มรดกลุ่มแม่น้ำมูล | ฟังเสียงประเทศไทย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 19 พ.ค. 2023
  • ภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในลุ่มแม่น้ำมูล ทั้งบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย นิเวศลุ่มน้ำ ป่าบุ่งป่าทามนาข้าว แปลงหอมแดง รวมถึงทุเรียนภูเขาไฟ ต่างก็ได้รับความเสียหาย ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารและวิถีชุมชนอย่างหนัก ฟังเสียงประเทศไทยจึงชวนล้อมวงสนทนาเพื่อมองภาพอนาคตมรดกลุ่มน้ำมูลถึงทิศทางความเปลี่ยนแปลงและการเตรียมพร้อมรับมือ
    โดยนอกจากผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโจทย์การบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ climate change ยังเป็นอีกปัจจัยที่เร่งให้วิถีคนลุ่มน้ำต้องปรับเปลี่ยนและส่งผลต่อระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหารของคนลุ่มน้ำมูล ที่ต้องวางแผนเตรียมรับมือในระดับท้องถิ่น ตลอดจนนโยบายที่เป็นรูปธรรม
    ชวนอ่านรายละเอียดและร่วมโหวต “มองภาพอนาคตมรดกลุ่มน้ำมูล ทิศทางความเปลี่ยนแปลง” คลิกที่นี่ 👉 thecitizen.plus/node/80811
    ทุกท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างรอบด้าน ร่วมกันคิด ช่วยกันมองภาพอนาคตมรดกลุ่มน้ำมูล โจทย์ภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ วางแผนรับมืออย่างไร ในรายการฟังเสียงประเทศไทย ตอน มรดกลุ่มแม่น้ำมูล วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/ThailandLive
    #ฟังเสียงประเทศไทย #แม่น้ำมูล #น้ำท่วม
    ----------------------------------
    👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : thaip.bs/YSBht5j
    และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
    Website : www.thaipbs.or.th
    Facebook : www. ThaiPBS
    Twitter : / thaipbs
    Instagram : / thaipbs
    LINE : www.thaipbs.or.th/AddLINE
    TikTok : / thaipbs
    TH-cam : / thaipbs

ความคิดเห็น • 13

  • @xxxttt6003
    @xxxttt6003 ปีที่แล้ว +1

    สำหรับ อุบลราชธานี ถ้าสร้างเขื่อน ที่อำเภอวารินชำราบช่วงรอยต่อ จ.ศรีษะเกษ จะไม่มีปัญหา
    แต่ไปสร้างเขื่อนปากมูลที่ อ. โขงเจียม ปลาจากแม่น้ำโขง ไม่สามารถว่ายเข้ามาผสมพันธุ์ และอพยพ เข้ามาในแม่น้ำมูลได้เลย เพราะ อ.โขงเจียมคือที่สุดท้ายของแม่น้ำมูลแล้ว ปลาจึงลดจำนวนลง

    • @user-xs2iz2yo4f
      @user-xs2iz2yo4f 8 หลายเดือนก่อน

      มันมีเขื่อนหัวนาอยู่แล้ว

  • @wikromhpc2432
    @wikromhpc2432 ปีที่แล้ว +1

    แบ่งโซนสีคนที่พักอาศัยลุ่มน้ำ เป็น3โซน และให้องค์ความรู้ให้เหมาะสม ภาครัฐไม่ใช่ไม่มีงบแต่งบไปไม่ถึง อย่า ภาคประชาชนจะต้องเข้มแข็ง เพราะภาครัฐอ่อนแอ

  • @user-vw9hx5tr5x
    @user-vw9hx5tr5x ปีที่แล้ว

    ของที่ออกได้คือชุมชนร่วมมือกันสร้างร่วมมือกันคิด และวางแผนบริหารจัดการ

  • @niphonpoomongchai4465
    @niphonpoomongchai4465 6 หลายเดือนก่อน

    กรมชลประทานไม่เห็นมีผลงานเป็นรูปธรรมเลยไร้ซึ่งผลงานไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งน้ำทวมก็ทำแค่ผักชีโรยหน้าแล้วก็เงียบหายไปประชาชนชาวเกษตและชาวนาต้องรอน้ำจาฟ้าฝนเท่านั้นไม่มีการพัฒนาเลยฝนตกแรงน้ำก็ท่วมพอไม่ตกก็แล้งแบบสุดๆต้องแล้วแด่บุญแต่กรรมนี่คือประเทศไทย

  • @viratthani9422
    @viratthani9422 6 หลายเดือนก่อน

    อ่างเก็บน้ำช่วงๆครับ

  • @suvitkd
    @suvitkd ปีที่แล้ว

    สาเหตุน้ำท่วมหนึ่งสาเหตุคือ น้ำชะลอตัวจากเส้นทางการไหลเพราะการสร้างถนนที่ไม่มีช่องประตูน้ำ, ไม่มีสะพานเปิดทางน้ำ เพียงพอ /การแก้ไขปัญหาต้องแก้โดยภาพรวม ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

  • @phoomdik7497
    @phoomdik7497 ปีที่แล้ว +1

    รอชมอยู่ขอรับ 😛

  • @ktbaccount695
    @ktbaccount695 ปีที่แล้ว

    ถูกต้องหัวใจลำน้ำมูลแม่น้ำมูลอยู่ที่ลำน้ำมูลจริงแท้ลำน้ำมูลไม่ยอม

  • @ida-dl1re
    @ida-dl1re ปีที่แล้ว +1

    น้ำท่วมทุกปี รัฐบาลชุดใหนก้อยังแก้ไขไม่ได้

  • @user-xs2iz2yo4f
    @user-xs2iz2yo4f 8 หลายเดือนก่อน

    ปลาเข้ามาน้อยเพราะวางอวนวางตุ้มและเครื่องมือจับปลาอื่นๆหน้าเขื่อนปากมูลแบบล้างผลาญมันจะมีปลารอดเข้ามาได้ไง แล้วมาบ่นบอกไม่มีปลากิน