ชัยธวัช ตุลาธน การปล่อยผู้ต้องขังคดีการเมือง และนิรโทษกรรม ให้สัมภาษณ์ที่รัฐสภา (อ่านข่าวในคอมเมนต์)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 มิ.ย. 2024

ความคิดเห็น • 2

  • @thongdeenakab5653
    @thongdeenakab5653 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา

    สนับสนุนก้าวไกล

  • @Digitelnews
    @Digitelnews  3 วันที่ผ่านมา

    “ชัยธวัช” รับหนังสือกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เรียกร้องเร่งผลักดันนิรโทษกรรม ย้ำ กมธ.นิรโทษฯ เห็นพ้องแนวทางตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ไม่กำหนดฐานความผิดเจาะจง เพื่อให้ทุกคดีที่เกี่ยวพันกับการเมือง รวมถึง ม.112 เข้าสู่กระบวนการได้
    .
    วันที่ 27 มิถุนายน 2567 ที่อาคารรัฐสภา ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม รับหนังสือจากภาคประชาชนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข เรื่องการเรียกร้องให้รัฐบาลคืนสิทธิประกันตัวให้กับผู้ต้องขังคดีการเมือง และขอให้ กมธ.นิรโทษกรรมเร่งผลักดันกระบวนการนิรโทษกรรมให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งต้องรวมถึงผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งทางการเมืองตามคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย
    .
    ชัยธวัชกล่าวว่า กรณีคดีอาญามาตรา 112 รายงานข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาข้อมูลและสถิติคดีความผิดอันเนื่องมาจากแรงจูงใจทางการเมือง ระบุว่ามาตราดังกล่าวถูกนำมาใช้มากเป็นพิเศษหลังการรัฐประหารปี 2549 และ 2557 โดยในการรัฐประหารทุกครั้ง คณะรัฐประหารได้อ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหาร รวมถึงรัฐบาลหลังจากนั้นก็มีพฤติการณ์ใช้ประเด็นเรื่องความจงรักภักดีมาสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองและปราบปรามพี่น้องประชาชน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคดีอาญามาตรา 112 มีความเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองไทย
    .
    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการนิรโทษกรรมจะไม่ได้พิจารณาว่าจะรวมคดีอาญามาตรา 112 อยู่ในการนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ เพราะขณะนี้กรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าไม่ควรออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยกำหนดฐานความผิดไว้ เนื่องจากหลายฐานความผิดมีทั้งคดีที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ดังนั้น การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณากลั่นกรองกรณีที่สมควรจะได้รับการนิรโทษกรรมน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า ซึ่งก็มีข้อเสนอด้วยว่าในคดีที่มีความเห็นต่างกันสูง อาจจะให้อำนาจคณะกรรมการดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาคดีนั้นๆ เป็นพิเศษก็ได้
    .
    ทั้งนี้ ชัยธวัชย้ำว่าตนจะนำข้อเสนอที่ได้รับจากภาคประชาชนไปสะท้อนเสียงในที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ โดยวาระการประชุมวันนี้จะพิจารณากันถึงเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองนิรโทษกรรม รวมถึงแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและความหลากหลายของคดีอาญามาตรา 112 ที่เกิดขึ้นในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา