จ 4 ผู้อพยพจากฝั่งซ้ายมาฝั่งขวา กลุ่มที่ 3-8 พรรณาฯ หนองสูง เรณูนคร เสนางค์ฯ คำเมืองแก้ว วาราิชภูมิ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 ก.ย. 2024
  • การอพยพของชาติพันธุ์ผู้ไท และชาติพันธุ์อื่น มาตั้งบ้านเรือน อยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุด แรกๆ กระจายอยู่ใน 9 จังหวัด เวลาต่อมา มีกลุ่มผู้อพยพกลุ่มเล็ก ติดตามมา และได้มีการเคลื่อนย้ายไปตั้งรกรากใหม่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคอื่นๆ
    สืบค้นข้อมูลจากงานวิจัย ของ จินตนา ลินโพธิ์ศาล เรื่อง ย้อนรอยประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมผู้ไท คัดมาเฉพาะที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับวิถีผู้ไท ขอขอบคุณ ที่อนุญาตให้เผยแพร่ ครับ
    จังหวัด หรืออำเภอ ที่ตั้งขึ้นใหม่ ข้อมูลอาจไม่กล่าวถึง รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท กลุ่มเล็ก ที่อพยพย้ายถิ่นไปตั้งถิ่นฐานใหม่ เช่น อุดรธานี บึงกาฬ ซึ่งแยกจากหนองคาย ทุกวันนี้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลแล้วก็มี มีหมู่บ้านผู้ไท ที่ตั้งขึ้นราวๆ 50 ปี ก็มี เช่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ หรือยังมีในจังหวัดอื่น โปรดยกมือขึ้นครับ
    ข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มที่ 4 เมืองหนองสูง : สำนักงานข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) ...
    ท้าวสีหนาม(สิงห์) อ่านว่า สี หะ นาม พาคนจากเมืองคำอ้อ 806 คน จากเมืองวัง 852 คน รวม 1,658 คน ข้ามโขงขึ้นที่ท่าเมืองมุกดาหาร มาตั้งบ้านอยู่ดงบังอี่ ต่อมายกฐานะเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นกับ เมืองมุกดาหาร ตั้งท้าวสีหนาม (สิงห์) เป็นเจ้าเมือง ที่ พระไกรสรราช อ่านว่า ไกร สอ รอ ราด
    ขอบขอบคุณ ทุกกำลังใจ เพิ่มยอดติดตาม ยอดวิว แม้จะไม่มาก ก็ยังสู้ต่อไป เพื่อสืบสานตามเจตนาของช่อง และกัลยาณมิตร ที่ยังดูแล ฮักแพง แบ่งปัน
    #ตามรอยฮอยผู้ไท #ไทคำหว้า #ประวัติไทคำหว้า #ประวัติบ้านกุดหว้า #นำฮอยนายตาหาทางมาย่าปู่

ความคิดเห็น •