cicada souns- เสียงจักจั่นร้องในฤดูร้อน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ก.ย. 2024
  • เสียงของจักจั่น
    ตัวผู้สามารถทำเสียงได้ดังมาก ประมาณมากกว่า 100 เดซิเบล โดยจะส่งเสียงร้องในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน และร้องมากที่สุดเมื่อมีอุณหภูมิประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส ส่วนตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้ แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก จักจั่นแต่ละชนิดจะมีเสียงร้องเฉพาะตัว ทำให้สามารถจำแนกชนิดของจักจั่นได้จากเสียง ส่วนใหญ่แล้วการทำเสียงของจักจั่นจะเป็นการร้องเรียกเพื่อหาคู่ และยังสามารถทำเสียงเฉพาะกิจอื่น ๆ ได้อีก เช่น การป้องกันตัว หรือตกใจเมื่อถูกรบกวน เสียงเพื่อคัดค้าน ประท้วง เสียงแสดงความพึงพอใจ เสียงข่มขู่ เป็นต้น ถึงแม้ว่าตัวผู้หลายสิบตัวจะประสานเสียงจนกังวานไปทั่ว แต่สำหรับจักจั่นตัวเมียแล้วมันสามารถแยกแยะแหล่งที่มาของเสียงจากตัวผู้แต่ละตัวได้ไม่ยาก และเสียงดังเพียง 30-40 เดซิเบล ก็เพียงพอแล้วสำหรับการตัดสินใจ ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเลือกตัวผู้ โดยจะยอมผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่มันพอใจมากที่สุด ซึ่งก็ต้องเป็นตัวที่มีน้ำเสียงถูกใจมันมากที่สุดนั่นเอง การส่งเสียงของจักจั่นตัวผู้ไม่ต่างไปจากการส่งกลิ่นฟีโรโมนของแมลงชนิดอื่น ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม
    การเกิดเสียง
    เสียงของจักจั่นดังมาจากส่วนท้อง แหล่งที่มาของเสียงเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อ (tymbal) ที่อยู่ภายในร่างกายตรงช่องท้อง และมีเยื่อบาง (folded membrane) พับซ้อนกันสี่ชั้นเรียงเป็นแนวขวางกับลำตัว ส่วนปลายของแต่ละชั้นเชื่อมต่อกันกับแผ่นรูปไข่ และเชื่อมติดกับกล้ามเนื้อในช่องท้องอีกที เมื่อกล้ามเนื้อส่วนนี้หดและคลายตัว เยื่อบางสี่ชั้นนี้ก็จะขยับตาม ส่งผลให้แผ่นรูปไข่ขยับตามไปด้วย และเกิดเสียงขึ้น โดยเสียงจะถูกส่งผ่านไปยัง tymbal แต่ละข้างของช่องท้อง ซึ่งสามารถผลิตเสียงความถี่ข้างละ 120 เฮิรตซ์ จากนั้นเสียงจะผ่านไปยังถุงลม (air sac) ที่มีขนาดใหญ่มาก มีความจุประมาณ 1.8 มิลลิลิตร (ประมาณร้อยละ 70 ของส่วนท้อง) อีกที ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังเยื่อแก้วหู (eardrum) ที่จะทำหน้าที่ในการควบคุมและขยายเสียง ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่ภายนอก ซึ่งจะผ่านการปิด-เปิดของแผ่น opercula ที่จะปรับแต่งเสียงเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อให้ได้เสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่มันจะทำได้ แค่ลำพังท้องเล็ก ๆ ที่มีขนาดความจุไม่กี่มิลลิลิตรของจักจั่นก็สามารถผลิตเสียงที่ดังมหาศาลเกินกว่าที่เราจะคาดคิด
    ลักษณะทั่วไป
    จักจั่นที่พบทั่วไป มีลำตัวสีเขียว ชาวบ้านเรียกว่า “เวียด” ส่วนจักจั่นที่มีลำตัวสีขาว เรียก “วาด” บางพื้นที่เรียกตามขนาด ถ้าเป็นตัวใหญ่เรียกว่า “จักจ้า” ส่วนตัวเล็กเรียกว่า "จักแจ้ง"
    จักจั่นเป็นแมลงที่มีปากแบบเจาะดูดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาแมลงในกลุ่มปากแบบเจาะดูดทั้งหมด มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ขึ้นไป บางชนิดมีขนาดยาวกว่า 10 เซนติเมตร มีหนวดเป็นรูปขน มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนหัว ลำตัว และท้อง จะเชื่อมต่อเป็นส่วนเดียวกัน มีปีกบางใสและยาวกว่าลำตัว เวลาเกาะอยู่กับที่ ปีกจะหุบชิดกันเป็นรูปสามเหลี่ยมมองคล้ายหลังคา ลักษณะเด่น คือ ปีกคู่หน้ามีลักษณะและความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก
    ตัวอ่อนมีลักษณะรูปร่างเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลอ่อน ตาโต ขาหน้ามีขนาดใหญ่ไว้สำหรับขุดดิน
    การเจริญเติบโตและวงจรชีวิต
    การเจริญเติบโตของจักจั่นเป็นแบบไม่สมบูรณ์ คือ ระยะตัวอ่อนมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย ต่างกันที่ตัวอ่อนในระยะแรกไม่มีปีก เมื่อลอกคราบปีกจะค่อย ๆ ยาวออก
    ระยะไข่ ตัวเมียจะเจาะต้นไม้ให้เป็นรูเล็ก ๆ เพื่อวางไข่ เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อนจะร่วงลงสู่พื้นดิน โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 4 เดือน
    ระยะตัวอ่อน อาศัยในดินที่ความลึกตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึงมากกว่า 2.5 เมตร ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืช ตัวอ่อนมีขาหน้าขนาดใหญ่สำหรับขุดดิน บางครั้งจะเห็นดินเป็นแท่งทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร บิดเป็นเกลียวโผล่ขึ้นมาจากดินสูงประมาณ 5-7 เซนติเมตร คล้ายกับดินที่เกิดจากไส้เดือนแต่มีขนาดใหญ่กว่า ตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน
    ตัวเต็มวัย เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่ จะไต่ขึ้นมาบนลำต้นเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะประมาณ 1-2 เดือน
    วงจรชีวิตโดยรวมประมาณ 2-5 ปี แต่มีบางชนิดที่มีวงจรชีวิตยาวนานถึง 17 ปี
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก dnp.go.th

ความคิดเห็น •