โมรปริตร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 3 ต.ค. 2024
  • โมรปริตร
    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง
    ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร
    จะระติ เอสะนา.
    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง
    ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พ๎ราห๎มะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัต๎วา โมโร
    วาสะมะกัปปะยีติ.
    ใจความสำคัญ
    เป็นบทสวดแสดงความนอบน้อมต่อดวงอาทิตย์ พราหมณ์ผู้ไม่มีบาป พระพุทธเจ้า พระโพธิญาณ ตลอดถึงพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งพระโพธิญาณ เพื่อขอให้รักษาคุ้มครองตนทั้งกลางวันกลางคืน
    อานุภาพ
    เป็นบทสวดของพญานกยูงโพธิสัตว์ สวดภาวนาก่อนออกหากินและก่อนเข้านอน มีอานุภาพให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
    ประวัติ
    สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่งถูกความอยากในกามครอบงำ กระสันอยากสึก พระพุทธเจ้าต้องการให้เห็นโทษของกามจึงทรงเล่าเรื่องอดีตเมื่อครั้งพระองค์เสวยชาติเป็นพญานกยูงพระโพธิสัตว์ ทุกวันก่อนออกหากิน และก่อนเข้านอนจะสวดมนต์โมรปริตรเป็นประจำ ทำให้พ้นจากการตามล่าของพรานป่านานถึง ๑๒ ปี วันหนึ่งพรานนำนางนกยูงมาล่อ ด้วยความหลงมัวเมาในกามทำให้พญานกยูงลืมท่องคาถา
    และถูกนายพรานจับได้
    ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๕๓-๕๔ ข้อที่ ๑๖๗-๑๖๘
    #โมระปะริต
    #นกยูงทอง
    #คาถาแคล้วคลาดภัย

ความคิดเห็น • 10