การศึกษาไทยกำลังถูกทอดทิ้ง? รัฐบาล เอกชน อินเตอร์ คุยชีกับพี่วิทย์ สิทธิเวคิน | Talk Therapy EP.9

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 พ.ค. 2024
  • จาก #เด็ก64กำลังถูกทิ้ง #เด็ก65กำลังถูกทิ้ง หรือ #dek64 ทำให้เกิดกระแสในโลกโซเชียลที่เด็กรุ่นใหม่อยากให้ผู้ใหญ่หันมาใส่ใจ #การศึกษาไทย มากขึ้น
    เอพิโสดนี้จึงชวน พี่วิทย์ สิทธิเวคิน มาคุยเพื่อเปรียบเทียบเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระบบการศึกษาแต่ละระบบระหว่างโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนอินเตอร์จะแตกต่างกันอย่างไร และเราจะช่วยกันพัฒนาการศึกษาไทยอย่างไรได้บ้าง
    Time Index | การศึกษาไทยกำลังถูกทอดทิ้ง? รัฐบาล เอกชน อินเตอร์ คุยชีกับพี่วิทย์ สิทธิเวคิน
    00:00​ Intro
    04:45 ความแตกต่างของระบบการศึกษาในไทย
    08:39 ความแตกต่างของระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
    16:05 ความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษาไทย
    25:50 ความหมายของคำว่า ห้องเรียน?
    ---------------
    ติดตาม Talk Therapy ในช่องทางต่างๆ
    Website: thestandard.co/podcast_channe...
    Apple Podcasts: apple.co/3sJrCLx
    Spotify: spoti.fi/3c3UebN ​
    SoundCloud: bit.ly/sc-talk-therapy
    Twitter: / igtalktherapy
    #TalkTherapy #TheStandardPodcast #TheStandardco #TheStandardth
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 43

  • @fitwithbass8113
    @fitwithbass8113 3 ปีที่แล้ว +20

    ก็งงกับระบบการเรียนเหมือนกันครับ
    ส่วนตัวผมเรียนม.กีฬา แรกๆก็เข้าใจว่าเน้นไปทางกีฬาซะส่วนใหญ่ แต่พอมาเรียนจริงมันกลับไม่เน้นไปในทางนั้นจริงๆ คือไม่รู้ว่าจะเรียนหรือซ้อมกีฬากันแน่ ผมจะไปซ้อมกีฬาโดยที่มีหนังสือรองรับก็ยังผิด พอจะเรียนจริงจังก็มาบอกว่า นี้ม.กีฬาน่ะ จะเรียนลึกเหมือนมอ.ในกรุงไม่ได้หรอก 🤔
    ส่วนภาษาอังกฤษแทบจะไม่ได้เรียนแบบจริงจัง แล้วมาบอกว่าจำเป็นน่ะภาษาในอนาคต ทั้งที่ต้องเจอกับชาวต่างตลอด ไม่ว่าจะเป็น นักกีฬา โค้ช และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์กีฬา
    สุดท้าย🙏ก็ต้องขอบคุณพี่ๆทั้งสามท่าน พี่ไอซ์ พี่วิทย์ พี่จี ที่มาเล่าความแตกต่างของแต่ละระบบการศึกษา และ การหาจุดเด่นของตัวเอง
    อย่างที่พี่วิทย์ บอกLearning is everywhere in the world.
    การเรียนรู้คือทุกที่บนโลกใบนี้
    Follow the next episode of podcast therapy

    • @fia-chanchannel
      @fia-chanchannel 2 ปีที่แล้ว

      สำหรับเรานะ ที่เราเก่งภาษาอังกฤษ ไม่ใช่เพราะโรงเรียนหรอก แต่เพราะว่าเราใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน ชีวิตประจำวันใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมดด้วยตัวเอง พูดง่ายๆว่าเราสอนตัวเองค่ะ

