แบงก์ชาติตอบแล้ว ทำไมเศรษฐกิจขยายตัวต่ำ-เงินเฟ้อติดลบแต่ กนง. ไม่ลดดอกเบี้ย | THE STANDARD WEALTH

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 ม.ค. 2024
  • แบงก์ชาติ หรือ ธปท. ชี้แจง ยืนยันอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ‘เหมาะสม’ ชี้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวไม่ได้เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ย แต่มาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง เตือนการลดอัตราดอกเบี้ยมีทั้งต้นทุนและความเสี่ยง ติดตามรายละเอียดได้ในไฮไลต์นี้
    ติดตามรายการ Morning Wealth ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.00-08.00 น. ทาง Facebook และ TH-cam ของ THE STANDARD WEALTH
    ------------------------------------
    กดติดตาม และ กดกระดิ่ง: bit.ly/3WScbkk
    ติดตาม THE STANDARD WEALTH ในช่องทางอื่นๆ
    Website: www.thestandard.co/wealth
    TikTok: / thestandardwealth
    Blockdit: www.blockdit.com/thestandardw...
    Facebook: / thestandardwealth
    Twitter: / standard_wealth
    Instagram: / thestandardwealth
    #ธปท #ดอกเบี้ย #หนี้ #TheStandardWealth #การลงทุน #ลงทุน

ความคิดเห็น • 96

  • @zymiof133
    @zymiof133 3 หลายเดือนก่อน +4

    ปัญหาส่วนใหญ่คือ ตอนกู้ดาว์นน้อยกู้เยอะ ถ้าดาว์นเยอะกู้น้อยมันก็ไม่มีปัญหาแล้ว ก่อนกู้หยิบเครื่องคิดเลขมาคำนวนสักนิด สิ่งมหัศจรรย์สิ่งที่ 8 คือดอกเบี้ยทบต้น อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกอยู่ฝั่งกินดอกเบี้ย หรือจ่ายดอกเบี้ยละ

  • @louisalexander-sd9sy
    @louisalexander-sd9sy 3 หลายเดือนก่อน +9

    ธปท.รู้ดีว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าความเป็นจริงมานาน อัตราเงินเฟ้อ1%กว่าผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งผมซื้อของโดยเฉพาะหมวดอาหารต้นปี66กับปลายปี66ขึ้นโดยเฉลี่ยเกิน10%คนไทยมีค่าใช้จ่ายเป็นอาหารประมาณ50% เงินเฟ้อเกิน 5%แน่นอนและไม่ใช่สินค้าอื่นไม่ขึ้น ขึ้นกันหมด ดังนั้นดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมควรเป็น 6% ไม่ควรเอาใจคนเป็นหนี้ และรัฐบาลเกินไป ควรสนับสนุนให้คนออมเงินและสะสมทุน

    • @parmodtongyai2440
      @parmodtongyai2440 3 หลายเดือนก่อน +1

      ของมันต้องมี เก็บเงินไว้ทำไม นี่คือตรรกะของคนรุ่นใหม่

  • @samprapotum1016
    @samprapotum1016 3 หลายเดือนก่อน +2

    เหมือนแบงค์ชาติอยู่คนละโลกกับเศรษฐกิจจริง อย่ามัวแต่งมผิดงมถูก แบงค์พาณิชย์จูงจมูกแบงค์ชาติโดยไม่รู้ตัว การส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายมันควบคุมไม่ได้ เวลาขึ้นดอกเบี้ย แบงค์ขึ้นตาม ยกแผงอย่างไว แต่เวลาลดดอกเบี้ย บางแบงค์ไม่ค่อยจะลดตาม อันนี้เข้าใจได้ว่าแบงค์ต้องหากำไร แต่คนควบคุมนี่เหมือนเด็กเรียนมหาวิทยาลัยทำการบ้านเสร็จก็กลับบ้านนอน งกๆแต่กับข้อมูลวิชาการ ขาดความเข้าใจกับการส่งผ่านต่อภาคประชาชนอย่างจริงจัง

  • @treepibomo
    @treepibomo 3 หลายเดือนก่อน +4

    ผ่อนแต่ดอก ต้นทุนก็เยอะตามดอกเบี้ย กำไลแทบไม่มี ช่วยประชาชนหน่อยเถอะ แบงค์ชาติต้องเข้าใจประชาชนด้วย

  • @theerasakwattanaeksakul9350
    @theerasakwattanaeksakul9350 3 หลายเดือนก่อน +7

    จุดประสงค์ นกม. มองตัวเอง ต่างกับ คนที่มองประเทศเป็นสาระสำคัญ

  • @nirachara66
    @nirachara66 3 หลายเดือนก่อน +12

    ถ้าลดตอนนี้ ต่างชาติจะมองว่าแบ้งค์ชาติถูกการเมืองแทรกแซง นายกมีอะไรก็ชอบมาโพสต์ความเห็นลงโซเชียล ให้ดีควรไปคุยหลังไมค์เงียบๆ ไม่ใช่มากดดันแบ้งค์ชาติออกสื่อแบบนี้

