ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
ดูต่างชาติพูดไทยได้มาหลายคนแล้ว นอกจากความสามารถทางภาษาแล้ว สิ่งที่เห็นเพิ่ม คือ บุคคลจะเปลี่ยนเป็นคล้ายคนไทยไปด้วย รวมถึงยิ้มเก่งขึ้นกันแทบทุกคน
ใช่ๆ ผมว่าเวลาพวกเขาพูดถึงประเทศไทยแล้วพวกเขามักจะยิ้มและหัวเราะตลอดเลยอ่ะ🤣🤣🤣
ใช่เวลาเราพูดภาษาอื่นเราก็จะมีท่าทางกริยาไปทางเขาเช่นกัน
ใช่เลยครับ มากกว่าแค่ภาษาเฉยๆ
จริงครับเวลาผมพูดภาษาญี่ปุ่นผมรู้สึกเป็นคนจริงจังมากเลย
จริงครับ
เท่าที่วิเคราะห์ตามความรู้สึกนะคะ 'จะ' สามารถใช้ได้หลายความหมายหรือบริบทที่ใช้ 1. จะ = อยาก/แสดงความต้องการ เธอจะให้(ฉัน)ไปด้วยไม? (อยาก)จะกินข้าวหรือขนมปัง? 2. จะ = will ฉันจะไปดูหนังฉันจะไปนอนฉันจะไปกินข้าว 3.กำลังจะ + กริยา = V.+ ing ฉันกำลังจะไปฉันกำลังจะกินฉันกำลังจะนอน 4. จะ = ถ้า (ใช้ในเชิงแสดงความคิดเห็นกับเหตุการณ์นั้นๆ) (ถ้า)จะว่าไปแล้วก็ดี(ถ้า)จะทำอย่างนั้นก็ได้ 5.ถ้า......แล้ว จะ....หรอ? (ใช้ในเชิงคำถาม ความรู้สึกสงสัย/ไม่แน่ใจ/ประหลาดใจ) จะดีหรอ? จะนอนหรอ? จะกินหรอ? 6. ยังจะ..../ คงยังจะ... = ยืนกราน ฉันพูดแล้วเธอยังจะทำอีกหรอ? ถึงเขาไม่เห็นคุณค่า ฉันก็ยังจะทำดีต่อไป7. น่าจะ/ควรจะ = should เธอน่าจะไปด้วยกันเธอควรจะพักผ่อน 8. อาจจะ = มีความเป็นไปได้ (may be ) เขาอาจจะพูดภาษาไทยเก่งมากก็ได้ผมอาจจะไปกับคุณ 9.มักจะ = ส่วนใหญ่เขามักจะชอบกินขนมมากกว่าข้าวเขามักจะชอบนอนดึก
จริงๆ มีเยอะกว่านี้อีก ว่าจะ / ท่าจะ / ดูจะ / เหมือนจะ / คงจะ / ที่จะ / ฯลฯ
เอาง่ายๆ จะ ใช้ได้ ทุกสถานการณ์ 555
งงจ้า ชั้นเป็นคนไทยก็งง 555555
มีจะจะ ด้วยนะครับ 55 ยิ่งอ่านยิ่งงง
เอาจริงถ้าจะยัด จะ เข้าไปในประโยคมันก็ยัดได้เกือบหมดเเหละค่ะ555
เช้านี้ฉันได้ยินเสียงไก่"ขัน" จึงรู้สึก"ขัน"ยิ่งนัก หลังจากนั้นไปอาบน้ำโดยใช้"ขัน" อาบเสร็จออกจากห้องน้ำไม่ได้ เลยให้พ่อเอาไขควงมา"ขัน"ประตู ( ขัน ในที่นี้ แปลได้ 4 ความหมาย )
หลักสำคัญของแต่ละภาษาคือสามารถสื่อสารได้ประสบผลสำเร็จ ยิ่งถ้าเป็นคนต่างชาติพูดภาษาไทยแล้วสามารถสื่อสารรู้เรื่องแม้สำเนียงการออกเสียงจะเพี้ยนไปบ้าง แต่คนไทยส่วนมากจะมองว่าน่ารักดีครับ โดยรวมแล้วสองคนสามารถพูดสื่อสารได้เข้าใจทั้งคู่ครับ
จะบ้าหรือ จะดีหรือ มันเป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนครับ ถ้าเป็นหนังสือทางการจะไม่มีคำเหล่านี้ ขอชื่นชมทั้งสองคนสุดยอดมาก ตั้งข้อสังเกตุได้ดีมาก
ทึ่จริงแล้ว ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์นะคะแต่ใช้คำว่า หลักภาษา แทน เพราะว่า ไม่ค่อยมีหลักที่ตายตัว ภาษาไทยเป็นภาษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ตัวอักษรไม่มาก สะกดคำไม่ยากโดยผิวเผินแต่หากการเข้าใจอย่างลึกซึ้งนั้นทำได้ยากอย่างไรก็ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งคู่ต่อไปนะคะพูดเก่งขึ้นมากๆเลยค่ะ
แต่ถ้าผิดไปตัวนึงชีวิตเปลี่ยนเลย เช่น รูปถ่าย=รูถ่าย 5555 หรือ รูป วง บางทีกะเผลออ่านเป็น รู ปวง 😂😂
@@china5210 ภาษาไทยต้องใช้เซนส์นิดนึง แล้วแต่ว่าพูดถึงอะไรอยู่ เหมือนถามว่ากินข้าวยัง เราก็รู้ได้ไม่ต้องถามกลับว่ากินข้าว เช้า กลางวันหรือเย็น
ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์เหรอ เรื่องยากเนี่ย สำหรับเราที่เรียนญี่ปุ่นกับอังกฤษมา เราว่าภาษาไทยยากสุดมันมีระดับภาษาไทยแท้ กับระดับภาษาไทยตามยุคสมัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และถ้าในแบบประจำวัน มันผิดหลักไทยแท้เยอะแต่คนใช้กันสะดวกกว่าอยากแนะนำว่า ถ้าอยากรู้จักภาษาไทยแท้อาจจะต้องอ่านพวกวรรณกรรม หรือนิยายที่ใช้ภาษาอย่างถูกหลักการภาษาไทยอยู่เราว่าภาษาไทยยากที่มันมีวิธีในการดัดแปลงคำเยอะมาก... มากเกินไป...
ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์ว่าซ่าน 555 มันจะไม่มีได้ไง อย่างน้อยก็ Present tense อะ
ไวยกรณ์ แปลว่า หลักการใช้ภาษา ค่ะ 😂 ฉันชอบ และ ชอบฉัน ก็ความหมายต่างกัน ถ้าอิงตามหลักไวยกรณ์ประธาน+กริยา ฉันชอบ I likeส่วนชอบฉัน คือ ประโยคนี้ละ ประธานไว้ someone like me ไวยกรณ์ไทย หรือ grammar บางคนแบ่งเป็นสรุปๆได้ 7 อย่าง แต่ถ้าแบ่งเป็นหมวดหน้าที่แบ่งได้ 22 หมวดแน่ะค่ะที่เราเคยเรียนสมัยเด็กๆ ไงคะ ประธาน กริยา กรรม สรรพนาม บุพบท คำวิเศษณ์ ฯลฯ
ได้ยินคุณพายุพูด ก ไก่ ข ไข่ ค ควาย ชัดแล้วตกใจมาก เพราะคนต่างชาติมักแยกเสียงสามคำนี้ไม่ได้ แต่คุณพายุออกเสียงชัดเป๊ะสุดๆ พอรู้ว่าคุณครูสอนยังไงก็เข้าใจเลย เก่งกันทั้งคู่เลยค่ะ555555555
คุณพายุให้คะแนนการพูดภาษาไทยอยู่ที่ 9.8 คุณเคนจิให้ 9.5ค่ะ ทั้งสองคนเก่งมากๆ คุณพายุนี่หลับตาฟังดีๆ นึกว่าคนไทยพูดเลย มีเสียงเพี้ยนนิดเดียวเอง
ดูคลิปนี้เขาใจละ กำลังเรียนภาษาอยู่เหมือนกันค่ะ การจะใช้ภาษาอะไรสักอย่างอาจไม่ต้องเข้าใจทุกอย่างขนาดนั้น ต้องใช้ feeling เป็นหลัก และใช้บ่อยๆ จะเข้าใจบริบทการใช้เอง เช่น จะบ้าเหรอ พูดบ่อยเหมือนกันค่ะ แต่เวลาพูดไม่ได้คิดอะไรขนาดนั้น เหมือนกันกับบ้าเหรอ นั่นแหละค่ะ มีหรือไม่มี จะ ก็ได้
คุณมะม่วง คุณช่วยเปิดซับภาษาญี่ปุ่นได้มั๊ยคะ อยากส่งให้เพื่อนคนญี่ปุ่นดูมาก
ยากก็ช่างเถอะ ภาษาญี่ปุ่นก็ยากมากสำหรับคนไทยค่ะ. แค่พวกเราคนไทยรักคนญี่ปุ่น รักความจริงใจและความตรงไปตรงมาของญี่ปุ่น รักความเป็นญี่ปุ่น เหมือนคนญี่ปุ่นรักคนไทยเช่นนั้น.ศีลเสมอค่ะ.
