มองโลกนี้ *ด้วยจิตว่าง* การมีชีวิตอยู่ด้วยความว่าง เสียงธรรม หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.ย. 2024
  • ความว่าง จิตว่าง สุญตา หรือ ศูนยตา แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้
    สุญตามีความหมาย 4 นัย คือ
    1.ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวตน ไม่มีอัตตา ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสารัตถะต่าง ๆ เช่น ความเที่ยง ความสวยงาม ความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดัง เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วน ๆ
    2.ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
    3.โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญตา ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
    4.ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
    สุญญตาหมายถึงความไม่มีอยู่ทั้งหมดทั้งมวล ความไม่มีอยู่ซึ่งวิธีที่เป็นไปไม่ในการมีตัวตนทั้งหมด
    สุญญตา หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “ความว่างเปล่า” นั้น เป็นหนึ่งในความความรู้แจ้งหลักของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตระหนักได้ว่าบ่อเกิดของปัญหาในชีวิตของทุกคนที่ลึกที่สุดนั้นคือ ความสับสนของผู้คนเกี่ยวกับการมีตัวตนของตนเอง ของผู้อื่น และของทุกสิ่งทุกอย่าง
    จิตใจของพวกเขามองถึงการดำรงอยู่ของทุกสิ่งอย่างในรูปแบบที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อพวกเขาไม่รู้ตัวว่าการมองในลักษณะนั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง พวกเขาก็สร้างปัญหาและทุกข์ให้ตัวเอง ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ยกตัวอย่างเช่น การมองว่าตนเองเป็นพวกขี้แพ้ และไม่ว่าจะทำอะไร เราก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จในชีวิตได้ จะไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกหดหู่ เห็นค่าในตัวเองและมีความมั่นใจต่ำ แต่อาจทำให้เราล้มเลิกความพยายามที่จะพัฒนาตัวเองได้ เราก็จะปล่อยให้ตัวเองอยู่ในจุดตกต่ำของชีวิตต่อไป
    ความว่างเปล่า หรือสุญญตา ไม่ใช่ “ความไม่มีอะไรเลย” มันไม่ได้หมายความว่าไม่มีสิ่งใดมีตัวตนอยู่และให้ลืมปัญหาทุกอย่างไปให้หมด เพราะปัญหาเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง
    การสร้างภาพจินจนาการของเราเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของทุกสิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่มีอะไร รวมถึงปัญหาของเรา ที่ทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นปัญหาด้วยตัวของมันเอง หากมองตามอัตภาพแล้ว สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัญหาที่ต้องจัดการ แต่เราสามารถมองว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาได้ในเชิงแนวความคิดและคำนิยามของ “ปัญหา” ที่ถูกกำหนดตามแบบแผนเท่านั้น
    อ้างอิงแหล่งที่มาบทความ วีกีพีเดีย
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า 454-455
    ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1242.

ความคิดเห็น • 4

  • @สุมิตรสุมิโต
    @สุมิตรสุมิโต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา +2

    เสาร์ที่ ๒๑ ๙ ๖๗ กราบเท้าท่านอาจารย์พุทธทาส 🙏

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ

  • @bmbm5026
    @bmbm5026 5 วันที่ผ่านมา +3

    ❤🙏🙏🙏🤍

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