What city are they living ? I live in America want to know the location so come visit Thailand, will go see the real place how they make noodles, I want to eat the traditional way it tast better then use machine to do can you put more information , any website, or phone number, and the location please, thank you for sharing.
คนให้สัมภาษณ์ ก็เล่าถคงภูมิปัญญาของตัวเองอย่างมีความสุข ทำให้คนดูก็มีความสุขไปด้วย เล่าด้วยรอยยิ้ม ดูเพลินมาก เป็นกำลังใจให้ทีมงานรายการนี้นะคะ เป็นรายการที่ให้ความรู้ที่หลากหลายมากค่ะ
ที่อยุธยาสมัยรอ้ยปีมายังทันเจดสิบปีแล้วเดะนี้ไม่มีตำเขาไรปั่นเอาเวลามีงานบวชแต่งวันสุขดิบโนเนกะเหน่ช้าตัดไม่ไผ่เลกๆมาไช้ตำสนกหน่มสาว
000000000000000000
ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทำเรื่องการละเล่นผีในท้องถิ่น เช่น แม่ศรี นางครก นางด้ง (กระด้ง) นางสาก มีที่มาที่ไปอย่างไร ในแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นมีการละเล่นแบบนี้หรือไม่ ปัจจุบันยังคงอยู่หรือไม่ ท่าทางน่าจะสนุกดี ^ ^
นางกะลาแลนด์ด้วย5555
@@นายจันวงสะหวัด ไปในึถะ
@Ball Wahaha ตอนเป็นเด็กเคยไปดูผู้ใหญเล่นในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีเล่นลิงลม นางด้ง นางข้อง และเล่นโยนห่วง เด็กๆจะเล่นมอญซ่อนผ้า รู้แต่ว่าสนุกมากเมื่อถึงประเพณีสงกรานต์ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว ผู้ใหญที่พาเล่นก็อายุมากแล้วและจากไปหมดแล้วค่ะ
เกิดมา ไม่เคยได้ยินเลยค่ะ
ส่วนใหญ่เล่นช่วงสง
"ขนมจีน" มาจากภาษามอญว่า
-คนอม, ฮนอม แปลว่า แป้ง
-จิน แปลว่า สุก
เลยเป็นที่มาของคำว่าขนมจีนในภาษาไทย
คนอมจิน = ขนมจีน
ขอบคุณคลิปน่าสนใจค่ะ ดูไปหิวไปชอบมากเลยค่ะ
คนลาว คนอีสานเรียกข้าวปุ้นครับ
@@spksnn5053 หิวข้าวปุ้นจังค่ะ แต่ขี้เกียจทำกินเอง😄
อยู่ภาคกลางเรียกขนมจีน คนอมจิน คนโบราณก็ว่ามาจากมอญ มาตั้งแต่บรรพบุรุษไม่เคยรู้จักคำว่าข้าวปุ้นครับ คงเป็นคำเรียกในภาษาถิ่นต่างจังหวัดพื้นที่อื่นๆ ในอาหารวัฒนธรรมร่วม
@@Wanchai-im7us ข้าวปุ้นน่าจะเป็นชื่อที่ชาวภาคอีสานเท่านั้นที่ใช้เรียกขนมจีนกันค่ะ ไม่แน่ใจเท่าไหร่ค่ะ😀
@@Wanchai-im7us ใช่เลยครับผมคนมอญภูมิใจมาก ป.ล.ผมติดตามพี่ทางติ๊กต๊อกด้วยครับพี่วันชัย2530
ที่ สปปลาว เรียกข้าวปุ้น เป็นอาหารยอดนิยม โดยเฉพาะในงานบุญ,งานแต่ง,งานสำคัญครอบครัว,หมู่บ้าน.
ปุ้นมาจากภาษาเวียดนามว่าบุ๋นๆมาจากภาษาจีนว่าเฝิ่น粉 แต้จิ๋วอ่านว่าหุนครับ
มาจากเจ็ก
ฟังแค่ชึ้อก้อรู้แล้ว555
@@พลังภายใน อย่าอวดรู้ครับ อายเค้าครับ
คนไทยเกือบครึ่งประเทศก็เรียกข้าวปุ้นครับ😂
งานบุญ 1 งาน ขนมจีนแทบจะขาดไม่ได้ สำหรับบ้านที่ใหญ่ มักมีการรวมตัวของชาวบ้านที่มารวมตัวกันเพื่อเตรียมงานบุญ และเป็นเอกลักษณ์นึงของงานบุญ จะมีเสน่ห์ที่ผู้คนมาร่วมแรงร่วมใจกันในงานความสามัคคีในชุมชน
อัดแน่น ด้วยสาระ และความรู้พึ่งรู้ว่า ขนมจีน เป็นคำเพี้ยมาจากภาษามอญ ขอบคุณมากครับ รายการดี ๆ
เป็นคนอีสานค่ะอายุ 65 ปี ขนมจีนหรือข้าวปุ้นกินขนมจีนนำ้ยาต่างๆ
มาตั้งแต่เล็กๆ เคยเห็นญาติผู้ใหญ่ในหมู่บ้านช่วยกันทำขนมจีนในงานบุญ
ตามขั้นตอนวิธีโบราณติดตาติดใจถึงทุกวันนี้ ชอบกินขนมจีนมากๆค่ะ
ผมชอบไข่โอ่ก คุณเคยกินไหมตอนเด็กๆ ชอบไปขอให้เขาทำให้ตอนเขาบีบเข้าปุ้นในงานประเพณีต่างๆ ตอนนี้ผมอายุเท่าคุณพอดี
ตอนนี้อายุ 60 ทันค่ะ สมัยเด็ก ชอบวิ่งอยู่บริเวรหมอต้มแหละ ชอบกินแป้งจี่กับ ไก่โอก คุณแม่ คุณป้าทำขนมจีนเก่งมากค่ะ
ขอบคุณทีมงานรายการทุกๆคน ที่ทำให้ผมหายสงสัยเรื่องราวต่างๆในแต่ละตอนครับ♥️♥️♥️👍👍👍🙏
วัฒนธรรมมอญ-เขมร ไทย มอญ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มีขนมจีนเหมือนกัน การทำเหมือนกัน แต่จะเอาไปกินกับอะไรก็แล้วแต่พื้นที่ สุรินทร์บ้านผมไทยเรียกขนมจีน ลาวเรียกข้าวปุ้น เขมรเรียกนมเวง,นมรูย,นมปันเจ๊าะ กินกับน้ำยากระทิที่เรียกว่า ตึ๊กยา ที่ใส่ปลาร้า,กระทิ,แล้วก็เนื้อปลาน้ำจืดที่สับละเอียด,ใส่กระชายเพื่อให้กลิ่นหอม บางเจ้าอาจจะมีลูกชิ้นปลา,เลือด,ตีนไก่ เพื่อที่จะได้มีเนื้อๆ แล้วก็มีน้ำยาปลาร้าแต่บ้านผมเรียกน้ำต้ม หรือตึ๊กสะงอรฺ จะเรียกน้ำยาก็ไม่เชิง เพราะไม่ได้ใส่กระทิ มีน้ำปลาร้าเป็นส่วนประกอบ อาจจะใส่ปลาน้ำจืดหรือปลาทูเข้าไปด้วยแล้วแต่สูตรแต่ละเจ้า ใส่กระชายเพื่อให้กลิ่นหอมและดับกลิ่นคาวปลา
กินเป็นอาหารหลักได้ดี แต่จะไม่อยู่ท้องเหมือนกินข้าว บางทีซื้อเป็นกิโล กิโลละ25บาท กินคนเดียวเพลินๆหมดได้ไงไม่รู้
เราอยู่ อีสาน นคราชสีมา อ. ห้วยเเถลง เกิดมาพอจําความได้ ตอนนี่ 53 เเล้ว ก้อได้กินขนมจีนเเล้ว สมัยนั้นไฟฟ้ายังไม่เข้าหมู่บ้านเลย ขั้นเเรกใช้วิธี เเช่ข้าว ตําๆ ครกไม้โบราณ ต่อไปปั้นเป้นก้อนใหญ่เท่าขันอาบนํ้า เสร็จเเล้ว เอาไปนื้ง จากนั้นเอามาตําอีก จนเล่ะ ขั้นตอนสุดท้าย เตรียมกระป่องนมใหญ่ ( เจาะเป้นรูๆ 20-30 รู) เอาขนมที่ตําไว้เล่ะๆ ใส่ในกระป๋อง เเล้วหาไม้เล็กกว่ากระป๋องนิดหนื่ง ทับลงไป ช่วยกันบีบคนละข้าง ลงในนํ้าเดือด ก้อจะออกมา เป้นขนมจีน ขนมเส้นเเล้ว นํ้ายาเเล้วเเต่ชอบ ไก่ก้อได้ ปลาก้อดี มีผัก เช่น ถั่ว งอก กระถิน กระลํ่า ในภาคอีสาน งานบุญ งานวัด งานเเต่ง ทุกงาน ที่มาประชุมร่วมกัน ขาดไม่ได้ คือ ขนมจีน ครับ.