ภาษาญี่ปุ่นก็ยากมากๆๆๆๆ เช่นกัน เพราะ หลักการวางประโยคมันแปลกกว่าภาษาไทย คือภาษาไทยเรียงประโยคดังนี้ ประธาน + กริยา + กรรม เช่น ฉัน ตี หมาภาษาญี่ปุ่น เรียงประโยคดังนี้ ประธาน + กรรม + กริยา เช่น ฉัน หมา ตีคนไทยก้เลย ง๊ง งง กับระบบภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน จ๊ะ
เจอคันจิญี่ปุ่นเข้าไป ภาษาจีนคือง่ายไปเลย มีฮิรางานะ กับคาตาคานะอีก เสียงขุ่น แล้วระดับภาษานี้ยิ่งกว่าไทยอีก ไทยเติมค่ะ/ครับ ปรับคำนิดหน่อย ญี่ปุ่นรายละเอียดอีกเยอะไปหมด เราคนนึงที่พอก่อน😅
ใช่ค่ะ .. คล้ายๆ ภ. อังกฤษ แต่ยากกว่าต้องเอาคำ adverb adjective ซ้อนเข้าก่อนหน้าคำที่ขยาย .. ถ้าขยายทั้งกริยา ทั้งนาม.. ทำเอาไปไม่เป็นเลยค่ะเท่าที่ทราบ ภ. พม่า ก็เหมือนกันค่ะ 😁😅😅
อ่านยากมาก พูดก็มีระดับการใช้
ใช่ค่ะ คำว่า “ได้” ถ้าเป็น ได้ + v. = อดีตค่ะ // แปลคำว่า “จะดีหรอ” ถูกแล้วค่ะ✔️ เป็น”จะ” ที่เป็นสำนวน ควรจำเป็นประโยคไปเลยดีกว่าค่ะ เก่งมากค่าาา 👏🏻👏🏻👏🏻
ทางนี้คือแบบ.. เรียนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็แบบเเรกๆ ภาษาญี่ปุ่นน่ารัก อักษรก็น่ารักมากจำง่ายด้วย พอเรียนไปเรื่อยๆก็โอเค แต่ที่ยากจนท้อคือคันจิ จำยากจนอยากร้องไห้
ภาษาไทย "คำเดียวกัน" แต่ความหมายต่างกัน จึงยากสำหรับคนต่างชาติ เอาใจช่วยทั้ง 2 หนุ่่มนะคะ ตอนนี้เก่งพอสมควรแล้วค่ะ เพราะคนไทยฟังเข้าใจที่ทั้งสองพูดคุยกัน พยายามต่อไปนะคะ ^______^ เดี๋ยวก็เก่งขึ้น
ถ้าเจอภาษาพื้นเมือง แต่ละภาค บอกเลย ยากกว่าเดิมอีกเท่าตัว สู้ๆครับ
1. ได้+กริยา เช่น ได้ยิน ได้กิน ได้ทำ = โอกาสที่เราได้ทำสิ่งนั้น หรือมีประสบการณ์กับสิ่งนั้น (มีความหมายในเชิงอดีต)eg. ผมได้กินอาหารไทย (เราได้มีประสบการณ์ในการกิน)2. กริยา+ได้ เช่น กินได้ ทำได้ นอนได้ = หมายถึงความสามารถในการทำกริยานั้นๆได้ (be able to... ) eg. ผมกินอาหารไทยได้ (เรามีความสามารถที่จะกิน)ผมกินอาหารไทย = ประโยคบอกเล่า (Present simple tense) ความรู้สึกเหมือนพูดลอยๆ)
เมื่อนำเอาประเพณีและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นกับไทยมาผสมผสานกัน จึงเกิดเป็นสิ่งที่งดงาม ควรค่าแห่งการศึกษาและเรียนรู้ค่ะ ยินดีด้วยนะคะที่คนญี่ปุ่นได้มีวินาทีที่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปลอดภัย ขอให้คุณพระคุ้มครองค่ะ
ตามความคิดผมก็ประมาณนี้(หรือ --> เหรอ --> หรอ) หรอ, เหรอ เป็นภาษาพูดที่เพี้ยนเสียงมาจาก หรือ การใช้มีสองความหมายคือ ใช้ระหว่างตัวเลือก (ปากกา หรือดินสอ), ใช้แสดงความไม่แน่ใจ (ได้หรือ = ได้เหรอ = ได้หรอ)จะ ใช้ในการบอกอนาคต เช่น จะเดิน(ยังไม่เดินอนาคตเดิน), จะนอน(ยังไม่นอนอนาคตนอน), จะเดินไปไหน?(ผู้ถูกถามกำลังเดิน ถามถึงที่จะเดินต่อไป), จะเดินทำไม?(ผู้ถูกถามกำลังเดิน ถามถึงที่จะเดินต่อไป)จะ ใช้แสดงความไม่แน่ใจ เช่น จะเป็นอย่างไร?, จะได้ไหม? = (จะได้หรือ = จะได้เหรอ = จะได้หรอ), จะดีไหม? = (จะดีหรือ = จะดีเหรอ = จะดีหรอ)จะ ใช้แสดงความไม่แน่ใจ ความหมายแฝงในบางกรณีคือ บ่งบอกถึงความเกรงใจต่อคู่สนทนา เช่นQ ยื่นเบียร์ให้ Aส่วน A เกรงใจ QQ: สักหน่อยไหมA: จะดีเหรอ?Q: อืม ดีสิA: ไม่ดีมั้ง?Q: เหอะน่า สักหน่อยA: งั้นก็...หลังจากนั้นด้วยความเกรงใจ (มั้งนะ!) A ก็ดื่มเบียร์กับ Q หมดไป 3 ลังก็ ใช้แสดงถึงความคิด เช่น ก็เป็นไปได้, ก็น่าจะใช่, ก็เหมาะสมเช่นกัน, ก็เพราะว่า, ก็เท่านั้นก็ ใช้แสดงถึงความคิด ความหมายแฝงในบางกรณีคือใช้แสดงการตอบรับคู่สนทนา ซึ่งมักจะมีประโยคต่อท้าย เช่นก็ดี = ก็... ดี (ดี ระดับไม่แย่)ก็ดีนะ = ก็... ดีนะ (ดี ระดับพอใช้ ยอมรับได้)ก็ดีนะเนี่ย! = ก็... ดีนะเนี่ย! (ดี ระดับดี ดีจริง ๆ แต่เมื่อก่อนไม่คิดว่าจะดี บ่งบอกถึงความแปลกใจ)
การจะเข้าใจอารมณ์ของภาษานั้น ๆ ต้องอาศัยประสบการณ์และยากทุกภาษาครับ แต่การใช้เพื่อสื่อสารพื้นฐาน ภาษาไทยไม่ซับซ้อนเพราะไม่มีการเปลี่ยนรูปคำกริยา ไม่สนใจเอกพจน์พหูพจน์ ความยากของภาษาไทยอยู่ที่การออกเสียงสำหรับคนที่ใช้ภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์มาก่อน ข้อดีของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้คำไม่ซ้ำกันมากนักและคำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำสั้น ๆ เพราะใช้เสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันแบ่งความหมายคำ แต่ภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ถ้าคำสั้น ๆ จะมีคำที่มีเสียงซ้ำกันเยอะมาก วิธีแก้ไม่ให้คำซ้ำกันก็ต้องทำให้คำศัพท์แต่ละคำยาวเข้าไว้จะได้ไม่ซ้ำกันซึ่งก็ยากไปอีกแบบครับ
ดูคลิปแล้วนึกถึงคำว่า จะจะ เช่นเห็นจะจะ = เห็นมากับตาตัวเองฉันเห็นรถชนกันจะจะ
ภาษาไทยง่ายนิดเดียว ที่เหลือยากหมด😂😂😁
มีคำว่า เห็นจะจะ ,เจอจะจะ แปลว่าเห็นอย่างชัดเจน ,กระจ่าง,แจ่มแจ้ง 😅
ลืมอีกอย่าง ครูของพายุที่ว่าโหดอ่ะครับ เพราะคนต่างชาติจะออกเสียงตัวสะกดไม่ตรงเพราะหลายเสียงก็ไม่มีในภาษานั้นๆ เลยต้องเรียนรู้เรื่องวิธีการวางลิ้นตามตำแหน่งต่างๆ ในช่องปาก จริง ๆ น่าจะเป็นปัญหาพื้นฐานกับการเรียนภาษาต่างประเทศเลยครับ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า ญี่ปุ่น ของทั้งสองคนมะม่วง: ออกเสียงเป็น "ญี่ปุ่ม" (ยี่-ปุ่ม) ไม่ใช่ "ญี่ปุ่น" (ยี่-ปุ่น) น่าจะติดมาจาก -ん เลยออกเสียงเป็น /ม/ แทนที่จะเป็น /น/ (ใช่ ญี่ปุ่น นี่เอาคำที่ออกเสียงยากมาเรียงคู่กันเลย) ลองสังเกตปากมะม่วงที่ปิดริมฝีปากอ่ะครับ พายุ: ออกเสียงใกล้ Native speaker มากกว่า คือ ยี่-ปุ่น เลย ถึง ยี่ จะมีเสียง /จ/ ออกมานิดๆ แต่ใกล้เคียงแล้ว เพราะตอนออกเสียง ปุ่น พายุเปิดริมฝีปากออก เสียงที่ออกเลยกลายเป็น /น/ (ถูกต้อง) ไม่ใช่ /ม/
คุณครู คงต้องเข้มจริงล่ะค่ะเพราะภาษาไทย ออกเสียงผิดนิดเดียว บางที ความหมายผิดไปไกลเลย อาจสื่อสารผิดพลาด ทำให้บางทีเกิดเป็นเรื่องเสียหายได้ค่ะ เลยฝึกออกโหดหน่อย 😅😅
ภาษาไทยที่ยากอีกเรื่องคือระดับภาษาครับ ทางการ กึ่งทางการ ไม่ทางการ สุภาพ ศาสนา หยาบ ราชาศัพท์
จะ....เป็นอนาคตถูกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกตกใจในปัจจุบัน ซึ่งในความหมายของคำพูด จะดีหรือ..คืออาการสงสัยว่าผลของการกระทำนั้นมันจะออกมาดี/ไม่ดี มันก็เป็นอนาคตงั้ยแม้ว่ามันจะมีผลตามมาในอีกเสียววินาทีก็ตาม มันก็เป็นอนาคต
คุณพายุ ออกเสียงและสำเนียงไทยชัดมากค่ะ
พี่พายุ พูดเหมือนคนไทยแล้วค่ะมะม่วง ก็เก่งค่ะ พูดภาษาไทยเก่งทั้งคู่ค่ะ 😄😄😄😄😄😄😄😄
ภาษาไทยไม่ใช่ง่าย แต่ถ้าพูดได้ ก็สนุกค่ะ5555 เป็นคนไทยเองบางทีก็ลืมเขียนไม่ถูกออกเสียงผิดก็มี ถ้าไม่ฟังก็ไม่รู้เลยว่า คนไทยใช้ "ก็" เยอะมาก "จะ" ก็ใช้เยอะ เอาจริงๆก็ไม่รู้เหมือนกันไวยากรณ์ไทย55555 รู้แค่ ประธาน กริยา กรรม แต่เข้าใจว่ามีเยอะแน่ๆ จะ って言う意味は 将来のことってあってます。他の意味は。。。จะดีหรอ え いいの?จะไปไหน どこに行くの?จะทำอะไร 何をするの? 日本語の “ん“ のようだと思います。二人ともタイ語本当にうまいと思います。これからも応援しますよ頑張ってくださいね!
