สัญญาณ“โรคพาร์กินสัน”เริ่มต้นอย่างไร รู้เร็ว ชะลอได้ เพิ่มคุณภาพชีวิต l สุขหยุดโรค l 24 04 65

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ก.พ. 2025
  • ทุกๆวันที่ 11 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันโรคพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day)
    โรคทางสมองพบแพทย์เร็ว ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้
    กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยสาเหตุโรคพาร์กินสันมักเกิดในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี เป็นโรคเรื้อรัง หากปล่อยไว้จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
    โรคพาร์กินสันหรือโรคสั่นสันนิบาตเป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมีการตายและลดจำนวนลง ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้า และสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้า ๆ และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของกลุ่มเซลล์ประสาทในสมองไม่สามารถสร้างสารโดพามีน สำหรับสาเหตุที่ทำให้เซลล์สมองมีการตายหรือมีจำนวนลดลง สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลร่วมกัน หากมีอาการบ่งชี้ของโรคพาร์กินสันควรไปพบแพทย์ เพราะหากรู้เร็วจะรักษาได้ไว และการรักษาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    อาการแสดงของโรคจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ ระยะเวลาของการเป็นโรคภาวะแทรกซ้อน อาการสำคัญของโรคพาร์กินสัน คือ อาการแต่ละอาการจะค่อยๆ ปรากฏแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที แต่อาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะมีอาการเกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการ ซึ่งเป็นอาการหลักของโรค ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเกิดอาการสั่นที่นิ้วมือก่อน แล้วตามด้วยข้อมือและแขนในระยะแรกอาการสั่นจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวก่อน แล้วต่อมาขาและเท้าอีกข้างจะเริ่มมีอาการสั่นตามมา และในที่สุดจะเกิดอาการสั่นทั่วร่างกาย สำหรับการรักษามี 3 วิธีคือ 1.การรักษาด้วยยา จะเป็นการรักษาหลักในระยะเริ่มต้นและระยะกลางของโรค จะช่วยบรรเทาอาการให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2.การรักษาด้วยกายภาพบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ถูกต้อง แก้ไขภาวะแทรกซ้อน 3.การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยจะได้ผลดีกับผู้ป่วยที่อายุน้อยและมีอาการไม่มาก ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้สถาบันประสาทวิทยา ได้เล็งเห็นความสำคัญของโรคพาร์กินสัน จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ประชาชนเนื่องใน “วันพาร์กินสันโลก 11 เมษายน” เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และเข้าใจเรื่องโรคพาร์กินสัน ในหัวข้อ “ติดๆ เกร็งๆ สั่นๆ ใช่พาร์กินสันหรือเปล่า?”
    ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16
    www.tnnthailan...
    tv.trueid.net/...
    / tnn16
    / tnnthailand
    / tnn16live
    / tnnthailand
    / tnn_online
    / tnnonline
    Line @TNNONLINE หรือคลิก lin.ee/4fP2tltIo
    ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ

ความคิดเห็น •

  • @ananda345
    @ananda345 2 ปีที่แล้ว +13

    ยารักษาพาร์กินสัน
    แต่ละชนิด มีผลข้าง
    เคียงสูงมาก เช่น ทำ
    ให้เกิดภาวะ ประสาท
    หลอน มีเลือดออกที่
    อวัยวะภายใน และอีก
    หลายผลข้างเคียง
    ปกติผู้ผลิตยาเหล่านี้
    จะกำหนดปริมาณสูง
    สุดเอาไว้ ว่าไม่ควร
    กินเกินกว่ากี่มิลลิกรัม
    แต่เนื่องจากการรักษา
    มักจะ ไม่ประสพความ
    สำเร็จ แพทย์จึงต้อง
    ให้ยาเกินกว่าปริมาณที่
    กำหนด โดยคนไข้ไม่มี
    ความรู้ จึงรับประทาน
    ยาเกินขนาดตามท่ีหมอ
    สั่ง ผลคือ ทรุดลงไปเรื่อยๆ
    มีอาการประสาทหลอน,
    กล้ามเนื้อกระตุกมากขึ้น
    ขาเกร็ง ก้าวลำบาก มี
    ความเครียดเพิ่มขึ้น
    โรคนี้ ไม่จำเป็นจะต้อง
    เลือกหมอท่ีว่าเก่ง โดย
    ยอมเสียเงินแพงๆ รัก
    ษาในรพ. เอกชนแพงๆ
    เพราะไม่มีคำว่าหมอเก่ง
    ใครๆก็เหมือนกัน รักษา
    ไปตามแพทเทิร์นเท่านั้น
    ถึงอย่างไรก็ไม่หาย ไม่
    จำเป็นจะต้องไปเสียเงิน
    มาก ยาก็ไม่หนีกันทั้ง
    คุณภาพ และผลข้างเคียง
    พูดได้เต็มปากว่า โรคนี้
    แพทย์ ยังไม่ประสพผล
    สำเร็จในการรักษาอย่าง
    แท้จริง มีผลดีระยะสั้น
    เท่านั้น

  • @วิสูตรคงศรีประพันธ์

    สวัสดีครับคุณหมอ

  • @hhhhh9423
    @hhhhh9423 2 ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับอาจารย์หมอ
    ดูคลิปอาจารย์แล้วได้ความรู้
    มากมายครับ
    ผมก้อดูแลผู้สุงอายุ​ ยุครับ
    อายุ85​ เปนโรคพากิมสันครับ
    ผมก้อทำกายภาพและฝึกกลืน
    ตอนนี้ไม่สั่นแล้วครับ
    ทานข้าวเองได้ เดินดีขึ้นครับ
    ตอนผมดูแลใหม่ คุนตามี
    อาการสั่นมากครับ

  • @Ys-qm5hi
    @Ys-qm5hi 2 ปีที่แล้ว +5

    ปุ่ติน สุ้ลุงป้อม ก็ไม่ได้ สามารถกะดึ้บๆเข้าสภา ได้สบาย แถมปูติน แค่นั่งสั่น สู้นั่งหลับลุงป้อม ก็ไม่ได้ค่ะ..

  • @กรรณิการ์อเนกธนโชติ

    ขอบคุณค่ะคุณหมอเป็นความรู้ที่ดีมากๆคะเพราะเป็นผู้ดูแลพ่อที่เป็นอัลลไซเมอร์แล้วมีอาการของพากินสันร่วม

  • @Channel-lz9yj
    @Channel-lz9yj 2 ปีที่แล้ว +3

    เสียงเบามากครับ

  • @lalaland2765
    @lalaland2765 2 ปีที่แล้ว +3

    ปูตินน่าเป็นอยู่นะเพราะนั่งหลังงอมือเกาะโต๊ะแน่น ขาก็ไม่นิ่ง

  • @HuaweiY-pd1tu
    @HuaweiY-pd1tu 9 หลายเดือนก่อน +1

    หัวสั่นละ

  • @maliboontet4270
    @maliboontet4270 8 หลายเดือนก่อน

    เสียงค่อยมาก

  • @mystudio6317
    @mystudio6317 ปีที่แล้ว

  • @พัชริดาดิษเสถียร
    @พัชริดาดิษเสถียร 2 ปีที่แล้ว +1

    คนท้องที่เป็นพาร์กินสันควรดูแลตัวยังไงคะ

  • @sirichaitangtrongpao1848
    @sirichaitangtrongpao1848 2 ปีที่แล้ว

    ต่างจากสั่นติดเหล้านะผมว่าผมสั่นแต่มือเท้าไม่สั่นพอได้กึ๊บอาการหายครับ

  • @chindasonsert8755
    @chindasonsert8755 ปีที่แล้ว

    ดิฉันสั่่นที่หัวเป็นฟากิมสันได้ไหม