เราชอบทานขนมจีนมาก เพราะแม่เป็นแม่ค้าขายขนมจีน แต่ทานทีไร ท้องอืดมาก แต่ก็ยังทาน เพราะชอบ
เพราะแป้งหมักทำให้ท้องอืด การชอบทานขนมจีนของเราก็เลยมีปัญหากับสุขภาพ
ความที่อยากทาน เลยต้มเส้นหมี่ แทนเส้นขนมจีน ท้องเลยไม่มีปัญหา
แต่ความอร่อยสู้เส้นขนมไม่ได้
แต่ตอนนี้ ยุคใหม่ เขามีเส้นขนมจีนอบแห้ง ที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว เอามาต้ม ออกมาเลิศเลย
ทานขนมจีนได้สบาย โดยไม่มีการอืดท้องอีกเลย เลยมีความสุขกับการทานขนมจีน ของชงของชอบในชีวิต ยิ่งนํ้ายาปักษ์ใต้แล้ว ฟินเว่อร์ ผักเครื่องเคียง ผักดอง เยอะๆ สุดๆๆๆๆยอดไปเลยจ้า
ช่องรัก ข้อมูลจัดเต็ม นอกตำราจริงๆ 🙏🏼
ตอนเป็นเป็นเด็กพ่อแม่จะทำเฉพาะเวลามีเทศกาลงานบุญครับเพื่อรอต้อนรับญาติพี่น้องที่มาจากหมู่บ้านอื่น จำความได้ผมก็กินเป็นแล้วซึ่งตอนนั้นพ่อแม่เรียก ข้าวปุ้น ครับ จากอุดรธานี
วัฒนธรรมการทำขนมจีนการรับประทานขนมจีนล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมร่วมกันของผู้คนในดินแดนอุษาคเนย์วิธีทำก็ไม่ได้แตกต่างกันครับสำหรับเส้นขนมจีนแตกต่างกันแค่น้ำที่ราดขนมจีนที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคของผู้คนที่อาศัยในดินแดนอุษาคเนย์ส่วนคำว่าขนมจีนในภาษาไทยคงจะเพี้ยนมาจากภาษามอญที่เรียกอาหารชนิดนี้ว่าขะนอมจิน/ภาคเหนือส่วนใหญ่เรียกขะหนมเส้น/ข้าวเส้น/ภาคอีสานเรียกข้าวปุ้น/ขะหนมเส้นแล้วแต่ละถิ่นเรียก/ภาคใต้เรียกหนมจีน/พม่าเรียกโมฮิงก่า/มอญเรียกขะนอมจิน/ยะไข่เรียกโม๊ะตี/แถวบ้านผมแม่สอดติดพม่าจึงมีวัฒนธรรมการกินขนมจีนของผู้คนหลายชาติพันธุ์มีการทำน้ำแกงหยวกกินกับขนมจีนด้วยทานกับหัวปลีทอดหอมทอดและแผ่นถั่วทอด(แปจ่อ)ด้วยและก่อนจะออกพรรษาสักหนึ่งเดือนจะมีประเพณีท้องถิ่นเรียกว่าใส่ข้าวพระพุทธ(ต่างซอมต่อโหลง)มีการเลี้ยงขนมจีนแกงหยวกด้วยครับสำหรับวัดแม่สอดน่าด่าน(วัดหลวง)ส่วนวัดอื่นๆอาจจจะแตกต่างกันออกไปครับ
3 จังหวัดชายแดนใต้เรียกละซอ
ได้ความรู้มากเลยค่ะ 😍
บ้านเรียกขนมเส้น
เราไม่รู้มันมาตอนไหนแต่จำความใด้ที่บ้านก้อทำขนมจีนเส้นสดแระทุกวันต้องไปคอยแป้งก้นครกเอามาจี่โคตรอร่อยกลิ่นแป้งกรอบๆกลถิ่นไหม้ๆ
@@uuhu5859 ไม่ใช่แค่3จังหวัด เราสงขลาก็เรียก ละซอ 😂
"ขนมจีน"เป็นอาหารของคนเชื้อเครือ
(ชาติพันธุ์ )ไท ชื่อเดิมที่คนไทเรียกอาหารชนิดนี้คือ "ข้าวเส้น"หรือ"ข้าวปุ้น" มีเอกลักษณ์คือ เป็นอาหารประเภทเส้นที่ผ่านการหมัก เช่นเดียวกับอาหารของคนไทประเภทอื่นๆเช่น เมี่ยง(ใบชาหมัก) ปลาร้า ถั่วเน่า(ถั่วเหลืองหมัก) ข้าวหมัก
(ข้าวหมาก) อาหารที่เป็นของคนไท ก็ต้องเรียกชื่อเป็นคำไท ขนมจีนเป็นคำที่ใช้เรียกในสยาม สยามนั้นแต่เดิมมาจากคนไท แต่เป็นคนไทกลุ่มหนึ่ง(ไทน้อย)ที่แยกตัวออกมาสร้างอาณาจักรใหม่ด้วยคนหลายเชื้อชาติ เช่นแขก มอญ เขมร จีน รวมถึงข้าราชบริพารในราชสำนัก
ดังนั้น คำว่า"ขนมจีน"ก็คือ คำที่คนมอญที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสยามเรียกอาหารชนิดนี้ ที่บรรพบุรุษของคนสยามเคยกินมาแต่เดิม
ใช่ เพราะคำว่า ข้าวปุ้น มีใช้แพร่หลายในชาติพันธุ์ไทตั้งแต่จีนตอนใต้ลงมา มีแต่คนไทยเท่าน้นที่เรียก ขนมจีน ดั่งนั้น ข้าวปุ้น เป็นอาหารของชาวไทแน่นอน
กลุ่มไทกะได ไม่กินข้าวจ้าวเป็นอาหารหลักนะ จะหาข้าวจ้าวที่ใหนมาทำเอ่ย ถ้าไม่ได้รับอิทธิพลที่อื่นมา ดังนั้นการที่ว่าขนมจีนเป็นอาหารของกลุ่มไทกะได ถูกปัดตก
@@mamod18890 ไท กะได คือกลุ่มตระกูลภาษาไม่ใช่ชนชาติ ภาษาเวียดนามก็จัดอยุ่ในกลุ่มภาษาไท กะได คนเวียดนามกินข้าวเจ้า
@@mamod18890 ชาติพันธุ์แถบนี้ได้รับอิทธิพลอาหารแบบเส้นมาจากจีนยูนนานทั้งนั้น อย่าลืมว่าชาติพันธุ์มอญมีอารยะธรรมที่เก่าแก่ คนมอญอาจจะได้รับสิ่งนี้มาก่อนคนอื่น คล้ายๆข้าวซอยที่คนไทใหญ่และคนล้านนาใด้รับอิทธิพลจากจีนยูนาน
@@mamod18890 สูตรโบราณจริงๆเค้าเอาข้าวเหนียวทำ ที่ลาวบางร้านยังมีสูตรนี้อยู่และแชบกว่าสูตรข้าวจ้าวด้วย
ดีใจที่คนไทยเชื้อสายมอญยังคงรักษาวัฒนธรรมเอาไว้อย่างดี ขนมมอญที่เราชอบที่สุดคือกาละแมร์ ตอนสงกรานต์เวลาน้าเรากลับบ้านแกจะซื้อมาฝากเสมอๆ เป็นของมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กทม. สงกรานต์มอญที่บางกระดี่เค้าจะฉลองหลังสงกรานต์ไทย ตอนนั้นยังเด็กน้าไม่กล้าพาไปแกบอกว่าคนเยอะกลัวทำหลานหาย ขนมจีน กาละแมร์ ขนมจาก อร่อยจนลืมไม่ลง☺😋
ขอบคุณรายการนี้ที่ให้ความรู้ ความเป็นมาในประวัติศาสตร์ค่ะ
မုန့်ဟင်းခါး (โม่ง ฮิน คา)
โม่ง=ขนม ฮิน=กับข้าว/แกง คา=ขม
แปลว่า "ขนมแกงขม"ละครับ
รสชาด จะออกขมนิดๆหอมกลิ่นข้าวคั่วและปลา
ข้าวซอย ในภาษาพม่า ยังต้องเรียกตาม ภาษาไทยใหญ่เลย (ခေါက်ဆွဲ คอกซอย)
ခေါက်=พับ ဆွဲ=ดึง แปลว่า (พับแล้วดึง)
ต้นกำเนิดแท้จริงไม่น่าจะใช่มอญครับ
มาจากชาวไต หรือไทนี่แหละ ไตใหญ่,ลื้อ,ขืน,มาว,ลานนาไทย ส่วนใหญ่จะเรียก "ข้าวเส้น" กันทั้งสิ้น
อย่างเช่น"น้ำเงี้ยว"ต้นกำเนิดมาจากชาวไตไม่ใช่หรือครับ
ยูนนานครับ
หลายคนชอบพูดเล่นว่าขนมจีนแต่ไม่เห็นมีที่จีน ไม่ใช่นะครับหลายปีก่อนผมไปเที่ยวจีน หลังจากเดินเที่ยวกินเบียร์ดึกๆ ก่อนเข้าโรงแรมจะมีขายข้างทางเลย แถวท่ารถก่อนขึ้นรถยังมีขายเลย แต่จะต่างตรงที่ใส่น้ำซุบ ไม่ใช่น้ำยา จนผมคิดว่าขนมจีนมันก็มาจากจีนนี่แหละ
ยูนนานครับ
@@addytasako1ก็คนจีนไหม😅
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...แม้ว่า เรื่องราวบางอย่าง จะยังไม่ค่อยชัดเจนในที่มา แต่ก็มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจครับ...😊😊😊
คนอมจิน - มอญ
ขนมจีน - ไทยภาคกลาง
ขนมเส้น/ข้าวเส้น - ไทยเหนือ,ไทขืน,ไทลื้อ,ลาวเหนือ,ไทยอีสานเหนือ
ข้าวปุ้น - ไทยอีสานใต้
🍜🍜🍜🍜🍜🍜🍜🍜🍜🍜🍜
อีสานใต้ สุรินทร์ เรียก นมเวง
ข้อมูลเพี้ยนอีสานใต้เรียกอะไร 5555เขมร เรียกข้าวปุ้น
คนอีสานและคนลาวก็เรียกข้าวปุ้นทั้งนั้นยกเว้น คนเชื้อสายขะแมในจังหวัด ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ จะเรียกเป็นภาษาเขมร ส่วนคนล้านนาและคนไทใหญ่จะเรียกว่าข้าวเส้น ตอนหลังมาได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยภาคกลาง มีการเอาคำว่าขนมจีน + ข้าวเส้น. เป็น ขนมเส้น ตัดคำว่าจีน และข้าวออก
หนมจีน=ภาคใต้
ภาคใต้เรียก "หนมจีน"
Approach การนำเสนอในตอนนี้ รู้สึกว่าผิดฟอร์มความเป็นรายการประวัติศาสตร์นอกตำราไปพอสมควรครับ
ผมมองว่าปกติแล้วรายการจะเสนอประเด็นใดประเด็นนึงจากหลายๆมุม
1) ให้เห็นถึงการปะทะสังสรรค์กันของวัฒนธรรม หรือ
2) ให้เห็น argument / narrative ที่ต่างๆกันในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
ซึ่งการนำเสนอแบบนี้มันจะ connect the dot ความรู้ในหัวให้ผู้ชมได้เสมอ
(ผมมองว่ารายการในตอนขนมจีนนี้ เป็นการเล่าเส้นเรื่องเดียว โฟกัสเดียว ผ่านเลนส์แบบเดียว คล้ายรายการ Spirit of Asia มากกว่า)
สิ่งที่คิดว่าจะทำให้สนุกขึ้น คือ กาาเพิ่มน้ำหนัก argument ที่รายการได้ทิ้งไว้ในช่วงท้าย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องวัฒนธรรมข้าว / การทำ Rice noodle ของชาวจีนตอนใต้ และ จีนตะวันตกเฉียงใต้
