เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 6)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 พ.ย. 2024

ความคิดเห็น • 81

  • @nott4268
    @nott4268 4 ปีที่แล้ว +20

    ใครมาจาก รักแลกภพ บ้าง
    ดูจบสนใจประวัติศาสตร์สมัย ร.6เลย

  • @ประหยัดบุญคง-ต5ฅ
    @ประหยัดบุญคง-ต5ฅ 10 หลายเดือนก่อน +1

    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ🙏

  • @doccomment7779
    @doccomment7779 3 ปีที่แล้ว +3

    ท่านทรงผลิต ราษฎร คุ ณ ภ า พ

  • @naretaumphimai3952
    @naretaumphimai3952 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณครับ

  • @kanchaleekaewpech8810
    @kanchaleekaewpech8810 4 ปีที่แล้ว +29

    ประชาธิปไตยหมายถึง ผลประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ที่ประชาชน มองดีดีประเทศของเราปกครองแบบนี้มานานแล้ว พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทำเพื่อประชาชนมาตลอด เพียงแค่เราไม่ได้ใช้ชื่อนี้เท่านั้นเอง

    • @อภิเชษฐเรืองศรี
      @อภิเชษฐเรืองศรี 3 ปีที่แล้ว

      เพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว🙏
      เพลงเจ้าฟ้าแห่งความหวัง🙏
      เพลงดุจดังสายฟ้า🙏
      เพลงรัชกาลที่10ทรงพระเจริญ🙏
      เพลงรัชกาลที่10ราชาทรงพระเจริญ🙏
      เพลงสดุดีจอมราชา🙏
      เพลงแผ่นดินไทยในพระราชพิธีราชาภิเษก🙏
      เพลงเหนือหัวองค์ที่10🙏
      เพลงแสงทองของแผ่นดิน🙏
      เพลงแผ่นดินไทยในรัชกาลที่10🙏
      เพลงกตัญญูแผ่นดิน🙏
      เพลงไทยรวมใจภักดิ์🙏
      เพลงเรามีในหลวง🙏
      เพลงม่วงเทพรัตน์🙏💜
      เพลงเจ้าฟ้านักอนุรักษ์🙏💜
      เพลงเจ้าฟ้านักเดินทาง🙏💜
      เพลงเจ้าฟ้าของคนเดินดิน🙏💜
      เพลงนารีรัตนา🙏💜
      เพลงพระผู้สร้างรอยยิ้ม🙏💜
      เพลงหยาดเหงื่อและรอยยิ้ม🙏💜
      เพลงราชสวัสดิ์ 10 ประการ🙏
      เพลงคุณธรรมสี่ประการ🙏
      เพลงถวายบังคมทรงพระเจริญ🙏
      #เพลงธงชาติ 🇹🇭
      เพลงไตรรงค์ ธำรงไทย🇹🇭
      เพลงเจ็ดบูรพกษัตริย์ 🙏
      #เพลงต้นตระกูลไทย🙏
      เพลงเสียดินแดน14ครั้งยังอาลัย
      #เพลงเทิดทูนธงไทย🇹🇭
      เพลงสายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์🙏
      เพลงมากกว่าค่าเงินตรา🙏
      #เพลงราชภักดิ์🙏 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงกำเนิดวันดินโลก🙏
      #เพลงพระมหาราชาผู้มีแต่ให้🙏
      เพลงศาสตร์พระราชา 🙏((ศิลปิน อภิชาติ ดำดี : รุ่งรัศมี ไกรลาศ))
      เพลงผู้นำพอเพียง ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงคำสัญญาจากต้นกล้าของแผ่นดิน🇹🇭
      #เพลงอยู่อย่างจงรักตายอย่างภักดี
      #เพลงความหวัง🇹🇭
      เพลงใต้ฟ้าแผ่นดินไทย 🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงพ่อหลวงห่วงเรือ🇹🇭
      #เพลงไทยรักกัน
      เพลงที่สุดในโลก 🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงรวมใจให้แผ่นดิน🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงรักกันเถิดคนไทย🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      _#เพลงถนนแห่งความรัก_ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      #เพลงปลองดอง (( ศิลปิน หลง ลงลาย))
      #เพลงเปิดใจ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      _#เพลงสัญญา_ 💛❤️((ศิลปิน หลง ลง ลาย))
      เพลงอยู่อย่างพอเพียง
      #เพลงแผ่นดินของเรา 🇹🇭
      เพลงขวานไทย🇹🇭ใจหนึ่งเดียว
      #เพลงเราคือคนไทย🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      _#เพลงจิตอาสา_ ✊ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      ................................
      (( ลองเปิดฟังในยูทูปกันดูนะครับ ))
      เพราะ _เนื้อเพลงทุกเพลงย่อมมีความหมาย_
      _#เพลงนักยุทธศาสตร์_ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เกิดเป็นคนไทย🇹🇭ต้องแทนคุณแผ่นดิน🇹🇭
      #สนับสนุน ม.112
      ..........................................
      เพลงกำลังใจ💖ให้ด่านหน้า🙏
      ((ศิลปิน หลง ลงลาย)

  • @gnawk4795
    @gnawk4795 4 ปีที่แล้ว +6

    เยี่ยมมากครับ

  • @ttphone1962
    @ttphone1962 3 ปีที่แล้ว +1

    ขอให้พระองค์ ในดวงใจของปวงชนชาวไทย สาธุสาธุสาธุ ครับ เป็นมิ่งขวัญของชาวไทยด้วยเถิด

  • @อัตตพจน์ศรีพรหม-ฃ7น

    ชอบมาก

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +1

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการชลประทาน
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างถ่องแท้ว่า สยามเป็นประเทศเกษตรกรรม การพัฒนากระบวนการผลิตจึงจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าอย่างยั่งยืน หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากทรงศึกษาในทวีปยุโรปแล้ว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแบ่งเบาพระราชภาระของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในพระราชฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อยู่นานปี พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพของบรรดาเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักร สิ่งหนึ่งที่มักจะทรงบันทึกไว้เสมอคือเรื่องของระบบชลประทานและการจัดการน้ำ
    ดังเช่นที่ทรงเล่าถึงการเสด็จประพาสเมืองลับแล เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๐ ความว่า “ข้าพเจ้ากับพวกที่ไปด้วยกันได้ช่วยกันเริ่มถมทำนบปิดลำน้ำซึ่งอยู่ริมม่อนชิงช้า เป็นความคิดของพระศรีพนมมาศจัดทำฝายต่อไป เหมืองฝายในเขตลับแล่นี้พระศรีพนมมาศได้จัดทำไว้มากแล้ว เป็นประโยชน์ในการเพาะปลูกมาก เพราะมีน้ำใช้ได้ตลอดปี ที่ลับแลบริบูรณ์มากทั้งไร่นา และสวนผลไม้ต่าง ๆ หากินได้เสมอ” บ่งชี้ว่าทรงเอาพระราชหฤทัยใส่เรื่องนี้มาแต่ต้น
    หลังจากเสวยสิริราชสมบัติแล้ว จึงทรงรับพระราชธุระในการพัฒนาการชลประทานของประเทศต่อจากรัชกาลที่ ๕ กอปรกับในช่วงพุทธศักราช ๒๔๕๔ - ๒๔๕๖ เกิดภาวะฝนแล้งอย่างหนักจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกข้าวในเขตภาคกลาง รัฐบาลสยามในขณะนั้นได้เชิญเซอร์โทมัส วอร์ด (Sir Thomas Ward) ผู้เชี่ยวชาญด้านชลประทานของรัฐบาลอังกฤษในอินเดียเข้ามาศึกษาวิธีแก้ปัญหา และพัฒนาระบบชลประทาน ในที่สุดมีการเสนอโครงการขนาดย่อม ๕ โครงการ
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปรับปรุงกิจการของกรมคลองแล้วตั้งเป็นกรมทดน้ำ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๕๗ เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบชลประทานตามแผนที่วางไว้ โดยพิจารณาเลือกโครงการป่าสักใต้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การพัฒนาชลประทานให้เหมาะสมกับที่ดินที่อยู่ในเขตคลองรังสิตซึ่งดำเนินกิจการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ตามแผนจะสร้างเขื่อนเพื่อควบคุมแม่น้ำป่าสักในเขตภาคกลาง แล้วขุดคลองส่งน้ำมาบรรจบกับคลองรังสิตเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำมาหล่อเลี้ยงระบบเกษตรกรรม ในที่สุดได้สร้างเขื่อนทดน้ำขึ้นที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานนามว่า “เขื่อนพระราม ๖” มีพื้นที่บริการชลประทานประมาณ ๖๘๐,๐๐๐ ไร่
    ต่อจากนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ดำเนินโครงการระบายน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาลงมาจดชายฝั่งทะเล ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบจากโครงการป่าสักใต้ โดยระบายน้ำที่ผันเข้ามาสู่โครงการคลองรังสิตจนอาจมีปริมาณมากเกินไปกระทั่งเกิดอุทกภัย และยังช่วยป้องกันปัญหาน้ำกร่อยได้อีกด้วย แต่โครงการนี้เป็นไปอย่างล่าช้าเพราะประจวบกับภาวะเศรษฐกิจโลกทรุดตัวพอดี แต่ในที่สุดก็สามารถสำเร็จได้ในปี ๒๔๖๕ ส่งผลดีต่อพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศเป็นวงกว้าง แม้จะไม่สมบูรณ์แบบเพราะมิได้ดำเนินตามแผนที่วางไว้ตลอดทั้ง ๕ โครงการได้ทันรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตาม แต่นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาประเทศสยามครั้งสำคัญให้เป็นเมืองเกษตรที่ยั่งยืนมาจนกระทั่งปัจจุบัน

  • @สุรชัยเข็มโคตร
    @สุรชัยเข็มโคตร ปีที่แล้ว +1

    พระองค์ขึ้นครองราชวันที่ปีไหนครับ

  • @ไฟรัชโสบกระโทก
    @ไฟรัชโสบกระโทก 3 ปีที่แล้ว +2

    มีความรู้แปลกกับ.ร.พ.

  • @padirosecookcook1328
    @padirosecookcook1328 3 ปีที่แล้ว +2

    เพลงดังไปครับ

  • @ธนกฤตรบพึ่งชู
    @ธนกฤตรบพึ่งชู 4 ปีที่แล้ว +3

    สุดยอมมากครับ

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +9

    “อ่านอ่านรำคาญฮือ แบบหนังสือสมัยใหม่
    อย่างเราไม่เข้าใจ ภาษาไทยเขาไม่เขียน
    ภาษาสมัยใหม่ ของถูกใจพวกนักเรียน
    อ่านนักชักวิงเวียน เขาช่างเพียรเสียจริงจัง
    แบบเก๋เขวภาษา สมมตว่าแบบฝรั่ง
    อ่านเบื่อเหลือกำลัง ฟังไม่ได้คลื่นไส้เหลือ”
    (บท ‘เห่ถึงหนังสือ’ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิยมการใช้ภาษาไทยที่ถูกแบบ ทรงหลีกเลี่ยงที่จะใช้ภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น ด้วยพระราชอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ เมื่อศิลปวิทยาการและกิจการต่างๆ ในบ้านเมืองยุคใหม่ขยายตัวขึ้น เป็นเหตุให้ต้องใช้ศัพท์จากต่างประเทศ จึงทรงบัญญัติคำศัพท์ภาษาไทย สำหรับใช้แทนการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ รวมถึงคำศัพท์ที่ทรงบัญญัติขึ้นใหม่เพื่อใช้ให้เหมาะแก่กาลสมัยเป็นจำนวนมาก
    คำศัพท์ที่ทรงบัญญัตินี้ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่
    ๑. คำศัพท์ที่นำมาจากตะวันตก และยังไม่ได้บัญญัติเป็นคำศัพท์ภาษาไทย ต้องใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในการพูด และใช้ตัวสะกดภาษาไทยในการเขียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงนำคำศัพท์เหล่านี้มาบัญญัติเป็นคำศัพท์ภาษาไทย เพื่อให้ใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น
    - “ที่ทำการไปรษณีย์” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Post Office (โปสท์ ออฟฟิส)
    - “โทรเลข” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Telegram (เทเลแกรม)
    - “ธนาคาร” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Bank (แบงก์)
    - “บริษัท” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Company (คัมปะนี)
    - “รถจักรยาน” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Bicycle (ไบสิเกิล)
    - “รโหฐาน” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Privacy (ไปรเวซีย์)
    - “ราชนาวี” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Royal Navy (โรแยล เนวี่)
    - “สถาบัน” ทรงบัญญัติมาจากคำว่า Institution (อินสติตูชั่น)
    ๒. คำศัพท์ที่มีอยู่แต่เดิม แต่ได้ทรงบัญญัติใหม่ให้เหมาะสม เช่น
    - “กรมชลประทาน” ทรงบัญญัติมาจากศัพท์เดิมว่า กรมทดน้ำ
    - “นาง - นางสาว” ทรงบัญญัติมาจากศัพท์เดิมว่า อำแดง
    - “สภากาชาด” ทรงบัญญัติมาจากศัพท์เดิมว่า สภาอุณาโลมแดง
    - “อินทรธนู” ทรงบัญญัติมาจากศัพท์เดิมว่า บ่า บ่ายศ หรือกำมะหยี่ติดบ่า
    ๓. คำศัพท์ที่ทรงบัญญัติจากการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ขึ้นในรัชสมัย รวมทั้งคำศัพท์ ที่ต้องใช้ในการออกกฎหมาย เช่น
    - “ไชโย” เริ่มใช้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบวงสรวงสังเวย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ เจดีย์ยุทธหัตถี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖
    - “นามสกุล” เริ่มใช้เมื่อตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖
    - “มหาวิทยาลัย” , “แพทยศาสตร์” , “วิทยาศาสตร์” , “อักษรศาสตร์” และ “วิศวกรรมศาสตร์” เริ่มใช้เมื่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    พระราชอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทำให้คนไทยได้มีคำศัพท์อันกระชับ เหมาะสม และสละสลวยไว้สื่อความหมาย โดยไม่ต้องใช้คำทับศัพท์ปะปน จนเคยชินเป็นธรรมชาติของการใช้ในปัจจุบัน กระทั่งหลายคนอาจไม่ทราบ หรือหลงลืมไปว่า คำศัพท์หลายคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ ล้วนมาจากพระราชดำริในรัชกาลที่ ๖ เมื่อกว่าร้อยปีที่ล่วงแล้ว

    • @Fg-gw5du
      @Fg-gw5du 3 ปีที่แล้ว

      เยี่ยมสุดยอดค่ะ ที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงให้ประชาชนที่ยังไม่เคยได้รับทราบรับรู้ประวัติศาสตร์ของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ ตรงความเป็นจริง ขอเชิดชูยกย่องนับถือ ขอขอบพระคุณมากค่ะ

  • @sugusplayz8175
    @sugusplayz8175 5 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณค่ะ

  • @OhmzbeforeOBFCC
    @OhmzbeforeOBFCC 3 หลายเดือนก่อน

    นักพัฒนาจริงๆ

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +1

    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโบราณวัตถุสถานในเขตเมืองกำแพงเพชร เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองอุตรดิตถ์ และเมืองพิษณุโลก ด้วยความสนพระราชหฤทัย
    ในครั้งนั้น ทรงประมวลเรื่องราวการเสด็จพระราชดำเนิน เป็นหนังสือชื่อ “เที่ยวเมืองพระร่วง” โดยบันทึกเส้นทางเสด็จ พรรณนาถึงโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่ได้ทอดพระเนตร เปรียบเทียบและวิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์เท่าที่ค้นพบในเวลานั้น รวมทั้งนำเสนอสถานที่อันควรชมตามเมืองต่างๆ จนอาจกล่าวได้ว่า “เที่ยวเมืองพระร่วง” คือหนังสือนำเที่ยวในยุคแรกของไทย
    เมื่อกล่าวถึง “พระร่วง” หลายท่านคงนึกถึงวีรบุรุษในตำนาน มีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารเหนือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องว่าเป็นตัวอย่างอันดีของผู้ที่รักชาติยิ่งกว่าตนเอง ยอมตกระกำลำบาก แม้แต่ชีวิตก็ยอมสละได้ เพื่อมิให้ชนที่อยู่ในปกครองต้องได้รับความเดือนร้อน จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยให้พระร่วง เป็นสัญลักษณ์ของความรักชาติบ้านเมือง และความสมานสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผ่านบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์
    เรื่อง “พระร่วง” ที่ทรงพระราชนิพนธ์ มีทั้งสิ้น ๔ สำนวน ได้แก่ สำนวนแรก “ขอมดำดิน” พระราชนิพนธ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ สำนวนที่สอง “ขอมดำดิน หรือพระร่วง ฉบับกลอนละคร” พระราชนิพนธ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ สำนวนที่สาม “พระร่วง ฉบับละครพูดคำกลอน” พระราชนิพนธ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ และสำนวนสุดท้ายคือ “พระร่วง ฉบับละครร้อง” พระราชนิพนธ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๗

