ทำไม..!! ต้องใส่ไดโอด ขนานกับ ขดลวด , รีเลย์ , มอเตอร์ ????

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 ก.ย. 2022
  • สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY
    หลายๆครั้งเราเคยได้ยินว่า อุปกรณ์ที่เป็นพวก ขดลวด รีเลย์ motor หรือทำมาจาก ตัวเหนี่ยวนำ จะต้องมีไดโอดต่อคร่อม เสมอ เพื่อลด การสไปร์ท ของมัน
    ที่จริง แล้ว เราควรที่จะต้องใส่มันในวงจรหรือเปล่า เดี๋ยวเราไปดูกันครับ
    แต่ก่อนอื่น เรามาดูวงจรง่ายๆ วงจรนี้กันก่อนครับ ผมจะใช้แหล่งจ่าย จาก Powersupply DC 4V และ ผมจะใช้ MOSFET N chanel 1 ตัว
    ขา D ผมต่อกับโหลด ที่เป็นตัวต้านทาน 20ohm
    ต่อไปผมก็จะต่อ Output จากเครื่อง MoKugo ต่อไปที่ขา Gate และ Ground ทิ้งไว้อย่างงั้นก่อน
    วงจรนี้ หน้าที่ของมอสเฟตก็คือ ไว้คอยเชื่อมต่อกระแส ให้มันครบวงจร ให้มันครบลูป
    แล้วถ้าหากผมจ่าย แรงดันไฟกระแสตรง ไบอัส ที่ขา Gate ประมาณ 7V
    มอสเฟตมันก็จะเหมือนเป็นการต่อติด และนำกระแสได้
    เมื่อมอสเฟตทำงาน ความต้านทานของมัน ก็จะน้อยมากๆ
    ก็เหมือนกับว่า เรามีสายไฟต่อตรง ลงไปที่กราวด์ของระบบเลย
    ถ้าเราใช้มัลติมิเตอร์ วัดแรงดัน ก่อนเข้าขา D ตรงนี้ แล้วมาเทียบกับกราวด์ แรงดันไฟฟ้าที่ได้ ก็เกือบจะเป็น 0 V อยู่มะร่อมมะล่อแล้วครับ
    และนี่ก็คือการทำงาน ที่ปกติของมัน
    ทีนี้เอาใหม่ครับ ถ้าหาก ขาเกตของมอสเฟต ไม่ได้มีแรงดันมาไบอัส มันจะเกิดอะไรชึ้น.....
    เมื่อเราตัดการทำงานของมอสเฟต โดยที่เราไม่ได้จ่ายแรงดันไป
    วงจรตรงนี้ ก็จะเสมือนถูกตัดออกจากกัน และเจ้าตัวมอสเฟตเอง ก็จะมีค่าความต้านทาน ที่สูงมากๆ
    จนตัวมันเกือบเป็นค่าอนันต์ หรือวัดค่าไม่ได้
    เมื่อไม่มีกระแสไหล จึงไม่มีแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทาน
    เมื่อไม่มีแรงดันตกคร่อม ที่ตัวต้านทาน
    ถ้าหากเราวัด แรงดันดูอีกที เราก็จะพบว่า แรงดันของแล่งจ่ายตรงนี้ จะเท่ากับขา D ตรงนี้ เป๊ะเลยครับ
    เอาใหม่ครับ ทีนี้ ถ้าหากผม เปลี่ยน รูปคลื่นใหม่ เป็น รูปคลื่นแบบ Square wave VPP 7 โวลต์
    ความถี่ 400hZ Dutycycle 50%
    เดี๋ยวมาดูกันว่าจะเป็นยังไง
    แต่ก่อนอื่นผมต้องต่อโพรบ 2 ตัว เพื่อ จับวัดดูรูปคลื่น
    ระหว่างขา Gate กับ กราวด์ ตัวหนึ่ง
    และ ระหว่างขา D กับกราวด์ อีกตัวหนึ่ง
    ถ้ามาดูที่สโคป เพื่อนๆก็จะเห็น รูปคลื่น Output ที่ขา D ตรงนี้ มันจะมีรูปคลื่นเดียวกันกับ Input ที่เราป้อน เลยใช่ไหมครับ
    แบบนี้มันก็คือปกติ เป็นวงจรที่ขยายสัญญาณทั่วไป นั้นก็คือ Output มันจะมีการเปลี่ยนแปลง ตาม รูปคลื่น input ที่มันได้รับ
    ทีนี้เอาใหม่ครับ ผมจะเปลี่ยนโหลดตัวนั้น จากตัวต้านทาน เป็น มอเตอร์ กัน
    และนี่ครับ คือสิ่งที่ เครื่อง Mokugo มันวัดได้
    เพื่อนสังเกตุว่า รูปคลื่น Output จะเปลี่ยนแปลงไป และมีสไปร์ทเกิดขึ้น ถ้าสังเกตุจุดตรงนี้ ผมจะลองวัดคร่าวๆให้ดูนะครับ
    มัน มีแรงดันไฟฟ้า ตะวัด พุ่งสูงขึ้นไป กว่า 7V เลยทีเดียว อันนี้คือแรงดันเท่าที่ผมสังเกตุได้
    แล้วมันเกิดเหตุการนี้ได้ยังไงครับ อย่างแรกเลยก็คือ อย่างที่ผมเลยบอกไป มอเตอร์มันเปรียบเสมือนตัวเหนี่ยวนำชนิดหนึ่ง
