เลี้ยงปลาพลวงชมพู ปลาพื้นถิ่นเนื้อดี ราคาแพง จ.ยะลา | ปักหมุดของดีทั่วไทย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 ต.ค. 2023
  • สนามข่าว 7 สี - ไปดูการเลี้ยงปลาพลวงชมพู ซึ่งเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา ที่ปัจจุบันเกษตรกรเลี้ยงขายสร้างรายได้ ตกกิโลกรัมละ 3,000 บาท แต่กลับมีไม่พอส่งขาย จนต้องมีการเร่งเพาะพันธุ์ และผลักดันให้ความรู้กับชาวบ้าน เพื่อป้อนปลาพลวงชมพูออกสู่ตลาดให้มากขึ้น ไปติดตามจาก คุณอรรถพล ดวงจินดา ใน ปักหมุดของดีทั่วไทย
    ปลาพลวงชมพู นับว่าเป็นปลาเนื้อดีที่มีราคาสูง ขายกันแพงเป็นลำดับต้น ๆ ของปลาน้ำจืดเลยก็ว่าได้ อีกทั้งยังเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะตลาดผู้บริโภคชาวจีน และมาเลเซีย ด้วยลักษณะของปลาชนิดนี้ที่มีความแข็งแรง ปราดเปรียว ทำให้ปัจจุบันปลาชนิดนี้กลายเป็นปลาที่ได้รับการส่งเสริม และผลักดันให้เป็นปลาประจำจังหวัดยะลา หรือชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า ปลากือเลาะห์ หรือ อีแกกือเลาะห์ ซึ่งเนื้อปลามีรสชาติดีนั่นเอง
    จริง ๆ แล้ว ปลาพลวงชมพู อยู่ในตระกูลเดียวกับ ปลาเวียน หรือ ปลาพลวงหิน แต่เป็นปลาที่ค่อนข้างโตช้า อาศัยในแหล่งน้ำวน หรือบริเวณแหล่งน้ำที่น้ำไหลผ่าน มีน้ำค่อนข้างเย็น มีปริมาณออกซิเจนสูง เช่น น้ำตก หรือบริเวณต้นแม่น้ำสายหลักในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยง ปล่อยลูกปลากลับสู่ธรรมชาติมาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ปี
    กรมประมง ได้ประกาศราคาจำหน่ายไว้ตั้งแต่ขนาด 2-3 เซนติเมตร ในราคาตัวละ 80 บาท ส่วนขนาด 3-5 เซนติเมตร จะตกที่ตัวละ 160 บาท กันเลย แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเลี้ยง เพราะปัจจุบันมีการนำไปเลี้ยงเป็นทั้งปลาเศรษฐกิจและเป็นปลาสวยงามเพิ่มมากขึ้น
    การเลี้ยงปลาพลวงชมพู ต้องใช้เวลาเลี้ยงเฉลี่ยต่อตัวไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงอาจยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่มีเกษตรกรที่เลี้ยงเป็นรูปแบบฟาร์ม เลี้ยงในระบบบ่อปูนซีเมนต์ ระบบน้ำหมุนเวียนแล้วกว่า 100 ราย อย่างเกษตรกรรายนี้ จากที่เคยชิมเนื้อปลา และชื่นชอบที่มีรสชาติหวานอร่อย เนื้อแน่น ซึ่งถือว่าเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่คาว แต่หาซื้อเนื้อปลาไม่ได้ จึงตัดสินใจศึกษา และลงทุนเลี้ยงเป็นฟาร์มระบบปิด เมื่อ 2 ปีก่อน เป็นลักษณะเลี้ยงเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยระบบน้ำไหลผ่านแบบหมุนเวียน ที่มีระบบการควบคุมอุณหภูมิของน้ำแบบอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันมีปลา 5 รุ่น รวมกว่า 3,000 ตัว ซึ่งในปีหน้าจะเริ่มจับปลารุ่นแรกได้ราว 300 ตัว น้ำหนักกว่า 600 กิโลกรัม นั่นหมายความว่า ปีหน้าเงินทุนที่ลงไปทั้งหมด จะคืนทุนได้ จากปลารุ่นเดียวที่เลี้ยงไว้ ที่จะได้กว่า 3.6 ล้านบาท กันเลย
    ปัจจุบันมียอดออเดอร์ปลาจากประเทศไต้หวัน มาเลเซีย บรูไน เดือนละ 300 กิโลกรัม แต่กลับไม่สามารถเพาะเลี้ยงปลาส่งตามออเดอร์ได้ ทำให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ได้เพาะพันธุ์ลูกปลากลับสู่ธรรมชาติ และส่งเสริมกลุ่มผู้เลี้ยงมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตปลาไม่ขาดช่วง และมีการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ให้ ปลาพลวง ปลาประจำจังหวัดยะลา ได้รับการยอมรับ และสามารถขยายตลาดส่งขายไปต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้นด้วย
    กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : cutt.ly/YTch7hdnews
    ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ news.ch7.com

    #สนามข่าว7สี #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS

    Facebook
    Ch7HD: / ch7hd
    Ch7HD News: / ch7hdnews

    Twitter
    Ch7HD: / ch7hd

    TH-cam
    Ch7HD: / ch7hd
    CH7HD News: / ch7hdnews

    TikTok
    Ch7HD: www.tiktok.com/ch7hdofficial
    Ch7HD News: www.tiktok.com/ch7hd_news
    Instagram
    Ch7HD: / ch7hd
    Ch7HD News: / ch7hd_news

ความคิดเห็น • 3

  • @user-kk8nq7qx9b
    @user-kk8nq7qx9b 8 หลายเดือนก่อน +1

    แพงเกิน.กิโลละ.3000.บาทจริงใช่ไหมละนี่ถามนะปลาน้ำจืด

  • @karnkarnkarn7519
    @karnkarnkarn7519 6 หลายเดือนก่อน

    ัปลาเวียนชมพูครับควรเรียกให้ถูกต้องครับ

  • @user-hk7ql7te3j
    @user-hk7ql7te3j 7 หลายเดือนก่อน

    แพงกว่าปลาแซลม่อนอีก