    @appstore2883 6 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีครับอาจารย์หมอ ผมติดตามอาจารย์ตั้งแต่ตัวเองติดเชื่อโควิดในปี2021
    ยอมรับว่าได้ความรู้จากอาจารย์ในการปฏิบัติตัวและดูแลตัวเองเบื้องต้นในขณะนั้น
    ขอบคุณที่มอบความรู้ให้คนไทยมีประโยชน์มากครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

  • @thanawanrajavanith4603
    @thanawanrajavanith4603 6 หลายเดือนก่อน +1

    ไม่เคยรู้จักหรือได้ยินโรคนี้มาก่อน ขอบพระคุณ คุณหมอ ที่ให้ความรู้ของโรคโปรตีนพอกปอดค่ะ

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ช่วงนี้ดูย้อนหลังประจำว่างไม่ตรงค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะให้ความรู้ความห่วงใยFc เสมอ

  • @pannko8888
    @pannko8888 6 หลายเดือนก่อน +3

    yeahดีใจจังคุณหมอมาแล้วคิดถึงจังเลยที่นี้ถ้าคิด content ไม่ออกคุณหมอดูข่าวแล้วก็วิจารณ์หรือเอาความเห็นในมุมของคุณหมอมาพูดคุยถกปัญหาดีมากเลยค่ะคุณหมอจะได้มีเรื่องคุยได้เยอะๆๆดีมั้ยค่ะ❤กุ้งยิงจะได้เห็นคุณหมอทุกวันด้วย😂😂😂

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 6 หลายเดือนก่อน +2

    😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 6 หลายเดือนก่อน +2

      @ เอื้องมะลิ
      สวัสดีค่ะคุณครู
      แวะมาทักค่ะ
      มีความสุขมากๆนะคะ ⚘❤⚘
      @ Doctor Tany
      ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
      ขอให้งานราบรื่น ลงตัวนะคะ 🌻🧡🌻

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali 6 หลายเดือนก่อน +2

      @@boomsong5729
      😊💖 ขอบคุณมากนะคะ
      มีความสุขกับการพักผ่อนค่ะ

  • @sukanyaputhapitak909
    @sukanyaputhapitak909 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะ

  • @Chanisa693
    @Chanisa693 6 หลายเดือนก่อน +1

    🙏🏼🙏🏼🙏🏼 กราบขอบพระคุณคุณหมอ อีกครั้งนะ ที่อธิบายละเอียดมาก
    ดิฉันเคยมีคำถามเกี่ยวกับ การล้างปอดคุณหมอเคยตอบดิฉันมาแล้ว
    เพราะดิฉันป่วยเป็นโรค Autoimmune
    สัปดาห์หน้าดิฉันมีทำ CT Scan ปอด 2 โรงพยาบาล ประมาณสัปดาห์ถัดไปคงจะทราบผลว่า ดิฉันจะต้องล้างปอดหรือไม่
    ถ้าทราบผลอย่างไร จะมาแชร์ประสบการณ์นะคะ
    ที่แน่ๆ ตอนนี้เหนื่อยและน้ำหนักลดลงเร็วมาคะ

  • @Phanita999
    @Phanita999 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ ช่าง ที่รับตกแต่ง บ้านก็ตายด้วยมะเร็งปอดค่ะ อยู่แต่กับสี กับ ฝุ่นค่ะ น่ากลัว

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 6 หลายเดือนก่อน +1

    กราบขอบพระคุณคุณหมอที่กรุณามาให้ความรุ้ที่เป็นโรคแปลกๆไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยคะ 🙏

  • @supaveethana4984
    @supaveethana4984 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณครับคุณหมอฯ
    อัตราการพบผู้ป่วยโรคนี้น่าจะค่อนข้างน้อยหรือเปล่าครับ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +4