    เมือ มอสเฟตนำกระแส ในช่วงแรก กระแสไฟจะไหลผ่านมอเตอร์ และก็ ไหลลงไป ผ่านมอสเฟต ไปบรรจบครบวงจร ที่ Gnd และทุกอย่างดูโอเครหมด
    แต่เนื่องจาก ตอนที่ มอเตอร์มันทำงาน มันมีการกักเก็บพลังงานไว้บางส่วน
    เมื่อมี จังหวะรูปคลื่น มี จังหวะความถี่ เข้ามาเกี่ยวข้องหนึ่ง มอสเฟส มันก็จะ หยุด บ้าง ต่อบ้าง ตาม แรงดัน Input ที่ได้รับ
    แต่สำหรับตัวเหนี่ยวนำแล้ว มันไม่สามารถหยุดการทำงานได้ทันที มันไม่ถัดแบบนั้นครับ มันจะต้องมีกระบวนการ แปลง สนามแม่เหล็กให้เป็นกระแสไฟฟ้าซะก่อน
    กระบวนการเหล่านี้ นี้เองครับ ที่มันจะต้องใช้ระยะเวลา เพื่อให้พลังงานทั้งหมดของมันหายไป หรือ จนกว่ากระแสทั้งหมดที่มันคลายออกมาจะหยุดไหล
    แต่สังเกตุไหมครับว่า กระแสเมื่อมันเดินมาถึงตรงนี้แล้ว มันมาไม่ทันชานชลาครับ ก็จะ = ว่ามันมาถึงทางตันครับ
    เมื่อมันไม่มี เส้นทางไหนเลยที่มัน สามารถ จะไหลผ่านไปได้
    แรงดันไฟฟ้าตรงนี้ มันก็จะค่อยเพิ่มขึ้นๆมาเรื่อยๆ จนกว่า พลังงานที่เก็บไว้ของมันจะหมด
    เพราะฉะนั้น เพื่อนๆลองคิดดู สิครับ ว่า กว่าพลังงานพวกนี้กว่าจะหมด เราจะได้แรงดันไฟตรงนี้เท่าไหร่
    มอเตอร์ ตัวใหญ่ๆบางประเภท อาจจะสร้างแรงดันได้มากกว่าปกติ 4-5 เท่า เลยทีเดียว
    และเมื่อมีแรงดันไฟ มาออตรงนี้มัน ในความถี่สูงๆ ก็จะเกิดการกระชากของไฟ เกิดขึ้นได้ อุปกรณ์ทั้งหมด ที่อยู่ที่ติดกับตัวมัน ที่ใช้ลายทองแดงเดียวกัน
    ก็จะเสี่ยงต่อ การเสียหาย ช๊อต หรือไหม้ได้
    ถ้าใช้เป็นมอสเฟต ที่สามารถทนแรงดันได้สูง ก็ยินดีกับเพื่อนๆด้วยนะครับ
    อย่างเช่น มอสเฟต เบอร์
    IRFZ44N ตัวนี้ มันสามารถทนแรงดันได้สูงถึง 60V ก็ถือว่ายังห่างไหลความอันตราย
    พลังงานจากตัวเหนี่ยวนำ ไม่เพียงที่จะทำให้มันไหม้ได้ แต่ก็อาจจะทำให้มันเกิดความร้อนสะสมขึ้นได้ อย่างนี้คงไม่ดีแน่ครับ
    แล้วเราจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ ได้อย่างไรกัน
    ผมจะเพิ่ม ไดโอดไป1ตัว ขนานกับ โหลด แบบนี้ครับ
    ทีนี้ถ้ามอสเฟต เล่นตลก หยุดการทำงานบ่อยๆ มันก็จะมีเส้นทางใหม่ให้กระแส ไหลผ่าน ย้อนกลับไปได้ครับ
    พลังงาน
    ส่วนหนึ่งจะ ไหลย้อนไปที่แหล่งจ่าย และ อีกส่วนจะไหลวนกลับเข้าไปใหม่ ในมอเตอร์
    ก็สรุปได้ว่าเป็นวงจร ง่ายๆที่ใส่เพียงไดโอดเพิ่มเข้าไป แล้วช่วย ให้วงจร ดูดีขึ้น
    เมื่อเรามาเช็คอีกครั้งหนึ่ง สไปร์ทเหล่านั้น ก็จะลดลงไปบ้างแล้วละครับ
    แต่บางที มอเตอร์ ตัวใหญ่ๆ ก็อาจจะสร้างกระแสไฟที่สูงมากจนเกินไป ไหลย้อนกลับไปยังแหล่งจ่าย
    เพราะฉะนั้น เราอาจจะต้องมี คาปาซิเตอร์ ช่วยซับกระแสไว้ ส่วนหนึ่ง
    หรือ จะออกแบบ ระบบป้องกัน แหล่งจ่าย ยังไงก็แล้วแต่ เพื่อนๆ
    แต่ข้อควรระวังก็คือ การต่อ ไดโอดผิด
    ถ้าต่อไดโอดผิด ไดโอด ก็จะร้อนและไหม้ในทันทีครับ
    และไดโอดที่ใช้ถ้าความถี่สูงเกิน 1kHz ขึ้นไป ควรที่จะเปลี่ยนไปใช้เป็นพวก schotky ไดโอด แทน น่าจะดีกว่าครับ
    ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ว่า schotkyไดโอดมันคืออะไรผมได้ทำคลิปอธิบายไปแล้ว ยังไงเข้าไปรับชมย้อนหลังได้
    สำหรับคลิปนี้ผมขออธิบายไว้เท่านี้ก่อน
    ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 61

