Ep.7 อปท. : การบริหารจัดการโรคระบาดโควิด-19

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024
  • โรคระบาดโควิด-19 เป็นเรื่องท้าทายหน้าที่และอำนาจของ อปท.เป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งกรณี
    1.การป้องกันและช่วยเหลือการดำรงชีพประชาชน เช่น หน้ากากอนามัย การฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ การจัดหาเครื่องอุปโภคและบริโภคการดำรงชีพ เป็นต้น
    2.การดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดหาโรงพยาบาลสนาม และอุปกรณ์ หรืออุดหนุนเป็นเงิน
    3.การดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการเรื่อง Community Isolation/Home Isolation รวมทั้งการจัดหาอาหาร รวมทั้งวัสดุและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
    4.การจัดหารถรับส่งผู้ป่วย
    5.การเบิกจ่ายเงินและการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น
    ขอเป็นกำลังใจให้ อปท.ดำเนินการภารกิจสำคัญนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนในเขตพื้นที่ของแต่ละ อปท.ครับ

ความคิดเห็น • 23

  • @puntipafarmrak
    @puntipafarmrak 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณ​มาก​ค่ะ​ท่าน​รอง​

  • @wayo9476
    @wayo9476 2 ปีที่แล้ว

    ในสถานการณ์ปัจจุบันยังมีผุ้ป่วยติดโควิดและกักตัวที่บ้านเทศบาลสามารถช่วยเหลือเบืองต้นได้หารือไม่..ต้องผ่านกรรมการช่วยเหลือประชาชนก่อนไหมครับ

  • @wayo9476
    @wayo9476 2 ปีที่แล้ว

    เป็นถุงยังชีพครับ

  • @ประมวลสุวะศรี
    @ประมวลสุวะศรี 2 ปีที่แล้ว

    อาจารย์ค่ะ ถ้า อปท.ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด และผู้กักตัว ช่วยตามระเบียบข่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ฯ ข้อ 6 วรรคแรก ด้านการดำรงชีพได้มั้ยค่ะ
    ขอบพระคุณมากค่ะ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  2 ปีที่แล้ว

      1.ถ้าได้รับมอบหมายจากผู้กำกับดูแล ให้รับผิดชอบ/ดำเนินการเรื่อง CI ก็สามารถช่วยเหลือได้ตาม ว 4116
      2.ถ้าได้รับมอบหมายให้ดูแลดำเนินการและผู้ติดเชื้อได้รับคำสั่งจากแพทย์ให้กักตัวที่บ้าน ก็ช่วยเหลือได้ตาม ว 4116 ได้เช่นกัน
      3.แต่ถ้าจะช่วยเรื่องการดำรงชีพ ในกรณีอื่นตัองเข้าคณะกรรมการฯพิจารณาช่วยเหลือก่อนดำเนินการครับ

    • @ประมวลสุวะศรี
      @ประมวลสุวะศรี 2 ปีที่แล้ว

      @@มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ

  • @wikijtramts5556
    @wikijtramts5556 3 ปีที่แล้ว +2

    ขออนุญาตสอบถามอาจารย์คะ ถ้าอปท.นั้นมี รพ.สนามอยู่แล้ว สามารถทำ ci ได้ไหมคะ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว +1

      การจัดทำ CI ต้องมีการประสานกับ สสจ.ในแต่ละพื้นที่ โดยมีหลักการพิจารณา ดังนี้
      1.จำนวนและระดับอาการของผู้ติดเชื้อในชุมชน
      2.สถานที่ตั้งและการรองรับผู้ติดเชื้อได้เป็นจำนวนมากๆโดยไม่แออัด
      3.มีสถานพยาบาลที่สามารถประสานและติดตามอาการผู้ติดเชื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
      4.สถานที่มีความพร้อมเรื่องสุขอนามัย และมีมาตรการป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดเชื้อไปสู่ภายนอกได้
      โดยหนังสือ ว 2526 ลว. 21 กรกฎาคม 2564 กำหนดว่าการเบิกจ่ายในการดำเนินการเกี่ยวกับ CI ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการดำเนินการของหน่วยงานอื่นที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
      ดังนั้น ถึงมีโรงพยาบาลสนาม แต่หากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และเมื่อประสานกับจังหวัดและ สสจ.แล้วเห็นควรจัดทำ CI เพิ่มในพื้นที่ได้โดยไม่เป็นการซ้ำซ้อน อปท.ก็สามารถดำเนินการได้ครับ

