สภาวะยกเว้น: ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 | INTERREGNUM EP.5

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024
  • [ INTERREGNUM - EP.5 สภาวะยกเว้น : ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 ]
    ฝรั่งเศสในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาแล้วหลายครั้งจนแทบจะนับไม่ไหว นั่นคือเหตุผลที่ผมและนักวิชาการด้านสังคม การเมืองและกฎหมายสนใจศึกษาฝรั่งเศส เพราะมันเป็นเสมือนห้องทดลองและคลังความรู้ คลังประสบการณ์ของระบอบการเมืองการปกครองต่างๆ มากมาย มีทั้งข้อสังเกต ข้อที่น่าเรียนรู้จดจำไว้เป็นบทเรียน ข้อพึงระวัง และข้อที่คนรุ่นหลังต้องตระหนักและพึงหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดซ้ำมากมาย ฯลฯ
    แต่พอดแคสท์ (Podcast) วันนี้ผมจะพาไปดูช่วงตัวอย่างของการอ้างถึงสภาวะยกเว้นจำเพราะเจาะจงไปที่การปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789
    การปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 1789 ช่วงรอยต่อของระบอบเก่ากับระบอบใหม่ มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ “สภาวะยกเว้น” นั่นคือ การเปลี่ยนสภาฐานันดรให้กลายเป็นสภาแห่งชาติทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ
    สภาฐานันดร คือ สถาบันทางการเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประกอบไปด้วย ฐานันดรพระ ขุนนาง และฐานันดรที่สาม มาประชุมได้ก็ต่อเมื่อกษัตริย์เรียกประชุม
    แต่ฐานันดรที่สามกลับยึดอำนาจและเปลี่ยนให้เป็นสภาแห่งชาติ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญได้ ทั้งๆที่ตามกฎหมายของระบอบเก่า ไม่สามารถทำได้
    คำอธิบายหนึ่งที่เอามาใช้สนับสนุน คือ คำอธิบายของ Sieyès ที่ว่าเมื่อสถานการณ์จำเป็นเร่งด่วนเรียกร้อง ผู้แทนแบบปกติ ต้องเปลี่ยนเป็นผู้แทนแบบพิเศษ ที่ไม่อยู่ภายใต้กรอบเงื่อนไขใดๆ
    นี่คือการปูทางให้ฐานันดรที่สามขึ้นมามีบทบาททางการเมือง ล้มล้างระบอบเก่า ก่อตั้งระบอบใหม่
    ลองฟังและมาแลกเปลี่ยนกันดูครับ
    #Covid19 #โควิด19 #PokCast #Interregnum
    ฟังรายการ Interregnum ได้หลายช่องทางทั้ง Apple Podcasts / SoundCloud / Spotify / Google podcast / TH-cam
    -----
    สนับสนุนการทำงานของมูลนิธิคณะก้าวหน้า ได้ทางบัญชีธนาคารกรุงศรี ชื่อบัญชีมูลนิธิคณะก้าวหน้า เลขที่บัญชี 493-1-08675-0

ความคิดเห็น • 90