บทสวดขันธปริตร วิรูปักเขฯ ขันธะปะริตตะคาถา (ศรีลังกา)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 11 มิ.ย. 2023
  • "..บทสวดมนต์ วิรูปักเข ขันธะปะริตตะคาถา
    สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2]
    เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน
    ....ขันธปริตรเป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1]
    "ตำ น า น พ ร ะ ป ริ ต ร
    ( ตามปกติ คำว่าตำนาน จะหมายถึงเรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบๆ มา
    แต่ในที่นี้เป็นการเรียกพระปริตรบทๆ หนึ่งว่า ตำนาน ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะแผลงมาจาก
    คำว่า ตาณ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ต้านทาน หรือป้องกันเช่นเดียวกับคำว่า ปริตร
    หรืออาจจะหมายถึงตำนานอันเป็นที่มาของแต่ละพระสูตรก็เป็นได้)
    "การสวดพระปริตรหรือเจ็ดตำนานนี้
    เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศลังกา ราว พ.ศ. ๕๐๐ "
    "..ในทางพระพุทธศาสนา คำว่า “มนต์”หมายถึง หลักธรรม บทสอนใจ
    หลักธรรมในบทสวดนั้น สามารถนำไปเป็นข้อประพฤติปฏิบัติจนเกิดผลที่ปรารถนาได้อย่างน่าอัศจรรย์ บทพระพุทธมนต์ ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทนั้นท่านใช้ภาษาบาลี ซึ่งถ้าแปลความหมายออกมาก็จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นคำสวดบูชาเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แทบทั้งสิ้น จึงนับเป็นอุบายในการเจริญสติอย่างหนึ่ง ที่เรียก พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ
    ในการสวดมนต์ทุกครั้ง จะเริ่มด้วยคำบูชาพระบรมศาสดาว่า “ นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” แปลความว่า “ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” และตามด้วยพระพุทธมนต์บทต่างๆ ตามแต่วาระและโอกาส ซึ่งเป็นกิจที่เราชาวพุทธทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันจึงขอน้อมนำอานิสงค์ของการสวดสาธยายพระพุทธมนต์มาแบ่งปันกันดังนี้
    อานิสงส์ของการสวดมนต์ เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต ) พรหมรังสี
    ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมายเพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไรการสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผลจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
    ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี ๕ โอกาสด้วยกันคือ
    ๑ เมื่อฟังธรรม
    ๒ เมื่อแสดงธรรม
    ๓ เมื่อสาธยายธรรมนั่นคือ การสวดมนต์
    ๔ เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
    ๕ เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ
    ".ช่อง ธรรมะ. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    ..วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ ธรรมะพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า
    เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ
    ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย
    "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ"
    [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตโต]

ความคิดเห็น • 10

  • @user-vp5jc4mz1g
    @user-vp5jc4mz1g  ปีที่แล้ว +2

    ..บทสวดมนต์ วิรูปักเข (ขันธะปะริตตะคาถา)
    วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
    ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
    อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
    จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
    มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
    มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
    สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
    สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
    อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
    ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที
    อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา
    ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง
    สัมมาสัมพุทธานัง ฯ
    "ความเป็นมาของบทสวด ขันธปริตร (วิรูปักเขหิ เม)
    สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2]
    เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน
    ....ขันธปริตรเป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1]

  • @yaichumthreenork
    @yaichumthreenork ปีที่แล้ว +2

    พุทธังสะระณังคัจฉามิ…..ธรรมมังสะระณังคัจฉามิ….สังฆังสะระณังคัจฉามิ…❤ นา

  • @yaichumthreenork
    @yaichumthreenork ปีที่แล้ว +2

    พุทธังสะระณังคัจฉามิ…ธรรมมังสะระณังคัจฉามิ…สังฆังสะระณังคัจฉามิ…พฤหัส..15…มิถุนายน…2566..สาธุ..นา

  • @ohotawan05
    @ohotawan05 ปีที่แล้ว +1

    กราบสาธุ สาธุ สาธุค่ะ 🙏🙏🙏

  • @user-fl5ul8zh8u
    @user-fl5ul8zh8u 6 หลายเดือนก่อน

    น้อมกราบ กราบ กราบ สาธุเจ้าค่ะ

  • @patthawanthinputsa8930
    @patthawanthinputsa8930 6 หลายเดือนก่อน

    น้อมกราบสาธุเจ้าค่ะ

  • @tiktik65
    @tiktik65 11 หลายเดือนก่อน +1

    ไพเราะมากค่ะ..สาธุ

  • @user-sh1de6iz3r
    @user-sh1de6iz3r หลายเดือนก่อน

    สาธุสาธุสาธุ

  • @aim-on8909
    @aim-on8909 ปีที่แล้ว +1

    🙏🙏🙏

  • @yaichumthreenork
    @yaichumthreenork ปีที่แล้ว +1

    กราบสาธุสาธุเจ้าค่ะกราบบูชาธรรมอันประเสริฐสาธุ❤❤