    • @user-re3vs3xw6x
      @user-re3vs3xw6x 3 หลายเดือนก่อน +1

      ทำไมจะวิจารณไม่ได้ครับ ธปท ยังวิจารณ์นโยบายรัฐบาล เค้าวิจารณ์แต่ก็สั่งอะไรไม่ได้ นี่กลับเป็นการแสดงให้ทุกฝ่ายเห็นว่า ธปท เป็นอิสระจริงๆ

    • @ProuddyPoomchai
      @ProuddyPoomchai 3 หลายเดือนก่อน

      สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ดอกเบี้ยเกินเงินเฟ้อไปแล้ว หนี้เสียมีแต่จะเพิ่ม พวกคุณๆ ท่านๆ ไม่เดือดร้อน มันต่างกับคนที่หาเช้ากินค่ำ นะครับคุณท่าน

    • @TUKTA205
      @TUKTA205 3 หลายเดือนก่อน

      @@user-re3vs3xw6xคนอื่นไม่เท่าไหร่ นายกไม่ควรอย่างยิ่ง

    • @user-re3vs3xw6x
      @user-re3vs3xw6x 3 หลายเดือนก่อน

      @@TUKTA205 ไม่สามารถออกความเห็นนโยบายทางการเงินที่ไม่ถูกต้องได้ แต่ต้องรับผิดชอบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แบบนี้มันแฟร์กับเค้าไหมครับ? และการแสดงความคิดเห็นนี้ทาง ธปท ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามนะครับ? ยังคงดำรงความอิสระเป็นอย่างยิ่ง ในสหรัฐฯเอง ไบเดนก็ยังมีแนะนำเฟดนะครับ

  • @guidei.t7303
    @guidei.t7303 3 หลายเดือนก่อน +6

    รีดเลือดกับปู ผ่อนไม่ไว้ ก็ยึดเอาไปขายต่อ ฟันจมเขี้ยว 2 เด้ง

  • @jaker9701
    @jaker9701 3 หลายเดือนก่อน +4

    ผมเชื่อแบงค์ชาติมากกว่ารัฐบาลครับ

  • @k.t.p.7257
    @k.t.p.7257 3 หลายเดือนก่อน +3

    เข้าใจ BOT นะ เพราะต้องดูสเถียรภาพของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ไม่ให้เกิดวิกฤตแบบต้มจำกุ้ง ฯลฯ ส่วนนักการเมืองก็ต้องหาเสียงตามปกติ

  • @user-jh9mg5cy5j
    @user-jh9mg5cy5j 3 หลายเดือนก่อน +10

    ส่วนตัวมองว่าเหตุผลที่BOTให้ดูไม่ค่อยsolid เช่น ที่บอกว่าการที่ลดดบ.ตอนนี้จะกระตุ้นให้ปชช.สร้างหนี้แล้วลดทอนศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต แต่ผมกลับมองว่าการที่แบงค์ชาติไม่ยอมลดดบ.ในเวลานี้ก็เป็นการบั่นทอนศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในเวลานี้และในอนาคต ทำไมถึงยังให้ปชชแบกรับต้นทุนทางการเงินที่สูงในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอยู่ ยอมรับมาดีกว่าว่าที่ตรึงดบ.นโยบายแบบนี้เพราะกลัวเงินเฟ้อที่จะสูงจากนโบบาย10000บาทของรัฐ

  • @user-kj5dx5ck4m
    @user-kj5dx5ck4m 3 หลายเดือนก่อน +4

    ปล่อยน้อยๆคนและเก็บดอกแพงๆ ที่เหลือไม่ต้องกู้ เพราะไม่มีความสามารถจ่ายดอกเบี้ยแพงๆได้ คนฝากให้ดอกน้อยๆส่วนต่างดอกเบี้ยมากๆๆๆๆ ผลประโยชน์ แบงก์หรือปชช. ธปท.อย่าทำมึนๆๆๆๆๆๆๆๆ!

    • @yuttakeatpy3111
      @yuttakeatpy3111 3 หลายเดือนก่อน +3

      นักการเมืองเข้าไปยุ่ง หรือควบคุมหน่วยงานใด. หน่วยงานนั้นจะเจ๊งตลอด... แบงค์ชาติเขาต้องมีอิสระในการบริหารไม่ให้ใครเข้ามาแทรกแซงได้....