      น้อยมากครับ แต่ถ้ามันเกิดมีความเกี่ยวข้องกับ PM2.5 ขึ้นมา อันนี้เราอาจจะได้เจอเคสเพิ่มขึ้นก็ได้ ปัญหาคือ หมอทั่วไปก็ไม่ค่อยรู้จักโรคนี้ครับ ดังนั้นอาจจะมีที่วินิจฉัยไม่ได้อยู่เหมือนกันครับ

    • @supaveethana4984
      @supaveethana4984 6 หลายเดือนก่อน +1

      @@DrTany ขอบคุณครับคุณหมอ
      ขอให้ PM2.5 ไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นครับ ไม่อย่างนั้นอนาคตคงจะย่ำแย่กัน

  • @user-xq4ds5db4h
    @user-xq4ds5db4h 2 หลายเดือนก่อน +1

    ลูกสาวอายุ12ปีมีน้ำในเยื่อหุ้มปอดหมอบอกน้ำมีโปรตีนสูง

  • @Chaweewan8769
    @Chaweewan8769 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ที่กรุณาสละเวลามาให้ความรู้ใหม่ๆแก่พวกเรา👏

  • @yupinintaya3081
    @yupinintaya3081 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอแทนเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับประชาชนทั่วไปมีประโยชน์มากค่ะ❤

  • @seaku01
    @seaku01 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับคุณหมอ ถ้ามีโอกาส อยากให้คุณหมอพูดเกี่ยวกับเรื่อง อาการแพ้และการอักเสบจากการทานอาหารปนเปื้อนไมโครพลาสติกบ้างครับว่ามีผลจริงหรือไม่ครับ รอติดตามครับขอบคุณครับ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +3

      ผลมันก็มีครับ แต่ไม่ได้มากขนาดที่คนพยายามพูดให้กลัว ที่สำคัญมันไม่มีทางหลีกเลี่ยง microplastic ได้ครับ มันมีปนอยู่ในอาหารทุกประเภทเลยครับ

    • @seaku01
      @seaku01 6 หลายเดือนก่อน +2

      @@DrTany ขอบพระคุณคุณหมอมากครับ FC จากเมืองไทยครับ

  • @somyosanantnakin6655
    @somyosanantnakin6655 6 หลายเดือนก่อน +3

    จากคำแนะนำของคุณหมอที่บอกว่า วิตามินอี ช่วยทำให้ค่าตับอักเสบลดลงได้ และแมกนีเซียม ช่วยลดไมเกรน ถูกต้องไหมคะ กำลังจะ Order ยา อาหารเสริม พอดีฟังผ่านแล้วไม่ได้จดไว้ค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +4

      ใช่ครับ แต่ต้องอย่ากินเยอะครับ แมกนีเซียมนี่กินต่อเนื่องได้ แต่วิตามินอี ไม่ควรกินนานเกินสองเดือนครับ

  • @deerryminako1193
    @deerryminako1193 6 หลายเดือนก่อน +1

    เพิ่งเคยได้ยินชื่อโรคนี้เลยค่ะคุณหมอ

  • @user-yq9mc8cz3y
    @user-yq9mc8cz3y 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณคุณหมอมากๆที่อธิบายอย่างละเอียด ฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างค่ะ😅 แต่รู้สึกทึ่งมากๆกับวิวัฒนาการทางการแพทย์ ที่ทำให้ทราบลักษณะโรค สาเหตุและวิธีการรักษา ที่ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้เลย

  • @questvip6567
    @questvip6567 6 หลายเดือนก่อน +1

    หมอคะขอถามหมอนอกเรื่องนิดนึงค่ะ มีการแนะนำว่าการแปรงฟันแห้งแบบไม่บ้วนปากทั้งก่อนและหลังแปรงฟันนั้นดี อยากให้หมอช่วยยืนยันหน่อยค่ะ ว่าควรทำตามหรือไม่ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +3

      มันช่วยให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันเคลือบที่ฟันได้ซึ่งก็ดีครับ แต่บางคนทำแล้วยาสีฟันมันกัดริมฝีปากด้านใน หรือเหงือกได้ แล้วแต่คน ถ้าทำแล้วไม่มีปัญหาก็ทำได้ครับ