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +1

    วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง วิธีนับวัน เดือน ปีในราชการ กำหนดให้ใช้ “พุทธศักราช” เป็นศักราชในทางราชการ แทนการใช้ รัตนโกสินทรศก ซึ่งเคยประกาศใช้ในทางราชการ มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทั้งนี้ มีพระราชดำริปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรายวันที่ทรงบันทึกไว้ ถึงเหตุผลของการประกาศให้ใช้ พุทธศักราช เป็นศักราชในทางราชการ ความตอนหนึ่งว่า
    “...ศักราชรัตนโกสินทร ซึ่งใช้อยู่ในราชการเดียวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเป็นศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึงเหตุการณ์ใดๆ ในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวก่อนสร้างกรุงขึ้นไปแล้ว ก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทรนี้ ก็มักจะหันไปใช้คฤสตศักราช ซึ่งดูเปนการเสียรัศมีอยู่ จึงเห็นว่าควรใช้พุทธศักราช จะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว...”
    ดังนั้น ในส่วนพระองค์ได้ทรงเริ่มใช้ พุทธศักราช นับตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๕ ส่วนประกาศหรือเอกสารทางราชการอื่นๆ เริ่มใช้ พุทธศักราช ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ เป็นต้นมา (เนื่องจากก่อนพุทธศักราช ๒๔๘๓ ไทยใช้วันที่ ๑ เมษายน ตามปฏิทินสุริยคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่)
    ด้วยพระบรมราโชบายอันแยบคายของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทำให้การใช้ศักราชของไทย สอดคล้องเป็นแนวเดียวกัน อำนวยประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าเชิงประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปในอดีตได้นานนับพันๆ ปี อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของราชอาณาจักร อันมีอิสราธิปไตยเป็นของตนเอง มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของชาติ และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก

  • @tkjh7092
    @tkjh7092 3 ปีที่แล้ว +1

    คุณแม่💕

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +1

    “พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์”
    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในครั้งนั้น พระองค์ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ตามหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นจำนวนมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย กอปรด้วยพุทธลักษณะงดงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แม้พระพุทธรูปองค์นั้นชำรุดมากก็ตาม คงเหลือเพียงพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมาที่กรุงเทพมหานคร เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ให้งดงามดังเดิม โดยช่างได้ทำการปั้นหุ่นจนบริบูรณ์เต็มพระองค์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ เททองหล่อเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๕๖ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติองค์นี้ มีความสูงจากพระบาทถึงพระเกศ ๑๒ ศอก ๔ นิ้ว ต้องด้วยพุทธลักษณะบริบูรณ์ทุกประการ เมื่อการหล่อสำเร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังพระวิหารทิศเหนือของพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม โดยอัญเชิญออกจากกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนมกราคม ๒๔๕๘ จากนั้น เจ้าพนักงานได้ดำเนินการตกแต่งพระพุทธรูปที่พระวิหารทิศเหนือจนเสร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
    ครั้นพุทธศักราช ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรคำนึงถึงพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ และอัญเชิญไปประดิษฐานที่พระวิหารทิศเหนือของพระปฐมเจดีย์ ว่ายังหาได้สถาปนาพระนามให้สมพระราชหฤทัยประสาทการ และเป็นอัครบูชนิยฐานไม่ จึงมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๖๖ ว่า “พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์” เพื่อเป็นเครื่องเฉลิมพระราชศรัทธาสืบไป (วิธีสะกดการันต์ตามพระบรมราชโองการ)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาในพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์ อย่างมาก ดังเห็นได้ในพระราชพินัยกรรมที่ทรงกำหนดไว้ว่าให้แบ่งพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ เชิญไปบรรจุไว้ที่ใต้ฐานของพระพุทธรูปองค์นี้
    ดังนั้น ภายหลังจากเสด็จสวรรคต และเสร็จการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปบรรจุที่ใต้ฐานพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๖๙
    เมื่อผู้ใดได้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จึงเสมอได้กราบถวายบังคมพระบรมราชสรีรางคารของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าไปในคราวเดียวกัน

  • @ในงานเทศกาลตรุษจีนปี2566

    ในงานเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2566 ด้วยกันนะครับผม

  • @รัตนามามี-ด1ฐ
    @รัตนามามี-ด1ฐ 9 หลายเดือนก่อน +1

    หญิงริษาเจ้ารินรักพระเจ้าอยู่หัว.รศ5TheKING5. Love. Same สมเด็จพ่อ🌎🔦🔌💚💚💚💚💚💙💙💙💙💙💲💞💕💇

  • @อภิเชษฐเรืองศรี
    @อภิเชษฐเรืองศรี 2 ปีที่แล้ว +4

    🇹🇭
    เพลง เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เพลงรัชกาลที่10ทรงพระเจริญ
    เพลงรัชกาลที่10ราชาทรงพระเจริญ
    เพลงสดุดีจอมราชา
    เพลงแผ่นดินไทยในพระราชพิธีราชาภิเษก
    เพลงเหนือหัวองค์ที่10
    เพลงแสงทองของแผ่นดินรัชกาลที่๑๐
    เพลงแผ่นดินไทยในรัชกาลที่10
    เพลงกตัญญูแผ่นดินไทย
    เพลงไทยรวมใจภักดิ์
    เพลงแสงทองของแผ่นดิน
    เพลงเรามีในหลวง
    เพลงม่วงเทพรัตน์
    เพลงเจ้าฟ้านักอนุรักษ์
    เพลงเจ้าฟ้านักเดินทาง
    เพลงเจ้าฟ้าของคนเดินดิน
    เพลงพระผู้สร้างรอยยิ้ม
    เพลงหยาดเหงื่อและรอยยิ้ม
    เพลงนารีรัตนา
    เพลงเจ้าหญิงของปวงประชา
    เพลงเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ
    เพลงสดุดีเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ
    เพลงราชสวัสดิ์ 10 ประการ
    เพลงคุณธรรมสี่ประการ
    เพลงใต้ร่มพระบารมี
    เพลงถวายบังคมทรงพระเจริญ
    เพลงธงชาติ
    เพลงไตรรงค์ ธำรงไทย
    เพลงเจ็ดบูรพกษัตริย์
    เพลงต้นตระกูลไทย
    เพลงเสียแผ่นดิน๑๔ครั้ง
    เพลงเทิดทูนธงไทย
    เพลงสายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์
    เพลงมากกว่าค่าเงินตรา
    เพลงราชภักดิ์
    เพลงรูปที่มีทุกบ้าน
    เพลงกำเนิดวันดินโลก
    เพลงพระมหาราชาผู้มีแต่ให้
    เพลงศาสตร์พระราชา
    เพลงผู้นำพอเพียง
    เพลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    เพลงคำสัญญาจากต้นกล้าของแผ่นดินไทย
    เพลงอยู่อย่างจงรักตายอย่างภักดี
    เพลงไทยรักกัน
    เพลงรักกันไว้เถิด
    เพลงปลองดอง
    เพลงอยู่อย่างพอเพียง
    เพลงแผ่นดินของเรา
    เพลงบ้านเกิดเมืองนอน
    เกิดเป็นคนไทยต้องแทนคุณแผ่นดินไทย
    สนับสนุน มาตรา ๑๑๒