❤❤❤❤❤ คนญี่ปุ่นน่ารักนิสัยดี ขอให้คุณอยู่ในเมืองไทยอย่างมีความสุข💖💖💖
สนทนากันได้เหมือนคนไทยคุยกันเลย...สำเนียงอาจยังเป็นในแบบที่คนญี่ปุ่นพูด...แต่เชื่อว่าคนไทยเข้ามาดู..รู้สึกสนุก
10:34 เข้าใจถูกแล้วค่ะตัวอย่างถาม : คุณกินอะไรอยู่คะ?- ผมกินอาหารไทยครับ ถาม : เมื่อวานคุณไปเที่ยว ทำอะไรบ้าง?- ผมได้ไปดูการแสดง แล้วก็ได้กินอาหารไทยด้วยครับถาม : คุณกินอาหารไทยได้มั้ยคะ?- ผมกินอาหารไทยได้ ผมกินเผ็ดได้ครับ
คำว่า ญี่ปุ่น คุณพายุ 10 คุณเคนจิ 9 ค่ะ 😆 ก็ คำเชื่อมความแสดงความหมาย ว่าคล้อยตาม เช่น เขาได้ฟังห้ามก็นั่งลง, ใช้เชื่อมคำเพื่อให้ความสมบูรณ์ขึ้น เช่น คนไม่กินเนื้อก็มี, ใช้ประกอบคำอื่น เช่น ก็ดี ก็ได้ ก็ช่าง ก็ตาม ก็แหละ.ส่วนความยากคิดว่ายากทุกภาษาที่ไม่ใช่ภาษาของประเทศตัวเองค่ะ อยู่ที่ความรัก และความตั้งใจล้วน ๆ ถึงจะทำให้เรียนต่อไปได้ค่ะ ขอบคุณทั้งสองคนที่รักภาษาไทยค่ะ 💖💪🏻
พายุ 9 เคนจิ 7.5
สวัสดีคร้าบคุณเอกภาษาไทยและคุณครูเคนจิ.มะม่วง.จริงจ้าเราเป็นคนไทยเรายังว่ายากเลยแต่นี่เป็นคนญี่ปุ่นพูดได้ขนาดนี้ก็สุดยอดแล้วจ้า.ขอขอบคุณนะที่รักในภาษาไทย
คำว่า ญี่ปุ่น ให้คุณพายุ 10, คุณเคนจิ 9 😁 ส่วนความตั้งใจให้ 10 ทั้งสองคนค่ะจะ คือ will (อนาคต)จะดีเหรอ จะบ้าเหรอ น่าจะได้ น่าจะทำ น่าจะดี เป็นเหมือนความก้ำกึ่ง ความไม่มั่นใจ 50/50 หรือเป็นการคาดคะเนของสิ่งที่จะทำ สิ่งที่จะเกิดขึ้น ค่ะ ก็ เป็นคำเชื่อมความแสดงความหมาย ว่าคล้อยตาม เช่น เขาได้ฟังห้ามก็นั่งลง, ใช้เชื่อมคำเพื่อให้ความสมบูรณ์ขึ้น เช่น คนไม่กินเนื้อก็มี, ใช้ประกอบคำอื่น เช่น ก็ดี ก็ได้ ก็ช่าง ก็ตาม ก็แหละ. ค่ะ
ออกเสียง ร เรือ ชัดเชียว คุยรู้เรื่องหมดเลย ไม่ติดขัดนึกคำศัพท์ เก่งมากแล้ว 😄
ฝึกออกเสียงไล่วรรณยุกต์ได้คล่องก็ไปได้ไกลแล้วครับ ส่วนไวยากรณ์ไม่ต้องคิดอะไรมากเรียงตามเหตุการณ์ เหมือนลูกศร ซึ่งต่างจากหลายภาษาที่เป็นรูปซิกแซก ที่เหลือแค่จำคำศัพท์และการใช้ตามบริบท
จะ1.คำช่วยกริยาบอกอนาคต."จะกินจะนอน"2.คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังที่มี จ เป็นพยัญชนะต้น."แจ้งแจ้ง เป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม เป็น จะแจ่ม แปลเหมือนคำเดิม"ได้คำกริยา1.รับมาหรือตกทอดมาเป็นของตัว."ได้รางวัล ได้มรดก"2.อาจ, สามารถ."กินเองได้ เดินได้"ก็สัคำนามแล้ว, จึง, ย่อม."เดิน ๆ อยู่ก็สะดุดล้ม ทำชั่วก็ได้ชั่ว"นิ.เป็นคำนิบาตในบาลีสันสกฤตสำหรับขยาย หรือเน้นความ."อะไร ๆ ก็โยนให้เราทำหมด หรือสำหรับไขความ"
คุณเก่งมาก วิพากษ์วิจารย์คำ ในภาษาไทย ได้ดีกว่าคนไทย
ฟังก็ก็ก็สนุกดี มุมมอง น่ารักๆแบบวัยรุ่น
คำที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันอีก ก็มี-ดีเกินไป (แนวประชด/เสียดสี)-อัยยะ (แนวตกใจ)-ของมันต้องมี/วันศุกร์แห่งชาติ(คนประหยัดต่อต้าน)-อื่นๆ ต้องใช้เวลาในการฟังเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
พายุ พูดชัดมาก..แต่ก็น่ารักยุดีสำหรับคนไทย..
เก่งมากเลย คนญี่ปุ่น2 คนพูดภาษาไทยกัน นับถือเลย 🇹🇭🇯🇵
อธิบายแบบง่ายๆ จะ คือ มีไว้เน้นความต้องการ ตัวเลือกในอนาคต เพราะเราทำทุกอย่างพร้อมกันไม่ได้ เลยมีคำว่า จะ เช่น "ผมจะไปกินข้าว" ใครจะมาขวางไม่ได้ ประมาณนี้
ก็แปลได้หลายอย่างเช่นก็ดีแปลว่าปานกลางพอใช้ได้ ก็ได้แปลว่าเกรงใจเช่นเพื่อนชวนไปเที่ยวไม่อยากไปแต่ไม่อยากขัดใจเลยบอกว่า ไปก็ได้ คำว่าญี่ปุ่นให้คุณพายุ10 คุณมะม่วง9แต่ก็เป็นกำลังใจให้สู้ๆในการเรียนรู้ภาษาไทยต่อไปนะคะ
ฟังคนญี่ปุ่นพูดแล้ว รู้สึกภาษาไทย ก็ยากเหมือนกันนะ ^^
สำเนียงเพื่อนมะม่วงชัดมากค่ะ ตกใจเลย สำเนียงมะม่วงคล้ายๆ แฟนเรา นับถือเก่งทั้ง2คนเลย
พูดได้ขนาดนี้ก็เก่งแล้วครับ สู้ๆ พยายามฝึกพูดบ่อยๆ ก็จะชินเอง
คุยกันได้ละเอียดมาก ก็ก็ ก็ยังให้ความสำคัญ เก่งมาก
เก่งอ่ะทั้งพี่ม่วงและพีพายุ ความเก่งแล้วพอๆกันค่ะ แต่สำเนียงของความชัดของสำเนียง พี่พายุจะออกสำเนียงชัดมากกว่า ฟังโดยรวมแล้วเก่งเท่าๆกันเลยอ่ะค่ะ💕
คุณพายุเข้าใจภาษา ถูกต้อง เยอะเลยค่ะ ที่พูดมาคือถูกต้องแล้วค่ะ
คำว่า จะ ถ้าเอามาใส่กับประโยค เช่น น่าจะกินได้ น่าจะใช่ น่าจะอร่อย น่าจะถูก น่าจะผิด น่าจะชนะ น่าจะแพ้ สรุป คืออนาคต
คนไทยอยากจะใช้ยังไงก็ใช้ บางครั้งไม่มี "ประธาน" หรือ ไม่เป็นประโยค สั้นๆง่ายๆ (จะ ไว้ใช้ในสิ่งที่ยังไม่เกิดส่วนใหญ่จะไว้หน้าคำถาม จะดีหรอ คือ สิ่งที่ทำมันจะดีหรอ จะกินอะไรดี ทำแบบนี้แล้วจะดีเอง พูดรวมๆเลยผมคิดว่า จะ คือคำที่มาก่อนอนาคต อยู่หน้าคำถาม กับ อยู่ระหว่างคำ )
พูดได้แบบนี้ถือว่าเก่งมากแล้วครับ ผมอยากพูดญี่ปุ่นได้ระดับที่คุณพูดไทยนี้ผมก็คงจะพอใจมาก แต่ตอนตอนนี้พูดได้แค่คำศัพท์🤣🤣🤣 สร้างประโยคยังไม่ได้😅😅😅
ไม่รู้จะดูซีเรียสไปไหมคำว่า "ทาน" ไม่ได้แปลว่าเอาอาหารเข้าปากเลย แต่คนไทยส่วนมากคิดว่ามันย่อมาจาก "รับประทาน" เพราะว่า "ทาน" แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ ...สรุปใช้คำว่า กิน ก็สุภาพแล้ว กับ รับประทาน -..-
น่าสนใจมากกับคอนเท็นนี้ครับ การคุยและยกตัวอย่างการใช้คำ / ความหมายของคำเดี่ยวกัน แต่ต่างความหมายออกไป นั่นแสดงถึงคุณได้เรียนรู้ภาษาศาสตร์ที่แตกฉานมากกว่าคนไทยทั่วไปแล้วนะ ขอให้ทำคอนเท็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ มั่นใจว่าจะมีคนไทย คนญี่ปุ่น และคนต่างชาติที่กำลังเรียนรู้ภาษาไทยเข้ามาติดตามเรียนรู้มากขึ้นแน่นอนครับ
คำว่า จะ จริงๆส่วนมากคนไทยจะใช้เป็นคำที่บอกถึงอนาคตค่ะ เช่น จะไป จะกิน จะนอนแต่บางทีก็ต้องดูบริบทของประโยคนั้นๆที่ใช้ด้วยแต่ถ้าใช้ในการเขียนบางทีก็จะใช้เป็นคำกร่อน เช่น จะแจ้งหรือ ใช้ในการย้ำคำค่ะ เช่น จะจะ
ทั้งคู่มีความเข้าใจภาษาไทยมากเลย
จะยากไปมั้ย555 ดูคนญี่ปุ่นวิเคราะห์ภาษาไทยได้อย่างลึกซึ้ง เก่งทั้งคู่ค่ะ สำเนียงไม่ชัดนี่เป็นเสน่ห์อย่างนึงนะคะ น่ารักดีค่ะ
คุณพี่เสื้อดำเรียนภาษาไทยลึกซึ้ง เข้าใจหลายอย่าง5555555 เก่งมากๆ ทั้งสองคนค่ะ
พอมาฟังๆดูแล้ว เออ ภาษาไทยยากจริง คำเดียวกัน ต่างรูปประโยค ต่างสถานการณ์ใช้ต่างกันความหมายก็เปลี่ยนเลย
มาถึงจุดที่นั่งวิเคราะห์เชิงลึกขนาดนี้ คุณเดินทางมาไกลมากเลยนะ เพราะสิ่งที่พวกคุณพูดถึง มันคือสิ่งที่คนไทยพูดกันในชีวิตประจำวันจริงๆ ไม่ใช่เหมือนในตำรา 👍
"จะบ้าเหรอ"...ตอนนี้ยังไม่บ้า อนาคตจะบ้าใช่มั้ย 5555ขำหนักมาก ภาษาไทยฟิลลิ่งเยอะจริงๆ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่รวมความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้นทั้งอาหารไทย จึงมีความหลากหลายวัฒนธรรมเมนู และ ภาษาไทยจึงรวมหลายภาษามาไว้ในภาษาไทย
เก่งมากๆแล้วค่ะ ภาษามีไว้เพื่อสื่อสารพูดแล้วฟังเข้าใจถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ...ฝึกพูดออกเสียงช้าๆเดี๋ยวก็เก่งแล้วค่ะ.. เสียงต่ำต่างชาติจะพูดได้ยาก สู้ๆค่ะ
คลิปนี้เสียงซาวด์ดังไปครับ กลบเสียงคุยหมดเลย
ทางเข้า ทานเข้า เออมันยากจริงๆ คนไทยยังงงเลย แต่ส่วนมากคนไทย "กินข้าว" มากกว่า ไม่ได้ดูหยาบไป ใช้ได้ทุกคน
ภาษาไทยยากตรงตัวอักษร การออกเสียง การอ่าน แต่ไวยากรณ์พื้นฐานง่ายนะคะ เช่น กิน ก็แค่กิน future=จะ V.ing=กำลัง past=แล้ว แต่ลองนึกถึงverb ญี่ปุ่น มีหลายรูป ต้องมาแยก เช่นอันนี้V.1 送ります พูดภาษาธรรมดาเป็น 送る อยากให้เป็น te form ชั้นต้องตัดますออกแล้วเติม ってแล้วจะได้เป็น 送って คือมันจำเยอะก็งงนะคะแล้วถ้าคุณเจอฝรั่งเศส ที่สุดของความผันกริยา เช่น ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเขา คำว่ากิน แม่มมม คนละกิน ผันกริยาทุกคำแล้วบวกfuture past เพิ่มอีก ก็ต้องผันดับเบิ้ลเข้าไป โอ้ยยยย เลิกเรียนจ้า
จะเอาไหม.. จะดูไหม.. จะดีไหม.. จะผิดไหม.. จะดีหรือ( จะ ) มักใช้ขึ้นต้นเป็นประโยคคำถาม
คำว่าก็และคำว่าจะ ส่วนใหญ่ใช้เป็นคำขยายอีกที มักแสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย เช่น ก็ดีนะ ก็สวยนะ หมายถึงการแบ่งรับแบ่งสู้หรือแสดงความเกรงใจไม่กล้าพูดตรงๆ ส่วนจะ หลายครั้งที่การแปลความหมายจะขึ้นกับบริบทด้วยประกอบกับน้ำเสียง เช่น จะบ้าเหรอ ถ้าน้ำเสียงแข็งจะหมายถึงต่อว่าจริงๆ แต่ถ้าเสียงอ่อนหรือประกอบกับมีเสียงหัวเราะเล็กน้อยจะหมายถึงเอ็นดูหรือเขินก็ได้
แค่นี้ก็ฟังรุ้แล้วครับเก่งๆ
สองท่านนี้ถ้าชาวญี่ปุ่นผ่านมาเจอคงคิดว่าไม่ใช่คนญี่ปุ่นคงคิดว่าเป็นชาวต่างชาติไปเลย.สองท่านเก่งมากๆครับ.ภาษาไทยเทพมากรู้มากกว่าผมที่เป็นเจ้าของภาษาเสียอีก.