    • @changetheworld3439
      @changetheworld3439 3 หลายเดือนก่อน +1

      ต้นตอสร้างความเหลื่อมล้ำเลย ดอกเบี้ยที่คนรวยกับคนจนกู้ ก็ไม่เท่ากัน

  • @aewmobile1391
    @aewmobile1391 2 หลายเดือนก่อน

    ก็ไม่ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายแค่ปรับดอกเบี้ยเงินกู้
    ฝาก0.3-1.6แต่ปล่อยกู้7-12% เรื่องจริงหนี้ครัวเรือน16.2ลลบ.ลดดอกกู้1% แต่ไม่ลดดอกฝาก เงินเพิ่มมาในระบบก็ประมาณ1.6แสนล้าน/ปี ลด2%ก็3.2แสน
    คือปรับลดให้คนกู้รายเก่า ส่วนคนใหม่ก็เข้มงวดขึ้น
    ทำได้ถ้าจะทำ ส่วนต่างยังอีกเยอะ ไปดูกำไรทั้งระบบที่2.2แสนล้านก็ไก้คำตอบ

  • @wongtong8735
    @wongtong8735 3 หลายเดือนก่อน +1

    ตอนเซ็นสัญญากู้เงิน บอกอะไรก็ได้ พอมีปัญหาบอกขอลดดอกเบี้ยหน่อยจ้า

  • @teerapatrpongpaew2128
    @teerapatrpongpaew2128 3 หลายเดือนก่อน

    ขึ้นไปอีกเลยขึ้นเยอะๆเลยเศรษฐกิจกำลังขาขึ้น เหตุผลที่อ้างก็ดี ขึ้นอีกเลย

  • @kpaccess
    @kpaccess 3 หลายเดือนก่อน +4

    FED ขึ้นดอกเบี้ย ทรัมป์ก็ด่า
    แต่ FED เขาไม่สนจ้า

    • @aewmobile1391
      @aewmobile1391 2 หลายเดือนก่อน

      เค้าเงินเฟ้อเจ้านาย

  • @ponchasethebest1886
    @ponchasethebest1886 3 หลายเดือนก่อน +2

    คนโวยเพราะส่วนต่างดอกเบี้ยฝากกับกู้มันเยอะต่างหาก ฝากเงินที่ไหนดอก 2.5% บ้าง ตันแค่แสนเดียวไม่เอานะ

  • @Juy1234
    @Juy1234 3 หลายเดือนก่อน

    หนักจริงๆ ผ่อน 8,000 เคยได้ต้นครึ่งนึงตอนนี้ได้ 1,500😢😢😢
    ควรขึ้นเฉพาะสร้างหนี้ใหม่ ไม่เหมา

  • @samarnpraermah7841
    @samarnpraermah7841 3 หลายเดือนก่อน

    ส่งบ้านตัดแต่ดอก ตัดต้นกี่บาท

  • @sithipongpetchprasith-kt6jr
    @sithipongpetchprasith-kt6jr 3 หลายเดือนก่อน

    เงินเฟ้อติดลบ คือ เงินฝืด นั้นเอง ทำไมไม่พูดปัญหาเงินฝืดบ้างครับ ตอนนี้ ไม่ใช่ปี 40 ครับ

  • @nut_fly5577
    @nut_fly5577 3 หลายเดือนก่อน +4

    พอฟังทั้งสองฝ่าย ผมมองว่าbot มองกว้างกว่าฝ่ายรัฐนะ เค้ามองทุกด้านจริงๆถ้าเทียบกันกับสิ่งที่คุณกิตติรัตน์เคยออกมาพูด ฝ่ายรัฐส่วนใหญ่เค้าจะมองแค่เศรษฐกิจกับปัญหาที่กำลังแก้คือเรื่องหนี้ แต่botมองไปถึงโครงสร้างเลย พูดง่ายๆคือถ้าจะให้แก้ปัญหาก็ควรแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายเหตุ

    • @changetheworld3439
      @changetheworld3439 3 หลายเดือนก่อน +2

      คิดแบบแบงค์ชาตินี่แหละ ต้นตอของความเหลื่อมล้ำ

    • @nut_fly5577
      @nut_fly5577 3 หลายเดือนก่อน +2

      @@changetheworld3439 เป็นต้นตอยังไงเหรอครับ ผมไม่เข้าใจ

    • @user-re3vs3xw6x
      @user-re3vs3xw6x 3 หลายเดือนก่อน

      การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องทำควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจครับ ไม่งั้นลำบากทุกหย่อมหญ้าแน่นอน

    • @nut_fly5577
      @nut_fly5577 3 หลายเดือนก่อน

      @@user-re3vs3xw6x ผมถึงได้บอกว่าbot มองไปทุกด้านไงครับ มันต้องควบคู่กันไปแบบที่คุณบอกจริงๆ

