EP:3 5Tip Acrylic Painting lotus flower 5ทริคในการเขียนดอกบัวเหมือนจริง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 มิ.ย. 2021
  • #5Tip Acrylic Painting lotus flower
    #AcrylicPainting lotus flower
    #สอนวาดภาพสีอะคริลิค
    #สีศิลปากรประดิษฐ์
    วิธีการวาดภาพสีอะคริลิค
    Acrylic Paint Step
    ขั้นตอนการวาดภาพระบายสีอะคริลิค
    1.เลือกตำแหน่งที่เหมาะสม. โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะลงสีได้ดีที่สุดในแสงธรรมชาติ ตั้งแผ่นผ้าใบให้อยู่ใกล้หน้าต่างที่เปิดไว้หรือตั้งในห้องที่มีแสงธรรมชาติเข้ามามาก เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสีทีละนิด ทุกครั้งที่ปัดพู่กัน ไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
    2.วางอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน. จิตรกรแต่ละคนมีวิธีวางอุปกรณ์วาดภาพไม่เหมือนกัน แต่การวางอุปกรณ์ทุกอย่างตามความสะดวกของเราก่อนเริ่มวาดภาพจะดีที่สุด ใส่น้ำในกระปุก เอาพู่กันและสีที่เราต้องการใช้ออกมาวาง รวมทั้งวางจานสีในตำแหน่งที่สะดวกที่สุด อย่าลืมใส่ผ้ากันเปื้อนหรือเปลี่ยนมาใส่เสื้อยืดเก่าๆ ด้วย
    3.ตัดสินใจว่าจะวาดรูปอะไร. ในฐานะจิตรกรฝึกหัด เราอาจรู้แล้วว่าตนเองต้องการวาดอะไร หรือเราอาจกำลังมองหาอะไรสักอย่างมาเป็นแบบ ลองคิดสิว่าตนเองอยากวาดอะไรหรืออยากใช้อะไรมาเป็นแบบในการวาดรูปครั้งแรก การใช้วัตถุ 3 มิติหรือรูปถ่ายมาเป็นแบบอาจทำให้เราวาดรูปได้ง่ายที่สุด แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรวาดอะไรดี ขอแนะนำวัตถุที่จิตรกรฝึกหัดสามารถวาดได้ง่ายดังนี้
    4.ร่างภาพคร่าวๆ ถ้ารู้สึกมั่นใจความสามารถในการวาดภาพตามที่เราเห็นจริงๆ เราก็สามารถใช้สีอะคริลิกวาดภาพได้เลย แต่คนส่วนใหญ่จะต้องร่างภาพก่อนลงพู่กัน ใช้ดินสอธรรมดาร่างเค้าโครงหลักๆ ลงผ้าใบตรงๆ ไม่ต้องพะวงเรื่องรายละเอียดหรือแสงเงามากนัก จะร่างภาพใส่กระดาษก่อนร่างลงผ้าใบก็ได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะวาดภาพออกมาได้ดีในครั้งแรก
    5.ผสมสี แทนที่จะผสมสีระหว่างวาดภาพ ควรผสมสีให้เสร็จก่อนวาดภาพ จงใช้เวลาและใช้สีให้คุ้มค่าด้วยการผสมสีทั้งหมดที่เรามี ผสมให้ได้สีทั้งหมดที่เราต้องการ ก่อนเริ่มวาดภาพ ที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เราผสมสีเกินกว่าที่ตนเองจะใช้จริง เราอาจสามารถเก็บสีที่เหลือไว้ใช้คราวหน้าได้ก็จริง แต่ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะผสมสีให้ได้เฉดที่ถูกต้องสองครั้ง ถ้าหากไม่ได้เฉดสีที่เราต้องการด้วยการผสมเอง อาจซื้อสีเฉดสีที่ต้องการ
    การระบายสี
    1.หาแหล่งกำเนิดแสง
    การเปลี่ยนแปลงของสีขึ้นอยู่กับวิถีการถูกแสง ฉะนั้นก่อนที่จะเริ่มลงสีวัตถุ ให้กำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อน จงคำนึงถึงแหล่งกำเนิดแสงตลอดการลงสีนี้ เราควรให้บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมีสีที่สว่างและบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมีสีเข้ม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่การกำหนดแหล่งกำเนิดแสงก่อนเริ่มลงสีจะช่วยให้สีภาพของเราเป็นไปตามอย่างที่ตั้งใจ
    2.ดูองค์ประกอบของวัตถุ
    ถึงแม้เรากำลังจะวาดวัตถุเพียงแค่วัตถุเดียว แต่ก็ต้องมีการวาดสิ่งอื่นๆ หรือพื้นหลังของภาพด้วย มองวัตถุและกำหนดว่าอะไรอยู่ใกล้เราที่สุดและอะไรอยู่ไกลเราที่สุด ดูการซ้อนทับกัน การเปลี่ยนแปลงสี และพื้นผิว เราจะได้นำสิ่งเหล่านี้มาวาดพื้นหลังของภาพเราได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้นต้องวางแผนไว้ก่อนว่าจะเริ่มวาดอะไรเป็นอันดับแรก
    3.เริ่มลงสีพื้นหลัง
    เมื่อลงสี เราจะไล่ลงสีสิ่งที่อยู่ไกลที่สุดมาจนมาถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด นั้นคือลงสีวัตถุที่อยู่ด้านหลังมาด้านหน้า นี้เป็นวิธีลงสีพื้นหลังที่ง่ายที่สุด การระบายสีที่ง่ายที่สุดคือการเริ่มด้วยสีที่มีน้ำหนักปานกลาง ตามด้วยสีที่เข้มและจากนั้นก็สีอ่อน