  • @ZimZimDIY
    @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว +11

    📢เพิ่มเติมนะครับ แรงดันไฟที่สไปร์ท(ไฟกระชาก) อาจจะสูงมาก ถึงหลายร้อยหรือหลายพันโวลต์ ได้เลยทีเดียว แต่มันเกิดขึ้นเพียงเสิ้ยววินาที ซึ่งมีอำนาจมากพอที่จะเจาะให้ Junction ของ Fet หรือ Transistor รั่ว และลัดวงจรในที่สุด ขอบคุณเครดิตคุณ @Saksiri Sirisampan ครับ

  • @Kentmarlington
    @Kentmarlington ปีที่แล้ว +1

    อธิบายได้เห็นภาพ เข้าใจง่าย ดีๆๆๆครับ

  • @woottisakkm
    @woottisakkm ปีที่แล้ว +2

    เหมาะกับช่าง และนักเรียนอย่างมาก ขอบคุณครับ อาจารย์

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @TheHyperbenz
    @TheHyperbenz ปีที่แล้ว +3

    อธิบายได้ดีมากครับ เข้าใจเห็นภาพเลยครับ เป็นกำลังใจทำคลิปความรู้ดีๆแบบนึ้อีกนะครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @nattapolpunpaen2539
    @nattapolpunpaen2539 7 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณสำหลับความรู้ดีๆครับ

  • @samphanchubtasri7440
    @samphanchubtasri7440 ปีที่แล้ว +2

    เป็นกำลังใจให้นะครับ คลิปความรู้ก็แบบนี้คนดูคนกดไลค์น้อย สู้สู้ครับ☺️✌️👍👍👍

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @user-up2no6sk1z
    @user-up2no6sk1z ปีที่แล้ว +2