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +8

    “ท้าวหิรันยพนาสูร”
    ตอนที่ ๑ เทพผู้อารักขาสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
    เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ โดยขณะที่ขบวนเสด็จจะออกจากเมืองอุตรดิตถ์เข้าไปในป่า บรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้น ต่างหวาดกลัวไข้ป่า และภยันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางจึงมีพระราชดำรัสชี้แจงแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จฯ เพื่อให้คลายความหวาดกลัว ดังปรากฏเนื้อความในประกาศเชิญเทวดาสิงในรูปท้าวหิรันยพนาสูร ว่า
    “...ธรรมดาเจ้าใหญ่นายโตจะเสด็จแห่งใดๆ ก็ดี คงจะมีทั้งเทวดาแลปีศาจอสูรอันเปนสัมมาทิฏฐิ คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวง มิให้มากล้ำกลายพระองค์แลบริพารผู้โดยเสด็จได้ ถึงในการเสด็จพระราชดำเนินประพาสครั้งนี้ ก็มีผู้ป้องกันภยันตรายเหมือนกัน อย่าให้มีผู้หนึ่งผู้ใดมีความวิตกไปเลย...”
    ต่อมามีข้าราชบริพารผู้หนึ่งฝันเห็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต ได้บอกแก่ผู้ที่ฝันว่าตนชื่อ “หิรันย์” เป็นอสูรชาวป่า ผู้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ ครั้งนี้จะมาตามเสด็จฯ เพื่อคอยอารักขา ดูแลมิให้ภยันตรายทั้งปวง อันพึงจะบังเกิดมีขึ้นได้ในระยะทางป่านั้น มากล้ำกลายพระองค์ และข้าราชบริพารได้
    เมื่อทรงทราบเช่นนั้น จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้จัดธูปเทียนและเครื่องโภชนาหาร ไปเซ่นสังเวยที่ในป่าริมพลับพลา และเวลาเสวยค่ำทุกๆ วัน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพระกระยาหารจากเครื่องต้นไปเซ่นสรวงเสมอ ซึ่งตลอดการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น ก็มิได้เกิดภยันตรายใดๆ ขึ้นเลย
    นับแต่นั้นเป็นต้นมา หากเสด็จพระราชดำเนินที่ใด ก็จะมีการอัญเชิญหิรันยอสูรให้ตามเสด็จฯ ไปด้วยทุกแห่ง ทั้งยังมีผู้อ้างว่าได้เห็นคนรูปร่างใหญ่ล่ำสัน ยืนหรือนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ใกล้ๆ ที่ประทับ และอ้างว่าได้เห็นพร้อมกันหลายคน แม้กระทั่งข้าราชการเทศาภิบาล ที่มิใช่ข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จฯ ก็ยังเคยเห็นเช่นกัน จึงทำให้หิรันยอสูร เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปเป็นอันมาก
    ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงคำนึงถึงหิรันยอสูร ซึ่งนิยมกันว่าได้เคยตามเสด็จพระราชดำเนินมาหลายแห่งหน และการเสด็จพระราชดำเนินก็เป็นไปด้วยความสวัสดิภาพ เป็นที่อุ่นใจของเหล่าข้าราชบริพารทั่วไป
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเทพรจนา (สิน ปฏิมาประกร) ดำเนินการปั้นรูปหิรันยอสูร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สวมชฎาเทริดอย่างไทยโบราณ ถือไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๔ ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเครื่องสังเวยเซ่นสรวง พร้อมทั้งอัญเชิญหิรันยอสูรเข้าสิงสถิตในรูปสัมฤทธิ์ที่ปั้นหล่อขึ้น พระราชทานนามใหม่ว่า “ท้าวหิรันยพนาสูร” เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๔

  • @เจริญครุฑไชย
    @เจริญครุฑไชย 2 ปีที่แล้ว +1

    นี่คือพระบูชาไทยที่ดีที่สุดในโลกครับบรมหม่อม​ จากหลวงปู่สุกพระครูคุณากรกล่าว

  • @วัชวารีธงไธสงทูลไธสง

    ❤❤❤❤❤❤

  • @เสริมศิลป์ศรีสร้อยพร้าว

    🎉❤

  • @ปริญญาบุญใย-ล2ศ
    @ปริญญาบุญใย-ล2ศ 2 ปีที่แล้ว +1

    ที่ผมบอกว่าตัวเลข 57กับตัวเลข 50มีใครพอจะเดาออกไหมว่าเธอตัวเลขอะไรรอบที่ 1รอบที่ 2