    • @Giggs_P.K.
      @Giggs_P.K. 3 หลายเดือนก่อน

      @@changetheworld3439 ผมว่าคุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับหน้าที่ของแบงค์ชาติอยู่น่ะครับ แบงค์ชาติมีหน้าที่ค่อยกำกับดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศ ส่วนรัฐบาลมีหน้าที่บริหารภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศ โดยรัฐบาลมักจะดำเนินนโยบายแบบ aggressive เน้นการกระตุ้นและการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนแบงค์ชาติจะดำเนินนโยบายแบบ conservation เน้นความมั่นคงและความปลอดภัยของเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งทั้งสองจะเหมือนเหรียญสองด้านที่คอยรักษาสมดุลระหว่างกันครับ

  • @stang8913
    @stang8913 3 หลายเดือนก่อน +2

    ไม่ลดดอกเบี้ย ก็ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากสิ เหตุผลอะไรทำไมไม่ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากตามกันด้วย

    • @jirau1228
      @jirau1228 3 หลายเดือนก่อน

      บีบเงินไปอุดตลาดหุ้น ที่มีความเสี่ยง

  • @user-ec8gv4sx1r
    @user-ec8gv4sx1r 3 หลายเดือนก่อน

    1ในเหตุผลหลักที่มีส่วนทำให้การมีลูกในยุคนี้คือหายนะ(ของชนชั้นกลาง เรทเงินเดือนกลางๆ) 30-40ปีข้างหน้าจะเก็บภาษีจากใคร เจ้าสัวจะเอาเงินมหาศาลมาจากไหนในเมื่อลูกค้าลดลง รายได้ต่อปีจะพอรันอภิมหาโครงสร้างซังกะบ๊วยที่สร้างไว้หรือเปล่า ท่าจะแย่สงสัยต้องรีบตุย

  • @taravilla
    @taravilla 3 หลายเดือนก่อน

    อย่าตามฝ่ายการเมือง
    แต่
    ไม่ขึ้นดอกเบี้ย
    แต่ให้คงที่6เดือน
    แล้วค่อยลด5สต.

  • @PNT1478
    @PNT1478 3 หลายเดือนก่อน

    แบงค์ชาติ อยู่ข้างฝ่่ายกินดอกเบี้ย คือ ธนาคาร บ หลักทัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อผ่อนรถ ฯ ฝ่ายเสียดอกเบี้ย คือ ผู้ซื้อ คือฝ่ายประชาชน

  • @user-op2zu3zw1m
    @user-op2zu3zw1m 3 หลายเดือนก่อน

    ไปดูต่างประเทศ
    หลายๆประเทศไม่สนใจ 2.50
    เน้นการทำงานผลงาน รอพร้อม ชาตินี้
    ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
    ไม่ต้องพัฒนาชีวิต
    ไม่ต้องเดินทาง
    ไม่ต้องคิดธุรกิจ
    รอพร้อม 2.50
    มีคนมากมาย
    ที่ต่ำกว่า 2.50
    ชีวิตธุรกิจการงาน
    ทำใมไปได้สวย
    บางคนเดินทางไปต่างประเทศได้
    *** ถึงว่าสู้ต่างประเทศเขาไม่ได้
    เพราะรอ 2.50
    นี่เอง

  • @somboonph1711
    @somboonph1711 3 หลายเดือนก่อน

    หุ้นกู้ดอกสูงปรี๊ดเลย แต่ขายไม่หมด😅

  • @supachetsaetung1324
    @supachetsaetung1324 3 หลายเดือนก่อน +5

    ป้องกันการสร้างหนี้เพิ่ม แต่คนที่มีหนี้อยูละครับ ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเขาในช่วงที่ดอกเพิ่มสูงขึ้น บางคนไหวก็รอดไปบางคนเจอการรุมเร้าจากหลายด้าน ตั้งแต่โควิทซึ่งหนักมาก มาเจอดอกที่สูงอีก เหมือนโดนซ้ำๆเข้าไป ทางที่ดีคือหนี้ใหม่ดอกเรทสูง คนเดิมก็ต้องขึ้น แต่ขึ้นในระดับที่เขาไหวด้วย ปรับดอกที ก็ขึ้นที 0.25 สำหรับบางคนไม่หนัก แต่บางคนนี่กระอักเลยนะครับ

    • @Poonsap-hi5bn
      @Poonsap-hi5bn 3 หลายเดือนก่อน +1

      นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการต้องบริหารความเสี่ยงด้วยตัวเอง ตอนที่เรากู้ยืมเราต้องเตรียมพร้อมทั้งความสำเร็จและล้มเหลว เตรียมพร้อมบริหารหนี้ ถ้าทุกคนจะให้รัฐมาช่วยบริหาร มาช่วยอุ้มหนี้ส่วนตัว ทุกคนในประเทศนึ้ก็จะอ่อนแอ เพราะคิดแต่ว่า เอาต่ะ เดี๋ยวรัฐก็จะมาช่วย แล้วเราจะเอาอะไรไปสู้กับนานาประเทศ