  • @user-mr8fp6lo6g
    @user-mr8fp6lo6g 6 หลายเดือนก่อน +1

    🙏🙏❤❤

  • @narlaw1342
    @narlaw1342 6 หลายเดือนก่อน +2

  • @EedWatcharapornTubrutn
    @EedWatcharapornTubrutn 6 หลายเดือนก่อน +2

    🗓️ พฤหัส 9 พ.ย. 2566
    ข่าวช่างทาสี หอบเหนื่อยเรื้อรัง ปอดเป็นฝ้าขาว ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคโปรตีนพอกปอด 🫁
    Pulmonary alveolar proteinosis (PAP) เพิ่งเคยได้ยินเลยค่ะ
    ขอบคุณสำหรับความรู้เลยค่ะ เนื้อหาน่าสนใจค่ะ เพราะ คนทาสี ที่เคยเห็นตอนทำงานไม่ค่อยได้ใช้เครื่องป้องกัน และการสูดดมโลหะหนัก ไม่ดีต่อปอด อย่างไร จากที่ไม่ค่อยกลัวกลิ่นสารเคมี เริ่ม ต้อง ระมัดระวัง และป้องกันตัวให้มากขึ้นแล้วค่ะ บางคน อาจมีความรู้เยอะ ไม่ใช้สารเคมีเลยค่ะเน้นแต่ของธรรมชาติ สเปรย์ยากันยุง น้ำหอม น้ำหอมปรับอากาศในรถยนต์ เห็นพี่เค้าหลีกเลี่ยงมากๆ อาหารก็เลือกกินแต่อาหารชีวจิต ถั่ว 🌰 🥜 🫘งา ข้าวโพด 🌽 ยัง นึกว่า โหทำไม กลัวพวกสารเคมีมากมายจัง วันนี้เริ่มเข้าใจแล้วค่ะ
    Pulmonary alveolar proteinosis (PAP) เป็นโรคที่มีการสะสมโปรตีนตัวหนึ่งคือสาร surfactant เป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีความจำเป็น อย่างยิ่งของคนในการทำงานของปอด
    🫧🫁🫧 surfactant จะป้องกัน ไม่ให้ปอดของเราแฟบ
    🔺แต่ถ้ามีเยอะเกินไปหรือทำหน้าที่ผิดปกติ มันจะไปอุดตันตามหลอดลม ตามถุงลมของปอดทำให้ เราไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ และจะมีอาการหอบเหนื่อยเรื้อรังได้
    Pulmonary alveolar proteinosis (PAP) ตามสถิติ มักเป็น
    👨🏻ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2:1
    👨🏻 เจอในช่วง อายุ 40-50 ปี
    👨🏻 🚬 80% พบว่าสูบบุหรี่หรือ กำลังสูบบุหรี่ ในปัจจุบัน
    👨🏻🫁 อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แปลว่า คนไม่สูบบุหรี่ จะไม่เป็น ในข่าวอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทาสี 🎨🎨🖌️
    📚🩺👨‍⚕️ ในรายงานทางการแพทย์พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับโลหะหนัก 🎨 สีที่ทา มีโลหะหนักอยู่หลายชนิดเช่น ซิลิกา อะลูมิเนียม ไทเทเนี่ยม โครเมียม ดีบุก ตะกั่ว ขึ้นอยู่กับสีที่ใช้เป็นอะไร พบมีความ เกี่ยวข้องกันของฝุ่นโลหะหนัก ที่เราสูดดมเข้าไปกับการเกิดโรค โปรตีนพอกปอด ดังนั้น กรณีของเคสนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับสีก็ได้ 🎨🖌️
    คนที่ทาสีหลายหลายคนอาจไม่เป็นโรคนี้เพราะว่า จะมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางพันธุกรรม ถ้าคนที่มีความไวก็จะกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้
    👨🏻➰🧒 ในผู้ใหญ่กับเด็กจะไม่เหมือนกันผู้ใหญ่จะมีความบกพร่องของภูมิคุ้มกัน การสร้างภูมิคุ้มกันผิดปกติไปทำลายสารตัวหนึ่ง สารตัวนั้นมีหน้าที่ในการจัดการกับ ตัว 🫧🫁🫧🫧 surfactant ที่มันมีมากจนเกินไป สารนั้นชื่อ GMCSF หรือ 🫧 Granulocyte-macrophage colony-stimulating factor สามตัวนี้มีหน้าที่ในการกระตุ้นเม็ดเลือดชนิดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือการกระตุ้น macrophage ซึ่งเป็นเม็ดเลือดตัวหนึ่งของเรา กรณีนี้ มีหน้าที่ทำลายสาร surfactant ที่มีเยอะจนเกินไป ถ้ามี GMCSF ต่ำ ก็ไม่สามารถกำจัดสาร surfactant ที่มันเกินในปอดของเราได้มันก็จะไปอุดตันสะสมตามที่ต่าง ๆ ในปอด และ หายใจไม่ได้ในที่สุด
    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn 6 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณค่ะ Tany สำหรับ ❤️❤️❤️❤️♥️♥️♥️♥️💖💖💖💖💖💖 Have a wonderful & happiness moment time together with an adorable Rosy ค่ะ 🐶💋💋🩺👨‍⚕️🌹🌹🌸🌸🌷🌷💐💐🌼🌼

