ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน | วงแคน_มมส | งาน MSU CASE Camp ค่ายเยาวชนนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 6 ก.ย. 2024
  • ฟ้อนสาวสารคามลำเพลิน
    หมอลำ เป็นรูปแบบของเพลงลาวโบราณในประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายอย่าง ตามลักษณะทำนองของการลำ เช่น ลำเต้ย ลำกลอน ลำเรื่อง ลำเรื่องต่อกลอน ลำเพลิน เป็นต้น
    คำว่า "หมอลำ" มาจากคำ 2 คำมารวมกัน ได้แก่ "หมอ" หมายถึง ผู้มีความชำนาญ และ "ลำ" หมายถึง การบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองอันไพเราะ ดังนั้น หมอลำ จึงหมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยทำนองเพลง
    ฟ้อนสาวสารคามลำเพลินเป็นการแสดงที่ถ่ายทอดกระบวนท่าฟ้อนรำตามแบบอีสาน ทำท่าทางเพื่อถ่ายทอดตามบทวรรณกรรมที่แต่งขึ้นเพื่อชื่นชมความงามของจังหวัดมหาสารคามและหญิงสาวชาวมหาสารคาม
    การแสดงชุดนี้ประดิษฐ์โดย กลุ่มสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อใช้เป็นชุดการแสดงประจำจังหวัดมหาสารคาม โดยจะมีการเผยแพร่ให้กับวงโปงลางในจังหวัดมหาสารคามใช้แสดงต่อไป

ความคิดเห็น •