    • @supachetsaetung1324
      @supachetsaetung1324 3 หลายเดือนก่อน +1

      ครับผมเข้าใจและเห็นด้วยครับรัฐช่วยได้แต่ไม่ควรเยอะ การจะเป็นหนี้ต้องมีเตรียมเผื่อไว้บ้าง แต่ด้วยความที่จาก.05รันมายัน2.5 สำหรับบางคนคงไม่คิดว่าจะหนักขนาดนี้

    • @Juy1234
      @Juy1234 3 หลายเดือนก่อน +1

      ต้องขึ้นเฉพาะหนี้ใหม่ไม่ใช่เหมารวมนกู้เก่าต้องคงไว้ครับ

  • @jerjai252
    @jerjai252 3 หลายเดือนก่อน

    รับเงินเดือนหลวง แต่เอื้อประโยชน์ให้แต่กับผู้ประกอบการ😢

  • @miniboxgo
    @miniboxgo 3 หลายเดือนก่อน

    ก่อหนี้เกินตัวคือ? แบงค์เป็นคนตัดสินใจเลือกลูกค้าปล่อยสินเชื่อไม่ใช่เหรอ หรือชั้นตั้งคำถามผิด

    • @jirau1228
      @jirau1228 3 หลายเดือนก่อน

      แต่ธนาคารให้ดอกเงินฝากต่ำ บีบ ให้เอาเงินเม่าไปอุดตลาดหุ้นรึ

  • @TheMonsterFX
    @TheMonsterFX 3 หลายเดือนก่อน

    เอาจริงๆ 2% กำลังดี 2.5% หนักเกินไปนิด

  • @pongphansahapong8965
    @pongphansahapong8965 3 หลายเดือนก่อน

    ทำไมดอกเบี้ยเงินฝากไม่ขึ้นตาม

  • @Redzee88
    @Redzee88 3 หลายเดือนก่อน

    ลดดอกเบี้ย แล้ว เกิดภาวะก่อหนี้เกินตัว...ตรรกะ "พ่อปกครองลูก" " คนรวยสอนคนจน".... อืม

  • @PNT1478
    @PNT1478 3 หลายเดือนก่อน

    ปิติ พูดได้อย่่างไรว่า เศรษฐกิจไทยตกต่ำยาวนาน เกิดจากโครงสร้าง (นายกตู่ 8 ปี ไง) และปัจจัยภายนอก(ต่างประเทศ)
    ขอถามว่า เหตุใด ประเทศอื่นโตกว่าต่อเนื่องมาหลายปี อ๋อ? เขาไม่ได้มีแบงค์ชาติ แบบไทยครับ

  • @taravilla
    @taravilla 3 หลายเดือนก่อน

    รัฐต้องสร้างงาน

  • @badluckme3494
    @badluckme3494 2 หลายเดือนก่อน

    ลดดอกเบี้ยเถอะ

  • @user-jb2hf4su3d
    @user-jb2hf4su3d 3 หลายเดือนก่อน

    แบงค๋ชาติ ดูแค่ตัวเลขอย่างเดียวไม่สนอะไรเลย คือ ปชช จะเดือดร้อน จะตายก็ช่าง ขอแต่ตัวเลขสวยๆหรอ ส่วนการกู้นั้น ใครมันจะคิดว่าแบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ยนนโยบายมาถึง 2.5% ซึ่งมากสุดในรอบ 10 ปี แล้วมีที่ไหนเงินเฟ้อลด แล้วขึ้นดอกเบี้ย การขึ้นดอกเบี้ย ปัจจัยหลักคือการสกัดเงินเฟ้อ แต่นี่พี่ไทยเงินเฟ้อติดลบแล้วยังขึ้นดอดเบี้ย ขนาด fed usa ยังไม่ทำแบบนี้เลย

  • @satangup51
    @satangup51 3 หลายเดือนก่อน +4

    ธปท.อ้างว่าคนจะก่อหนี้เกินตัว มันจะทำได้ยังไงครับแบงค์เล่นไม่ปล่อยกู้เลย

    • @Giggs_P.K.
      @Giggs_P.K. 3 หลายเดือนก่อน +2

      คนรากหญ้าหรือ SME ขนาดเล็กส่วนใหญ่กู้สินเชื่อจากกลุ่ม non-bank ครับ ซึ่งกลุ่ม non-bank พวกนี้ก็จะกู้มาจากธนาคารอีกทีนึงครับ เวลาเกิด NPL ในกลุ่ม non-bank ก็จะส่งผลโดยตรงกับธนาคารครับ ซึ่งในปัจจุบันนี้กลุ่ม non-bank ก็มี NPL สูงที่สุดในรอบ 10ปีเลยครับ

    • @user-ev7wv7sl5i
      @user-ev7wv7sl5i 3 หลายเดือนก่อน +1

      งั้นก็แปลว่าถึงจะมีหนี้เสียเยอะก็ยังกำไรมหาศาลใช่ไหมครับปีนี้@@Giggs_P.K.