  • @วิชัยจันดาดี
    @วิชัยจันดาดี 10 หลายเดือนก่อน

    เสือป่าย่าไปยุงไก่เด้อ❤

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 2 ปีที่แล้ว +1

    การเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ของประเทศไทย
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดสงครามระหว่างประเทศมหาอำนาจ ๒ ฝ่ายในยุโรป คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร มีประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เป็นผู้นำ กับฝ่ายมหาอำนาจกลาง มีประเทศเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เป็นผู้นำ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ สงครามครั้งนี้ ต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม "สงครามโลก ครั้งที่ ๑"
    สำหรับประเทศไทยที่อยู่ห่างไกลจากสมรภูมิรบ อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศคู่สงครามทั้ง ๒ ฝ่าย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าด้วยกรุงสยามเป็นกลางในระหว่างสงครามที่เป็นอยู่ในยุโรป เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งตลอดระยะเวลา ๓ ปีแรกของสงคราม ไทยได้ดำเนินนโยบายรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด
    แต่ในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิยมฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง เห็นได้จากการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปช่วยเหลือบุตรและภรรยาของทหารในกรมทหารราบเบาเดอรัมแห่งอังกฤษ ที่พระองค์เคยทรงประจำการอยู่ รวมทั้งทรงตอบรับพระราชไมตรีที่สมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ ๕ มีพระราชโทรเลขทูลเชิญให้ทรงรับพระยศเป็นนายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษ ซึ่งพระองค์ก็ทรงตอบแทนน้ำพระราชหฤทัย ด้วยการทูลเชิญสมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ ๕ ให้ทรงรับพระยศเป็นนายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกไทย ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแลกเปลี่ยนพระยศทางทหาร ระหว่างประมุขของประเทศในยุโรปกับประมุขของประเทศในเอเชีย
    นอกจากนี้ ยังทรงพยายามโน้มน้าวจิตใจของประชาชนชาวไทยที่นิยมฝ่ายมหาอำนาจกลาง ให้เอนเอียงมาสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อลดกระแสต่อต้าน หากในอนาคตประเทศไทยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยทรงแปลเรื่องราว หรือบทความจากนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ อันมีเนื้อหาแสดงถึงการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศ ความโหดร้ายทารุณ และความปราชัยของเยอรมนี แล้วพระราชทานไปตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ กับวารสารของไทย
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินพระบรมราโชบายต่างๆ ด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ เพื่อมิให้กระทบต่อนโยบายรักษาความเป็นกลางของไทย โดยทรงชี้แจงว่า "...ส่วนตัวข้าพเจ้าที่ได้ประพฤติไปแล้ว มิใช่ได้ทำพุ่งๆ ไปโดยมิได้ไตร่ตรอง แท้จริงข้าพเจ้าได้ไตร่ตรองแล้ว และได้ทูลปรึกษาหารือกับเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ทรงเห็นว่าไม่ผิดด้วยความเป็นกลาง จึงได้ทำไป..."
    ครั้นเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ดำเนินมาถึง พ.ศ.๒๔๖๐ จึงทรงประเมินสถานการณ์ด้วยพระปรีชาญาณทางการทหาร ว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางจะพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างแน่นอน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมเสนาบดีสภา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๐ เพื่อหารือถึงท่าทีของประเทศไทย ว่าควรดำเนินนโยบายรักษาความเป็นกลางต่อไป หรือควรเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ตามที่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และฝรั่งเศส ติดต่อทาบทามมา
    การประชุมในครั้งนั้น ได้ทรงแสดงพระราชปริวิตกต่อสถานภาพของไทย ซึ่งไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ หากยังคงรักษาความเป็นกลางต่อไป พร้อมทั้งทรงเสนอแนวพระราชดำริว่าถึงเวลาแล้ว ที่ไทยควรแสดงตนเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ด้วยทรงเห็นว่าการรักษาความเป็นกลางมีผลเสียมากกว่าผลดี
    เนื่องจากถ้ายังคงรักษาความเป็นกลาง จนเมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามแล้ว ไทยก็จะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย มีแค่เสมอตัวกับขาดทุนเท่านั้น หากเลือกเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ก็ยังสามารถหวังประโยชน์จากการเป็นชาติผู้ชนะสงคราม ในการหาโอกาสเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ทั้งเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการแก้พิกัดภาษีศุลกากร
    แต่การที่ไทยจะแสดงตนเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น ต้องเป็นไปอย่างมีเกียรติ เพื่อป้องกันข้อครหาว่าไทยต้องการประจบประแจงชาติมหาอำนาจ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้รัฐบาลคุมเชิงไว้ก่อน รอจนกว่าคณะทูตฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษ จะตอบรับให้ไทยเข้าร่วมอย่างเป็นทางการ