ทำให้ได้ทั้ง4ประการเลยนะครับคือ ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน😊😊 เป็นกำลังใจให้คร้าบบ❤❤😂😂
มะม่วง กับ พายุ ก็ ใช่คำว่า " ก็ " หลายครั้งเหมือนกันนะคะ ははは( คำพ้องเสียง 555)
โหวคุณมะม่วงและเพื่อนเป็นต่างชาติพูดเขียนได้ขนาดนี้ก็เก่งมากนะครับ ค่อยๆเรียนไปครับ พอเราเจอช่วงยากๆมันจะทำให้เราเก่งครับ
พูดภาษาไทยเก่งมากเลยค่ะ พูดชัดเจน เข้าใจง่ายมากๆ
ພາສາລາວ ภาษาลาว มีตัวอักษรน้อยกว่า และนิยมสื่อสารตรงๆ เข้าใจง่ายกว่าภาษาไทยเยอะเลย สองภาษานี้ใกล้เคียงกันที่สุดแล้ว สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ล่ามภาษาภาษาไทยไม่ได้ใช้ตัว Romanji อย่างมีกฎตายตัวและแพร่หลายแบบภาษาญี่ปุ่น ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของคนต่างชาติพอสมควร
รับเอาพวกบาลี สันสกฤต ที่ไม่ใกล้เคียงไท-กระไดเดิมมาเยอะเกิน จริงๆโคตรไม่จำเป็นเลยทำให้มันซับซ้อนเกินความจำเป็น
ที่ไทยตัวอักษรเยอะ ส่วนนึงเพราะเป็นตัวอักษรที่เอาไว้ใช้กับภาษาต่างชาติค่ะ เพื่อแยกได้ว่าคำนี้คำไทยแท้ คำนี้คำจากภาษาต่างประเทศ นอกจากตัวอักษรก็มีวรรณยุกต์ด้วย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะ มันทำให้เรารู้ที่มาที่ไป แล้วก็จริงตัวอักษรพวกนี้มีเสียงของมันเอง เสียงไม่ซ้ำกันเลย แต่คนยุคนี้ออกเสียงไม่ได้
@@yujilee112 จะได้รู้ว่าไม่ใช่ภาษาไทยไง รู้ที่มาที่ไป เขียนตามต้นฉบับ เพื่อให้รู้ว่าต้นฉบับออกเสียงยังไงด้วย และก็เพราะมีอักษรเยอะแบบนี้แหละทำให้คนไทยเลียนเสียงภาษาต่างประเทศได้ค่อนข้างเยอะ คำไทยมีไม่เยอะทำให้ไม่มีคำที่เอามาอธิบายความหมายได้ เลยยืมคำมา นอกจากภาษาไท ยสำเนียงกรุงเทพฯ ลองไปดูพิจิตร พิษณุโลก มีเสียงที่คนกทม.ออกเสียงไม่ได้อยู่ด้วยเพราะทางนั้นเขายังออกเสียงตามตัวอักษรแบบดั่งเดิมอยู่ ภาษาบาลี-สันสกฤต ถ้าเทียบก็เหมือนตัวหนังสือจีน หรือตัวคันจิในอักษรญี่ปุ่น มันไม่ใช่อักษรภาพแบบเขาแต่สิ่งที่คล้ายกันคือ แค่เห็นรูปการสะกดเราก็รู้แล้วว่าหมายถึงอะไร เช่นคำว่า บุคลากร ถ้าอธิบายคำนี้ในภาษาไทยมันจะยาวมาก เราถึงต้องเปิดพจนานุกรมเพื่อดูความหมายเต็มๆ เราคนไทยเองก็เข้าใจได้แต่อธิบายไม่ถูก ตัวอักษรพวกนั้นไม่ได้ไร้ประโยชน์หรอก เสียง ๊ ๋ ก็สร้างมาเพราะใช้แทนเสียงภาษาต่างชาติ ที่เป็นปัญหาเพราะวิธีการสอนภาษาไทยของคนไทยทำให้เราไม่เห็นประโยชน์แล้วมองว่าภาษาไทยยาก
@@yujilee112 ภาษาบาลี - สันสกฤต ไม่จำเป็นยังไง ในเมื่อวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ มันหาคำไทยแท้ยาก ก็ต้องยืมภาษาเค้ามา เพราะเค้าเจริญมาก่อน นี่ยังดีที่ภาษาไทยยังเหลือคำไทยแท้ตั้ง 50% ให้พวกเราได้คุยกันแบบบ้านๆ 55
พายุเก่งอะ วรรณยุกต์ดีเลยนะ
เก่งมากค่ะ พวกคุณสุดยอดมาก รักเลย
พอคิดตามที่คุยๆกันมาจริงๆ ก็งงไปด้วยเลยค่ะ บางครั้งเราก็เคยชินกับมันจนไม่ทันนึกว่า เออ คำเดียวกันพอมาอยู่ในต่างบริบทต่างรูปประโยคแล้วมันเปลี่ยน อธิบายให้ไม่ถูกเลยเนี่ย
พวกคุณเก่งมากจริงๆ นับถือ
คุณทั้ง.2..สองพูด.ภาษาไทย.เก่ง..แล้ว..ก่อนนั้น.คง.จะ...ปวดหัว..ฮิๆ..รัก.ฅน.ญี่ปุ่น.โดย.เฉพราะ.คุณ.ทั้งสอง.นำ.เสนอ.ดี.ครับ.สวัสดี.ครับ.
ตอนนี้ กำลังสอนภาษาไทยให้คนพม่า ยากจริง ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนเลย
*จะ* _เป็นคำช่วยกริยาบอกอนาคต. เช่น. จะไป , จะอยู่_
ภาษาไทยยากมาก ภาษาญี่ปุ่นก็ยากนะ แต่ขอบคุณที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นไทย เป็นกำลังใจให้ครับ💕💕🤟🤟💕💕
ทั้งสองเก่งภาษาไทยแล้ว
สนุกดีค่ะ ฟังมุมของคนที่เรียนภาษาแล้ว เราคนใช้ภาษาไทยทุกวันเพิ่งจะรู้สึกสงสัยเหมือนกัน 555 อยากรู้ว่าอะไรที่ทำให้พี่ๆยังเรียนภาษาไทยต่อ ทั้งที่รู้สึกว่ายากคะ เพราะตัวเองก็กำลังเรียนภาษาเหมือนกัน อยากได้เป็นกำลังใจค่ะ☺️
คุณพายุนี่เก่งมากเลยนะคะ พยายามทำความเข้าใจภาษาไทยในรูปแบบที่ลึกซึ้งกว่าข้อความหรือตัวอักษร 😁
พังลืนหูมากครับ 9/10
คนไทยใช้ภาษาไทยจนชิน บางทีคนที่อื่นมาจี้จุดไรบางอย่าง คนไทยบางทีก็คาดไม่ถึงนะครับ ชอบครับผมน่ารักทั้ง2คนเลยครับ
รู้สึกว่าที่คุณมะม่วงกับคุณพายุพูดในคลิปนี้ก็เก่งมากๆแล้วนะคะ ถ้าไม่ซีเรียสเรื่องหลักภาษา สามารถดูคลิปจนจบโดยที่ไม่ได้ติดขัดอะไรเลยค่ะ
ฟัง คุย สนุกดี และ ถ้าเข้าใจจริงๆ ไม่ยากครับ ...อยากรู้จัก
การใช้ภาษาในบางครั้ง เราอาจไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายในทุกๆ คำขนาดนั้นก็ได้ เพียงแต่เราหยิบมาใช้ให้ถูกสถานการณ์หรือเหตุการณ์ก็ถือว่าสื่อสารได้มีประสิทธิภาพแล้ว ในความเห็นส่วนตัวคำว่า “จะ” ไม่ว่าจะตามด้วย verb เช่น จะกิน จะนอน จะไปเที่ยว จะทำอะไรก็แล้วแต่ หรือจะตามด้วย adj. เช่น จะดีเหรอ จะสวยมั้ย จะบ้าตาย ก็ล้วนแต่สื่อถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้ทั้งสิ้นนะ ถ้ามีคำว่า “เหรอ” หรือ “หรอ” เข้ามาก็เหมือนคำถาม “จะดีเหรอ” = Is it gonna be ok? ส่วน “จะบ้าตาย” ก็คล้ายๆ คำที่บอกความรู้สึกของคนพูดว่าการที่เค้าเจอเหตุการณ์ที่เค้าเล่ามาก่อนหน้าเนี่ย ทำให้เค้าประสาทเสียเหมือนจะเป็นบ้า (แต่ไม่ได้แปลว่าจะเป็นบ้าจริงๆ นะ) ไม่รู้ว่ายิ่งอธิบายจะยิ่งทำให้งงมั้ย 😂😂😂
ร้องเพลง " ลิ้นติดไฟ" ได้....จะน่ายกย่องมากครับ
ภาษาญี่ปุ่นก็ยากนะคะ มีฮิรางานะ คาตาคานะ คินจิ อีก เมื่อเทียบกับภาษาไทย คำพูด คำเขียนเหมือนกัน แต่ภาษาญี่ปุ่น มีคันจิกำกับ ต้องจำเยอะมาก จำไม่ได้ค่ะ 55
จะ หมายถึง เริ่มกระทำ หรือไปทำสิ่งๆนั้น
คำว่า ได้กิน กินได้ ดุณมะม่วงเข้าใจความหมายถูกต้อง คำว่า ก็ คุณมะม่วงก็เข้าใจถูกต้อง ส่วนคำว่า จะ คุณพายุก็เข้าใจความหมายถูกต้องครับ
ถ้าลงลึกจริงๆมันก็ยากจริงๆแหละครับ ขนาดคนไทยยังสอบตกกันเลยคับ😁😁😁
แขกรับเชิญน่ารักจัง
ทั้งสองคนเก่งจังเลยค่ะ ละเอียดมาก ตบมือให้เลย
บางทีเห็นคำสั้นๆอย่าง จะ แล้วไปรวมกับคนอื่นมันอาจจะเป็นคำความหมายใหม่ไปเลยนะแนะนำว่าถามคนไทย แล้วจำแบบนี้ไปดีกว่าจะได้ไม่ งง ไม่ต้องไปตีความหมายจากคำว่า จะ อย่างเดียวเช่น จะดีเหรอ หมายถึง แน่ใจเหรอ หรือ ยืนยัน เป็นต้น
ดูต่างชาติพูดไทยได้มาหลายคนแล้ว นอกจากความสามารถทางภาษาแล้ว สิ่งที่เห็นเพิ่ม คือ บุคคลจะเปลี่ยนเป็นคล้ายคนไทยไปด้วย รวมถึงยิ้มเก่งขึ้นกันแทบทุกคน
ใช่ๆ ผมว่าเวลาพวกเขาพูดถึงประเทศไทยแล้วพวกเขามักจะยิ้มและหัวเราะตลอดเลยอ่ะ🤣🤣🤣
ใช่เวลาเราพูดภาษาอื่นเราก็จะมีท่าทางกริยาไปทางเขาเช่นกัน
ใช่เลยครับ มากกว่าแค่ภาษาเฉยๆ
จริงครับเวลาผมพูดภาษาญี่ปุ่นผมรู้สึกเป็นคนจริงจังมากเลย
จริงครับ
เท่าที่วิเคราะห์ตามความรู้สึกนะคะ 'จะ' สามารถใช้ได้หลายความหมายหรือบริบทที่ใช้
1. จะ = อยาก/แสดงความต้องการ
เธอจะให้(ฉัน)ไปด้วยไม?