  • @wayo9476
    @wayo9476 2 ปีที่แล้ว

    สอบถามครับกรณีผุ้ป่วยติดโควิดแต่ขอรักษาตัวอยุ่ที่บ้าน.ท้องถิ่นสามารถช่วยเหลือถุงยังชีพก่อนได้ไหมครับหรือต้องนำรายชื่อมาเข้าประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือจึงจะสามารถช่วยเหลือประชาชนหรือครอบครัวที่ติดโควิดทั้งครอบครัวครับ.

  • @ประมวลสุวะศรี
    @ประมวลสุวะศรี 3 ปีที่แล้ว

    เรียน สอบถามอาจารย์ค่ะ กรณี อปท.จะเยียวยาโค กระบือตาย จากโรคลัมปีสกีน เลยได้มั้ยค่ะ โดยไม่ได้ขอใช้เงินทดรองราชการจากจังหวัดค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว +1

      การช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับโรคระบาด ต้องถือปฏิบัติระเบียบ มท.ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. ซึ่งเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น ควรดำเนินการดังนี้
      1.อปท.ต้องดำเนินการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบให้เข้ามาดำเนินการตามหน้าที่อำนาจก่อนตามระเบียบฯข้อ 14 กรณีหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุม อปท.ก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
      2.การช่วยเหลือของ อปท.กรณีหน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือไม่ครอบคลุม ให้พิจารณาดำเนินการตามข้อ 7 8 และ 9 ของระเบียบฯ
      3.ส่วนการเบิกจ่ายเงินในส่วนของ อปท.เองนั้น ระเบียบฯเพียงแต่ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการโดยอนุโลม ตามข้อ 16(1)ของระเบียบฯ ประกอบหนังสือ มท.ด่วนที่สุด ที่ 0808.2/ ว 3218 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2564

  • @tuinuyanurak3754
    @tuinuyanurak3754 3 ปีที่แล้ว

    สอบถามค่ะ​ กรณีจัดซื้อจัดจ้างที่เกิน1แสนแต่ไม่เกิน5แสนต้องทำรายงานขอซื้อขอจ้างและตั้งผู้ตรวจรับ1คน​ แต่หนังสือเวียน​ว.115บอกว่าให้ยกเว้น​ และปฏิบัติตาม​ ระเบียบ​ข้อ79วรรค2ได้เลย​ แบบนี้จะขัดกันไหมคะ?

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว

      หนังสือ ว 115 เป็นข้อยกเว้น ที่ใช้เฉพาะเริ่องการจัดซื้อ ยาหรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือจัดหาพัสดุ เพื่อใช้ในการป้องกัน ควบคุมและรักษาโควิด-19 เท่านั้นครับ ซึ่งที่ถามมาก็ถูกต้องส่วนหนึ่ง
      ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไปยังต้องปฏิบัติตามหลักการทั่วไปอยู่ครับ
      สรุปว่า ไม่ขัดกันครับ เพราะหนังสือ ว 115 เป็นการยกเว้นเฉพาะเรื่อง

  • @กินจังละกะตังค์อยู่ครบ

    สอบถามท่านครับ การช่วยเหลือ ประชาชน การประกาศรายชื่อ ให้ความช่วยเหลือ คือ 1.รวบรวมรายชื่อ ผู้มาลงทะเบียน เเล้วประกาศ รายชื่อ 15 วัน ถึงจะช่วยเหลือได้ หรือ 2. หลังจากคณะกรรมการ ประชุม เเล้ว ประกาศ รายชื่อ 15 วัน ต้องใช้ ข้อไหนครับ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว +2

      คณะกรรมการฯมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อและพิจารณาว่าจะให้ความช่วยเหลือบุคคลใดบ้าง อย่างไร และนำรายชื่อบุคคลที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือไปปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน 15 วัน(เพื่อให้บุคคลที่ไม่เห็นด้วยคัดค้าน หรือแสดงความเห็น)
      จากนั้น ส่งรายชื่อไปให้ อปท.ดำเนินการช่วยเหลือตามหน้าที่อำนาจต่อไปครับ

    • @กินจังละกะตังค์อยู่ครบ
      @กินจังละกะตังค์อยู่ครบ 3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณ ท่านครับ แปลว่า รวบรวมข้อมูล เสนอ คณะกรรมการ ประชุมเสร็จ ติดประกาศ เป็นเวลา 15 วัน ถ้าไม่มีผู้คัดค้านก็ช่วยเหลือตามมติ เเละระเบียบ ใช่ไหมครับท่าน

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว

      ระเบียบฯกำหนดไว้อย่างนั้นครับ

  • @tarewfamily
    @tarewfamily 3 ปีที่แล้ว

    อาจารย์คะ รบกวนสอบถามหน่อยคะ โควิดถือเป็นโรคระบาดที่อปท. สามารถช่วยเหลือผู้กักตัวเบื้องต้นด้านการดำรงชีพตามข้อ 1 ในระเบียบช่วยเหลือปี 60 โดยช่วยเป็นถุงยังชีพได้หรือไม่คะ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว

      การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องกักตัวที่ศูนย์พักคอย หรือกักตัวที่บ้านตามคำสั่งบุคลากรทางการแพทย์ ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือสั่งการของมหาดไทยที่ มท 0808.2/ว 4116 ลงวันที่ 19 ก.ค.2564 ข้อ 1.3 ประกอบหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 1562 ลงวันที่ 21 ก.ค.2564
      ส่วนการช่วยเหลือประชาชน ตามระเบียบช่วยเหลือ เป็นการช่วยเหลือในลักษณะทั่วไป ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อ 7 8 และ 9 เนื่องจากข้อเท็จจริงตามที่ให้มาไม่น่าจะเข้าเหตุตามข้อ 6 แล้วครับ

  • @มะยุรีตะไมล์
    @มะยุรีตะไมล์ 3 ปีที่แล้ว

    ขออนุญาตสอบถามค่ะ ถ้าอบต.จะสร้างศาลาเอนกประสงค์เพื่อเป็นศูนย์พักคอยสำหรับผู้ป่วยโควิด สามารถก่อสร้างได้หรือไม่ค่ะ ถ้าได้จะเบิกจ่ายจากงบประมาณแผนงานอะไรค่ะ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว

      ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์พักคอย ให้พิจารณาใช้หรือดัดแปลงจากสถานที่ราชการก่อนเป็นลำดับแรก หากไม่มีอาจเช่าสถานที่ของเอกชนได้ โดยเบิกจ่ายจากเงินสำรองจ่าย หรือโอนงบประมาณเหลือจ่าย หรือเงินสะสมแล้วแต่กรณีตามหนังสือ มท.0808.2/ว 4116 ลว. 19 ก.ค.64 ครับ
      แต่กรณีที่ถามมาจะก่อสร้างใหม่ ต้องดำเนินการตามระเบียบ มท.ว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ ประกอบหนังสือ กวจ./ ว 115 โดยถือเป็นงบลงทุน หมวดครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างครับ

  • @ratpra393
    @ratpra393 3 ปีที่แล้ว

    เรียนท่านมณเฑียร ครับ กรณีมีองค์กรอื่น การจัดซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือผุ้ประสบภัยแล้ว หาก อปท. จะจัดซื้อช่วยเหลืออีก ได้หรือไหม ถือว่าเป็นการช่วยเหลือซับซ้อนไหมครับ

    • @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ
      @มณเฑียรเจริญผล-ง5ฟ  3 ปีที่แล้ว

      กรณีหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าช่วยเหลือแล้ว
      หากประชาชนใน อปท.ยังได้รับความเดือดร้อนอยู่ อปท.ก็สามารถเสนอให้คณะกรรมการช่วยเหลือฯประกาศให้ประชาชนมายื่นขอรับความช่วยเหลือได้อีก
      ไม่ถือเป็นการช่วยเหลือซ้ำซ้อนครับ