  • @suchatjunsam9313
    @suchatjunsam9313 2 ปีที่แล้ว +1

    เรารั​กใน​หลวง​ครับ
    #​องค์​พ่อ​รัชกาล​ที่​ ๖​

  • @baguettek3820
    @baguettek3820 ปีที่แล้ว +1

    มาม่าอร่อย

  • @Squier123
    @Squier123 ปีที่แล้ว

    ร.6 นี่ทำไว้เยอะมากเลยนะเนี่ย

  • @แป้นไม้นามปากกา
    @แป้นไม้นามปากกา 2 ปีที่แล้ว +1

    มัน ไหม ปู่ กราฟ ญาณี 11 😄😄😄😄😄😄😄😄

  • @รัตนามามี-ด1ฐ
    @รัตนามามี-ด1ฐ 9 หลายเดือนก่อน +1

    คุณกญิง.รัตนวดี@$🔌🔦🌎🌎🌎💚💚💚💚💚🔦🔌💙💙💙💙💙🔦💛💛💛🔦💙♥♥♥♥♥~♥👟💲📞📲🎮🎶🎻🎺🚔🚠🅿🅰🅱🅾~♡😇👮🅰🅱🅾

  • @markkybuttasri2208
    @markkybuttasri2208 4 ปีที่แล้ว +3

    ขออนุญาตนำคลิปใดใช้ในการศึกษาการเรียนต่อนะคะ

    • @ReverseTimeOfficial
      @ReverseTimeOfficial  4 ปีที่แล้ว +1

      ยินดีค่ะ ^^

    • @อภิเชษฐเรืองศรี
      @อภิเชษฐเรืองศรี 3 ปีที่แล้ว

      เพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว🙏
      เพลงเจ้าฟ้าแห่งความหวัง🙏
      เพลงดุจดังสายฟ้า🙏
      เพลงรัชกาลที่10ทรงพระเจริญ🙏
      เพลงรัชกาลที่10ราชาทรงพระเจริญ🙏
      เพลงสดุดีจอมราชา🙏
      เพลงแผ่นดินไทยในพระราชพิธีราชาภิเษก🙏
      เพลงเหนือหัวองค์ที่10🙏
      เพลงแสงทองของแผ่นดิน🙏
      เพลงแผ่นดินไทยในรัชกาลที่10🙏
      เพลงกตัญญูแผ่นดิน🙏
      เพลงไทยรวมใจภักดิ์🙏
      เพลงเรามีในหลวง🙏
      เพลงม่วงเทพรัตน์🙏💜
      เพลงเจ้าฟ้านักอนุรักษ์🙏💜
      เพลงเจ้าฟ้านักเดินทาง🙏💜
      เพลงเจ้าฟ้าของคนเดินดิน🙏💜
      เพลงนารีรัตนา🙏💜
      เพลงพระผู้สร้างรอยยิ้ม🙏💜
      เพลงหยาดเหงื่อและรอยยิ้ม🙏💜
      เพลงราชสวัสดิ์ 10 ประการ🙏
      เพลงคุณธรรมสี่ประการ🙏
      เพลงถวายบังคมทรงพระเจริญ🙏
      #เพลงธงชาติ 🇹🇭
      เพลงไตรรงค์ ธำรงไทย🇹🇭
      เพลงเจ็ดบูรพกษัตริย์ 🙏
      #เพลงต้นตระกูลไทย🙏
      เพลงเสียดินแดน14ครั้งยังอาลัย
      #เพลงเทิดทูนธงไทย🇹🇭
      เพลงสายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์🙏
      เพลงมากกว่าค่าเงินตรา🙏
      #เพลงราชภักดิ์🙏 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงกำเนิดวันดินโลก🙏
      #เพลงพระมหาราชาผู้มีแต่ให้🙏
      เพลงศาสตร์พระราชา 🙏((ศิลปิน อภิชาติ ดำดี : รุ่งรัศมี ไกรลาศ))
      เพลงผู้นำพอเพียง ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงคำสัญญาจากต้นกล้าของแผ่นดิน🇹🇭
      #เพลงอยู่อย่างจงรักตายอย่างภักดี
      #เพลงความหวัง🇹🇭
      เพลงใต้ฟ้าแผ่นดินไทย 🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงพ่อหลวงห่วงเรือ🇹🇭
      #เพลงไทยรักกัน
      เพลงที่สุดในโลก 🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงรวมใจให้แผ่นดิน🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เพลงรักกันเถิดคนไทย🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      _#เพลงถนนแห่งความรัก_ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      #เพลงปลองดอง (( ศิลปิน หลง ลงลาย))
      #เพลงเปิดใจ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      _#เพลงสัญญา_ 💛❤️((ศิลปิน หลง ลง ลาย))
      เพลงอยู่อย่างพอเพียง
      #เพลงแผ่นดินของเรา 🇹🇭
      เพลงขวานไทย🇹🇭ใจหนึ่งเดียว
      #เพลงเราคือคนไทย🇹🇭 ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      _#เพลงจิตอาสา_ ✊ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      ................................
      (( ลองเปิดฟังในยูทูปกันดูนะครับ ))
      เพราะ _เนื้อเพลงทุกเพลงย่อมมีความหมาย_
      _#เพลงนักยุทธศาสตร์_ ((ศิลปิน หลง ลงลาย))
      เกิดเป็นคนไทย🇹🇭ต้องแทนคุณแผ่นดิน🇹🇭
      #สนับสนุน ม.112
      ..........................................
      เพลงกำลังใจ💖ให้ด่านหน้า🙏
      ((ศิลปิน หลง ลงลาย)