  • @user-um9hg2yk6o
    @user-um9hg2yk6o 6 หลายเดือนก่อน +2

    😊

  • @Sirithanawin
    @Sirithanawin 6 หลายเดือนก่อน +1

    ❤❤

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 6 หลายเดือนก่อน +3

    😊💐ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ💓👍👍
    เย้ๆๆ 5.19 แสนคน🎉🎉🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️🍒☄️
    ขอบคุณอจ.หมอแทนมากค่ะขอให้มีผู้ติดตามฟังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆๆ นะคะ🧑‍🤝‍🧑👫ประชาชนได้รับความรู้เป็นประโยชน์จาก
    อจ.หมอแทนค่ะ😊
    /\__/\
    .❛ ᴗ ❛. ขอบคุณ
    🙏 มาก
    (ෆ ෆ) ค่ะ🧡

  • @sveehaapy639
    @sveehaapy639 6 หลายเดือนก่อน +2

    สารอลูมินัม หม้ออลูมิเนียมใช้ปรุงอาหารนาน ๆๆๆ เกิดได้ทางสมอง หรือ ปอด ใหนมากกว่ากัน ??? คะ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +2

      น่าจะสมองครับ แต่ไม่น่าจะมาก

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan 6 หลายเดือนก่อน +1

      หม้ออลูมิเนียม มีการละลายของอลูมิเนียมออกมาน้อยมาก ไม่เกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดครับ.

  • @Kamonpa33
    @Kamonpa33 6 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ มาพร้อมความห่วงใยค่ะ ขอเรียนปรึกษาคุณหมอนะคะ ประมาณปี 61 ที่ทำงานมีหน่วยงานมาตรวจสุขภาพประจำปีให้ข้าราชการในสำนักงาน มีรถตรวจเอ็กซเรย์ปอด ปรากฎมีฝ้าขาวตรงด้านในระหว่างปอดสองข้างนิดหน่อยค่ะ แต่ไม่ได้มีอาการอะไร ที่บ้านเลี้ยงน้องแมวด้วยค่ะ แต่นอนคนละห้องนะคะ เป็นอันตรายรึป่าวคะ สุขภาพโดยรวมไม่มีอะไรค่ะ มีแต่ต้องลดน้ำหนักลงค่ะ ออกกำลังกายทุกวันค่ะ ท่าซุบเปอร์แมนและท่าปลาดาวค่ะได้ผลดีมากเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