ซึ่งหากให้น้ำหนักในส่วนนี้มากขึ้น ก็จะสามารถนำมาเปรียบเทียบให้ผู้ชมเห็นได้ว่าการทำ Rice Noodle หรือ 米线 เป็นกระบวนการแบบเดียวกันกับการทำขนมจีนแป้งหมักของชาวมอญเป๊ะๆ
แม้การนำเสนอเรื่องนี้เพิ่ม อาจจะไม่ได้ตอบ ว่าเป็นที่มาของขนมจีนมั้ย แต่ก็เป็นการให้ข้อมูลที่รอบด้านให้ผู้ชมได้คิดต่อ
ผมลองหาคลิป ref การทำ rice noodle ของจีนยูนนานมาแปะไว้เป็นตัวอย่าง th-cam.com/video/56_Nm2ly2pg/w-d-xo.html
น่าเสียดายที่รายการไม่ได้ shift focus ไปเล่าในอีกมุมของเรื่องครับ
รายการประวัติศาสตร์นอกตำราเมื่อก่อนจะดีมาก อ้างอิงเหตุผลที่แตกต่างจากตำราเคยเรียน มีหลากหลายมุมมองเอามาวิเคราะห์ แต่หลังๆมานี่รู้สึกว่ารายการจะเสนอแต่ด้านเดียว ไปได้ข้อมูลหรือการบอกเล่าจากคนใดคนหนึ่งก็เอามาเล่าต่อเหมือนฟันธงไปเลย มันง่ายดีเหมือนเล่านิทานที่ทางทีมงานไม่ต้องมีความรู้อะไรมาก เอาเด็กเพิ่งเรียนจบจากนิเทศศาสตร์มาทำรายการที่ไม่ได้มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ใดเลย หรือมีก็แค่ผิวเผิน น่าเสียดายครับ
ใช่แล้ว! ขนมจีนมาจากชาวไตยูนนานตามที่น้องเพนจี้ หมวยยูนนาน นำเสนอมานั่นแหละครับ มันมีอีกหลายๆอย่างที่คนไทยไม่ได้ฉุกคิดและศึกษาให้ลึก เคยสังเกตุกันมั้ยว่า จีนน่ะเหรอจะตั้งโรงงานผลิตปืนฉีดน้ำไซส์ใหญ่ๆที่ทันสมัยและต้นทุนแพงๆมาขายให้ไทยในวันที่ 13-14--15 เมษายน แค่สามวันเองน่ะเหรอ มันคุ้มมั้ย? ก็ไม่คุ้ม อ้าว! แล้วเขาจะทำมาขายทำไมให้ขาดทุน แล้วทำไมคนไทยถึงได้มีปืนฉีดน้ำคุณภาพดีๆจากจีนมาเล่นได้ล่ะ ก็เพราะว่าเขาแบ่งมาขายให้ไทยด้วยไง เพราะเขารู้ว่าคนไทยก็เล่นน้ำสงกรานต์เหมือนบ้านเขาเหมือนกัน ย้ำ! คนไทยเล่นน้ำเหมือนเขาไม่ใช่เขาเล่นน้ำเหมือนเรา ฟังไม่ผิดหรอก ประเทศเขามีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่าเราเป็นพันๆปี อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าไปดูคลิปน้องเพนจี้ให้ถี่ถ้วน คงจะคิดกันไม่ถึงว่าส้มตำก็มาจากยูนนาน
ทางบ้านผม(ภาคใต้ การทำขนมจีน กรรมวิธี เหมือนกับที่กล่าวไว้ในคลิป แต่การทำให้เป็นเส้น เขาจะมีกระบอกที่ทำด้วยทองเหลือง มีฝาปิดมีตัวล๊อค แกนกลางเป็นเกลียว กดฝาลงเพื่อบีบให้แป้งไหลออกมากทางก้นที่เจาะเป็นรู คล้าย ฝักบัว เครื่องอัดเส้นนี้จะมีจากประเทศจีน (เพราะที่บ้านจะมีตัวหนังสือภาษาจีน หล่อนูน ของสมัยคุณทวด ) ทางภาคใจ้จึงเรียกว่าเส้นหนม จีน ผมว่าทางภาคใต้น่าจะมาจากเขมรมากกว่า เพราะ หลายๆ คำในภาษาเขมร คล้ายภาษาภาคใต้ เช่น การทำน้ำตาลโตนด , การปาดตาล ผมเคยไปเที่ยวที่เสียมเรียบ เขาเคี่ยวน้ำตาล และทำน้ำตาลแว่น เหมือนภาคใต้ทุกอย่าง
(บทความนี้ส่วนใหญ่ จะมาจากภาคกลาง เพราะไม่ปรากฎว่าหลักฐานใดๆ จากภาคใต้ เลย)
เพชรบุรี นครปฐม มีชุมชนเขมรโบราณ อาศัยอยู่มาก่อนครับ ไม่แปลกใจเท่าไหร่ที่จะมีอะไรก็คล้ายคลึงกัน
เสียมเรียบเคยเป็นของไทย ตอนไทยถอยยังมีคนไทยไม่กลับ ตกค้างอยู่เขมร ในครอบครัวยังพูดไทยได้ และมีหมู่บ้านที่ขายน้ำตาลโตนดเป็นคนโคราชยังพูดโคราชได้
กินขนมจีนมาทั่วไทยภาคใต้รสชาดดีมีผักแยะ
กระบอกที่กดแป้งให้เป็นเส้น ที่บ้าน จ.ชัยนาท เรียก ผวน
@@sgsdgs1871 แต่ตอนนี้เขมรจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองเคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยามมาก่อนกลับมาใส่ร้ายว่าประเทศสยามขโมยวัฒนธรรมและก็อัตลักษณ์ของเขามาเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก
ผมเคยไปที่ อ.แม่ระบาด จ.ตาก ติดเขต อ.แม่สอด เจ้าของบ้านทำขนมจีนให้ทาน แต่แปลกที่ใส่หยวกกล้วย แต่ก็อร่อยแปลกลิ้นดีเพราะเพิ่งเคยทาน เพิ่งมารู้ทีหลังว่ามันคือ โมฮิงกา เพราะอาจจะอยู่ใกล้เขตพม่า ที่ จ.เมียวดี แถวนั้นรู้สึกจะเป็นรัฐมอญ
มีแบบ
แป้งสด และ แป้งหมัก
แป้งสดจะสีขาว
แป้งหมักสีค้ำกว่า มีกลิ่นหมักรสเปรี้ยวนิดๆ เมื่อก่อนไปเที่ยวบ้านยาย สุโขทัย ได้กิน
ขนมจีนเป็นอาหารที่คนนิยมกินมาก และหากินง่าย ไม่ว่าจะเป็นลาวกัมพูชาพม่า และไทย... โดยเฉพาะกัมพูชากับไทย มีหลากหลายน้ำยา ไม่ว่าจะเป็นกะทิ น้ำยาปลาร้า น้ำพริก และน้ำยาแต่ละท้องถิ่น🇰🇭🇹🇭🇱🇦
จีนก็ด้วย ลองไปหาดูคนจีนทำขนมจีน ไม่ต่างกันเลย
ที่ลาวก็มีหลายน้ำยา
ขอแก้ไขหน่อยครับ อจ. พระราชมารดาของ ร.3 เป็นมุสลิมคือเจ้าจอมมารดาเรียม หรือมาเรียม เป็นมุสลิมคลองบางกอกน้อย มิใช่เชื้อสายจีน ทว่า ร.3 ทรงนิยมจีน ทรงค้าขายกับจีน มีพระสหายมากที่เป็นคหบดีเชื้อสายจีน
ขอบคุณเรื่องราวที่นำเสนอ แต่ขอติงนิดนึงครับ เสียงบรรยาย นาทีที่ 3.42-3.43 ออกเสียงคำว่า คนอม หรือ ฮนอม เป็น ขะ-หนอม หรือหะ-หนอม ที่ถูกน่าจะเป็น คะ-นอม (หรือ ฮะ-นอม) ตามที่ ดร.องค์ บรรจุนได้ให้คำอธิบายไว้อย่างมีสาระและน่าฟังนะครับ ดังนั้นคำว่าคนอมจินในนาที 4.03 ที่ออกเสียงเป็น ขะ-หนอม-จิน ก็น่าจะเป็น คะ-นอม-จิน ซึ่งในที่สุดมีการออกเสียงกร่อนหรือเพี้ยนไปจนกลายเป็นขนมจีน(ขะ-หนม-จีน)ในภาษาไทยอย่างทุกวันนี้
อีกเรื่องนึงคือ ออกจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับ ข้อสังเกตุของ กฤช เหลือลมัย ในนาทีที่ 22.55-22.56 ที่บอกว่าการทำเส้นขนมจีนอาจเกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนใดก็ได้ โดยไม่ระบุความเห็นว่าชนชาติใดเป็นผู้ให้กำเนิด ความเห็นนี้จะกว้างหรือคะเนแบบสุ่มๆไปหรือเปล่า
เพราะเท่าที่ดูมาเรื่องอาหารที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า เอามาบีบลงน้ำร้อนจนออกมาเป็นเส้นแบบนี้ไม่เห็นมีใครที่ไหนอ้างว่าเป็นผู้ให้กำเนิด ซึ่งถ้ามีก็น่าจะมีข้อมูลเสนอมานานแล้ว หากจะว่าไปแล้วเรื่องราวของขนมจีนนี้ ไม่เห็นมีชนชาติไหนทำต่อเนื่อง แบบเอาจริงเอาจังเท่าคนมอญมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผมเองก็ไม่ใช่คนมอญหรอก แต่น่าจะให้เครดิตคนมอญหน่อยมั้ยครับว่าเป็นต้นกำเนิดขนมจีนในโลก
ส่วนที่ชนชาติต่างๆสืบทอดการทำ การรับประทานไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว ไทย ไปจนถึงมาเลเซีย อย่างที่รายการนำเสนอ ผมว่าก็เป็นเรื่องของการรับเอามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารของประเทศนั้นๆ เท่านั้นครับ
ตอนเด็กก็ทำกับแม่2คน ก็เห็นได้กิน นานอยู่แต่ก็ไม่ได้ยาก คนจีนมีการติดต่อกับภูมิภาคนี้มาช้านาน ก็อาจจะได้รับมา แต่ประยุคทำแบบท้องถิ่นนานเป็นพันๆปีแล้วก็ได้
ช่องนี้เป็นแหล่งความรู้นอกตำรา ที่น่าติดตามที่สุดแล้วสำหรับผม ดูย้อนหลังเกือบทุกคลิป
แถวยูนนานมีขนมจีน ทำนาปลูกข้าวทำขนมจีนเหมือนอีสานใต้เลย
ขั้นตอนทุกอย่างเหมือนกันเด๊ะ
1......นำเมล็ดข้าวมาใส่ตะกร้าเทน้ำใส่ให้ชุ่ม และหมักไว้3วัน
2เอาเมล็ดข้าวสารมาบดให้ได้น้ำแป้ง แยกกากออก
3เอาน้ำแป้งใส่ถุงผ้าขาว มัดปากถุงขันชน็อก ให้เสด็จน้ำ
4ได้เนื้อแป้ง ทำให้กลมๆ เอาไปต้มในหม้อน้ำร้อน
5เอาก้อนแป้งที่ต้มแล้วไปต่ำกับครกไม้ ใหญ่
6ตำเสร็จเอาใส่กาละมัง นวดๆ ผสมน้ำร้อนสุก
7ได้แป้งเหลวๆ เอาแป้งตักใส่แป้นที่มีรู เอาไม้กด แป้งจะลอดออกตามรู
8แป้งออกตามรู เป็นเส้นลงไปในหม้อน้ำที่ตั้ง
9ตักเส้นขนมจีนลงในน้ำเย็น
10จับเส้นผมลูกๆ ขนมจีน.....
นี้คือการทำขนมจีนแบบตั้งเดิมต้นฉบับ
ชื่นชมรายการดีๆแบบนี้ค่ะ ขอบคุณรายการได้ความรู้ดีค่ะ
คนเหนือ เรียก หนมเส้น✔️ คนไทยอง => หนุ๋มซิ่น✔️
ค่าคิดตรงที่ แถวแพร่เป็นน้ำใสซุปกระดูกหมู 🤔
เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา เป็นน้ำเงี้ยว 🤔
น้ำงิ้ว(เพราะใส่ดอกงิ้ว)ไม่ใช่น้ำเงี้ยว
คนส่วยก็เรียกขน่มเซ็น
ลำปาง ลำพูน ก็ด้วย
เมื่อก่อนตอนแม่ของฉันอายุประมาณ10ขวบตาของฉันก่ทำโรงงานขนมเส้นทำในครัวเรือนตาเอาลูกแป้งมาตำมานวดมาบีบให้เป็นเส้น
ตอนนี้แม่ของฉันอายุได้63ปีแล้ว
เป็นช่องที่ดีมากคะ เป็นแหล่งศึกษาความรู้ ที่ดีมาก
ตอนเด็กๆ ชอบเอาเศษแป้งที่เขาเหลือจากการบีบให้เป็นเส้น หรือก็ตั้งใจขอจากผู้ใหญ่เพื่อเอาไปปิ้งไฟ บอกเลยว่าหอมกลิ่นแป้งหมัก เหนียวนุ่ม อร่อยจนอยากกินอีกสักครั้งครับ
ชอบมากเลยค่ะสารคดีแนวนี้ ❤️ดูแล้วคิดถึงบ้านมากค่ะ
ที่แน่นอน อร่อยกว่า พิชชา
แน่ๆ ชอบบรรยากาศแบบไทยๆ
ขอบคุณมากครับ 👍👍👍🙏🙏🙏
ความคิดแคบๆ คิดว่าตัวเองคือศูนย์กลางจักรวาล
แจ่วปลาแดกน่าจะอร่อยกว่าซูชิหรือซาซีมินะคะ
ตอนเด็ก ก่อนไปโรงเรียน กินทุกวัน เสื้อนักเรียนเป็นจุดๆๆ เส้นสะบัดน้ำแกงเต็มเลย หลังๆ แม่ค้าตัดถุงกรอกแกรกมาสวมกันเปื้อนให้
ดีจังใด้รู้ที่มาของอาหารสุดโปรด ขนมจีน ขอบคุณประวัติศาสตร์นอกตำรา
ชอบมากเอาแป้งที่เหลือไปทำโยนลงหม้อต้มอร่อยมาก และได้ช่วยพ่อแม่ตำขนมจีนด้วยครกกระเดื่อง มีความสุขมากทำทุกครอบครัวเลย งานบุญจร้า
คนเมืองล้านนา เรียกว่า ᩮᨡ᩶ᩣᩉ᩠ᨶᩫᨾᩮᩈ᩠᩶ᨶ ᨡᩫ᩠ᨶ᩻ᨾᩮᩈ᩠᩶ᨶ หนมเส้น เข้าหนมเส้น หนมเส้นน้ำเงี้ยว น้ำยา น้ำลอ,,,
เข้าหนมก้าครับ บ่แม่นขนม
Font ตั๋วเมืองเอาตี้ไหนมาคับ!
คนยอง เรียก ขหนุมสี้น
อุปกรณ์บีบเส้นขนมจีนสมัยก่อนเป็นแผ่นเหล็กบาง วงกลม เจาะเป็นรู ขอบวงกลมเย็บติดกับผ้าขาวดิบ ผ้าตัดเป็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยม เอาแป้งที่หมักและนวดแล้วมาบีบด้วยมือลงหม้อน้ำร้อน เป็นขั้นตอนการผลิตง่ายๆ
ภาคอีสานครับ บางคนก็เรียกขนมจีนบางคนก็เรียกขนมเส้น หรือข้าวปุ้น (เรียกจากสิ่งที่เอามาทำและลักษณะการทำที่มีการบีบ ตอนเด็กผมก็เห็นเขาทำเหมือนมอญโบราณ/ให้มีกลิ่นหมักถึงจะอร่อย ทำเฉพาะงานบุญ) และหลักๆก็กินกับน้ำยา (มีทั้งแบบกะทิ/น้ำยาป่าใส่น้ำปลาร้า) ที่กินกับส้มตำ คือ เป็นเรื่องรอง ใช้สำหรับคนไม่อยากกินข้าวเวลากินส้มตำจะได้ไม่แสบท้อง ส่วนตำชั่ว คือ ไหนๆ เวลาจะกินก็ต้องคลุกเคล้ากัน เลยตำใส่กันเสียเลยอร่อยดีครับ **ผมเห็นว่า ข้อมูลในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับมอญยังไม่ละเอียดชัดเจนครับ (เคยฟังช่องนี้บ่อยๆ บางเรื่องก็ฟังชัดบางเรื่องยังไม่ชัดเจน)
**ปล. ผมคิดว่า ส่วนมากภาคกลางเป็นต้นน้ำรับวัฒนธรรมเพราะมูลเหตุปัจจัยต่างๆ ความทับศัพท์หรือวัฒนธรรมเดิมจึงเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าภาคเหนือ/อีสาน/ฝั่งลาว และอื่นๆ ทื่ไกลออกไปจากนครรัฐส่วนกลางหรือจะเรียกว่า เมืองหลวง (ศูนย์รวม ฯลฯ ก็ตามภาษาและความเข้าใจของท่าน) ครับ
ยืนยันอีกเสียงครับ ผมเป็นคนภาคอีสานเกิดทันได้เห็นได้ร่วมทำขนมจีนแบบดั้งเดิมมาแล้วการตำแป้งก่อนนำมานวดใช้ครกมอง(ครกกระเดื่อง) การทานกับส้มตำเพิ่งเริ่มเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้(อาจประมาณ 30-40 ปี) ก่อนนั้นทานกับน้ำยาใส่ปลาร้า(อาหารคาวแทบทุกอย่างของคนเชื้อสายอ้ายลาวนิยมใส่ปลาร้า) และเรียกข้าวปุ้น หรือขนมเส้น การที่เรียกขนมจีนก็เนื่องจากอิทธิพลของภาษาไทยสยาม น้ำยาใส่กะทิก็มาทีหลังเป็นอิทธิพลของคนภาคกลางที่มาประจำทำงานหรือย้ายถิ่นฐานมาอยู่ภาคอีสานไม่นิยมปลาร้าจึงใช้อาหารคาวของทางภาคกลางหรือน้ำยาที่ปรุงแบบคนภาคกลางมาแพร่หลายในภูมิภาคนี้
แต่เขาใช้ข้าวจ้าวทำ แสดงว่าต้นกำเนิดไม่ใช่กลุ่มไทลาวแน่ๆ เพราะกลุ่มไทลาว ไทกะได กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ซึ่งข้าวเจ้าเป็นข้าวพันธุ์มาจากอินเดีย ซึ่งสงวนไว้กินเฉพาะคนชั้นสูง จึงเรียกว่าข้าวของเจ้า ชาติพันธุ์ในแถบอาเซียนที่กินข้าวจ้าวก่อนเพื่อนคือมลายู มอญ เขมร
@@mamod18890 ออ..ครับ เคยอ่านเคยฟังเรื่องต้นกำเนิดข้าวมานานและพอสมควรแล้วครับ ไม่ได้บอกตรงไหนเลยว่า ขนมจีน/ข้าวปุ้น/ขนมเส้น มีถิ่นกำเนิดมาจากลาว/อีสาน ฯลฯ แค่อธิบายการเรียกชื่อและการกิน จะได้ข้อเท็จจริงจากคนท้องถิ่นที่แท้จริงครับ (ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดนะ ท้องถิ่นดังกล่าว คือ ท้องถิ่นบ้านเกิดผม)
**ซึ่งส่วนตัวผมเชื่อว่า ขนมจีนมาจากทางมอญตามเขากล่าว แล้วขยับขยายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ครับ ชื่อเรียกเลยเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและความนิยมของท้องถิ่น (ผมเคยอ่าน/ฟัง ฯลฯ มานานแล้วเรื่องขนมจีน)
ขอบคุณครับ
**ปล. ยุคที่ผมเห็นเขาทำขนมจีนหลายสิบปีแล้วที่อีสาน เห็นเขาใช้ข้าวเหนียว และข้าวอื่นๆทำ ตามแต่สะดวกหรือชอบ (อีสานก็กินทั้งข้าวเหนียว/ข้าวจ้าว ตามแต่อยากกิน) วิธีทำก็คล้ายๆที่เขานำเสนอดังกล่าว แต่ยุคปัจจุบันนี้ หายากแล้ว เป็นอุตสาหกรรมเครื่องจักรแทบจะทั้งนั้นครับ
(รสชาดไม่อร่อยเท่าดั้งเดิม)
