คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 พ.ย. 2024
  • คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637 ถึง 2639 ทับ 2521
    บริษัทบูรพาสากลเศรษฐกิจ จำกัด โจทก์
    กรมสรรพากร กับพวก จำเลย
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ก่อนที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ตามคำแก้ฎีกาของจำเลยเสียก่อน โดยจำเลยกล่าวแก้ฎีกาว่า การที่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าภายใน 30 วัน นับแต่วันแจ้งการประเมิน แม้ต่อมาจะโดยกรมสรรพากรจำยอมต้องขยายเวลาให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ตามที่คณะปฏิวัติแจ้งมาและได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อมา ก็ไม่มีผลตามกฎหมาย ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์มีขึ้นเพราะโจทก์หมดสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องตามเอกสาร ล.31, ล.32 เอกสารในคดีหมายเลขดำที่ 1 9 4 4 ทับ 2 5 1 7 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์ตามนัยมาตรา 3 อัฏฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอม โจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจการปกครองอยู่ในขณะนั้นและในที่สุด อธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์ตามเอกสาร ล.10 เอกสารในคดีหมายเลขดำที่ 1 9 4 4 ทับ 2 5 1 7 อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ ศาลฎีกาเห็นว่า การอธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ตามเอกสาร ล.10 เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่โดยชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐแล้ว เมื่อโจทก์ได้รับเอกสาร ล.10 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามเอกสารจ.2 เอกสารในคดีหมายเลขดำที่ 1 9 4 4 ทับ2 5 1 7 และเอกสาร จ.9 เอกสารในคดีหมายเลขดำที่ 1 9 5 4 ทับ 2 5 1 7 ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้ขยายกำหนดเวลาออกไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว และเมื่อคณะกรรมการฯ วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์โจทก์ย่อมใช้สิทธิต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว
    โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องกรมสรรพากรคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1 3 9 2 ทับ 2 5 1 8 เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ฟ้องของกรมสรรพากรคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1 3 9 2 ทับ 2 5 1 8 กล่าวบรรยายว่าโจทก์ประกอบการค้าเป็นตัวแทนของบริษัทอีริคสันและบริษัทฟิลโกซึ่งเป็นบริษัทนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและอยู่ในต่างประเทศ โจทก์เป็นผู้ติดต่อเสนอขายสินค้าและอุปกรณ์โทรศัพท์แทนบริษัทอีริคสันและเป็นตัวแทนเสนอขายสินค้าและอุปกรณ์วิทยุโทรศัพท์ทางไกลของบริษัทฟิลโกต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยบรรยายพฤติการณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ซึ่งจำเลยเห็นว่า เป็นการทำแทนบริษัททั้งสองนั้น และจากการเป็นตัวแทนของโจทก์ทำให้บริษัทอีริคสันได้รับเงินค่าขายสินค้าจากองค์การโทรศัพท์ฯ ในปี . 2504 ถึง ปี. 2507 และบริษัทฟิลโกได้รับเงินค่าขายสินค้าจากองค์การโทรศัพท์ฯ ในปี 2506 ถึง ปี 2508 ซึ่งโจทก์ในฐานะตัวแทนหรือสาขาของบริษัททั้งสองซึ่งอยู่ต่างประเทศจะต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานของจำเลยจึงได้ทำการประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระโดยบอกรายละเอียดของจำนวนเงินรายรับและจำนวนเงินภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละปีและของแต่ละบริษัทซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะต้องชำระต่อจำเลยพร้อมกับแนบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาท้ายคำฟ้องด้วยกับขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้ใช้เงินค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์ค้างชำระทั้งสิ้น คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
    โจทก์ฎีกาว่า การดำเนินการของโจทก์เป็นเพียงผู้แนะนำชี้ช่องหรือจัดการติดต่อให้บริษัทอีริคสันและบริษัทฟิลโกได้เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯในฐานะนายหน้าเท่านั้น โจทก์ไม่ใช่ตัวแทนหรือสาขาของบริษัทอีริคสันและบริษัทฟิลโก ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วข้อพิพาทกรณีภาษีเงินได้นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 82494 มาตรา 33 ซึ่งบัญญัติว่า"บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยให้ถือว่า บริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย และให้ถือว่า บุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่กล่าวแล้ว
    ในกรณีที่กล่าวในวรรคแรก ถ้าบุคคลผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ได้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินภาษีตามมาตรา 71อนุมาตรา 1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
    ในกรณีการประเมินตามความในมาตรานี้ จะอุทธรณ์การประเมินได้" กฎหมายมีดังนี้ ประเด็นที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทอีริคสันและของบริษัทฟิลโกมีว่า บริษัทอีริคสันและบริษัทฟิลโกซึ่งประกอบกิจการค้าขายและได้ขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ นั้น ......

ความคิดเห็น •