กลับคืนสู่สามัญ..ที่บ้านแม่ข้าวต้ม เมืองเจียงฮาย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ก.ค. 2019
  • ..หลังจากที่ผมออกจากบ้านแม่ข้าวต้มหลวงไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 จบระดับมัธยมปลาย ในสมัยนั้นเป็นชั้นมัธยมการศึกษา 5 หรือ ม.ศ.5 ในสมัยนั้น ผมเป็นคนแรกในตำบลที่ได้เข้ารับโควตาไปเรียนต่อปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ตั้งแต่นั้นมาหลังจากจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมก็จะหาทำงานที่เป็นงานด้านการพัฒนาชุมชนของเอกชนหลายแห่ง และสุดท้ายก็ได้สอบบรรจุเป็น พัฒนากร ของกรมการพัฒนาชุมชน ตั้งแต่ปี 2526 มาจนถึงปี 2560 ก็ได้ลาออกจากราชการ มาเลี้ยงดูแม่ที่สูงวัยที่บ้านเกิด ที่ บ.แม่ข้าวต้มหลวง ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย ด้วยวัยในขณะนี้ ก็ 59 ปีพอดี...
    ...”คนเราเมื่อทำงานมาเต็มที่แล้ว ก็อยากจะทำบุญครั้งใหญ่ นั่นก็คือการกลับสู่สามัญธรรมดา มาเลี้ยงดูแล บุพการีที่สูงวัยแล้ว...อย่างน้อยเราได้ทำบุญตามพุทธโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...ว่าลูกจะต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ในยามเแก่เฒ่า..”
    นับเป็นเวลา 40 ปี ที่ผมได้ออกจากบ้านไป กลับมาครั้งนี้มีหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป บางอย่างผมก็จำได้ดี แต่บางอย่างก็จำไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ตายจากกันไปแล้ว เห็นแต่ลูกหลานที่เติบใหญ่ขึ้นมาภายหลัง ลูกหลานใครบ้างผมก็จำไม่ได้จะต้องสอบถามเอาว่า เป็นลูกหลานใครบ้าง...
    ชุมชนในหมู่บ้าน ได้พยายามที่จะรื้อฟื้นพระพุทธศาสนาให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนบ้านแม่ข้าวต้ม หมู่ที่ 1 นี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากว่าปัจจุบันได้ไปร่วมศรัทธาที่วัดเกษแก้ว ที่ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 19 ก็อย่าห่างไกลจากหมู่บ้านพอควร ดังนั้นที่ท้ายหมู่บ้านได้มีกู่เก่า หรือพระธาตุเก่าแก่เดิมเรียกว่า “กู่ดงสมเปียง” ทางชุมชนจึงมีศรัทธาอันแรงกล้าที่จะรื้อฟื้นพระพุทธศาสนาแห่งนี้ ใหเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นที่ปฏิบัติธรรมใกล้ ๆ ชุมชน จึงได้ร่วมกันบูรณะฟื้นฟูโบราณสถานแห่งนี้ โดย ได้ตั้งชื่อพุทธสถานแห่งใหม่นี้ว่า...”สำนักสงฆ์ขุนหาญลานธรรม”...
    เกือบพร้อมใช้งานแล้ว !! การก่อสร้างถนนเลี่ยงเมือง สู่เชียงแสน แก้ปัญหาหารจราจรที่จะหนาแน่นในอนาคต รองรับการขนส่งสินค้า พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขยายโครงข่ายระบบคมนาคมในภูมิภาคในพื้นที่ 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ
    เชียงราย ได้รับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเมืองเพื่อเป็นศูนย์กลางภาคเหนือตอนบนและประตูทางการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการพัฒนาการจราจรและการขนส่งในพื้นที่ 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจจากจีนตอนใต้ผ่าน สปป.ลาว ไทย เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย โดยใช้ศักยภาพโลจิสติกส์ทางน้ำคือท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 และถนนอาร์สามเอ ไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้
    ทำให้แนวโน้มการจราจรใน จ.เชียงราย จะมีความหนาแน่นยิ่งขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาเส้นทางดังกล่าวอย่างเหมาะสม
    กรมทางหลวงชนบทเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาในอนาคตจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างครั้งนี้เพื่อให้มีถนนเลี่ยงเมือง ซึ่งคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาและประหยัดเวลาในการเดินทางรวมถึงลดอุบัติเหตุได้ รวมถึงรองรับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าด้วย ขณะเดียวกันสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขยายโครงข่ายระบบคมนาคมในภูมิภาค
    -อย่างน้อยช่วงก่อนที่จะมีการเปิดอย่างเป็นทางการของถนนสายนี้ ที่นี่จะเหมาะแก่การวิ่ง และปั่นจักรยานออกกำลังกายครับ...วิ่งกันต่อก่อนที่จะมีรถ ยานพาหนะขนส่ง ในระบบโลจิสติกที่หนาแน่นบนถนนสายนี้...แต่ช่วงนี้จะขอใช้เป็นที่ออกกำลังกายกันก่อนนะครับ...
    ....”ที่นี่คือทุ่งกอด ในสมัยเด็ก ๆ ผมมาช่วยพ่อแม่ มาทำนา ทำไร่ข้าวโพดที่นี่...แต่ตอนนี้ภาพเก่า ๆ ไม่มีอีกแล้ว มีแต่ไร่สัปปะรดที่กว้างสุดลูกหูลูกตา”...
    ...สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป วิถีชีวิตของผู้คนในชุมมชนเปลี่นแปลงไป ตามกาลเวลา แต่สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนไปก็คือ ความสามัคคี ยิ้มแย้มแจ่มใส ความมีอัธยาศรัยไม่ตรีของคนในชุมชน ทุกคนยังให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้าน สำหรับผมแล้ววิถีชีวิตอาจจะเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไป นั่นก็คือ ..วันนี้ผมได้อยู่ใกล้ ๆ กับคุณแม่ ผมจะขอดูแลท่านจนถึงที่สุด....ผมให้สัญญาครับแม่....!!!
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 1

  • @MaKaTurk
    @MaKaTurk 5 ปีที่แล้ว

    ขอชื่นชมเลยครับพี่