ทักษะภาษา พาเราไปสนุกได้มากกว่าที่คิด with บองเต่า-ไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ์ | ลอง Learn ดู EP43

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 16 มี.ค. 2024
  • รียูเนียน สองโฮสต์แห่งรายการ I Hate My Job ท้อฟฟี่ได้ชวน บองเต่า-ไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ์ Managing Director แห่ง Alchemist ในเครือ Rabbit’s Tale Part of Accenture Song ที่มีอีกด้านหนึ่งของชีวิตคือนักเขียนระดับเบสต์เซลเลอร์ กับ Bon En France บันทึกชีวิตในขณะเรียนต่อที่ฝรั่งเศส และยังมีหนังสือในซีรีส์ Bon Enฯ ออกมาอีก 2 เล่ม ซึ่งล้วนแล้วแต่เล่าถึงชีวิตที่เดินทาง หรือไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดนทั้งนั้น
    นั่นคือประเด็นที่อยากหยิบมาพูด เพราะบองเต่ามีทักษะภาษาถึง 5 ภาษา ในระดับต่างๆ กัน ทั้งไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเขมร ที่ได้มาจากทั้งการตั้งใจลงเรียนภาษา ใช้งานระหว่างไปทำงานหรือเรียนต่อเป็นเวลาหลายปี เขาจึงอยากมาแบ่งปันสิ่งที่ได้จากการรู้ภาษา ว่ามันทำให้ชีวิตสนุกขึ้นอย่างไร ใช้งานแบบใดได้บ้าง หรือหลายครั้งก็ทำให้เที่ยวได้อิ่มเอมมากขึ้นด้วยล่ะ
    #SalmonPodcast #ToffyBradshaw #ท้อฟฟี่แบรดชอว์ #ลองLearnดู #ถ้าไม่เลิร์นแอนด์ดู #จะรู้ได้ยังไง #SoftSkills
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 1

  • @BookReview_by_peiNing
    @BookReview_by_peiNing 3 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณที่่แชร์ประสบการณ์ของการเที่ยวและการเรียนภาษาค่ะ เห็นด้วยหลายเรื่องเลย
    เรามักเห็นมีคนตั้งคำถามว่าถ้าเรียนแล้วไม่ได้ใช้ (เช่นภาษาที่ไม่ฮอตฮิต) ไม่ได้เอาไปทำงาน จะเรียนไปทำไม ซึ่งเป็นอย่างทื่คุณเต่าบอกเลยค่ะว่ามันสามารถนำไปใช้อย่างอื่่นได้อีกหลายอย่างมาก ทีนี้นั่นคือ คำตอบแบบรูปธรรมที่เข้าใจง่ายที่สุด แต่ที่จริงรูปธรรมที่ว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่งของยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้นเอง ใต้น้ำนั้นมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น และได้มีการกล่าวถึงเรื่องการเปิดโลก พาไปได้ไกล ขอแชร์เพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้ว่ามันยิ่งใหญ่แค่ไหน สมมุติว่าเราไม่มีโอกาสได้ไปต่างประเทศเลย การเรียนภาษามันเปิดโลกให้กับผู้เรียนตรงที่ ไม่ได้เรียนแค่เฉพาะตัวภาษา แต่มันพ่วงมากับกับวัฒนธรรม วิธีการคิด สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม และวิถีการดำเนินชีวิตของคนชาตินั้นๆ โดยที่เราไม่ได้ก้าวไปเหยียบประเทศนั้นๆ ด้วยซ้ำ หรืออย่างบางภาษาเรียนไป เราจะรู้เลยว่า ภาษานี้ง่ายสำหรับคนพูด แต่ปัญหาตกหนักกับคนฟัง แต่บางภาษายากกับคนพูด แต่จะง่ายสำหรับคนฟัง เพียงแค่นี้มันก็บอกถึงนิสัยบางประการของคนในชาตินั้นๆ ที่ภาษาหล่อหลอมแนวคิดของพวกเขาขึ้นมาก (หรือเป็นพวกเขาที่หล่อหลอมภาษาให้กลายเป็นแบบนี้) ยังไม่รวมกับหนังสือหรือข้อมูลที่ได้อ่านจากภาษานั้นๆ เมื่อคนเรียนเข้าใจในระดับที่อ่านงานเขียนซับซ้อนขึ้นได้ ดังนั้น ต่อให้ทั้งชีวิตอยู่แค่ข้างในประเทศไทย แต่ที่จริงแล้วพื้นที่ที่เรายืนมันอยู่ไกลกว่านั้นมากมายค่ะ
    แต่ตอนนี้การไปต่างประเทศไม่ใช่เรื่องเอื้อมถึงยากขนาดโอกาสเป็นศูนย์เหมือนสมัยก่อน การเรียนภาษามันจะเพิ่มความกล้าให้กับตัวคนเรียนมากจริงๆ ที่จริงต้องขอบคุณคุณเต่าที่พาเราไปนึกถึงในเรื่องที่เราลืมไปแล้ว มันกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวจนมองข้ามมันไปแล้วว่าในตัวเรามีสิ่งนี้ถูกปลูกฝังไว้ในแนวคิดและทัศนคติ ส่วนมากเวลาที่เราไปเที่ยว เราไปมันทั้งมุมนักท่องเที่ยวทั้งไม่ใช่ แทบไม่เคยสนใจว่ามันมีเส้นแบ่งเรื่องนี้อยู่ คือ เราร่อนไปเรื่อยน่ะค่ะ (เราไม่ใช่สายกิน แต่เป็นสายชอบเดินเมือง) แค่อยากไปก็ไป ไม่ได้มีกำแพงของความกังวลในกรณีที่ไม่รู้ภาษาของเขาแล้วจะหลงทาง หรือเกิดปัญหา พอมาฟังแล้วก็นึกขึ้นได้ว่ามันมีสิ่งนี้อยู่บ้างในคนที่อาจไม่รู้จักภาษานั้นๆ (เราก้าวเข้าสู่การเรียนภาษาที่สามตอนอายุสิบห้า ต้องมองย้อนกลับไปนานอยู่เหมือนกัน)
    เราว่าหากใครที่ได้ภาษาที่สามแบบคล่องหน่อย ภาษาที่สี่ ห้า หก ตามมาได้เร็วมากค่ะ ยิ่งแก่จะยิ่งเข้าใจเร็วขึ้น แต่ข้อเสียคือการจำศัพท์จะช้าลงมากค่ะ ตอนนี้เราไม่ได้สนใจจะเรียนภาษาใหม่ ที่มีอยู่ก็ทำเมมเต็มแล้ว แก่แล้วสมองฝ่อแล้วค่ะ (ฮา) เราว่าตอนนี้มีเครื่องมือก็ใช้เครื่องมือแหละค่ะ ง่ายดี ถ้าบางครั้งไม่สะดวก เราจะใช้วิธีนี้แทน คือ เรามีความเชื่อว่า แต่ละประเทศมีหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษในการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้นคนในชาติรู้ภาษาอังกฤษแน่ๆ จะมากจะน้อย จะยอมพูดหรือไม่กล้าพูดค่อยว่ากัน สิ่งที่เราเรียนรู้ตอนนี้คือ วิธีการออกเสียงภาษาอังกฤษของคนชาตินั้นๆ ค่ะ ถ้าออกเสียงได้ เขาจะเข้าใจในสิ่งที่เราพูดแม้ว่าเราจะไม่รู้ศัพท์ภาษานั้นของเขา (แต่ใช้กับภาษาจีนไม่ได้ อันนั้นตั้งคำใหม่ให้ใกล้กับเสียงต้นฉบับ หรือไม่ก็มาแนวแปลเลย ยังต้องจำอยู่ดี กับบางประเทศที่ไม่ค่อยต้อนรับภาษาอังกฤษ ก็ต้องใช้ภาษาท้องถิ่นเขาปนๆ เข้าไป) เป็นอีพีที่ทำให้มีโอกาสระลึกความหลังในหลายสิ่ง ขอบคุณนะคะ