  • @พิยดาพลเยี่ยม-ล2ล
    @พิยดาพลเยี่ยม-ล2ล 4 ปีที่แล้ว +1

    ใช้เพลงอะไรคะ

    • @ReverseTimeOfficial
      @ReverseTimeOfficial  4 ปีที่แล้ว

      มันเป็นซาวน์ในหนังค่ะ

  • @sntejanenie
    @sntejanenie ปีที่แล้ว

    2:04 จำคุก5ปีหรือ15ปีอ่ะคะ😅

  • @namthipnamthip2498
    @namthipnamthip2498 3 ปีที่แล้ว +1

    นาทีที่2.5นี้จำคุก15ปีแต่ทำไมเขียนว่า5

  • @ไพรัชโสบกระโทก-ฉ8ร
    @ไพรัชโสบกระโทก-ฉ8ร 3 ปีที่แล้ว +2

    ติด...ร. .แน้นอนจำไม่ได้

  • @jame1707
    @jame1707 ปีที่แล้ว +1

    11:10

  • @อิทธิหร
    @อิทธิหร ปีที่แล้ว

    590ชอบทหาร

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว

    พระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
    ​พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้พระราชนิพนธ์เรื่อง “ไม่กลัวผี” ลงในหนังสือพิมพ์ราชกุมาร ฉบับวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๑๒ และเมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ได้พระราชนิพนธ์เรื่องสำหรับเด็กลงในวารสารรายสัปดาห์ที่ทรงริเริ่มขึ้นด้วย
    ตลอดเวลา ๑๕ ปี แห่งรัชสมัย ได้ทรงสร้างสรรค์งานพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภทต่างๆ นับพันเรื่อง อาทิ บทโขน บทละคร พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุศาสนีย์ เทศนาเสือป่า นิทาน บทชวนหัว บทความในหนังสือพิมพ์ และบทร้อยกรอง เป็นต้น ซึ่งมีทั้งพระราชนิพนธ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ บทพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่องของพระองค์ นอกจากให้สาระ และความเพลิดเพลินแล้ว ยังเต็มไปด้วยสุภาษิต ข้อคิด คำคม และการปลุกใจให้รักชาติบ้านเมือง
    ด้วยพระราชอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ กอปรกับการที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และอาณาประชาราษฎร์ จึงทรงได้รับราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ ด้วยพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
    คำว่า “พระมหาธีรราชเจ้า” นั้น พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เป็นผู้คิดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในงานแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง “จัดการรับเสด็จ” และ “ชิงนาง” ของคณะหนังสือพิมพ์ไทยเขษม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๙ ในครั้งนั้น หลวงสรรสารกิจ (เคล้า คชนันทน์) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยเขษม ได้ปรารภถึงการถวายพระราชสมัญญาสำหรับที่จะพิมพ์ในสูจิบัตร พระสารประเสริฐ จึงเสนอความเห็นว่าควรถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”
    ด้วยเหตุนี้ คณะหนังสือพิมพ์ไทยเขษม จึงจัดทำสูจิบัตรสำหรับการแสดงละครจากบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง “จัดการรับเสด็จ” และ “ชิงนาง” ซึ่งจะทำการแสดงในวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ อันตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ณ โรงละครวิมานเนาวรัตน์ โดยพิมพ์พระราชสมัญญาลงในสูจิบัตรดังกล่าว ว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” เป็นครั้งแรก
    นับแต่นั้น พระราชสมัญญา “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย กระทั่งมหาชนต่างพร้อมใจกันใช้เอ่ยถึงพระมหากษัตริย์จอมปราชญ์ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของประชาชาติไทย ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเชิดชูพระราชอัจฉริยภาพของพระองค์อยู่เสมอมิเสื่อมคลาย

  • @ประกาศิตแป้นไม้-ล1ข

    ๖รร. 😂😂😂😂😂😂😂😂 เสือป่า

  • @supanatnasingtong5378
    @supanatnasingtong5378 4 ปีที่แล้ว

    น.ศ.ทโพนทองครับ555

  • @gbbbbbbbbbnk7216
    @gbbbbbbbbbnk7216 2 ปีที่แล้ว +1

  • @ผุสดีโชติช่วง
    @ผุสดีโชติช่วง 6 หลายเดือนก่อน

    ยนนนนนนตต

  • @รัตนามามี-ด1ฐ
    @รัตนามามี-ด1ฐ 9 หลายเดือนก่อน +1

    กรุ๊ปเลือดDNA. RADline 🌎💚💚💚💚💚🔦🔌💙💙💛💙💙🌎🔦🔌O io .i? We. I w ant? Know! The in. Side. My 💚💚💚💚💚🌎🔦🔌💞💙💙💙💙💙🌎🌎💲💞💕💇💲

  • @ppiewme
    @ppiewme 4 ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณค่ะอีกไม่กี่วันสอบเเล้วได้ความรู้เยอะเลย

  • @Chantawat2531
    @Chantawat2531 3 ปีที่แล้ว +2

    เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทดลองตั้งธนาคารรับฝากเงิน ณ พระตำหนักจิตรลดา (เดิม) ซึ่งต่อมาคือวังปารุสกวัน ด้วยพระราชประสงค์ให้มหาดเล็ก และข้าราชบริพารของพระองค์ ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานของธนาคาร และปลูกฝังนิสัยรักการออม พระราชทานชื่อธนาคารนี้ว่า “ลีฟอเทีย” อันมีที่มาจากผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคาร ๓ ท่าน ได้แก่
    ๑. “ลี” แปลว่า โต หรือใหญ่ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
    ๒. “ฟอ” มาจากคำว่า เฟื้อ เป็นนามเดิมของเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
    ๓. “เทีย” มาจากคำว่า เทียบ เป็นนามเดิมของพระยาคทาธรบดี (เทียบ อัศวรักษ์) ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ
    การทดลองตั้งธนาคารลีฟอเทีย
    เป็นเหตุให้ทรงมีโอกาสศึกษานิสัยการออมของคนไทย ที่ยังมีข้อติดขัดบกพร่องอยู่หลายประการ ก่อให้เกิดพระบรมราชกุศโลบายจะให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออม นับเป็นปฐมบทของคลังออมสินในเวลาต่อมา
    ​ครั้นเมื่อเสด็จดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ทรงพระราชปรารภถึงการรักษาทรัพย์สมบัติ ซึ่งประชาชนอุตสาหะประกอบการทำมาค้าขาย มีกำไรออมไว้เป็นทุนรอนได้แล้ว แต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเป็นการลำบาก เพราะไร้ที่ฝากฝังอันมั่นคง ส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อประโยชน์ยืนยาวข้างหน้า ไม่จับจ่ายเพื่อความเพลินใจชั่วขณะนั้น เป็นสิ่งควรอุดหนุนอย่างยิ่ง
    ทรงพระราชดำริว่า การรักษาสินซึ่งออมไว้เช่นนี้ มีทางที่จะทรงพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ ด้วยการตั้งคลังออมสิน เพื่อประโยชน์ในการรับรักษาเงินที่ประชาชนจะนำมาฝากเป็นรายย่อย และรับภาระจัดให้เงินนั้นเกิดผลแก่ผู้ฝากตามสมควร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖” ขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ เป็นต้นไป
    ด้วยเหตุนี้ วันที่ ๑ เมษายน จึงเป็นวันออมสิน เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานกำเนิดคลังออมสิน (ต่อมาคือ “ธนาคารออมสิน” ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.๒๔๘๙) เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาทรัพย์สิน และส่งเสริมการออมของประชาชน ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในทุกด้านตราบถึงปัจจุบัน

  • @รัตนามามี-ด1ฐ
    @รัตนามามี-ด1ฐ 9 หลายเดือนก่อน +1

    ตรงกับวันทึ่25ธันวาคมของปีคิอวันปิยะมการาชจองทุกปีในองค์พระมหาาษัตร่ศ่