    พี่zimน่าจะเอารูปมอสเฟต ตัวต้านทาน มอเตอร์ มาติดกับสัญลักษณ์ รูปวงจร เพื่อจะให้เพื่อนๆมี่ยังไม่เข้าใจในสัญลักษณ์รูปวงจร ได้ดูให้เข้าง่ายขึ้นน่ะครับ แต่ทุกคลิปที่ผ่านมา ผมขอเรียกว่าท่านอาจารย์สอนได้เข้าใจมากที่สุดแล้วครับ🎉😮😮😊

  • @premriderontheway988
    @premriderontheway988 ปีที่แล้ว

    อยากให้อาจารย์สอนการทำงานของ Magnetic หน่อยนะครับ😊🙏

  • @rachansiad3533
    @rachansiad3533 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับพี่ อยากให้พี่ทำคลิป RC snubber ด้วยครับ ขอบคุณมากครับที่สร้างช่องนี้ขึ้นมา

  • @prateepprechathvanich2138
    @prateepprechathvanich2138 ปีที่แล้ว +2

    👍ขอบคุณครับ

  • @olemancharter2747
    @olemancharter2747 ปีที่แล้ว +2

    แล้วถ้าใส่ คาปาซิเตอร์ คล่อม เข้าแทนได้ไหมครับ

  • @nanokenshiro
    @nanokenshiro ปีที่แล้ว +1

    ผมเป็นวิศวกรแต่จบไฟฟ้ากำลังมาไม่ค่อยได้จับ electronic device นับถือคุณเป็นอาจารย์เลยครับ

  • @p.satinee
    @p.satinee ปีที่แล้ว +3

    ขอขอบคุณ

  • @user-tw6yx4cd2f
    @user-tw6yx4cd2f ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ

  • @PampostReturning
    @PampostReturning ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ.

  • @kittipat_RUT
    @kittipat_RUT 10 หลายเดือนก่อน

    สุดยอดครับ

  • @q-o-o-parch7410
    @q-o-o-parch7410 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าสลับต่อไฟเข้ามอสเฟสก่อนออกไปมอเตอร์ แบบนี้จะเป็นยังไงเหรอครับ

  • @user-qt2rl6nd6x
    @user-qt2rl6nd6x ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับครู

  • @tai5026
    @tai5026 ปีที่แล้ว

    ชอบดูครับ

  • @AlfA_Number
    @AlfA_Number ปีที่แล้ว

    สุดยอด

  • @user-wi7ux6yw3f
    @user-wi7ux6yw3f ปีที่แล้ว

    พี่ครับ ผมสงสัยไฟจากอเดปเตอร์เราเตอร์12v1ทั่วไป ต่อใส่มอเตอร์ ทำไมมันหมุนเป็นจังหวะครับ

  • @vivokpn747
    @vivokpn747 5 หลายเดือนก่อน

    ขอดูหน้าอาจารย์หน่อยจิ เป้นตา

  • @user-dl5zd1vz8d
    @user-dl5zd1vz8d ปีที่แล้ว

    H-bright จะต่อไดโอดยังไงครับ

  • @user-jt3gi6um9x
    @user-jt3gi6um9x ปีที่แล้ว

    เคยเจอกับตัวเองเหมือนกัน ต่อขารีเลย์เอามือเเตะที่ขารีเลย์ตอนปลดไฟรู้สึกเหมือนไฟดูด

  • @user-di9jy5ft2i
    @user-di9jy5ft2i ปีที่แล้ว

    ทำส่งขายหรือไม่ มี แบตเตอรี่ลิเธียมจำนวน 25.2 โวลท์ จะต่อเข้ามอเตอร์จักรยาน 24 โวลท์ หาไดโอดได้ที่ไหน หรือมีขายสำเร็จรูปที่ใดบ้าง รบกวนตอบคำถามด้วยหรือมีขาย ที่ไหนอมรหรือ ที่ไหนบ้างบ้านหม้อ

  • @user-kq8ff3zz7w
    @user-kq8ff3zz7w ปีที่แล้ว +1

    อาจารย์ ครับสอนวิธีต่อแอมป์จิ๋ว วูชิ 2.1 แยกซับอิสระเข้ากับปรีแอมป์รถยนตร์ให้ผมดูหน่อยครับ ผมไม่รู้จะต่องัย ที่แอมป์มีAux - Inให้มารู้เดียงจะต่อแบบไหนครับขอบคุณคราาาาบ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว +1

