ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
#วินิจฉัยเรื่องการไม่เอื้อเฟื้อเมื่อถูกตักเตือนในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่าอนาทริเย ปาจิตฺติยํ.เพราะการไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (อนาทริยสิกขาบท สิกขาบทที่ ๔ ของสุราปานวรรค)มีคำอธิบายตามลำดับดังนี้คำว่า #เพราะการไม่เอื้อเฟื้อ (อนาทริเย) ได้แก่ เพราะทำการไม่เอื้อเฟื้อบุคคลหรือธรรม (กงฺขา.อฏฺ.)บรรดาการไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนั้น ภิกษุใดถูกอุปสัมบัน (คือภิกษุ) ตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ทำการไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ผู้นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ถูกสงฆ์ดูหมิ่น หรือถูกสงฆ์ตำหนิ คำพูดของผู้นี้ไม่น่าทำตาม” ภิกษุนี้ชื่อว่า #ทำการไม่เอื้อเฟื้อในบุคคลส่วนภิกษุใดถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ทำการไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ทำอย่างไร ธรรมข้อนี้จะพึงเสื่อม พึงสูญ หรือพึงอันตรธานไปได้” หรือว่าเธอไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น จึงทำการไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุนี้ชื่อว่า #ทำการไม่เอื้อเฟื้อในธรรม (กงฺขา.นวฏี. ๔๒๗)เพราะเหตุนั้น ภิกษุใดถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ทำการไม่เอื้อเฟื้อคำของอุปสัมบันนั้นเพราะไม่ประสงค์จะทำ หรือทำการไม่เอื้อเฟื้อธรรมนั้นเพราะไม่ประสงค์จะศึกษา ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์#จำแนกอาบัติ- ภิกษุตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์- *อนุปสัมบัน (สามเณรหรือคฤหัสถ์) ตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ- เมื่อภิกษุถูกอุปสัมบันหรืออนุปสัมบันกล่าวตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ โดยนัยว่า “สิ่งนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา” เป็นต้น แม้ในเพราะการไม่เอื้อเฟื้อ ก็ต้องอาบ้ติทุกกฏทีเดียว#อนาบัติ (เหตุที่ทำให้ไม่ต้องอาบัติ)ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ๑. ภิกษุผู้เรียนมาตามประเพณีแล้วกล่าวว่า “อาจารย์ของพวกเราเรียนกันมา สอบถามกันมาอย่างนี้”๒. ภิกษุวิกลจริต๓. ภิกษุต้นบัญญัติ (คือ พระฉันนะ)[คำว่า #มาตามประเพณี หมายถึง มาตามลำดับอาจารย์มีพระมหากัสสปะเป็นต้นตั้งแต่กาลแห่งสังคายนาแต่ถ้าภิกษุยึดถือการเรียนของอาจารย์ที่น่าตำหนิ (คืออาจารย์ที่วินิจฉัยวินัยตามความเห็นตนโดยไม่มีหลักการ) แล้วกล่าวว่า “อาจารย์ของพวกเราเรียนกันมา สอบถามกันมาอย่างนี้” ย่อมต้องอาบัติทีเดียว (กงฺขา.นวฏี. ๔๒๗)ในอรรถกถามหาปัจจรีท่านกล่าวว่า “การเรียนของพวกอาจารย์ผู้เรียนสูตร (หมายถึง พระบาฬี) และสุตตานุโลม (หมายถึง มหาปเทส ๔ และอรรถกถา) เท่านั้น จึงจะเป็นประมาณได้, ถ้อยคำของพวกอาจารย์ผู้ไม่รู้[สูตรและสุตตานุโลม] หาเป็นประมาณได้ไม่ (วิ.อฏฺ. ๒/๔๐๗)]#องค์อาบัติ (คือ องค์ประกอบที่ต้องมีครบจึงจะต้องอาบัติด้วยสิกขาบทนี้)อนาทริยสิกขาบทนี้ มีองค์ ๒ คือ๑. ถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติ๒. ทำการไม่เอื้อเฟื้อ#สรุปว่า ในเรื่องการไม่เอื้อเฟื้อนี้ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ สามเณร หรือคฤหัสถ์เป็นผู้ตักเตือนก็ตาม จะตักเตือนด้วยสิกขาบทบัญญัติหรือตักเตือนด้วยเรื่องเกี่ยวกับธรรมมีความมักน้อยสันโดษเป็นต้นก็ตาม หากภิกษุแสดงอาการไม่เอื้อเฟื้อ คือพูดดูหมิ่นบุคคลผู้ตักเตือนหรือดูหมิ่นสิกขาบท ก็ต้องอาบัติทั้งนั้น ต่างเพียงแค่ว่าจะเป็นปาจิตตีย์หรือทุกกฏ ฉะนั้น ภิกษุจึงควรระมัดระวังในท่าทีการแสดงออกเมื่อถูกตักเตือน ซึ่งหากภิกษุวางใจไว้ก่อนแล้วว่า ผู้ตักเตือนประดุจผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ ก็ย่อมจะไม่โกรธและแสดงอาการไม่เอื้อเฟื้อออกไปเป็นแน่ มีแต่จะรับฟังแล้วสอบทานดูว่าที่บุคคลนั้นๆ ตักเตือน ตนได้ทำผิดจริงหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้นในคัมภีร์ขุททกนิกาย ธรรมบท (ราชเถรวัตถุ) พระผู้มีพระภาคตรัสว่านิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํนิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเชตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้หมั่นกำราบ ชี้ข้อผิดพลาด ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, (เพราะว่า) เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น จะมีแต่ความเจริญถ่ายเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยจิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโมขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนานธมฺเม โหนฺตุ สคารวาขอชนทั้งหลายจงมีความเคารพในพระธรรมพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
สาธุ ๆ ๆ
แล้วพระธุดงค์ที่ก่อกองไฟในป่าเพื่อให้แสงสว่างตอนกลางคืน สุมควันไล่ยุง ต้มน้ำดื่ม อาบัติมั๊ยครับ
นมัสการครับ พระอาจารย์ ผมขออนุญาติถามข้อ กัปปะพินทุผ้า หน่อยครับ คือ ผ้าบริขาร เช่น ผ้ากราบ ย่าม ผ้ารัดอก ต้องพินทุด้วยใหมครับ
#วินิจฉัยเรื่องการไม่เอื้อเฟื้อเมื่อถูกตักเตือน
ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า
อนาทริเย ปาจิตฺติยํ.
เพราะการไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
(อนาทริยสิกขาบท สิกขาบทที่ ๔ ของสุราปานวรรค)
มีคำอธิบายตามลำดับดังนี้
คำว่า #เพราะการไม่เอื้อเฟื้อ (อนาทริเย) ได้แก่ เพราะทำการไม่เอื้อเฟื้อบุคคลหรือธรรม (กงฺขา.อฏฺ.)
บรรดาการไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนั้น
ภิกษุใดถูกอุปสัมบัน (คือภิกษุ) ตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ทำการไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ผู้นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ถูกสงฆ์ดูหมิ่น หรือถูกสงฆ์ตำหนิ คำพูดของผู้นี้ไม่น่าทำตาม” ภิกษุนี้ชื่อว่า #ทำการไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล
ส่วนภิกษุใดถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ทำการไม่เอื้อเฟื้อด้วยกล่าวว่า “ทำอย่างไร ธรรมข้อนี้จะพึงเสื่อม พึงสูญ หรือพึงอันตรธานไปได้” หรือว่าเธอไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น จึงทำการไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุนี้ชื่อว่า #ทำการไม่เอื้อเฟื้อในธรรม (กงฺขา.นวฏี. ๔๒๗)
เพราะเหตุนั้น ภิกษุใดถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ทำการไม่เอื้อเฟื้อคำของอุปสัมบันนั้นเพราะไม่ประสงค์จะทำ หรือทำการไม่เอื้อเฟื้อธรรมนั้นเพราะไม่ประสงค์จะศึกษา ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
