EP.31 การเขียนกราฟตำแหน่งการโคจรของดาวเคราะห์วงนอก ม.6

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 3 ต.ค. 2024
  • Ep. 31 การเขียนกราฟตำแหน่งในวงโคจรและตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์วงนอก
    สวัสดีครับนักเรียนทุกคน/เมื่อนักเรียนคำนวณการหามุม ณ ตำแหน่งการโคจรของโลกและดาวเคราะห์
    เราก็จะได้ข้อมูลในตารางดังนี้ครับ
    เมื่อเราลงจุดครบทุกตำแหน่ง กราฟที่ได้ก็จะออกมามาประมาณนี้ครับ จากกราฟเราก็จะทราบว่า ดาวอังคารมีมุมห่าง 180 องศา ทั้งทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกครับ
    จริงๆแล้วก็คือ 0 องศานั้นแหละครับแต่เนื่องจากจุดหมุนอยู่ ณ ตำแหน่งโลกและเมื่อโลกอยู่ตรงกลางมุมห่างจึงทำมุม 180 องศายังไงละครับ
    จากกราฟเราจะสังเกตเห็นว่าเส้นกราฟจะกลับมาตำแหน่งเดิม ประมาณ 775 วันหลังจากวันเริ่มต้นแสดงว่ารูปแบบวงโคจรนี้มีระยะเวลาประมาณ 775 วันครับ รูปแบบการโคจรของดาวเคราะห์วงนอกจึงมีลักษณะใกล้เคียงหรือมีรูปแบบเดียวกับการโคจรของดาวอังคารครับ เราลองมาดูกราฟการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงกันครับ จากภาพนักเรียนสังเกตเส้นกราฟแต่ละเส้นจะพบเส้นกราฟ 2 เส้นที่มีมุมห่างไม่ถึง 180 องศา นั้นก็แสดงว่าเป็นดาวเคราะห์วงใน กราฟทั้ง 2 เส้นนั้นก็คือ เส้นทางการโคจรของดาวพุธกับดาวศุกร์นั้นเองครับ และเส้นกราฟที่มีมุมห่างถึง 180 องศาก็คือ เส้นทางการโคจรของดาวเคราะห์วงนอก ทั้ง ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์และดาวศุกร์ ครับ
    การโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงมีความหมายอย่างไรเราค่อยมาศึกษากันต่อในคาบหน้าครับ
    /เพราะทุกอย่างที่เป็นเหตุและผล วิทยาศาสตร์มีคำตอบ แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ

ความคิดเห็น •