Freediving with a Whaleshark - ฟรีไดฟ์กับฉลามวาฬที่เรือจม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.พ. 2019
  • คนชอบถามพลอยว่า “ทำไมถึงชอบฟรีไดฟ์”
    เอาจริงๆมันมีหลายเหตุผลมากแต่แรกเริ่มเลยมันมาจากความรู้สึก
    “ความรู้สึกที่เป็นอิสระและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ”
    ชอบเวลาที่ลงไปใต้น้ำแบบไม่มีอุปกรณ์เยอะแยะ จะหมุนตัวจะว่ายยังไงก็ได้
    ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีอะไรขั้นกลางระหว่างเรากับทะเล
    รู้สึกสงบและอิสระจริงๆ
    เหมือนเราเข้าไปในอีกโลกนึงที่ไม่มีความวุ่นวาย
    เราสามารถเข้าใกล้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล อย่างเช่น ฉลามวาฬได้ในแบบที่เค้าไม่ประหม่าหรือไม่คิดว่าเราเป็นสิ่งแปลกปลอม (แต่ห้ามแตะต้องเด็ดขาดนะ) การฟรีไดฟ์คือหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถให้เราเข้าใกล้สัตว์น้ำได้ในแบบที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติที่สุด ทำให้เราได้สังเกตพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆตามธรรมชาติของเค้า แต่ที่สำคัญคือเราไม่ควรไปรบกวนธรรมชาติเด็ดขาด ไม่ควรแตะต้องหรือว่ายไล่ ปกติแล้วฉลามวาฬหรือสัตว์น้ำหลายๆชนิดจะว่ายวนไปวนมาอยู่แถวนั้น แค่เราอยู่เฉยๆค่อยๆว่ายดู ไม่ทำให้เค้ารู้สึกว่าถูกคุกคาม บางทีก็จะวนอยู่เป็นชั่วโมงเลย
    นี่มีtipsเล็กๆน้อยๆมาฝากเผื่อใครไปฟรีไดฟ์แล้วเจอน้องจุด
    1. Never dive alone - ห้าม! ดำน้ำคนเดียวโดยเด็ดขาด ถึงแม้แต่จะเป็นความลึกที่ไม่มาก ต้องมีบัดดี้อยู่ด้วยตลอด บัดดี้ก็ควรเป็นบัดดี้ที่มีระดับการฝึกเท่าเทียมกัน ฟรีไดฟ์จะใช้ระบบที่เรียกว่า ‘One up, one down’ คนนึงดำคนนึงดูอยู่บนผิวน้ำคอยดูความปลอดภัย พอคนที่ดำขึ้นมาก็รอให้เค้าพักก่อนแล้วค่อยลง
    2. Know your limit! - อย่ามัวแต่ดำดูฉลามวาฬหรือดำถ่ายรูปเพลินจนลืมที่จะสังเกตตัวเองและความลึก! เวลามาดำเล่นหักความลึกจากPB(ความลึกสูงสุดที่เคยลง) ไปเลย5-10เมตร เผื่อเวลาว่ายขึ้นด้วย สังเกตตัวเองว่าเริ่มมีอาการอยากจะหายใจหรือเริ่มเกิดcontraction รึยัง ห้ามฝืนตัวเองเด็ดขาดเพราะมาดำเล่นเองจะไม่ได้มีอุปกรณ์เซฟตี้ต่างๆเหมือนtraining diveและส่วนมากจะใช้เวลามากกว่าในแต่ละไดฟ์
    3. Beware of the condition - สภาพอากาศและคลื่นลมเป็นสิ่งสำคัญมาก เคยมีหลายครั้งที่ดำอยู่ดีๆ กระแสน้ำเปลี่ยน คลื่นแรงขึ้นแบบกะทันหัน หนีขึ้นเรือแทบไม่ทัน ความปลอดภัยเป็นปัจจัยหลัก ฟรีไดฟ์ไม่เหมือนสคูบ้าน่ะ เราไม่ได้มีอุปกรณ์ในการช่วยหายใจหรือลอยตัวยิ่งต้องคิดถึงความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ
    4. Know direction - มันมีtrickอยู่นิดนึงเวลาไปฟรีไดฟ์คู่ฉลามวาฬหรือสัตว์ต่างๆ อย่าไปว่ายตามเค้า กะดูทิศทางเค้าตั้งแต่ตอนอยู่บนผิวน้ำ พยายามเฉียงๆเข้าไปข้างๆอย่าไปว่ายตามหรือตัดหน้าเค้าโดยตรง ว่ายตามในขณะที่เราอยู่ใต้น้ำ เราจะยิ่งเหนื่อยแฮ่กๆและก็ยิ่งทำให้รู้สึกอากาศหมดเร็วขึ้น ว่ายตามระหว่างที่อยู่บนผิวน้ำ กะจังหวะดีๆที่จะว่ายลงไปแล้วเจอเค้าพอดี ถ้าไปตัดหน้าจะยิ่งไปรบกวนเค้า
    4. Camera use - พลอยไม่ได้เป็นคนรู้เรื่องกล้องอะไรมากมาย เลยเลือกกล้องที่มีunderwater white balance กดถ่าย(record)ตั้งแต่อยู่บนผิวน้ำ ดำลงไป20เมตร แสงเปลี่ยนสีเปลี่ยน แต่เราไม่ต้องปรับอะไรเลย กล้องทำให้เราหมดทุกอย่างแล้ว ตีขา เคลียร์หูไปไม่ต้องทำอะไรกับกล้องเลย ในวีดีโอนี้ใช้กล้อง Olympus em5 + fish eye lens ซึ่งจะเป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูง ถ่ายเป็นวีดีโอแล้วค่อยมาcapรูปก็ยังได้รูปที่คุณภาพดี
    5. Selfies with wild life - นอกจากการถ่ายรูปธรรมดาแล้ว การถ่ายselfieก็จะมีtrickอยู่ คือ ว่ายแซงไปเลย กะระยะห่าง ถือกล้องเหยียดสุดแขน และกดรัวๆๆๆหรือถ่ายเป็นวีดีโอแล้วค่อยมา capเอา ถ้าว่ายไถๆไปข้างๆนี่ไม่ค่อยเวิค เคยลองแล้ว ว่ายมาทิ้งระยะห่างนึดนึงจะได้เห็นปลาทั้งตัวดูดีกว่า บางทีอยู่ใกล้ๆถ่ายติดมาแต่มุมหน้าดูผ่านๆแล้วเหมือนปลาเทศบาล
    6. Equalize! - การเคลียร์หูก็สำคัญมากเช่นกัน บางครั้งถ้าเราลงเร็วเกินไปหรือเคลียร์หูไม่บ่อยมากพอก็จะทำให้หูอื้อ ถ้าเรารู้สึกถึงอาการหูอื้อ รู้สึกถึงแรงดันแล้วฝืนลงต่ออาจจะทำให้เป็นอันตรายได้เรื่องนี้ต้องระวัง ถ้าเรารู้สึกหูเริ่มอื้อแล้วเคลียร์ไม่ออกปุ๊บควรหยุดแล้วเคลียร์ก่อนถ้าเคลียร์ไม่ออกก็กลับขึ้นสู่ผิวน้ำเลยแล้วค่อยเตรียมตัวลงมาใหม่
    ป่ะ..รออะไรกันอยู่ ถ้ารู้วิธีการฟรีไดฟ์ที่ถูกต้องแล้ว หยิบmask, fins และกล้องถ่ายรูปออกไปลุยเลยดีกว่า
    Olympus Thailand
    Chaokoh Diving

ความคิดเห็น • 1

  • @MrJohnvr
    @MrJohnvr 4 ปีที่แล้ว

    Excited to be joining you guys for courses and diving.