ยโสธร พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก แลนด์มาร์ค ยโสธร กับ เรื่องเล่าในตำนานอีสาน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.ย. 2023
  • หนึ่งในแลนด์มาร์คของ ยโสธร ที่เราจะต้องนึกถึงกัน ก็คือ พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทวนแห่งนี้นั่นเอง เป็นสถานที่ที่เล่าถึงความเชื่อและความอุดมสมบูรณ์ของภาคอีสาน นอกจากนั้นก็ยังมีตำนานพญาคันคากที่เล่าขานกันมาอีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดูกันเลย พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก สุดยิ่งใหญ่ริมแม่น้ำทวนใน จังหวัดยโสธร นั้น เป็นตึกของพิพิธภัณฑ์รูปคางคก ความสูงกว่า 19 เมตร หรือประมาณตึก 5 ชั้น สำหรับชาวอีสานนั้น คางคก เป็นสัตว์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั่นเอง และยังเป็นตำนานความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟที่มีมาตั้งแต่ในอดีตแล้ว เลยเป็นที่มาของแลนด์มาร์คนี้นั่นเอง โดยภายใน พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก จะจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับคางคกกว่า 500 สายพันธุ์ทั่วโลก รวมไปถึงกบ อึ่ง เขียด ในประเทศไทยด้วย และมีการจัดฉายตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟในรูปแบบภาพยนตร์ 4 มิติอีกด้วย ให้นักท่องเที่ยวได้มาศึกษาประเพณีและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆ กันเลย ที่นี่ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการเขาเล่าว่าของททท.อีกด้วย นอกจากนั้นยังรวมถึงความเป็นมาของจังหวัดยโสธรในด้านอื่นๆ และแน่นอนว่าชั้นบนสุด บริเวณปากพญาคันคากยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเมืองยโสธรแบบกว้างไกลสุดลูกหูลูกตาเลย และบริเวณใกล้ๆ กันยังมี พิพิธภัณฑ์พญานาค ที่บอกเล่าเรื่องราวความเชื่อของคนท้องถิ่นทางภาคอีสานได้อย่างน่าสนใจเช่นเดียวกัน ในส่วนของตำนาน พญาคันคาก เล่ากันว่า พญาคางคกนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ และสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” ก็เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติ มีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก นั่นเอง และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านชาวเมือง จนลืมที่จะเซ่นบูชาพระยาแถน พระยาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์ เลยทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี เลยเป็นที่มาว่าเมื่อถึงเดือนหก ช่วงต้นเดือนฤดูฝนนั่น ชาวอีสานเลยทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกตามฤดูกาลนั่นเอง

ความคิดเห็น •