EP:9 #7 เทคนิคการวาดภาพหุ่นนิ่งสีอะครีลิคขั้นพื้นฐานแบบละเอียด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 12 ส.ค. 2021
  • #7 เทคนิคการวาดภาพหุ่นนิ่งสีอะครีลิคขั้นพื้นฐานแบบละเอียด
    #7 techniques for painting still lifes with acrylic paints
    Acrylic Painting
    #สีอะคริลิค
    #หุ่นนิ่งสีอะคริลิค
    #สอนวาดภาพสีอะคริลิค
    #สีอะคริลิคศิลปากรประดิษฐ์
    วิธีการวาดภาพสีอะคริลิค
    Acrylic Paint Step
    ขั้นตอนการวาดภาพระบายสีอะคริลิค
    1.เลือกตำแหน่งที่เหมาะสม. โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะลงสีได้ดีที่สุดในแสงธรรมชาติ ตั้งแผ่นผ้าใบให้อยู่ใกล้หน้าต่างที่เปิดไว้หรือตั้งในห้องที่มีแสงธรรมชาติเข้ามามาก เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสีทีละนิด ทุกครั้งที่ปัดพู่กัน ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
    2.วางอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน. จิตรกรแต่ละคนมีวิธีวางอุปกรณ์วาดภาพไม่เหมือนกัน แต่การวางอุปกรณ์ทุกอย่างตามความสะดวกของเราก่อนเริ่มวาดภาพจะดีที่สุด ใส่น้ำในกระปุก เอาพู่กันและสีที่เราต้องการใช้ออกมาวาง รวมทั้งวางจานสีในตำแหน่งที่สะดวกที่สุด อย่าลืมใส่ผ้ากันเปื้อนหรือเปลี่ยนมาใส่เสื้อยืดเก่าๆ ด้วย
    3.ตัดสินใจว่าจะวาดรูปอะไร. ในฐานะจิตรกรฝึกหัด เราอาจรู้แล้วว่าตนเองต้องการวาดอะไร หรือเราอาจกำลังมองหาอะไรสักอย่างมาเป็นแบบ ลองคิดสิว่าตนเองอยากวาดอะไรหรืออยากใช้อะไรมาเป็นแบบในการวาดรูปครั้งแรก การใช้วัตถุ 3 มิติหรือรูปถ่ายมาเป็นแบบอาจทำให้เราวาดรูปได้ง่ายที่สุด แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรวาดอะไรดี ขอแนะนำวัตถุที่จิตรกรฝึกหัดสามารถวาดได้ง่ายดังนี้
    ชามผลไม้
    แจกันดอกไม้
    วัตถุต่างๆ ในบ้าน
    พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก
    4.ร่างภาพคร่าวๆ. ถ้ารู้สึกมั่นใจความสามารถในการวาดภาพตามที่เราเห็นจริงๆ เราก็สามารถใช้สีอะคริลิกวาดภาพได้เลย แต่คนส่วนใหญ่จะต้องร่างภาพก่อนลงพู่กัน ใช้ดินสอธรรมดาร่างเค้าโครงหลักๆ ลงผ้าใบตรงๆ ไม่ต้องพะวงเรื่องรายละเอียดหรือแสงเงามากนัก
    จะร่างภาพใส่กระดาษก่อนร่างลงผ้าใบก็ได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะวาดภาพออกมาได้ดีในครั้งแรก
    5.ผสมสี. แทนที่จะผสมสีระหว่างวาดภาพ ควรผสมสีให้เสร็จก่อนวาดภาพ จงใช้เวลาและใช้สีให้คุ้มค่าด้วยการผสมสีทั้งหมดที่เรามี ผสมให้ได้สีทั้งหมดที่เราต้องการ ก่อนเริ่มวาดภาพ ที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เราผสมสีเกินกว่าที่ตนเองจะใช้จริง เราอาจสามารถเก็บสีที่เหลือไว้ใช้คราวหน้าได้ก็จริง แต่ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะผสมสีให้ได้เฉดที่ถูกต้องสองครั้ง
    ใช้วงล้อสีเป็นหลักอ้างอิงในการผสมสี สีพื้นฐานทุกสีเกิดจากการผสมสีขั้นที่หนึ่ง (แดง น้ำเงิน และเหลือง) และถ้าอยากได้สีที่หลากหลายกว่านี้ ก็อาจต้องเอาสีขั้นที่หนึ่งมาผสมกับสีขั้นที่สอง
    ถ้าหากไม่ได้เฉดสีที่เราต้องการด้วยการผสมเอง อาจซื้อสีเฉดสีที่ต้องการแบบสำเร็จรูปไม่ว่าจะในรูปแบบหลอดหรือกระปุกจากร้านอุปกรณ์ศิลปะ
    การระบายสี
    1.หาแหล่งกำเนิดแสง