(อยาก)จะกินข้าวหรือขนมปัง?
2. จะ = will
ฉันจะไปดูหนัง
ฉันจะไปนอน
ฉันจะไปกินข้าว
3.กำลังจะ + กริยา = V.+ ing
ฉันกำลังจะไป
ฉันกำลังจะกิน
ฉันกำลังจะนอน
4. จะ = ถ้า (ใช้ในเชิงแสดงความคิดเห็นกับเหตุการณ์นั้นๆ)
(ถ้า)จะว่าไปแล้วก็ดี
(ถ้า)จะทำอย่างนั้นก็ได้
5.ถ้า......แล้ว จะ....หรอ? (ใช้ในเชิงคำถาม ความรู้สึกสงสัย/ไม่แน่ใจ/ประหลาดใจ)
จะดีหรอ? จะนอนหรอ? จะกินหรอ?
6. ยังจะ..../ คงยังจะ... = ยืนกราน
ฉันพูดแล้วเธอยังจะทำอีกหรอ?
ถึงเขาไม่เห็นคุณค่า ฉันก็ยังจะทำดีต่อไป
7. น่าจะ/ควรจะ = should
เธอน่าจะไปด้วยกัน
เธอควรจะพักผ่อน
8. อาจจะ = มีความเป็นไปได้ (may be )
เขาอาจจะพูดภาษาไทยเก่งมากก็ได้
ผมอาจจะไปกับคุณ
9.มักจะ = ส่วนใหญ่
เขามักจะชอบกินขนมมากกว่าข้าว
เขามักจะชอบนอนดึก
จริงๆ มีเยอะกว่านี้อีก ว่าจะ / ท่าจะ / ดูจะ / เหมือนจะ / คงจะ / ที่จะ / ฯลฯ
เอาง่ายๆ จะ ใช้ได้ ทุกสถานการณ์ 555
งงจ้า ชั้นเป็นคนไทยก็งง 555555
มีจะจะ ด้วยนะครับ 55 ยิ่งอ่านยิ่งงง
เอาจริงถ้าจะยัด จะ เข้าไปในประโยคมันก็ยัดได้เกือบหมดเเหละค่ะ555
เช้านี้ฉันได้ยินเสียงไก่"ขัน" จึงรู้สึก"ขัน"ยิ่งนัก หลังจากนั้นไปอาบน้ำโดยใช้"ขัน" อาบเสร็จออกจากห้องน้ำไม่ได้ เลยให้พ่อเอาไขควงมา"ขัน"ประตู ( ขัน ในที่นี้ แปลได้ 4 ความหมาย )
หลักสำคัญของแต่ละภาษาคือสามารถสื่อสารได้ประสบผลสำเร็จ ยิ่งถ้าเป็นคนต่างชาติพูดภาษาไทยแล้วสามารถสื่อสารรู้เรื่องแม้สำเนียงการออกเสียงจะเพี้ยนไปบ้าง แต่คนไทยส่วนมากจะมองว่าน่ารักดีครับ โดยรวมแล้วสองคนสามารถพูดสื่อสารได้เข้าใจทั้งคู่ครับ
จะบ้าหรือ จะดีหรือ มันเป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนครับ ถ้าเป็นหนังสือทางการจะไม่มีคำเหล่านี้ ขอชื่นชมทั้งสองคนสุดยอดมาก ตั้งข้อสังเกตุได้ดีมาก
ทึ่จริงแล้ว ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์นะคะ
แต่ใช้คำว่า หลักภาษา แทน
เพราะว่า ไม่ค่อยมีหลักที่ตายตัว
ภาษาไทยเป็นภาษาที่เรียนรู้ได้ง่าย ตัวอักษรไม่มาก สะกดคำไม่ยากโดยผิวเผิน
แต่หากการเข้าใจอย่างลึกซึ้งนั้นทำได้ยาก
อย่างไรก็ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งคู่ต่อไปนะคะ
พูดเก่งขึ้นมากๆเลยค่ะ
แต่ถ้าผิดไปตัวนึงชีวิตเปลี่ยนเลย เช่น รูปถ่าย=รูถ่าย 5555 หรือ รูป วง บางทีกะเผลออ่านเป็น รู ปวง 😂😂
@@china5210 ภาษาไทยต้องใช้เซนส์นิดนึง แล้วแต่ว่าพูดถึงอะไรอยู่ เหมือนถามว่ากินข้าวยัง เราก็รู้ได้ไม่ต้องถามกลับว่ากินข้าว เช้า กลางวันหรือเย็น
ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์เหรอ
เรื่องยากเนี่ย สำหรับเราที่เรียนญี่ปุ่นกับอังกฤษมา เราว่าภาษาไทยยากสุด
มันมีระดับภาษาไทยแท้ กับระดับภาษาไทยตามยุคสมัยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และถ้าในแบบประจำวัน มันผิดหลักไทยแท้เยอะแต่คนใช้กันสะดวกกว่า
อยากแนะนำว่า ถ้าอยากรู้จักภาษาไทยแท้อาจจะต้องอ่านพวกวรรณกรรม หรือนิยายที่ใช้ภาษาอย่างถูกหลักการภาษาไทยอยู่
เราว่าภาษาไทยยากที่มันมีวิธีในการดัดแปลงคำเยอะมาก... มากเกินไป...
ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์ว่าซ่าน 555 มันจะไม่มีได้ไง อย่างน้อยก็ Present tense อะ
ไวยกรณ์ แปลว่า หลักการใช้ภาษา ค่ะ 😂 ฉันชอบ และ ชอบฉัน ก็ความหมายต่างกัน ถ้าอิงตามหลักไวยกรณ์
ประธาน+กริยา ฉันชอบ I like
ส่วนชอบฉัน คือ ประโยคนี้ละ ประธานไว้ someone like me
ไวยกรณ์ไทย หรือ grammar บางคนแบ่งเป็นสรุปๆได้ 7 อย่าง แต่ถ้าแบ่งเป็นหมวดหน้าที่แบ่งได้ 22 หมวดแน่ะค่ะ
ที่เราเคยเรียนสมัยเด็กๆ ไงคะ ประธาน กริยา กรรม สรรพนาม บุพบท คำวิเศษณ์ ฯลฯ
ได้ยินคุณพายุพูด ก ไก่ ข ไข่ ค ควาย ชัดแล้วตกใจมาก เพราะคนต่างชาติมักแยกเสียงสามคำนี้ไม่ได้ แต่คุณพายุออกเสียงชัดเป๊ะสุดๆ พอรู้ว่าคุณครูสอนยังไงก็เข้าใจเลย เก่งกันทั้งคู่เลยค่ะ555555555
คุณพายุให้คะแนนการพูดภาษาไทยอยู่ที่ 9.8 คุณเคนจิให้ 9.5ค่ะ ทั้งสองคนเก่งมากๆ คุณพายุนี่หลับตาฟังดีๆ นึกว่าคนไทยพูดเลย มีเสียงเพี้ยนนิดเดียวเอง
ดูคลิปนี้เขาใจละ กำลังเรียนภาษาอยู่เหมือนกันค่ะ การจะใช้ภาษาอะไรสักอย่างอาจไม่ต้องเข้าใจทุกอย่างขนาดนั้น ต้องใช้ feeling เป็นหลัก และใช้บ่อยๆ จะเข้าใจบริบทการใช้เอง เช่น จะบ้าเหรอ พูดบ่อยเหมือนกันค่ะ แต่เวลาพูดไม่ได้คิดอะไรขนาดนั้น เหมือนกันกับบ้าเหรอ นั่นแหละค่ะ มีหรือไม่มี จะ ก็ได้
คุณมะม่วง คุณช่วยเปิดซับภาษาญี่ปุ่นได้มั๊ยคะ อยากส่งให้เพื่อนคนญี่ปุ่นดูมาก
ยากก็ช่างเถอะ ภาษาญี่ปุ่นก็ยากมากสำหรับคนไทยค่ะ. แค่พวกเราคนไทยรักคนญี่ปุ่น รักความจริงใจและความตรงไปตรงมาของญี่ปุ่น รักความเป็นญี่ปุ่น เหมือนคนญี่ปุ่นรักคนไทยเช่นนั้น.ศีลเสมอค่ะ.
ภาษาญี่ปุ่นก็ยากมากๆๆๆๆ เช่นกัน เพราะ หลักการวางประโยคมันแปลกกว่าภาษาไทย คือ
ภาษาไทยเรียงประโยคดังนี้ ประธาน + กริยา + กรรม เช่น ฉัน ตี หมา
ภาษาญี่ปุ่น เรียงประโยคดังนี้ ประธาน + กรรม + กริยา เช่น ฉัน หมา ตี
คนไทยก้เลย ง๊ง งง กับระบบภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน จ๊ะ
เจอคันจิญี่ปุ่นเข้าไป ภาษาจีนคือง่ายไปเลย มีฮิรางานะ กับคาตาคานะอีก เสียงขุ่น แล้วระดับภาษานี้ยิ่งกว่าไทยอีก ไทยเติมค่ะ/ครับ ปรับคำนิดหน่อย ญี่ปุ่นรายละเอียดอีกเยอะไปหมด เราคนนึงที่พอก่อน😅
ใช่ค่ะ .. คล้ายๆ ภ. อังกฤษ แต่ยากกว่า
ต้องเอาคำ adverb adjective ซ้อนเข้าก่อนหน้าคำที่ขยาย .. ถ้าขยายทั้งกริยา ทั้งนาม.. ทำเอาไปไม่เป็นเลยค่ะ
เท่าที่ทราบ ภ. พม่า ก็เหมือนกันค่ะ 😁😅😅
อ่านยากมาก พูดก็มีระดับการใช้
ใช่ค่ะ คำว่า “ได้” ถ้าเป็น ได้ + v. = อดีตค่ะ // แปลคำว่า “จะดีหรอ” ถูกแล้วค่ะ✔️ เป็น”จะ” ที่เป็นสำนวน ควรจำเป็นประโยคไปเลยดีกว่าค่ะ เก่งมากค่าาา 👏🏻👏🏻👏🏻
ทางนี้คือแบบ.. เรียนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็แบบเเรกๆ ภาษาญี่ปุ่นน่ารัก อักษรก็น่ารักมากจำง่ายด้วย พอเรียนไปเรื่อยๆก็โอเค แต่ที่ยากจนท้อคือคันจิ จำยากจนอยากร้องไห้
ภาษาไทย "คำเดียวกัน" แต่ความหมายต่างกัน จึงยากสำหรับคนต่างชาติ เอาใจช่วยทั้ง 2 หนุ่่มนะคะ ตอนนี้เก่งพอสมควรแล้วค่ะ เพราะคนไทยฟังเข้าใจที่ทั้งสองพูดคุยกัน พยายามต่อไปนะคะ ^______^ เดี๋ยวก็เก่งขึ้น
ถ้าเจอภาษาพื้นเมือง แต่ละภาค บอกเลย ยากกว่าเดิมอีกเท่าตัว สู้ๆครับ
1. ได้+กริยา เช่น ได้ยิน ได้กิน ได้ทำ = โอกาสที่เราได้ทำสิ่งนั้น หรือมีประสบการณ์กับสิ่งนั้น (มีความหมายในเชิงอดีต)
eg. ผมได้กินอาหารไทย (เราได้มีประสบการณ์ในการกิน)
2. กริยา+ได้ เช่น กินได้ ทำได้ นอนได้ = หมายถึงความสามารถในการทำกริยานั้นๆได้ (be able to... )
eg. ผมกินอาหารไทยได้ (เรามีความสามารถที่จะกิน)
ผมกินอาหารไทย = ประโยคบอกเล่า (Present simple tense) ความรู้สึกเหมือนพูดลอยๆ)
เมื่อนำเอาประเพณีและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นกับไทยมาผสมผสานกัน จึงเกิดเป็นสิ่งที่งดงาม ควรค่าแห่งการศึกษาและเรียนรู้ค่ะ ยินดีด้วยนะคะที่คนญี่ปุ่นได้มีวินาทีที่ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ปลอดภัย ขอให้คุณพระคุ้มครองค่ะ
ตามความคิดผมก็ประมาณนี้
(หรือ --> เหรอ --> หรอ) หรอ, เหรอ เป็นภาษาพูดที่เพี้ยนเสียงมาจาก หรือ การใช้มีสองความหมายคือ ใช้ระหว่างตัวเลือก (ปากกา หรือดินสอ), ใช้แสดงความไม่แน่ใจ (ได้หรือ = ได้เหรอ = ได้หรอ)
จะ ใช้ในการบอกอนาคต เช่น จะเดิน(ยังไม่เดินอนาคตเดิน), จะนอน(ยังไม่นอนอนาคตนอน), จะเดินไปไหน?(ผู้ถูกถามกำลังเดิน ถามถึงที่จะเดินต่อไป), จะเดินทำไม?(ผู้ถูกถามกำลังเดิน ถามถึงที่จะเดินต่อไป)
จะ ใช้แสดงความไม่แน่ใจ เช่น จะเป็นอย่างไร?, จะได้ไหม? = (จะได้หรือ = จะได้เหรอ = จะได้หรอ), จะดีไหม? = (จะดีหรือ = จะดีเหรอ = จะดีหรอ)
จะ ใช้แสดงความไม่แน่ใจ ความหมายแฝงในบางกรณีคือ บ่งบอกถึงความเกรงใจต่อคู่สนทนา เช่น
Q ยื่นเบียร์ให้ A
ส่วน A เกรงใจ Q
Q: สักหน่อยไหม
A: จะดีเหรอ?
Q: อืม ดีสิ
A: ไม่ดีมั้ง?
Q: เหอะน่า สักหน่อย
A: งั้นก็...
หลังจากนั้นด้วยความเกรงใจ (มั้งนะ!) A ก็ดื่มเบียร์กับ Q หมดไป 3 ลัง
ก็ ใช้แสดงถึงความคิด เช่น ก็เป็นไปได้, ก็น่าจะใช่, ก็เหมาะสมเช่นกัน, ก็เพราะว่า, ก็เท่านั้น
ก็ ใช้แสดงถึงความคิด ความหมายแฝงในบางกรณีคือใช้แสดงการตอบรับคู่สนทนา ซึ่งมักจะมีประโยคต่อท้าย เช่น
ก็ดี = ก็... ดี (ดี ระดับไม่แย่)
ก็ดีนะ = ก็... ดีนะ (ดี ระดับพอใช้ ยอมรับได้)
ก็ดีนะเนี่ย! = ก็... ดีนะเนี่ย! (ดี ระดับดี ดีจริง ๆ แต่เมื่อก่อนไม่คิดว่าจะดี บ่งบอกถึงความแปลกใจ)
การจะเข้าใจอารมณ์ของภาษานั้น ๆ ต้องอาศัยประสบการณ์และยากทุกภาษาครับ แต่การใช้เพื่อสื่อสารพื้นฐาน ภาษาไทยไม่ซับซ้อนเพราะไม่มีการเปลี่ยนรูปคำกริยา ไม่สนใจเอกพจน์พหูพจน์ ความยากของภาษาไทยอยู่ที่การออกเสียงสำหรับคนที่ใช้ภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์มาก่อน ข้อดีของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้คำไม่ซ้ำกันมากนักและคำศัพท์ส่วนใหญ่เป็นคำสั้น ๆ เพราะใช้เสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันแบ่งความหมายคำ แต่ภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ถ้าคำสั้น ๆ จะมีคำที่มีเสียงซ้ำกันเยอะมาก วิธีแก้ไม่ให้คำซ้ำกันก็ต้องทำให้คำศัพท์แต่ละคำยาวเข้าไว้จะได้ไม่ซ้ำกันซึ่งก็ยากไปอีกแบบครับ
ดูคลิปแล้วนึกถึงคำว่า จะจะ เช่น
เห็นจะจะ = เห็นมากับตาตัวเอง
ฉันเห็นรถชนกันจะจะ
ภาษาไทยง่ายนิดเดียว ที่เหลือยากหมด😂😂😁
มีคำว่า เห็นจะจะ ,เจอจะจะ แปลว่าเห็นอย่างชัดเจน ,กระจ่าง,แจ่มแจ้ง 😅
ลืมอีกอย่าง ครูของพายุที่ว่าโหดอ่ะครับ เพราะคนต่างชาติจะออกเสียงตัวสะกดไม่ตรงเพราะหลายเสียงก็ไม่มีในภาษานั้นๆ เลยต้องเรียนรู้เรื่องวิธีการวางลิ้นตามตำแหน่งต่างๆ ในช่องปาก จริง ๆ น่าจะเป็นปัญหาพื้นฐานกับการเรียนภาษาต่างประเทศเลยครับ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า ญี่ปุ่น ของทั้งสองคน
มะม่วง: ออกเสียงเป็น "ญี่ปุ่ม" (ยี่-ปุ่ม) ไม่ใช่ "ญี่ปุ่น" (ยี่-ปุ่น) น่าจะติดมาจาก -ん เลยออกเสียงเป็น /ม/ แทนที่จะเป็น /น/ (ใช่ ญี่ปุ่น นี่เอาคำที่ออกเสียงยากมาเรียงคู่กันเลย) ลองสังเกตปากมะม่วงที่ปิดริมฝีปากอ่ะครับ
พายุ: ออกเสียงใกล้ Native speaker มากกว่า คือ ยี่-ปุ่น เลย ถึง ยี่ จะมีเสียง /จ/ ออกมานิดๆ แต่ใกล้เคียงแล้ว เพราะตอนออกเสียง ปุ่น พายุเปิดริมฝีปากออก เสียงที่ออกเลยกลายเป็น /น/ (ถูกต้อง) ไม่ใช่ /ม/
คุณครู คงต้องเข้มจริงล่ะค่ะ
เพราะภาษาไทย ออกเสียงผิดนิดเดียว บางที ความหมายผิดไปไกลเลย อาจสื่อสารผิดพลาด ทำให้บางทีเกิดเป็นเรื่องเสียหายได้ค่ะ เลยฝึกออกโหดหน่อย 😅😅
ภาษาไทยที่ยากอีกเรื่องคือระดับภาษาครับ ทางการ กึ่งทางการ ไม่ทางการ สุภาพ ศาสนา หยาบ ราชาศัพท์
จะ....เป็นอนาคตถูกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกตกใจในปัจจุบัน ซึ่งในความหมายของคำพูด จะดีหรือ..คืออาการสงสัยว่าผลของการกระทำนั้นมันจะออกมาดี/ไม่ดี มันก็เป็นอนาคตงั้ยแม้ว่ามันจะมีผลตามมาในอีกเสียววินาทีก็ตาม มันก็เป็นอนาคต
คุณพายุ ออกเสียงและสำเนียงไทยชัดมากค่ะ
พี่พายุ พูดเหมือนคนไทยแล้วค่ะ
มะม่วง ก็เก่งค่ะ พูดภาษาไทยเก่งทั้งคู่ค่ะ 😄😄😄😄😄😄😄😄
ภาษาไทยไม่ใช่ง่าย แต่ถ้าพูดได้ ก็สนุกค่ะ5555 เป็นคนไทยเองบางทีก็ลืมเขียนไม่ถูกออกเสียงผิดก็มี ถ้าไม่ฟังก็ไม่รู้เลยว่า คนไทยใช้ "ก็" เยอะมาก "จะ" ก็ใช้เยอะ เอาจริงๆก็ไม่รู้เหมือนกันไวยากรณ์ไทย55555 รู้แค่ ประธาน กริยา กรรม แต่เข้าใจว่ามีเยอะแน่ๆ
จะ って言う意味は 将来のことってあってます。他の意味は。。。
จะดีหรอ え いいの?
จะไปไหน どこに行くの?
จะทำอะไร 何をするの?
日本語の “ん“ のようだと思います。
二人ともタイ語本当にうまいと思います。
これからも応援しますよ
頑張ってくださいね!
❤❤❤❤❤ คนญี่ปุ่นน่ารักนิสัยดี ขอให้คุณอยู่ในเมืองไทยอย่างมีความสุข💖💖💖
สนทนากันได้เหมือนคนไทยคุยกันเลย...สำเนียงอาจยังเป็นในแบบที่คนญี่ปุ่นพูด...แต่เชื่อว่าคนไทยเข้ามาดู..รู้สึกสนุก
10:34 เข้าใจถูกแล้วค่ะ
ตัวอย่าง
ถาม : คุณกินอะไรอยู่คะ?
- ผมกินอาหารไทยครับ
ถาม : เมื่อวานคุณไปเที่ยว ทำอะไรบ้าง?
- ผมได้ไปดูการแสดง แล้วก็ได้กินอาหารไทยด้วยครับ
ถาม : คุณกินอาหารไทยได้มั้ยคะ?
- ผมกินอาหารไทยได้ ผมกินเผ็ดได้ครับ
คำว่า ญี่ปุ่น คุณพายุ 10 คุณเคนจิ 9 ค่ะ 😆
ก็ คำเชื่อมความแสดงความหมาย ว่าคล้อยตาม เช่น เขาได้ฟังห้ามก็นั่งลง, ใช้เชื่อมคำเพื่อให้ความสมบูรณ์ขึ้น เช่น คนไม่กินเนื้อก็มี, ใช้ประกอบคำอื่น เช่น ก็ดี ก็ได้ ก็ช่าง ก็ตาม ก็แหละ.