  • @rotjanasak14233
    @rotjanasak14233 3 ปีที่แล้ว +12

    สอนออนไลน์​ยากมากสำหรับครูเลยครับ​ เด็กอยู่บ้านไม่ว่าง​ทำนั้นทำนี่ ไม่มีอินเตอร์​เน็ต​ ไม่ได้​อยากเรียน​ อุตส่าห์​อัดคลิปสอนย้อนหลัง​ก็ไม่เคยดู พอถึงช่วงมาถึงโรงเรียน​นักเรียน​ก็เบลอๆ​ ไม่ได้​ทำงานส่วนให้เขาได้ฝึกและเก็บคะแนน​ สรุป​ครู​โดนบลีฟจากผอ.​ว่าอย่าให้ติด0​ ผมเกาหัวเลย​ รร.ประจำอำเภอ​ที่ใกล้ป่าเขา​(บริบทของชุมชน​เป็น​ปัจจัย​อันนี้ผมรู้ดี)
    ขอบคุณ​ที่รับฟังครับ

  • @cere1626
    @cere1626 3 ปีที่แล้ว +30

    เป็นเด็ก 65 ค่ะ ขอบคุณพี่ไอซ์ พี่จี พี่วิทย์มากๆ เลยนะคะที่คุยกันเรื่องนี้ ดีใจมากๆ ที่มีคนเข้าใจ ❤️
    ในเรื่องการเรียนออนไลน์คือเรียนไม่รู้เรื่องค่ะ เหมือนหลักสูตรของระบบการศึกษาไทยถูกออกแบบให้เรียนได้แต่ในห้องเรียน หนูมองว่าในช่วงโควิดควรมีการปรับหลักสูตร แบบวิชาบางวิชาที่หน่วยกิตไม่ได้เยอะก็ควรลดเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการเรียนค่ะ แต่นี่คือไม่ได้มีอะไรถูกแก้ไขเลย ผู้ใหญ่จะชอบคิดว่าเป็นเด็กไม่มีเรื่องให้เครียด แต่ในความจริงคือเครียดมากนะคะ จะเข้ามหาลัยแล้วก็ต้องทำพอร์ตฟอลิโอกันอีก พอร์ตก็ว่างเปล่ามากค่า🥲

    • @icehuajai
      @icehuajai 3 ปีที่แล้ว +1

      เราเข้าใจมากๆ เลย ฮือ เป็นกำลังใจให้น้า💖

    • @kcc174
      @kcc174 3 ปีที่แล้ว

      ลองศึกษาลงเรียนออนไลน์เพิ่มเติมไหม ในเรื่องที่สนใจ เดี๋ยวนี้มีให้เกียรติบัตรตอนจบคอร์สนะ

  • @2sukilfleemaspo156
    @2sukilfleemaspo156 3 ปีที่แล้ว +17

    ของผมต่างเลย การเรียนรู้ สนุกกว่า การศึกษา เพราะการเรียนรู้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ไม่จำกัดเวลา ไม่จำสถานที่

    • @tummoments135
      @tummoments135 3 ปีที่แล้ว +1

      ดีเลยครับ เห็นด้วย การเรียนรู้จะอยู่กับเราไปตลอด

    • @derury7815
      @derury7815 2 ปีที่แล้ว

      เห็นด้วยมากๆเลย

  • @user-bb7wx1rf6z
    @user-bb7wx1rf6z 2 ปีที่แล้ว +3

    ผมเรียนตรีโกณมิติภาษาไทยไม่เคยเข้าใจ ไปดูยูทูป ที่เป็นชาวยุโรปพูดเป็นภาษาอังกฤษสอน ฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง เฮ่ย เข้าใจโวย ชิบหายแล้ว ภาษาอังกฤษเท่าหางอึ่ง แต่เราเรียนแล้วเรียนเล่ามีแนวอยู่ ไปฟังภาษาอังกฤษก็เข้าใจ โชคดีทุกคนที่เดี๋ยวนี้มียูทูป ไม่ต้องง้อ คุณครูที่จำมาแบบไม่เข้าใจ

  • @_tera3121
    @_tera3121 2 ปีที่แล้ว +2

    เราเป็นdek64่ต่างจังหวัด พยายามสอบจนได้วิศวะ รวม เข้ามาเพราะคะแนนเราถึง+เป็นคณะยอดนิยมและมหาลัยชื่อดัง ตอนนี้เทอมสองแล้วเรายังไม่รู้เลยว่าเราเหมาะกับคณะนี้มั้ย+อยากเข้าภาคไหน ตอนนี้เครียดมากเพราะต้องใช้เกรดเลือกภาค
    เราชอบเรียนรู้แต่เราไม่รู้สึกว่าระบบที่เราอยู่ส่งเสริมการเรียนรู้เรา เราเจอกับเนื้อหาที่ยาก แต่ข้อสอบก็ยากกว่า ,มีวิดีโอสอน แต่วิดีโอยาวมากเกินคาบเรียนหลายเท่า ,มีงานกลุ่มเยอะให้แบ่งกลุ่ม แต่เราไม่รู้จักใครเลย งานกลุ่มในzoomคนอื่นก็แทบไม่คุยกันเลย ต้องเป็นเราที่ทำงานคนเดียว ,quizบ่อย การบ้านเยอะ แต่เราจะไม่ทำก็ไม่ได้ เหนื่อยมากๆเลยครับ แค่เราพยายามทำการบ้าน+อ่านหนังสือ+สอบ ให้ครบก็ไม่มีเวลาทำอย่างอื่นแล้วครับ
    การเรียนออนไลน์ไม่ได้ส่งผลแค่ประสิทธิภาพการเรียนการสอนลดลง แต่ยังส่งผลถึงสุขภาพทั้งกายและใจครับ การเรียนการสอนแบบออนไซต์มันหายไปครับ เช่นวิชาแลป เราก็ไม่ได้ทำการทดลองเลยครับ ดูเขาอย่างเดียว เข้าใจว่าออนไลน์มันมีผลดีของมันว่าเราสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ค้นหาและแชร์ความรู้กันได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนออนไลน์ครับ
    สิ่งที่ผมต้องเจอต่อไปคือการเลือกภาค(ส่งผลต่ออนาคตผมครับ มันสำคัญมาก ถ้าผมเข้าในภาคที่โอกาสการทำงานน้อยกว่า ผมก็ไม่อยากเข้าครับ) แต่เทอมที่แล้วผมทำเกรดไว้ไม่ดีครับ(ไม่อยากโทษออนไลน์ และที่ตัวเองติดโควิด เพราะผมทำเต็มที่ที่สุดแล้วครับ) ผมทำเต็มที่เพื่อภาคที่อยากเข้าครับ แต่ถ้าไม่ถึงจุดนั้นผมอาจจะซิ่วไปคณะอื่น สักวันนึงผมต้องยืนได้ด้วยตัวเองครับ
    ปล.ทั้งหมดนี้ผมเล่าประสบการณ์ตัวเองนะครับ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ

  • @user-vu9ys6if5f
    @user-vu9ys6if5f 8 หลายเดือนก่อน

    และครับ เรา ไม่ได้ มุ่งเน้น ไปที่ การแข่งขัน กับ นานาอารยะประเทศ แต่ ทำ เพื่อ พัฒนา บูรณาการ ให้ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้ เข้าถึง การพัฒนาดำเนินการในวิถีชีวิตกับ การศึกษา ไม่ว่า แบบปกติทั่วไปหรือแบบอัพเกรด สร้างโอกาสให้วิถีช่วิตครับ และ ขอขอบคุณ การำนเสนอที่ดี ของ ทุกคนครับ