    การเปลี่ยนแปลงของสีขึ้นอยู่กับวิถีการถูกแสง ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มลงสีวัตถุ ให้กำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อน จงคำนึงถึงแหล่งกำเนิดแสงตลอดการลงสีนี้ เราควรให้บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมีสีที่สว่างและบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมีสีเข้ม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่การกำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อนเริ่มลงสีจะช่วยให้สีภาพของเราเป็นไปตามอย่างที่ตั้งใจ
    2.ดูองค์ประกอบของวัตถุ
    ถึงแม้เรากำลังจะวาดวัตถุเพียงแค่วัตถุเดียว แต่ก็ต้องมีการวาดสิ่งอื่นๆ หรือพื้นหลังของภาพด้วย มองวัตถุและกำหนดว่าอะไรอยู่ใกล้เราที่สุดและอะไรอยู่ไกลเราที่สุด ดูการซ้อนทับกัน การเปลี่ยนแปลงสี และพื้นผิว เราจะได้นำสิ่งเหล่านี้มาวาดพื้นหลังของภาพเราได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้นต้องวางแผนไว้ก่อนว่าจะเริ่มวาดอะไรเป็นอันดับแรก
    3.เริ่มลงสีพื้นหลัง
    เมื่อลงสี เราจะไล่ลงสีสิ่งที่อยู่ไกลที่สุดมาจนมาถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด นั้นคือลงสีวัตถุที่อยู่ด้านหลังมาด้านหน้า นี้เป็นวิธีลงสีพื้นหลังที่ง่ายที่สุด การระบายสีที่ง่ายที่สุดคือการเริ่มด้วยสีที่มีน้ำหนักปานกลาง ตามด้วยสีที่เข้มและจากนั้นก็สีอ่อน
    4.เพิ่มเติมรายละเอียดพื้นหลัง
    เมื่อลงสีพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดพื้นหลัง ถ้าพื้นหลังเป็นสีพื้นๆ ก็ควรเพิ่มแสงและเงา ถ้าพื้นหลังเป็นลวดลายหรือมีอะไรต่างๆ อยู่เต็มไปหมด ให้สะบัดปลายพู่กันเพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหว จะได้ทำให้พื้นหลังของภาพสมบูรณ์
    5ลงสีวัตถุ
    ขณะที่เริ่มลงสีวัตถุ ให้แบ่งลงสีที่ละส่วนและลงสีพื้นๆ ก่อน ขณะที่เราแบ่งส่วนและลงสีไปเรื่อยๆ วัตถุที่เราร่างไว้ก็จะเริ่มมีสีสันปรากฏเด่นชัดขึ้น ลงสีส่วนเล็กๆ ทีละส่วน งานจะได้เสร็จง่ายและเร็วขึ้น
    จิตรกรฝึกหัดบางคนอาจเห็นว่าการแบ่งส่วนลงสีเป็นตารางจะทำให้ลงสีง่ายกว่า ลองจินตนาการว่าเราตีตารางลงในผ้าใบ และจากนั้นลงมือระบายสีช่องแรกของตารางจนเสร็จแล้วค่อยมาลงสีช่องถัดไป
    ให้ลงสีน้ำหนักปานกลางก่อนแล้วตามด้วยสีเข้มและจากนั้นค่อยลงสีอ่อน การไล่สีอ่อนไปหาสีเข้มนั้นยากกว่า ฉะนั้นการลงสีตามที่แนะนำไปจะช่วยทำให้ไล่สีได้ง่ายขึ้นมาก
    6.เพิ่มรายละเอียดด้วยการใช้เทคนิคลงสีต่างๆ
    เมื่อลงสีวัตถุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดด้วยเทคนิคการลงสีสักสองสามวิธี เทคนิคเหล่านี้มีไว้เพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหวด้วยการสะบัดพู่กันและการใช้สี
    ทำให้เกิดรอยแต้มเป็นจุดด้วยการถือพู่กันในแนวตั้งและเคาะพู่กันลงที่กระดาษ เทคนิคนี้จะทำได้ผลดีที่สุด ถ้าพู่กันแห้งและสีมีปริมาณน้อย ผลที่ได้คือจุดเล็กๆ มากมาย
    ใช้เกรียงผสมสีปาดสี ถ้าเห็นว่ามีส่วนที่ยังต้องใส่รายละเอียดเพิ่มเติม ให้ใช้เกรียงผสมสีช่วย ทาสีที่เกรียงให้หนาและนำไปปาดส่วนที่ต้องการเพื่อเพิ่มรายละเอียดของพื้นผิวให้มากขึ้น
    ใช้เทคนิควอส์ชคัลเลอร์ (wash color) ด้วยการใช้น้ำทำให้สีจางลง ผลที่ได้จะคล้ายสีน้ำ ภาพจะค่อยๆ สว่างขึ้น ถ้าต้องการไล่สี เทคนิคนี้เหมาะอย่างยิ่ง
    There are questions about the drawing, you can ask under the clip.
    ฝากกดติดตามให้ผมด้วยนะครับ
    Subscribe if you 're new to my channel&click on the bell so you never miss a new video

ความคิดเห็น • 1