ส่วนความยากคิดว่ายากทุกภาษาที่ไม่ใช่ภาษาของประเทศตัวเองค่ะ อยู่ที่ความรัก และความตั้งใจล้วน ๆ ถึงจะทำให้เรียนต่อไปได้ค่ะ ขอบคุณทั้งสองคนที่รักภาษาไทยค่ะ 💖💪🏻
พายุ 9 เคนจิ 7.5
สวัสดีคร้าบคุณเอกภาษาไทยและคุณครูเคนจิ.มะม่วง.จริงจ้าเราเป็นคนไทยเรายังว่ายากเลยแต่นี่เป็นคนญี่ปุ่นพูดได้ขนาดนี้ก็สุดยอดแล้วจ้า.ขอขอบคุณนะที่รักในภาษาไทย
คำว่า ญี่ปุ่น ให้คุณพายุ 10, คุณเคนจิ 9 😁 ส่วนความตั้งใจให้ 10 ทั้งสองคนค่ะ
จะ คือ will (อนาคต)
จะดีเหรอ จะบ้าเหรอ น่าจะได้ น่าจะทำ น่าจะดี เป็นเหมือนความก้ำกึ่ง ความไม่มั่นใจ 50/50 หรือเป็นการคาดคะเนของสิ่งที่จะทำ สิ่งที่จะเกิดขึ้น ค่ะ
ก็ เป็นคำเชื่อมความแสดงความหมาย ว่าคล้อยตาม เช่น เขาได้ฟังห้ามก็นั่งลง, ใช้เชื่อมคำเพื่อให้ความสมบูรณ์ขึ้น เช่น คนไม่กินเนื้อก็มี, ใช้ประกอบคำอื่น เช่น ก็ดี ก็ได้ ก็ช่าง ก็ตาม ก็แหละ. ค่ะ
ออกเสียง ร เรือ ชัดเชียว คุยรู้เรื่องหมดเลย ไม่ติดขัดนึกคำศัพท์ เก่งมากแล้ว 😄
ฝึกออกเสียงไล่วรรณยุกต์ได้คล่องก็ไปได้ไกลแล้วครับ ส่วนไวยากรณ์ไม่ต้องคิดอะไรมากเรียงตามเหตุการณ์ เหมือนลูกศร ซึ่งต่างจากหลายภาษาที่เป็นรูปซิกแซก ที่เหลือแค่จำคำศัพท์และการใช้ตามบริบท
จะ
1.
คำช่วยกริยาบอกอนาคต.
"จะกินจะนอน"
2.
คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังที่มี จ เป็นพยัญชนะต้น.
"แจ้งแจ้ง เป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม เป็น จะแจ่ม แปลเหมือนคำเดิม"
ได้
คำกริยา
1.
รับมาหรือตกทอดมาเป็นของตัว.
"ได้รางวัล ได้มรดก"
2.
อาจ, สามารถ.
"กินเองได้ เดินได้"
ก็
สัคำนาม
แล้ว, จึง, ย่อม.
"เดิน ๆ อยู่ก็สะดุดล้ม ทำชั่วก็ได้ชั่ว"
นิ.
เป็นคำนิบาตในบาลีสันสกฤตสำหรับขยาย หรือเน้นความ.
"อะไร ๆ ก็โยนให้เราทำหมด หรือสำหรับไขความ"
คุณเก่งมาก วิพากษ์วิจารย์คำ ในภาษาไทย ได้ดีกว่าคนไทย
ฟังก็ก็ก็สนุกดี มุมมอง น่ารักๆแบบวัยรุ่น
คำที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันอีก ก็มี
-ดีเกินไป (แนวประชด/เสียดสี)
-อัยยะ (แนวตกใจ)
-ของมันต้องมี/วันศุกร์แห่งชาติ(คนประหยัดต่อต้าน)
-อื่นๆ ต้องใช้เวลาในการฟัง
เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
พายุ พูดชัดมาก..
แต่ก็น่ารักยุดี
สำหรับคนไทย..
เก่งมากเลย คนญี่ปุ่น2 คนพูดภาษาไทยกัน นับถือเลย 🇹🇭🇯🇵
อธิบายแบบง่ายๆ จะ คือ มีไว้เน้นความต้องการ ตัวเลือกในอนาคต เพราะเราทำทุกอย่างพร้อมกันไม่ได้ เลยมีคำว่า จะ
เช่น "ผมจะไปกินข้าว" ใครจะมาขวางไม่ได้ ประมาณนี้
ก็แปลได้หลายอย่างเช่นก็ดีแปลว่าปานกลางพอใช้ได้ ก็ได้แปลว่าเกรงใจเช่นเพื่อนชวนไปเที่ยวไม่อยากไปแต่ไม่อยากขัดใจเลยบอกว่า ไปก็ได้ คำว่าญี่ปุ่นให้คุณพายุ10 คุณมะม่วง9แต่ก็เป็นกำลังใจให้สู้ๆในการเรียนรู้ภาษาไทยต่อไปนะคะ
ฟังคนญี่ปุ่นพูดแล้ว รู้สึกภาษาไทย ก็ยากเหมือนกันนะ ^^
สำเนียงเพื่อนมะม่วงชัดมากค่ะ ตกใจเลย สำเนียงมะม่วงคล้ายๆ แฟนเรา นับถือเก่งทั้ง2คนเลย
พูดได้ขนาดนี้ก็เก่งแล้วครับ สู้ๆ พยายามฝึกพูดบ่อยๆ ก็จะชินเอง
คุยกันได้ละเอียดมาก ก็ก็ ก็ยังให้ความสำคัญ เก่งมาก
เก่งอ่ะทั้งพี่ม่วงและพีพายุ ความเก่งแล้วพอๆกันค่ะ แต่สำเนียงของความชัดของสำเนียง พี่พายุจะออกสำเนียงชัดมากกว่า ฟังโดยรวมแล้วเก่งเท่าๆกันเลยอ่ะค่ะ💕
คุณพายุเข้าใจภาษา ถูกต้อง เยอะเลยค่ะ ที่พูดมาคือถูกต้องแล้วค่ะ
คำว่า จะ ถ้าเอามาใส่กับประโยค เช่น น่าจะกินได้ น่าจะใช่ น่าจะอร่อย น่าจะถูก น่าจะผิด น่าจะชนะ น่าจะแพ้ สรุป คืออนาคต
คนไทยอยากจะใช้ยังไงก็ใช้ บางครั้งไม่มี "ประธาน" หรือ ไม่เป็นประโยค สั้นๆง่ายๆ (จะ ไว้ใช้ในสิ่งที่ยังไม่เกิดส่วนใหญ่จะไว้หน้าคำถาม จะดีหรอ คือ สิ่งที่ทำมันจะดีหรอ จะกินอะไรดี ทำแบบนี้แล้วจะดีเอง พูดรวมๆเลยผมคิดว่า จะ คือคำที่มาก่อนอนาคต อยู่หน้าคำถาม กับ อยู่ระหว่างคำ )
พูดได้แบบนี้ถือว่าเก่งมากแล้วครับ ผมอยากพูดญี่ปุ่นได้ระดับที่คุณพูดไทยนี้ผมก็คงจะพอใจมาก แต่ตอนตอนนี้พูดได้แค่คำศัพท์🤣🤣🤣 สร้างประโยคยังไม่ได้😅😅😅
ไม่รู้จะดูซีเรียสไปไหม
คำว่า "ทาน" ไม่ได้แปลว่าเอาอาหารเข้าปากเลย แต่คนไทยส่วนมากคิดว่ามันย่อมาจาก "รับประทาน" เพราะว่า "ทาน" แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ ...
สรุปใช้คำว่า กิน ก็สุภาพแล้ว กับ รับประทาน -..-
น่าสนใจมากกับคอนเท็นนี้ครับ การคุยและยกตัวอย่างการใช้คำ / ความหมายของคำเดี่ยวกัน แต่ต่างความหมายออกไป นั่นแสดงถึงคุณได้เรียนรู้ภาษาศาสตร์ที่แตกฉานมากกว่าคนไทยทั่วไปแล้วนะ ขอให้ทำคอนเท็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ มั่นใจว่าจะมีคนไทย คนญี่ปุ่น และคนต่างชาติที่กำลังเรียนรู้ภาษาไทยเข้ามาติดตามเรียนรู้มากขึ้นแน่นอนครับ
คำว่า จะ จริงๆส่วนมากคนไทยจะใช้เป็นคำที่บอกถึงอนาคตค่ะ เช่น จะไป จะกิน จะนอน
แต่บางทีก็ต้องดูบริบทของประโยคนั้นๆที่ใช้ด้วย
แต่ถ้าใช้ในการเขียนบางทีก็จะใช้เป็นคำกร่อน เช่น จะแจ้ง
หรือ ใช้ในการย้ำคำค่ะ เช่น จะจะ
ทั้งคู่มีความเข้าใจภาษาไทยมากเลย
จะยากไปมั้ย555 ดูคนญี่ปุ่นวิเคราะห์ภาษาไทยได้อย่างลึกซึ้ง เก่งทั้งคู่ค่ะ สำเนียงไม่ชัดนี่เป็นเสน่ห์อย่างนึงนะคะ น่ารักดีค่ะ
คุณพี่เสื้อดำเรียนภาษาไทยลึกซึ้ง เข้าใจหลายอย่าง5555555 เก่งมากๆ ทั้งสองคนค่ะ
พอมาฟังๆดูแล้ว เออ ภาษาไทยยากจริง คำเดียวกัน ต่างรูปประโยค ต่างสถานการณ์ใช้ต่างกันความหมายก็เปลี่ยนเลย
มาถึงจุดที่นั่งวิเคราะห์เชิงลึกขนาดนี้ คุณเดินทางมาไกลมากเลยนะ เพราะสิ่งที่พวกคุณพูดถึง มันคือสิ่งที่คนไทยพูดกันในชีวิตประจำวันจริงๆ ไม่ใช่เหมือนในตำรา 👍
"จะบ้าเหรอ"...ตอนนี้ยังไม่บ้า อนาคตจะบ้าใช่มั้ย 5555ขำหนักมาก
ภาษาไทยฟิลลิ่งเยอะจริงๆ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่รวมความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนั้นทั้งอาหารไทย จึงมีความหลากหลายวัฒนธรรมเมนู และ ภาษาไทยจึงรวมหลายภาษามาไว้ในภาษาไทย
เก่งมากๆแล้วค่ะ ภาษามีไว้เพื่อสื่อสารพูดแล้วฟังเข้าใจถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ...ฝึกพูดออกเสียงช้าๆเดี๋ยวก็เก่งแล้วค่ะ.. เสียงต่ำต่างชาติจะพูดได้ยาก สู้ๆค่ะ
คลิปนี้เสียงซาวด์ดังไปครับ กลบเสียงคุยหมดเลย
ทางเข้า ทานเข้า เออมันยากจริงๆ คนไทยยังงงเลย แต่ส่วนมากคนไทย "กินข้าว" มากกว่า ไม่ได้ดูหยาบไป ใช้ได้ทุกคน
ภาษาไทยยากตรงตัวอักษร การออกเสียง การอ่าน แต่ไวยากรณ์พื้นฐานง่ายนะคะ เช่น กิน ก็แค่กิน future=จะ V.ing=กำลัง past=แล้ว
แต่ลองนึกถึงverb ญี่ปุ่น มีหลายรูป ต้องมาแยก เช่นอันนี้V.1 送ります พูดภาษาธรรมดาเป็น 送る อยากให้เป็น te form ชั้นต้องตัดますออกแล้วเติม ってแล้วจะได้เป็น 送って คือมันจำเยอะก็งงนะคะ
แล้วถ้าคุณเจอฝรั่งเศส ที่สุดของความผันกริยา เช่น ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกเขา คำว่ากิน แม่มมม คนละกิน ผันกริยาทุกคำแล้วบวกfuture past เพิ่มอีก ก็ต้องผันดับเบิ้ลเข้าไป โอ้ยยยย เลิกเรียนจ้า
จะเอาไหม.. จะดูไหม.. จะดีไหม.. จะผิดไหม.. จะดีหรือ( จะ ) มักใช้ขึ้นต้นเป็นประโยคคำถาม
คำว่าก็และคำว่าจะ ส่วนใหญ่ใช้เป็นคำขยายอีกที มักแสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วย เช่น ก็ดีนะ ก็สวยนะ หมายถึงการแบ่งรับแบ่งสู้หรือแสดงความเกรงใจไม่กล้าพูดตรงๆ ส่วนจะ หลายครั้งที่การแปลความหมายจะขึ้นกับบริบทด้วยประกอบกับน้ำเสียง เช่น จะบ้าเหรอ ถ้าน้ำเสียงแข็งจะหมายถึงต่อว่าจริงๆ แต่ถ้าเสียงอ่อนหรือประกอบกับมีเสียงหัวเราะเล็กน้อยจะหมายถึงเอ็นดูหรือเขินก็ได้
แค่นี้ก็ฟังรุ้แล้วครับ
เก่งๆ
สองท่านนี้ถ้าชาวญี่ปุ่นผ่านมาเจอคงคิดว่าไม่ใช่คนญี่ปุ่นคงคิดว่าเป็นชาวต่างชาติไปเลย.สองท่านเก่งมากๆครับ.ภาษาไทยเทพมากรู้มากกว่าผมที่เป็นเจ้าของภาษาเสียอีก.