  • @purpler63
    @purpler63 2 ปีที่แล้ว +1

    เนื้อหาที่คุยกันเป็นประสบการณ์จริงส่วนบุคคลที่แต่ละคนเผชิญมา แต่ต้องระวังไม่เอาตัวเองเป็นตัวแทนของ "เรา" ทั้งหมดค่ะ "เด็กอินเตอร์ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใดใด" จริงหรือไม่? "เราเด็กรัฐบาลภาษาอังกฤษไม่ได้เลย" จริงหรือไม่ "เด็กเรียนเอกชนภาษาอังกฤษสู้เด็กออินเตอร์ไม่ได้เลย " จริงหรือไม่ ? ทุกคนเป็นเหมือนกันหรือ ไม่ควรเหมารวม โทษแต่ระบบหรือโลกภายนอกค่ะ รวมทั้งแฮชแทคที่ใช้ จริงหรือไม่? สิ่งที่"เรา"ทุกคน ในสังคมไทยวันนี้ ต้องระวังให้มาก คือ การสื่อสารค่ะ สื่อสารอย่างไรไม่ให้จุดไฟให้คนชังชาติค่ะ เรื่องความเหลื่อมล้ำในไทยมีจริง อย่างที่สื่อสารกันค่ะ แต่ฟังดูเหมือนผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจว่าชาติอื่นไม่เป็น ต่างประเทศที่ชื่นชม เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ลองไปดูสิคะว่าเป็นอย่างไร ลองไปอยู่ นักการศึกษา ครูที่พยายามพัฒนาตนเอง จะรู้สึกอย่างไร ในต่างประเทศเอง อยากให้น้องไปศึกษา อ่านให้เยอะค่ะ ต่างประเทศเอง ก็ออนไลน์มาตลอด มีเพียงไม่กี่เมือง ไม่กี่ประเทศในโลกค่ะ ที่ได้ผลกระทบน้อย และยังไป On site ได้ค่ะ ลอง search หาข้อมูลต่างประเทศนะคะ เช่น edutopia เรื่องการศึกษายุคโควิด เป็นอย่างไรในชาติอื่น ๆ ปัญหาด้าน mental health เช่น ญี่ปุ่น เด็กประถมถึงมัธยมปลาย ฆ่าตัวตายไป 415 คนแล้ว เพราะต้องเรียนออนไลน์กัน เครียด จนฆ่าตัวตาย เป็นต้น ลองดูนะคะ อยากให้ระวังไม่เติมเชื้อเพลิงในสังคมเพียงเพราะได้ข้อมูล จากทวิตเตอร์ จากเพื่อน จากคนบางคนเท่านั้นเลยค่ะ

  • @user-vu9ys6if5f
    @user-vu9ys6if5f 8 หลายเดือนก่อน

    เมื่อ เดือน กันยายน พ.ศ. 2549 เรามาประมวลวิเคราะห์ กับ กายภาพ ของ จำนวน กับ การเลือก ทำ พลังงานบริสุทธิ์ และ งานนวตกรรมหลายๆอย่าง แต่ ก็ สรุปว่า งานการศึกษานั้นสำคัญกว่าอีกครอบคลุม โอกาส ของ การทำให้วิถีชีวิตดีขึ้น เราจึงเลือกกันกับ การจดลิขสิทธิ์และตกลงเดินทางไป ดำเนินการ ที่ จังหวัดพิษณุโลก ครับ

  • @user-vu9ys6if5f
    @user-vu9ys6if5f 8 หลายเดือนก่อน

    การตอบสนอง ความต้องการ กับ รูปแบบ นำ ของ ปรัชญา " เข้าถึง " - เข้าใจ " และ * พัฒนา * มีที่มาและที่ไป และ ขบวนการ การดำเนินการ ตอบสนอง และครับ ยินดีรับใช้ กับ หลักการ ของ ห้องเรียนรู้ โดย หลักสูตรของ แผนที่ ของ เรวัติ กับ คู่มือ ของ สันติ ครับ มาให้ทุกคนได้พิจาราณากัยครับ และ มิได้ มีเจตนาแข่งกับใครๆ แต่ ทำให้ เข้าถึง - เข้าใจ - พัฒนา ได้ กับ แกน ของ ทฤษฏีการทางจำนวน แต่ เราได้สร้างรูปแบบใหม่มานำเสนอ คือ รูปแบบ ของ การเรียนรู้เกี่ยวกับ * ปริมาณ * มานำเสนอ " แทน " รูปแบบ ของ การเรียนรู้เกี่ยว * เชิงปริมาณ * จาก การเติมเต็มให้กับทฤษฏีการทางจำนวน อันเป็นผล จาก การค้นพบ รูปธรรม ทาง ปริมาณ หรือ จำนวนในอุดมคติ ของ มิติ ใน มิติ ครับ

  • @user-ul1yb6rh4r
    @user-ul1yb6rh4r 2 ปีที่แล้ว

    เราเรียนคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ เพื่อ ไว้ ทำ ข้อสอบ และ เราเรียน ภาษาอังกฤษ เพื่อ ท่องจำ เรียน วิทยาศาสตร์ เพื่อ รู้จัก นักวิทยาศาสตร์ มากกว่า เรียนรู้ การทำงานแบบมีเป้าหมายและแผนงานการสร้างแนวทางจาก การค้นพบ - ความคิด - อื่นๆ ที่ นำพา เราไปหา ความคิดสร้างสรรค์จาก การนำความรู้ที่มีที่ผ่านการทดสอบมาใช้กับการงาน หรือ ทำกิจอื่นๆ และ ทำไม เราต้องมาน้อมรับกับโรคระบาด โดย เรา ไม่ สามารถคิดค้นหาวิธี อย่างนี้ เป็นต้นครับ และครับ ประวัติศาสตร์มิใช่วิชาที่สอนให้เราเรียนรู้ของทั้งหมดของยุคสมัยและการดำเนินการบันทึกไว้ให้คนรุ่นเราได้รับบทเรียนทุกด้านหรือครับ

  • @rksrithongsuk8548
    @rksrithongsuk8548 3 ปีที่แล้ว +3

    ฟังแล้วคิดถึงเรื่องราวตัวเองเลยครับ
    ผมเข้ามหาวิทยาลัยตอนปี 2547 เป็นม.เอกชน คณะที่เรียน 6 ปี [ไม่ขอเอ่ยนะครับ แต่ผมว่าทุกคนคงทราบ] ตอนนี้จบเฉพาะทาง กำลังทำงานตรงสายที่ตัวเองเรียนมา
    ตั้งแต่อนุบาลจนถึงม.6 อยู่โรงเรียนเอกชนคาทอลิคมาตลอดอยู่ที่เดียวไม่ได้ย้ายที่ ไม่เคยเข้าบรรยากาศสอบแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนดังๆ เรียนกึ่งๆ inter ถ้าเป็นสมัยนี้คงเรียกว่า English program ได้เจอครูฝรั่งตั้งแต่ป.5 ส่วนพวกวิชาอื่นๆก็เรียนของหลักสูตรไทย ตำราภาษาไทยเขียนอ่านไม่รู้เรื่อง[ต้องนั่งแปลไทยเป็นไทยหลายรอบ]สิ่งที่ได้ติดตัวมาอย่างเดียวคือภาษาอังกฤษ แต่วิชาการสายวิทย์นี่ไม่ได้เลย
    สมัยม.5 มีแฟนอยู่โรงเรียนรัฐบาล มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนวิชา biology กับ math กัน รู้สึกว่าทำไมเขาเก่งจัง เรื่องบางเรื่องผมยังไม่รู้เลย
    สอบ entrance รอบแรกพังไม่เป็นท่า รอบ 2 ก็ไม่รอด GPA 2 นิดๆเกือบ3 สุดท้ายสอบตรงเข้ามหาลัยเอกชนได้ สอบได้เพราะไปเรียนกวดวิชาข้างนอกเอา ตลอด 1 สัปดาห์มีแค่วันพุธที่ไม่เรียนกวดวิชา
    พอเข้ามหาลัย โชคดีเรื่องภาษา อ่าน textbook แล้วมันเข้าใจกว่าเยอะ เลยเรียนจบได้ไม่มีปัญหา พลาดเกียรตินิยมไป 0.05
    ตอนนี้มีลูกอายุ 4 ขวบ ให้เข้าเรียน inter สังเกตุว่า skill ลูกก้าวกระโดดมาก บางอย่างที่ผมทำได้ตอนอนุบาล 3 ลูกผมอนุบาล 1 ทำได้หมดแล้ว
    มาถึงตรงนี้ก็อด question กับระบบการศึกษาไทยไม่ได้จริงๆครับ

  • @user-vu9ys6if5f
    @user-vu9ys6if5f 8 หลายเดือนก่อน

    ภายใต้ร่มกาสาวพัตรพระอุโบสถวัดพระพุทธชินราช เรา เกิด มิติใหม่ กับ คำตอบ ของ ทฤษฏีการทางจำนวน จาก การค้นพบ รูปธรรมทางปริมาณ หรือ จำนวนในอุดมคติ ของ มิติ ใน มิติ ก็ หมาย ความว่า นี่ไม่ใช่ จบ ที่ กายภาพ ของ จำนวน แต่ เรามีงานที่หนักและเวลากับการเติมเต็มให้กับแกน ของ ทฤษฏีการทางจำนวน ต่อมา และ ตระหนักว่า กุญแจไขปริศนา ให้ วิทยาศาสตร์สมบูรณ์แบบในมือของเราครับ

  • @jaebigc
    @jaebigc 3 ปีที่แล้ว +3

    ของผมรู้สึกว่า สิ่งที่ผมเรียนจากโรงเรียน มีประโยชน์จริง ๆ แทบนึกไม่ออกเลยว่ามีอะไรที่เรียนแล้วไม่ได้ใช้บ้าง วิชาพุทธฯก็ได้ใช้ในแง่ปรัชญาชีวิต, วิชากระบี่ก็ได้การจัดระเบียบร่างกายได้สมดุลร่างกาย ฯลฯ

  • @user-ul1yb6rh4r
    @user-ul1yb6rh4r 2 ปีที่แล้ว

    เมื่อ ประมาณ สิบกว่าปี มี โรงเรียนสวนกุหลาบ เท่านั้น ที่ มี นิยาม สัญลักษณ์ เครื่องหมาย + แปลว่า " การรวมจำนวน " ทั้งๆที่ต้องใช้กันทั้งประเทศ แต่ คำตอบ ที่ สำรวจได้ คือ " เพิ่ม " แต่ ครับ 2 + 0 = 2 คงที่ และ 2 + -2 = 0 เราก็เรียนกันแบบ มึนๆ ว่า ตกลง แล้ว เราใช้แบบไหน ก็ แบบนี้ ก็ หากว่า การปลูกต้นไม้ แต่ มี ความแตกต่าง 1 มี ความรู้ 2 ไม่มี ความรู้ แต่ เรายังหวังผลกับการเติบโตและผลผลิตของ การปลูกต้นไม้ แบบนี้หรือครับ

  • @teratikkoanan7671
    @teratikkoanan7671 3 ปีที่แล้ว +1

    นึกถึงตอนต้อง Ent โคตรเครียด ตื่นเต้น เเต่วัดกันไปเลย Shot เดียว หลังสอบก็ปล่อยผีเลย ส่วนที่ได้จาก โรงเรียน มากที่สุด ไม่ใช่ความรู้ เเต่ได้ เพื่อนที่รักกันมาก เพื่อนกันถึงปัจุบัน รร ชายล้วนด้วย มันสุดๆ

  • @panneeboonsiriya7349
    @panneeboonsiriya7349 3 ปีที่แล้ว +5

    ชอบมาก ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีดี [ จากใจคุณครูไทย ] ♥️

    • @icehuajai
      @icehuajai 3 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณเช่นกันค่า :)

    • @panneeboonsiriya7349
      @panneeboonsiriya7349 3 ปีที่แล้ว

      พี่เคยฟังน้องจี กับบิ๊กบุญใน คำนี้ดีพอดแคสต์น่ะค่ะ มีประโยชน์มากๆ

  • @user-lu3jw1ty2z
    @user-lu3jw1ty2z 3 ปีที่แล้ว +5

    ดีมากเลยครับ น้อง จี น้อง Ice

    • @user-lu3jw1ty2z
      @user-lu3jw1ty2z 3 ปีที่แล้ว

      สวัสดีครับอาจารย์วิทย์

    • @icehuajai
      @icehuajai 3 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณค่า