@@wittayathammapat4191 ถ้าใช้ข้าวเหนียวทำขนมจีนเส้นยาว จะทำไม่ได้เพราะเคี้ยวไม่ได้ มันเหนียวมากจะติดคอเอา เขาเลยทำเป็นเส้นสั้นๆเช่น ด้องแด้ง หัวไก่โอกฯ ตามแต่จะเรียก ถ้าจะใช้ข้าวเหนียวทำจะต้องผสมข้าวจ้าวด้วยเป็นพื้นด้วย ไม่งั้นคนกินกัดไม่ขาดแน่ๆ
@@mamod18890 ก็นั้นและครับทราบแล้วครับ ถึงได้บอกว่าข้าวเหนียวและอื่นๆ ตามแต่สะดวก ซึ่งเขาก็ทำมาจนได้แหละครับ เพราะคนทำที่ผมเห็นคือ แม่เพื่อนผมเองครับ
ส่วนแม่ผมก็อยู่วงการขนม/อาหาร ฯลฯ (มาโตที่อยุธยาบ้านตา แล้วกลับไปอยู่อีสาน) เคยขายขนมจีนน้ำยาฯ จะใช้จากตลาดที่เน้นซื้อจากคนขายที่ทำเองดังกล่าว แต่พักหลังหายาก เลยใช้ของอุตสาหกรรมครับ
**ปล.การทำอาหารมีพลิกแพลงตามท้องถิ่น/ความนิยม/ความสะดวก ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องเป๊ะๆ เหมือนที่โน่นที่นั่นหรอกครับ เข้าใจนะครับ เพราะผมก็พอทำอาหารได้ครับ
เป็นของกินร่วมในอุษาคเนย์ ถ้าผมชอบที่สุดคือของเวียดนาม bun moc (บุ๊น หม็อค) เป็นเส้นหนมจีนในซุปหมู เหมือนก๋วยเตี๋ยวและใส่ลูกชิ้นหมู ☺️
โบ๋บุ้นก้อร่อยไปกินชิมหรือยัง
ขะ นอม จิน เป็นภาษามอญ เริ่มต้นจาก ขะนอมจิน ซาว น้ำ ซาว คือการล้าง ล้างเส้น ล้างเส้นสุก มอญแถวบ้านบอกมา
เกิดทัน เคยเห็นการทำทุกขั้นตอนโดย คุณยาย เคยกินด้วยแหระ แบบเผา หรือต้ม น้า ๆ รุ่นหนุ่มสาวช่วยกันตำ
บ้านเราเรียกว่าขนมเส้น ☺️☺️
งานบุญ งานบวช งานแต่ง ต้องมีขนมเส้นกับน้ำยาป่า น้ำยาที่เฮ็ดมาจากปลาดุกคือที่สุด บ้านเราอยู่บ้านหนองหิน อำเภอนครไทย
ขนมเส้น เห็นแต่ชาวเหนือ เรียกกัน ออกเสียงแบบคนล้านนา จะได้อารมณ์ สละสลวย เสนาะโสตกว่าภาษาอื่น
ขอบคุณค่ะ เราโตมากับขนมจีนเพราะแม่ขาย สงสัยมานานว่าทำไมเรียกขนมจีน และดีใจที่จะมีคนรู้จักวิธีทำขนมจีนแป้งหมักแบบเก่า ซึ่งคนรุ่นใหม่คงไม่รู้จักกันแล้ว แม้แต่เราเองก็เกือบจะลืม
ตอนที่ชาวบ้านมอญมาช่วยกันทำขนมจีน แล้วนึกถึงกวนกาละแมเลยค่ะ ต้องช่วยกันทำเหมือนกัน
คิดว่าต้นกำเนิดของไทย น่าจะมาจากจีนโพ้นทะเล เพราะที่เมืองกุ้ยหยาง ประเทศจีน มีขนมจีนค่ะ
จากการสอบถาม คนที่ทำเส้นชนิดนี้ซึ่งเป็นร้านอาหารพื้นเมืองของเขา ทำแบบวิธีการโบราณเลย เหมือนที่คนไทยทำเป๊ะ ๆ เป็นทำด้วยแป้งชนิดเดียวกัน
มีการหยอดร่อนลงในน้ำวน ๆ เหมือนกัน เป็นร้านที่เขาผลิตเป็นเส้นสด
การรับประทาน เครื่องปรุงมีลักษณะคล้านขนมจีนน้ำเงี้ยวของทางเหนือ มีเครื่องเทศ ต่าง ๆ ออกเป็นน้ำสีแดง ๆ เหมือนกัน ใส่เครื่องเป็นวัตถุดิบคล้ายน้ำเงี้ยวมาก และมีซี่โครงหมู กับชิ้นหมูอยู่ด้วย
ทีมเราไปทานและถ่ายรูปมา เพราะตอนไปทำงานที่กุ้ยหยาง เขาต้อนรับคณะเราด้วยพาไปท่นขนมจีน แต่เป็นขนมจีนสด
และตอนค่ำก็พาไปเลี้ยงอาหารเย็นที่โรงเหล้าสาโท คือเหล้าสาโท ที่คนไทยทำนี่แหละ
ทางภาคเหนือตอนบนทุกจังหวัดจะเรียก ขนมจีน ว่า"ขนมเส้น" จะเรียกตาม กิริยา รูปร่าง ทำจากแป้ง ตามกรรมวิธี จะออกจากตะกร้า ที่มีรู บีบและกดให้หลุดลอดออกมาตามรูภาชนะ เป็นเส้น ๆ จึงเรียกว่า"ขนมเส้น" ตามรูปลักษณ์ แต่ทางภาคเหนือจะนิยม กินขนมเส้น เป็นน้ำเงี้ยว เพราะเครื่องปรุงน้ำเงี้ยว จะต้องมี ดอกงิ้วตากแห้ง จะขาดเสียมิได้คือดอกงิ้ว ก็มาจากดอกงิ้ว ดังกล่าว และ น้ำเงี้ยว ทางเหนือจะมาจาก ชาวเงี้ยว ชนเผ่าทางเหนือ เชียงตุง เรียกว่าพี่น้อง ชาว"้เงี้ยว" จึงเรียกขนมเส้น "น้ำเงี้ยว หรือน้ำงิ้ว" จะมาพร้อมกับแกง "ฮังเล" ที่พี่น้องชาวพม่าเชียงตุง และเงี้ยวนำมาเผยแพร่ ให้พี่น้องชาวทางภาคเหนือ "ลานนา" จะเห็นที่เป็นรูปธรรม อาทิ บ้านทรงกาแล แกงฮังเล ขนมเส้นน้ำเงี้ยว เมี่ยง เป็นต้น เพราะพี่น้องชาว เมืองเงี้ยว เชียงตุง พม่า แต่เดิมก็เป็น พี่เป็นน้องเดียวกัน คำพูดคำจาก็ใกล้เคียง รู้เรื่องสื่อสารกันได้ดี รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี อาหารการกินก็เหมือนกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด ความเป็นมาของคำว่า ขนมเส้นน้ำเงี้ยว แก๋งฮังเล ก็มีด้วยประการฉะนี้แล(คัดจากบทความเรื่อง"ขนมเส้น ขนมจีน" ของพ่อหลวง หนานดวงจันทร์ ครุขยัน แห่ง วัดไหล่หินหลวง เกาะคา นครลำปาง
เลย บ้านข่อยกะเอิ้นว่าขนมเส้น คือกันจ้า
อีสานก็เอิ้นขนมเส้นจ้าหรือข้าวปุ้นแล้วแต่จะเอิ้นแต่เอิ้นได้ทั้งสองอย่างแต่ขนมจีนไม่มีคนเรียกนอกจากจะคุยกับคนภาคกลางถึงจะเอื้อนเอ่ยชื่อนี้
ไปที่กุ้ยหยางก็เจอเส้นขนมจีนสด ทำสด ๆ โชว์เลยค่ะเหมือนที่คนไทยทำ และส่วนผสมคล้ายน้ำเงี้นวเลยค่ะ มีเครื่องแดง ๆ มีเครื่องเทศเป็นชิ้น ๆ มีเนื้อหมู ซี่โครงด้วย เขาเอาเครื่องเสริฟมาเป็นถาดเล็ก เป็นชุด
มีน้ำซุปเดือด ๆ เส้นขนมจีน เครื่องปรุ่งและพวกเครื่องต่าง ๆ เป็นชิ้น มีเครื่องโขลกสีแดง ๆ
ให้เรามาผสมเองที่โต๊ะ ออกมารสชาติปนแกง ๆ คล้ายน้ำเงี้ยวค่ะ
เมืองกุ้ยหยาง ประเทศจีน ค่ะ
ชอบจังเลยค่ะประเพณีดั้งเดิม..หาดูยาก...คิดถึงผู้คนรุ่นเก่าๆ..