    4.เพิ่มเติมรายละเอียดพื้นหลัง
    เมื่อลงสีพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดพื้นหลัง ถ้าพื้นหลังเป็นสีพื้นๆ ก็ควรเพิ่มแสงและเงา ถ้าพื้นหลังเป็นลวดลายหรือมีอะไรต่างๆ อยู่เต็มไปหมด ให้สะบัดปลายพู่กันเพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหว จะได้ทำให้พื้นหลังของภาพสมบูรณ์
    5ลงสีวัตถุ
    ขณะที่เริ่มลงสีวัตถุ ให้แบ่งลงสีที่ละส่วนและลงสีพื้นๆ ก่อน ขณะที่เราแบ่งส่วนและลงสีไปเรื่อยๆ วัตถุที่เราร่างไว้ก็จะเริ่มมีสีสันปรากฏเด่นชัดขึ้น ลงสีส่วนเล็กๆ ทีละส่วน งานจะได้เสร็จง่ายและเร็วขึ้น จิตรกรฝึกหัดบางคนอาจเห็นว่าการแบ่งส่วนลงสีเป็นตารางจะทำให้ลงสีง่ายกว่า ลองจินตนาการว่าเราตีตารางลงในผ้าใบ และจากนั้นลงมือระบายสีช่องแรกของตารางจนเสร็จแล้วค่อยมาลงสีช่องถัดไป ให้ลงสีน้ำหนักปานกลางก่อนแล้วตามด้วยสีเข้มและจากนั้นค่อยลงสีอ่อน การไล่สีอ่อนไปหาสีเข้มนั้นยากกว่า ฉะนั้นการลงสีตามที่แนะนำไปจะช่วยทำให้ไล่สีได้ง่ายขึ้นมาก
    6.เพิ่มรายละเอียดด้วยการใช้เทคนิคลงสีต่างๆ
    เมื่อลงสีวัตถุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เพิ่มรายละเอียดด้วยเทคนิคการลงสีสักสองสามวิธี เทคนิคเหล่านี้มีไว้เพื่อเพิ่มพื้นผิวและการเคลื่อนไหวด้วยการสะบัดพู่กันและการใช้สี
    ลงสีให้เสร็จ
    เอาใจใส่ส่วนที่สำคัญของภาพให้ดี เพิ่มเติมรายละเอียดที่คิดว่าจำเป็นต่อการทำให้ภาพสมบูรณ์
    ขั้นสุดท้ายการเก็บรายละเอียด
    1.ลงน้ำยาเคลือบสีหลังจากภาพแห้งแล้ว
    ลงน้ำยาเคลือบสีหลังจากภาพแห้งแล้ว ถึงแม้จะไม่จำเป็น แต่จิตรกรจำนวนมากก็ลงน้ำยาเคลือบภาพสีอะคริลิกในขั้นสุดท้าย เพราะช่วยให้สีติดผ้าใบและป้องกันความเสียหายได้ดีขึ้น
    2.ทำความสะอาดพู่กันและอุปกรณ์ที่เราใช้ทำงานศิลปะ
    ทำความสะอาดพู่กันทันทีหลังจากใช้เสร็จ เพราะสีอะคริลิกจะสร้างความเสียหายและทำให้พู่กันนั้นไม่อาจนำกลับมาใช้ได้อีก ถ้าปล่อยให้สีแห้งติดขนพู่กัน ล้างพู่กันด้วยน้ำเย็นและสบู่จนกว่าน้ำจะใส (ถ้าใช้นำอุ่นหรือน้ำร้อนล้างจะทำให้สีแข็งติดพู่กัน) เช็ดสีออกให้หมด และล้างกระปุกด้วยน้ำให้สะอาด
    3.เก็บสีที่เหลืออยู่. สีอะคริลิคจะคงสภาพนานหลายเดือนในภาชนะที่ปิดมิดชิด
    4.ปล่อยให้สีแห้ง. ปล่อยภาพทิ้งไว้สัก 1-2 วันเพื่อให้สีแห้ง
    มีข้อสงสัยปัญหาเกี่ยวกับการวาดภาพถามมาที่ใต้คลิปได้นะครับ
    There are questions about the drawing, you can ask under the clip.
    ฝากกดติดตามให้ผมด้วยนะครับ
    Subscribe if you 're new to my channel&click on the bell so you never miss a new video
    ช่องทางการติดต่อที่
    Pages: / chaiyotartist

ความคิดเห็น • 11

  • @niponpongsak3684
    @niponpongsak3684 ปีที่แล้ว

    ธรรมชาติมากครับ ความนุ่มนวลของภาพ งดงามมากครับติดตามครับ อาจารย์

    • @Chaiyotartist
      @Chaiyotartist  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @user-sh7wb3fg8h
    @user-sh7wb3fg8h ปีที่แล้ว

    ติดตามครับ

  • @user-tb3jd8vl5m
    @user-tb3jd8vl5m 2 หลายเดือนก่อน

    อยากเรียนด้วยจัง

  • @panyaraksak.3349
    @panyaraksak.3349 ปีที่แล้ว +1

    สวยงามค่ะ อยากวาดเป็นค่ะ

    • @Chaiyotartist
      @Chaiyotartist  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @ShahanoorMamun
    @ShahanoorMamun 3 ปีที่แล้ว +1

    Beautiful Painting!!

  • @ny.ch.395
    @ny.ch.395 ปีที่แล้ว

    สวยมากค่ะ

  • @titiratkhonthiang9286
    @titiratkhonthiang9286 3 ปีที่แล้ว +1

    👍🏻👍🏻👍🏻

    • @Chaiyotartist
      @Chaiyotartist  3 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