เสียงต่อนกกวัก นกไก่นา นกเข้าเร็วได้ผลแน่นอน100% เสียงนกกวักร้องหาคู่ เสียงชัด100% นกเข้าเร็วมาก100%

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2024
  • เสียงต่อนกกวัก นกไก่นา นกเข้าเร็วได้ผลแน่นอน100% เสียงนกกวักร้องหาคู่ เสียงชัด100% นกเข้าเร็วมาก100%
    นกกวัก (White-breasted waterhen)
    นกกวักหรือทางภาคอีสานของไทยเรียกว่านกไก่นา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaurornis phoenicurus) เป็นนกน้ำในวงศ์นกอัญชัน (Rallidae) ที่อยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีสีเทาเข้มเหมือนกระดานชนวน ลำตัวสั้น มีใบหน้า อก และท้องขาว ขาและนิ้วยาว อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ มันใจกล้ากว่านกอัญชันชนิดอื่น ๆ จึงมักเห็นก้าวเท้าอย่างช้า ๆ ยกหางตรง ไปในหนองน้ำโล่งหรือแม้แต่ที่ระบายน้ำใกล้ ๆ ถนนที่มีรถวิ่ง มักออกหากินในช่วงฟ้าสางหรือพลบค่ำ เดินหากินบนใบพืชน้ำ เช่น บัว จอก แหน ในฤดูผสมพันธ์คือฤดูฝนหลังเริ่มฝนตก ก็จะร้องเสียงดัง "กวัก ๆ" เป็นเสียงต่ำซ้ำ ๆ ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก
    รายละเอียด
    นกกวักที่โตแล้วโดยมากมีสีเทาเข้มด้านบนและข้าง ๆ มีหน้า คอ อก และท้องขาว ท้องด้านล่าง ๆ และใต้หางมีสีน้ำตาลเหลือง ข้าง ๆ ตัวจะเรียบเพื่อให้เดินผ่านต้นอ้อ ต้นกก หญ้า และพุ่มไม้ไปง่าย ๆ มีขาและนิ้วยาว หางสั้น ปากและขาเหลือง ตัวผู้ตัวเมียคล้าย ๆ กัน ตัวเมียเล็กกว่าเล็กน้อย ลูกนกมีสีจางกว่า ลูกนกที่ขนยังปุยมีสีดำเหมือนกับนกอัญชันทั้งหมด
    นกจัดเป็นสปีชีส์ย่อยหลายสปีชีส์ตามที่อยู่ซึ่งกระจายไปอย่างกว้างขวาง สปีชีส์ย่อยต้นแบบ (nominate) มาจากประเทศศรีลังกาแต่มักใช้ครอบคลุมสปีชีส์ย่อย chinensis ในอินเดียแผ่นดินใหญ่และเขตรอบ ๆ โดยทางทิศตะวันตกไปจนถึงคาบสมุทรอาหรับ และทางทิศตะวันออกจนเกือบถึงญี่ปุ่น สปีชีส์ย่อยที่เหลือมาจากเกาะต่าง ๆ รวมทั้งสปีชีส์ย่อย insularis ในหมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์, สปีชีส์ย่อย midnicobaricus ในหมู่เกาะนิโคบาร์ส่วนกลาง, leucocephala ในเกาะคาร์นิโคบาร์ (ในหมู่เกาะนิโคบาร์), maldivus ในหมู่เกาะมัลดีฟส์, javanicus ในเกาะชวา และ leucomelanus ในเกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะซุนดาน้อย
    ที่อยู่และการกระจายตัว
    ที่อยู่ของนกก็คือหนองน้ำทั่วเอเชียเขตร้อนตั้งแต่ปากีสถานไปจนถึงอินโดนีเซีย มักจะอยู่ในที่ราบแต่ก็พบในเขตภูเขา เช่น ในเมืองพักร้อน Nainital (1,300 เมตร) รัฐอุตตราขัณฑ์ และในเทือกเขา High Range (1,500 ม.) รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย นกอัญชันขนาดใหญ่ยาว 32 ซม. นี้เป็นนกอยู่ประจำในเขตที่อยู่ของมันทั้งหมด มันอาจจะอพยพไปตั้งรกรากใหม่ในที่ใกล้ ๆ เช่น ดังที่พบในเกาะภูเขาไฟรากาตา (Rakata) ในประเทศอินโดนีเซีย แม้โดยมากจะพบใกล้น้ำจืด แต่ก็พบใกล้น้ำกร่อยหรือแม้แต่ที่ฝั่งทะเลเมื่อไม่มีน้ำจืด เช่น ในเกาะภูเขาไฟบาร์เร็น (Barren Island) ของหมู่เกาะอันดามัน
    พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