คนมอญเรียกขนมจีนว่าขนัม/ขนม/
ชาวกูยหรือส่วยบางทีก็เรียกขน็ม
จินมอญว่าสุกชาวกูย/ว่าแจ็น=สุก
ภาษานับมอญ1=มัว2=บา3=โป็ย4=ปอน
5=โซ็ย ภาษากูย/ส่วยภาษานับ
1=มูย2=บา=3ไป4=ปอน5=ซ็อง
เขมรอีสานใต้บางจังหวัดเรียกนมเวง
เขมรสีสะเกดเรียกนมโร็ย
เขมร อีสานใต้ อ.ประโคนชัยบุรีรัมย์ เรียกขนมจีน ว่า นมปันเจ็าะ หรือ นม บันจ็อบ บางอำเภอ เรียก นมเวง เช่นกันครับ
1-5กูย กับมอญนับเหมือนกัน เคยทำงานกันคนมอญ กูยสีเกดคับ
เรามาจากจังหวัดอุบลค่ะ จำได้ว่าตอนเด็กๆๆเวลามีงานบุญเราจะต้องช่วยแม่ตำขนมจีนโดยครกกระเดื่อง เราเป็นคนตำโดยใช้เท้าเหยียบ และส่วนแม่ของเราก้อเป็นคนใช้มือคนแป้ง หรือตบๆๆแป้งให้อยู่ภายในครก สนุกมากๆ อ้ออีกอย่างแม่เราเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว บ้านเราไม่มีครกกระเดื่องเราจะต้องไปตำที่บ้านคนอื่น
เป็นอาหารที่คาใจผมมากที่สุด ทั้งๆที่เป็นของคาว ใครทำไมตั้งชื่อว่าขนม น่าจะเปลี่ยนได้แล้ว
ในคลิปบอกอยู่มาจากภาษามอญ คนอมจิน แปลว่าแป้งสุก แต่ไทยเรียกเพี้ยนเป็นขนมจีน ไทยเราออกเสียงเพี้ยนเองจะโทษใคร 55
@@2muchfun190 เซ็งเลย คงแก้ไม่ได้แล้ว
คิดฮอดตอนเด็ก ที่คุณย่าพาทำขนมจีน หรือข้าวปุ้น ชอบตอนพ่ออุ้มขึ้นนั่งไม้ที่กดแป้งขนมจีนลงในหม้อ และชอบเอาเศษแป้งมาปั้นเป็นแผ่นแบน ๆ แล้วต้ม หรือย่างไฟ มาจิ้มเกลือเฉย ๆ ก็อร่อยอะครับ 😁
ในจีน ทางใต้ ยูนาน ก้อมี เส้นหมี่กุ้ยหลิน
ญวน เรียก บุ๋ง
ลาว เรียก เส้นปุ้น
ไทย เรียก ขนมจีน
พม่า เรียก คนอมจิน
สรุป เป็นวัฒนธรรมการกินของคนเอเซียอาคเนย์
แสดงว่าไทยเรียกเพี้ยนมาจากพม่าและมอญ คนอมจิน กลายเป็นขนมจีน ก็คิดอยู่ทำไมเรียกขนม
ก็มาจากยูนนานนั่นแหละครับ
เสียงผู้บรรยายผู้หญิงน่าฟังค่ะ ปรกติเป็นเสียงผู้ชาย ซึ่งเราชอบมาก เปลี่ยนเสียงบ้างก็ดีเหมือนกันนะคะ น่าสนใจดีค่ะทั้งเรื่องราว และการบรรยายที่ชัดเจน
ขนมจีน ในภาษาเขมรคือ นมเวง มีมาช้านานแต่โบราณ เวงแปลว่า ยาว วัฒนธรรมเขมรและมอญคล้ายกันมาก ขนมจีนในภาษาไทย เป็นชื่อที่เอาความเหมือนของจีนมาใช้ในรูปของเส้นหมี่จีน กลายเป็น ขนม+จีน เพราะฉนั้นขนมจีนไม่ได้มาจากจีน เป็นของไทย+เขมร +มอญ เป็นวัฒนธรรมด้านอาหารเดียวกัน 1 มือ 1 จับ 1หัว เป็นชื่อเรียกจำนวน ในวัฒนธรรมเขมรใช้น้ำยากะทิเป็นหลัก เครื่องปรุงน้ำยาสูตรเดียวที่ใช้ในปัจจุบัน เน้นกลิ่นกระชายเป็นหลัก ใช้เนื้อไก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาทู
เขมอญ หรือ ชื้อสายขอม ดั้งเดิมในภาคกลางรวมถึง อีสานใต้ มีเยอะกว่าชนชาติไต หรือ ไท นิยมทำขนมเส้นกินกันมาก ในโคราช บุรีรัมย์ เส้นก๋วยเตี๋ยวกัยเส้นขนมจีน หรือเรียกว่า นมปัญเจ๊อะ มีทำและกินกันอย่างแพร่หลาย
เขมรกัมพูชาจะเรียกนมบันเจาะ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นมเวง นมปันเจาะ นมโรย
มันเพี้ยนมาจากคำว่า ขนอมเจียนของขาวมอญตะหาก ไม่เกี่ยวอะไรกับจีนเลย
คนเชื้อชาติใดก็อยากให้วัฒนธรรมร่วมมีกำเนิดมาจากเชื้อชาติตัวเอง แต่ความจริงก็คือความจริง อาหารประเภทเส้นแป้งมีกำเนิดมาจากจีนทั้งนั้น รวมทั้งขนมจีน ขนมจีนนิยมกินกันทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ได้มีแต่มอญและไทย ญี่ปุ่น เกาหลีก็มีขนมจีน คนจีนจะเรียกว่า เฝิ่น (แป้ง) เฝิ่นซือ เฝิ่นเถียว หมีเฝิ่น เมี้ยนเฝิ่น
คนเวียดนามเรียกเส้นชนิดนี้้ว่า บุ๋น ที่มีคำศัพท์เดียวกับ เฝิ่นในภาษาจีนกลาง ในภาษาจีนอื่นๆก็ออกเสียงแตกต่างกันไป บุน ปุน พน เฟิง แต่มีอักษรตัวเดียวกันคือ 粉 เฝิ่น
คนลาวเรียก ข้าวปุ้น คำว่าปุ้นก็มาจาก เฝิ่น ในภาษาจีน
คนจีนหยูนหนานมีนิทานความรักหรือเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับขนมจีนมาหลายพันปีแล้ว (มีหลักฐานที่ถูกบันทึก)
มอญบอกว่า คะนอม แปลว่า แป้ง ทำไมไม่คิดว่าคนมอญเขาเรียกตามจีน เฝิ่นที่แปลว่าแป้งเช่นกัน
จีนก็คือจีน คนทั่วโลกเรียกคนเชื้อชาติจีนว่า จีน ฉีน ชีน ชีนัว ชีนา มาสองพันกว่าปีแล้ว รวมทั้งมอญก็เรียกว่าจีน ถึงคำว่าจีนจะไปพ้องกับคำว่าสุก แต่ทำไมต้องไปคิดสลับซับซ้อนว่า สุก สุกแล้ว มากินแปงสุก บลา บลา บลา
คิดง่ายๆเลย คนมอญโบราณเรียกแป้งเส้นชนิดนี้ว่า แป้งจีน chinese flour . chinese noodles
@@เทินไทย เขมรแถวสุรินทร์บ้านผมเห็นเรียกขนมจีน เวลาหาบขายแกถามซื้อขนมจีนป้าไหม55555
สมัยผมเด็ก คนข้างบ้านจะทำขนมจีนขายประจำ ผมและเพื่อมักจะไปเก็บเศษแป้ง เอามาปั่นกันให้เป็นก้อนแล้วทำให้แบนๆพาไปจี(ภาษาใต้)หรือย่างที่เตาไฟ กินกันสนุก
อย่าให้เขมรรู้ว่า "ขนมจีน" ....มาจากมอญ...เพราะเขาจะบอกว่าเอามาจากนครวัด
นั่นดิ ต้องระวังเขมรเดี๋ยวก็เข้ามาเคลมขนมจีนเป็นของตัวเองอีก
ในเมื่อมอญไม่มีบ้านเมืองแล้ว ไทยก็เคลมไปเลยดิ รอช้าทำไม ไหนๆก็เคลมมาเยอะแล้ว จนนับไม่ถ้วน
เขมรแดง
@@ryankeo9481 5555 ดิ้นไร ไอห่าโคตรบรรพบุรุษขี้ข้า
ภาษา ขะแมร์บ้านผม นม บันจก ส่วนคำว่า จิน แปลว่า สุก นั้น ภาษาขะแมร์ เรียกว่า ชะอิน หรือ จะอิน ถ้าออกเสียงไวๆ จิน ได้ เหมือนกัน ครับ
ชอบเหมือนเดิมครับ กับการนำเสนอของช่องนี้ 🖤
ที่เห็นใช้ครกกระเดื่อง ที่บีบใช้กระป๋องนมซื้อนกัน ใช้ตะปูเจาะอันนอกให้เป็นรูพรุน
ทวดเป็นคนมอญ เรียก ฮนอม จิน
ชอบรายการนี้มากค่ะได้ความรู้ ประวัติศาตร์นอกตำราจริงๆค่ะ
ในลาวเอิ้นว่าเข้าปุ้น อาจจะเอิ้นเพี้ยนมาจากเข้าบุ้น เพราะบุ้นภาษาถิ่นลาวแปลว่าผลุดออกมา เพราะข้าวปุ้นวิธีทำมันต้องได้ใส่ภาชนะที่มีรู้แล้วบีบให้เกิดเป็นเส้นบุ้นออกมา.