    • @Kamonpa33
      @Kamonpa33 6 หลายเดือนก่อน +2

      อายุ 63 ปี ค่ะ เคยเป็นนักกีฬาฝึกวันละ 3 - 4 ชม.ค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +2

      ถ้าหมอที่อ่านผลเขาบอกว่ามีฝ้า อันนั้นควรตรวจเพิ่มเติมกับหมอโรคปอดครับ

    • @Kamonpa33
      @Kamonpa33 6 หลายเดือนก่อน +1

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะ

  • @ployployprapai3809
    @ployployprapai3809 6 หลายเดือนก่อน +1

    ❤❤❤🙏

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 6 หลายเดือนก่อน +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    กลไกการเกิดโรค Plumonary Alveolar Proteinosis ในเด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน
    ในเด็กถ้าโปรตีนมีความผิดปกติของตัวเอง เช่น Surfactant มีความผิดปกติ จะเจอได้ตั้งแต่เด็ก อาจมีการกลายพันธุ์บางอย่างที่เจอในระบบเซลล์
    ในผู้ใหญ่มักเป็นจากโรคภูมิต้านทานต่อต้านสาร GM-CSR
    ยังมีปัจจัยภายนอก เช่นโลหะหนัก อลูมีเนียม ซิลิก้า ดีบุก อิริเดียม
    แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สูดดมแล้วจะเป็น เพราะคนเราถูกสร้างมาต่างกัน ระบบพันธุกรรมไม่เหมือนกัน ความไวต่อการกระตุ้นก็ไม่เหมือนกัน
    ยังมีความเสี่ยงอื่นๆอีกเช่น
    PM 2.5 อาจมีโลหะหนักลอยอยู่
    โรคทางระบบเลือด เช่นมะเร็งเม็ดเลือดบางอย่าง
    โรค MDS (Myelodysplastic Syndrome) โรคของไขกระดูก
    คนที่เคยปลูกถ่ายไขกระดูก ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
    การติดเชื้อรา PJP (Pneumocytis jerovecil) เป็นเชื้อราที่มีอาการคล้ายกับ PAP การรักษาเชื้อรา จะทำให้หายได้
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
    รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
    🌻🌻🌻🌻🧡🌻🌻🌻🌻

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 6 หลายเดือนก่อน +1

      ขออภัยค่ะคุณหมอ
      GM-CSF ค่ะ

  • @Chefaey
    @Chefaey 6 หลายเดือนก่อน +1

    เมื่อวานดูคลิปแล้วลืมถามคะนอกจากโปรตีนพอกปอดได้แล้วสามารถพอกกับอวัยวะอื่นได้ไหม
    อย่างเช่นหัวใจถ้าสามารถพอกหัวใจได้อันนี้คืออันตรายไหมคะ ขอบคุณคะ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +2

      มันไม่มีชื่อเรียกว่าโปรตีนพอกอวัยวะอื่น แต่ก็มีสิ่งที่คล้ายๆกันเรียก Amyloidosis ครับ

    • @Chefaey
      @Chefaey 6 หลายเดือนก่อน +1

      @@DrTany ขอบคุณมากๆเลยคะ

  • @ALL86898
    @ALL86898 6 หลายเดือนก่อน +2

    คุณหมอ คะสวัสดีค่ะ ตอนนี้เริ่มทำสมุดสุขภาพ ของตัวเอง เพื่อจดบันทึก ความรู้ทางการแพทย์ จากคลิปของคุณหมอ DrTany ความรู้เรื่อง โรคต่างๆ ไว้ บ้าง เพื่อเป็นความรู้ แม้จะหายจากโทรศัพท์ จะมีสิ่งที่เราจดไว้ ค่ะ
    วันนี้รบกวนถามคุณหมอว่า ไม่ทราบคุณหมอ เคยทำคลิปโปรตีนพอกตับหรือยัง อยากเก็บความรู้นี้ค่ะ ตับมีอันเดียว มันคงอันตรายถ้า มันเป็นไรเกิดขึ้น ขอบคุณค่ะ🙏

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +4

      ผมไม่รู้จักโรคโปรตีนพอกตับเลยครับ

    • @ALL86898
      @ALL86898 6 หลายเดือนก่อน +2

      @@DrTany อ้าว คะ เห็นมีคน เพื่อนๆเคยพูด อายจัง มันคือ อะไรค่ะ แบบนี้ 55

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan 6 หลายเดือนก่อน +2

      ไขมันพอกตับ ครับ ที่จริงต้องเรียกว่า ไขมันแทรกตับ จึงจะตรงที่สุด. คุณหมอได้เคยพูดไว้แล้วครับ th-cam.com/video/1x4fWMW93HY/w-d-xo.htmlsi=oNyrkehp-caqEGZz

    • @ALL86898
      @ALL86898 6 หลายเดือนก่อน +2

      @@surasakanakekanjanapan ขอบคุณ คุณสุรศักดิ์ค่ะ🙏 ที่ส่งคลิปมาให้ ไขมันแทรก ตับ 😊

  • @bonnydao3259
    @bonnydao3259 6 หลายเดือนก่อน +1

    หมอครับ ผมเจอคลิปๆนึง เป็นหมอ บอกว่าเค้าทานเวย์ จนทำให้ค่าตับสูง อันนี้เปนได้ทุกคนไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +1

      เป็นไปไม่ได้ครับ

  • @GeraldMistgun
    @GeraldMistgun 6 หลายเดือนก่อน +1

    โรคนี้พบเจอบ่อยมั๊ยครับ หรือพบเจอในคนทั่วไปประมาณกี่ % ครับ พอจะมีข้อมูลสถิติมั๊ยครับ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +3

      พบน้อยมากครับ ระดับหนึ่งในล้าน แต่ตอนนี้มี PM2.5 ซึ่งถ้าสมมติมันมีความเกี่ยวข้องกัน เราก็อาจจะพบมากขึ้นก็ได้ รวมทั้งหมอทั่วไปที่ไม่ใช่หมอโรคปอดก็ไม่ค่อยรู้จักโรคนี้ดังนั้นการจะวินิจฉัยได้ก็คงไม่ง่ายครับ

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t 6 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้ามารับฟัง หัวข้อเรื่อง วิเคราะห์จากข่าว โรคโปร์ตีนพอกตับ คืออะไร ทำไมเป็นได้#PAP pulmonay Alveolar proteinosis 9พ.ย2023 ถ้าป้าเขียนภาษาอังกฤษผิดขอโทษนะค่ะคุณหมอหัดภาษาอังกฤษวันละนิดๆเดี่ยวก็เก่งนะค่ะแต่คงอีกนานๆๆๆเลยค่อยเป็นค่อยไปนะค่ะ😅 ขอบคุณและดีใจที่คุณหมอแบ่งเวลามาให้fcและผู้ติดตามได้รู้เรื่องราวที่ดีๆมีประโยชน์ขอบคุณจากใจ❤❤❤นะค่ะสุขภาพดีมีสุขๆและน้องโรชี่ด้วยค่ะสุขกาย สุขใจ สุขภาพร่างกายที่แข็งๆๆนะค่ะคุณหมอแทน🥰🥰🥰

  • @bussayaphantotuad5687
    @bussayaphantotuad5687 6 หลายเดือนก่อน +2

    🎉🎉🎉🎉🎉

  • @user-kb9jo6eg4h
    @user-kb9jo6eg4h 6 หลายเดือนก่อน +2

    👍👍🙏👍👍

  • @AvecBella
    @AvecBella 6 หลายเดือนก่อน +2

    520(K)!…🏃🏻‍♂️🏎🎈✨💨💨💨💨💨💨
    Nice work ka Doctor Tany!!!
    Variety Contents that Benefit ALL.
    🍎🎶🎉✨🍎🎶🎉✨🍎🎶🎉✨🍎

  • @ordinarygal7376
    @ordinarygal7376 6 หลายเดือนก่อน +2

    คนเป็นโรคนี้เยอะมั้ยคะ 😎 พอกไปนานๆ ถ้าไม่รักษา ปอดจะแข็งมั้ยคะ 🤔😅😊 รักษาแบบนี้น้ำจะท่วมปอด คนไข้จะสำลักน้ำมั้ยคะ คุณหมอ 😅

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +3

      มีน้อยครับ คนไข้ไม่ได้สำลักเพราะเราจะเอาน้ำออกครับ

    • @ordinarygal7376
      @ordinarygal7376 6 หลายเดือนก่อน +1

      @@DrTany 🙏ขอบคุณค่ะ คุณหมอ 🫁

  • @beam9158
    @beam9158 6 หลายเดือนก่อน +1

    🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰🥰

  • @witmu990
    @witmu990 6 หลายเดือนก่อน +1

    เคสนี้คนไทยหรือครับ คงเกิดจากโลหะหนัก ถ้าคนไทยที่มีออโตแอนติบอดีต่อ GM-CSF มักมาด้วยการติดเชื้อรา ไม่ค่อยมี PAP

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +3

      เคสจากข่าวที่ไทยครับ แต่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าคนไทยที่มี auto antibody ต่อ GMCSF นี่ มี manifestation อย่างไรบ้าง เพราะไม่เคยได้เห็นงานวิจัยเปรียบเทียบ ว่าจะแสดงอาการ PAP หรือจะมาด้วยติดเชื้อ ที่สำคัญ ที่ไทยตรวจ anti-GMCSF ได้บ่อยขนาดที่จะเอามาบอกว่าคนไข้จะมาด้วย PAP หรือติดเชื้อเป็นกี่ % เหรอครับ สมัยผมอยู่ไทย ยังไม่สามารถตรวจตัวนี้ได้เลยครับ ที่อเมริกาก็พึ่งจะมาตรวจได้บ่อยๆประมาณ 5 ปีที่ผ่านมานี่เองครับ

  • @ifof8882
    @ifof8882 6 หลายเดือนก่อน +1

    ❤❤😂😂🎉🎉โอ๊ยปวดหัวค่ะ กินน้ำผลไม้โชจูเกาหลี มาอ่านดีๆ13เปอเซ็นแอลกอฮอสิ แต่เหล้าขาว40ดีกรีหนูกลับไม่รู้สึก

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan 6 หลายเดือนก่อน +1

      โซจู ไม่ใช่น้ำผลไม้นะครับ มันคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่งรสผลไม้ โซจูกินเพียว 1 ขวดก็เริ่มรู้สึกแล้ว แต่เหล้า 40 ดีกรี ปริมาณที่กินไปน้อยกว่าโซจู แล้วยังนำเหล้ามาผสมน้ำและน้ำแข็ง ซึ่งทำให้เจือจาง แอลกอฮอล์ที่เข้าร่างกายจึงน้อยกว่าครับ.

  • @user-lj2mw1zp5e
    @user-lj2mw1zp5e 6 หลายเดือนก่อน +1

    เห็นโพลจากอินฟลูเอนเซอร์ท่านหนึ่งให้โหวตว่ากินโปรตีนจากพืชกับโปรตีนจากสัตว์ แบบไหนทำให้ตดน้อยกว่า ผมและแฟน พ่อแม่จึงทดลองปรากฎว่ากินโปรตีนจากพืช ตดน้อยกว่าแต่ในคอมเม้นกลับเป็นตรงกันข้ามก็รู้สึกแปลกครับ

    • @DrTany
      @DrTany  6 หลายเดือนก่อน +3

      แปลกก็ดีแล้วครับ แต่ละคนตอบสนองไม่เหมือนกันหรอกครับ

  • @kanjanaanyrukratchada2719
    @kanjanaanyrukratchada2719 6 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @sukanyaputhapitak909
    @sukanyaputhapitak909 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @sanpdinocat
    @sanpdinocat 6 หลายเดือนก่อน +1