    นกมักจะเห็นเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่เมื่อค่อย ๆ หากินบนพื้นตามริมหนองน้ำแต่ก็อาจปีนป่ายขึ้นไปบนไม้เตี้ย ๆ เหมือนกัน หางมักจะยกกระตุกไปมาเมื่อเดิน ใช้ปากไซ้ตามโคลนหรือน้ำตื้น ๆ และใช้ตาเพื่องับเอาอาหาร โดยหลักกินแมลง (มีรายงานว่ากินด้วงเป็นจำนวนมาก ปลาเล็ก (ซึ่งมักล้างอย่างระมัดระวังในน้ำ) สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมล็ดพืช เช่น Pithecolobium dulce ในสกุลมะขามเทศ บางครั้งก็หากินในน้ำที่ลึกกว่าด้วย
    ฤดูผสมพันธุ์/ทำรังโดยหลักอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงตุลาคม แต่ก็ต่างกันเฉพาะที่ ๆ ด้วย นกทำรังในที่แห้งบนพื้นระหว่างไม้ของหนองน้ำแล้ววางไข่ 6-7 ฟอง นกจีบกันด้วยการโค้งตัว ถูปาก และงับเบา ๆ ไข่ฟักภายในประมาณ 19 วัน ทั้งตัวผู้ตัวเมียฟักไข่และดูแลลูกนก ลูกนกมักดำลงใต้น้ำเพื่อหนีสัตว์ล่า มีรายงานว่า นกที่โตแล้วจะสร้างรังเพื่อพักอยู่หรือเพื่อฟักไข่ เป็นที่ ๆ ทั้งลูกนกและพ่อแม่จะมาพัก
    นกอัญชันมักจะซ่อนตัว แต่นกกวักกลับมักเห็นในที่โล่ง อาจส่งเสียงดังโดยเฉพาะช่วงฟ้าสางหรือพลบค่ำโดยร้องเสียงต่ำ ๆ มีรายงานว่า สปีชีส์ย่อย insularis ในหมู่เกาะอันดามันร้องเหมือนเป็ด
    วัฒนธรรม
    ชื่อพื้นเมืองของนกนี้มักจะตั้งตามเสียงร้อง เช่น ruak-ruak ในภาษามลายู และ korawakka ในภาษาสิงหล แม้ชื่อที่ตั้งโดยวิธีอื่นก็สามัญเช่นกัน เช่น "Dahuk" ในภาษาเบงกอล (ใช้ในบังกลาเทศและอินเดียในเขตที่พูดเบงกอล) และ "Dauk" (ডাউক) ในภาษาอัสสัม ส่วนในรัฐโอฑิศา มันเรียกว่า "Daahuka" (ଡାହୁକ) โดยเป็นภาษาโอเดีย
    นักเขียนธรรมชาตินิยมชาวสกอตแลนด์ เอ็ดวาร์ด แฮมิลตัน เอตเก็น พรรณนาเสียงนกอย่างขำ ๆ ว่า "มันเริ่มจากร้องเสียงดังลั่นเหมือนทำให้หมีร้องโดยย่างหมีอย่างช้า ๆ เหนือกองไฟใหญ่ แล้วเปลี่ยนอย่างฉับพลันเป็นเสียงใส ๆ โดยร้องซ้ำ ๆ เหมือนกับเสียงคู ๆ ของนกเขา/นกพิราบ"
    White-breasted waterhen
    The white-breasted waterhen (Amaurornis phoenicurus) is a waterbird of the rail and crake family, Rallidae, that is widely distributed across South and Southeast Asia. They are dark slaty birds with a clean white face, breast and belly. They are somewhat bolder than most other rails and are often seen stepping slowly with their tail cocked upright in open marshes or even drains near busy roads. They are largely crepuscular in activity and during the breeding season, just after the first rains, make loud and repetitive croaking calls.
    Adult white-breasted waterhens have mainly dark grey upperparts and flanks, and a white face, neck and breast. The lower belly and undertail are cinnamon coloured. The body is flattened laterally to allow easier passage through the reeds or undergrowth.
    ที่มา : th.wikipedia.o...%...
    According to the website : en.wikipedia.o....
    #เสียงนกกวักเสียงนกไก่นาความคมชัดสูง

ความคิดเห็น • 13