      ใช้สาย RCA to 3.5 mm ก็ได้ครับ

  • @babyboy_engineer
    @babyboy_engineer ปีที่แล้ว +1

    ขอสอบถามครับ ใช้โปรแกรมอะไรวาดวงจร หรือ ทำกราฟิคหรอครับผม

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว +1

      ใชพวก Ai photoshop AE ครับ

  • @niyomja
    @niyomja ปีที่แล้ว +1

    ได้ไอเดียเลยครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

  • @spectator3087
    @spectator3087 หลายเดือนก่อน

    ต่อไดโอด ลดการกระชากของมอเตอ์12โวล์ได้ไหมครับ

  • @ese-ny5rj
    @ese-ny5rj ปีที่แล้ว

    ดูช่องนี้ได้ความรู้ดีไปความรู้ดีๆเยอะเลยครับ

  • @user-om4dk1ct8s
    @user-om4dk1ct8s 4 หลายเดือนก่อน

    ถ้าต่อคาปาซีดเตอร์ต้องต่อตรงใหนคับ

  • @user-xj3bo5es7j
    @user-xj3bo5es7j ปีที่แล้ว +1

    อาจารย์ครับ เราจะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่า การต่อไดโอดหันหัวไปทางไหนถึงจะถูกต้องครับ หรือว่าต่อแบบเอาหัวขึ้นตามในคลิปเป็นมาตรฐานครับ ขอบคุณครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว

      ถ้าไดโอดตัวจริง หันหัวแถบขาวไปทางขั้วบวก ครับ

    • @user-xj3bo5es7j
      @user-xj3bo5es7j ปีที่แล้ว

      @@ZimZimDIY ขอบคุณครับ

  • @DJ-ob2kp
    @DJ-ob2kp ปีที่แล้ว +1

    พี่ครับไอ้ก้อนขาวๆ 2 ก้อนนั้นคืออะไรครับเอาไปทำอะไรได้บ้างครับ

    • @apisitbbt1915
      @apisitbbt1915 ปีที่แล้ว

      มันคือตัวต้านทาน 5W 10โอห์ม ครับ... ในคลิปเขาเอามาใช้จำลองเเทน Load จริงครับผม

  • @cars-electronics
    @cars-electronics ปีที่แล้ว +1

    คลิ๊ปดีมากเลยครับดูรูปประกอบเข้าใจง่ายด้วย ช่วยกันพัฒนานักออกแบบอิเล็กทรอนิกส์เมืองไทยต่อไปน่ะครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณครับ

  • @user-wb9qk5xy1g
    @user-wb9qk5xy1g ปีที่แล้ว +2

    มีช่องทางการติดต่อไม่ครับอยากสอบถามการต่อมอเตอร์รอยต่ำครับ ที่ตัวมอเตอร์มันเขียนว่า AC220-240V
    50/60HZ 4W
    8-10R/MIN

    • @ihappy2playgames422
      @ihappy2playgames422 ปีที่แล้ว +2

      ผ่านมาเจอ ขอตอบแทนนะครับ
      1 มอเตอร์ไฟกระแสสลับ 229-240v ไฟบ้าน
      2 ความถี่ 50หรือ 60 เฮิร์ซ กินกระแส ~0.02 A
      3 หมุน 8-10รอบต่อนาที

    • @p.satinee
      @p.satinee ปีที่แล้ว

      การใช้งานต่อเนื่องนานๆจะได้ไหม?

    • @user-cb7tx1xh6p
      @user-cb7tx1xh6p ปีที่แล้ว

      @@p.satinee ได้ครับ มอเตอร์ตัวที่ถามมานี้ ส่วนมากมีในไมโครเวฟใช้หมุนถาด และในพัดลม ใช้ทำให้พัดลมส่าย( สวิงซ้าย/ขาว)ครับ

  • @user-kb3ri2jv5n
    @user-kb3ri2jv5n ปีที่แล้ว

    มาฟังแล้วรู้สึกเลเวลยังไม่ถึง😢😢

  • @saksirisirisampan4083
    @saksirisirisampan4083 ปีที่แล้ว +3

    ที่คุณเห็นว่าแรงดันย้อนมันมีแค่ 7 โวลท์ นั่นเพราะว่าเครื่องของคุณจับไม่ทันครับ ถ้าคุณเอาสโคปแบบมืออาชีพมาจับสัญญาณดู คุณจะพบว่า Vp-p ของแรงดันย้อนกลับของโหลดเล็กๆอย่างรีเลย์หคือมอเตอร์ของเล่นสามารถพุ่งสูงได้ถึง 200-1000 V เลยครับ ซึ่งมีอำนาจมากพอที่จะเจาะให้ Junction ของ Fet หรือ Transistor รั่ว และลัดวงจรในที่สุด ไม่ใช่พังเพราะความร้อนสะสมแต่อย่างใด

