RCEP ประโยชน์เยอะ อินโดนีเซียบังคับใช้ปี 66 แล้ว |อาเซียน4.0ออนไลน์ | อาทิตย์ที่ 15 ม.ค. 2566

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 14 ม.ค. 2023
  • RCEP ประโยชน์เยอะ อินโดนีเซียบังคับใช้ปี 66 แล้ว |อาเซียน4.0ออนไลน์ | อาทิตย์ที่ 15 ม.ค. 2566
    สำนักข่าว CMG รายงานว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้กับอินโดนีเซีย ในวันที่ 2 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา
    สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในกลุ่มสมาชิกมากขึ้น
    ทั้งนี้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าจีน-อินโดนีเซียได้รับโอกาสใหม่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2566 เป็นต้นมา จีนและอินโดนีเซียเริ่มใช้อัตราภาษีตามข้อกำหนดของ RCEP แล้วโดยวิสาหกิจการค้าต่างประเทศ ได้รับผลประโยชน์ทางภาษีศุลกากร ขณะที่อุตสาหกรรมส่วนภูมิภาคก็ได้รับโอกาสใหม่ด้วย
    โดยที่ศูนย์บริการวิสาหกิจมณฑลซานตงของ RCEP เจ้าหน้าที่ศุลกากรชิ่งเต่า ได้ทำหนังสือรับรองแหล่งที่ผลิต RCEP สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย ของวิสาหกิจการประมงของเมืองชิงเต่าโดยผ่าน “one window service” ของศูนย์ หนังสือรับรองดังกล่าว ออกให้กับสินค้า ปลาแซลมอนแช่แข็งน้ำหนัก 18 ตัน ที่ส่งออกไปอินโดนีเซีย สามารถลดภาษีศุลกากรจำนวนเงิน 105,000 หยวน (ประมาณ 520, 000 บาท)
    ก่อนหน้านี้ การค้าระหว่างจีนและอินโดนีเซีย ใช้อัตราภาษีที่กำหนดไว้ โดยข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซี่ยนมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่
    ยังคงต้องเสียภาษีศุลกากรบ้าง แต่หลังจาก RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้ในอินโดนีเซียแล้ว อัตราภาษีของสินค้าจำนวนมาก ลดเป็นศูนย์ทันที ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวิสาหกิจการค้าต่างประเทศเป็นอย่างมาก
    ทางด้านเว็บไซต์ khmertimes รายงานว่า การค้าระหว่างกัมพูชาและอินโดนีเซีย จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างแน่นอน หลังจากรัฐสภาอินโดนีเซีย ผ่านการรับรองและให้สัตยาบันในข้อตกลง RCEP ทำให้ วันที่ 2 มกราคม 2566 ข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
    มีผลบังคับใช้ เชื่อว่าการค้าสินค้าและบริการหลายรายการ ระหว่างสมาชิกมีโอกาสขยายตัว โดยเฉพาะการค้าสินค้าสิ่งทอจากกัมพูชา ซึ่งเดิมเป็นคู่แข่งขัน แต่จากนี้ จะกลายเป็นคู่ค้า ในห่วงโซ่การผลิตสินค้าสิ่งทอในกลุ่ม RCEP
    อินโดนีเซียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่อันดับ 5 ของ RCEP ในปี 2564 เศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีการเติบโต ร้อยละ 3.7
    มูลค่าเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียนคือ 1.186 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (40.3 ล้านล้านบาท) ส่วนในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 4.8 ซึ่งไม่ธรรมดาสำหรับอาเซียน
    คาดว่าเมื่ออินโดนีเซียเข้าสู่ RCEP จะทำให้การค้าระหว่างอินโดนีเซียและกัมพูชา เพิ่มเป็น 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (34,000 ล้านบาท) ในปี 2566 จากเดิมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,000 ล้านบาท)
    กัมพูชาส่งออกสินค้าสิ่งทอ ไปยังประเทศกลุ่ม RCEP เป็นมูลค่า 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (196,000 ล้านบาท) ในรอบ 11 เดือนของปี 2565 เพิ่มขึ้นจากก่อนที่ RCEP จะมีผลบังคับใช้ราว ร้อยละ 5
    RCEP มีสมาชิกรวม 15 ประเทศ โดยประเทศที่ลงนามรับรอง RCEP แล้วรวม 13 ชาติ
    รับรองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 มี 10 ชาติคือ
    บรูไน-กัมพูชา-สปป.ลาว- สิงคโปร์-ไทย-เวียดนาม-ออสเตรเลีย-จีน-ญี่ปุ่น-นิวซีแลนด์
    รับรองเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 คือเกาหลีใต้
    รับรองเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 คือมาเลเซีย
    เวลานี้เหลืออีกสองชาติที่ยังไม่รับรอง RCEP คือ เมียนมา และฟิลิปปินส์
    #RCEPอินโดนีเซีย
    #ค้าจีนอินโดนีเซีย
    #การค้าอินโดนีเซีย
    #อินโดนีเซียรับRCEP
    ------------------------------------------
    #TNN #อาเซียน4.0 #อาเซียน4.0ออนไลน์ #อาเซียนพลัส #อาเซียน #ASEANplus
    ติดตามทุกความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอาเซียนได้ใน
    รายการ อาเซียน Plus
    ทุกวันอาทิตย์
    เวลา 09.30-10.00น.
    ทาง TNNช่อง16
    และ รายการ อาเซียน 4.0 ONLINE
    ทุกวันอาทิตย์
    เวลา 17.00-17.30น.
    รับชมสด ได้ทาง TH-cam: TNN Online
    และ FACEBOOK LIVE PAGE : TNN LIVE
    ------------------------------------------
    ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16
    www.tnnthailand.com
    tv.trueid.net/live/tnn16
    / tnn16
    / tnnthailand
    / tnn16live
    / tnnthailand
    / tnn_online
    / tnnonline
    Line @TNNONLINE หรือคลิก lin.ee/4fP2tltIo
    ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ

ความคิดเห็น •