ถูกต้องที่สุดครับ มันมาจากกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ไป่เย่ว ทางภาคใต้ของจีนนั่นแหละ
คนพวกนั้นเดิมทีกินข้าวเหนียวเป็นหลักแล้วอยากจะเรียนทำเส้นหมี่เหมือนชาวจีนฮั่น ทำยังไงก็ไม่ได้ผล ก็เลยไปเอาข้าวจ้าว ( ข้าวหุงที่คนในกวางตุ้งกิน ) นั้นมาทำ ทดลองทำไปหลายครั้งหลายหนแต่ก็มาได้สูตรที่หมักแป้งแล้วนำมาทำให้สุกครึ่งหนึ่งอีครึ่งดิบ แล้วนำมาผสมกันเติมน้ำให้มันเหลว จากนั้นก็นำไปใส่ผืนผ้าฝ้ายที่ตรงกลางเย็บติดกับแผ่นโลหะที่เจาะเป็นรู บีบลงใส่น้ำต้มเดือด
คาดว่าการทำเส้นข้าวของพวกไป่เย่วนี้ทำมาได้ไม่ต่ำ 1000 ปีแล้ว
ไม่ใช่อาหารมอญ อาหารเขมร แต่แต่คนดายเวียตก็เรียนมาจากพวกไป่เย่วครับเพราะว่าอยู่ใกล้ติดเขตแดนกันครับ
ทุกวันนี้ในเขตมณฑลกวางสีพวกเขาก็ทำกินและมีโรงงานผลิตเพื่อส่งออกไปขายทั่วโลกครับ
ขนมจีน ทางเหนือจะอร่อย ทำสดๆ ใส่น้ำยา น้ำเชื่อม ไปเที่ยววัดใหญ่นครชุมบ่อยๆ แต่ไม่เคยเจอเค้าทำขนมจีนกันเลย
ขนมจีนแกงพุงปลาอร่อยสุด
น้ำเชื่อม.? วอทท.
ขนมจีนใส่น้ำเชื่อมมันจะอร่อยตรงไหนว่ะ.
ชมแล้วคิดถึงตายายเลยครับ ท่านประกอบอาชีพทำขนมจีนขายเลี้ยงแม่กับน้าๆ ขอบคุณที่ทำคอนเทนต์ดีดีให่รับชมกันนะครับ
ขนมเส้น หรือขนมจีน ในภาคเหนือ จะโด่งดังเรื่องน้ำเงี้ยว ที่มีส่วนผสมของเลือด หมู มะเขือเทศ ซึ่งคนต่างถิ่นมักจะชอบมาหากินขนมจีนน้ำเงี้ยวกัน แต่ในคลิปไม่ได้กล่าวถึงมุมมองนี้เลย ซึ่งถ้าเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนนี้น่าจะทำให้คนอยากรู้กระจ่างเกี่ยวกับขนมจีนน้ำเงี้ยวไม่น้อย
Good video นำเสนอได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ
ในจีนยุนนาน มีเส้นคล้ายๆกันเรียก หมี่เซี่ยน น่าจะแปลว่า เส้นข้าว
ใช่ค่ะ และเท่าปู่ย่าตาทวดเล่าให้ฟัง ทางแถบนั้นก็มีการทำอาหารจาเส้นข้าวแบบนี้มาช้านานแต่โบร่ำโบราณแล้วเช่นกัน เราว่าการที่ตัดสินว่าขนมจีนมาจากชาวมอญมันดูจะจำกัดเกินไปนะ
และเส้นหมี่เซี่ยนก็มีวิธีการทำแบบที่บ้านมอญทำเลย คือหมักข้าวสารจนเปื่อยยุ่ย แล้วเอาไปโม่ ทับน้ำจนแห้ง แล้วปั้นไปต้ม เอามาโขลกจนเนียนเป็นแป้ง แล้วเอามาบีบเป็นเส้นต้มในน้ำร้อน ทุกอย่างคือเหมือนกันเลย
@@sininatpjaiwanglok3784 ไม่หลอกครับ เราไม่ได้อยากมีอะไรร่วมกับจีน เเต่ที่เห็นจีนอยู่ไทยทุกวันนี้เพราะมันผ่านเหตุการณ์มากมาย สมัยอยุธยาอะไร เราก็ไม่ได้จีนขนากนั้นนะไม่เลยด้วยซ้ำ คนจีนมามีบทบาทช่วงอพยพละเติมเต็มเนื้อที่ไม่ได้ว่าไรนะผมเเค่คิดให้เป็นธรรมกับเเผ่นดินที่ย้ายมาอยู่ผมก็เชื้อสายจีน มอญนี่คือเชื้อสายเดียวกับสยามเลย 😂
@@sininatpjaiwanglok3784 ไม่ได้เชิง ว่าจีนไม่ใช่ต้นกำเนิดเเต่นี่ เราก็กินเเบบสไตล์ภูมิภาคนี้กันนะครับ ดูจากวิธีการทำราดน้ำเเกงกะทิเเบบนี้ วัตถุดิบบางอันจีนยังหายากเลยครับเช่นมะพร้าวที่มาทำน้ำกระทิในสมัยนั้นยิ่งยาดเลย มะพร้าวมาจากทะเลนะครับ เหนือ ลาวไม่ใช่ว่ามีต้นกำเนิด มันคนละสไตล์กันเลย ผมเลยไม่นับรวมกัน
ชอบมากขนมจีนน้ำยาป่าปลาทู กินกับถั่วฝักยาวอร่อยมากๆ กินได้แบบไม่มีเบื่อทีละ3จาน4จานต่อวัน😁 อยากลองชิมขนมจีนแบบชาวมอญน่ากินมาก ในกรุงเทพหากินได้ที่ไหนบ้างค่ะ
ขอแย้งและอยากให้นักวิชาการประวัติศาสตร์ทั้งหลายศึกษาเพิ่ม เพราะเท่าที่ดูสารคดีแต่ละที่ดูจะเน้นว่าขนมจีนมาจากมอญ แต่เท่าที่รู้ที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ก็มีการทำขนมจีนมาตั้งแต่โบราณเช่นเดียวกัน ทำไมนักประวัติศาสตร์อาหารไทยถึงเน้นแต่มอญ ที่ยูนนานเรียกขนมจีนว่าหมี่เซี่ยน
ไทยอาจจะรับมาจากมอญเพราะมีการกล่อนเสียงจากมอญมาและมีเหตุผลที่มากกว่าและเราอยู่ร่วมกับมอญ แต่มอญเอามาจากใหนก็อีกเรื่อง ไทยเราอยู่ห่างจากสถานที่ที่คุณบอกและอาจมีหลักฐานที่ไม่เพียงพอที่จะยิบยกมานำเสนอ
@@teerasakkhunhuai2174 ที่เราอยากแย้ง เพราะตามสารคดีดูจะเหมารวมมากไปหน่อย ว่าขนมจีนมาจากมอญอย่างเดียวเลย จริงอยู่ที่ทางแถบภาคกลางอาจจะเป็นมอญนำเข้ามา แต่ทางเหนือและอีสานไม่คิดเหรอว่ามันอาจจะมาจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนทางแถบยูนนาน เช่น ชาวไทลื้อ ไทใหญ่ ที่มีการอพยพมาอยู่ทั้งแถบภาคเหนือของไทย พม่า และลาว นอกจากนี้ทางมาเลเซีย สิงคโปร์ก็มีคนจีนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยมาอย่างยาวนาน มอญไม่น่าจะมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมไกลถึงคาบสมุทรมลายูนะคะ มันดูขัดแย้งยังไงพิกล
ก็อาจเป็นได้ครับในมณฑลยูนนาน ก็มีสิบสองปันนาอดีตหนึ่งในเมืองของอาณาจักรล้านนาสมัยโบราณ ลักษณะอาหารการกิน ภาษาถิ่นวัฒนธรรม ก็คล้ายๆกับทางภาคเหนือของเรา อยากให้มีการหาคำตอบจากทางฝั่งนู้นด้วยเช่นกันครับ
-หนมหรือขนมแปลว่าสิ่งที่ถูกทำให้เหลวด้วยความร้อน (melting)
-จีน แปลว่า สิ่งที่เป็นเส้น (a thread)
-ขนอม แปลว่า น.หย่อม กระหย่อม (การที่บางสิ่งบางอบ่างมารวมตัวกัน) (a multitude)
-ถิ่นใต้. หนมจีน / ถิ่นเหนือ.หนมเส้น /กลาง.ขนมจีน สรุปแปลว่าเส้นที่ถูกทำให้เหลวด้วยความร้อน
-มอญ.ขนอมจีน แปลว่าเส้นที่เอามารวมกันเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นจับ
อยากกินเลย
ชอบรายการนี้มากได้ความรู้ดี
ขนมจีนกินได้ทุกทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้น
อุบลราชธานี เรียก ข้าวปุ้น
ขอนแก่น เรียก ขนมเส้น
ขนมจีนหมัก อร่อย มีกลิ่นน้อยๆ อร่อยนะครับ
บ้านก็อยู่ขอนแก่นค่ะ แต่ว่าเรียกข้าวปุ้นค่ะ
อยากกินแบบนี้แหละ ชอบเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว เส้นไม่หอมเหมือนเมื่อก่อน ขื้นจากน้ำใหม่ๆใส่น้ำปลาอร่อยมาก คิดถึงสมัยเด็กๆ ตอนนี้66แล้วจร้า
สปป.ลาว..ไทยภาคอิสาน..เรียก..ข้าวปุ้น
เวียดนาม...เรียก..บุ๋น...ปุ้น กับ บุ๋น...เสียงคงกร่อนไป...😘
ข้อมูลดีเยี่ยมมากๆ
ทางภาคอิสานเมื่อครั้งผมยังเป็นเด็ก ก็มีขั้นตอนการทำขนมจีนแบบเดียวกันนี้เป๊ะๆ ซึ่งภาคอิสานเรียกขนมจีนว่า..