#จำแนกอาบัติ
- ภิกษุตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
- *อนุปสัมบัน (สามเณรหรือคฤหัสถ์) ตักเตือนด้วยพระบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ
- เมื่อภิกษุถูกอุปสัมบันหรืออนุปสัมบันกล่าวตักเตือนด้วยเรื่องที่ไม่ใช่พระบัญญัติ โดยนัยว่า “สิ่งนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา” เป็นต้น แม้ในเพราะการไม่เอื้อเฟื้อ ก็ต้องอาบ้ติทุกกฏทีเดียว
#อนาบัติ (เหตุที่ทำให้ไม่ต้องอาบัติ)
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุผู้เรียนมาตามประเพณีแล้วกล่าวว่า “อาจารย์ของพวกเราเรียนกันมา สอบถามกันมาอย่างนี้”
๒. ภิกษุวิกลจริต
๓. ภิกษุต้นบัญญัติ (คือ พระฉันนะ)
[คำว่า #มาตามประเพณี หมายถึง มาตามลำดับอาจารย์มีพระมหากัสสปะเป็นต้นตั้งแต่กาลแห่งสังคายนา
แต่ถ้าภิกษุยึดถือการเรียนของอาจารย์ที่น่าตำหนิ (คืออาจารย์ที่วินิจฉัยวินัยตามความเห็นตนโดยไม่มีหลักการ) แล้วกล่าวว่า “อาจารย์ของพวกเราเรียนกันมา สอบถามกันมาอย่างนี้” ย่อมต้องอาบัติทีเดียว (กงฺขา.นวฏี. ๔๒๗)
ในอรรถกถามหาปัจจรีท่านกล่าวว่า
“การเรียนของพวกอาจารย์ผู้เรียนสูตร (หมายถึง พระบาฬี) และสุตตานุโลม (หมายถึง มหาปเทส ๔ และอรรถกถา) เท่านั้น จึงจะเป็นประมาณได้, ถ้อยคำของพวกอาจารย์ผู้ไม่รู้[สูตรและสุตตานุโลม] หาเป็นประมาณได้ไม่ (วิ.อฏฺ. ๒/๔๐๗)]
#องค์อาบัติ (คือ องค์ประกอบที่ต้องมีครบจึงจะต้องอาบัติด้วยสิกขาบทนี้)
อนาทริยสิกขาบทนี้ มีองค์ ๒ คือ
๑. ถูกอุปสัมบันตักเตือนด้วยพระบัญญัติ
๒. ทำการไม่เอื้อเฟื้อ
#สรุปว่า ในเรื่องการไม่เอื้อเฟื้อนี้ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ สามเณร หรือคฤหัสถ์เป็นผู้ตักเตือนก็ตาม จะตักเตือนด้วยสิกขาบทบัญญัติหรือตักเตือนด้วยเรื่องเกี่ยวกับธรรมมีความมักน้อยสันโดษเป็นต้นก็ตาม หากภิกษุแสดงอาการไม่เอื้อเฟื้อ คือพูดดูหมิ่นบุคคลผู้ตักเตือนหรือดูหมิ่นสิกขาบท ก็ต้องอาบัติทั้งนั้น ต่างเพียงแค่ว่าจะเป็นปาจิตตีย์หรือทุกกฏ ฉะนั้น ภิกษุจึงควรระมัดระวังในท่าทีการแสดงออกเมื่อถูกตักเตือน ซึ่งหากภิกษุวางใจไว้ก่อนแล้วว่า ผู้ตักเตือนประดุจผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ ก็ย่อมจะไม่โกรธและแสดงอาการไม่เอื้อเฟื้อออกไปเป็นแน่ มีแต่จะรับฟังแล้วสอบทานดูว่าที่บุคคลนั้นๆ ตักเตือน ตนได้ทำผิดจริงหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น
ในคัมภีร์ขุททกนิกาย ธรรมบท (ราชเถรวัตถุ) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้หมั่นกำราบ ชี้ข้อผิดพลาด ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, (เพราะว่า) เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น จะมีแต่ความเจริญถ่ายเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน
ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา
ขอชนทั้งหลายจงมีความเคารพในพระธรรม
พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
สาธุ ๆ ๆ
แล้วพระธุดงค์ที่ก่อกองไฟในป่าเพื่อให้แสงสว่างตอนกลางคืน สุมควันไล่ยุง ต้มน้ำดื่ม อาบัติมั๊ยครับ
นมัสการครับ พระอาจารย์ ผมขออนุญาติถามข้อ กัปปะพินทุผ้า หน่อยครับ คือ ผ้าบริขาร เช่น ผ้ากราบ ย่าม ผ้ารัดอก ต้องพินทุด้วยใหมครับ