ความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญของกษัตริย์กับการพิจารณาคดีหลุยส์ คาเปต์ | INTERREGNUM EP.8

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024
  • [ INTERREGNUM - EP08 สภาวะยกเว้น: ความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญของกษัตริย์กับการพิจารณาคดีหลุยส์ คาเปต์ ]
    ภายหลังงดใช้รัฐธรรมนูญ 1791 และระงับตำแหน่งกษัตริย์เป็นการชั่วคราวแล้ว มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาชุดใหม่ ในครั้งนี้ได้ขยายสิทธิเลือกตั้งออกไปกว้างขวางมากขึ้น เปลี่ยนชื่อสภาเป็น สภา Convention ผลจากการขยายสิทธิเลือกตั้งนี้เอง ทำให้ได้สมาชิกสภาหัวก้าวหน้าฝ่ายซ้ายเข้ามามากขึ้น
    ในการประชุมสภานัดแรก สภามีมติยกเลิกระบอบกษัตริย์และประกาศให้ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ แบบเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีของหลุยส์ คาเปต์
    ประเด็นปัญหาที่ถูกหยิบยกมาพิจารณาเป็นเรื่องแรกๆ คือ ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว หลุยส์ คาเปต์ หรือ อดีตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จะถูกพิจารณาคดีได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนได้รับรองให้ “องค์พระมหากษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้และเป็นที่เคารพสักการะ”
    สมาชิกสภาได้ถกเถียงในประเด็นดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อน
    ในตอนนี้ จะพาผู้ฟังไปทราบถึงเหตุผล วาทศิลป์ ของสมาชิกสภาแต่ละฝ่ายที่นำมาใช้ตอบโต้กัน
    รวมทั้งพิจารณาเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่ฉบับแรก 27 มิถุนายน 2575 ต่อเนื่องมาถึงฉบับ 10 ธันวาคม 2475, 2489, 2490, 2492 ซึ่งก็มีประเด็นปัญหานี้เช่นเดียวกัน
    ในท้ายที่สุด เอกสิทธิ์และความคุ้มกันขององค์กษัตริย์ที่รัฐธรรมนูญได้มอบให้นั้น คือ ประเด็นปัญหาสำคัญในการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของกษัตริย์ให้สอดคล้องกับประชาธิปไตย ตามระบอบ Constitutional Monarchy
    ขอเรียนเชิญทุกท่านลองฟังรายการ Interregnum ทั้งหมดและมาแลกเปลี่ยนกันดูครับ
    #Covid19 #โควิด19 #PokCast #Interregnum
    -----
    สนับสนุนการทำงานของมูลนิธิคณะก้าวหน้า ได้ทางบัญชีธนาคารกรุงศรี ชื่อบัญชีมูลนิธิคณะก้าวหน้า เลขที่บัญชี 493-1-08675-0

ความคิดเห็น • 46