    • @Giggs_P.K.
      @Giggs_P.K. 3 หลายเดือนก่อน +1

      @@user-ev7wv7sl5i ที่กำไรเยอะปี 66 เพราะอัตราดอกเบี้ยที่สูงทำให้ธนาคารได้กำไรจากจุดนี้ แต่ NPL ที่เกิดขึ้นมันยังอยู่ในกลุ่ม non-bank ครับ ยังไม่ได้สะท้อนมาถึงกลุ่มธนาคาร ทำให้มี gap ตรงจุดนี้ธนาคารเลยดูกำไรเยอะ ยิ่งถ้าธนาคารไหนตั้งสำรองไว้น้อยกำไรที่แสดงออกมาก็จะเยอะเช่นกันครับ แต่จากที่ดูข้อมูลมา NPL จากกลุ่ม non-bank น่าจะสะท้อนในปี 67 นี้ครับ ภาพที่เราเห็นกลุ่มธนาคารกำไรเยอะปี 66 มันเป็นแค่ภาพสั้นๆที่ NPL ยังไม่ได้แผลงฤทธิ์ครับ

  • @user-vw2be4rv1e
    @user-vw2be4rv1e 3 หลายเดือนก่อน +1

    อะไรๆก็สู้คนมีตังค์ที่เป็นกลุ่มของธนาคารไม่ได้หรอกเพราะเขาหากินบนความทุกข์ยากของประชาชน

  • @opasjabamrungvong1206
    @opasjabamrungvong1206 3 หลายเดือนก่อน

    การควบคุมอ้ตราดอกเบี้ยจะสูงหรือต่ำเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจเข้าใจได้ แ่ต่ทำไม่ควบคุมส่วนต่างระะหว่างเงินกู้กับเงินฝากให้ไม่ห่างกันมาก
    ทั้งๆที่เป็นหน้าที่กำกับและดูแลโดยตรง

  • @TakaU.-kx8vl
    @TakaU.-kx8vl 3 หลายเดือนก่อน +5

    เป็นเรื่องแปลก ที่คนในชาติไม่รุ้ว่าแบงชาติ มีหน้าที่รักษาค่าเงินบาท!!
    ถ้าลดดอกตอนนี้ คือ เมิงอิบอ๋ายทันทีเลยนะ😅😅😅
    คนไม่รุ้มีกี่% เรื่องนี้ยิ่งสำคัญกว่า ถ้ามี 5-10% อันนี้พอไหว...
    แต่ถ้าไม่รุ้ 70-80% สิ่งนี้คือวิกฤตของจริง ใช่หรือไม่??😅😅😅

    • @userur999zz
      @userur999zz 3 หลายเดือนก่อน +3

      ใช่เลย ไม่โทษใคร
      เรื่องนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้วิชาเศรษฐศาตร์
      ถ้าฟังความข้างเดียว ธนาคารแห่งประเทศไทยก็เป็นผู้ร้ายแหละน่ะ
      น่าสงสารจัง
      ขอให้ท่านทั้งหลายเป็นเสาหลักให้ประเทศไทย
      พระสยามเทวาธิราชคุ้มครอง

    • @miniboxgo
      @miniboxgo 3 หลายเดือนก่อน

      @@userur999zz 555 เกรียมอธิษฐาน

    • @TUKTA205
      @TUKTA205 3 หลายเดือนก่อน +1

      จริงค่ะ บางคอมเม้นคือกุมขมับ ให้อธิบายง่ายยังไงก็ดูเหมือนไม่อยากเข้าใจ มองในมุมกระเป๋าเงินตัวเองอย่างเดียว

    • @miniboxgo
      @miniboxgo 3 หลายเดือนก่อน

      @@TUKTA205 ไม่เข้าใจหรอก คนเป็นหนี้อยู่แล้ว ส่วนใหญ่ไม่ใช่หนี้ที่ดี และไม่ใช่คนรวย

    • @vassanab4243
      @vassanab4243 3 หลายเดือนก่อน

      น่าแปลกที่บางคนไม่รู้ว่าหลักการขึ้นดอกเบี้ย คือการขึ้นทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่ใช่ขึ้นแต่ดอกเบี้ยเงินกู้แต่ดอกเบี้ยเงินฝากไม่ขึ้น ปล่อยให้แบงค์กินกำไรส่วนต่างมหาศาล ประเทศอื่นดอกเบี้ยเงินฝากปาไป 5% กว่าแล้ว