  • @KruBowTutor
    @KruBowTutor 3 ปีที่แล้ว

    Finland education เรียนที่ไหนก็ได้

  • @user-ul1yb6rh4r
    @user-ul1yb6rh4r 2 ปีที่แล้ว

    ครับ ดังกรณีของเรื่องเวลาที่พวกเขาต้องถูกบังคับ ทั้ง ภายใน สถาบัน และ นอกสถาบัน แต่ เส้นทางบนถนนการเดินทางไปจุดหมายปลายทางกับ ความกลัว ความกังวล กับ บททดสอบ และ ครับ มัน ไม่ได้เกิดเฉพาะกับนักเรียนแต่กับอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหาร และ สรุป คือ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด รวม แม้ ผู้ปกครอง ครับ

  • @starmoon939
    @starmoon939 3 ปีที่แล้ว +3

    มันมีเรื่องเส้นสายโรงเรียนชื่อเสียงโอบอุ้มสิ่งเหล่านั้น โรงเรียนที่เก็กแห่กันแข่งอยากจะเข้ากัน เห้อม

  • @hondorusty
    @hondorusty 2 ปีที่แล้ว

    การศึกษาไทยถูกลอยแพโดยกลุ่มอำนาจที่เอางบประมาณไปพลาญกับการก่อสร้างเพราะมีเงินทอนทิ้งการศึกษาด้วยคำว่าเอาออกนอกระบบ ทำลายอนาคตพัฒนาการแรงงานด้วยการมุ่งไปหาผลประโยชน์ในการก่อสร้างลอยแพระบบการศึกษาไทย

  • @somchaiaimpoe7709
    @somchaiaimpoe7709 3 หลายเดือนก่อน

    เรื่องภาษาแม้เป็นเจ้าของภาษาเองก็ใช่ว่าจะรู้ไปหมดจนแต่งกลอนแต่งโคลงได้เก่งครับก็คิอว่าแบบนี้และด้วยเราขาดหลักและอื่นๆจึงได้ผลลัพธ์ออกมาแบบนี้ครับก็คิดเองจากหาวิธีเรียนรู้ภาษาแต่ยังไม่ได้ไปทำการเรียนรู้แบบจริงจังครับ

  • @user-on7rq1xi4m
    @user-on7rq1xi4m 3 ปีที่แล้ว

    ฟังแล้วช่วยในการตัดสินใจว่าน่าจะให้ลูกไปเรียนที่ไหนดีเนาะ

  • @JediNN06
    @JediNN06 3 ปีที่แล้ว +4

    ผมพึ่งรู้เทปนี้เลยครับว่าเฮียวิทย์เรียน ซค. เพราะปกติฟังเเต่ Morning Wealth ผมเลือดน้ำเงินขาวรุ่น 104 นะครับ อิอิ

    • @Sittivaekin
      @Sittivaekin 3 ปีที่แล้ว +1

      เลิฟเลยย เฮีย SG68 ครับ

  • @user-fs1lu9vq9y
    @user-fs1lu9vq9y 2 ปีที่แล้ว

    เราโทษทุกอย่างยกเว้นตัวเอง.....

    • @nopadolboy1
      @nopadolboy1 ปีที่แล้ว

      ขึ้นอยู่ว่าจะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างหรือแก้ปัญหาเฉพาะตัวเองให้รอดคนอื่นช่างมัน

  • @user-gp8rt9pr8h
    @user-gp8rt9pr8h 2 ปีที่แล้ว

    เด็กอินเตอร์ ที่ลาว บางโรงเรียน ก่อพาสาร่วยแตกมาก

  • @PopThemall
    @PopThemall 2 ปีที่แล้ว

    ทำไมผมถึงคิดว่าชีวิตของผมตอนนี้น่าจะดีกว่าถ้าแต่ก่อนผมไม่ได้ไปโรงเรียน