"ข้าวปุ้น"🤪🤪👍👍👏👏✌️✌️💓💓🌹🌹🇹🇭🇹🇭
ภาษาลาว เรียก "ข้าวปุ้น" ทุกภาค
เส้นแบบนี้แหละครับ ที่ไม่เคยได้กินมานานมากแล้ว อมเปรี้ยวมีกลิ่นเกือบฉุน กินเปล่าๆยังอร่อยเลยครับ ครกที่บ้านย่าทวดผมเคยมี
แป้ง หมักค่ะ สีขนมจีนจะไม่ขาว
อยู่ที่อีสานผมอายุ 52 ปีเกิดมาก็เห็นเลยไม่รู้ว่ามาจากไหนนะ สมัยนั้นรถไม่ค่อย มีส่วนมากคนในสมัยนั้นจะใช้ ม้า การเดินทาง ผมเป็นคนอีสานครับที่เกิดมาก็เห็นเลย
ถามรุ่นปู่เขาก็บอกเกิดมาก็เห็นเลย
บ้านผมเอิ้น ข้าวปุ้นเด๋อคาบ อุบลบ้านผม
เนาะศรีสะเกษกะข้าวปุ้น😁😁😁
@@พรเทพจันดํา-ท7ฝ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขนมเวง
คนอีสานก้อทำแบบนี้คะไม่รุ้ว่ามาจากมอญหรือจากไหนเกิดทาก้อเห็นทำแบบนี้เราจะหดสิบปีแล้วได้ช่วยหรือดูผู้ใหญ่ทำมากลายครั้งคะ.. แป้งจี่ก้ออร่อย.ไก่โอ้กก้ออร่อยผุ่ใหญ่ชอบทำตอนขนมจะเสร็จก้อเลยทำหยดๆให้เปนไก่โอ้กและให้เด็กๆกินอร่อยมากคะ
What city are they living ? I live in America want to know the location so come visit Thailand, will go see the real place how they make noodles, I want to eat the traditional way it tast better then use machine to do can you put more information , any website, or phone number, and the location please, thank you for sharing.
Ban morn-na-khon-chum Banpong district Ratchaburi
เป็นความรู้ที่ดีมากๆครับ
ภาคเหนือส่วนมากจะเรียกว่า "ขนมเส้น"
อิสานบางพื้นที่ก็เรียกขนมเส้น บางพื้นที่ก็เรียกข้าวปุ้น
อีสานบ้านผมก็เรียกขนมเส้นครับ
ขอบคุณทีมงานรายการทุกคนครับ ทำคลิปดีๆสาระดีๆแบบนี้เรื่อยๆนะครับ
ชาวมอญอย่างผมภูมิใจมากครับอาหารมอญแท้ๆ คนอม จิน
มอญเอามาจากคนไตยูนนานครับ
ข้าวปุ้นซาวเส้นสด อ.บุณฑริก อร่อยหาลองชิมครับ
อาหารประจำชาติของไทยน่าจะเป็นส้มตำมากกว่าต้มยำกุ้งในชีวิตประจำวันคนไทยกินอะไรบ่อยที่สุดต้มยำกุ้งหรือครับถ้าไม่มีตังค์ไม่รวยไม่ได้กินหรอกถามคนในครอบครัวคนไทยทุกคนเลยครับต้มยำกุ้งปีนึงกินกันกี่ครั้งนับได้เลยไม่บ่อยหรอกแต่ส้มตำกินกันแทบจะทุกวันยังไม่บ่อยก็อาทิตย์ละครั้งสิงคโปร์กินข้าวมันไก่ทุกวันเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นกินซูชิทุกวันเป็นอาหารประจำชาติเกาหลีกินกิมจิทุกวันเป็นอาหารประจำชาติคนไทยไม่ได้กินต้มยำกุ้งทุกวันแต่ก็เป็นอาหารประจำชาติผมล่ะงงถ้าไม่เอาส้มตำเป็นอาหารประจำชาติก็เอาก๋วยเตี๋ยวก็ได้หรือไม่ก็ขนมจีนแต่ในใจผมสนับสนุนผัดกระเพราที่หนึ่งในใจกินแทบจะทุกวันไม่เคยเบื่อ
อาหารประจำชาติไทยไม่ได้มีอย่างเดียวค่ะ จึงเอาเรื่องการกินทุกวัน มาตัดสินไม่ได้ อย่างน้ำพริกมะนาว หรือน้ำพริกปลาทู ก็อาหารไทยๆ แต่เราไม่ได้กินกันทุกวัน แต่บางบ้านอาจจะกินบ่อยเพราะทำอาหารกินเอง สำหรับต้มยำเป็นอาหารประจำชาติไทยได้เลย เพราะมันมีมานานมากแล้วสมัยปู่ย่าตายายทวดโน่น จำความได้ก็รู้จักต้มยำแล้ว แต่เป็นต้มยำน้ำใสนะ ซดคล่องคอกว่าเยอะ แล้ววัตถุดิบหาได้ง่ายรอบบ้าน จึงทำได้บ่อยๆ พอๆ กับแกงส้ม แค่เดินไปรอบบ้าน มีตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาว พริกขึ้หนู เนื้ออะไรก็ได้ ใครชอบใส่ข่าก็ใส่ ใครจะใช้น้ำพริกเผาแทนพริขี้หนูก็ใส่ ต้มยำน้ำข้นมามีไม่กี่สิบปีนี้เอง เพราะร้านอาหารอยากทำของแปลกใหม่ให้ลูกค้าลอง ส้มตำเรากลับไม่เคยกินเลยสมัยเด็ก มากินเอาตอนโตทำงานแล้ว มันน่าจะอยู่ที่อยู่ภูมิภาคไหนด้วยกระมัง หรือเป็นที่นิยมมากขึน คนก็เลยกินกันมากขึ้น บ่อยขึ้น ปัจจุบันคนในเมืองมักจะกินกันตามร้านอาหารเพราะไม่ได้ทำอาหารกินกันเอง และอาจจะไปนึกถึงต้มยำตามร้านขายซึ่งมันอาจจะดูยุ่งยากเลยไม่ทำกัน ซื้อกินดีกว่า ส้มตำก็เหมือนกัน ก๋วยเตี๋ยวที่เป็นอาหารประจำชาติได้แน่นอนคือผัดไทยค่ะ เพราะอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวมีอิทธิพลมาจากจีน แต่ผัดไทยนี้การปรุง วัตถุดิบ วิธีการปรุง นอกจากเส้นมันไทยแท้ แต่ก๋วยเตี๋ยวอื่นๆ ที่กินอยู่ในไทยปัจจุบันก็จะเป็นแบบสไตล์คนไทยแบบของคนไทย มีหลากหลายเกินคนจีนจะจินตนาการไปแล้ว น่าจะมีเครื่องปรุงรสมากกว่าของคนจีนดั้งเดิมด้วย
ทำเหมือนกันกับที่บ้านเลยแต่ก่อนก็ทำกืนประจำ แต่เดียวนี้ไม่มีแล้วทำมือ มีแต่ใช้เครืองมือสมัยใหม่ ไม่เหมือนกันตรงตำที่บ้านใช้ครกกะเดี่ยง ทุกอย่างเหมือนกันหมด. (ที่ขอนแก่น)
ขะ_หนอม_จีน อาหารมอญ
อาจารย์องค์ พระราชมารดาในรัชกาลที่ 3 ไม่ได้มีเชื้อสายจีนนะครับ ทรงมีเชื้อสายสุลต่านมุสลิมจากทางสงขลาพัทลุงทางฝั่งพระมารดา พระบิดาและพระมารดาอาศัยอยู่ที่นนทบุรี โดยพระบิดาเป็นเจ้าเมือง
รัชกาลที่ 4 ต่างหากที่ทรงมีเชื้อสายจีนทางพระราชมารดา ที่ทรงมีพระบิดาเป็นคนจีนชื่อเจ้าขัวเงิน
ข้อมูลจาก วิกิ : ฝ่ายพระชนนี(มารดา ร.3)คือ คุณหญิงเพ็งนั้นมีบิดาเป็นมุสลิมสุหนี่ชื่อพระยาราชวังสัน (หวัง) ที่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมานแห่งสงขลาฯ
@@boon208 ผมถึงได้บอกว่า อาจารย์องค์พูดผิดไง
@@buddhidev7877 นาทีที่ 19..xx เขาพูดผิด
ที่ถูกก็เอามาจากวิกิมายัน
ผมอาจจะเขียนไม่ละเอียดในการสื่อสารครับผม
ขนมจีนมาจากชาวมอญคร้าบ
ทางใต้.สุราษฯนครศรี.ก้อทำแบบนี้เหมือนกัน..แต่ไม่ค่อยเห็นใช้เลี้ยงแขกงานบวช..งานแต่ง..ตำแป้งแล้วก้อเอาแป้งใส่กระบอกทองแดง.ใส่ในน้ำเดือดก้อแบบเดียวกัน..แต่ของทางใต้ใช้กระบอกทองแดงบีบเส้น..
ความรู้และสาระล้วนๆ ช่องนี้
นาทีที่ 19.10 ผมว่า ที่ ท่านอาจารย์ มศว ที่บอกว่า แม่รัชกาลที่ 3 เชื้อสายเป็นจีน
แม่รัชกาลที่ 3 คือ เจ้าจอมมารดาเรียม หรือ มาเรียม เป็นเชื้อสายแขก - มอญ พระยาแถวนนทบุรี เกาะเกร็ด ซึ่งแถวนั้นเป็นมอญเกาะเกร็ด ดังนั้นรัชกาลที่ 3 เป็นเชื้อแขกปนมอญ ครับ
ข้าวปุ้น