  • @kimneyon
    @kimneyon 3 หลายเดือนก่อน

    ง่ายๆคือรัฐบาลมองว่ากำไรธนาคารสูงมากเป็นประวัติการณ์เลยคิดว่าควรลดดอกเบี้ย แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าถ้าลดดอกเบี้ยคนไทยอาจจะก่อหนี้เกินตัว

  • @masterblackink736
    @masterblackink736 3 หลายเดือนก่อน

    Bank ไทยกำไรโตขึ้นเท่าตัวภายในปีเดียว ปี 65 กำไร แสนล้าน ปี 66 กำไร 2 แสนล้าน ขึ้นดอกเงินกู้แข่งกับเงินกู้นอกระบบว่างั้น อ้างโน้นนี่นั่นศัพท์แสงเศรษฐกิจมาพรึ่บ สุดท้าย ปชช.ก็ตายเรียบ NPL พุ่งแน่ๆ เสร็จแล้วก็ให้ต่างชาติมาซื้อแล้วทำกำไรขูดเลือดเนื้อ ปชช.ต่อ

    • @Giggs_P.K.
      @Giggs_P.K. 3 หลายเดือนก่อน

      ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะสรุปได้ว่า ดอกเบี้ยนโยบายสูงเกินไปหรือไม่
      แต่อย่างน้อยๆผมมองว่า คุณยังมองไม่ครอบคลุมว่า การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายส่งผลอย่างบ้าง
      ดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ได้ส่งผลกับแค่เรื่องเงินเฟ้อ / ดอกเบี้ยฝากกู้
      แต่รวมถึงด้านอื่น เช่น
      1. การไหลออกของเงินการลงทุน โดยเฉพาะต่างชาติ
      1.1 การขาดสภาพคล่อง การเติบโต ของบริษัท ส่งผลโดยตรงต่อการจ้างงาน
      1.2 ความน่าเชื่อถือของตลาดทุน, Panic buy/sell
      2. อัตราการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ
      2.1 เงินไหลออก เงินบาทอ่อนค่า, สกุลอื่นๆแข่งกันแข็งค่า
      2.2 การนำเข้าสินค้าต่างประเทศราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ปุ๋ย ในช่วงแรก
      ฯลฯ
      การขึ้น หรือ การลด ดอกเบี้ย มีคนได้ประโยชน์ และก็มีคนเสียประโยชน์
      แต่สิ่งที่แบงก์ชาติต้องทำคือการรักษาสมดุล รักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
      ไม่ให้เกิดการกระชากที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนต้องล้ม สูญเสียความเชื่อมั่น แล้วเกิดการล้มต่อๆกันเป็นDomino
      แบงก์ชาติเลือกที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
      และกลุ่มธนาคารได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนี้ ประชาชนบางส่วนเสียผลประโยชน์จากสิ่งนี้ จริง
      แต่ก็มีกลุ่มธุรกิจอื่นๆด้วยเช่นกันที่ขาดไปจากการความเห็นของคุณ ผมแค่อยากจะชี้ให้เห็นว่า มันมีส่วนอื่นที่ไม่ควรมองข้ามด้วย
      ทีนี้ ประเด็นของธนาคารพาณิชย์ เราก็ต้องมาถกเถียงกัน ว่าได้ผลประโยชน์เกินไปหรือไม่
      มีวิธีการใดในการถ่วงดุลไหม
      การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก็อาจจะเป็นคำตอบจริงๆก็ได้
      แต่มีวิธีอื่นอีกไหม?
      1. เราเพิ่มอัตราเงินฝากได้ไหม
      2. เราเก็บเงินเข้ากองทุนมากกว่านี้ได้ไหม
      ฯลฯ ผมว่าคงมีคนเก่งๆคิดวิธีการได้มากกว่าผม ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร
      ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์

  • @user-sq3ht9ut1n
    @user-sq3ht9ut1n 3 หลายเดือนก่อน +2

    รังแกประชาชนในยามลำบาก แล้วรู้สึกดีมากๆสะใจดี

  • @user-tt6er6gx7t
    @user-tt6er6gx7t 3 หลายเดือนก่อน

    เพราะก้าวไกลครับ มันเป็นวิกฤติชาติ

  • @handsomebanksorasak5223
    @handsomebanksorasak5223 3 หลายเดือนก่อน +2

    ตอนกู้ไม่คิด คิดแต่จะอ้างความชอบธรรมเข้าตัวเองว่า ไม่ไหวแล้วนะ แล้วก็อ้างว่า ต้องกินต้องใช้ ถ้าต้องกินต้องใข้จริง ทำไมห้างทุกแห่งรถเยอะ วันธรรมดาหาที่จอดไม่มี เสาร์ อาทิตย์คนเต็มแน่นห้าง อย่าอ้างว่ามาเดินเล่นตากแอร์ เห็นซื่อของกันเยอะแยะ ทำไมรถติดกว่าเดิม ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี คนไม่มีเงิน ไม่มีรายได้ ต้องอยู่บ้านครับ ย้อนแย้งกันไปหมดแล้วมาอ้างความชอบธรรมว่า ต้องกู้เพื่อสร้างอนาคต แต่ไม่เคยคิดเผื่อว่า ถ้าเศรษฐกิจแย่ ซึ่งมักอยู่นานกว่าเศรษฐกิจดี จะทำยังไง พอมีคนบอก ห้าม อดใจไว้ ก็อ้างว่า สิทธิส่วนบุคคล ความจำเป็นแต่ละคนไม่เท่ากัน