ทำให้ได้ทั้ง4ประการเลยนะครับคือ ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน😊😊 เป็นกำลังใจให้คร้าบบ❤❤😂😂
มะม่วง กับ พายุ ก็ ใช่คำว่า " ก็ " หลายครั้งเหมือนกันนะคะ ははは( คำพ้องเสียง 555)
โหวคุณมะม่วงและเพื่อนเป็นต่างชาติพูดเขียนได้ขนาดนี้ก็เก่งมากนะครับ ค่อยๆเรียนไปครับ พอเราเจอช่วงยากๆมันจะทำให้เราเก่งครับ
พูดภาษาไทยเก่งมากเลยค่ะ พูดชัดเจน เข้าใจง่ายมากๆ
ພາສາລາວ ภาษาลาว มีตัวอักษรน้อยกว่า และนิยมสื่อสารตรงๆ เข้าใจง่ายกว่าภาษาไทยเยอะเลย สองภาษานี้ใกล้เคียงกันที่สุดแล้ว สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ล่ามภาษา
ภาษาไทยไม่ได้ใช้ตัว Romanji อย่างมีกฎตายตัวและแพร่หลายแบบภาษาญี่ปุ่น ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของคนต่างชาติพอสมควร
รับเอาพวกบาลี สันสกฤต ที่ไม่ใกล้เคียงไท-กระไดเดิมมาเยอะเกิน จริงๆโคตรไม่จำเป็นเลยทำให้มันซับซ้อนเกินความจำเป็น
ที่ไทยตัวอักษรเยอะ ส่วนนึงเพราะเป็นตัวอักษรที่เอาไว้ใช้กับภาษาต่างชาติค่ะ
เพื่อแยกได้ว่าคำนี้คำไทยแท้ คำนี้คำจากภาษาต่างประเทศ นอกจากตัวอักษรก็มีวรรณยุกต์ด้วย ที่สร้างขึ้นมาเพื่อภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะ มันทำให้เรารู้ที่มาที่ไป แล้วก็จริงตัวอักษรพวกนี้มีเสียงของมันเอง เสียงไม่ซ้ำกันเลย แต่คนยุคนี้ออกเสียงไม่ได้
@@yujilee112 จะได้รู้ว่าไม่ใช่ภาษาไทยไง รู้ที่มาที่ไป เขียนตามต้นฉบับ เพื่อให้รู้ว่าต้นฉบับออกเสียงยังไงด้วย และก็เพราะมีอักษรเยอะแบบนี้แหละทำให้คนไทยเลียนเสียงภาษาต่างประเทศได้ค่อนข้างเยอะ คำไทยมีไม่เยอะทำให้ไม่มีคำที่เอามาอธิบายความหมายได้ เลยยืมคำมา นอกจากภาษาไท ยสำเนียงกรุงเทพฯ ลองไปดูพิจิตร พิษณุโลก มีเสียงที่คนกทม.ออกเสียงไม่ได้อยู่ด้วยเพราะทางนั้นเขายังออกเสียงตามตัวอักษรแบบดั่งเดิมอยู่ ภาษาบาลี-สันสกฤต ถ้าเทียบก็เหมือนตัวหนังสือจีน หรือตัวคันจิในอักษรญี่ปุ่น มันไม่ใช่อักษรภาพแบบเขาแต่สิ่งที่คล้ายกันคือ แค่เห็นรูปการสะกดเราก็รู้แล้วว่าหมายถึงอะไร เช่นคำว่า บุคลากร ถ้าอธิบายคำนี้ในภาษาไทยมันจะยาวมาก เราถึงต้องเปิดพจนานุกรมเพื่อดูความหมายเต็มๆ เราคนไทยเองก็เข้าใจได้แต่อธิบายไม่ถูก ตัวอักษรพวกนั้นไม่ได้ไร้ประโยชน์หรอก เสียง ๊ ๋ ก็สร้างมาเพราะใช้แทนเสียงภาษาต่างชาติ
ที่เป็นปัญหาเพราะวิธีการสอนภาษาไทยของคนไทยทำให้เราไม่เห็นประโยชน์แล้วมองว่าภาษาไทยยาก
@@yujilee112 ภาษาบาลี - สันสกฤต ไม่จำเป็นยังไง ในเมื่อวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ มันหาคำไทยแท้ยาก ก็ต้องยืมภาษาเค้ามา เพราะเค้าเจริญมาก่อน นี่ยังดีที่ภาษาไทยยังเหลือคำไทยแท้ตั้ง 50% ให้พวกเราได้คุยกันแบบบ้านๆ 55
พายุเก่งอะ วรรณยุกต์ดีเลยนะ
เก่งมากค่ะ พวกคุณสุดยอดมาก รักเลย
พอคิดตามที่คุยๆกันมาจริงๆ ก็งงไปด้วยเลยค่ะ บางครั้งเราก็เคยชินกับมันจนไม่ทันนึกว่า เออ คำเดียวกันพอมาอยู่ในต่างบริบทต่างรูปประโยคแล้วมันเปลี่ยน อธิบายให้ไม่ถูกเลยเนี่ย
พวกคุณเก่งมากจริงๆ นับถือ
คุณทั้ง.2..สองพูด.ภาษาไทย.เก่ง..แล้ว..ก่อนนั้น.คง.จะ...ปวดหัว..ฮิๆ..รัก.ฅน.ญี่ปุ่น.โดย.เฉพราะ.คุณ.ทั้งสอง.นำ.เสนอ.ดี.ครับ.สวัสดี.ครับ.
ตอนนี้ กำลังสอนภาษาไทยให้คนพม่า
ยากจริง ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนเลย
*จะ* _เป็นคำช่วยกริยาบอกอนาคต. เช่น. จะไป , จะอยู่_
ภาษาไทยยากมาก ภาษาญี่ปุ่นก็ยากนะ แต่ขอบคุณที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นไทย เป็นกำลังใจให้ครับ💕💕🤟🤟💕💕
ทั้งสองเก่งภาษาไทยแล้ว
สนุกดีค่ะ ฟังมุมของคนที่เรียนภาษาแล้ว เราคนใช้ภาษาไทยทุกวันเพิ่งจะรู้สึกสงสัยเหมือนกัน 555
อยากรู้ว่าอะไรที่ทำให้พี่ๆยังเรียนภาษาไทยต่อ ทั้งที่รู้สึกว่ายากคะ เพราะตัวเองก็กำลังเรียนภาษาเหมือนกัน อยากได้เป็นกำลังใจค่ะ☺️
คุณพายุนี่เก่งมากเลยนะคะ พยายามทำความเข้าใจภาษาไทยในรูปแบบที่ลึกซึ้งกว่าข้อความหรือตัวอักษร 😁
พังลืนหูมากครับ 9/10
คนไทยใช้ภาษาไทยจนชิน บางทีคนที่อื่นมาจี้จุดไรบางอย่าง คนไทยบางทีก็คาดไม่ถึงนะครับ ชอบครับผมน่ารักทั้ง2คนเลยครับ
รู้สึกว่าที่คุณมะม่วงกับคุณพายุพูดในคลิปนี้ก็เก่งมากๆแล้วนะคะ ถ้าไม่ซีเรียสเรื่องหลักภาษา สามารถดูคลิปจนจบโดยที่ไม่ได้ติดขัดอะไรเลยค่ะ
ฟัง คุย สนุกดี และ ถ้าเข้าใจจริงๆ ไม่ยากครับ ...อยากรู้จัก
การใช้ภาษาในบางครั้ง เราอาจไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายในทุกๆ คำขนาดนั้นก็ได้ เพียงแต่เราหยิบมาใช้ให้ถูกสถานการณ์หรือเหตุการณ์ก็ถือว่าสื่อสารได้มีประสิทธิภาพแล้ว
ในความเห็นส่วนตัวคำว่า “จะ” ไม่ว่าจะตามด้วย verb เช่น จะกิน จะนอน จะไปเที่ยว จะทำอะไรก็แล้วแต่ หรือจะตามด้วย adj. เช่น จะดีเหรอ จะสวยมั้ย จะบ้าตาย ก็ล้วนแต่สื่อถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในตอนนี้ทั้งสิ้นนะ
ถ้ามีคำว่า “เหรอ” หรือ “หรอ” เข้ามาก็เหมือนคำถาม “จะดีเหรอ” = Is it gonna be ok?
ส่วน “จะบ้าตาย” ก็คล้ายๆ คำที่บอกความรู้สึกของคนพูดว่าการที่เค้าเจอเหตุการณ์ที่เค้าเล่ามาก่อนหน้าเนี่ย ทำให้เค้าประสาทเสียเหมือนจะเป็นบ้า (แต่ไม่ได้แปลว่าจะเป็นบ้าจริงๆ นะ)
ไม่รู้ว่ายิ่งอธิบายจะยิ่งทำให้งงมั้ย 😂😂😂
ร้องเพลง " ลิ้นติดไฟ" ได้....จะน่ายกย่องมากครับ
ภาษาญี่ปุ่นก็ยากนะคะ มีฮิรางานะ คาตาคานะ คินจิ อีก เมื่อเทียบกับภาษาไทย คำพูด คำเขียนเหมือนกัน แต่ภาษาญี่ปุ่น มีคันจิกำกับ ต้องจำเยอะมาก จำไม่ได้ค่ะ 55
จะ หมายถึง เริ่มกระทำ หรือไปทำสิ่งๆนั้น
คำว่า ได้กิน กินได้ ดุณมะม่วงเข้าใจความหมายถูกต้อง คำว่า ก็ คุณมะม่วงก็เข้าใจถูกต้อง ส่วนคำว่า จะ คุณพายุก็เข้าใจความหมายถูกต้องครับ
ถ้าลงลึกจริงๆมันก็ยากจริงๆแหละครับ ขนาดคนไทยยังสอบตกกันเลยคับ😁😁😁
แขกรับเชิญน่ารักจัง
ทั้งสองคนเก่งจังเลยค่ะ ละเอียดมาก ตบมือให้เลย
บางทีเห็นคำสั้นๆอย่าง จะ แล้วไปรวมกับคนอื่นมันอาจจะเป็นคำความหมายใหม่ไปเลยนะ
แนะนำว่าถามคนไทย แล้วจำแบบนี้ไปดีกว่าจะได้ไม่ งง ไม่ต้องไปตีความหมายจากคำว่า จะ อย่างเดียว
เช่น จะดีเหรอ หมายถึง แน่ใจเหรอ หรือ ยืนยัน เป็นต้น