จิตพ้นทุกข์ ควบคุมกระแส ปฏิจจสมุปบาท เสียงธรรม หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.ย. 2024
  • ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร หลักธรรมแห่งการพบเหตุปัจจัยเกิดและดับ
    ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร
    คือ ชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร(ปรุงแต่ง)
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ(ตัวรับอารมณ์)
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ(หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ)
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือ วิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
    พระตถาคตย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำให้ตื้น และตรัสว่า
    ท่านทั้งหลายจงดู
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้ เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
    มรรค 8 คือหนทางสู่การดับทุกข์ และ ตัดกรรม ให้พ้นทุกข์
    มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งใน อริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น
    ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
    สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
    สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
    สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
    สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ การละเว้นจากอาชีพฆ่าสัตว์ อาชีพที่เบียดเบียนผู้อื่น
    สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และ
    ดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
    สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4
    อริยสัจ 4 คืออะไร สำคัญอย่างไร หลักแก่นธรรมอันประเสริฐ
    อริยสัจ 4 คืออะไร
    ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ และ เพื่อนิพพาน เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
    อริยสัจ 4 ประกอบไปด้วย สี่ ประการดังนี้
    1. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    สภาวทุกข์ หมายถึง ทุกข์ประจำ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ปกิณณกทุกข์ หมายถึง ทุกข์จร การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และความไม่สมปรารถนา
    2. สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความอยาก คือ
    กามตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น
    ภวตัณหา คือ ความอยากให้คงอยู่
    วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
    3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์
    คือ การละตัณหา 3 ประการดังกล่าว
    4. มรรค หมายถึง วิธีดับทุกข์ เป็นแนวทางปฏิบัติต้นเหตุของทุกข์
    มี 8 ประการดังนี้
    องค์มรรค 8
    สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ
    สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
    สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ
    เว้นจากการพูดเท็จ
    เว้นจากการพูดส่อเสียด
    เว้นจากการพูดคำหยาบ
    เว้นจากการพูด เพ้อเจ้อ ไร้สาระ
    สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
    การงดเว้นจากกายทุจริต คือ
    การไม่ฆ่าสัตว์
    ไม่ลักทรัพย์
    ไม่ประพฤติผิดในกาม
    สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่
    การประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่
    เพียรขจัดความชั่ว
    เพียรสร้างความดี
    เพียรรักษาความดี
    สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ
    การกำหนดรู้จิต ระลึกได้ตลอดเวลาว่า ตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร
    สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ
    การตั้งจิตให้ควบคุมอารมณ์ได้
    อ้างอิงแหล่งที่มาบทความ วิกีพีเดีย / ธาราญา /dharayath.com

ความคิดเห็น •