    • @user-my8qe5xj9u
      @user-my8qe5xj9u 3 หลายเดือนก่อน

      ประทานโทษนาคับ การกู้ซื้อบ้านสำหรับคนไทยเนี่ยอันนี้ก้อคือสิ่งที่คุณเรียกว่ากู้ไม่คิดด้วยรึเป่าท่านกูรู

    • @H.K._G36C
      @H.K._G36C 3 หลายเดือนก่อน

      แล้วตอนกู้ซื้อบ้านไม่ได้คิดคำนวนก่อนหรอครับว่าผ่อนจ่ายไหวไหมอัตราดอกเบี้ยเท่านี้แล้วในอนาคต ถ้าวางแผนได้ดีไม่มีอะไรต้องกลัวครับ​ มันจะมีปัญหาตรงกู้เกินตัวแล้วก็ไม่ได้วางแผนนี่แหล่ะ สักแต่กู้ให้ได้เท่าไหร่ก็กู้เวลาผ่านไปเป็นหนี้เสียอีก พอถึงเวลาผ่อนไม่ไหวก็ต้องมาหอนโอดครวญให้รัฐช่วยนั่นช่วยนี่ซึ่งมันไม่ควรเป็นหน้าที่ของรัฐเลย รับไม่ควรแทรกแซงกลไกตลาดใครเรียนเศรษฐศาสตร์ก็รู้กัน(เว้นแต่คุณเป็นพวก Keynesian ที่ชอบแทรกแซงเศรษฐกิจ ส่วนเรื่อง financial literacy ก็ควรเป็นเรื่องพื้นฐานที่ประชาชนหัดเรียนรู้ที่นี่ไม่ใช่ยุโรปครับไม่มีรัฐสวัสดิการคอยเลี้ยงดูต้องวางแผนและดูแลตัวเองให้ดีครับ ถ้ามัวแต่หวังพึ่งภาครัฐก็มีแต่โดนนักการเมืองเป่าหูไปทุกๆ4ปีนั่นแหล่ะ@@user-my8qe5xj9u

  • @user-wq7xi1ef8y
    @user-wq7xi1ef8y 3 หลายเดือนก่อน

    ทุเรียนกู้ชาติได้ครับส่งออกได้เยอะ

  • @user-ud3gj5oy2q
    @user-ud3gj5oy2q 3 หลายเดือนก่อน

    ต้องมองถึงความเท่าเทียมไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ

  • @lunlun1042
    @lunlun1042 3 หลายเดือนก่อน

    เชื่อแบงค์ชาติมากกว่า

  • @picamulets7610
    @picamulets7610 3 หลายเดือนก่อน

    ก่อหนี้เกินตัว พูดไปได้ ..กว่าจะกู้ได้

  • @sphatsakon
    @sphatsakon 3 หลายเดือนก่อน

    แบงค์ชาติต้องตอบมาก่อนว่า การคงดอกเบี้ยนโยบายสูงนั้น ทำให้แบงค์กำไรสูง คล้ายค่าการตลาดของบ.ผู้ขายน้ำมัน นั้นจริงไหม

  • @kingping8756
    @kingping8756 3 หลายเดือนก่อน

    กำไรมหาศาล ใครจะโง่ลดละครับ โอกาสทำเงินสร้างกำไรมหาศาลแบบนี้ ไม่ได้มีบ่อยๆ อย่าอ้างเยอะ เรียนสูงรู้เยอะ ใช่ว่าจะพูดอะไรแล้วใครก็เชื่อ

  • @user-fx3kd4zz3j
    @user-fx3kd4zz3j 3 หลายเดือนก่อน

    แล้ว ทำไมไม่เพิ่มเปอร์เซนต์การคืนเงินกู้กองทุนฟื้นฟูให้เป็นอัตราที่สูงเป็นพิเศษเล่าครับ(เท่ากับลดภาระดอกเบี้ยให้กใการคลังหรืองบประมาณ) จะได้ไม่มีเศษเงินตกหล่นที่ทางเท้าหน้าแบงค์

  • @GAME-LOCK
    @GAME-LOCK 3 หลายเดือนก่อน

    ใช่สิ เอื้อจีนขนาดนี้ คนในประเทศจะไปสู้ยังไง