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ

    • @nitaseboonklin9729
      @nitaseboonklin9729 ปีที่แล้ว

      ใช้ในสโคปขนาดขนาดความสามารถวัดค่าสูงสุดที่เท่ากันสโคปแบบอนาล็อกจะจับสัญญาณได้ดีกว่าแบบดิจิตอล เคยใช้ขนาด20เม็ก อะนาล็อกมองเห็นแต่ดิจิตอลไม่เห็น

    • @sakdakeawha2109
      @sakdakeawha2109 ปีที่แล้ว

      เห็นจะจริงครับจุดสังเกตุคือบางที่มือโดนขาคอย มันจดูดนิตๆ

    • @saksirisirisampan4083
      @saksirisirisampan4083 ปีที่แล้ว

      @@nitaseboonklin9729 ต้องเป็น Scope ระดับ 50M ขึ้นไปครับถึงจะเห็น ซูมแบบสุดแล้ว ยังเห็นเป็นแค่เส้นเล็กๆเลยครับ คือมันหายไปไวมาก พวก Scope แบบ USB นี่เลิกคุยเลยครับ มันไวไม่พอ

  • @nutlp2012
    @nutlp2012 10 หลายเดือนก่อน +1

    มาดูคลิปนี้ช้าไป มอเตอร์พัดลมบัสเลสของผมกลับบ้านเก่าไปแล้ว เชื่อคำในกลุ่มไฟฟ้าว่าไดโอดไม่จำเป็นต้องต่อ มันมีไว้เพื่อกันต่อสายผิดเท่านั้น สรุปคือ ผมเปิดมอเตอร์ทำงานตามปกติ ผ่านตัวปรับรอบ pwm ตอนมอเตอร์หมุนทำงานได้ปกติเลย แต่พอปิดสวิตช์ได้ยินเสียงแป๊ะ ออกมาจากมอเตอร์ จากนั้นเปิดไม่ติดอีกเลย

    • @tenkung3849
      @tenkung3849 4 หลายเดือนก่อน

      ผมแผงวงจร bms พังครับ😂 บัสเลสไม่เป็นไร😂

  • @Na.P1102
    @Na.P1102 ปีที่แล้ว

    นี่คือเหตุผลที่ Relay ที่เป็น Coil DC บางรุ่นจะมีไดโอดคร่อม Coil ไว้
    มันเอาไว้ลดการอาร์ค หรือลดไฟกระชาก ในวงจรก่อนหน้า (Surge Suppressors)
    หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ ว่าไดโอดมีไว้ป้องกันการจ่ายไฟเลี้ยง Coil ผิดขั้ว
    เช่น หากใช้ output PLC มาสั่งให้ Relay ทำงานเป็นBuffer ในขณะที่ output ของPLC on ก็ไม่มีปัญหาอะไร
    เเต่ขณะที่ PLC off ขดลวด coil ของ relay จะมีไฟกระชากย้อนออกมา ระยะยาวจะทำให้ภาค output ของPLC เสียเร็ว หากที่coil ของ relay มีไดโอดคร่อมไว้ จะลดปัญหาตรงนี้ได้
    ยกตัวอย่าง รุ่น ยอดฮิตของ Omron
    MY2N-GS รุ่น ธรรมดา
    MY2N-D2-GS รุ่นมีไดโอด (-D2 จะมีเฉพาะรุ่นที่เป็นไฟเลี้ยง DC เท่านั้น)
    MY2N-CR-GS รุ่นมีวงจรCR (-CR จะมีเฉพาะรุ่นที่เป็นไฟเลี้ยง AC เท่านั้น)
    วงจร CR ในรุ่น AC ก็ทำหน้าที่ คล้าย ไดโอดในรุ่นDC

  • @tytao47dee69
    @tytao47dee69 ปีที่แล้ว +2

    Snubber

  • @OppoA-ji7gh
    @OppoA-ji7gh ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @sukseksun7896
    @sukseksun7896 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ

    • @ZimZimDIY
      @ZimZimDIY  ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณครับ